วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

212. จินตนาการร่วม เปลี่ยนโลกของเราก่อนที่เยียวยาไม่ได้


212. Collective Imagination to Change Our World before It’s Un-healable

After Boston, Eyes-Wide Open Hope?
 by Frances Moore Lappé
หลังจากบอสตัน, ความหวังแบบดวงตาเบิกกว้าง?
โดย ฟรานซิส มัวร์ เลปเป

How do we know the difference between head-in-the-sand hope and eyes-wide-open hope? One is a killer; the other, a life-giver.
เราจะรู้ความแตกต่าง ระหว่าง ความหวังแบบซุกหัวในทราย และ ความหวังแบบดวงตาเบิกกว้าง ได้อย่างไร?  แบบแรกเป็นผู้ฆ่า; อีกอัน, ผู้ให้ชีวิต.
First, it helps to ask, what is hope?
ประการแรก, มันช่วยเราได้ที่จะถาม, อะไรคือ ความหวัง?
Creative Commons
Some of my Buddhist buddies pooh-pooh the whole idea of hope. Hope keeps us from experiencing this moment, they tell me. It feeds our yearning for some future one. Hope is rooted in desire, even craving – and aren’t they the root of suffering?
เพื่อนชาวพุทธของฉันบางคน ถากถางความคิดทั้งหมดของความหวัง.  ความหวังทำให้เราแยกตัวออกจากประสบการณ์ ณ ขณะนี้, พวกเขาบอกฉัน.  มันหล่อเลี้ยงความโหยหาบางอย่างในอนาคต.  ความหวังมีรากอยู่ในความปรารถนา, แม้แต่ตัณหา.
For me, hope is about something else. It doesn't keep me in a future world. It helps me love this one. Hope isn't a sunny attitude, and it certainly isn't a calculation that something will get better. It is a stance toward life. And, Harvard Medical School's Srinivasan S. Pillay beautifully captures what I mean: "Hope is not an answer," he writes; but because it stimulates the imagination, "hope helps us to pose the right questions." As I explore in a companion blog, fear often triggers the wrong questions. Pillay likens hope to a scientist's hypothesis. "It provides a way of moving through the world."
สำหรับฉัน, ความหวังเป็นอย่างอื่น.  มันไม่ได้ทำให้ฉันจมปลักอยู่ในโลกอนาคต.  มันช่วยให้ฉันรักโลกขณะนี้.  ความหวังไม่ใช่ทัศนะคติของแสงสว่างเจิดจ้า, และแน่นอนมันไม่ใช่การคำนวณว่า บางอย่างจะดีขึ้น.  มันเป็นจุดยืนต่อชีวิต.  ดังที่ ศรีนิวาศาน เอส. พิลเลย์ แห่ง คณะแพทยศาสตร์ฮาร์วาร์ด ได้เขียนอย่างงดงามที่ฉันหมายความว่า, “ความหวังไม่ใช่คำตอบ”, เขาเขียน; แต่เพราะมันกระตุ้นจินตนาการ, “ความหวังช่วยให้เราตั้งคำถามถูก”.  ในขณะที่ฉันสำรวจบล็อกเพื่อนร่วมทาง, ความกลัวมักกระดิกไกของคำถามผิดๆ.   พิลเลย์ เปรียบความหวังกับสมมติฐานของนักวิทยาศาสตร์.  “มันให้แนวทางที่จะขับเคลื่อนไปในโลก”.
He adds that, "because hope seems to travel in the same dungeons [parts of the brain] as fear, it might be a good soldier to employ if we want to meet fear."
เขาเสริมว่า, “เพราะความหวังดูเหมือนจะท่องไปในคุกใต้ปราสาท [ส่วนต่างๆ ของสมอง] เหมือนกับความกลัว, มันอาจเป็นทหารที่ใช้ได้ดี หากคุณต้องการเผชิญหน้ากับความกลัว”.
I live in Boston, and in this moment our whole, beautiful city seems to be listening to his truth -- using love to block fear.
ฉันอาศัยอยู่ในบอสตัน, และในขณะนี้ เมืองที่สวยงามทั้งหมดของเรา ดูเหมือนกำลังฟังความจริงของเขา/เมือง—ด้วยการใช้ความรักเพื่อสกัดกั้นความกลัว.
So, for me, "hope" has nothing to do with wishful thinking; it is a stance toward life we can choose and actively cultivate. It relies on a special type of humility that flows from what I love to call an eco-mind. Thinking like an ecosystem, we see that the nature of reality is that all elements are shaping all other elements moment to moment.
ดังนั้น, สำหรับฉัน, “ความหวัง” ไม่เกี่ยวกับความคิดเพ้อฝัน; มันเป็นจุดยืนต่อชีวิตที่เราสามารถเลือกและบ่มเพาะอย่างแข็งขันได้.  มันขึ้นอยู่กับความนอบน้อมถ่อมตนชนิดพิเศษ ที่ไหลรินจากสิ่งที่ฉันรักที่จะเรียกว่า จิตนิเวศ.  การคิดเหมือนระบบนิเวศ, เราเห็นได้ว่า ธรรมชาติของความจริง คือ ปัจจัย/ธาตุทั้งหมดกำลังปรุงแต่งปรับรูปปัจจัย/ธาตุอื่นทั้งมวลทุกขณะจิตอย่างต่อเนื่อง.
And that means that nothing -- including you or me -- is stuck.
และนั่นก็หมายความว่า ไม่มีสิ่งใด—รวมทั้งคุณและฉัน—ติดหล่มจมปลัก.
In a universe in which everything is connected and ever-changing precise predictions are, well, impossible. Yes, we do know now that we've spiked the atmosphere with so much carbon that a hotter planet and less stable climate are unavoidable. We know little, though, about how humans will ultimately respond to these unprecedented changes.
ในจักรวาลที่ทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมโยงกัน และ เปลี่ยนแปลงตลอดกาลอย่างแม่นยำตามคำทำนายนั้น เป็นเรื่อง, เอ้อ, เป็นไปไม่ได้.
Given the reality of connectedness, there's one thing we do know with absolute certainty: The only choice we don't have is whether to change the world. We change it with every act. Our only choice is whether the act moves us toward the world we want... or not.
ด้วยความจริงของความติดต่อเชื่อมโยงสัมพันธ์ต่อกัน, มีสิ่งหนึ่งที่เรารู้แน่นอนเบ็ดเสร็จ : ทางเลือกเดียวที่เราไม่มี คือ จะเปลี่ยนโลกดีไหม.  เราเปลี่ยนมันด้วยการกระทำทุกๆ ก้าว.  ทางเลือกเดียวของเรา คือ การกระทำของเรา พาเราสู่โลกที่เราต้องการ...หรือไม่.
Thinking like an ecosystem also brings awareness that we humans are like every other organism and element in the universe, shaped by the forces around us: Context is all. And for human beings, the most powerful aspect of our "context," making us who we are, is each other.
การคิดแบบระบบนิเวศ ยังทำให้เกิดความตื่นรู้ว่า พวกเราเหล่ามนุษย์ ก็เหมือนกับสรรพชีวิตและธาตุอื่นๆ ในจักรวาล, ที่ถูกปรุงแต่งปรับรูปโดยพลังรอบตัวเรา: บริบทคือทั้งหมด.  และสำหรับมนุษย์, มิติที่ทรงพลังที่สุดใน “บริบท” ของเรา, ทำให้เราเป็นอย่างที่เราเป็น, คือ กันและกัน.
Right there is a big clue about how to change ourselves and thus "the world." Probably unique among species, we humans can consciously choose our context -- arrange it to shape us the way we want to be shaped.
ตรงนั้นแหละ เป็นการบอกใบ้ว่า จะเปลี่ยนแปลงพวกเราเอง และด้วยเหตุนั้น “โลก” ได้อย่างไร.  อาจเป็นความพิเศษในบรรดาสายพันธุ์ต่างๆ, พวกเราเหล่ามนุษย์สามารถเลือกบริบทของเราอย่างตระหนักรู้—จัดให้มันปรุงแต่งปรับรูปของเราในแบบที่เราต้องการจะถูกปรับรูปปรุงแต่ง.
So if we want to make a positive impact in our beleaguered world and know we need guts to step up, here's what we do. We bring people into our lives who are stepping outside their comfort zones. We'll become more like them -- we can't help it.
ดังนั้น หากเราต้องการทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในโลกอันสับสนวุ่นวายของเรา และ รู้ว่า เราจะต้องมีความกล้าที่จะลุกขึ้น, นี่เป็นสิ่งที่พวกเราทำ.  เรานำผู้คนเข้ามาในชีวิตของเรา ผู้ที่กำลังก้าวออกจากเขตสบายๆ (comfort zones).  เราจะกลายเป็นเหมือนพวกเขา—อย่างช่วยไม่ได้.
And recent findings in neuroscience suggest that in this process we have more power than we'd ever imagined -- both to gain and to give. When we are merely observing another's actions, it turns out that so-called mirror neurons in our brains fire as if we were actually performing the observed actions ourselves. Now that's influence!
การค้นพบในประสาทวิทยาเร็วๆ นี้ แนะว่า ในกระบวนการนี้ เรามีพลังอำนาจมากกว่าที่เราเคยจินตนาการ—ทั้งเพื่อให้ และ เพื่อรับ.  เมื่อเราเพียงแค่สังเกตปฏิบัติการของคนอื่น, ปรากฏว่า เจ้าตัวที่เรียกว่า กระจกนิวรอน ในสมองของเราสว่างวาบขึ้น เหมือนกับว่า เรากำลังกระทำการปฏิบัติการนั้นเองจริงๆ.  นี่แหละ คืออิทธิพล!
So we have science behind what humans have long intuited. In southern Africa, the concept of ubuntu, meaning "I am because we are," originating in the Bantu languages, suggests both a worldview and a way of being with others.
ดังนั้น เรามีวิทยาศาสตร์หนุนหลังในสิ่งที่มนุษย์ได้หยั่งรู้ด้วยสัญชาตญาณมานานแล้ว.  ในอัฟริกาใต้, ความคิดของ อูบันตู, หมายความว่า, “ฉันเป็นอยู่ เพราะพวกเราเป็นอยู่”, ที่เกิดขึ้นในภาษา บันตู, แนะทั้ง โลกทัศน์หนึ่ง และ วิถีหนึ่งการดำรงอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ.
And the power of companions to fortify us -- keeping us in the stance of hope -- is suggested by a simple experiment in 2008 at the University of Virginia. Students with weighted back-packs were put at the foot of a hill and asked to estimate how steep it was. Some subjects stood next to friends; others stood alone. Students with friends next to them estimated the hill to be less steep than did those standing by themselves, and the longer a friend was known, the less steep the hill appeared.
และพลังอำนาจของเพื่อนร่วมทางที่ให้กำลังใจและเสริมให้เราแข็งแกร่ง—ทำให้เราอยู่ในจุดยืนของความหวังได้—เป็นคำแนะด้วยการทดลองง่ายๆ ในปี 2008 ที่ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย.  นักศึกษาที่แบบเป้อันหนักหน่วง ถูกนำไปยืนอยู่ที่เชิงเขาแห่งหนึ่ง แล้วให้ประเมินว่า ภูเขาลูกนั้นชันแค่ไหน.  บ้างยืนกับเพื่อนๆ; คนอื่นๆ ยืนตามลำพัง.  นักศึกษาที่เพื่อนๆ ยืนอยู่ด้วย ประเมินว่า ภูเขาชันน้อยกว่าพวกที่ยืนตามลำพัง, และเพื่อนที่รู้จักกันมายิ่งนาน, ภูเขาก็ดูเหมือนยิ่งชันน้อยลง.
 Buddies matter. With friends by our side, challenges that drain hope look less daunting. Knowing this, we can actively seek out those who share our passion and encourage us to risk for what we believe in.
เพื่อนฝูงมีความสำคัญ.  กับเพื่อนที่อยู่ข้างเรา, สิ่งท้าทายที่กัดกร่อนความหวัง ก็ดูน่ากลัวน้อยลง.  เมื่อรู้ดังนี้, เราสามารถแสวงหาคนที่แชร์ความชอบของเราอย่างแข็งขัน และ ปลุกใจให้เรากล้าเสี่ยงเพื่อทำสิ่งที่เราเชื่อ.
Think about it, if we don't experience ourselves changing, how in the world could we imagine "the world" to change?
ลองคิดดู, หากเราไม่มีประสบการณ์ว่าเรากำลังเปลี่ยนเอง, แล้วอะไรในโลกเล่าจะทำให้เราจินตนาการให้ “โลก” เปลี่ยน?
Above, I claimed that a kind of humility is required for eyes-wide-open hope. Here's what I mean. If change, expressed through countless influences, is what happens in an ecosystem, then living with an eco-mind means being ever ready for surprises: Knowing that we just can't know.
เหนือกว่านั้น, ฉันได้อ้างแล้วว่า จะต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตนชนิดหนึ่งเพื่อให้เป็นเกิดความหวังแบบดวงตาเบิกกว้างได้.  นี่เป็นสิ่งที่ฉันหมายถึง.  หากเปลี่ยน, ดังที่แสดงออกผ่านอิทธิพลนับไม่ถ้วน, คือ สิ่งที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศ, แล้วการมีชีวิตด้วย จิตนิเวศ หมายถึง เตรียมพร้อมเสมอกับความประหลาดใจ: ความรู้ที่ว่า เราเพียงไม่สามารถรู้ได้.
To stay in that frame, my trick is to carry around a mental list of big surprises -- changes I wouldn't have given much chance of ever happening. Then, regularly I review my "surprises list," I have to admit to myself that, well, I could be wrong to dismiss something as impossible the next time around.
เพื่อให้คงอยู่ในกรอบนั้น, กลยุทธ์ของฉัน คือ มีบัญชีเรื่องประหลาดใจใหญ่ๆ พกอยู่ในใจตลอดเวลา—การเปลี่ยนแปลงที่ฉันคงไม่มีโอกาสทำให้มันเกิดขึ้นได้.  แล้วก็ทบทวน “บัญชีประหลาดใจ” ของฉันอย่างสม่ำเสมอ, ฉันต้องยอมรับกับตัวเองว่า, เออ, ฉันอาจผิดก็ได้นะ ที่มองข้ามว่า บางอย่างเป็นไปไม่ได้ในรอบหน้า.
It is humbling. But it's a hopeful humility that's growing in me. One item on my "surprises" list?
มันเป็นการเจียมตัว.  แต่มันเป็นความนอบน้อมถ่อมตน ที่กำลังงอกงามในตัวฉัน.  รายการหนึ่งที่อยู่ใน บัญชี “ประหลาดใจ” ของฉันหรือ?
Aware that each year forested land the size of Costa Rica is destroyed, the UN's Plant for the Planet campaign set a global goal of planting 1 billion trees a year, starting in 2007. My response? I was sure it was way too ambitious; I wished them the best, and went on with my life. But, was I off!
ด้วยความตระหนักรู้ว่า ทุกปีผืนป่าขนาดประเทศคอสตาริกา ได้ถูกทำลายลง, การรณรงค์ของสหประชาชาติ “ปลูกต้นไม้เพื่อพิภพโลก” ได้ตั้งเป้าโลกไว้ที่ปลูกต้นไม้หนึ่งพันล้านต้นต่อปี, เริ่มต้นในปี 2007.  คำตอบของฉัน?  ฉันแน่ใจว่ามันทะเยอทะยานเกินไป; ฉันส่งความหวังดีที่สุดให้พวกเขา, แล้วก็ดำเนินชีวิตของฉันต่อไป.  แต่, ฉันผิด!
If the UNEP had met its goal, we would now be at 7 billion. But guess what? The campaign has surpassed 12 billion -- that's nearly two trees for every person on earth.
หาก UNEP ได้บรรลุเป้า, เราคงมี 7 พันล้านต้นตอนนี้.  แต่เดาซิ?  การรณรงค์ได้แซงเป้าเป็น 12 พันล้าน—หมายถึงต้นไม้เกือบสองต้นต่อทุกๆ คนบนโลก.
In other words, with an eco-mind, it's not possible to know what's possible. And that's where honest hope lives, in the uncertainty in which there is only one certainty: That what we do, however big, however small, ripples forth in ways we'll never know. And, unbeknownst to us, one may even create a cascade.
หรือพูดใหม่, ด้วยจิตนิเวศ, มันไม่เป็นไปได้ที่จะรู้ว่า อะไรเป็นไปได้.  และนั่นคือที่ๆ ความหวังที่ซื่อตรงเที่ยงธรรมดำรงอยู่, ในความไม่แน่นอน ก็มีเพียงหนึ่งความแน่นอน: ที่ว่า สิ่งที่เราทำ, ไม่ว่าจะใหญ่ขนาดไหน, เล็กขนาดไหน, ย่อมทำให้เกิดแรงกระเพื่อมอย่างที่เราไม่มีทางรู้ได้.  และอย่างที่เราไม่อาจรู้ได้, สิ่งหนึ่งอาจแม้แต่สร้างน้ำตกได้.
So we are free, free -- unapologetically and eyes wide open -- to go for the world we want.
ดังนั้น เราเป็นอิสระ, อิสระ—อย่างไม่ต้องขอโทษขอโพย และ ดวงตาเบิกกว้าง—ที่จะเดินไปในโลกแบบที่เราต้องการ.
Adapted from EcoMind: Changing the Way We Think to Create the World We Want, new April 23, 2013 in paperback from Nation Books.
ดัดแปลงจาก “จิตนิเวศ: การเปลี่ยนวิธีที่เราคิด เพื่อสร้างโลกที่เราต้องการ”, ปกอ่อนออกใหม่ จาก Nation Books, 23 เมษายน 2013.
© 2013 Frances Moore Lappé

Frances Moore Lappé is the author of EcoMind: Changing the Way We Think to Create the World We Want (Nation Books) and 17 other books including the acclaimed Diet for a Small Planet.
Published on Tuesday, April 30, 2013 by Common Dreams
ดรุณี แปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น