วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

195. ประสบการณ์พยากรณ์โลก จาก สหรัฐฯ และ คนงานอเมริกัน


195.  Prophetic Experience from U.S. and American Workers

The 40 Year Recession: The Modern Economy's Long Downward Spiral
How the "Long Recession" led to the "Great Recession"
 by Barbara Garson
สี่สิบปีแห่งการถดถอย: การดิ่งพสุธาอันยาวนานของเศรษฐกิจสมัยใหม่
“ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันยาวนาน” นำสู่ “ภาวะเศรษฐกิจมหาตกต่ำ” ได้อย่างไร
โดย บาร์บารา การ์สัน
If you had to date the Great Recession, you might say it started in September 2008 when Lehman Brothers vaporized over a weekend and a massive mortgage-based Ponzi scheme began to go down.  By 2008, however, the majority of American workers had already endured a 40-year decline in wages, security, and hope -- a Long Recession of their own.
หากคุณต้องระบุวันที่เกิด ภาวะเศรษฐกิจมหาตกต่ำ, คุณอาจบอกว่า มันเริ่มในเดือนกันยายน 2008 (๒๕๕๑) เมื่อ เลห์แมน บราเธอร์ส ระเหิดหายวับไปในชั่วข้ามสุดสัปดาห์ และ โครงการ Ponzi ที่มีฐานบนสัญญาจำนองมหาศาล เริ่มทิ่มหัวลง.  แต่ ในปี 2008, คนงานอเมริกันส่วนใหญ่ได้ตรากตรำอดทนกับการหดตัวของ ค่าแรง, ความมั่นคง, และความหวัง มา 40 ปีแล้ว—นั่นคือ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันยาวนานของพวกเขาเอง.
In the 1960s, I met a young man about to be discharged from the Army and then, by happenstance, caught up with him again in each of the next two decades.  Though he died two months before the Lehman Brothers collapse, those brief encounters taught me how the Long Recession led directly to our Great Recession.
ในทศวรรษ 1960s (๒๕๑๓-๒๓), ฉันได้พบชายหนุ่มคนหนึ่ง กำลังจะถูกปลดออกจากกองทัพ และ, ด้วยเหตุบังเอิญ, ได้เจอเขาอีกในแต่ละสองทศวรรษถัดมา.  แม้ว่าเขาจะตายไปแล้วสองเดือนก่อนที่เลห์แมน บราเธอร์ส จะล่มสลาย, การได้พบเขาในเวลาสั้นๆ เหล่านั้น ได้สอนให้ฉันรู้ว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันยาวนาน ได้นำไปสู่ ภาวะเศรษฐกิจมหาตกต่ำ ของเราโดยตรงอย่างไร.
In the late 1960s, I was working at an antiwar coffee house near an army base from which soldiers shipped out to Vietnam.  One gangly young man, recently back from “the Nam,” was particularly handy and would fix our record player or make our old mimeograph machine run more smoothly.  He rarely spoke about the war, except to say that his company had stayed stoned the whole time. “Our motto,” he once told me, “was ‘let’s not and say we did.’”  Duane had no intention of becoming a professional Vietnam vet like John Kerry when discharged.  His plan was to return home to Cleveland and make up for time missed in the civilian counterculture of that era.
ในปลายทศวรรษ 1960s, ตอนนั้น ฉันทำงานในร้านกาแฟที่ต่อต้านสงครามแห่งหนึ่งใกล้ฐานทัพ ที่ๆ ทหารถูกลำเลียงส่งออกไปเวียดนาม.  ชายหนุ่มท่าทางนักเลงคนหนึ่ง, เพิ่งกลับมาจาก “(เวียด)นาม” ทำงานเก่ง เรียกใช้ง่าย และจะช่วยซ่อมเครื่องเล่นแผ่นเสียงของเรา หรือ ช่วยทำให้เครื่องโรเนียวเก่าของเราทำงานราบรื่นขึ้น.  เขาไม่ค่อยพูดเกี่ยวกับสงคราม, ยกเว้นบอกว่า หน่วยของเขาเมาตลอดเวลา.   “คำขวัญของเรา”, ครั้งหนึ่งเขาบอกฉัน, “คือ ขอพวกเราอย่าพูดว่าเราได้ทำ’”.  ดิวแอน ไม่มีความตั้งใจที่จะเป็นทหารผ่านศึกเวียดนามอาชีพ เช่น จอห์น เคอร์รี หลังถูกปลดระวาง.   แผนของเขา คือ กลับสู่บ้านในคลีฟแลนด์ และ เติมเต็มเวลาที่เขาหลุดออกไปในยุคพลเรือนต้านวัฒนธรรม.
I often sat with him during my breaks, enjoying his warmth and his self-aware sense of humor.  But thousands of GIs passed through the coffee house and, to be honest, I didn’t really notice when he left.
ฉันมักนั่งคุยกับเขาในช่วงพัก, เพลิดเพลินกับอารมณ์ขันอันอบอุ่นและความรู้จักตัวเองของเขา.  แต่ จีไอ หลายพันคน เดินเข้าออกร้านกาแฟ และ, ด้วยความสัตย์จริง, ฉันไม่ทันสังเกตว่าเขาจากไปเมื่อไร.
In the early 1970s, General Motors set up the fastest auto assembly line in the world in Lordstown, Ohio, and staffed it with workers whose average age was 24.  GM’s management hoped that such healthy, inexperienced workers could handle 101 cars an hour without balking the way more established autoworkers might.  What GM got instead of balkiness was a series of slowdowns and snafus that management labeled systematic “sabotage” until they realized that the word hurt car sales.
ในต้นทศวรรษ 1970s (๒๕๑๓-๒๓), บริษัทผลิตรถ เยนเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ได้ตั้งโรงงานสายพานที่เร็วที่สุดในโลกใน Lordstown, รัฐโอไฮโอ, และจัดประจำการด้วยคนงานอายุเฉลี่ย 24.   ฝ่ายจัดการของ GM หวังว่า คนงานที่สุขภาพดีแข็งแรง, ไร้ประสบการณ์เหล่านี้ จะสามารถจัดการกับรถ 101 คันในหนึ่งชั่วโมง โดยไม่หยุดยั้งกลางคัน เหมือนกับพวกคนงานรถยนต์ที่อยู่นานแล้ว.  สิ่งที่ GM ได้รับแทนการหยุดงาน คือ ระลอกของการทำงานช้าลงและความวุ่นวาย ที่ถูกติดป้ายว่าเป็นการ “ก่อวินาศกรรม/บ่อนทำลาย” อย่างเป็นระบบ จนกระทั่ง พวกเขาตระหนักว่า คำพูดเช่นนั้น เป็นผลเสียต่อการตลาด/ขายรถ.
I visited Lordstown the week before a strike vote was to be taken, amid national speculation about whether a generation of “hippy autoworkers” could “humanize the assembly line” and so change forever the way America worked.  On a guided tour of the plant, I was surprised to spot Duane shooting radios into cars with an air gun.  He recognized me and slipped me a note with his phone number.
ฉันได้ไปเยี่ยม Lordstown ในสัปดาห์ก่อนมีมติประท้วง, ท่ามกลางการตั้งข้อสังเกตในประเทศว่า รุ่น “คนงานรถยนต์ฮิปปี้” หนึ่ง จะสามารถ “ทำให้สายพานโรงงานมีจิตใจเป็นมนุษย์/เมตตากรุณา” และเปลี่ยนวิธีการทำงานของอเมริกาตลอดไปได้หรือไม่.  ในการเดินสังเกตการณ์รอบๆ โรงงานโดยมีคนนำ, ฉันประหลาดใจที่เห็น ดิวแอน กำลังยิงติดตั้งวิทยุในรถด้วยปืนลม.  เขาจำฉันได้ และ ใส่แผ่นข้อความที่มีเบอร์โทรศัพท์ของเขาในมือของฉัน.
I called and, later that evening at his home, he offered me a quick summary of life since his discharge: “Remember, you guys gave me a giant banana split the day I ETSed [got out as scheduled].  Well, it’s been downhill since then.  I came back to Cleveland, stayed with my dad who was unemployed.  Man, was that ever a downer.  But I figured things would pick up if I got wheels, so I got a car.  But it turned out the car wasn’t human and that was a problem.  So I figured, what I need is a girl.  But it turned out the girl was human and that was a problem.  So I wound up working at GM to pay off the car and the girl.”
ฉันโทรไป และ, ต่อมาในเย็นวันนั้น ก็ได้ไปที่บ้านของเขา, เขาเล่าเรื่องชีวิตของเขาตั้งแต่ถูกปลดด้วยบทสรุปอย่างรวดเร็ว: “จำได้ไหม, พวกคุณให้ บานานาสปริทยักษ์ กับผมในวันที่ผมถูกปลดตามกำหนด.  เออ, แล้วมันก็ไถลลงเขาตั้งแต่นั้นมา.  ผมกลับมาคลีฟแลนด์, อยู่กับพ่อที่ตกงาน.  มันหดหู่มาก.  แต่ผมคิดว่า ทุกสิ่งคงจะดีขึ้นหากผมมีล้อ, ดังนั้นผมซื้อรถคันหนึ่ง.  แต่กลายเป็นว่า รถไม่ใช่คน และมันเป็นปัญหา.  ดังนั้น ผมคิดว่า, ผมต้องการผู้หญิงคนหนึ่ง.  แต่ก็กลายเป็นว่า ผู้หญิงเป็นคนและนั่นก็เป็นปัญหา.  ดังนั้น ผมลงเอยด้วยการทำงานที่ GM เพื่อจ่ายให้รถและผู้หญิง.
And he introduced me to his pregnant wife, of whom he seemed much fonder than his story made it sound.  The young couple had no complaints about the pay at GM.  Still, Duane planned to move on after his wife had the baby.  “I’m staying so we can use the hospital plan.”
และเขาก็ได้แนะนำภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์, ผู้ซึ่งดูเหมือนเขาจะชอบมากกว่าเรื่องที่เขาเล่าให้ฟัง.  คู่หนุ่มสาวไม่บ่นอะไรเกี่ยวกับค่าจ้างที่ GM.  ดิวแอน ยังมีแผนจะทำงานไต่เต้าสูงขึ้น หลังจากภรรยาคลอดลูกแล้ว.  “ผมจะทำงานต่อเพื่อว่าเราจะได้ใช้แผนโรงพยาบาลได้” (คงหมายถึงสวัสดิการ/ประกันสังคม?)
And what did he think was next?  “Maybe we’ll go live on the land,” he told me.  If that didn’t pan out, he said that he’d look for a job someplace less regimented, someplace where he’d get to do something “worthwhile.”  To Duane, worthwhile work didn’t necessarily mean launching a space shuttle or curing cancer.  It meant getting to see what he’d actually accomplished -- like those repairs on our mimeo machine back at the coffee house -- instead of performing repetitive snaps, twists, and squirts on cars that moved past him every 36 seconds.
และ เขาคิดจะทำอะไรต่อไป?  “เราอาจจะไปใช้ชีวิตในไร่”, เขาบอกฉัน.  หากอันนั้นไม่ได้, เขาบอกว่า เขาจะหางานที่อื่น ที่หย่อนในการแยกคนงานเป็นหมวดหมู่และมีระเบียบวินัยเคร่งครัด (เช่นที่ GM), บางแห่งที่ๆ เขาจะได้ทำบางอย่างที่ “มีคุณค่าพอ”.  สำหรับ ดิวแอน, งานที่มีคุณค่าพอไม่จำเป็นต้องหมายถึงการปล่อยยานอวกาศ หรือ รักษาโรคมะเร็ง.  มันหมายถึงได้เห็นสัมฤทธิ์ผลของสิ่งที่เขาทำจริงๆ—เหมือนงานซ่อมเครื่องโรเนียวของพวกเราเมื่อครั้งยังอยู่ที่ร้านกาแฟ—แทนที่จะทำงานซ้ำๆ ดังเปรี๊ยะๆ, บิดๆ, และ อัดฉีดบนรถที่วิ่งผ่านเขาทุกๆ 36 วินาที.
When Duane and his friends talked about quitting well-paying jobs, they weren’t just blowing off steam.  In those years, there was enough work around that if a friend moved to Atlanta or there was a band you liked in Cincinnati, you could hitchhike there and find a job in a day or two that would cover your rent and food.
เมื่อ ดิวแอน และเพื่อนของเขาคุยกันถึงเรื่องลาออกจากงานที่จ่ายดี, พวกเขาไม่ได้แค่ระบายความอึดอัดใจ.  ในปีเหล่านั้น, มีงานมากพอทั่วไป ชนิดที่ว่า หากเพื่อนคนหนึ่งย้ายไปที่แอตแลนตา หรือ มีคนที่คุณชอบใน ซินซินนาติ, คุณสามารถโบกรถไปที่นั่นและหางานได้ภายใน 1-2 วัน  ที่จะดูแลค่าเช่าและค่าอาหารของคุณได้.
That, of course, made it harder to run a business.  GM echoed many other U.S. employers in its complaints about absenteeism and high turnover among young workers.  In retrospect, this was probably the moment when many U.S. manufacturers began looking around to see just what could be done about their labor problem.  But neither Duane nor I had any premonition of the outsourcing and offshoring that would start the Great Recession decades early for so many working families.  For us, it was still a time when jobs abounded and Americans talked not about finding work, but “humanizing” it.
แน่นอน, นั่นทำให้ยากต่อการบริหารกิจ.  GM ส่งเสียงสะท้อนนายจ้างอื่นๆ ในสหรัฐฯ ที่ไม่พอใจกับการไม่มาทำงาน และ การเปลี่ยนงานสูงในหมู่คนงานหนุ่มสาว.  มองย้อนกลับไป, นี่คงเป็นช่วงเวลาที่นักอุตสาหกรรมสหรัฐฯ หลายราย ได้เริ่มมองรอบๆ ตัว เพื่อหาทางที่จะแก้ไขปัญหาแรงงานของพวกเขา.  แต่ทั้ง ดิวแอน และ ฉัน ไม่ได้รับคำเตือนล่วงหน้าใดๆ เกี่ยวกับการจัดจ้างคนภายนอก และ ย้าย (ฐานผลิต) ออกไปต่างแดน จะเบิกฤกษ์สู่ภาวะเศรษฐกิจมหาตกต่ำ เร็วขึ้นหลายทศวรรษสำหรับครอบครัวคนงานมากมายเช่นนี้.  สำหรับพวกเรา, มันยังคงเป็นเวลาที่มีงานมากมาย และ ชาวอเมริกัน คุยกันไม่ใช่เกี่ยวกับการหางาน, แต่ “ทำให้งานมีความเป็นคน”.
In the mid-1980s, I spoke at a university in Michigan and once again spotted Duane -- this time in the audience.  After the talk, we chatted and I asked him to come out with the professors who’d sponsored my lecture, but he had to collect his children from school and drop them off with the babysitter in time to get to his late afternoon shift.  His wife, he told me, would pick them up when her day shift ended.
ในกลางทศวรรษ 1980s (๒๕๒๓-๓๓), ฉันได้รับเชิญไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในรัฐมิชิแกน และ อีกครั้ง ได้เห็น ดิวแอน—ครั้งนี้ในหมู่ผู้ฟัง.   หลังจากการบรรยาย, เราได้คุยกัน และ ฉันขอให้เขาออกไปต่อด้วยกันกับอาจารย์ที่สปอนเซอร์การบรรยายของฉัน, แต่เขาต้องไปรับลูกๆ จากโรงเรียน และ ส่งไปให้พี่เลี้ยงเด็กดูแลทันเวลาที่เขาจะเข้ากะบ่ายแก่ๆ.  ภรรยาของเขา, เขาบอกฉัน, จะไปรับลูกๆ เมื่อกะของเธอสิ้นสุดลง.
“Complicated logistics!” I said.
“ช่างเป็นโลจิสติกที่ซับซ้อนเหลือเกิน!” ฉันกล่าว.
“It’s a tighter maneuver than my company in Nam ever pulled off,” he quipped.
“มันเป็นการจัดทัพที่เข้มงวดกว่าที่หน่วยของผมใน (เวียด)นาม เคยใช้”, เขาพูดเล่นลิ้น.
In the brief moments we had, Duane filled me in on his work life.  He hadn’t gone back to the land, but he no longer worked in the auto industry either.  “Too many lay-offs” was his summary of the intervening years.  In order to “keep ahead of it,” he’d upgraded and become a skilled machinist.  He had, in fact, continued to upgrade his skills to the point where, as he explained, “I program the machines that program the other machinists.”  Then he shrugged as if to say: What’re you gonna do?
ในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เรามี, ดิวแอนเติมข้อมูลให้ฉันเกี่ยวกับชีวิตทำงานของเขา.  เขาไม่ได้กลับไปทำงานบนผืนดิน, แต่เขาก็ไม่ได้ทำงานต่อในอุตสาหกรรมรถด้วย.  “ลอยแพกันมากเกินไป” เป็นบทสรุปของหลายๆ ปีระหว่างนั้น.  เพื่อ “มุ่งไปข้างหน้า”, เขาได้ยกระดับทักษะและได้กลายเป็นช่างซ่อมเครื่องจักรที่มีทักษะสูง.  อันที่จริง เขาได้ยกระดับทักษะของเขาอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดหนึ่ง, ดังที่เขาอธิบาย, “ผมโปรแกมเครื่องจักร ที่โปรแกมช่างซ่อมเครื่องจักรอื่นๆ”.  แล้วเขายักไหล่ เหมือนกับบอกว่า: คุณจะไปทำอะไรได้?
At that time, computers were just being introduced into machine shops and had the effect of taking planning away from the operators at their benches and centralizing a lot of the thinking about production in a management office or planning department.  Duane understood perfectly well that he was “keeping ahead of it” by using his own skills to de-skill others, hence that apologetic shrug.
ณ เวลานั้น, คอมพิวเตอร์เพิ่งถูกนำเสนอขายในร้านเครื่องจักรต่างๆ และผลคือ มันดึงการวางแผนจากมือคนที่ยืนทำงานที่โต๊ะ และรวมศูนย์การคิดส่วนใหญ่เกี่ยวกับการผลิตให้กระจุกอยู่ในออฟฟิศฝ่ายจัดการ หรือ สำนักแผนงาน.  ดิวแอน เข้าใจดีว่า เขาได้ “มุ่งแน่วไปข้างหน้าต่อไป” ด้วยการใช้ทักษะของเขา เพื่อปลดทักษะของคนอื่น, ดังนั้น เขายักไหล่เหมือนเป็นการขอโทษ.
His wife’s job was being similarly automated.  She was a data processor at an insurance company and regularly came home with a headache from staring into the era’s immobile, blinking CRT screens.  They had little choice, though.  By then, two incomes were needed to maintain anything like a middle-class home.
งานของภรรยาของเขาก็ถูกควบคุมโดยระบบอัตโนมัติเช่นกัน.  เธอเป็นผู้ประมวลข้อมูลที่บริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง และ กลับบ้านพร้อมกับความปวดหัวเป็นประจำจากการจ้องมองจอ CRT ของยุคนั้น ที่กระพริบตลอดเวลา.  แต่พวกเขาก็มีทางเลือกน้อย.  ถึงตอนนั้น, จำเป็นต้องมีสองแหล่งรายได้ เพื่อธำรงบ้านของชนชั้นกลาง.
In the summer of 2008, the phone rang and a man’s voice began to explain to me that he and his sisters were contacting people whose names they had found in their father’s address book to let them know that he had passed away.  Duane had died suddenly In Arizona.  He’d moved there a few years earlier to work in a shop that, his son told me, had something to do with industrial lasers (“keeping ahead of it” to the end).
ในฤดูร้อนของปี 2008, โทรศัพท์ดังขึ้น และ เสียงชายผู้หนึ่งเริ่มอธิบายว่า เขาและพี่น้องสาว กำลังติดต่อผู้คนที่พวกเขาพบรายชื่อในสมุดบันทึกที่อยู่ของพ่อของเขา เพื่อแจ้งข่าวการจากไปของพ่อ.  ดิวแอน ตายอย่างกะทันหันในรัฐอริโซนา.  เขาได้ย้ายไปที่นั่นสองสามปีก่อน เพื่อทำงานในร้านที่, ดังที่ลูกชายของเขาเล่า, มีบางอย่างให้ทำเกี่ยวกับแสงเลเซอร์ (“มุ่งไปข้างหน้าต่อไป” จวบจนวาระสุดท้าย).
The funeral was scheduled for a weekend and because of Duane’s handiwork, there was plenty of room for out-of-town guests, so his son assured me. In his Arizona home, “Dad built these beautiful built-in sleeping spaces.”  His sisters, he mentioned, were toying with the idea of moving to the house because they couldn’t imagine a stranger fully appreciating their father’s work.  They were even exploring the employment situation out there.  One was then a medical receptionist, the other a delivery truck driver.
งานศพได้ถูกกำหนดจัดขึ้นในวันสุดสัปดาห์ และ เพราะงานฝีมือของ ดิวแอน, จึงมีที่ว่างมากมายสำหรับแขกที่มาจากนอกเมือง, ดังที่ลูกชายของเขาได้ยืนยันกับฉัน.  ในบ้านอริโซนาของเขา, “พ่อได้สร้างที่นอนสวยงามเหล่านี้ที่เป็นส่วนหนึ่งของตัวบ้าน”.  พี่น้องสาวของเขา, เขาเล่าให้ฟัง, กำลังคิดเล่นๆ ว่าจะย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านนี้ เพราะพวกเขาไม่คิดว่า คนแปลกหน้าจะประทับใจกับงานฝีมือของพ่อของเขา.  พวกเขายังได้สำรวจสภาวะของงานจ้างที่นั่นด้วย.  คนหนึ่งเป็นพนักงานต้อนรับด้านการแพทย์, อีกคนเป็นคนขับรถบรรทุกขนส่งของ.
Two months later, the economy crashed.  It wasn’t exactly the moment to give up steady jobs.  By then, the Arizona real-estate bubble had fully burst, leaving the house, with all their father’s beautiful handiwork, “underwater.”  Even if they could sell it at a reasonable post-crash price, they’d still owe the bank more than $200,000.
สองเดือนต่อมา, เศรษฐกิจก็ล้มครืน.  มันไม่ใช่ช่วงเวลาของการละทิ้งงานที่ทำอยู่.  ถึงตอนนั้น, ฟองสบู่อริโซนาแตกกระจุย, ทิ้งให้บ้าน, พร้อมกับงานฝีมือสวยงามของพ่อของพวกเขา, “จมอยู่ใต้น้ำ”.  ถึงแม้พวกเขาจะสามารถขายบ้านได้ในราคาที่สมเหตุสมผลหลังการถล่มทลาย, พวกเขาก็ยังเป็นหนี้ธนาคารอยู่กว่า $200,000.
As his inheritance, all Duane had left was that house, a $15,000 death benefit, and $6,000 in credit card debt.  His children had no way to keep paying the mortgage, and so, on the advice of a lawyer, they mailed the keys to the bank and walked away.
ในส่วนมรดก, ทั้งหมดที่ ดิวแอน ทิ้งไว้ข้างหลังคือ บ้าน, เงินชดเชยการตาย $15,000, และหนี้ในบัตรเครดิตอีก $6,000.  ลูกๆ ของเขาไม่มีทางจะจ่ายค่าจำนองอีกต่อไปได้, ดังนั้น, ตามคำแนะนำของทนาย, พวกเขาส่งกุญแจทางไปรษณีย์ไปให้ธนาคาร แล้วก็เดินจากไป.
Of this situation, his son said, “Dad would have made some joke.  ‘When I was alive I once stopped you from running away from home, but I taught you to walk away from a home after I was dead.’  Something like that.  Only he’d make it come out funny.”
เกี่ยวกับสถานการณ์นี้, ลูกชายของเขาบอกว่า, “พ่อคงจะทำให้มันเป็นเรื่องขำ และพูดว่า  เมื่อพ่อยังมีชีวิตอยู่ ครั้งหนึ่งพ่อได้ห้ามแกไม่ให้วิ่งหนีจากบ้าน, แต่พ่อได้สอนให้แกเดินหนีจากบ้านไป หลังจากพ่อตาย’. อะไรทำนองนั้น.  มีแต่พ่อเท่านั้นที่จะทำให้มันเป็นเรื่องตลกได้”.
I thought back to the G.I. coffee house and Duane’s quips about his hapless army unit.  Yes, were he around, he might indeed have made a joke about a hapless American worker trudging steadily up an incline, who, like his mortgaged house, somehow wound up underwater anyway, and he probably would have made it come out funny, too -- sort of.
ฉันหวนคิดถึงร้านกาแฟ จีไอ และ การพูดอย่างเล่นลิ้นของ ดิวแอน เกี่ยวกับหน่วยกองทัพเคราะห์ร้ายของเขา.  ใช่แล้ว, หากเขายังมีชีวิตอยู่, เขาอาจทำให้มันเป็นเรื่องตลกจริงๆ เกี่ยวกับความเคราะห์ร้ายของคนงานอเมริกันที่มุ่งมั่นเดินหน้าแม้เมื่อยล้าขึ้นทางลาดเอียง, ผู้, เหมือนบ้านจำนองของเขา, ยังไงก็ต้องลงเอยจมอยู่ใต้น้ำ, และเขาก็คงจะทำให้มันดูเหมือนเรื่องตลกด้วย—ประมาณนั้น.
This is not to say that Duane led either a deprived or a worthless life.  His estate might have fallen victim to the economic meltdown of 2008, but he himself had worked steadily at increasingly skilled and perhaps even “worthwhile” jobs.  He had raised three children who still admired their father.  And he seems to have retained his self-aware but not self-deprecating humor to the end.
นี่ไม่ได้เป็นการบอกว่า ดิวแอน ได้ใช้ชีวิตที่ขาดแคลนหรือไร้คุณค่า.  อสังหาริมทรัพย์ของเขาอาจตกเป็นเหยื่อของเศรษฐกิจที่หลอมละลายลงในปี 2008, แต่ตัวเขาเองได้ทำงานอย่างมุมานะในการยกระดับทักษะ และ บางที ก็คงเป็นงานจ้าง “ที่มีคุณค่า” ด้วย.  เขาได้เลี้ยงดูลูกสามคน ที่ยังชื่นชมพ่อของพวกเขา.  และดูเหมือนเขาจะได้รักษา ความรู้จักตัวเองของเขา แต่ไม่ใช่ การดูถูกตัวเอง ในอารมณ์ขันจนถึงจุดจบ.
On the other hand, here was a working man, part of a two-income family, who had kept ahead of off-shoring, outsourcing, and automation by regularly retraining himself.  He worked hard for four decades, yet died with no savings, negative equity in his house, and credit-card debt.
ในด้านหนึ่ง, นี่เป็นชายทำงาน, ส่วนหนึ่งของครอบครัวสองรายได้, ผู้ได้เฝ้าแซงหน้าการย้ายฐานการผลิตไปต่างแดน, การจัดจ้างคนงานภายนอกมาแทนคนงานเดิม, และ การควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ ด้วยการฝึกฝนอบรมตัวเองอยู่เป็นประจำ.  เขาทำงานหนักในสี่ทศวรรษ, แต่เขาตายไร้เงินออม, ติดลบในมูลค่าราคาบ้าน, เป็นหนี้บัตรเครดิต.
Despite his growing set of skills, Duane’s income seems not to have risen significantly over his lifetime.  He was, it seems, always close to the edge.  Of course, I can hardly claim to have known him well.  Perhaps he squandered his money on secret vices, but the likelihood that his income simply stagnated over four decades certainly fit a national pattern.
ทั้งๆ ที่มีชุดทักษะมากเช่นขึ้น, รายได้ของ ดิวแอน ดูเหมือนไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงชีวิตของเขา.  ดูเหมือนว่า เขายืนอยู่ที่ขอบเหวอยู่ตลอดเวลา.  แน่นอน, ฉันอ้างไม่ได้ว่ารู้จักเขาดี.  บางที เขาอาจได้ถลุงเงินของเขาในอบายมุขลึกลับบางอย่าง, แต่มันน่าจะเป็นไปได้ที่ รายได้ของเขาเพียงแต่แช่นิ่งตลอดสี่ทศวรรษ ซึ่งคล้องจองกับแบบแผนของความเป็นไปในระดับชาติ.
Between 1971 and 2007, real hourly wages in the U.S. rose by only 4%.  (That’s not 4% a year, but 4% over 36 years!)  During those same decades, productivity essentially doubled, increasing by 99%.  In other words, the average worker’s productivity rose 25 times more than his or her pay.
ระหว่างปี 1971 และ 2007, ค่าแรงรายชั่วโมงจริงในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียง 4%.  (นั่นไม่ใช่ 4% ต่อปี, แต่เป็น 4% ตลอด 36 ปี!)   ในช่วงทศวรรษเดียวกันนั้น, ผลิตภาพได้เพิ่มขึ้นสองเท่าตัว, นั่นคือ เพิ่มขึ้น 99%.   อีกนัยหนึ่ง, ผลิตภาพของคนงานเฉลี่ย เพิ่มขึ้น 25 เท่า มากกว่าเงินที่เขาได้รับ.
This was, of course, a bonanza for corporations and for the richest Americans.  In 1976, the top 1% of U.S. families held 19% of the country’s wealth.  By 2000, they held 40% of it.  In those same years, 58% of every dollar of income growth went to the top 1%.
แน่นอน, อันนี้เป็น บุญหล่นทับ สำหรับบริษัท และ สำหรับชาวอเมริกันที่ร่ำรวยที่สุด.  ในปี 1976, กลุ่มครอบครัวในสหรัฐฯ ที่อยู่สูงสุด 1% ถือครอง 19% ของความมั่งคั่งของประเทศ.  ในปี 2000, พวกเขาถือครอง 40% ของทั้งหมด.  ในช่วงระหว่างปีเหล่านั้น,  58% ของทุกๆ หนึ่งดอลลาร์ของรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น เข้ากระเป๋าของพวกอยู่เหนือสุด 1%.
There was, however, one small problem: we Americans sell to one another more than 70% of what we produce.  If the majority of American workers were producing more without earning more, who was going to buy all the stuff?
แต่ยังมีหนึ่งปัญหาเล็กๆ: พวกเราชาวอเมริกัน ขายให้กันและกัน มากกว่า 70% ของสิ่งที่พวกเราผลิตขึ้น.  หากคนงานอเมริกันส่วนใหญ่ทำการผลิตโดยไม่ได้รับรายได้มากขึ้น, แล้วใครจะซื้อของเหล่านั้นได้?
CEOs and financiers were desperate to answer that question, for during those years of high productivity and low wages, immense profits and “returns” kept accumulating in brokerage accounts and banks.  But a bank can’t keep its money in the bank.  Under the pressure of those swelling piles of capital, the answer they offered to worker-consumers like Duane was: instead of paying you enough to buy what you produce, we’ll lend you the money.
บรรดา ซีอีโอ และ นักการเงิน พากันสิ้นหวังที่จะตอบคำถามนั้น, เพราะในช่วงปีเหล่านั้นที่ผลิตภาพสูง และ ค่าแรงต่ำ, กำไรมหาศาล และ “การคืนทุน” ได้สะสมอยู่ในบัญชีของพวกนายหน้าและธนาคาร.  แต่ธนาคารไม่สามารถเก็บแต่เงินในธนาคาร.  ภายใต้แรงกดดันของกองทุนที่บวมขึ้นทุกที, คำตอบของพวกเขาต่อ ผู้บริโภค-คนงาน เช่น ดิวแอน คือ: แทนที่จะจ่ายคุณให้มากพอที่จะซื้อสิ่งที่คุณผลิตได้, เราจะให้คุณกู้เงิน.
First, they loaned for big-ticket items: cars, homes, college educations; then, through credit cards, for everyday household expenses.  As we came to realize after the meltdown of 2008, the ultimate Ponzi scheme of the era would involve bundling and reselling mortgage loans made to people who couldn’t afford houses in the first place.
ขั้นแรก, กู้เงินสำหรับสินค้าชิ้นใหญ่ๆ : รถ, บ้าน, การศึกษาวิทยาลัย; แล้วก็, จ่ายผ่านบัตรเครดิต, เพื่อสำรองค่าใช้จ่ายประจำวันในครัวเรือน.  ดังที่พวกเราตระหนักในที่สุด หลังจากการหลอมละลายในปี 2008, ที่สุดของโครงการ Ponzi แห่งยุค คือ การมัดสัญญาจำนองกู้บ้าน รวมเป็นดุ้นๆ แล้ว ขายมัน ให้แก่ประชาชนที่ไม่สามารถซื้อบ้าน.
The answer offered to those who had ever less money to spend was: take out more loans.  The folly of lending money to people with stagnant or declining wages may seem obvious now, but like many houses of cards it must have looked solid enough to some back then.   Still, let’s not underestimate our major financiers.  On a CNBC program, former Federal Reserve Chairman Alan Greenspan was asked why no one had seen the mortgage crisis coming and told the bankers, “You know what?  This is going to end badly.”
คำตอบที่เสนอต่อคนที่มีเงินน้อยมาตลอด ให้จ่าย คือ: กู้เพิ่มขึ้น.  ความโง่เขลาของการปล่อยเงินกู้แก่คนที่มีค่าแรงแช่แข็ง หรือ ลดลง อาจดูเหมือนเป็นเรื่องเข้าใจได้ง่ายในขณะนี้, แต่ก็เหมือนกับบ้านที่ก่อบนไพ่มากมาย มันจะต้องดูเหมือนมั่นคงพอตอนนั้น.  ถึงกระนั้น, ขอให้เราอย่าดูถูกนักการเงินหลักๆ ของเรา.  ในโปรแกมหนึ่งของ CNBC, อดีตประธานกองทุนสำรองแห่งชาติ Alan Greenspan ถูกถามว่า ทำไมไม่มีใครเห็นวิกฤตการจำนองว่ากำลังมาถึง และบอกนายธนาคารว่า “คุณรู้ไหม?  นี่จะจบอย่างแย่มากๆ นะ”.
Greenspan answered: “It’s not that they weren’t aware that the risks were there, I mean I spoke to them.  It’s not that the people were dumb.  They knew precisely what was going on.  The vast majority of them thought that they knew when to get out.”
Greenspan ตอบว่า: “มันไม่ใช่ว่า พวกเขาไม่รู้ตัวว่า ความเสี่ยงอยู่ตรงหน้า, ผมหมายความว่า ผมได้บอกพวกเขาแล้ว.  มันไม่ใช่เพราะว่าคนมันโง่.  พวกเขารู้อย่างแม่นยำว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น.  พวกเขาส่วนใหญ่คิดว่า พวกเขารู้ว่าเมื่อไรจะถอนตัวออกมา”.
In fact, creative financial spinning had kept this unbalanced vehicle upright for a remarkably long time.  Nonetheless, like any other Ponzi scheme it eventually collapsed, and that’s when Duane’s long recession turned into the world’s Great Recession.
อันที่จริง, การปั่นเงินแบบสร้างสรรค์ ได้ทำให้ยานพาหนะที่ไม่สมดุลนี้ อยู่ในสภาพตั้งตรงอยู่เป็นเวลานานมากอย่างน่าประหลาด.  ถึงอย่างไร, ก็เหมือนกับโครงการ Ponzi อื่นๆ ที่ในที่สุดก็ต้องพังทลายลง, และนั่นก็คือ เมื่อ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันยาวนานของ ดิวแอน ได้เปลี่ยนเป็น ภาวะเศรษฐกิจมหาตกต่ำ ของโลก.

© 2013 Barbara Garson

Barbara Garson is the author of two classic books about work: All the Livelong Day: The Meaning and Demeaning of Routine Work. Her forthcoming book is "Down the Up Escalator: How the 99% Live in the Great Recession."
บาร์บารา การ์สัน เป็นผู้เขียน หนังสือคลาสสิคสองเล่มเกี่ยวกับงาน:  “All the Livelong Day: The Meaning and Demeaning of Routine Work” (วันยาวนานตลอดชีพทั้งหมด: ความหมาย และ การลดความหมาย ของงานประจำซ้ำซาก).  หนังสือที่กำลังจะออก “Down the Up Escalator: How the 99% Live in the Great Recession" (ขาลงของบันไดเลื่อนขาขึ้น: ประชาชน 99% มีชีวิตในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำที่สุดอย่างไร).

Published on Tuesday, April 9, 2013 by TomDispatch.com


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น