วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

261. ความร่วมมือเมือง-ชนบท ในการสร้างระบบตลาดขายตรง เกื้อกูลกิจการครอบครัวเกษตรย่อย: บราซิล


261.  Urban-Rural Collaboration in Creating Direct Market Supporting Small Farm Family Enterprises: Brazil

Rede Raízes da Mata: Strengthening links between producers and consumers
by Nina Abigail Caligiorne Cruz , Fabricio Vassalli Zanelli , Heitor Mancini Teixeira , Irene Maria Cardoso
รีด ไรเซส ดา มาตา: เสริมความเข้มแข็งความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค
-          นินา อบิเกล ครูซ ฯลฯ
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
As in many other parts of the world, farmers in the Zona da Mata region, in the Brazilian state of Minas Gerais, were encouraged to take up the Green Revolution package. This model also prescribed integration with the international markets. Family farmers, however, have found that this model has not brought the promised benefits. Many different efforts have led to viable alternatives. One of these is Rede Raízes da Mata, started in 2011 as a joint initiative by a group of university students and local producers.
ดังเช่นคนอื่นมากมายใน ภาคส่วนอื่นๆ ในโลก, เกษตรกรใน ภูมิภาค ซอนา ดา มาตา, ในรัฐบราซิล ของ มินาส เกอราอิส, ถูกชักจูงให้รับปฏิวัติเขียว.  โมเดลนี้ ก็มีใบสั่งให้ผนวกรวมเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ.  แต่ครอบครัวเกษตรกร พบว่า โมเดลนี้ ไม่ได้นำผลประโยชน์มาให้ตามสัญญา.  หลายๆ ความพยายามต่างๆ ได้นำไปสู่ทางเลือกที่ใช้ได้.  หนึ่งในนั้น คือ รีด ไรเซส ดา มาตา, ที่เริ่มต้นในปี ๒๕๕๔ ในฐานะโครงการร่วม โดยกลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยกับผู้ผลิตท้องถิ่น.
Farming Matters | 29.2 | June 2013
Consumers have access to healthy food, and the opportunity to participate actively. Photos: Rede Raízesda Mata
As part of the democratisation process in Brazil at the end of the 1980s, many protests and movements were organised around the problems that existed in the rural areas, promoting the rights of small-scale farmers and seeking alternatives to the mainstream production model.
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตย ในบราซิล ในตอนปลายทศวรรษ ๒๕๒๓, การประท้วงและการเคลื่อนไหวมากมายรอบๆ ปัญหาที่มีอยู่ในชนบท, เป็นการส่งเสริมสิทธิของเกษตรกรรายย่อย และ แสวงหาทางเลือกที่ต่างจากโมเดลการผลิตของกระแสหลัก.
In the Zona da Mata, many of these efforts were driven by the farmers themselves, founding various farmers’ unions (“Sindicatos de Trabalhadores Rurais”) and other rural organisations.
ใน ซอนา ดา มาตา, หลายความพยายาม ขับเคลื่อนโดยตัวเกษตรกรเอง, ด้วยการก่อตั้งสหภาพเกษตรกรต่างๆ และ องค์กรชนบทอื่นๆ.
They worked together with a group of students and lecturers from the Universidade Federal de Viçosa (UFV), and also with technicians and extension agents sensitive to the environmental and social degradation in the region, to create an NGO to promote an alternative ecological approach. This was named CTA-ZM, or the Centre for Alternative Technologies in Zona da Mata.
พวกเขาทำงานร่วมกับนักศึกษาและอาจารย์กลุ่มหนึ่ง จากมหาวิทยาลัย Federal de Viçosa (UFV), และร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ภาคสนามที่อ่อนไหวต่อความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและสังคมในภาค, ได้สร้างเอ็นจีโอหนึ่งขึ้น เพื่อส่งเสริมแนวทางเลือกนิเวศ.  ชื่อว่า CTA-ZM, หรือ ศูนย์เทคโนโลยีทางเลือกใน ซอนา ดา มาตา.
Twenty-five years later, a visitor to the region can see many positive results, ranging from the ecological management of soils to the emergence of a strong organisation of women farmers. Throughout this period, the region has seen a drastic change in agricultural production and the way that farmers reach consumers with their products, which now include not only coffee but also dairy products, honey, vegetables, fruits, grains, amongst others.
หลังจากนั้น ๒๕ ปี, แขกผู้มาเยือนภาคนี้ สามารถเห็นผลบวกมากมาย, ตั้งแต่การจัดการดินเชิงนิเวศ จนถึง การเกิดขึ้นขององค์กรเกษตรกรหญิงที่เข้มแข็ง.   ตลอดช่วงเวลานี้, ภาคนี้ ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในการผลิตทางเกษตร และ ในหนทางที่เกษตรกรยื่นมือไปถึงผู้บริโภคด้วยผลิตผลของตน, ซึ่งตอนนี้ ไม่เพียงรวมกาแฟ แต่ยังมี ผลิตภัณฑ์นมโค, น้ำผึ้ง, ผัก, ผลไม้, ธัญพืช, และอื่นๆ.
A study conducted by CTA in 2009 identified several marketing possibilities in Zona da Mata, including street markets, farmers’ associations and co-operative sales points, door-to-door selling and the interest of different government agencies for locally-sourced products.
การศึกษาที่กระทำโดย CTA ในปี ๒๕๕๒ ได้ระบุความเป็นไปได้ในการตลาดหลายอย่าง ใน ซอนา ดา มาตา, เช่น ตลาดถนน, สมาคมเกษตรกร และ จุดขายของๆ สหกรณ์, การขยายเคาะประตู และ ความสนใจของหน่วยงานรัฐบาล สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มาจากท้องถิ่น.
However, the commercialisation of agro-ecological products remained, and still remains, a great challenge. A lot of products are seasonal, and increasing the total output is difficult, as most farmers grow many different products simultaneously and experience limitations in terms of land and labour.
แต่ การพาณิชย์ของผลิตผลเกษตรนิเวศ ยังคงเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง.  ผลิตผลส่วนใหญ่เป็นไปตามฤดูกาล, และ การเพิ่มปริมาณผลได้ทั้งหมดเป็นเรื่องยาก, เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกผลิตผลหลายอย่างแตกต่างกันพร้อมๆ กัน และ ต่างประสบข้อจำกัดเรื่อง ที่ดินและแรงงาน.
The existence of sanitary regulations which do not match the reality that family farmers face is also a big obstacle. The study mentioned that many of the difficulties faced by farmers could be reduced through an educational process based on the exchange of experiences and knowledge, developing farmers’ capacities to enhance already existing initiatives and raising their awareness of the mechanisms for achieving certain required market standards. The recommended strategies also included enhancing the value of products through, for example, the use of specific labels and logos and better packaging.
ข้อบังคับที่มีอยู่ด้านสุขอนามัย ที่ไม่สามารถเข้ากันได้กับความเป็นจริงที่ครอบครัวเกษตรกรเผชิญอยู่ ก็เป็นอุปสรรคใหญ่.  การศึกษาได้บรรยายว่า ความยากลำบากที่เกษตรกรเผชิญ สามารถลดลงได้ด้วยกระบวนการศึกษา ที่มีฐานบนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้, พัฒนาสมรรถนะของเกษตรกรให้ยกระดับการริเริ่มที่มีอยู่แล้ว และ ช่วยให้พวกเขาตื่นรู้ถึงกลไกที่จะทำให้บรรลุมาตรฐานบางประการที่ตลาดต้องการ.   ยุทธศาสตร์ที่แนะนำก็ยังรวมการเพิ่มคุณค่าของผลิตผลผ่าน, เช่น, การติดฉลากและยี่ห้อเฉพาะ และ การบรรจุภัณฑ์ที่ดีขึ้น.
 Every week, more than 200 different products in a list which changes seasonally. Photos: Rede Raízes da Mata

Rede Raízes da Mata / รีด ไรเซส ดา มาตา

After many small-scale attempts, the accumulated lessons learned led to the foundation of Rede Raízes da Mata (or the “Forest Roots Network”) in 2011 in a joint effort between producers, consumers, the university and CTA. The main goal of the network is to improve the commercialisation of local agro-ecological produce by establishing stronger links between producers and consumers.
หลังจากพยายามในขนาดเล็กหลายครั้ง, การถอดบทเรียนที่สะสม ได้กลายเป็นรากฐานของ รีด ไรเซส ดา มาตา (หรือ “เครือข่ายรากป่า”)  ในปี ๒๕๕๔ ในความพยายามร่วมระหว่างผู้ผลิต, ผู้บริโภค, มหาวิทยาลัย และ CTA.  เป้าหมายหลักของเครือข่าย คือ ปรับปรุงการค้าขายของผลผลิตเกษตรนิเวศท้องถิ่น โดยก่อตั้งความเชื่อมโยงที่เข้มแข็งกว่าระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค.
During the past two years it has worked on a co-operative basis, with farmers playing an active role in deciding what products will be provided, and determining the quantities and prices for each product. Consumers help to run the network as volunteers and active supporters, gaining both access to healthy, local and diverse food, and the opportunity to share their comments and suggestions.
ในสองปีที่ผ่านมา มันได้ทำงานแบบสหกรณ์, มีเกษตรกรเล่นบทรุกในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร, และกำหนดปริมาณและราคาของผลผลิตแต่ละชนิด.  ผู้บริโภคได้ช่วยดำเนินการเครือข่ายด้วยการเป็นอาสาสมัคร และ ผู้สนับสนุนอย่างแข็งขัน, ทำให้เข้าถึงทั้งอาหารที่แข็งแรง, มาจากท้องถิ่นและหลากหลาย, และ โอกาสที่จะแบ่งปันความเห็นและคำแนะนำของตน.
Work is organised on a weekly basis and facilitated by a team of students from the university. A spreadsheet is made after consulting the farmers about the availability of products: every Monday, a new spreadsheet with the week’s offers is sent to all registered customers. They have until Wednesday to return their order by e-mail. All the producers are contacted every Wednesday with the order for their produce, specifying the amount to be delivered.
งานถูกจัดเป็นรายสัปดาห์ และ อำนวยความสะดวกโดยทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย.  หลังจากปรึกษากับเกษตรกร ก็ได้ทำบัญชีเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่มี: ทุกวันจันทร์, บัญชีใหม่แสดงสิ่งของที่สัปดาห์นี้จะมีขาย จะถูกส่งไปยังผู้บริโภคที่ได้ลงทะเบียนด้วย.  พวกเขามีเวลาถึงวันพุธ ที่จะสั่งสินค้าโดยทางอีเมล.  ผู้ผลิตทั้งหมดจะถูกติดต่อทุกๆ วันพุธ ด้วยใบสั่งสินค้าของพวกเขา, พร้อมทั้งระบุปริมาณที่ต้องการให้ส่ง.
Friday is the delivery day, when the producers bring their products before 3 p.m. to the network’s office, which is located inside the university campus (in a space where workshops, debates and several other activities also take place). Here all the produce is put together as individual packages for the customers by 6:30 p.m., when the office is open for people to collect their orders.
วันศุกร์ เป็นวันส่งของ, เมื่อผู้ผลิตนำผลิตผลของตนมาส่งที่ สนง ของเครือข่ายก่อนบ่ายสามโมง, ซึ่งตั้งอยู่ภายในตัวมหาวิทยาลัย (ในพื้นที่ๆ การประชุมเชิงปฏิบัติการ, การอภิปราย และ กิจกรรมอื่นๆ ได้เกิดขึ้นที่นั่น).  ที่นี่ ผลผลิตทั้งหมดถูกจัดให้เป็นห่อๆ ให้ลูกค้าภายใน ๑๘.๓๐ น., เมื่อ สนง เปิดให้ผู้คนมาเอาของตามสั่ง.
There are over three hundred consumers registered in the network today, most of whom pick up a personal package every week. The list from which they can choose currently contains more than two hundred products, including fruits and vegetables as well as fresh teas, coffee, beans, corn flour, artisanal breads and even natural cosmetics. This diverse range of products changes seasonally. The supply of products comes from seven individual farmers and nine different groups of family farmers in the region, including associations, co-operatives and production groups.
มีผู้บริโภคกว่า ๓๐๐ คนลงทะเบียนในเครือข่ายทุกวันนี้, ส่วนใหญ่จะมาหยิบห่อของตนทุกสัปดาห์.  รายการที่พวกเขาเลือกซื้อได้ ตอนนี้มีกว่า ๒๐๐ ชนิด, รวมทั้ง ผลไม้และผัก ตลอดจนของสด เช่น ชา, กาแฟ, ถั่ว, แป้งข้าวโพด, ขนมปังบ้าน และแม้แต่เครื่องสำอางค์.  ผลิตผลแปรเปลี่ยนหลากหลายตามฤดูกาล.  แหล่งของผลผลิตมาจากเกษตรกร ๗ ราย และ ๙ กลุ่มต่างๆ ของครอบครัวเกษตรกรในภาค, รวมทั้ง สมาคม, สหกรณ์ และ กลุ่มผลิต.

One of many efforts / หนึ่งในหลายความพยายาม

While family farmers are working to improve access to markets, they are also benefitting from an increasing demand from an urban population interested in consuming healthier, good quality, food that is not contaminated by pesticides and is free from GMOs. The Forest Roots Network is a small initiative that is very modest in terms of coverage when compared to most agribusinesses, but it is not the only one. Members of the network see themselves as a “complementary tool”.
ในขณะที่ครอบครัวเกษตรกรทำงานเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงตลาด, พวกเราก็ได้รับประโยชน์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากประชากรเมือง ที่สนใจจะกินอาหารที่แข็งแรงกว่า, คุณภาพดี, อาหารที่ไม่ได้ปนเปื้อนด้วยยาฆ่าแมลงและปลอดจาก จีเอ็มโอ.  เครือข่ายรากป่า เป็นการริเริ่มน้อยๆ ที่ครอบคลุมย่อมๆ เมื่อเทียบกับ ธุรกิจเกษตร, แต่มันไม่ใช่เพียงแห่งเดียว.  สมาชิกของเครือข่าย เห็นตัวเองเป็น “เครื่องมือเกื้อกูล”.
As Edilei Cirilo da Silva, a farmer and member, says, “the network is an alternative that is helping to overcome the difficulty that farmers have in accessing the market. Of course, it’s not the only solution, but this kind of initiative can reach large numbers and play an important role encouraging and supporting farmers to produce food for the market, and also to feed themselves! The role of the network is also to strengthen the dialogue within society about the problems caused by modern agriculture. We need to work together with others and reach a wide variety of audiences, including workers, employees and civil servants, in order to break the myth that our products, because they are organic, are much more expensive than conventional ones.”
ดังที่ เอดิไร ซิริโล ดา ซิลวา, สมาชิกและเกษตรกรคนหนึ่ง, กล่าวว่า, “เครือข่ายเป็นทางเลือกที่ช่วยให้เอาชนะความยากลำบากที่เกษตรกรประสบในการเข้าถึงตลาด.  แน่นอน, มันไม่ใช่ทางออกเพียงทางเดียว, แต่เป็นการริเริ่มที่สามารถยื่นออกไปถึงคนจำนวนมาก และ เล่นบทบาทสำคัญในการจูงใจ และ สนับสนุนเกษตรกรให้ผลิตอาหารสำหรับตลาด, และเลี้ยงตัวเองด้วย!  บทบาทของเครือข่ายก็ยังช่วยเสริมเข้มแข็งการเสวนาแลกเปลี่ยนภายในสังคม เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากเกษตรกรรมสมัยใหม่.  เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกันกับคนอื่นๆ และ ยื่นไปถึงผู้ฟังหลากหลายกว้างขวาง, รวมทั้ง คนงาน, ลูกจ้าง และ ข้าราชการ, เพื่อทลายมายาคติ ที่ว่า ผลผลิตของเรา, เพราะว่ามันเป็นอินทรีย์, มีราคาแพงกว่าของในตลาดมากๆ”.
Such efforts are benefitting from innovative governmental policies. A good example is the PAA programme, established in 2003 by the national government to promote food security and strengthen family farming through the acquisition and distribution of food products. Family farmers can sell their products directly to the government for a fair price without going through a difficult and bureaucratic process. Some of the products are donated to public organisations such as popular restaurants, or to food banks from where they are distributed to vulnerable social groups. The other part is acquired by family farmers’ organisations in other regions.
ความพยายามเหล่านี้ ได้รับประโยชน์จากนโยบายนวัตกรรมของรัฐบาล.  ตัวอย่างที่ดี คือ โปรแกม PAA, ที่ตั้งขึ้นในปี ๒๕๔๖ โดยรัฐบาลกลาง เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร และ ทำให้ครอบครัวเกษตรเข้มแข็ง ผ่านการจัดหาและกระจายผลิตผลอาหาร.  ครอบครัวเกษตรกร สามารถขายผลิตภัณฑ์ได้โดยตรงแก่รัฐบาล ในราคาเป็นธรรม โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการที่ลำบากและซับซ้อนของราชการ.  ผลิตภัณฑ์บางอย่างถูกบริจาคให้องค์กรสาธารณะ เช่น ร้านอาหารสาธารณะ, หรือ ธนาคารอาหาร ซึ่งจากจุดนั้น ก็ถูกกระจายสู่กลุ่มเปราะบางทางสังคม.  ส่วนอื่น ขายให้องค์กรครอบครัวเกษตรกรในภาคอื่น.
Another interesting measure was taken in 2009, with changes made to the implementation of the National Programme for School Nutrition. This has been running since 1955, supporting students enrolled in the public basic educational system. The law passed in 2009 stipulated that at least 30% of the programme’s resources (990 million reais, or 370 million euros, in 2012) must be used for purchasing products from family farmers.
อีกมาตรการที่น่าสนใจ เกิดขึ้นในปี ๒๕๕๒, ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการดำเนินโปรแกมแห่งชาติเพื่อโภชนาการโรงเรียน, ซึ่งได้ดำเนินมาตั้งแต่ ปี ๒๔๙๘, เป็นการสนับสนุนนักเรียนที่เรียนอยู่ในระบบการศึกษาพื้นฐาน.  กฎหมายที่ออกมาในปี ๒๕๕๒ ระบุว่า อย่างน้อย 30% ของทรัพยากรของโปรแกม (๓๗๐ ล้านยูโร, ในปี ๒๕๕๕) จะต้องใช้เพื่อซื้อผลิตภัณฑ์จากครอบครัวเกษตรกร.

A win-win model / โมเดล ชนะทุกฝ่าย

The Forest Roots Network serves as a bridge between local production and consumption, and strengthens the links between farmers and consumers. Through the network, farmers are able to sell small quantities of many different products for a fair price. This turns their production on small plots of land into a viable and profitable enterprise, resulting in higher biodiversity levels.
เครือข่ายรากป่า ทำหน้าที่เป็นสะพานระหว่างการผลิตและการบริโภคท้องถิ่น, และ ช่วยให้ความเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภคเข้มแข็งขึ้น.  ด้วยเครือข่าย, เกษตรกรสามารถขายผลผลิตหลากหลายในปริมาณน้อย ในราคาเป็นธรรม.  ซึ่งช่วยให้การผลิตในแปลงเล็กๆ ให้เป็นกิจการที่งอกงามและทำกำไรได้, ยังผลให้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงขึ้น.
Although small, the Forest Roots Network represents a significant movement towards reorganising the agri-food systems, helping to reshape social relations and creating new market structures. The initiative contributes to raising consumer awareness about agro-ecology and local food, and has already inspired the creation of new consumer networks in two other municipalities in the region.
แม้ว่าจะเล็กๆ, เครือข่ายรากป่า เป็นตัวแทนของการเคลื่อนไหวที่มีนัยสำคัญ สู่ระบบอาหาร-เกษตร, ด้วยการช่วยปรับทิศทางความสัมพันธ์ทางสังคม และ สร้างโครงสร้างตลาดใหม่.  ความริเริ่มนี้ ได้ช่วยยกระดับความตื่นตัวของผู้บริโภคเกี่ยวกับเกษตรนิเวศ และ อาหารท้องถิ่น, และ ได้เป็นแรงบันดาลใจของเครือข่ายผู้บริโภคใหม่ในอีกสองเทศบาลในภาคนี้.

Nina Abigail Caligiorne Cruz, Fabricio Vassalli Zanelli and Heitor Mancini Teixeira are students and graduates of the Universidade Federal de Viçosa. Irene Maria Cardoso works as lecturer at the same university.
E-mail: heitorteixeira_5@hotmail.com

References
Cardoso, I. M. and E. A. Ferrari, 2006. Construindo o conhecimento agroecológico: trajetória de interação entre ONG, universidade e organizações de agricultores. Revista Agriculturas, v. 3-4.

Grisa, C.; C.J. Schmitt, L. Mattei, R. Maluf and S. Leite, 2011. Contribuições do Programa de Aquisição de Alimentos à segurança alimentar e nutricional e à criação de mercados para a agricultura familiar. Revista Agriculturas, v. 8-3.

260. บูรณะความหมายของอาหาร และ การแลกเปลี่ยนท้องถิ่น: เอกัวดอร์


260.  Reconstructing Meaning of Food and Local Exchange Relation: Ecuador

Local food systems: Tzimbuto and Canasta Utopia
 Written  by Francisco Lema , Sonia Zambrano , Pedro J. Oyarzun , Ross Mary Borja
ระบบอาหารท้องถิ่น: ทิมบูโต และ คานาสตา ยูโทเปีย
-ฟรานซิสโก เลมา ฯลฯ
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
In December 2012 Farming Matters ran an article about “Development 3.0”, highlighting the importance of showcasing peoples’ experiences as an inspiration for social change. The Canastas Comunitarias, a movement started by families to address their concerns over food prices (and presented in vol. 28.3 of our magazine) provides a clear example of this approach. Today, the movement has expanded to six cities in Ecuador and has diversified to address new concerns, but remains a perfect example of the benefits of local food systems.
ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ FM ได้ลงบทความเกี่ยวกับ “การพัฒนา ๓.๐”, ชูความสำคัญของการแสดงประสบการณ์ของประชาชน ในฐานะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม.  Canastas Comunitarias, เป็นการเคลื่อนไหวที่เริ่มโดยครอบครัวเพื่อตอบโจทย์ความห่วงใยของพวกเขาต่อเรื่องราคาอาหาร เป็นตัวอย่างชัดเจนในแนวทางนี้.  วันนี้, การเคลื่อนไหวได้ขยายไปอีก ๖ เมืองในเอกัวดอร์ และ ได้แตกสาขาในการตอบโจทย์ข้อห่วงใยใหม่๐, แต่ยังคงเป็นตัวอย่างดีเยี่ยมของประโยชน์ของระบบอาหารท้องถิ่น.

Farming Matters | 29.2 | June 2013
Better incomes, healthy food, a stronger organisation. Photo: EkoRural
Over several decades, intermediaries have acquired more and more power in influencing how urban families in Ecuador acquire their food. As part of this process, the urban population has progressively lost track of the different relationships and meanings generated through food procurement.
กว่าหลายทศวรรษ, คนกลางได้เพิ่มพูนอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ ในการสร้างอิทธิพลต่อครอบครัวชาวเมืองในเอกัวดอร์ในเรื่องการซื้อหาอาหาร.  เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้, ประชากรเมืองก็ค่อยๆ หลงลืมความสัมพันธ์และความหมายต่างๆ ที่เกิดจากการหาอาหาร.
At the same time, agricultural production is less shaped by the local context and culture. The growing distance between producers and consumers means that consumers have lost touch with the farms or region where their food comes from, producers don’t know who will eat their products, and both groups are increasingly vulnerable to the interests of intermediaries.
ในขณะเดียวกัน, การผลิตทางเกษตรก็อยู่กำกับอยู่ในบริบทและวัฒนธรรมของท้องถิ่นน้อยลง.  ระยะทางระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ห่างไกลกันมากขึ้น หมายความว่า ผู้บริโภคได้สูญความสัมพันธ์กับไร่นา หรือ ภูมิภาค ที่มาของอาหารที่พวกเขากิน, ผู้ผลิตไม่รู้ว่าใครจะกินผลผลิตของพวกเขา, และ ทั้งสองฝ่ายต่างเปราะบางมากขึ้นภายใต้ผลประโยชน์ของคนกลาง.
The development of longer chains is a main characteristic of the modern food system. Consumers and producers do not know one another (and it is becoming increasingly difficult for them to know one another), farmers’ incomes are falling, consumers’ choices are limited, and diets are less varied and less healthy.
การพัฒนาห่วงโซ่ยาวยิ่งขึ้น เป็นลักษณะหลักของระบบอาหารสมัยใหม่.  ผู้บริโภคและผู้ผลิต ไม่รู้จักกัน (และก็ยากขึ้นเรื่อยๆ ที่พวกเขาจะรู้จักกัน), รายได้ของเกษตรกรลดลง, ทางเลือกของผู้บริโภคจำกัด, และ โภชนาการก็ซ้ำๆ จำกัดชนิดและไม่แข็งแรง.
Based on a renewed relationship between producers to consumers, the concept of local food networks is becoming increasingly relevant. Various examples of direct access to markets, or of “shortcuts to commercialisation”, have emerged as a reaction to the growing power exerted by intermediaries and a handful of supermarkets, showing that families, when they organise, have the potential to change a difficult situation.
บนพื้นฐานของการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค, กรอบคิดเรื่องเครือข่ายอาหารท้องถิ่น กำลังกลายเป็นเรื่องเข้าท่ามากขึ้น.  ตัวอย่างต่างๆ ของการเข้าถึงตลาดโดยตรง, หรือ “ทางลัดของการพาณิชย์”, ได้ผุดขึ้นเป็นปฏิกิริยาต่อการขยายอำนาจที่คนกลางและซูเปอร์มาร์เก็ตหยิบมือสร้างอิทธิพล, เป็นการแสดงว่า ครอบครัว, เมื่อรวมตัวเป็นกระบวน, มีศักยภาพเปลี่ยนสถานการณ์ที่ยากลำบากได้.
One of the best examples is that of the Canastas Comunitarias. These started in the 1980s as urban consumer groups, with members pooling funds to make bulk purchases, which are then divided among the families in the group, giving them substantial savings. Today, the Canastas Comunitarias are a national network of urban, lower class families who have crafted an alternative model that helps them save money, while providing access to quality food.
ตัวอย่างดีที่สุดหนึ่ง คือ Canastas Comunitarias ที่เริ่มในทศวรรษ ๒๕๒๓-๓๓ ในฐานะกลุ่มผู้บริโภคเมือง, โดยสมาชิกลงขันรวมเงินเพื่อซื้อแบบเหมาโหล, แล้วก็แบ่งกันระหว่างครอบครัวในกลุ่ม, ทำให้พวกเขาออมเงินได้เป็นกอบเป็นกำ.  ทุกวันนี้ Canastas Comunitarias เป็นเครือข่ายระดับชาติของครอบครัวชนชั้นล่างในเมือง ผู้ได้สร้างโมเดลทางเลือกที่ช่วยให้พวกเขาประหยัดเงิน,ในขณะที่ช่วยให้เข้าถึงอาหารคุณภาพ.
But what first started as a collective purchasing mechanism to save citizens money, slowly led participants to question the origins and ways in which the food they consume is produced. Many consumers openly started to question the value of saving money by buying food produced with chemical inputs. This encouraged them to approach farmers in search for answers and closer ties, helping the Canastas Comunitarias to become a tool to strengthen the relationship with producers.
แต่สิ่งที่เริ่มจากเป็นกลไกซื้อของร่วมกัน เพื่อประหยัดเงินของพลเมือง, ค่อยๆ นำให้ผู้เข้าร่วมตั้งคำถามต่อแหล่ง และ วิธีการผลิตของอาหารที่พวกเขากิน.   ผู้บริโภคหลายคนเริ่มตั้งคำถามอย่างเปิดเผยต่อคุณค่าของการประหยัดเงินจากการซื้ออาหารที่ผลิตด้วยวัสดุเคมีภัณฑ์.   นี่กระตุ้นให้พวกเขาเข้าหาเกษตรกรเพื่อหาคำตอบและสัมพันธ์ใกล้ชิดขึ้น, เป็นการช่วยให้ Canastas Comunitarias กลายเป็นเครื่องมือ เพื่อเสริมสร้างสายสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับผู้ผลิต.

Tzimbuto and Canasta Comunitaria Utopía
ทิมบูโต และ Canastas Comunitar ยูโทเปีย

Both groups have learnt about the importance of a sustainable approach to agriculture
ทั้งสองกลุ่มได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของแนวทางยั่งยืนสู่การเกษตร
With approximately 250 inhabitants, Tzimbuto is a small, rural community located in the province of Chimborazo, in Ecuador’s central highlands. It is one of the areas where EkoRural, a local development organisation, had been supporting a farmer-led initiative.
ด้วยประชากรประมาณ ๒๕๐ คน, ทิมบูโต เป็นชุมชนชนบทเล็กๆ ในจังหวัด ชิมโบราโซ, ในที่สูงตอนกลางของเอกัวดอร์.  มันเป็นพื้นที่หนึ่งที่ ชนบทนิเวศ (EkoRural), องค์กรพัฒนาท้องถิ่นแห่งหนึ่ง, ได้ให้การสนับสนุนโครงการที่เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่ม.
Farmers have different plots spread throughout the area, where they grow a variety of crops. At an average altitude of 3,000 m above sea level, these plots contain various crops, medicinal plants and fruit trees, forming a mosaic of diversity.
เกษตรกรมีแปลงเพาะปลูกกระจายทั่วพื้นที่, ที่พวกเขาได้ปลูกพืชชนิดต่างๆ.   ในระดับสูงเฉลี่ย ๓,๐๐๐ เมตรเหนือระดับทะเล, แปลงเหล่านี้มีพืชหลากชนิด, สมุนไพร และ ผลไม้, เป็นภาพลวดลายของความหลากหลายทางชีวภาพ.
At the beginning of 2010, the Asociación Nueva Generación, which is mostly made up of women from Tzimbuto, met the leaders of Canasta Comunitaria Utopía, one of Ecuador’s oldest canastas, which is based in the nearby city of Riobamba. Having previously worked with both groups, EkoRural saw the opportunity to bring together their complementary interests around food consumption and production, and facilitated the initial meetings. Our interest in building stronger consumer- producer relationships was mainly a response to the producers’ recurring preoccupation with their limited bargaining power, the low prices they received for their products, and the seemingly unjust benefits that families – both urban and rural – gave to intermediaries.
ในต้นปี ๒๕๕๓, สมาคมคนยุคใหม่, ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงจากทิมบูโต, ได้พบกับผู้นำของ Canasta Comunitaria Utopía, หนึ่งใน คานาสตา ที่เก่าแก่ที่สุดของเอกัวดอร์, ซึ่งอยู่ในเมืองใกล้ ริโอแบมบา.  เนื่องจากได้เคยทำงานกับทั้งสองกลุ่มมาก่อน, ชนบทนิเวศ เห็นโอกาสที่จะเชื่อมความต้องการเชิงเกื้อกูลกันของทั้งสองเรื่องการบริโภคและการผลิตอาหาร, และอำนวยความสะดวกให้เกิดการพบปะครั้งแรก.   ความสนใจของเราในการสร้างความสัมพันธ์ ผู้บริโภค-ผู้ผลิต ที่เข้มแข็ง ส่วนใหญ่ เป็นการตอบสนองต่อความหมกมุ่นของผู้ผลิตที่เกิดซ้ำๆ ว่าพวกเขามีอำนาจต่อรองจำกัด, ราคาต่ำที่พวกเขาได้รับสำหรับผลผลิต, และ ผลประโยชน์ที่ดูเหมือนไม่เป็นธรรมที่ครอบครัว—ทั้งเมืองและชนบท—ที่ให้กับคนกลาง.
Three years later, around 50 farmers regularly deliver their products to the canasta, and these are taken to consumers in Riobamba. Today, the producers provide approximately 25% of the purchases made by the Canasta Utopía (and about 50% of the vegetables). The Tzimbuto farmers make an average profit rate of 80% – approximately twice what they make when selling the same products to the wholesale retailer. Their association is also stronger than before and they have put mechanisms in place to encourage other neighbours to join.
สามปีต่อมา, เกษตรกรประมาณ ๕๐ คน ได้นำส่งผลผลิตให้ คานาสตาเป็นปกติ, และก็ส่งต่อไปให้ผู้บริโภคใน ริโอแบมบา.  ทุกวันนี้, ผู้ผลิตบริการสินค้าถึง 25% ของการซื้อของ Canasta Utopía (และประมาณ 50% ของผัก).  เกษตรกรทิมบูโต ทำกำไรได้ในอัตราเฉลี่ย 80%--ประมาณสองเท่าของที่พวกเขาเคยขายผลผลิตอย่างเดียวกันได้กับผู้ขายส่ง.  สมาคมของพวกเขาแข็งแรงมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และพวกเขาได้ปรับวางกลไกให้เข้าที่ เพื่อส่งเสริมให้เพื่อนบ้านอื่นๆ เข้าร่วม.
At the same time, the advantages for members of the canasta in Riobamba are clear: they pay half of what they would otherwise have to pay in the city supermarkets or retailers. The canasta pays the farmers in Tzimbuto the same that they paid to wholesalers in the past, but get better quality products (environmentally-friendly products, free from pesticides and other chemicals) for the same price.
ในขณะเดียวกัน, ข้อได้เปรียบของสมาชิกคานาสตาในริโอแบมบา เห็นได้ชัด.  พวกเขาจ่ายครึ่งหนึ่งของราคาที่จะต้องจ่ายให้ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านขายปลีกในเมือง.  คานาสตา จ่ายให้เกษตรกรในทิมบูโต ในราคาที่พวกเขาเคยจ่ายให้ร้านขายส่งในอดีต, แต่ได้รับผลผลิตที่มีคุณภาพดีกว่า (ผลิตผลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, ไร้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีอื่นๆ) ในราคาเดียวกัน.

Not only economic, but also social and environmental benefits. An enormous potential for change. Photos: EkoRural
Establishing linkages / สร้างความเชื่อมโยง

While stronger links between consumers and producers give many advantages, building these new relationships is not always a straightforward process. We saw some initial difficulties because of the cultural differences between the rural and urban families, and some producers found it difficult to avoid the use of pesticides and other harmful production practices that they were used to. This created some difficulties when trying to co-ordinate the efforts of both parties, ensure the quality of all products, and build a trust-based relationship.
ในขณะที่ความเชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิตมีข้อได้เปรียบหลายประการ, การสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ เหล่านี้ ไม่ใช่กระบวนการที่ตรงไปตรงมาเสมอไป.  เราได้เห็นความยากลำบากในตอนต้น เพราะวัฒนธรรมที่แตกต่างระหว่างครอบครัวชนบท และ ครอบครัวเมือง, และผู้ผลิตบางคนก็พบว่า ยากที่จะไม่ใช้ยาฆ่าแมลงและวิธีการปฏิบัติที่อันตรายอื่นๆ ที่พวกเขาเคยใช้.   อันนี้สร้างความยุ่งยากเมื่อพยายามประสานความพยายามต่างๆ ของทั้งสองฝ่าย, สร้างหลักประกันคุณภาพของผลผลิตทั้งหมด, และ สร้างความสัมพันธ์บนพื้นฐานของความเชื่อใจกัน.
Yet all the participants found that working together for change opened up exciting new possibilities, starting with the identification of the relationships and reciprocities that had been lost, and which they all wanted to rebuild. Both groups wanted a good business deal; consumers also wanted to gain access to healthy food, while farmers were interested in knowing more about those eating their products, their tastes and preferences. Members of the Asociación began planning in detail what to grow and when, organising a more efficient way of providing the required products.
แต่ผู้เข้าร่วมทั้งหมดพบว่า การทำงานร่วมกันเพื่อการเปลี่ยนแปลง ได้เปิดโอกาสของความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น, เริ่มต้นด้วยการระบุความสัมพันธ์ และ การแลกเปลี่ยนพึ่งพาอาศัยกันที่ได้สูญหายไปแล้ว, และ สิ่งที่พวกเขาทั้งหมดต้องการสร้างขึ้นมาใหม่.  ทั้งสองกลุ่มต้องการธุรกรรมที่ดี, ผู้บริโภคก็ต้องการเข้าถึงอาหารที่แข็งแรง, ในขณะที่เกษตรกรก็สนใจที่จะรู้มากขึ้น เกี่ยวกับคนที่กินผลผลิตของพวกเขา.  สมาชิกของสมาคมเริ่มวางแผนอย่างละเอียดว่าต้องการจะปลูกอะไร และ เมื่อไร, เป็นการจัดกระบวนการส่งผลผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น.
A process of produce diversification led to the introduction of new species and varieties, including indigenous potato varieties and crops such as mashua (Tropaeolum tuberosum), oca (Oxalis tuberosa), arracha (Arracacia xantorrhiza), and melloco (Ullucus tuberosus), all of which became gradually available for selling and consumption. In addition, farmers started paying more attention to their own farming practices, the clear advantages of crop rotations, associations, and the use of manure. Looking back, these practices have had a major impact on the availability of new foods for families in both Tzimbuto and Riobamba.
กระบวนการผลิตที่หลากหลาย ได้นำไปสู่นำพืชชนิดและสายพันธุ์ใหม่มาใช้, รวมทั้งสายพันธุ์มันเทศ เช่น mashua (Tropaeolum tuberosum), oca (Oxalis tuberosa), arracha (Arracacia xantorrhiza), และ melloco (Ullucus tuberosus), ทั้งหมดทะยอยพร้อมขายและบริโภค.  นอกจากนี้ เกษตรกรได้เริ่มให้ความสนใจเพิ่มขึ้นในปฏิบัติการเพาะปลูกของพวกเขา, ข้อได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัดจากการปลูกพืชหมุนเวียน, สมาคม, และการใช้ปุ๋ยคอก.  มองย้นกลับไป, ปฏิบัติการเหล่านี้ ได้ทำให้เกิดผลกระทบต่อการมีขึ้นของอาหารชนิดใหม่ๆ สำหรับครอบครัวทั้งใน ทิมบูโต และ ริโอแบมบา.
How to achieve all this was essential for a lasting change. The farmers agreed on the need to strengthen their own organisation and to assign clear roles and responsibilities within it. They also agreed to capitalise their organisation by giving back to the group twice as much as they receive from it (in the form of inputs, seeds and other materials). To guarantee the origin and quality of production, the association created a committee to oversee all operations, and named a community leader to ensure that the products meet the established criteria.
กระบวนการที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายนี้ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน.  เกษตรกรเห็นพ้องกับความจำเป็นที่ต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่องค์กรของตน และ ในการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบที่ชัดเจนภายในองค์กรด้วย.   พวกเขาก็ยังเห็นพ้องกับสั่งสมทุนให้กับองค์กรของตน ด้วยการบริจาคเงินให้แก่กลุ่มมากเป็นสองเท่าของที่พวกเขาได้รับจากองค์กร (ในรูปของวัสดุ, เมล็ด และ วัตถุอื่นๆ).   เพื่อสร้างประกันแหล่งกำเนิดและคุณภาพของการผลิต, สมาคมได้จัดตั้งคณะกรรมการให้ดูแลการดำเนินการ, และเลือกผู้นำชุมชน เพื่อให้แน่ใจว่า ผลผลิตสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่ได้กำหนดขึ้น.
Without a doubt, the successes seen have been the result of the leadership efforts of farmer members like Elena Tenelema, and of the inspiration and motivation of Roberto Gortaire, Lupe Ruiz and all those behind the canastas. There is now a co-ordinated system of production and delivery in place which gives all members the opportunity of participating, and benefitting.
ไม่ต้องสงสัย, ความสำเร็จที่ได้เห็น เป็นผลจากความพยายามของภาวะผู้นำของสมาชิกเกษตรกร เช่น เอลีนา เทเนเลมา, และแรงบันดาลใจและกระตุ้นของ โรเบอร์โต กอร์แตร์, ลูเป รูอิซ  และ ทุกคนที่อยู่ข้างหลัง คานาสตา.  ตอนนี้มีระบบประสานงานของการผลิตและการจัดส่ง ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทั้งหมดได้มีส่วนร่วมและได้ประโยชน์.

A force for change / พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง

The link between Canasta Comunitaria Utopia and Tzimbuto demonstrates that the creation of new, healthier relationships between urban and rural families has clear and direct benefits. These are not limited to the creation of a more stable market, better prices for farmers and better quality products for consumers.
ความสัมพันธ์ระหว่าง คานาสตา คอมมูนิทาเรีย ยูโทเปีย และ ทิมบูโต แสดงให้เห็นว่า การสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแรงกว่าขึ้นใหม่ ระหว่างครอบครัวเมืองและชนบท มีผลประโยชน์ที่ชัดเจนและตรง.  มันไม่ได้จำกัดที่การสร้างตลาดที่เสถียรกว่า, ราคาดีกว่าสำหรับเกษตรกร และ ผลผลิตที่ดีกว่าสำหรับผู้บริโภค.
Both groups have also learnt about the importance of a sustainable approach to agriculture, of having a strong organisation, about the role and contribution of volunteers, the need to plan and co-ordinate activities in detail, and also about quality – something that faceless consumers never demand. These efforts are showing how the commercialisation of farm products can become a major force for healthier living, with immediate (and highly positive) economic, social and environmental consequences. This is all even clearer when we take the true costs of modern food into account.
ทั้งสองกลุ่มได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของแนวทางที่ยั่งยืนสู่การเกษตร, ของการมีองค์กรที่เข้มแข็ง, เกี่ยวกับบทบาทและคุณูปการของอาสาสมัคร, ความจำเป็นที่ต้องวางแผนและประสานกิจกรรมในรายละเอียด, และเกี่ยวกับคุณภาพด้วย—บางสิ่งที่ผู้บริโภคที่ไร้ใบหน้า ไม่เคยเรียกร้อง.   ความพยายามเหล่านี้กำลังแสดงให้เห็นว่า การพาณิชย์ของผลผลิตเกษตร สามารถกลายเป็นพลังหลัก เพื่อการดำรงชีพที่มีสุขภาวะ สุขอนามัย และแข็งแรง, ซึ่งมีผลทันที (และเป็นบวกยิ่ง) ในเชิงเศรษฐกิจ, สังคม และ สิ่งแวดล้อม.   ทั้งหมดนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น เมื่อเราคำนึงถึงต้นทุนที่แท้จริงของอาหารสมัยใหม่ด้วย.
There is an enormous potential for strengthening such practices that are based on people’s inter-dependence and their endless creativity. The existing wealth that is already invested in food production and consumption can be used to strengthen urban and rural organisations. It can also help address the exclusion of certain sectors in our communities and societies and open up spaces for more pluralism and democracy, for example, by involving schools, hospitals, and community organisations. Eating is perhaps our most basic activity, but its potential as a tool for change has been neglected and forgotten. The resources are already in place. They just need to be re-invested and re-placed for new social purposes.
มีศักยภาพมหาศาลเพื่อเสริมความเข้มแข็งให้แก่ปฏิบัติการเหล่านี้ ที่ตั้งอยู่บนความพึ่งอิงระหว่างกันของประชาชน และ ความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขาที่ไม่มีวันหมด.  ความมั่งคั่งที่มีอยู่ที่ได้ลงทุนอยู่แล้วในการผลิตและการบริโภคอาหาร สามารถใช้เพื่อทำให้องค์กรเมืองและชนบทเข้มแข็ง.  มันยังสามารถช่วยแก้ปัญหาของการกีดกันคนบางกลุ่มในชุมชนและสังคมของเรา และ เปิดพื้นที่สำหรับสังคมพหุและประชาธิปไตย, เช่น, ด้วยการรวมโรงเรียน, โรงพยาบาล และองค์กรชุมชนเข้ามาด้วย.  การกิน คงเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่สุดของพวกเรา, แต่ศักยภาพของมันในฐานะเครื่องมือสำหรับการเปลี่ยนแปลงได้ถูกละเลยและหลงลืมไปแล้ว.   ทรัพยากรมีอยู่แล้ว.  เพียงแต่ต้องมีการลงทุนอีกครั้ง และ จัดวางใหม่อีกครั้ง เพื่อเป้าประสงค์ทางสังคมใหม่.

Further reading:
Development 3.0: Development practice in transition (Farming Matters, December 2012)

Ross M. Borja, Pedro Oyarzún, Sonia Zambrano and Francisco Lema

Ross Borja, Pedro Oyarzún, Sonia Zambrano and Francisco Lema work at Fundación EkoRural, Quito, Ecuador.
E-mail: rborja@ekorural.org

The authors acknowledge the valuable inputs of the leaders and members of both organisations, as well as their passion and commitment. They thank Carlos Perez and Claire Nicklin for their advice, and the McKnight Foundation for its support. The valuable comments of Jason Donovan of ICRAF and Steve Brescia of Groundswell International are also acknowledged.

259. สร้างเยื่อใยเกื้อกูลชุมชนขึ้นใหม่ ในถิ่นล่มลสายเพราะสงครามและความแล้ง: อูกานดา


259.  Rebuilding Community Bonding in War-torn, Harsh Area: Uganda

A new approach in fragile areas
by Theo Groot, Hans Joosse
แนวทางใหม่ในพื้นที่บอบบาง
-ธีโอ กรู๊ต
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
The north of Uganda has seen havoc and terror for more than two decades. More than ninety per cent of the inhabitants of the Pader district have lived in camps for refugees for ten years or more. Only since 2005 have people dared to return to their land, where they are gradually rebuilding their lives. For most, the only means to survive outside the refugee camps was to start growing their own food again. This has not been easy. But agriculture is not only possible: farming is also becoming a profitable activity.
ภาคเหนือของอูกานดา ได้เห็นความหายนะและความสยองขวัญมามากกว่าสองทศวรรษ.  กว่า 90% ของผู้อาศัยในเขต ปาเดอร์ ได้อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว.  เพียงตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ ที่ประชาชนกล้าที่จะหวนกลับไปยังที่ดินของตน, ที่ๆ พวกเขาค่อยๆ เริ่มสร้างชีวิตขึ้นใหม่.  สำหรับคนส่วนใหญ่, ทางเดียวที่จะอยู่รอดนอกค่ายผู้ลี้ภัย คือ เริ่มปลูกอาหารของตนเองอีกครั้ง.  นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย.  แต่เกษตรกรรมไม่เพียงแต่เป็นไปได้:  เกษตรกรรมได้กลายเป็นกิจกรรมที่ทำกำไรได้ด้วย.
Farming Matters | 29.2 | June 2013
Developing a long-term, market-oriented, crop production plan. Photo: MWH Foundation
In 2007, the MWH Foundation took the initiative to support the inhabitants of Pader in their efforts to rebuild their lives and to invest in the economic development of the region. Investing in the economic development of fragile areas is a risky decision: the war meant that there was no technical infrastructure in place, the social fabric was broken, and much knowledge had been lost.
ในปี ๒๕๕๐, มูลนิธิ MWH ได้ริเริ่มสนับสนุนผู้อาศัยของ ปาเดอร์ ในความพยายามของพวกเขาในการสร้างชีวิตขึ้นใหม่ และ เพื่อลงทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาค.  การลงทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่บอบบาง เป็นการตัดสินใจที่เสี่ยง: สงครามหมายถึง ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคนิคที่ใช้การได้, สายใยทางสังคมขาดวิ่น, และ ภูมิปัญญามากมายได้สูญหายไป.
Considering the enormous difficulties, we decided to follow a “U-process”: a specific approach for complex situations in which long-term strategic development plans with clearly described outputs, outcomes and activities, will simply not work.
พิจารณาจากความยากเข็ญมหาศาล, เราตัดสินใจที่จะใช้ “กระบวนการรูป U”:  แนวทางเฉพาะหนึ่งสำหรับสถานการณ์ซับซ้อน ที่แผนการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ระยะยาว ที่มีการกำหนดผลลัพธ์, ผลพวง และ กิจกรรม ไว้อย่างชัดเจน, ใช้การไม่ได้.
Complex situations need decision makers and investors who are able to seize the ever-changing opportunities, to quickly prototype possible solutions and to constantly re-adjust their course of action, following a patient step-by-step approach.
สถานการณ์ที่ซับซ้อน จำเป็นต้องมีผู้ตัดสินใจ และ นักลงทุน ผู้สามารถฉวยโอกาสมี่แปรเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา, ให้หาต้นแบบที่เป็นทางออกได้อย่างรวดเร็ว และ ปรับตัวหนทางปฏิบัติการของพวกเขาใหม่อยู่ตลอดเวลา, โดยเดินตามแนวทางทีละก้าวด้วยขันติ.
Discussing the possible ways forward with all participants, we learned that the group of farmers we had started working with was not as homogeneous as most other development actors tend to think, and realised that this could have serious consequences. At the same time, we saw that farm labour is a serious bottleneck. Labour is scarce; not everybody is interested in agriculture or willing to participate in it, so hired labour is expensive.
การอภิปรายหาทางไปมุ่งข้างหน้าที่เป็นไปได้กับผู้เข้าร่วมทั้งหมด, เราได้เรียนรู้ว่า กลุ่มเกษตรกรที่เราได้เริ่มทำงานด้วยนี้ ไม่มีความเป็นเนื้อเดียวกัน ดังในความคิดของตัวละครการพัฒนาส่วนใหญ่, และตระหนักว่า นี่อาจมีผลสาหัส.  ในขณะเดียวกัน, เราเห็นว่า แรงงานเกษตรเป็นปัญหาคอขวดอย่างแรง.  แรงงานขาดแคลน; ไม่ทุกคนที่สนใจในเกษตร หรือ ยินดีที่จะเข้าร่วม, และแรงงานจ้างก็แพง.
Since labour is scarce, it takes farmers a long time to get their crops planted once the rains have started; as a consequence most farmers only grow one crop per year. It also became clear that farmers who are interested in producing more than their immediate household food security needs (estimated at 800 kg of starch crops and 400 kg of protein rich crops per year) require capital for seeds, equipment and hired labour, but neither the capital nor the inputs are readily available.
เนื่องจากแรงงานขาดแคลน, เกษตรกรใช้เวลานานในการเพาะปลูก เมื่อฝนเริ่มตก; ผลคือ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเพียงครั้งเดียวต่อปี.  มันเริ่มชัดขึ้นว่าเกษตรกรผู้สนใจในการผลิตในปริมาณมากกว่าเพื่อความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนทันที จำเป็น ต้องมีต้นทุนเพื่อซื้อเมล็ด, อุปกรณ์ และ แรงงานจ้าง, แต่ไม่มีทั้งทุนหรือวัสดุที่พร้อม.
Finally, and just as importantly, the market was unreliable and did not provide fair prices. Our point of departure was that the work of an “impact investor” such as MWH had to be different than that of a charity: besides social returns, we also wanted farmers to see a financial return. This seemed to be a huge challenge.
ในที่สุด และสำคัญด้วย, ตลาดก็เชื่อถือไม่ได้ และ ไม่ได้ให้ราคาเป็นธรรม.  จุดฉีกแยก คือว่า งานของ “นักลงทุนเชิงผลกระทบ” เช่น MWH จะต้องต่างจากการทำกุศล: นอกจากการคืนทุนทางสังคม, เราก็ต้องการให้เกษตรกรเห็นการคืนทุนทางการเงินด้วย.  นี่ดูเหมือนจะเป็นการท้าทายที่ใหญ่โต.
During the first years we worked with approximately 3,000 farmers, following the Farmer Field School approach: forming groups in which farmers could learn from field observation and their own experimentation, improve their household food security and generate some income.
ในช่วงปีแรก เราทำงานกับเกษตรกรประมาณ ๓,๐๐๐ คน, โดยทำตามแนวทาง โรงเรียนเกษตรกรภาคสนาม: จัดเป็นกลุ่มๆ ซึ่งเกษตรกรสามารถเรียนรู้จากการสังเกตภาคสนาม และด้วยการทดลองเอง, เพิ่มความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนของตน และ ทำรายได้บ้าง.
This approach helped farmers to refresh their agricultural knowledge and skills and to learn about new crops. But it soon became obvious that we needed to develop our approach further, and we started working with those who saw themselves as commercial farmers – even if they were only farming a very small plot. We visited farmers’ initiatives in other parts of Uganda and identified and met the key agricultural actors in the region.
แนวทางนี้ ช่วยให้เกษตรกรฟื้นภูมิความรู้และทักษะด้านเกษตรของพวกเขา และให้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชชนิดใหม่.  แต่ไม่ช้า ก็พบว่า เราจำเป็นต้องพัฒนาแนวทางของเรามากขึ้น, และเราได้เริ่มทำงานกับพวกที่เห็นตัวเองว่าเป็นเกษตรกรพาณิชย์—แม้ว่าพวกเขาจะเพาะปลูกเพียงแปลงเล็กๆ.  เราเบี่ยมโครงการริเริ่มของเกษตรกรในส่วนอื่นของอูกานดา และ ค้นหา และ พบกับตัวละคนเกษตรหลักในภูมิภาค.

A path to follow / ครรลองที่เดินตาม

Towards a collaborative and sustainable productionsystem. Photo: MWH Foundation
Development actors rarely stratify the farmers they work with and therefore tend to miss out on what is called the “missing middle”.
ตัวละครการพัฒนา ไม่ค่อยแยกแยะเกษตรกรที่พวกเขาทำงานด้วย ดังนั้น มักจะมองข้ามสิ่งที่เรียกว่า “กึ่งกลางที่หายไป”.
Many tend to consider that the rural areas are inhabited by a homogeneous group of farmers, and develop programmes and projects to help these “average” farmers enhance food production and reach the market with their (small) surpluses. The socio-economic reality, however, shows an enormous diversity, as soon became clear in Pader.
หลายคนคิดว่า ชนบทเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มเกษตรกรที่เหมือนๆ กัน, และพัฒนาโปรแกมและโครงการเพื่อช่วย เกษตรกร “โดยเฉลี่ย” นี้ เพิ่มการผลิตอาหารและ เข้าถึงตลาดได้ด้วยผลผลิตส่วนเกิน (อันเล็กน้อย).  แต่ความจริงเชิงสังคม-เศรษฐกิจนี้ แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายมหาศาล, ดังที่เริ่มปรากฏชัดขึ้นใน ปาเดอร์.
A number of farmers have easier access to land and some of them have a keen interest in developing their farms. For many others, farming is a default activity: with no other jobs available and no state-organised social security system in place, they have no other option. MWH came to the conclusion that working with the “missing middle” can make social and financial sense.
เกษตรกรจำนวนหนึ่ง เข้าถึงที่ดินได้ง่ายกว่า และ บางคนก็มีความสนใจเป็นพิเศษในการพัฒนาฟาร์มของตน.  สำหรับคนอื่นมากมาย, การเกษตรเป็นกิจกรรมบังคับ: ไม่มีงานอื่น หรือ ไม่มีระบบความมั่นคงทางสังคมที่รัฐเป็นคนจัดการ, พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่น.  MWH สรุปว่า การทำงานกับ “กึ่งกลางที่หายไป” เป็นเรื่องเข้าทีในเชิงสังคมและการเงิน.
So in addition to working with the participants of the Farmer Field Schools, we opted for an economic development perspective working with those who have the ambition, attitude and possibilities to turn their agricultural activities into a family-owned commercial farm, be it a large, medium or small enterprise. Our vision was that, through developing a long-term, market-oriented, crop production plan, farmers would be able to generate a sustainable family income, and invest part of these profits in their enterprise for further growth. We also discovered that the development of family-owned commercial farms is still an untrodden path, especially in the very difficult context of areas like northern Uganda. However, our “U-process” is showing that some of our key decisions are having a positive effect.
ดังนั้น นอกจากทำงานกับผู้เข้าร่วมในโรงเรียนเกษตรกรภาคสนาม, เราได้เลือกใช้มุมมองพัฒนาเศรษฐกิจ ในการทำงานกับพวกที่มีความทะเยอทะยาน, ทัศนคติและความเป็นไปได้ในการแปลงกิจกรรมเกษตร ให้เป็นฟาร์มพาณิชย์ที่ครอบครัวเป็นเจ้าของ, ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่, กลาง หรือ เล็ก.  วิสัยทัศน์ของเรา คือว่า, ด้วยการพัฒนาแผนการผลิตพืชระยะยาว เพื่อตลาด, เกษตรกรจะสามารถทำรายได้ครอบครัวอย่างยั่งยืน, และ ลงทุนผลกำไรบางส่วนในกิจการของตนเพื่อให้มันขยายตัวต่อไปได้.   เราก็ค้นพบด้วยว่า การพัฒนาของฟาร์มพาณิชย์ที่ครอบครัวเป็นเจ้าของ เป็นเส้นทางที่ยังไม่มีใครเดินผ่าน, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริบทที่ยากเข็ญของพื้นที่เช่นในภาคเหนือของอูกานดา.  แต่, “กระบวนการรูป ยู” ของเรา ได้แสดงให้เห็นว่า การตัดสินใจหลักของเรา มีอานิสงค์เชิงบวก.

(a) Long-term / ระยะยาว

Most development programmes run for three and sometimes five years at most. These programmes intend to make a substantial difference in the lives of the rural poor during this short period of time, and also to develop conditions under which these initiatives can continue and prosper after the funding runs out. We soon saw that this is a rather naïve way of developing enterprises and promoting rural economic growth. We have committed ourselves for a minimum of ten years, inviting our business partners (farmers and their enterprises) to commit themselves to a long-term effort.
โปรแกมพัฒนาส่วนใหญ่ จะดำเนินอยู่สามปี หรือบางครั้งมากที่สุด ห้าปี.  โปรแกมเหล่านี้ ตั้งใจทำให้เกิดความแตกต่างอย่างชัดเจนในชีวิตของคนชนบทที่ยากจนในช่วงเวลาสั้นๆ, และ เพื่อพัฒนาเงื่อนไขภายใต้โครงการเหล่านี้ เพื่อให้มันสามารถเจริญงอกงามต่อไปได้เองหลังจากที่ทุนหมดไป.  ไม่ช้า เราเห็นได้ว่า นี่เป็นวิธีที่ค่อนข้างไร้เดียงสาของการพัฒนากิจการและส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจชนบท.  เราได้ผูกพันตัวเองเป็นเวลาอย่างต่ำ ๑๐ ปี, โดยเชิญหุ้นส่วนธุรกิจของเรา (เกษตรกรและกิจการของพวกเขา) ให้สัญญาผูกพันตัวเองกับความพยายามระยะยาว.

(b) Holistic / องค์รวม

Value chain development is another “hot item” in the development world. The development of these chains is based on the assumption that the different actors in the value chain exhibit clear business behavior (they are reliable, competitive, client oriented, etc.), have a long-term perspective and operate in a conducive environment. None of this is the case in Pader: other actors are either absent or unreliable, the market is incomplete and not transparent, and there is a general lack of infrastructure. An additional handicap is the lack of inputs or services.
การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า เป็น “เรื่องร้อน” อีกเรื่องหนึ่งในโลกของการพัฒนา.  การพัฒนาห่วงโซ่เหล่านี้ ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ตัวละครที่แตกต่างกันในห่วงโซ่คุณค่า จะแสดงพฤติกรรมทางธุรกิจที่ชัดเจน (พวกเขาเชื่อถือได้, แข่งขัน, มุ่งไปทางลูกค้าล ฯลฯ), มีมุมมองระยะยาว และ ดำเนินการในสภาวะแวดล้อมที่เอื้อ.  ไม่มีอะไรในลักษณะนี้ในกรณีของปาเดอร์: ตัวละครอื่นๆ ล่องหน หรือ เชื่อถือไม่ได้, ตลาดไม่สมบูรณ์ และ ไม่โปร่งใส, และ โดยทั่วไป ขาดโครงสร้างพื้นฐาน.  ความพิการเพิ่ม คือ ขาดวัสดุหรือการบริการ.
Inspired by the history of agricultural co-operatives elsewhere we started a one-stop service centre (“the HUB”), inviting all farmers to become members, without necessarily focusing on one product or chain. To access these low-price and high-quality inputs and services, the member is asked to sell his or her harvest to the HUB, which buys it at fair market prices, stores it and then sells it when the prices are higher – redistributing the profits to all members.
ด้วยแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์ของสหกรณ์เกษตรในที่อื่น เราได้เริ่ม ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ หรือ “the HUB”, โดยเชิญเกษตรกรทั้งหมดให้สมัครเป็นสมาชิก, โดยไม่จำเป็นต้องเน้นที่ผลผลิตหนึ่งๆ หรือห่วงโซ่.  เพื่อให้เข้าถึงวัสดุและการบริการ ที่ราคาต่ำ แต่คุณภาพสูง, เราได้ขอให้สมาชิกขายผลเก็บเกี่ยวให้ HUB, ซึ่งซื้อในราคาตลาดอย่างเป็นธรรม, เก็บรักษาและขายเมื่อราคาสูงขึ้น—เป็นการกระจายกำไรให้สมาชิกทั้งหมด.

(c) A social enterprise/วิสาหกิจเพื่อสังคม

The liberalisation of the economy, a low level of government investment in agriculture, or the lack of national legislation (and compliance with it) can all increase the difficulties experienced in rural areas. Coupled with the severe damage to the social tissue resulting from the long years of war, it is no surprise that the group members regularly display opportunistic behaviour. The most common form is side selling, where farmers sell their products to another buyer or use the crop they are growing as a collateral for an additional loan. It is not uncommon for the quality of produce to be compromised, as officials sometimes take bribes to accept produce of a sub-standard quality.
การเปิดเสรีเศรษฐกิจ, การลงทุนต่ำของรัฐบาลในภาคเกษตร, หรือการขาดกฎหมายแห่งชาติ (และการทำตาม) ล้วนเพิ่มความยากเข็ญที่ประสบในชนบท.  บวกกับความเสียหายรุนแรงในเนื้อเยื่อของสังคม อันเป็นผลจากสงครามยาวนาน, ไม่ใช่เรื่องประหลาดเลยที่กลุ่มเกษตรกรมักจะแสดงพฤติกรรมนักฉวยโอกาสเป็นปกติ.  ลักษณะที่สามัญที่สุดคือ แอบขาย, ซึ่งเกษตรกรจะขายผลผลิตของตนแก่ผู้ซื้อรายอื่น หรือ ใช้พืชที่พวกเขาปลูกเป็นเครื่องค้ำประกันสำหรับการกู้ยืมเพิ่ม.  มันไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่คุณภาพของผลผลิตไม่ถึงขั้นตามสัญญา, เพราะเจ้าหน้าที่บางทีก็เอาสินบน เพื่อรับผลผลิตที่คูรภาพต่ำ.
Free-riding, whereby farmers use subsidised inputs and services for crops they do not intend to sell to the HUB, is also common. A substantial part of our work is therefore directed towards building trust: intense personal contacts make it more difficult for opportunistic behaviour to go unnoticed. Membership of the group aims to combine economic and social motives and provide a sense of belonging and trust that the wider society still needs to regain.
ด้วยการนั่งรถฟรี, ที่เกษตรกรใช้วัสดุและบริการที่ได้รับเงินอุดหนุน เพื่อให้ปลูกพืชที่พวกเขาไม่ได้ตั้งใจจะขายให้ HUB, ก็เป็นเรื่องธรรมดาด้วย.  งานส่วนใหญ่ของเรา จึงมุ่งไปที่สร้างความน่าเชื่อถือ: การติดต่อ/คลุกคลีส่วนตัวอย่างเข้มข้น ทำให้พฤติกรรมนักฉวยโอกาสยากที่จะลอดสายตาได้.  สมาชิกภาพของกลุ่ม มุ่งผสมผสานแรงจูงใจทางเศรษฐกิจและสังคม และทำให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม และ มีความเชื่อใจ ที่สังคมส่วนใหญ่ยังจำเป็นต้องทำให้หวนคืนมา.
There is little doubt that it will take a couple of years before any business in post-conflict Pader can become profitable. This applies to the family farm enterprises as well as to the HUB. For this reason we created a trust that holds all assets. The ultimate aim is for farmers to unite and collectively take ownership of the HUB. In the meantime, the HUB is run as a social enterprise which, in itself, is a new concept in Uganda. In short, it is a business unit that operates according to commercial principles, but where decisions are not only based on financial considerations. The long-term benefits in terms of a collaborative and sustainable production system and the short-term financial benefits are equally important.
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าจะต้องใช้เวลาสองสามปีก่อนที่ธุรกิจในปาเดอร์หลังสงคราม จะสามารถทำกำไรได้.  นี่หมายถึง กิจการครอบครัวเกษตร และ HUB.  ด้วยเหตุผลนี้ เราได้สร้างทรัสต์ที่รวบรวมสินทรัพย์ทั้งหมด.  เป้าประสงค์สูงสุด คือ ให้เกษตรกรมีความเป็นเอกภาพ และ ถือครองกรรมสิทธิ์ร่วมใน HUB.  ในระหว่างนี้, HUB ดำเนินกิจการแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่, ด้วยตัวของมันเอง, เป็นกรอบคิดใหม่ในอูกานดา.  ย่อๆ, มันเป็นหน่วยธุรกิจที่ดำเนินการตามหลักการพาณิชย์, แต่การตัดสินใจจะไม่ใช่พิจารณาแค่การเงิน.  ผลประโยชน์ระยะยาว ในแง่ ระบบการผลิตด้วยความร่วมมือและยั่งยืน และผลประโยชน์ทางการเงินระยะสั้น มีความสำคัญเท่ากัน.

Results / ผล

In 2012, the first full year of the programme, 150 farmers, cultivating close to 1,000 acres in total, became members of the HUB. They got access to credit and marketed 89 tons of maize and 17 tons of soya through the HUB, most of which was sold in Pader and in the nearby districts. The HUB’s mechanisation services ploughed, harrowed and planted 334, 243 and 155 acres respectively.
ในปี ๒๕๕๕, ในตลอดปีแรกของโปรแกม, เกษตรกร ๑๕๐ คน, เพาะปลูกเกือบ ๑,๐๐๐ เอเคอร์โดยรวม, ได้กลายเป็นสมาชิกของ HUB.  พวกเขาได้เข้าถึงสินเชื่อ และได้ขายข้าวโพด ๘๙ ตัน และถั่วเหลือง ๑๗ ตัน ผ่าน HUB, ซึ่งจากนั้น ส่วนใหญ่ก็ได้ถูกขายในปาเดอร์ และ ตำบลใกล้เคียง.  การบริการเครื่องจักรกลของ HUB ได้ทำการไถ, ขุด พรวน และ ปลูก ๓๓๔ล ๒๔๓ และ ๑๕๕ เอเคอร์ ตามลำดับ.
Farmers began to discover the value of high-quality seeds and of paying attention to the fertility of their soils: average maize yields went up from 400 to 800 kg/acre. A number of farmers have understood what commercial farming really means and – more interestingly – are already investing their profits in order to improve their production system and reach more consumers with their products.
เกษตรกรได้เริ่มค้นพบคุณค่าของเมล็ดที่มีคุณภาพสูง และ ให้ความสนใจกับความอุดมสมบูรณ์ของดินในแปลงของตน: ผลผลิตข้าวโพดเฉลี่ยได้เพิ่มขึ้นจาก ๔๐๐ เป็น ๘๐๐ กก/เอเคอร์.  เกษตรกรจำนวนหนึ่งได้เข้าใจแล้วว่า เกษตรพาณิชย์หมายถึงอะไรจริงๆ—ที่น่าสนใจกว่านั้น—ได้ลงทุนกำไรของตนเพื่อปรับปรุงระบบการผลิต และ ได้เข้าถึงผู้บริโภคด้วยผลิตผลของตน.
A limited focus on relief and rehabilitation, or the relatively short presence of development programmes and projects in areas like Pader, has had a limited impact on local and regional economic development. MWH combines high risk investment, long-term commitment, social enterprise and a focus on the “missing middle” as a viable way of promoting farmer-led economic development in fragile areas.
การบรรเทาและบำบัดที่มีความเข้าใจ/จุดประสงค์ที่จำกัด, หรือ โปรแกมการพัฒนาค่อนข้างสั้น และโครงการในพื้นที่เช่น ปาเดอร์, มีผลกระทบที่จำกัดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นและภูมิภาค.  MWH ได้รวมการลงทุนเสี่ยงสูง, ความผูกพันระยะยาว, วิสาหกิจเพื่อชุมชน และการเน้นที่ “กึ่งกลางที่หายไป” ว่าเป็นหนทางที่เจริญได้ในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่เกษตรกรเป็นผู้นำ ในพื้นที่บอบบางเช่นนี้.
Theo Groot and Hans Joosse

Theo Groot (theo.groot@mwh-trust.com) has lived and worked in Africa since 1979. Based in the Netherlands,

Hans Joosse (hans.joosse@mwh-trust.com) started the MWH Foundation.