วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

321. วันทนา ศิวะ ดุ รมต เกษตรของอินเดียที่ชี้นำผิดๆ เรื่อง จีเอ็มโอ


321. Vandana Shiva Scolds India’s Minister of Agriculture on Misleading GMO

Response to Sharad Pawar – India’s Agricultural minister on GMOs
Posted on Sunday, October 27th, 2013
ตอบโต้ต่อ ชารัด ปาวาร์--รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของอินเดีย เรื่อง จีเอ็มโอ

Dr. Vandana Shiva                      ดร.วันทนา ศิวะ
26th October 2013                      ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๖
Dear Mr Pawar,                          เรียน คุณปาวาร์

As the NCP leader you have expressed your views in a blog titled “Food for Thought”, posted on your party’s official website.
ในฐานะผู้นำพรรคคองเกรส คุณได้แสดงความเห็นในบล็อก “อาหารเพื่อขบคิด”, โพสต์บนเว็บไซต์ทางการของพรรคของคุณ.
Here are my responses to the questions you have raised in your blog about GMOS
นี่เป็นคำตอบโต้ของดิฉันต่อคำถามที่คุณได้ยกขึ้นมาในบล็อกของคุณเกี่ยวกับ จีเอ็มโอ.
You say “I am not a scientist. But as a farmer, I would like my friends opposing the GM technology to answer some of my queries. For instance, is it not a fact that GM technology substantially curtails the requirement of fertilizers and pesticides?”
คุณบอกว่า “ผมไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์.  แต่ในฐานะเกษตรกร, ผมใคร่ขอให้เพื่อนของผมที่ต่อต้านเทคโนโลยี จีเอ็ม ช่วยตอบคำถามของผมหน่อย.  เช่น, มันไม่เป็นความจริงหรอกหรือที่ว่า เทคโนโลยี จีเอ็ม ช่วยลดการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงอย่างมาก?”
No Mr Pawar, both fertilizer use and pesticide use goes up with GMOs. Our studies in Vidharba show a 13 fold increase in pesticide use on Bt cotton, because of the emergence of non target pests, and because of emergence of resistance in bollworm, the target pest.
ไม่เลย คุณปาวาร์, ต้องใช้ทั้งปุ๋ยและยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นกับ จีเอ็มโอ.  การศึกษาของเราใน วิธารพา แสดงให้เห็นว่า ต้องใช้ยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้น ๑๓ เท่าใน ฝ้าย บีที, เพราะการอุบัติขึ้นของแมลงที่ไม่ได้ถูกเล็งฆ่า, และเพราะการอุบัติขึ้นหนอนโบลล์ดื้อยา, ซึ่งเป็นแมลงที่ตั้งใจฆ่า.
You also said.

”Second, is it not a fact that we might be consuming oil made out of GM soya produced in the US? But, we aren’t willing to benefit from the same technology on our own soil. Why?”
คุณได้กล่าวด้วยว่า “ประการที่สอง, มันไม่เป็นความจริงหรอกหรือที่ว่า เราอาจกำลังบริโภคน้ำมันที่สกัดจากถั่วเหลือง จีเอ็ม ผลิตในสหรัฐฯ?  แต่, เรากลับไม่ยินดีที่จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีเดียวกันบนแผ่นดินของเรา.  ทำไม?”
I would like to inform you Mr Pawar that when zero duty soya oil imports were allowed in 1998 and our edible oils were banned, we started a Sarson Satyagraha. People do not consume soya oil because they like it, but because the US govt and your govt sudsidise it. In 1998 when international price of soya was $150 a ton, the US subsidy was $190 a ton. And Mr Chidambaram had added a domestic subsidy of Rs 15 for the PDS. If you subsidized healthy oils like mustard, sesame, groundnut, coconut, that is what Indians would be using, as they have used for centuries. It was the slum women of Delhi who refused to eat soya and wanted the mustard back. You are pushing GMO soya oil on Indians.
ดิฉันขอเรียนต่อคุณ คุณปาวาร์ ว่า เมื่อการสั่งเข้าน้ำมันถั่วเหลืองมีการอนุญาตให้ยกเลิกภาษี ในปี ๒๕๔๑ และ น้ำมันกินได้ของเราถูกห้ามขาย/ใช้, พวกเราได้เริ่มคัดค้านแบบอหิงสา (สาร์สอน สัตยาครหะ).  ประชาชนไม่บริโภคน้ำมันถั่วเหลืองเพราะพวกเขาชอบมัน, แต่เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ และ รัฐบาลของท่านสนับสนุนมันทางการเงิน.  ในปี ๒๕๔๑ เมื่อราคานานาชาติของถั่วเหลืองเป็น $150/ตัน, สหรัฐฯ สนับสนุนทางการเงินเป็น $190/ตัน.  และ คุณจิดัมพารัม ได้เติมการอุดหนุนในประเทศอีก Rs 15 ให้กับ PDS.  หากคุณให้เงินอุดหนุนน้ำมันดี เช่น มัสตาด, งา, ถั่วดิน, มะพร้าว, นั่นจะเป็นน้ำมันที่ชาวอินเดียจะใช้, อย่างที่ได้ใช้กันมาหลายศตวรรษ.  มันเป็นผู้หญิงสลัมในเดลฮี ที่ปฏิเสธ ไม่ยอมกินถั่วเหลือง และ ต้องการมัสตาดคืนมา.  คุณกำลังยัดเยียดน้ำมันถั่วเหลือง จีเอ็มโอ ให้ชาวอินเดีย.
You have asked,Is it not a fact that GM technology has increased the food production four-fold, reducing the need of additional land, thereby protecting the green cover,”
คุณถามว่า, “มันไม่เป็นความจริงหรอกหรือที่ว่า เทคโนโลยี จีเอ็ม ได้เพิ่มผลิตภาพอาหารสี่เท่าตัว, ลดความต้องการใช้ที่ดินเพิ่ม, ดังนั้น ช่วยปกป้องแผ่นดินสีเขียว”.
No Mr Pawar, GMO technology has not increased food production at all. The Union for Concerned Scientists study “Failure to yield” has shown that there is no increase in yield through GMO technology. The yields of Bt cotton are declining. Yield is not a function of GMO technology, but comes from the plant into which the new genes of Bt or Round Up Resistance are added. Yield is a multigenetic trait. Genetic engineering can only deal with single gene traits, like putting toxic genes into plants.
ไม่เลย คุณปาวาร์, เทคโนโลยี จีเอ็มโอ ไม่ได้เพิ่มผลิตภาพของอาหารเลย.  งานศึกษาของ สหภาพนักวิทยาศาสตร์ผู้ห่วงใย “ผลผลิตที่ล้มเหลว” ได้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเทคโนโลยี จีเอ็มโอ.  ผลผลิตจากฝ้ายบีทีกำลังลดลง.  ผลผลิต ไม่ใช่หน้าที่ของเทคโนโลยี จีเอ็มโอ, แต่มาจากต้นไม้ ที่ถูกเติมพันธุกรรมใหม่ของ บีที หรือ การดื้อราวน์อัพ.  ผลผลิตมีลักษณะหลากพันธุกรรม.  วิศวพันธุกรรมสามารถจัดการได้แค่ลักษณะพันธุกรรมเดี่ยว, เช่น การเติมพันธุกรรมพิษลงในพืช.
You write “My only contention is that let us not kill this promising science by placing arbitrary bans on its trials. Let the scientific community get the freedom to conduct its experiments on this technology with the strictest possible regulatory framework in place. Is this asking for too much?”
คุณเขียนว่า “ข้อโต้เถียงเพียงประการเดียวของผม คือ ขอเราอย่าฆ่าวิทยาศาสตร์ที่มีอนาคตนี้ ด้วยการคว่ำบาตรตามอำเภอใจกับการทดลองมัน.  ขอให้ประชาคมวิทยาศาสตร์มีอิสรภาพในการทำการทดลองเทคโนดลยีนี้ด้วยการใช้การควบคุมที่เข้มงวดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้.  นี่เป็นคำขอที่มากไปหรือ?”
The Supreme courts technical Expert committee has asked for regulation to be tightened, and meantime a moratorium should be put. This is a scientific imperative. Good scientists should not be afraid of more research on safety. It is scientists whose careers are based on partnership with industry who panic when Biosafety is strengthened. That is why there is an attempt to undermine our Biosafety laws and replace them with BRAI. And there is not one scientific community, but many. The big division is pro industry scientists, and scientists independent of industry. In science as in any other field, freedom must be bounded by social and ecological responsibility. Neither corporations, nor scientists, nor politicians have an absolute freedom to destroy life, of humans or other species.
คณะกรรมการผู้ชำนาญการทางเทคนิคของศาลสูงสุด ได้ขอให้เพิ่มการควบคุมให้เข้มงวดขึ้น, และในเวลาเดียวกัน ให้กำหนดการพักชั่วคราว.  นี่เป็นข้อบังคับทางวิทยาศาสตร์.  นักวิทยาศาสตร์ที่ดีไม่ควรกลัวที่จะทำการวิจัยเพิ่มขึ้นในด้านความปลอดภัย.  มีแต่นักวิทยาศาสตร์ที่อาชีพของตน ขึ้นอยู่กับการเป็นหุ้นส่วนกับอุตสาหกรรม ผู้ตื่นตระหนก เมื่อความปลอดภัยต่อชีวิตเข้มงวดขึ้น.  นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมจึงมีความพยายามบ่อนทำลายกฎหมายความปลอดภัยต่อชีวิต และแทนที่มันด้วย BRAI.  และไม่ใช่มีเพียงหนึ่งประชาคมวิทยาศาสตร์, แต่หลาย.  มีการแบ่งแยกใหญ่หลวง ระหว่าง นักวิทยาศาสตร์ที่ชอบอุตสาหกรรม, และ นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นอิสระจากอุตสาหกรรม.  ในวงการวิทยาศาสตร์ เช่นในสาขาอื่นๆ, อิสรภาพจะต้องอยู่ในกรอบของความรับผิดชอบต่อสังคมและนิเวศ.  ไม่ว่าบรรษัท, หรือนักวิทยาศาสตร์, หรือนักการเมือง ไม่มีใครมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการทำลายชีวิต, ของมนุษย์ หรือ ของสายพันธุ์ใดๆ.
You have celebrated the spread of Bt cotton in your blog. You have said, “I believe that a farmer is the best judge to decide on the adoption of a new concept or ideology. Let me tell you that 90 per cent of the India’s cotton farmers have already adopted the GM technology”.
คุณได้เฉลิมฉลองการเผยแพร่ฝ้ายบีทีในบล็อกของคุณ.  คุณบอกว่า, “ผมเชื่อว่า เกษตรกรเป็นผู้พิพากษาที่ดีที่สุดที่จะตัดสินใจยอมรับกรอบคิดใหม่ หรือ อุดมการณ์.  ขอให้ผมบอกคุณว่า 90% ของเกษตรฝ้ายของอินเดีย ได้ใช้เทคโนโลยี จีเอ็ม แล้ว”.
There is not a word in your blog on the tragedy of farmers’ suicides in the cotton areas. Your state, Maharashtra is the capital of Bt Cotton, and the capital of farmers’ suicides. In the past decade as the suicides have taken epidemic form, there has not been one word on this crisis from you. And all you do is celebrate the Bt cotton that got the farmers into debt, due to the high royalty extracted by Monsanto. And farmers are not choosing Monsanto’s seeds. All other options have been destroyed. It is not profits, but deliberate destruction of alternatives that have pushed farmers into the Bt cotton trap, and as a consequence in the suicide trap. Farmers’ varieties are displaced through the very clever strategy of “seed replacement”. You tried to introduce a Seed Law on Seed Replacement and compulsory licensing in 2004. We had to undertake a Seed Satyagraha to stop the law and prevent the destruction of our rich agrobiodiversity and farmers varieties, and the freedom of our farmers to save and exchange their seeds freely.  Public varieties have mysteriously stopped being released from the Central Cotton Research Institute based in Nagpur. And most Indian companies are locked into licensing arrangements with Monsanto, and can only sell Monsanto’s Bollgard Bt cotton seeds. This Monopoly over cotton seed has grown during your tenure as agriculture Minister.
ไม่มีแม้แต่คำเดียวในบล็อกของคุณที่พูดถึงโศกนาฏกรรมของเกษตรกรฆ่าตัวตายในพื้นที่ฝ้าย.  รัฐของคุณ, มหารัษตรา, เป็นเมืองหลวงของฝ้ายบีที, และ เมืองหลวงของเกษตรกรฆ่าตัวตาย.  ในทศวรรษที่ผ่านมาในขณะที่การฆ่าตัวตายได้กลายเป็นโรคระบาด, ไม่มีแม้แต่คำเดียวเกี่ยวกับวิกฤตนี้จากคุณ.  แล้วทั้งหมดที่คุณทำ คือ เฉลิมฉลอง ฝ้ายบีที ที่ทำให้เกษตรกรตกหล่มหนี้, เพราะมอนซานโตรีดไถค่าลิขสิทธิ์สูง.  และเกษตรกรไม่ได้เลือกเมล็ดของมอนซานโต.  ทางเลือกอื่นทั้งหมดได้ถูกทำลายไปหมดสิ้น.  มันไม่ใช่กำไร, แต่เป็นการทำลายล้างทางเลือกต่างๆ อย่างจงใจ ที่ได้ผลักไสให้เกษตรกรเข้าไปติดกับดักฝ้ายบีที, และผลคือ กับดักให้ฆ่าตัวตาย.  สายพันธุ์ฝ้ายของเกษตรกรถูกแทนที่ด้วยยุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาดมากๆ ของ “การทดแทนเมล็ด”.  คุณได้พยายามนำ กฎหมายเมล็ดพันธุ์ ให้ใช้กับ การทดแทนเมล็ดพันธุ์ และ การออกใบอนุญาตภาคบังคับในปี ๒๕๔๗.  พวกเราต้องทำการประท้วงแบบอหิงสา สัตยาครหะเมล็ด ให้ยุติกฎหมายนั้น และ ขัดขวางการทำลายล้างความอุดมสมบูรณ์ของความหลากหลายทางชีวภาพเชิงเกษตร และ สายพันธุ์พืชของเกษตรกร, และอิสรภาพของเกษตรกรของเราในการเก็บรักษาและแลกเปลี่ยนเมล็ดอย่างเสรี.   เมล็ดสาธารณะได้หยุดการจ่ายอย่างลึกลับจากสถาบันวิจัยฝ้ายส่วนกลาง ที่ตั้งอยู่ที่เมือง นาคบุร.  และบริษัทอินเดียส่วนใหญ่ถูกต้อนให้ทำสัญญากับมอนซานโต, และขายได้เพียงเมล็ดฝ้ายโบลล์การ์ด บีที ของมอนซานโต.  การผูกขาดเมล็ดฝ้ายได้ขยายตัวในระหว่างที่คุณดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเกษตร.
You have also written “With the intervention such as bio-fortified rice with pro-vitamin A, iron and zinc, GM technology provides farmers with an intervention-free technology.”
 คุณยังได้เขียนอีกว่า “ด้วยการแทรกแซง เช่น การเติมวิตามิน เอ, ธาตุเหล็ก และ สังกะสี ในข้าว, เทคโนโลยี จีเอ็ม ได้ให้เทคโนโลยีที่ไม่ต้องแทรกแซงเติมสารเพิ่ม แก่เกษตรกร”.
Unfortunately, GMO Golden Rice fortified with vit A is far less efficient than our rich biodiversity in addressing vit A deficiency. A far more efficient route to removing vit. A deficiency is biodiversity conservation and propagation of naturally vit. A rich plants in agriculture and diets. Table below gives sources rich in vit. A used commonly in Indian foods.
โชคร้าย, ข้าวทอง จีเอ็มโอ ที่เติมวิตามิน เอ มีประสิทธิภาพด้อยกว่า ความหลากหลายทางชีวภาพอันรุ่มรวยของเราในการแก้ปัญหาการขาดวิตามิน เอ.  วิธีขจัดปัญหาการขาดแคลนวิตามิน เอ ที่มีประสิทธิภาพยิ่งกว่ามาก คือ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และ การใช้พืชที่อุดมวิตามิน เอ ตามธรรมชาติ ในการเพาะปลูก และ โภชนาการ.  ตารางต่อไปนี้ แสดงแหล่งอาหารที่อุดมวิตามิน เอ ที่ใช้เป็นปกติในอาหารของชาวอินเดีย.

Sources rich in vit. A used commonly in Indian foods.
Source
Hindi name
Content (microgram/100g)
Amaranth leaves
Chauli saag
266-1,166
Coriander leaves
Dhania
1,166-1,333
Cabbage
Bandh gobi
217
Curry leave
Curry patta
1,333
Drumstick leaves
Saijan patta
1,283
Fenugreek leaves
Methi-ka-saag
450
Radish leaves
Mooli-ka-saag
750
Mint
Pudhina
300
Spinach
Palak saag
600
Carrot
Gajar
217-434
Pumpkin (yellow)
Kaddu
100-120
Mango (ripe)
Aam
500
Jackfruit
Kathal
54
Orange
Santra
35
Tomato (ripe)
Tamatar
32
Milk (cow, buffalo)
Doodh
50-60
Butter
Makkhan
720-1,200
Egg (hen)
Anda
300-400
Liver (Goat, sheep)
Kalegi
6,600–10,000
Cod liver oil

10,000–100,000
  
The lower cost, accessible and safer alternative to genetically engineered rice is to increase biodiversity in agriculture. Further, since those who suffer from vitamin A deficiency suffer from malnutrition. Generally, increasing the food security and nutritional security of the poor through increasing the diversity of crops and diversity of diets of poor people who suffer the highest rates of deficiency is the reliable means for overcoming nutritional deficiencies.
 ทางเลือกที่ต้นทุนต่ำกว่า, เข้าถึง และ ปลอดภัยกว่า ข้าวที่ผ่านกระบวนวิศวพันธุกรรม (จีอี) คือ การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในเกษตรกรรม.  ยิ่งกว่านั้น, เมื่อพวกที่ขาดแคลนวิตามิน เอ ก็ขาดสารอาหารด้วย.  โดยทั่วไป, การเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร และ ความมั่นคงทางสารอาหารของคนยากจน ด้วยการเพิ่มความหลากหลายของพืช และ ความหลากหลายของโภชนาการของคนยากจนที่มีอัตราการขาดสารอาหาร เป็นหนทางที่พึ่งได้ในการเอาชนะการขาดสารอาหาร.
Sources of Vitamin A in the form of green leafy vegetables are being destroyed by the Green Revolution and Genetic Engineering which promotes the use of herbicides in agriculture. The spread of herbicide resistant crops will further aggravate this biodiversity erosion with major consequences for increase in nutritional deficiency. For example, bathua, a very popular leafy vegetable in North India, has been pushed to extinction in Green Revolution areas, where intensive herbicide use is a part of the chemical package.
แหล่งของวิตามิน เอ ในรูปของผักใบเขียวได้ถูกทำลายด้วยปฏิวัติเขียว และ วิศวพันธุกรรม ที่ส่งเสริมการใช้ยากำจัดวัชพืชในเกษตรกรรม.  การแพร่ขยายของพืชดื้อยากำจัดวัชพืชจะเร่งการกัดกร่อนความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งผลให้เพิ่มอาการขาดสารอาหารมากยิ่งขึ้น.  เช่น, bathua, ผักใบยอดนิยมในอินเดียเหนือ, ถูกขับไสจนสูญพันธุ์ไปในบริเวณปฏิวัติเขียว, ที่ใช้ยากำจัดวัชพืชอย่างเข้มข้น เป็นส่วนหนึ่งของชุดสารเคมี.
Through what you call an “intervention free technology”, you are promoting a model of agriculture in which there are many interventions, but all interventions are made by corporations like Monsanto. They intervene in the plant by adding toxic genes through genetic engineering, they intervene by claiming patents and collecting royalty on seed, they intervene in farmers’ lives through trapping them in debt and pushing them to suicide, they intervene politically through you. This is heavy intervention, not intervention free. It is the farmers whose intervention you do not want to promote. We work to see more farmers’ intervention in decisions about agriculture, in looking after the soils through Organic Farming, in exercising Bija Swaraj, Seed Sovereignty, in living a life of freedom and dignity.
ด้วยสิ่งที่คุณเรียกว่า “เทคโนโลยีที่ไร้การแทรกแซง”, คุณกำลังส่งเสริมโมเดลเกษตรกรรมที่มีการแทรกแซงหลายอย่าง, แต่การแทรกแซงทั้งหมด กระทำโดยบรรษัทเช่น มอนซานโต.  พวกเขาแทรกแซงในพืช ด้วยการเติมพันธุกรรมพิษผ่านกระบวนวิศวพันธุกรรม, พวกเขาแทรกแซงด้วยการอ้างสิทธิบัตร และ เก็บค่าภาคหลวงเมล็ด, พวกเขาแทรกแซงในชีวิตของเกษตรกรด้วยการดักจับพวกเขาให้ติดหนี้ และ ผลักไสให้พวกเขาต้องฆ่าตัวตาย, พวกเขาแทรกแซงทางการเมืองผ่านคุณ.  นี่เป็นการแทรกแซงอย่างหนักหน่วง, ไม่ใช่ไร้การแทรกแซง.  มันเป็นเกษตรกรที่คุณไม่ต้องการส่งเสริมการแทรกแซง.  พวกเราทำงานเพื่อให้เกษตรกรสามารถแทรกแซงได้มากยิ่งขึ้นในการตัดสินใจเกี่ยวกับเกษตรกรรม, ในการดูแลดินของพวกเขาด้วยเกษตรอินทรีย์, ในการกระทำ พีชสวาราช, อธิปไตยเมล็ด, ในการดำรงชีวิตอย่างอิสระและมีศักดิ์ศรี.
The choice is clear. It is the freedom of Corporations like Monsanto Vs the freedom of our small farmers.
ทางเลือกแจ่มชัด.  มันเป็นอิสรภาพของบรรษัทเช่น มอนซานโต พบ อิสรภาพของเกษตรกรรายย่อยของเรา.
So far you have betted for Monsanto.
ถึงบัดนี้ คุณได้วางเดิมพันให้มอนซานโต.
As Agriculture Minister of India, I hope you will remember that it is India’s soil, our seeds, and our farmers you are meant to protect.
ในฐานะรัฐมนตรีเกษตรของอินเดีย, ดิฉันหวังว่า คุณจะยังจำได้ว่า มันเป็นดินของอินเดีย, เมล็ดของเรา, และ เกษตรกรของเรา ที่ (โดยตำแหน่งหน้าที่) คุณควรจะปกป้อง.
ดรุณี แปล

320. สิบเดือนล่วง...เวลาโรยสำหรับรัฐบาลลาวในการกู้ภาพพจน์และชื่อเสียอันเนื่องจากการอุ้ม สมบัด สมพอน


320. 10th Month Passed…Dwindling Time for Lao Govt. to Repair Its Tarnished Image and Name About Enforced Disappearance of Sombath Somphone

Sombath Somphone, Lao activist missing for 10 months, spurs wife’s desperate plea

by rsbtws, Sidney Morning Herald: 25 October 2013
สมบัด สมพอน, นักพัฒนาชาวลาว หายสาบสูญไป ๑๐ เดือนแล้ว, กระตุกให้ภรรยาอ้อนวอนสุดชีวิต

Vientiane: The wife of prominent social activist Sombath Somphone has made a desperate plea to Lao authorities, declaring he will leave the country and retire quietly with her if returned safely after being abducted in the Lao capital 10 months ago.
เวียงจันทน์: ภรรยาของนักกิจกรรมสังคมโดดเด่น สมบัด สมพอน ได้วิงวอนสุดชีวิตต่อผู้มีอำนาจลาว, ประกาศว่า เขาจะออกจากประเทศ และ ปลดเกษียณเงียบๆ กับเธอ หากกลับมาได้อย่างปลอดภัย หลังจากที่ถูกลักพาไปในนครหลวงของลาว เมื่อ ๑๐ เดือนก่อน.
Ng Shui Meng, who has been married to the award-winning Sombath for 30 years, says she does not want to see any more damage done to Laos' image and credibility over the abduction which human rights groups describe as a state-sponsored forced disappearance.
อึ้งชุ่ยหมิง, สมรสกับ สมบัด ผู้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ เป็นเวลา ๓๐ ปี, กล่าวว่า เธอไม่ต้องการเห็นภาพพจน์และความน่าเชื่อถือของลาว เสียหายมากไปกว่านี้ ด้วยความเกี่ยวเนื่องกับการลักพาตัว ที่กลุ่มนักสิทธิมนุษยชน บรรยายว่า เป็นการหายสาบสูญด้วยการใช้กำลังบังคับที่รัฐหนุนหลัง.
Ms Shui Meng said every day since Sombath disappeared has been “an eternity of waiting, wavering between hope and despair.” Hopes for 62 year-old Sombath’s welfare have been fading as the authoritarian communist-led Lao government denied any knowledge of his disappearance, claimed an investigation has failed to establish who was behind it and dismissed concerns by alleging that he must have been the victim of a shadowy business feud, without providing any evidence.
คุณชุ่ยหมิงบอกว่า ทุกๆ วัน ตั้งแต่ สมบัด หายตัวไป มีแต่ “การรอคอยที่ไม่มีวันสิ้นสุด ซัดส่ายไปมาระหว่าง ความหวัง และ ความสิ้นหวัง”.  ความหวัง ต่อสวัสดิภาพของสมบัด อายุ ๖๒ ปี ได้เลือนรางหายไป ในขณะที่รัฐบาลลาว ที่นำโดยเผด็จการคอมมิวนิสต์ ปฏิเสธการรู้เห็นเป็นใจเกี่ยวกับการหายตัวไปของสมบัด, ได้อ้างว่า การสืบสวนไม่สามารถหาพยานหลักฐานมาประกอบรูปคดีได้ว่าใคนอยู่เบื้องหลัง และ ปัดความรับผิดชอบ โดยกล่าวหาว่า สมบัด ได้ตกเป็นเหยื่อของการขัดผลประโยชน์ทางธุรกิจเถื่อน, โดยไม่ได้แสดงหลักฐานประการใด.
Even in a country with a notoriously poor human rights record where government critics have “disappeared” previously, the abduction of Sombath has shocked many Laotians and prompted calls for international donors to press for more to be done to ensure his return.
แม้ว่าจะเป็นประเทศที่มีชื่อ “เสีย” ด้านสิทธิมนุษยชน ที่ๆ พวกนักวิพากษ์รัฐบาลได้ “หายสาบสูญ” ก่อนหน้า, การลักพาตัว สมบัด ได้กระเทือนขวัญชาวลาวหลายๆ คน และ พลันก็มีการเรียกร้องให้แหล่งทุนสากล กดดัน (รัฐบาล) ให้ทำมากกว่านี้เพื่อประกันว่าเขาจะกลับมาได้อย่างปลอดภัย.
A widely respected agriculture specialist, Sombath received the prestigious Ramon Magsaysay Award in Community Leadership in 2005, the equivalent of the Nobel peace prize in Asia.
ในฐานะที่เป็นผู้ชำนาญด้านเกษตรที่ได้รับความเคารพอย่างกว้างขวาง, สมบัด ได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ อันทรงเกียรติ ด้านผู้นำชุมชน ในปี ๒๕๔๘, ซึ่งเป็นรางวัลเทียบเท่า รางวัลโนเบล ในเอเชีย.
He was last seen by Ms Shui Meng as they were driving separately from his office in Vientiane to their home for dinner on the evening of December 15 last year.
คุณชุ่ยหมิงเห็นเขาครั้งสุดท้ายในขณะที่ทั้งสองขับรถคนละคันจากที่ทำงานของเขาในเวียงจันทน์เพื่อกลับไปทางอาหารเย็นที่บ้านในเย็นวันที่ ๑๕ ธันวาคม ปีกลาย.
The abduction was captured on grainy closed-circuit television footage that apparently was not supposed to be released by police.
การลักพาตัวถูกบันทึกในกล้องวงจรปิด ซึ่งอันที่จริง ตำรวจไม่ควรจะยอมเปิดเผย.
It shows that Sombath’s jeep was stopped at a police post and he was taken inside.
ภาพบันทึกแสดงให้เห็นว่า รถจี๊ปของสมบัด ถูกดักให้หยุดที่ป้อมตำรวจ และ เขาถูกพาตัวเข้าไปข้างใน.
A motorcyclist stopped at the post and drove off with Sombath’s vehicle.
คนขับมอเตอร์ไซค์คันหนึ่งหยุดที่ป้อม และ ขับรถของสมบัดออกไป.
A truck with flashing lights then stopped at the police post, two people got out and took Mr Sombath to the truck and drove off.
แล้วรถบรรทุกติดไฟกระพริบก็มาจอดที่ป้อมตำรวจ, สองคนเดินออกมา และ นำตัวคุณสมบัดขึ้นรถบรรทุกและขับออกไป.
He never arrived home.
เขาไม่เคยกลับมาถึงบ้าน.
Amnesty International says the Lao authorities’ likely involvement in Sombath’s disappearance has been compounded by the police’s failure to conduct thorough investigations, which suggested a cover-up.
Amnesty International กล่าวว่า ความเป็นไปได้ที่ผู้มีอำนาจลาวจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของ สมบัด ทบทวีขึ้น ด้วยการที่ตำรวจล้มเหลวที่จะสอบสวนอย่างละเอียดถี่ถ้วน, ซึ่งแนะว่ามีการปกปิด.
Other countries’ offers of external assistance, including analysis of the original CCTV footage, have been rejected.
Phil Robertson, deputy Asia director for Human Rights Watch, says the Lao government “needs to stop playing games and release Sombath or explain what happened to him”.
ประเทศอื่นๆ ได้เสนอการช่วยเหลือจากภายนอก, เช่น การวิเคราะห์ภาพบันทึกจากกล้องวงจรปิด, ถูกปฏิเสธ.  ฟิล โรเบิร์ตสัน, รอง ผอ เอเชีย ขององค์กรเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน, กล่าวว่า รัฐบาลลาว “จำเป็นต้องหยุดเล่นเกมส์ และ ปล่อยตัว สมบัด หรือ อธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขา”.
“This is a huge black mark on Laos’ already poor record as one of the worst rights-abusing governments in the region and we and other friends of Sombath will ensure this comes up in every international forum and meeting Laos attends,” he said.
“นี่เป็นรอยเปื้อนดำขนาดใหญ่ในประวัติบันทึกของลาว ซึ่งแย่อยู่แล้ว ในฐานะที่เป็นหนึ่งในรัฐบาลแย่ที่สุดที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน และพวกเราและเพื่อนคนอื่นๆ ของ สมบัด จะทำให้แน่ใจว่า เรื่องนี้จะปรากฏขึ้นในทุกเวทีและการประชุมนานาชาติที่ ลาว เข้าร่วมประชุม”, เขากล่าว.
Sombath’s abduction is perplexing because he is seen as a conciliatory figure who sat on panels with influential government members.
การอุ้ม สมบัด เป็นเรื่องน่าพิศวงยิ่ง เพราะ คนทั่วไปเห็นว่า เขาเป็นคนประนีประนอม ช่วยสมานไมตรี ที่นั่งอยู่ในคณะกรรมการร่วมกับสมาชิกทรงอิทธิพลของรัฐบาล.
One clue may be a keynote speech he made two months before his disappearance at the Asia-Europe People’s Forum, the largest civil society event held in Laos.
ร่องรอยหนึ่งอาจเป็นสุนทรพจน์ที่เขากล่าวเมื่อสองเดือนก่อนที่เขาจะหายตัวไป ที่เวทีประชาชนเอเชีย-ยุโรป, อันเป็นกิจกรรมภาคประชาสังคมที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดขึ้นในลาว.
“We focus too much on economic growth and ignore its negative impact … we need to give more space for the ordinary people, especially young people, and allow them to be drivers of change and transformation,” he said.
“เราเน้นที่การเติบโตทางเศรษฐกิจมากเกินไป และ เมินเฉยต่อผลกระทบด้านลบของมัน... เราจำเป็นต้องให้สามัญชนมีพื้นที่มากขึ้น, โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มคนสาว, และอนุญาตให้พวกเขาเป็นผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและการพลิกโฉม”, เขากล่าว.
Sombath, who founded a non-government organisation called the Participatory Development Training Centre in 1996, which seeks to advance community education and training on sustainable development, has also spoken out about land seizures as Laos opened its doors to massive foreign investments that include mining, hydroelectric plants, rubber plantations, hotels and casino projects.
สมบัด, ผู้ก่อตั้งองค์กรนอกรัฐบาล เรียกว่า ศูนย์อบรมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ในปี ๒๕๓๙, ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความก้าวหน้าในการศึกษาชุมชน และ ให้การฝึกอบรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน, ก็ได้พูดเกี่ยวกับการฉกชิงที่ดิน ในขณะที่ลาวเปิดประตูรับการลงทุนต่างชาติมหาศาล ที่รวมถึงโครงการทำเหมืองแร่, โรงไฟฟ้าพลังน้ำ, สวนยาง, โรงแรม และ โรงพนัน.
Earlier this year Laos joined the global community as a member of the World Trade Organisation and is lobbying for a seat on the United Nations Human Rights Council.
เมื่อต้นปีนี้ ลาวได้เข้าร่วมประชาคมโลก ในฐานะสมาชิกขององค์การค้าโลก และ กำลังล็อบบี้ที่นั่งในสภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ.
But the governing Communist Party fiercely defends its hold on power and vigorously cracks down on dissent while moving to liberalise its economy and promote tourism.
แต่พรรคคอมมิวนิสต์ที่ปกครองอยู่ ปกป้องการครองอำนาจของตัวเองอย่างดุเดือด และ ทำการปราบปรามผู้เห็นต่างอย่างแข็งขัน ในขณะที่มุ่งหน้าสู่เศรษฐกิจเสรี และ ส่งเสริมการท่องเที่ยว.
Activists who unravelled a banner calling for democracy are languishing in jail.
นักกิจกรรมที่ชูป้ายเรียกร้องประชาธิปไตย ล้วนถูกจับเข้าคุกให้อ่อนแรงลง.
Five years ago environmentalist Sompawn Khantisouk was forced into a car in northern Laos and was never seen again while the government earlier this year blocked a US investigation into the disappearance of a US citizen and two other men in a southern Lao province.
ห้าปีก่อน นักสิ่งแวดล้อม สมพอน ขันติสุก ถูกบังคับขึ้นรถในลาวตอนเหนือ แล้วก็ไม่มีใครได้พบเห็นอีก ในขณะที่ ต้นปีนี้ รัฐบาลได้ขัดขวางการสืบสวนของสหรัฐฯ ในกรณีการหายสาบสูญไปของพลเมืองสหรัฐฯ ๑ คน และ ชายอีก ๒ คนในจังหวัดลาว ภาคใต้.
A ceremony to honour Sombath in Laos was cancelled after security police threatened his colleagues and family.
In riverside Vientiane, most people decline to speak publicly about Sombath’s disappearance, fearful of reprisals from police and security forces which are under close communist party control.
พิธีกรรมเพื่อยกย่อง สมบัด ในลาวต้องระงับไป หลังจากตำรวจความมั่นคงข่มขู่ครอบครัวและมิตรสหายในวงการ.  ในย่านริมโขง เวียงจันทน์, ประชาชนส่วนใหญ่ไม่กล้าพูดในที่สาธารณะเกี่ยวกับการหายสาบสูญไปของ สมบัด, ด้วยกลัวว่าตำรวจและหน่วยความมั่นคง ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของพรรคคอมมิวนิสต์จะตามรังควาน.
Among those internationally who have expressed regret and called for Sombath’s safe return are US Secretary of State John Kerry, former Secretary of State Hillary Clinton and South African Archbishop Desmond Tutu.
ในบรรดาบุคคลสำคัญนานาชาติที่ได้แสดงความเสียใจและเรียกร้องให้ สมบัด ได้กลับมาอย่างปลอดภัย คือ เลขาธิการแห่งรัฐของสหรัฐฯ จอห์น เคอร์รี, อดีตเลขาธิการแห่งรัฐของสหรัฐฯ ฮิลลารี คลินตัน และ บาทหลวงแห่งอาฟริกาใต้ เดสมอนอ์ ตูตู.
In June 42 Australian academics signed an open letter to then foreign minister Bob Carr asking for Australia, as a major aid donor to Laos, to take a more assertive stand with the Lao government on the disappearance.
ในเดือนมิถุนายน นักวิชาการออสเตรเลีย ๔๒ คน ได้ลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึง รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้น บ็อบ คาร์ ร้องขอให้ออสเตรเลีย, ในฐานะผู้บริจาคและให้ความช่วยเหลือหลักรายหนึ่งแก่ลาว, ให้แสดงจุดยืนที่หนักแน่นกว่านี้กับรัฐบาลลาว ในเรื่องการหายสาบสูญนี้.
Human rights groups also want other countries to increase pressure on the government that benefits from hundred of millions of dollars a year in development aid.
กลุ่มสิทธิมนุษยชน ยังต้องการให้ประเทศอื่นๆ เพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลที่ได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือพัฒนาเป็นเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์ทุกปีด้วย.
“The government’s continued denials of complicity in the disappearance have zero credibility and point more clearly than ever to the critical importance of redoubled international pressure on Lao leaders if we are ever going to learn what has happened to Sombath,” said Human Rights Watch’s Mr Robertson.
“การที่รัฐบาลปฏิเสธการมีส่วนรู้เห็นมาตลอดในการหายสาบสูญไป ทำให้ความน่าเชื่อถือเป็นศูนย์ และ ชี้ให้เห็นชัดยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมาว่า มันสำคัญยิ่งยวดที่นานาชาติจะเพิ่มแรงกดดันอีกเป็นสองเท่าต่อผู้นำลาว หากพวกเราจะมีหวังได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับ สมบัด”, คุณโรเบิร์ตสัน กล่าว.
Ms Shui Meng, a former UNICEF staffer who met Sombath in Hawaii in the 1970s while he was studying there on a scholarship, urged donor countries like Australia to help get the government to be more transparent, identify the kidnappers and return Mr Sombath or if he is incarcerated allow family members to visit.
คุณชุ่ยหมิง, อดีตเจ้าหน้าที่ของ UNICEF ที่ได้พบกับ สมบัด ในฮาวายในทศวรรษ ๒๕๑๓- ในขณะที่เขากำลังศึกษาที่นั่นด้วยทุนการศึกษา, ได้เร่งเร้าให้ประเทศแหล่งทุน เช่น ออสเตรเลีย ให้ช่วยทำให้รัฐบาลมีความโปร่งใสมากขึ้น, ระบุตัวคนร้ายที่ลักพาตัว และ ปล่อยคืน สมบัด หรือ หากเขาถูกจองจำ ก็ขอให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าไปเยี่ยม.
“So far quiet diplomacy or more overt calls for action by governments have yielded zero results,” she said.
Ms Shui Meng said she can “only hold on to my hope and faith, as anything otherwise is unthinkable.”
“ถึงบัดนี้ การทูตเงียบๆ หรือ การเรียกร้องอย่างเปิดเผยให้รัฐบาลทำอะไรบ้าง ไม่ยังผลใดๆ เลย”, เธอกล่าว.  คุณชุ่ยหมิง บอกว่า เธอ “ได้แต่ยึดมั่นในความหวังและความศรัทธาของฉันเอง, เพราะอะไรๆ นอกนั้น คาดไม่ได้เลย”.
“Not having hope is to give up and I will not give up … not yet,” she said.
“การไม่มีความหวัง เป็นการยอมแพ้ และ ฉันจะไม่ยอมแพ้ ... ยังไม่ยอม”, เธอกล่าว.

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

319. ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนในโรงเรียน เพื่อเตรียมเยาวชนให้รับมือกับเที่ยงคืนนิเวศ


319.  Teaching-Learning Strategies in Schools to Prepare Youths to Live with Eco-Midnight

Five Ways to Develop Ecoliteracy
--by Daniel Goleman, Zenobia Barlow, Lisa Bennett , syndicated from Greater Good, Sep 26, 2013
ห้าวิธีเพื่อพัฒนาการ “อ่านเขียน” นิเวศได้
-เดเนียล โกลแมน, ซีโนเบีย บาร์โลว, ลิซส เบ็นเน็ตต์
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
“The best time to plant a tree is twenty years ago. The second best time is now”. --Chinese Proverb
“เวลาที่ดีที่สุดที่จะปลูกต้นไม้ คือ ๒๐ ปีก่อน.  ดีที่สุดรองมา คือ ตอนนี้”. –ภาษิตจีน

The following is adapted from Ecoliterate: How Educators Are Cultivating Emotional, Social, and Ecological Intelligence. Ecoliterate shows how educators can extend the principles of social and emotional intelligence to include knowledge of and empathy for all living systems.
บทความต่อไปนี้ ดัดแปลงจาก “Ecoliterate (อ่านเขียนนิเวศได้): นักการศึกษากำลังบ่มเพาะปรีชาญาณเชิงอารมณ์, สังคม, และนิเวศ อย่างไร”.  Ecoliterate แสดงให้เห็นว่า นักการศึกษา สามารถยืดหลักการของปรีชาญาณเชิงสังคมและอารมณ์เพื่อรวมความรู้ของ และ ความเห็นอกเห็นใจต่อระบบสิ่งมีชีวิตทั้งปวง.
For students in a first-grade class at Park Day School in Oakland, California, the most in-depth project of their young academic careers involved several months spent transforming their classroom into an ocean habitat, ripe with coral, jellyfish, leopard sharks, octopi, and deep-sea divers (or, at least, paper facsimiles of them). Their work culminated in one special night when, suited with goggles and homemade air tanks, the boys and girls shared what they had learned with their parents. It was such a successful end to their project that several children had to be gently dragged away as bedtime approached.
สำหรับนักเรียน เกรด ๑ ที่โรงเรียนปาร์คเดย์ ในโอ๊คแลนด์, แคลิฟอร์เนีย, โครงการที่ลึกล้ำที่สุดในสายวิชาการของเยาวชนเหล่านี้ เป็นการใช้เวลาหลายเดือนพลิกโฉมห้องเรียนของพวกเขาให้เป็นที่อยู่อาศัยในมหาสมุทร, เต็มไปด้วยปะการัง, แมงกะพรุน, ฉลามเสือ, ปลาหมึก, และ นักดำน้ำลึก (หรือ, อย่างน้อย, สำเนารูปสัตว์บนกระดาษ).  งานของพวกเขาขมวดลงในค่ำพิเศษคืนหนึ่ง เมื่อเด็กๆ ชาย-หญิง, สวมใส่แว่นดำน้ำและถังอากาศทำจากบ้าน, แบ่งปันสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้กับผู้ปกครองของพวกเขา.  มันเป็นการจบโครงการที่ประสบความสำเร็จมากจนเด็กๆ หลายคน จะต้องค่อยๆ ดึงตัวด้วยความอ่อนโยนให้กลับบ้านเมื่อใกล้เวลานอน.
By the next morning, however, something unexpected had occurred: When the students arrived at their classroom at 8:55 a.m., they found yellow caution tape blocking the entrance. Looking inside, they saw the shades drawn, the lights out, and some kind of black substance covering the birds and otters. Meeting them outside the door, their teacher, Joan Wright-Albertini, explained: “There’s been an oil spill.”
“Oh, it’s just plastic bags,” challenged a few kids, who realized that the “oil” was actually stretched-out black lawn bags. But most of the students were transfixed for several long minutes. Then, deciding that they were unsure if it was safe to enter, they went into another classroom, where Wright-Albertini read from a picture book about oil spills.
แต่พอถึงวันรุ่งขึ้นถัดไป, บางสิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น: เมื่อเด็กๆ มาถึงห้องเรียนเวลาเช้า ๘.๕๕ น., พวกเขาพบเทปสีเหลืองระวังอันตรายปิด ขวางทางเข้าห้องเรียน.  มองเข้าไปข้างใน, พวกเขาเห็นมู่ลี่ปิดหน้าต่าง, ไฟดับมืด, และ มีสารบางอย่างดำๆ คลุมตัวนกและนาก.  ครูของพวกเขา โจแอน ไรท์-อัลเบอร์ตินี ออกมาพบกับเด็กข้างนอก และอธิบายว่า “เกิดน้ำมันหกกระเซ็นขึ้น”.  “โอ, มันเป็นเพียงถุงพลาสติก”, เด็กสองสามคน ร้องท้าทาย เมื่อตระหนักว่า “น้ำมัน” ที่แท้เป็นถุงดำ.  แต่นักเรียนส่วนใหญ่จ้องตาเขม็งอยู่นานหลายนาที.  แล้วก็ตัดสินใจว่า พวกเขาไม่แน่ใจว่า ปลอดภัยหรือไม่ที่จะเข้าไป, พวกเขาเดินเข้าไปอีกห้องเรียนห้องหนึ่ง, ที่ๆ ไรท์-อัลเบอร์ตินี อ่านจากหนังสือภาพเล่มหนึ่งเกี่ยวกับน้ำมันหกกระเซ็น.
The children already knew a little bit about oil spills because of the 2010 accident in the Gulf of Mexico—but having one impact “their ocean” made it suddenly personal. They leaned forward, a few with mouths open, listening to every word. When she finished, several students asked how they could clean up their habitat. Wright-Albertini, who had anticipated the question, showed them footage of an actual cleanup—and, suddenly, they were propelled into action. Wearing gardening gloves, at one boy’s suggestion, they worked to clean up the habitat they had worked so hard to create.
เด็กๆ ได้รับรู้มาบ้างแล้วเกี่ยวกับน้ำมันหกกระเซ็น เพราะ อุบัติเหตุ ๒๕๕๓ ในอ่าวเม็กซิโก—แต่การที่มันมีผลกระทบต่อ “มหาสมุทรของพวกเขา” ทำให้กลายเป็นเรื่องส่วนตัวทันที.  พวกเขาโน้มตัวไปข้างหน้า, บางคนฟังอ้าปากค้าง, ตั้งใจฟังทุกๆ คำ.  เมื่อเธออ่านจบ, นักเรียนหลายคนถามว่า พวกเขาจะทำความสะอาดที่อยู่อาศัย ของพวกเขา ได้อย่างไร.  ไรท์-อัลเบอร์ตินี, คาดล่วงหน้าว่าจะมีคำถามเช่นนี้, ก็ฉายภาพการทำความสะอาดที่เกิดขึ้นจริง—และ, ในบัดดล, พวกเขาก็ติดเครื่องเริ่มปฏิบัติการ.  พวกเขาสวมถุงมือทำสวน, ตามคำแนะนำของเด็กชายคนหนึ่ง, ทำงานเพื่อทำความสะอาดที่อยู่อาศัยที่พวกเขาได้ทำงานหนักมากเพื่อสร้างมันขึ้นมา.
Later, they joined their teacher in a circle to discuss what they learned: why it was important to take care of nature, what they could do to help, and how the experience made them feel. “It broke my heart in two,” said one girl. Wright-Albertini felt the same way. “I could have cried,” she said later. “But it was so rich a life lesson, so deeply felt.” Indeed, through the mock disaster, Wright-Albertini said she saw her students progress from loving the ocean creatures they had created to loving the ocean itself. She also observed them understand a little bit about their connection to nature and gain the knowledge that, even as six and seven year olds, they could make a difference.
ภายหลัง, พวกเขานั่งล้อมวงกับครูเพื่ออภิปรายกันถึงสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้: ทำไมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะดูแลธรรมชาติ, พวกเขาจะช่วยทำอะไรได้บ้าง, และประสบการณ์นี้ทำให้พวกเขารู้สึกอย่างไร.  “มันทำให้หัวใจหนูแตกเป็นสองเสี่ยง”, เด็กหญิงคนหนึ่งพูด.  ไรท์-อัลเบอร์ตินี ก็รู้สึกเช่นเดียวกัน.  “ฉันเกือบร้องไห้”, เธอกล่าวภายหลัง.  “แต่มันเป็นบทเรียนชีวิตที่รุ่มรวยมาก, รู้สึกได้อย่างลึกล้ำ”.  อันที่จริง, ด้วยการสร้างสถานการณ์ภัยพิบัติ,  ไรท์-อัลเบอร์ตินี บอกว่า เธอเห็นนักเรียนของเธอก้าวหน้าจากความรักสัตว์ในมหาสมุทรที่พวกเขาสร้างขึ้น เป็นความรักตัวมหาสมุทรเอง.  เธอสังเกตเห็นด้วยว่า พวกเขาเข้าใจมากขึ้นเล็กน้อยเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของพวกเขากับธรรมชาติ และ เกิดความรู้ว่า, แม้จะเป็นเด็กอายุ ๖-๗ ขวบ, พวกเขาสามารถทำให้เกิดความแตกต่างได้.
It was a tender, and exquisitely planned, teachable moment that reflected what a growing number of educators have begun to identify as a deeply felt imperative: To foster learning that genuinely prepares young people for the ecological challenges presented by this entirely unprecedented time in human history.
มันเป็นเวลาที่ใช้สอนได้ ด้วยความรักใคร่/ระมัดระวัง, และมีการวางแผนอย่างงดงาม, ที่สะท้อนถึงสิ่งที่นักการศึกษาจำนวนมากขึ้นได้เริ่มระบุว่าเป็นเรื่องที่พวกเขาสัมผัสรู้สึกอย่างลึกล้ำ: เพื่อหล่อเลี้ยงการเรียนรู้ที่เป็นการเตรียมเยาวชนอย่างจริงใจ เพื่อรับมือกับความท้าทายเชิงนิเวศที่ถูกนำเสนอขึ้นในห้วงเวลาทั้งหมดนี้อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษย์.
“Ecoliterate” is our shorthand for the end goal of this kind of learning, and raising ecoliterate students requires a process that we call “socially and emotionally engaged ecoliteracy”—a process that, we believe, offers an antidote to the fear, anger, and hopelessness that can result from inaction. As we saw in Wright-Albertini’s classroom, the very act of engaging in some of today’s great ecological challenges—on whatever scale is possible or appropriate—develops strength, hope, and resiliency in young people.
“Ecoliterate” เป็นคำชวเลข/รหัส ของเราอันเป็นเป้าหมายตอนจบของการเรียนรู้วิธีนี้, และ การสร้างนักเรียนที่ ecoliterate (อ่านออกเขียนได้เชิงนิเวศ) จำเป็นต้องมีกระบวนการที่เราเรียกว่า “การอ่านออกเขียนได้เชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วมทางสังคมและทางอารมณ์”—กระบวนการที่, เราเชื่อ, ว่าเป็นการนำเสนอยาแก้พิษต่อความกลัว, ความโกรธ, และความสิ้นหวัง ที่สามารถกลายเป็นการไม่ทำอะไรเลย.  ดังที่เราได้เห็นในห้องเรียนของ ไรท์-อัลเบอร์ตินี, การกระทำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งท้าทายอันยิ่งใหญ่เชิงนิเวศบางประการทุกวันนี้—ไม่ว่าจะมีขนาดแค่ไหนที่เป็นไปได้หรือเหมาะสม—ช่วยพัฒนาความเข้มแข็ง, ความหวัง, และ ความยืดหยุ่นให้แก่เยาวชนได้.
Ecoliteracy is founded on a new integration of emotional, social, and ecological intelligence—forms of intelligence popularized by Daniel Goleman. While social and emotional intelligence extend students’ abilities to see from another’s perspective, empathize, and show concern, ecological intelligence applies these capacities to an understanding of natural systems and melds cognitive skills with empathy for all of life. By weaving these forms of intelligence together, ecoliteracy builds on the successes—from reduced behavioral problems to increased academic achievement—of the movement in education to foster social and emotional learning. And it cultivates the knowledge, empathy, and action required for practicing sustainable living.
Ecoliteracy ถูกก่อตั้งขึ้น ด้วยการบูรณาการปรีชาญาณทางอารมณ์, สังคม, และ นิเวศ—เป็นรูปแบบของปรีชาญาณที่เผยแพร่โดย เดเนียล โกลแมน.  ในขณะที่ปรีชาญาณเชิงสังคมและอารมณ์ ช่วยยืดความสามารถของนักเรียนให้มองจากมุมมองของอีกคน, เห็นอกเห็นใจ, และ แสดงความห่วงใย, ปรีชาญาณเชิงนิเวศช่วยประยุกต์ความสามารถเหล่านี้ให้เกิดเป็นความเข้าใจต่อระบบธรรมชาติ และ หลอมรวมทักษะการรับรู้กับความเห็นอกเห็นใจต่อสรรพชีวิตทั้งมวล.  ด้วยการถักทอรูปแบบปรีชาญาณเหล่านี้เข้าด้วยกัน, ecoliteracy ต่อยอดจากความสำเร็จ—จากการลดปัญหาด้านพฤติกรรม เป็นการเพิ่มความสำเร็จด้านวิชาการ—ของการขับเคลื่อนในการศึกษาเพื่อหล่อเลี้ยงการเรียนรู้เชิงสังคมและอารมณ์.  และมันช่วยบ่มเพาะความรู้, ความเห็นอกเห็นใจ (เมตตากรุณา), และ การกระทำที่จำเป็นต้องมีเพื่อปฏิบัติในการยังชีพแบบยั่งยืน.
To help educators foster socially and emotionally engaged ecoliteracy, we have identified the following five practices. These are, of course, not the only ways to do so. But we believe that educators who cultivate these practices offer a strong foundation for becoming ecoliterate, helping themselves and their students build healthier relationships with other people and the planet. Each can be nurtured in age-appropriate ways for students, ranging from pre-kindergarten through adulthood, and help promote the cognitive and affective abilities central to the integration of emotional, social, and ecological intelligence.
เพื่อช่วยนักการศึกษาอบรม ecoliteracy ที่มีส่วนร่วมเชิงสังคมและอารมณ์, เราได้ระบุวิธีปฏิบัติห้าประการ.  แน่นอน, มันไม่ใช่มีเพียงวิธีเหล่านี้.  แต่เราเชื่อว่า นักการศึกษาผู้บ่มเพาะวิธีปฏิบัติเหล่านี้ จะนำเสนอพื้นฐานที่เข้มแข็งให้สร้างคน ecoliterate, อันเป็นการช่วยให้พวกเขาเองและนักเรียนของพวกเขาสร้างความสัมพันธ์ที่สมบูรณ์กว่านี้ กับคนอื่นๆ และ พิภพโลก.  ทุกวิธีสามารถใช้อบรมตามความเหมาะสมของอายุนักเรียน, ตั้งแต่ก่อนอนุบาล จนถึง ผู้ใหญ่, และช่วยส่งเสริมความสามารถในการรับรู้และความสามารถเกี่ยวกับอารมณ์ อันเป็นศูนย์กลางของการบูรณาการ ปรีชาญาณเชิงอารมณ์, สังคม, และ นิเวศ.

1.       Develop empathy for all forms of life
a.       พัฒนาความเห็นอกเห็นใจต่อชีวิตทุกรูปแบบ
At a basic level, all organisms—including humans—need food, water, space, and conditions that support dynamic equilibrium to survive. By recognizing the common needs we share with all organisms, we can begin to shift our perspective from a view of humans as separate and superior to a more authentic view of humans as members of the natural world. From that perspective, we can expand our circles of empathy to consider the quality of life of other life forms, feel genuine concern about their well-being, and act on that concern.
Most young children exhibit care and compassion toward other living beings.
ในระดับพื้นฐาน, สิ่งมีชีวิตทั้งปวง—รวมทั้งมนุษย์—ต้องการอาหาร, น้ำ, พื้นที่, และ เงื่อนไขที่สนับสนุนความสมดุลที่มีพลวัตเพื่ออยู่รอด.  ด้วยการยอมรับความต้องการร่วม ที่เราแบ่งปันกับสิ่งมีชีวิตทั้งมวล, เราสามารถเริ่มขยับมุมมองของเราออกจากจุด ที่มองเห็นว่ามนุษย์ฉีกแยกและเหนือกว่า สู่การมองเห็นที่แท้จริงกว่า ที่ว่า มนุษย์เป็นสมาชิกของโลกธรรมชาติ.  จากมุมมองนั้น, เราสามารถยืดวงความเห็นอกเห็นใจของเราให้ครอบคลุมคุณภาพชีวิตของสิ่งมีชีวิตในรูปแบบอื่นๆ, รู้สึกห่วงใยด้วยใจจริงต่อความอยู่ดีมีสุขของพวกเขาด้วย, และ กระทำการด้วยความห่วงใยนั้น.  เด็กเล็กๆ ส่วนใหญ่แสดงออกถึงความเอาใจใส่และความเมตตากรุณาต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ.
This is one of several indicators that human brains are wired to feel empathy and concern for other living things. Teachers can nurture this capacity to care by creating class lessons that emphasize the important roles that plants and animals play in sustaining the web of life. Empathy also can be developed through direct contact with other living things, such as by keeping live plants and animals in the classroom; taking field trips to nature areas, zoos, botanical gardens, and animal rescue centers; and involving students in field projects such as habitat restoration.
นี่เป็นหนึ่งในดัชนีหลายๆ ตัวที่สมองของมนุษย์เชื่อมต่อกับความรู้สึกเห็นใจและห่วงใยต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ.  ครูสามารถหล่อเลี้ยงความสามารถนี้ ให้เอาใจใส่ด้วยการสร้างบทเรียนในห้องเรียน ที่เน้นถึงบทบาทสำคัญของต้นไม้และสัตว์ ในการธำรงโยงใยของชีวิต.  ความเห็นอกเห็นใจก็สามารถพัฒนาได้ด้วยการติดต่อสัมผัสตรงกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ด้วย, เช่น ด้วยการจัดให้มีต้นไม้ และ สัตว์ที่มีชีวิตในห้องเรียน; พาไปทัศนศึกษาในพื้นที่ธรรมชาติ, สวนสัตว์, สวนพฤษชาติ, และ ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์; และ ให้นักเรียนเข้าร่วมในโครงการลงพื้นที่ เช่น การบูรณะที่อยู่อาศัย.
Another way teachers can help develop empathy for other forms of life is by studying indigenous cultures. From early Australian Aboriginal culture to the Gwich’in First Nation in the Arctic Circle, traditional societies have viewed themselves as intimately connected to plants, animals, the land, and the cycles of life. This worldview of interdependence guides daily living and has helped these societies survive, frequently in delicate ecosystems, for thousands of years. By focusing on their relationship with their surroundings, students learn how a society lives when it values other forms of life.
อีกวิธีหนึ่งที่ครูจะสามารถช่วยพัฒนาความเห็นอกเห็นใจต่อสิ่งมีชีวิตในรูปแบบอื่น คือ ด้วยการศึกษาวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองดั้งเดิม.  จากวัฒนธรรมของของชนถิ่นดั้งเดิมออสเตรเลียยุคเริ่มแรก ถึง Gwich’in ชนชาติแรกในแวดวงขั้วโลกเหนือ, สังคมแบบเดิมมองตัวเองว่า มีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นกับต้นไม้, สัตว์, แผ่นดิน, และวัฏจักรของชีวิต.  โลกทัศน์ของความพึ่งพาอาศัยกันและกันนี้ เป็นเครื่องนำทางในการดำรงชีวิตประจำวัน และได้ช่วยให้สังคมเหล่านี้อยู่รอด, นักเรียนเรียนรู้ได้ว่าสังคมที่ให้คุณค่าต่อสิ่งมีชีวิตในรูปแบบอื่น อยู่กันอย่างไร.

2.       Embrace sustainability as a community practice
a.       โอบความยั่งยืนให้เป็นวิธีปฏิบัติชุมชน
Organisms do not survive in isolation. Instead, the web of relationships within any living community determines its collective ability to survive and thrive.
สิ่งมีชีวิตอยู่รอดไม่ได้อย่างโดดเดี่ยว.  แทนที่จะเป็นเช่นนั้น, โยงใยของความสัมพันธ์ภายในชุมชนที่มีชีวิตใดๆ เป็นเครื่องตัดสินความสามารถร่วมของมันในการอยู่รอดและเจริญงอกงาม.
 This essay is adapted from Ecoliterate: How Educators Are Cultivating Emotional, Social, and Ecological Intelligence (Jossey-Bass), which draws on the work of the Center for Ecoliteracy.
บทความนี้ ดัดแปลงจาก Ecoliterate: How Educators Are Cultivating Emotional, Social, and Ecological Intelligence (Jossey-Bass), ซึ่งอ้างงานของ Center for Ecoliteracy.
By learning about the wondrous ways that plants, animals, and other living things are interdependent, students are inspired to consider the role of interconnectedness within their communities and see the value in strengthening those relationships by thinking and acting cooperatively.
ด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ที่ ต้นไม้, สัตว์, และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ พึ่งพาอาศัยกัน, นักเรียนได้รับแรงบันดาลใจให้คำนึงถึงบทบาทของความเชื่อมโยงเกาะเกี่ยวต่อกันและกัน ภายในชุมชนของพวกเขา และ มองเห็นคุณค่าในการเสริมความเข้มแข็งของความสัมพันธ์เหล่านี้ด้วยการคิดและกระทำอย่างร่วมมือกัน.
The notion of sustainability as a community practice, however, embodies some characteristics that fall outside most schools’ definitions of themselves as a “com-munity,” yet these elements are essential to building ecoliteracy. For example, by examining how their community provisions itself—from school food to energy use—students can contemplate whether their everyday practices value the common good.
แต่ ความคิดของความยั่งยืนในฐานะเป็นวิธีปฏิบัติของชุมชน มีลักษณะบางอย่างที่อยู่นอกคำนิยามของโรงเรียนส่วนใหญ่ ที่ถือว่าตนเองเป็น “ชุมชน”, แต่องค์ประกอบเหล่านี้เป็นแก่นของการสร้าง ecoliteracy.  ยกตัวอย่าง, ด้วยการตรวจสอบว่า ชุมชนของพวกเขาจัดหาให้ตัวเองอย่างไร—จากอาหารโรงเรียน ถึง การใช้พลังงาน—นักเรียนสามารถไตร่ตรองดูว่า วิธีปฏิบัติของพวกเขาแต่ละวันให้คุณค่าต่อประโยชน์ร่วมไหม.
Other students might follow the approach taken by a group of high school students in New Orleans known as the “Rethinkers,” who gathered data about the sources of their energy and the amount they used and then surveyed their peers by asking, “How might we change the way we use energy so that we are more resilient and reduce the negative impacts on people, other living beings, and the planet?” As the Rethinkers have shown, these projects can give students the opportunity to start building a community that values diverse perspectives, the common good, a strong network of relationships, and resiliency.
นักเรียนอื่นๆ อาจทำตามแนวทางที่นักเรียนมัธยมกลุ่มหนึ่งในนิวออร์ลีนส์ ที่รู้จักกันในฐานะ “นักคิดทบทวนใหม่”, ผู้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งพลังงานของพวกเขา และ ปริมาณที่พวกเขาใช้ แล้วก็ทำการสำรวจเพื่อนๆ ด้วยคำถามว่า, “เราจะเปลี่ยนวิธีการใช้พลังงานได้อย่างไร เพื่อว่าเราจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และ ลดผลกระทบเชิงลบต่อประชาชน, สิ่งมีชีวิตอื่นๆ, และพิภพโลก?  ดังที่ นักคิดทบทวนใหม่ ได้แสดงให้เห็น, โครงการเหล่านี้สามารถให้โอกาสแก่นักเรียนในการเริ่มสร้างชุมชนที่ให้คุณค่าต่อมุมมองหลากหลาย, ประโยชน์ร่วม, เครือข่ายความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง และความยืดหยุ่น.

3.       Make the invisible visible
a.       ทำให้ส่วนที่มองไม่เห็นให้ปรากฏ (หงายสิ่งที่คว่ำอยู่)
Historically—and for some cultures still in existence today—the path between a decision and its consequences was short and visible. If a homesteading family cleared their land of trees, for example, they might soon experience flooding, soil erosion, a lack of shade, and a huge decrease in biodiversity.
ในเชิงประวัติศาสตร์—และสำหรับบางวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่ทุกวันนี้—หนทางระหว่างการตัดสินใจ และ ผลพวง นั้นสั้นและมองเห็นได้.  ยกตัวอย่าง, หากครอบครัวหนึ่ง ตัดต้นไม้บนที่ดินของพวกเขาจนราบเรียบ, ไม่นาน พวกเขาอาจประสบน้ำท่วม, การพังทลายของหน้าดิน, ไร้ร่มไม้กันแดด, และการลดความหลากหลายทางชีวภาพอย่างมหาศาล.
But the global economy has created blinders that shield many of us from experiencing the far-reaching implications of our actions. As we have increased our use of fossil fuels, for instance, it has been difficult (and remains difficult for many people) to believe that we are disrupting something on the magnitude of the Earth’s climate. Although some places on the planet are beginning to see evidence of climate change, most of us experience no changes. We may notice unusual weather, but daily weather is not the same as climate disruption over time.
แต่ระบบเศรษฐกิจโลกได้สร้างม่านบังตา ที่ขวางกั้นพวกเราหลายคนให้ห่างไกลจากประสบการณ์ต่อผลพวงอันเกิดจากการกระทำของพวกเรา.  เช่น ในขณะที่การใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ของพวกเราเพิ่มมากขึ้น, เป็นการยาก (และก็ยังยากอยู่สำหรับอีกหลายๆ คน) ที่จะเชื่อว่า พวกเรากำลังสร้างความอลหม่านบางอย่างในขนาดมหึมาของภูมิอากาศโลก.  แม้ว่าบางแห่งบนพิภพโลกกำลังเริ่มเห็นหลักฐานของภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, พวกเราส่วนใหญ่ยังไม่ประสบการเปลี่ยนแปลงใดๆ.  เราอาจสังเกตเห็นอากาศผิดปกติ, แต่อากาศประจำวันไม่เหมือนกับความบกพร่องในภูมิอากาศเมื่อเวลาผ่านไป.
If we strive to develop ways of living that are more life-affirming, we must find ways to make visible the things that seem invisible.
หากเราพยายามพัฒนาวิถีชีวิตที่ยืนยันรับรองชีวิตมากขึ้น, เราต้องหาหนทางทำให้สิ่งต่างๆ ที่ดูเหมือนล่องหน ให้ปรากฏชัดขึ้นในสายตา.
Educators can help through a number of strategies. They can use phenomenal web-based tools, such as Google Earth, to enable students to “travel” virtually and view the landscape in other regions and countries. They can also introduce students to technological applications such as GoodGuide and Fooducate, which cull from a great deal of research and “package” it in easy-to-understand formats that reveal the impact of certain household products on our health, the environment, and social justice. Through social networking websites, students can also communicate directly with citizens of distant areas and learn firsthand what the others are experiencing that is invisible to most students. Finally, in some cases, teachers can organize field trips to directly observe places that have been quietly devastated as part of the system that provides most of us with energy.
นักการศึกษาสามารถช่วยได้โดยใช้ยุทธศาสตร์ต่างๆ.  พวกเขาสามารถใช้เครื่องมือบนเว็บ, เช่น กูเกิลเอิร์ธ, เพื่อช่วยให้นักเรียนเหมือนกับได้ “ท่องเที่ยว” จริง และ มองดูภูมิทัศน์ในภูมิภาคและประเทศอื่นๆ.  พวกเขาสามารถแนะนำนักเรียนให้ใช้เทคโนโลยีประยุกต์ เช่น GoodGuide และ Fooducate, ซึ่งคัดสรรจากงานวิจัยมหาศาล และ “บรรจุภัณฑ์” ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ที่เผยผลกระทบของผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนบางชนิดต่อสุขภาพ, สิ่งแวดล้อม, และสังคมเป็นธรรมของเรา.  ด้วยช่องทางเครือข่ายสังคมบนเว็บไซต์, นักเรียนสามารถสื่อสารโดยตรงกับพลเมืองในดินแดนห่างไกล และเรียนรู้โดยตรงกับสิ่งที่คนอื่นๆ กำลังประสบ ที่ล่องหนสำหรับนักเรียนส่วนใหญ่.  ในที่สุด, ในบางกรณี, ครูสามารถจัดทัศนศึกษาให้สามารถสังเกตได้โดยตรงในสถานที่ๆ ได้ถูกทำให้ฉิบหายอย่างเงียบๆ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่จัดหาพลังงานให้พวกเราส่วนใหญ่ได้ใช้.

4.       Anticipate unintended consequences
a.       คาดการณ์ล่วงหน้าต่อผลพวงที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น
Many of the environmental crises that we face today are the unintended consequences of human behavior. For example, we have experienced many unintended but grave consequences of developing the technological ability to access, produce, and use fossil fuels. These new technological capacities have been largely viewed as progress for our society. Only recently has the public become aware of the downsides of our dependency on fossil fuels, such as pollution, suburban sprawl, international conflicts, and climate change.
วิกฤตสิ่งแวดล้อมหลายประการที่พวกเราเผชิญอยู่ทุกวันนี้ ล้วนเป็นผลพวงที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้นจากพฤติกรรมของมนุษย์.  ยกตัวอย่าง, เราได้ประสบกับหลายๆ ผลพวงที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น แต่ปางตาย ของการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อการเข้าถึง, ผลิต, และใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์.  ความสามารถใหม่ทางเทคโนโลยีเหล่านี้ ส่วนใหญ่ถูกมองว่าเป็นความก้าวหน้าของสังคมของเรา.  เพียงเมื่อเร็วๆ นี้เอง ที่สาธารณชนได้ตระหนักถึงด้านลบของการพึ่งพิงของเราต่อเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์, เช่น มลภาวะ, การขยายชานเมือง, ความขัดแย้งระหว่างประเทศ, และ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง.
Teachers can teach students a couple of noteworthy strategies for anticipating unintended consequences. One strategy—the precautionary principle—can be boiled down to this basic message: When an activity threatens to have a damaging impact on the environment or human health, precautionary actions should be taken regardless
of whether a cause-and-effect relationship has been scientifically confirmed. Historically, to impose restrictions on new products, technologies, or practices, the people concerned about possible negative impacts were expected to prove scientifically that harm would result from them. By contrast, the precautionary principle (which is now in effect in many countries and in some places in the United States) places the burden of proof on the producers to demonstrate harmlessness and accept responsibility should harm occur.
ครูสามารถสอนนักเรียนให้รู้จักใช้ยุทธศาสตร์สองสามชุด ในการรับมือกับผลพวงที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดแต่คาดล่วงหน้าว่าจะเกิด.  ยุทธศาสตร์หนึ่ง—หลักการระวังป้องกันไว้ก่อน—ตกผลึกเป็นสาระพื้นฐาน: เมื่อกิจกรรมหนึ่ง แสดงอาการ (ขู่) ว่าจะมีผลกระทบทำลายล้างต่อสิ่งแวดล้อม หรือ สุขภาพมนุษย์, ควรกระทำการป้องกันไว้ก่อน ไม่ว่าความสัมพันธ์เชิง สาเหตุ-และ-ผลกระทบ จะได้รับการยืนยันทางวิทยาศาสตร์หรือไม่.  ในเชิงประวัติศาสตร์, การบังคับให้จำกัดการขาย/ใช้ ผลิตภัณฑ์, เทคโนโลยี, หรือกรรมวิธี ใหม่ๆ, กับประชาชนที่เกี่ยวข้องถึงผลกระทบทางลบที่เป็นไปได้ ถูกคาดว่า จะต้องมีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า พวกมันทำให้เกิดผลอันตราย.  ในทางตรงข้าม, หลักการระวังป้องกันไว้ก่อน (ซึ่งตอนนี้ เกิดผลกระทบแล้วในหลายๆ ประเทศและในบางแห่งในสหรัฐฯ) ได้วางภาระการพิสูจน์ให้ผู้ผลิตแสดงให้เห็นความไร้อันตราย และ ยอมรับความรับผิดชอบหากเกิดอันตรายขึ้น.
Another strategy is to shift from analyzing a problem by reducing it to its isolated components, to adopting a systems thinking perspective that examines the connections and relationships among the various components of the problem. Students who can apply systems thinking are usually better at predicting possible consequences of a seemingly small change to one part of the system that can potentially affect the entire system. One easy method for looking at a problem systemically is by mapping it and all of its components and interconnections. It is then easier to grasp the complexity of our decisions and foresee possible implications.
อีกยุทธศาสตร์หนึ่ง คือ ขยับตัวจากการคิดวิเคราะห์แบบแยกส่วนเป็นชิ้นๆ โดดเดี่ยว, ไปเป็นการรับเอามุมมองการคิดมองระบบทั้งหมด ที่ตรวจสอบการเชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกันและความสัมพันธ์ในบรรดาชิ้นส่วนต่างๆ ของปัญหา.  นักเรียนที่สามารถประยุกต์ใช้วิธีคิดต่อระบบ มักจะคาดการณ์ได้ดีกว่า ถึงผลพวงที่เป็นไปได้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยต่อส่วนหนึ่งของระบบ ที่มีศักยภาพกระเทือนระบบทั้งหมด.  วิธีง่ายๆ หนึ่งในการมองที่ปัญหาหนึ่งๆ อย่างเป็นระบบ คือ ด้วยการเขียนแผนที่ และแสดงชิ้นส่วนทั้งหมดและการยึดโยงเกาะเกี่ยวต่อกันและกันทั้งหมด.  แล้วมันก็จะง่ายขึ้น ที่จะเห็นแจ่มชัดขึ้นถึงความซับซ้อนของการตัดสินใจของเรา และ มองเห็นล่วงหน้าได้ถึงนัยผลพวงที่เป็นไปได้.
Finally, no matter how adept we are at applying the precautionary principle and systems thinking, we will still encounter unanticipated consequences of our actions. Building resiliency—for example, by moving away from mono-crop agriculture or by creating local, less centralized food systems or energy networks—is another important strategy for survival in these circumstances. We can turn to nature and find that the capacity of natural communities to rebound from unintended consequences is vital to survival.
สุดท้าย, ไม่ว่าเราจะช่ำชองแค่ไหนในการประยุกต์ใช้หลักการป้องกันไว้ก่อน และ การคิดระบบองค์รวม, เราจะยังเจอผลพวงที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อนในการกระทำของเรา.  ยกตัวอย่าง, การสร้างความยืดหยุ่นด้วยการถอยห่างจากเกษตรเชิงเดี่ยว หรือ ด้วยการสร้างระบบอาหารท้องถิ่นที่ลดการรวมศูนย์ หรือ เครือข่ายพลังงาน—เป็นยุทธศาสตร์สำคัญอีกแบบเพื่อการอยู่รอดในสถานการณ์เหล่านี้.  เราสามารถหันกลับไปหาธรรมชาติ และ ค้นหาความสามารถของชุมชนธรรมชาติ, เพื่อดีดตัวใหม่ออกจากผลพวงที่ไม่ได้ตั้งใจ,  เป็นสิ่งสำคัญเพื่อการอยู่รอด.

5.       Understand how nature sustains life
a.       ทำความเข้าใจเรื่องธรรมชาติธำรงชีวิตอย่างไร
Ecoliterate people recognize that nature has sustained life for eons; as a result, they have turned to nature as their teacher and learned several crucial tenets. Three of those tenets are particularly imperative to ecoliterate living.
คน ecoliterate ตระหนักว่า ธรรมชาติได้ธำรงชีวิตมาหลายกัปแล้ว; ด้วยเหตุนี้, พวกเขาได้หันไปหาธรรมชาติในฐานะที่เป็นครูของพวกเขา และ ได้เรียนรู้หลายๆ คำสอนสำคัญยิ่ง.  สามในคำสอนเหล่านั้นเป็นภาคบังคับสำหรับการยังชีพของคน ecoliterate.
First of all, ecoliterate people have learned from nature that all living organisms are members of a complex, interconnected web of life and that those members inhabiting a particular place depend upon their interconnectedness for survival. Teachers can foster an understanding of the diverse web of relationships within a location by having students study that location as a system.
ประการแรก, ชาว ecoliterate ได้เรียนรู้จากธรรมชาติว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ล้วนเป็นสมาชิกของโยงใยแห่งชีวิตที่ซับซ้อน, และเชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกัน และ ที่สมาชิกเหล่านั้น อาศัยอยู่ในที่เฉพาะแห่งหนึ่ง ย่อมขึ้นกับความเชื่อมโยงสัมพันธ์นั้นเพื่อการอยู่รอด.  ครูสามารถอบรมให้เกิดความเข้าใจถึงโยงใยความสัมพันธ์อันหลากหลายภายในแหล่ง/ท้องที่หนึ่งๆ โดยให้นักเรียนศึกษาท้องที่นั้นในลักษณะเป็นระบบหนึ่ง.
Second, ecoliterate people tend to be more aware that systems exist on various levels of scale. In nature, organisms are members of systems nested within other systems, from the micro-level to the macro-level. Each level supports the others to sustain life. When students begin to understand the intricate interplay of relation- ships that sustain an ecosystem, they can better appreciate the implications for survival that even a small disturbance may have, or the importance of strengthening relationships that help a system respond to disturbances.
ประการที่สอง, ชาว ecoliterate มักจะมีความสำเหนียกว่า ระบบมีอยู่ในระดับต่างๆ ของมาตรวัด.  ในธรรมชาติ, สิ่งมีชีวิตเป็นสมาชิกของระบบที่ถักทอทำรังอยู่ภายในอีกหลายระบบ, จากระดับจุลภาคสู่ระดับมหภาค.  แต่ละระดับ เกื้อกูลการยังชีพของคนอื่นๆ.  เมื่อนักเรียนเริ่มเข้าใจปฏิสัมพันธ์อันละเอียดประณีตของความสัมพันธ์ต่างๆ ที่ธำรงระบบนิเวศหนึ่งๆ, พวกเขาจะเกิดความสำนึกมากขึ้นถึงนัยของผลต่อการอยู่รอด ที่อาจเกิดขึ้นได้ แม้แต่กระทบกระทั่งเล็กน้อย, หรือ ความสำคัญของการเสริมสร้างให้สัมพันธภาพเข้มแข็งยิ่งขึ้น ที่จะช่วยให้ระบบตอบสนองต่อการกระทบกระทั่งต่างๆ.
Finally, ecoliterate people collectively practice a way of life that fulfills the needs of the present generation while simultaneously supporting nature’s inherent ability to sustain life into the future. They have learned from nature that members of a healthy ecosystem do not abuse the resources they need in order to survive. They have also learned from nature to take only what they need and to adjust their behavior in times of boom or bust. This requires that students learn to take a long view when making decisions about how to live.
สุดท้าย, ชาว ecoliterate ปฏิบัติการร่วมกันเป็นหมู่คณะในวิถีชีวิตหนึ่งที่ตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน ในขณะเดียวกันก็ให้การสนับสนุนต่อความสามารถของธรรมชาติเองที่จะธำรงชีวิตสู่อนาคต.  พวกเขาได้เรียนรู้จากธรรมชาติว่า สมาชิกของระบบนิเวศที่สมบูรณ์แข็งแรงหนึ่งๆ ไม่ต้องข่มเหงทำร้ายทรัพยากรที่พวกเขาจำเป็นต้องมีเพื่อความอยู่รอด.  พวกเขายังได้เรียนรู้จากธรรมชาติอีกว่า ให้เอาแต่สิ่งที่ต้องการ และ ให้ปรับพฤติกรรมของพวกเขาให้เข้ากับยามมี กับ ยามยาก.  นี่จำเป็นต้องให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่จะมองไปไกลๆ เมื่อทำการตัดสินใจว่าจะมีชีวิตอยู่อย่างไร.
These five practices, developed by the Berkeley-based Center for Ecoliteracy, offer guideposts to exciting, meaningful, and deeply relevant education that builds on social and emotional learning skills. They can also plant the seeds for a positive relationship with the natural world that can sustain a young person’s interest and involvement for a lifetime.
วิธีปฏิบัติทั้งห้าประการนี้, พัฒนาขึ้นโดย Center for Ecoliteracy ที่เบอร์กลีย์, ได้ให้ป้ายนำทางสู่การศึกษาที่เข้าเรื่องอย่างลึกซึ้ง, มีความหมาย, และน่าตื่นเต้น ที่ต่อยอดจากทักษะการเรียนรู้เชิงสังคมและอารมณ์.  พวกเขาสามารถปลูกเมล็ดเพื่อสัมพันธภาพเชิงบวกกับโลกธรรมชาติ ที่สามารถธำรงประโยชน์และการมีส่วนร่วมของเยาวชนชั่วชีวิต.

This article is printed here with permission. It originally appeared on Greater Good, the online magazine of the Greater Good Science Center (GGSC). Based at UC Berkeley, the GGSC studies the psychology, sociology, and neuroscience of well-being, and teaches skills that foster a thriving, resilient, and compassionate society.
Daniel Goleman, Ph.D., is the best-selling author of Emotional Intelligence, Social Intelligence, and Ecological Intelligence. Lisa Bennett is the communications director of the Center for Ecoliteracy. Zenobia Barlow is the Center's executive director and co-founder.
บทความนี้ได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์ที่นี่.  ต้นฉบับอยู่ใน “ประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่า” อันเป็นแมกกาซีนออนไลน์ ของ Greater Good Science Center (GGSC). ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบอร์กลีย์, GGSC ศึกษา จิตวิทยา, สังคมวิทยา, และ ประสารทวิทยาของความอยู่ดีมีสุข, และสอนทักษะที่บำรุงเลี้ยงสังคมที่เจริญงอกงาม, ยืดหยุ่น และ มีเมตตากรุณา.   เดเนียล โกลแมน Ph.D., เป็นผู้เขียนหนังสือขายดีที่สุด “ปรีชาญาณทางอารมณ์, สังคมและนิเวศ”.  ลิซา เบ็นเน็ตต์ เป็น ผอ ฝ่ายสื่อสาร ของ Center for Ecoliteracy.  ซีโนเบีย บาร์โลว เป็น ผอ บริหาร และ ผู้ร่วมก่อตั้งของศูนย์.

Amy Beam • 10 hours ago
This activity, while brilliant, is inappropriate for first graders. Research has repeatedly shown that it creates MORE dis-connect in subsequent years when natural tragedies are introduced too soon to the very young. Read David Sobel and Richard Louv for more data on this. I think this exercise would be excellent for high school, and maybe okay for middle school, but the evidence consistently shows it backfires when these issues are presented to children whose tender ages still contain only one numeral.
Thank you for this useful article.We will use it in our school.
JohnPeter.A
CREA children's Academy Matric.School.
www.creaschool.in
Love this article and its positive approach. Thanks so much for posting.
BusyAnnie • 20 days ago
While I agree heartily with the principal behind these programs, the fact remains that If the schools were teaching something with which I *didn't* agree politically or morally, I'd be up in arms. Why then is it okay for them to teach my children political lessons with which I agree? You can teach the basic ideas of stewardship and respect for nature without making it political. The political part is the parents' responsibility. I don't want the government indoctrinating my children into *any* sociopolitical system.