วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2556

207. ตำราการปลดแอกอาณานิคมอาหารร่วมของเรา-๗


7. Inherit the Earth: Land Reform
7. สืบทอดมรดกพสุธา: การปฏิรูปที่ดิน

“Pardon me, if when I want to tell the story of my life it’s the land I talk about. This is the land. It grows in your blood and you grow. If it dies in your blood you die out.”
— Pablo Neruda
“ขอโทษครับ, หากเมื่อไร ผมต้องการเล่าเรื่องราวชีวิตของผม มันเป็นที่ดินที่ผมพูดถึง.  มันเป็นที่ดิน.  มันเจิญเติบโตในสายเลือดของคุณ แล้วคุณก็เจริญเติบโต.  หากมันตายในสายเลือดของคุณ คุณก็ตายด้วย”.
-พาโบล เนรูดา
“Land to the Tillers!” was Via Campesina’s call this spring to its members and allies around the world. The coalition dedicated April 17th – the annual International Day of Peasant Struggle – to popular resistance against land-grabbing.
“ที่ดินสู่ชาวไร่ชาวนา!” เป็นการเรียกร้องของ เวีย คัมเปซินา ในฤดูใบไม้ผลินี้ ต่อสมาชิกและพันธมิตรทั่วโลก.  เครือข่ายได้อุทิศวันที่ 17 เมษายน—วันการต่อสู้ของชาวไร่ชาวนาระหว่างประเทศประจำปี—เป็น (การระดม) มวลชนต่อต้านการฉกชิงที่ดิน.
As a key variable in who has control and who doesn’t, battles over land have been fought from time immemorial. One of the earliest may have been led by Adam and Eve as they attempted to reclaim their garden after having been evicted. Long before the Crusades, through centuries of colonization, to the oil-motivated wars of the present day, land has been the currency of religious, imperial, and national power.
ในฐานะเป็นตัวแปรสำคัญว่า ใครมีอำนาจควบคุม และ ใครไม่มี, สงครามที่ดินได้ต่อสู้กันมานานจนจำไม่ได้.  ครั้งแรกสุดอาจนำโดยอดัมและอีฟ เมื่อพวกเขาพยายามทวงคืนสวนของพวกเขาหลังจากถูกขับไล่ที่.  นานแสนนานก่อนสงครามครูเสดส์, ผ่านหลายศตวรรษของการตกเป็นอาณานิคม, จวบจนสงครามที่ถูกกระตุ้นโดยน้ำมันทุกวันนี้, ที่ดินได้กลายเป็นสกุลเงินตราของอำนาจศาสนา, จักรวรรดิ, และ ชาติ.
Land and development experts Shalmali Guttal, Maria Luisa Mendonça, and Peter Rosset write, “Fair and equitable access to land and other resources like water, forests, and biodiversity is perhaps the most fundamental prerequisite for… a decent standard of living and… ecologically sustainable management of natural resources.”[1]119
ผู้เชี่ยวชาญที่ดินและการพัฒนา ชาลมาลี กุตตัล, มาเรีย ลุยซา เมนโดซา, และ ปีเตอร์ โรสเซต เขียนว่า, “การเข้าถึงอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมสู่ที่ดินและทรัพยากรอื่นๆ เช่น น้ำ, ป่า, และ ความหลากหลายทางชีวภาพ บางทีอาจเป็นเงื่อนไขขั้นพื้นฐาน ที่ต้องมาก่อนเพื่อ...มาตรฐานชีวิตที่พอสมควร และ...การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนเชิงนิเวศ”.
Today, however, land access remains largely unfair and inequitable. Never has such a high percentage of the world’s population been displaced from their indigenous or ancestral lands and left without land, a secure home, or the ability to feed themselves.
แต่ ทุกวันนี้, การเข้าถึงที่ดินยังส่วนใหญ่ไม่เป็นธรรมและไม่เท่าเทียม.  ไม่เคยมีมาก่อนที่ประชากรโลกในสัดส่วนสูงปานนี้ ที่ถูกเบียดขับให้ออกจากที่ดินดั้งเดิมหรือตกทอดจากบรรพชน และ ถูกทอดทิ้งให้ไร้ที่ดิน, บ้านที่มั่นคง, หรือ ความสามารถที่จะเลี้ยงตัวเอง.
Farmers have long been made landless by economic and political forces within their own countries, as well as those from far reaches of the globe. Spikes in food prices over recent years have triggered the latest wave of international land grabs.“ Some governments are buying up land hoping to bolster their home country’s food supply, while corporations are positioning themselves to make a profit on future food crises. Investment firms (private equity, hedge, and pension funds) are snapping up agricultural land, speculating that they will be able to turn a profit for their investors.[2]120 An estimated 50 to 80 million hectares of land have been a part of international investment deals in recent years – approximately two-thirds of them in Africa.[3]121
ชาวนาชาวไร่ได้ถูกทำให้กลายเป็นคนไร้ที่ทำกินนานแล้วด้วยกระแสเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศของพวกเขาเอง, ตลอดจนจากพวกที่มาจากอีกซีกของโลก.   การพุ่งกระฉูดในราคาอาหารเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ได้กระตุกให้เกิดคลื่นลูกล่าสุดในการฉกชิงแย่งที่ดินระหว่างประเทศ.  “บางรัฐบาลกำลังกว้านซื้อที่ดิน ด้วยหวังว่า จะใช้หนุนแหล่งอาหารในประเทศของพวกเขา, ในขณะที่บรรษัทกำลังจัดตำแหน่งตัวเองให้ทำกำไรในวิกฤตอาหารในอนาคต.   บริษัทลงทุน (เอกชน, หุ้น, และกองทุนบำนาญ) กำลังกว้านซื้อที่ดินเกษตร เพื่อเก็งกำไรคืนให้กับผู้ลงทุนของพวกเขา.  ปริมาณที่ดินโดยประเมินถึง 50 – 80 ล้านเฮกเตอร์ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเดิมพันการลงทุนระหว่างประเทศในไม่กี่ปีที่ผ่านมา—ประมาณ 2/3 ของที่ดินเหล่านี้ อยู่ในอัฟริกา.
Farmers around the world have been driven to despair over their loss of land, overwhelming debt, and inability to continue farming, many thousands to the point of suicide. It is estimated that in India alone, as many as 250,000 farmers have committed suicide in the last 16 years.[4]122 This averages out to one farmer in India taking his or her life every 30 minutes.[5]123
ชาวไร่ชาวนาทั่วโลก ได้ถูกบีบขับสู่ความสิ้นหวังจากการสูญเสียที่ดิน, หนี้สินท่วมท้น, และความไม่สามารถทำไร่นาต่อไป, หลายหมื่นคนจนตรอกถึงขั้นฆ่าตัวตาย.  ลำพังในอินเดีย ประเมินว่ามีชาวไร่ชาวนามากถึง 250,000 คนที่ได้ฆ่าตัวตายใน 16 ปีที่ผ่านมา.  เมื่อเฉลี่ยแล้ว ชาวไร่ชาวนา 1 คน ปลิดชีพตนเองทุกๆ 30 นาที.
© Roberto (Bear) Guerra / When farmers from the group Heads Together Small Producers of Haiti in the village of Piatre organized to reclaim their land, the local massacred 139 members of the land reform movement and their children. In both places, as throughout Haiti, peasants continue to demand ownership of land they have lived on and worked since they were enslaved. Here, some survivors of the Piatre massacre and their offspring.
เมื่อชาวไร่ชาวนาจากกลุ่ม “สุมหัวผู้ผลิตรายย่อยแห่งไฮติ” ในหมู่บ้าน เปียเตร รวมตัวกันเพื่อทวงที่ดินคืน, อำนาจท้องถิ่น ได้สังหารหมู่สมาชิก 139 คน ของขบวนการปฏิรูปที่ดิน และลูกหลานของพวกเขา.  ในทั้งสองที่, เช่นเดียวกับทั่วทั้งไฮติ, ชาวไร่ชาวนายังคงเรียกร้องกรรมสิทธิ์ที่ดินที่พวกเขาได้อยู่อาศัย และ ได้ทำงานมาตั้งแต่เมื่อครั้งพวกเขาถูกทำให้เป็นทาส.  ในภาพ, ผู้รอดตายบางคนจากการสังหารหมู่ เปียเตร และลูกหลานของพวกเขา.
“This land is your land and this land is my land, sure, but the world is run by those that never listen to music anyway.”
— Bob Dylan
“แดนดินนี้เป็นของคุณ และแดนดินนี้เป็นของผม, แน่นอน, แต่โลกถูกทำงานโดยผู้ที่ไม่เคยได้ยินเพลงนี้ด้วย”.
-บ๊อบ ไดลาน
There are other responses, too, fierce ones of opposition. As they have throughout history, farmers are engaging in land reclamations and movements for land reform – either seizing unfairly owned or consolidated land, or winning laws that mandate redistribution.[6]124 In the 1950s and 1960s, struggles for land reform throughout the global South had some success. But that progress slowed in the 1970s and 1980s as economic policies, development ideology, and military crackdowns squelched government-reform advances and the popular movements that drove them.[7]125
มีการตอบรับอื่นๆ ด้วย ที่เป็นการคัดค้านอย่างดุเดือด.  ดังที่เกิดขึ้นแล้วตลอดประวัติศาสตร์, ชาวไร่ชาวนากำลังเข้าร่วมในการทวงคืนที่ดิน และ การเคลื่อนไหวเพื่อปฏิรูปที่ดิน—หากไม่เป็นการยึดคืนที่ดินที่ได้ไปอย่างไม่เป็นธรรม ก็เป็นการผนึกรวมที่ดิน, หรือ ผลักดันจนได้กฎหมายบังคับให้ปฏิรูปที่ดิน.  ในทศวรรษ 1950s และ 1960s, การดิ้นรนเพื่อปฏิรูปที่ดินตลอดซีกโลกใต้ ได้ประสบความสำเร็จ.  แต่ความก้าวหน้าชะลอลงในทศวรรษที่ 1970s และ 1980s เมื่อนโยบายเศรษฐกิจ, อุดมการณ์การพัฒนา, และ การปราบปรามด้วยกองกำลังทหาร ได้บดขยี้ความก้าวหน้าจากการปฏิรูปโดยรัฐบาล และ ขบวนการมวลชนที่ขับเคลื่อนมัน.
Though relatively little land has been redistributed in recent years, the voice and visibility of land reform movements are increasing. They are developing in size, strength, and organization, uniting across borders to break the nexus between land, agriculture, power, and profit. As just a few indicators: More than 500 organizations worldwide are supporting the Dakar Appeal Against Land Grabbing, which calls upon governments to immediately cease land grabs and return stolen land to communities.[8]126 In late 2011, more than 250 representatives of farmers’ organizations and allies gathered in Mali for the first international farmers’ conference to address land grabbing. That year, major demonstrations in India – against corporate seizure of land for construction of a steel plant in the state of Orissa – and in China – against seizure of land for a housing development in the Guangdong province – made international headlines. In the U.S., organizations such as GRAIN are working to inform people that they may be investing their retirement savings in funds like TIAA-CREF, a financial- services organization that effectively finances land grabs.[9]127 The increasing rates of foreclosure and dispossession in urban areas in the global North are solidifying the connections across borders and hemispheres.
แม้ว่า มีการกระจายที่ดินใหม่ค่อนข้างเล็กน้อยในไม่กี่ปีนี้, เสียงและท้ศนวิสัยของขบวนการปฏิรูปที่ดินได้เพิ่มมากขึ้น.  พวกเขาได้พัฒนาทั้งในด้านขนาด, ความเข้มแข็ง, และลักษณะองค์กร, เชื่อมข้ามพรมแดนเพื่อทลายแก่นโยงใยระหว่างที่ดิน, เกษตรกรรม, อำนาจ, และกำไร.  นี่เป็นเพียงดัชนีบางตัว เช่น กว่า 500 องค์กรทั่วโลกกำลังสนับสนุน “การอุทธรณ์ ดาการ์ ที่ต่อต้านการฉกแย่งที่ดิน”, ที่เรียกร้องให้รัฐบาลทั้งหลาย หยุดการฉกแย่งที่ดินทันที และ คืนที่ดินที่ถูกขโมยไปให้กับชุมชน.  ในปลายปี 2011, ผู้แทนกว่า 250 คน จากองค์กรชาวไร่ชาวนา และ พันธมิตร ได้รวมตัวกันในมาลี เพื่อเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศครั้งแรก เรื่อง การฉกชิงที่ดิน.  ปีนั้น, การประท้วงสำคัญในอินเดีย—ต่อต้านบรรษัทยึดครองที่ดินเพื่อการก่อสร้างโรงงานเหล็กกล้าในรัฐโอริสสา—และในจีน—ต่อต้าน การยึดครองที่ดิน พัฒนาที่อยู่อาศัย ในมณฑลกวางตุ้ง—ได้เป็นข่าวพาดหัวระหว่างประเทศ.  ในสหรัฐฯ, องค์กรเช่น GRAIN กำลังทำงานเพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนให้รู้ว่า  พวกเขาอาจกำลังลงทุนเงินออมเพื่อบำนาญในกองทุน เช่น TIAA-CREF, องค์กรบริการการเงินที่ให้ทุนสนับสนุนการฉกชิงที่ดินอย่างมีประสิทธิผล.  อัตราการยึดทรัพย์สินติดจำนอง และ การริบทรัพย์สิน ในเขตเมืองในซีกโลกเหนือ กำลังทำให้สายใยเชื่อมโยงข้ามพรมแดนและซีกโลกแข็งแรงยิ่งขึ้น.

The Landless Workers Movement / ขบวนการคนงานไร้ที่ทำกิน

Brazil has one of the world’s highest levels of unequal land distribution, which profoundly impacts the one in seven people who live in rural areas.[10]128 Fifty-six percent of agricultural land is owned by just 3.5 percent of landowners.[11]129 In 2000, multinational companies controlled roughly 50 to 90 percent of most premier export crops in Brazil.[12]130 Unable to compete, an estimated 90,000 small and family farms disappear each year.[13]131
บราซิลเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระดับความไม่เท่าเทียมในการกระจายที่ดินสูงที่สุดในโลก, ซึ่งมีผลกระทบต่อชาวชนบท ทุกๆ หนึ่งในเจ็ดคน.  ที่ดินเกษตร 65% อยู่ในมือของเจ้าของที่ดินเพียง 3.5%.  ในปี 2000, บรรษัทข้ามชาติ ควบคุมประมาณ 50-90% ของที่ดินพืชส่งออกชั้นนำที่สุดของบราซิล.   เมื่อไม่สามารถแข่งขันได้, ฟาร์มขนาดเล็กและขนาดครอบครัว ประมาณ 90,000 รายได้สูญหายไปทุกปี.
Brazil’s powerful land reform movement has roots in the 1800s, a response to unequal land distribution that began more than 500 years ago with the arrival of European colonists. Since the 1980s, rural and landless people’s organizations have won large-scale redistribution. One of the leaders of this work – not just in Brazil, but around the world – has been the Landless Rural Workers’ Movement (MST by its Portuguese acronym). The MST struggles for land and tenure rights for the 4.5 million Brazilians who have none. Its solution to ending the country’s poverty and hunger is to put agriculturally rich land back into the hands of small farmers. It does this by organizing landless and unemployed people to legally claim swaths of the nation’s vast unused land. In Brazil, people can challenge ownership of land over a certain size in two ways: by going after the title’s authenticity or by claiming that the land is not fulfilling its ‘social function.’ Codified in the country’s l988 constitution, social function means that 80 percent of the land is used effectively, environmental and labor standards are respected, and both owners and workers benefit.
ขบวนการปฏิรูปที่ดินที่ทรงอำนาจมากที่สุดของบราซิล มีรากในประวัติศาสตร์ทศวรรษ 1800s (พ.ศ.๒๓๔๓-๕๓) อันเป็นการตอบโต้การกระจายที่ดินที่ไม่เท่าเทียม ที่เริ่มต้นมากว่า 500 ปี ก่อนการมาถึงของเจ้าอาณานิคมยุโรป.   ตั้งแต่ทศวรรษ 1980s, องค์กรของชาวชนบทและไร้ที่ดิน ได้รับชัยชนะในการกระจายใหม่ที่ดินขนาดใหญ่.  หนึ่งในบรรดาผู้นำของงาน—ไม่ใช่มีเพียงในบราซิล, แต่ทั่วโลก—คือ ขบวนการของคนงานชนบทไร้ที่ดิน (MST) ที่ได้ดิ้นรนต่อสู้ให้ได้กรรมสิทธิ์ที่ดิน และ สิทธิ์ในการเช่าที่ดิน สำหรับชาวบราซิล 4.5 ล้านคน ที่ไม่มีที่ดินเลย.   ทางออกของ MST ในการยุติความยากจนและหิวโหยของประเทศ คือ เอาที่ดินอุดมสมบูรณเหมาะแก่การเพาะปลูก คืนใส่มือของชาวไร่ชาวนารายย่อย.  MST ทำเช่นนี้ด้วยการจัดกระบวน คนไร้ที่ดินและไร้งานจ้าง เพื่อเรียกร้องตามกฎหมายขอที่ดินมหาศาลที่ไม่ได้ถูกใช้ของประเทศ.  ในบราซิล, ประชาชนท้าทายกรรมสิทธิ์ที่ดินขนาดเฉพาะหนึ่งๆ สองวิธี กล่าวคือ ด้วยการตรวจสอบโฉนดว่าเป็นของจริงหรือไม่ หรือ ด้วยการอ้างว่า ที่ดินผืนนั้น ไม่ได้ทำตาม หน้าที่เชิงสังคม ของมัน.  ดังที่ระบุในรัฐธรรมนูญ 1988 ของประเทศ, หน้าที่เชิงสังคม หมายถึง 80% ของที่ดินได้ถูกใช้อย่างมีประสิทธิผล, ด้วยความเคารพต่อสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานแรงงาน, และทั้งเจ้าของและคนงานได้รับประโยชน์.
 Charlotte Kesl Photography/PBI, www.charlottekesl.com / Thousands of families have been violently displaced from their lands throughout Colombia. Several hundred families who returned to their land formed the San Jose de Apartadó Community in 1997 and declared it a zone of peace. Here Brigida, a founding community member, shows her painting of Unión, a village where the community has established an agricultural research center. One community member says, “Each plant that we sow is like that force of hope and of life that we keep having in spite of the attacks.”
หลายพันครอบครัวได้ถูกเบียดขับด้วยการใช้กำลังรุนแรงจากที่ดินของพวกเขาทั่วทั้งโคลัมเบีย.  หลายร้อยครอบครัวที่ได้กลับคืนสู่ที่ดินของพวกเขา ได้รวมตัวกันเป็น ชุมชน San Jose de Apartadó ในปี 1997 และ ประกาศให้เป็น เขตแห่งสันติภาพ ของพวกเขา.  ในภาพ, บริจิดา, หนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง, โชว์ภาพวาดของเธอ, Unión,
“Before, the line had been: ‘No need to worry, you’ll have your land in heaven.’ Now it was: ‘Since you’ve already got your land in heaven, let’s struggle for it here as well.’”
— João Pedro Stedile, national co-coordinator of Landless Rural Workers’ Movement (MST)[14]132
“แต่ก่อน, ข้อความอ่านว่า, ไม่ต้องกังวล, คุณจะมีที่ดินของคุณในสรวงสวรรค์’.  ตอนนี้มันเป็นเมื่อคุณมีที่ดินของคุณในสวรรค์แล้ว, มาร่วมกันต่อสู้ให้ได้มันที่นี่ด้วย’ ”.
- João Pedro Stedile, ผู้ประสานงานระดับชาติ ของ MST

MST’s land claims work this way: the organization researches large landholdings that meet the legal criteria for redistribution. When such a landholding is found, word goes out, and interested families – often totaling up to 100 – take up residence there.
งานการทวงคืนที่ดินของ MST ด้วยวิธีนี้ คือ องค์กรทำการวิจัยระบุที่ดินขนาดใหญ่ที่เข้ากรอบการกระจายใหม่ได้.  เมื่อพบกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวแล้ว, ก็กระจายด้วยการบอกต่อๆ กัน, และครอบครัวที่สนใจ—มักจะรวมถึง 100—ก็จะเข้าไปอาศัยในที่นั้น.
They wait it out in tents, while back in São Paulo, MST lawyers battle with the courts to gain collective title to the property. If the MST loses, those in the camp move to another plot of land and, together with the lawyers, start over. On average, a family may wait in their tent for two to five years, although it can sometimes take much longer. If the court orders the tract redistributed, settlers may not sell or buy it, but can remain on the plot for the benefit of themselves and future generations, provided they fulfill certain conditions.[15]133
พวกเขาจะอยู่รอในเต็นท์, ในขณะที่ในกรุง เซาเปาโล, ทนายของ MST ทำสงครามในศาลเพื่อให้ได้โฉนดร่วมในทรัพย์สิน.  หาก MST แพ้, พวกที่ตั้งค่ายที่นั่น ก็ย้ายไปที่ดินแปลงอื่น และ, พร้อมกับทนายความ, ก็เริ่มต้นใหม่อีกรอบ.  โดยเฉลี่ย, ครอบครัวหนึ่ง อาจต้องรอในเต๊นท์ถึง 2-5 ปี, แม้ว่าบางครั้งจะต้องใช้เวลายาวนานกว่ามาก.  หากศาลตัดสินให้แปลงนั้นจัดสรรใหม่ได้, ผู้เข้ามาจับจอง ไม่อาจซื้อหรือขายได้, แต่สามารถอยู่และใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ของพวกตนและอนุชนต่อไป, ถ้าพวกเขาทำตามเงื่อนไขเฉพาะได้.
Since the mid-1980s, the MST has won title to 7.5 million hectares of land, on which 370,000 families now live.[16]134 An additional 150,000 families live in approximately 900 squatter communities on land that is being contested.[17]135 In the settlements, the newly landed communities engage in collective agricultural production and develop sustainable farming methods. They have their own education systems, resolve conflicts using restorative justice, and develop their own media and cultural empowerment programs. They also run experiments in participatory democracy, equitable social relations, and self-governance.
ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1980s, MST ได้รับชัยชนะในการทวงคืนโฉนดเป็นพื้นที่ 7.5 ล้านเฮกเตอร์, ที่ๆ 370,000 ครอบครัวอาศัยอยู่ปัจจุบัน.  อีก 150,000 คอรบครัว อาศัยอยู่แบบชุมชนชั่วคราวประมาณ 900 แห่งบนที่ดินที่กำลังเป็นความกันอยู่.  ในที่ๆ ตั้งรกรากแล้ว, ชุมชนที่เกิดขึ้นใหม่ ร่วมกันทำเกษตรรวม และ พัฒนากรรมวิธีทำฟาร์มอย่างยั่งยืน.  พวกเขามีระบบการศึกษาของตนเอง, แก้ไขความขัดแย้งด้วยหลักยุติธรรมเพื่อให้คืนสู่สภาพปกติ, และ พัฒนาสื่อและโปรแกมการสร้างอำนาจต่อรองเชิงวัฒนธรรมของตนเอง.  พวกเขาทำการทดลองประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม, ความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเสมอภาค, และการปกครองตัวเอง.
The MST is united with other Brazilian social movements in trying to address the root causes of the problem,  which reside in unequal distribution of power and wealth. Without deep structural change and creation of a more just and equitable nation, the movement asserts, any land reform made will simply revert back to the status quo. As Joice Lopes from a land reform community in the state of São Paulo describes it, “What agrarian reform really implies is three things: redistribution of land; social, political, and economic transformation; and the redistribution of wealth and income.”
MST ได้จับมือกับขบวนการทางสังคมบราซิลอื่นๆ ในการพยายามแก้ไขปัญหารากเหง้า, ซึ่งฝังอยู่ในความไม่เท่าเทียมในการกระจายอำนาจและความมั่งคั่ง.  หากปราศจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างระดับลึก และ การสร้างชาติที่เป็นธรรมและเท่าเทียมกว่านี้, ขบวนการยืนยันว่า, การปฏิรูปที่ดินใดๆ ที่ทำได้ ก็จะกลับคืนเป็นแบบเดิม.  ดังที่ จอยซ์ โลเปซ จากชุมชนปฏิรูปที่ดิน ในรัฐ เซาเปาโล บรรยายว่า, “การปฏิรูปไร่นาที่ดิน จริงๆ แล้ว หมายถึงสามอย่าง, คือ การจัดสรร/กระจายที่ดินใหม่, การพลิกโฉมสังคม-การเมือง-เศรษฐกิจ, และ การจัดสรร/กระจายความมั่งคั่งและรายได้”.
Of course, much work remains, yet the MST shows that solutions to landlessness, homelessness, and social exclusion are available, even without an overhaul of the Brazilian state or political economy. The MST has created living, breathing examples of these solutions thousands of times over.
แน่นอน, ยังมีงานต้องทำอีกมาก, แต่ MST ได้แสดงให้เห็นว่า ทางออกสำหรับปัญหาไร้ที่ทำกิน, ไร้ที่อยู่อาศัย, และการกีดกันทางสังคม ล้วนมีอยู่, แม้จะปราศจากการยกเครื่องรัฐบราซิล หรือ ระบบเศรษฐกิจการเมือง.  MST ได้สรรค์สร้างตัวอย่างที่มีชีวิต, หายใจได้ สำหรับแก้ปัญหาเหล่านี้ หลายพันครั้งแล้ว.

Before, No one Took Notice: Women, Land Reform, and Power in Brazil
เมื่อก่อน, ไม่มีใครสักเกต: ผู้หญิง, ปฏิรูปที่ดิน, และ อำนาจในบราซิล

“Who suffers the most from not having a house, not having land?” asks Neneide Eliane, an organizer with Deciding to Win, one of many Brazilian groups dedicated to obtaining rights, benefits, and power for rural and landless women. “It’s the women, because they take care of the children, they are responsible for getting food.”
“ใครเดือดร้อนมากที่สุดจากการไม่มีบ้าน, ไม่มีที่ดิน?” เนนิเด อิเลน, นักจัดกระบวนทำงานกับ ตัดสินใจว่าจะชนะ, หนึ่งในหลายกลุ่มชาวบราซิล ที่อุทิศตัวให้กับการเรียกร้องสิทธิ์, ผลประโยชน์, และอำนาจสำหรับผู้หญิงชนบทและไร้ที่ดิน.  “มันคือผู้หญิง, เพราะพวกเธอต้องดูแลลูกๆ, พวกเธอรับผิดชอบการหาอาหาร”.
An organized women’s movement evolved in Brazil in the 1970s, aiming not only for women’s rights but also for an end to the dictatorship. A decade later, a rural women’s movement was born to address the specific inequities they faced. “We didn’t have all this discussion about gender when we first entered the land dispute,” Neneide says. “Back in the early days, most women on land reform settlements didn’t have a vote. It wasn’t until after you’d been part of the movement that you realized you’d had an invisible role.”
ขบวนการผู้หญิงที่มีการจัดกระบวนไว้ ได้เริ่มขึ้นในบราซิลในทศวรรษ 1970s, เน้นไม่เพียงสิทธิสตรีแต่ยังเพื่อโค่นเผด็จการ.  หนึ่งทศวรรษต่อมา, ขบวนการสตรีชนบทได้เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขความไม่เสมอภาคเฉพาะอย่างที่พวกเธอต้องเผชิญ.  “เราไม่มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับเพศสภาวะ/เจนเดอร์ เมื่อเราเริ่มมีความขัดแย้งในที่ดิน” เนนิเด กล่าว.  “ย้อนหลังไปถึงวันแรกๆ, ผู้หญิงส่วนใหญ่ในถิ่นฐานจากการปฏิรูปที่ดิน ไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนสียง.  จนกระทั่งหลังจากที่คุณได้เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน คุณจึงตระหนักว่า คุณมีบทบาทที่มองเห็นได้ชัด”.
“My dream of real agrarian reform throughout the land is for no child to go hungry, for no mother to shed tears because her son was murdered trying to steal a piece of bread.”
— Ilda Martins de Souza, member of the Landless Rural Workers Movement (MST)
“ความฝันของฉันเกี่ยวกับการปฏิรูปไร่นาทั่วทั้งแผ่นดิน คือ เพื่อว่าไม่มีเด็กคนไหนจะต้องหิวโหย, เพื่อว่าไม่มีแม่คนไหนต้องหลั่งน้ำตาเพราะลูกชายของเธอถูกฆาตกรรมจากการพยายามขโมยขนมปังชิ้นหนึ่ง”.
-อิลดา มาร์ตินส์ เดอ เซาซา, สมาชิก MST
The newly organized rural women’s movement had two key demands: that they be incorporated into rural unions (until then, typically only one person per household, a man, was a member), and that they receive benefits such as retirement and paid maternity leave. They won both, at least on paper. The 1985 congress of the National Confederation of Agricultural Workers committed itself to women’s participation and instructed local unions to do the same. And the 1988 Brazilian constitution enshrined that “titles of ownership and use should be granted in the name of men, women, or both, independent of their marital status.” This made women eligible for the first time to gain land rights and be beneficiaries of land reform – directly, not as dependents of their husbands. The constitution also accorded women new labor rights including unemployment and disability insurance, retirement benefits, and maternity leave.
ขบวนการสตรีชนบทที่เพิ่งจัดกระบวนรวมตัวขึ้น มีข้อเรียกร้องหลักสองประการ ดังนี้ ให้พวกเธอได้ผนวกรวมในสหภาพชนบท (จนกระทั่งตอนนั้น, ปกติ หนึ่งคนต่อครัวเรือน, ผู้ชาย, เป็นสมาชิก), และให้พวกเธอได้รับผลประโยชน์ เช่น เงินบำนาญและการลาคลอดที่ได้รับค่าจ้างเต็ม.  พวกเธอได้รับชัยชนะในทั้งสองประการ, อย่างน้อยบนกระดาษ.  ในปี 1985 คองเกรสของสหพันธ์คนงานเกษตรแห่งชาติ ผูกพันตัวเองต่อการมีส่วนร่วมและสั่งให้สหภาพท้องถิ่นทำแบบเดียวกัน.  ในรัฐธรรมนูญ 1988 ระบุว่า “โฉนดแสดงการครอบครองและใช้ จะต้องออกในนามของชาย, หญิง, หรือทั้งคู่, ไม่ขึ้นกับสถานภาพการสมรส”.  นี่ทำให้ผู้หญิงมีสิทธิ์เป็นครั้งแรกที่จะได้รับสิทธิที่ดิน และ ได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปที่ดิน—โดยตรง, ไม่ใช่ในฐานะผู้พึ่งสามีของตน.  รัฐธรรมนูญยังได้ให้ผู้หญิงมีสิทธิแรงงานใหม่ รวมทั้งการประกันภัยจากการไม่มีงานจ้างและพิการ, สวัสดิการเกษียณ, และการลาคลอด.
Still, more than 20 years after the constitutional victories, rural Brazilian women’s land rights are not much better than those of their counterparts throughout Latin America. In the 1990s, women accounted for only 12.6 percent of all beneficiaries of land redistribution, and they received on average 38 percent of the revenue of their male counterparts. More than 5 million women farmers receive no salary at all, and about 3.6 million more receive only a symbolic income.[18]136
แม้กระนั้น กว่า 20 ปีหลังชัยชนะในรัฐธรรมนูญ, สิทธิในที่ดินของหญิงบราซิลในชนบท ก็ยังไม่ดีไปกว่าเพื่อนๆ ทั่วลาตินอเมริกา.  ในทศวรรษ 1990s, มีผู้หญิงเพียง 12.6% ในบรรดาผู้ได้รับประโยชน์จากการจัดสรรที่ดินใหม่, และ พวกเธอได้รับโดยเฉลี่ย 38% ของรายได้ที่ชายได้รับ.  ชาวไร่ชาวนาหญิงกว่า 5 ล้านคน ไม่ได้รับค่าจ้างเลย, และอีกประมาณ 3.6 ล้าน ได้รับเพียงรายได้สัญลักษณ์.
Though women are better represented in the leadership of most Brazilian land struggles than in earlier decades, leadership is still not equitable. In the MST, for example, women reported that for a long time, the group was so focused on unity among its members that it ploughed underground the need to specifically address gender. Some landless women were handed the age-old line that their problems would be resolved when rural workers as a whole won justice.
แม้ผู้หญิงจะเป็นตัวแทนมากขึ้นในระดับผู้นำของการต่อสู้ที่ดินของบราซิลส่วนใหญ่เมื่อเทียบกับหลายทศวรรษก่อนหน้า, ภาวะผู้นำก็ยังไม่เสมอภาค.  เช่น ใน MST, ผู้หญิงได้รายงานเป็นเวลานานแล้วว่า, กลุ่มเพ่งเขม็งอยู่ที่ความสามัคคีในหมู่สมาชิกจนมันไถกลบความจำเป็นที่จะต้องพูดถึงประเด็นเฉพาะของเจนเดอร์.  หญิงไร้ที่ดินบางคน ได้รับคำแนะนำแบบโบราณว่า ปัญหาของพวกเธอจะหมดไปเมื่อคนงานชนบทโดยรวมได้ชัยชนะในความยุติธรรม.
In 1995, women joined together to form the National Collective of MST Women. Thanks to their work, the MST began to make changes. At the national congress in 2002, the MST identified a firm redress of gender inequality, including the expansion of women’s participation and leadership within the movement, as one of its two political goals for the next five years. ‘Gender’ has become an official department of the MST, with a range of programs and policies. Department priorities include an end to gender-based violence, access to free birth control, promotion of women’s micro-enterprises and cooperatives, the establishment of childcare centers, and help for women in gaining social benefits from the state. Gender analysis is now a formal part of the MST’s training, and of the pair of leaders that is elected to coordinate each local, regional, and national committee, one must be a woman.
ในปี 1995, ผู้หญิงเข้าร่วมเพื่อก่อตั้งเป็น รวมหมู่หญิง MST แห่งชาติ.  ต้องขอบคุณงานของพวกเธอ, MST เองได้เริ่มเปลี่ยนแปลง.   ที่คองเกรสแห่งชาติในปี 2002, MST ได้ระบุหัวข้อที่จะต้องแก้ไขความไม่เสมอภาคเชิงเจนเดอร์, รวมทั้งการขยายการมีส่วนร่วมและภาวะผู้นำของผู้หญิงภายในการเคลื่อนไหว, ให้เป็นหนึ่งในสองเป้าหมายทางการเมืองสำหรับอีกห้าปีถัดไป.  เจนเดอร์ได้กลายเป็นหน่วยทางการหนึ่งของ MST, ที่มีหลายโปรแกมและนโยบาย.  หัวข้อที่ถูกจัดให้อยู่ในลำดับต้นๆ ของหน่วยนี้ เช่น การยุติความรุนแรงอันเนื่องมาจากเจนเดอร์, การเข้าถึงการคุมกำเนิดฟรี, การส่งเสริมกิจการจิ๋วและสหกรณ์ของผู้หญิง, การตั้ง
ศูนย์ดูแลเด็ก, และ การช่วยเหลือผู้หญิงให้ได้รับสวัสดิการสังคมจากภาครัฐ.  การวิเคราะห์เชิงเจนเดอร์ ขณะนี้ ได้กลายเป็นหัวข้อทางการหนึ่งในการอบรมของ MST, และคู่ผู้นำที่ได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อประสานแต่ละคณะกรรมการในระดับท้องถิ่น, ภาค และ ชาติ, คนหนึ่งจะต้องเป็นหญิง.
  Andy Lin / A meeting in an MST encampment where residents are trying to win title of their land.
                การประชุมหนึ่งที่แคมป์ MST ที่ๆ ชาวบ้านกำลังพยายามต่อสู้เพื่อให้ได้โฉนดที่ดิน

The MST women could not have made their strides without Brazil’s larger women’s movement. Questions of land, benefits, equitable income, and more just distribution of labor have advanced thanks to promotion by other rural women’s organizations. Their advances in addressing violence by men, the right to contraception, and the right to education have been aided by the work of urban feminist groups.
ผู้หญิง MST ไม่สามารถย่างก้าวได้ไกลขนาดนี้โดยปราศจากขบวนสตรีที่ใหญ่กว่าของบราซิล.  ปัญหาเรื่องที่ดิน, ผลประโยชน์, รายได้ที่เท่าเทียม, และการกระจายแรงงานที่เป็นธรรมยิ่งขึ้น ก้าวหน้าได้ด้วยการส่งเสริมโดยองค์กรสตรีชนบทอื่นๆ.  ความก้าวหน้าของพวกเธอในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงจากชาย, สิทธิในการมีคุมกำเนิด, และ สิทธิในการศึกษา ได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มสตรีนิยมในเมือง.

We Don’t Have Life without Land: Holding Ground in Honduras
เราไม่มีชีวิตโดยปราศจากที่ดิน : ยึดพื้นที่ในฮอนดูรัส

A guard stands watch, waving known and trusted faces down a dusty dirt road. At the end of the road is the community of Lempira, where this season’s corn planting, along with homes made of branches and blue tarps, rise up between long rows of African oil palms. This community is being built in the middle of one of the plantations that are now so common in this region since wealthy landowners bought up the area in order to expand the African palm industry and feed the global craze for biofuel.
รปภ คนหนึ่งยืนเฝ้ามอง, โบกให้คนที่รู้จักและเชื่อถือได้ผ่านไปตามทางตลบฝุ่น.  สุดถนนเป็นชุมชนของ เลมปิรา, ที่ๆ การเพาะปลูกข้าวโพดฤดูนี้, พร้อมกับบ้านที่ทำจากกิ่งและผ้าใบกันน้ำสีน้ำเงิน, โตขึ้นในระหว่างแถวยาวของปาล์มน้ำมันอัฟริกัน.  ชุมชนนี้กำลังถูกสร้างขึ้นในใจกลางของหนึ่งในสวนพาณิชย์ที่ตอนนี้กลายเป็นสิ่งปกติในภาคนี้ เพราะเจ้าของที่ดินที่มั่งคั่ง ได้กว้านซื้อพื้นที่บริเวณนี้ เพื่อขยายอุตสาหกรรมปาล์มอัฟริกา และป้อนโลกที่คลั่งเชื้อเพลิงชีวภาพ.
The residents of Lempira, who began occupying this land two years ago, are part of a wider movement in the Bajo Aguán region of Honduras. A historic land struggle is taking place. Small-farmer cooperatives and their members – over 3,000 families altogether – are reclaiming tracts of land now controlled either by the elite or the government. The cooperatives have established six settlements, including Lempira, where they are working towards their longterm vision of food sovereignty, liberatory education systems, collectively run media, cooperative businesses, and strong community. Consuelo Castillo, one of the organizers in Lempira, says, “Our goal is for everyone who is part of the land occupations to have access to land. Land, well, it’s our first mother. For us farmers, we don’t have life without land.”
ชาวบ้านเลมปิรา, ผู้เริ่มยึดครองที่ดินผืนนี้เมื่อสองปีก่อน, เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวที่กว้างใหญ่กว่าใน ภาค Bajo Aguán ของฮอนดูรัส.  การต่อสู้ประวัติศาสตร์เพื่อชิงที่ดินกำลังเกิดขึ้น.  สหกรณ์ชาวไร่ชาวนารายย่อยและสมาชิก—กว่า 3,000 ครอบครัวด้วยกัน—กำลังทวงคืนที่ดินที่ตอนนี้ถูกควบคุมโดยอภิสิทธิ์ชน หรือ รัฐบาล.  สหกรณ์ได้ตั้งถิ่นฐานในหกจุด, รวมทั้ง เลมปิรา, ที่ๆ พวกเขาทำงานสู่วิสัยทัศน์ระยะยาวของอธิปไตยทางอาหาร, ระบบการศึกษาที่ปลดปล่อย, สื่อที่ดำเนินร่วมกัน, ธุรกิจสหกรณ์, และ ชุมชนเข้มแข็ง.  คอนซูโล คาสติลโล, หนึ่งในผู้จัดกระบวนใน เลมปิรา, กล่าวว่า, “เป้าหมายของเรา คือ ทุกคนที่มีส่วนในการยึดที่ดิน จะเข้าถึงที่ดิน/ผืนดิน.  แผ่นดิน คือ มารดาแรกเริ่มของพวกเรา.  สำหรับชาวไร่ชาวนา, เราไม่มีชีวิตที่ปราศจากแผ่นดิน”.
 A family at an MST land occupation. At the time of this photo they had been living in this tent for two years, while the MST legal team worked to secure title to the land.
ครอบครัวหนึ่งในเขตยึด MST. ตอนถ่ายภาพนี้ พวกเขาได้อาศัยอยู่ในเต็นท์นี้มาสองปีแล้ว, ในขณะที่ทีมกฎหมาย MST ทำงานเพื่อให้ได้โฉนดที่ดิน.
The government originally recruited these farmers to move to the region and cultivate export crops in the 1960s and 1970s. Drawn by the government’s promise of collective titles if they worked the land for a certain number of years, the farmers came and established dozens of cooperatives, growing food for their communities and African palm for export. But in 1992, the Law for Modernization of Land allowed collectively owned land to be put up for sale. In the following years, struggling farmers – pressured by a few wealthy landowners, often through violence – sold their parcels for almost nothing.[19]137
รัฐบาลในตอนแรกได้เกณฑ์ชาวไร่ชาวนาเหล่านี้ให้เคลื่อนไปภาคนี้และให้เพาะปลูกพืชเพื่อการส่งออกในทศวรรษ 1960s-70s.  รัฐบาลดึงดูดพวกเขาด้วยการให้สัญญาว่า จะให้โฉนดร่วม (โฉนดชุมชน?) หากพวกเขาทำงานบนที่ดินนั้น เป็นเวลาเท่านั้นปี, ชาวไร่ชาวนาได้ย้ายมาและก่อตั้งหลายสิบสหกรณ์, ปลูกพืชเลี้ยงชุมชนของพวกเขาและปาล์มอัฟริกันเพื่อการส่งออก.  แต่ในปี 1992, กฎหมายเพื่อการทำให้ที่ดินทันสมัย (ที่ดินยุคใหม่/พัฒนา?) อนุญาตให้ขายที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หมู่.  ในหลายปีตามมา, ชาวไร่ที่ดิ้นรน ยากเข็ญ—บีบคั้นโดยเจ้าของที่ดินที่มั่งคั่ง, มักจะใช้ความรุนแรง—ได้ขายที่ดินของตนเกือบแบบให้เปล่า.
Most of the cooperatives disappeared, and today a handful of people own most of the plantations. However, a few cooperatives survived, including the Aguán Small Farmers’ Movement and the Unified Movement of Aguán Farmers, and began organizing to reclaim their land.
สหกรณ์ส่วนใหญ่หายไป, และทุกวันนี้ คนเพียงหยิบมือ ครอบครองสวนพาณิชย์ส่วนใหญ่.  แต่มีสหกรณ์รอดมาได้บ้าง, รวมทั้ง ขบวนการชาวไร่รายย่อย Aguán และ ขบวนการเอกภาพของชาวไร่ Aguán, และได้เริ่มต้นจัดกระบวน เพื่อทวงคืนที่ดินของพวกเขา.
In 2008, President Manuel Zelaya, pressed by small farmers and indigenous groups, pushed forward a land reform decree that, had it been implemented, would have redistributed large tracts and granted titles to the farmer cooperatives in Bajo Aguán and elsewhere. The following year, in an attempt to keep this shift from happening and also to halt the grassroots movement for constitutional reform, the elite and the military – with at least tacit support from the US government – led a coup against Zelaya. Post-coup governments made it clear they would not recognize the land reform decree.
ในปี 2008, ประธานาธิบดี มานูเอล เซลายา, ด้วยแรงกดดันจากชาวไร่ชาวนารายย่อยและกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม, ได้ผลักดันพระราชกฤษฎีกาปฏิรูปที่ดินที่, หากเพียงได้ดำเนินการจริง, จะจัดสรรที่ดินผืนใหญ่และออกโฉนดให้แก่สหกรณ์ใน Bajo Aguán และที่อื่นๆ.  ในปีต่อมา, ด้วยความพยายามที่จะขัดขวางไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ได้อีก และ ยุติขบวนการรากหญ้าในการทำให้การปฏิรูปเป็นธรรมนูญ, อภิสิทธิ์ชนและกองทัพ—กับอย่างน้อยการสนับสนุนอย่างที่รู้กันโดยไม่ต้องพูดจากรัฐบาลสหรัฐฯ—ได้ก่อนรัฐประหารโค่นเซลายา.  รัฐบาลหลังการปฏิวัติได้ประกาศชัดว่า ไม่ยอมรับพระราชกฤษฎีกาปฏิรูปที่ดิน.
In response, the farmer cooperatives in Bajo Aguán organized peaceful occupations on many of the privately owned plantations in the region, establishing what they hoped would be permanent settlements. In the Lempira settlement, hundreds of people have reclaimed the area from the largest and most infamous landowner in the region, Miguel Facussé. While they continue to fight for legal rights, the community has set up homes, turned the oil palm plantation into a working cooperative, laid the concrete foundation of a school, and set up a collectively owned store.
ในการตอบกลับ, สหกรณ์ชาวไร่ชาวนาใน Bajo Aguán ได้จัดกระบวนยึดที่ดินแลลสันติบนสวนพาณิชย์หลายๆ แห่งที่เอกชนเป็นเจ้าของในภาคนั้น, ก่อตั้งสิ่งที่พวกเขาหวังว่าจะเป็นการตั้งรกรากถาวร.  ในการตั้ง
ถิ่นฐาน เลมปิรา, คนหลายร้อยได้ทวงคืนพื้นที่จากเจ้าของที่ดินที่มีชื่อเสียงที่สุดและผืนใหญ่ที่สุดในภาคนั้น, มิเกล ฟาคุสเซ.  ในขณะที่พวกเขาต่อสู้ต่อไปในด้านสิทธิทางกฎหมาย, ชุมชนได้ตั้งบ้านเรือน, เปลี่ยนสวนพาณิชย์ปาล์มน้ำมันให้เป็นสหกรณ์ที่ทำงาน, วางรากฐานคอนกรีตเพื่อสร้างโรงเรียน, และตั้งร้านที่หมู่เป็นเจ้าของ.Meanwhile, the government conducts and condones violent efforts to eject the settlers, who also face constant threats from land owners and their private security forces.[20]138 Arrests and assassinations are commonplace. In Bajo Aguán alone, more than 55 people, many of them leaders in the land struggle, have been killed or disappeared since the coup.
ในขณะเดียวกัน, รัฐบาลได้นำแล้วให้อภัยการกระทำรุนแรงเพื่อขับพวกที่มาปักหลัก, ผู้ต้องเผชิญกับการข่มขู่ตลอดเวลาจากเจ้าของที่ดินและกองกำลังรักษาความมั่นคงเอกชน.  การจับกุมและลอบสังหารเป็นเรื่องปกติ.  ลำพังใน Bajo Aguán, กว่า 55 คน, หลายคนเป็นผู้นำในการต่อสู้ที่ดิน, ได้ถูกฆ่าหรือสูญหายไปตั้งแต่รัฐประหาร.
Consuelo says, “We’re fighting for our kids. They’re the foundation of this movement. They are what’s important. We’ve started this movement for our children so they can have their basic needs met, live in dignity, and have access to education. The political assassinations have left some children without mothers, without brothers. The kids are the ones that are impacted the most. “We’re going to keep on fighting for our sisters and brothers who gave up their lives, whose blood was spilled for this land God gave to us so that we could all enjoy the land’s natural resources and wealth. Our martyred sisters and brothers may be lying in the grave right now, but as far as we’re concerned, they’re still here with us, standing by our side in this fight. We are not going to give up the struggle. We’re going to keep at it to the very end, no matter what happens.”
คอนซูโล กล่าวว่า, “เรากำลังต่อสู้เพื่อลูกๆ ของเรา.  พวกเขาเป็นรากฐานของการเคลื่อนไหวนี้.  พวกเขาเป็นสิ่งที่สำคัญ.  พวกเราได้เริ่มการขับเคลื่อนนี้ เพื่อลูกหลานของพวกเราเพื่อว่าพวกเขาจะมีปัจจัยพื้นฐาน, มีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี, และได้เข้าถึงการศึกษา.  การลอบสังหารทางการเมืองได้ทอดทิ้งเด็กๆ บางคนให้ปราศจากแม่, ปราศจากพี่น้องชาย.  เด็กๆ เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด.  “พวกเราจะยังคงสู้ต่อไปเพื่อพี่น้องหญิงชายของเราที่ได้สละชีพ, ที่เลือดได้ชโลมแผ่นดินที่พระเจ้าได้ประทานแก่พวกเรา เพื่อว่า พวกเราจะได้ดำรงชีวิตด้วยทรัพยากรและความมั่งคั่งของธรรมชาติบนผืนดิน.  พี่น้องหญิงชายของเราผู้ได้พลีชีพ อาจนอนอยู่ในหลุมสุสานตอนนี้, แต่สำหรับพวกเรา, พวกเขายังอยู่ที่นี่กับพวกเรา, ยืนเคียงข้างพวกเราในการต่อสู้นี้.  พวกเราจะไม่ยอมแพ้ในการต่อสู้.  พวกเราจะยืนหยัดต่อไปจนถึงจุดสุดท้าย, ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น”.
Many miles away, on the Atlantic coast of Honduras, indigenous communities are also reclaiming their land. The Honduran Black Fraternal Organization (OFRANEH) works to protect the collectively owned ancestral lands, knowledge, language, and ways of life of some 48 Afro-Indigenous Garífuna communities. OFRANEH also advocates a greater role for the Garífuna in national decision-making processes, and promotes Garífuna collective management of local resources as an environmental conservation measure.
หลายไมล์ห่างออกไป, บนฟากแอตแลนติกของฮอนดูรัส, ชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิมกำลังทวงคืนที่ดินของพวกเขา.  องค์กรภราดรชาวฮอนดูรัสผิวดำ (OFRANEH) ทำงานเพื่อปกป้องที่ดินบรรพชนที่เป็นกรรมสิทธิ์หมู่, ภูมิปัญญา, ภาษา, และวิถีชีวิตของประมาณ 48 ชุมชน อัฟริกัน-พื้นเมืองดั้งเดิม การิฟูนา.  OFRANEH ก็ยังสสนับสนุนให้ การิฟูนา มีบทบาทมากขึ้นในกระบวนการตัดสินใจระดับชาติ, และส่งเสริมแนวทางจัดการหมู่ของ การิฟูนา ด้านทรัพยากรท้องถิ่น ให้เป็นมาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม.
 Jennifer Jewell / Garífuna men pull their boats in after a night of fishing off the shore of Sambo Creek, Honduras. The Garífuna are working to protect their ancestral oceanfront lands from incursions by the tourist industry.
ชายการิฟูนา ดึงเรือของพวกเขาขึ้นฝั่งหลังจากออกหาปลายามค่ำคืนนอกฝั่ง ช่องแคบซัมโบ, ฮอนดูรัส.  การิฟูนา กำลังทำงานเพื่อป้องกันที่ดินบรรพชนที่ติดมหาสมุทร จากการบุกรุกของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว.
OFRANEH is defending their communities’ lands and ocean-front from the incursions of the tourist and biofuel industries, projects that are supported by the World Bank and Inter-American Development Bank, as well as other international investors. As the tourism industry has privatized the ocean front in some beachfront communities, it has increasingly cut off ocean access, historically the main source of sustenance for these communities.
OFRANEH กำลังป้องกันที่ดินของชุมชน และน่านน้ำในมหาสมุทรจากการบุกรุกของนักท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ, อันเป็นโครงการที่ธนาคารโลก และ ธนาคารระหว่างอเมริกันสนับสนุน, ตลอดจนนักลงทุนระหว่างชาติอื่นๆ.  ในขณะที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้แปลงน่านน้ำมหาสมุทรหน้าชายหาดของบางชุมชนให้เป็นทรัพย์สินเอกชน, มันก็ได้รุกคืบลดช่องทางการเข้าถึงมหาสมุทร, ซึ่งโดยประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งยังชีพของชุมชนเหล่านี้.
In 2001, a group of Garífuna in an area called Sambo Creek occupied and built temporary homes on ancestral land that had been bought by a wealthy landowner. Police used tear gas and other violence to disperse the occupiers and arrest leaders. A year later, 80 families from Sambo Creek occupied a much smaller plot of land for a month and a half before they were forced off. OFRANEH took the case to the Inter-American Commission on Human Rights, and today that land is back in the hands of the local paternato, the Garífuna governing body that administers the collectively run lands.[21]139
ในปี 2001, การิฟูนา กลุ่มหนึ่งในพื้นที่ๆ เรียกว่า ช่องแคบซัมโบ ได้ยึดพื้นที่ด้วยการสร้างที่อยู่ชั่วคราวบนดินแดนบรรพชน ที่ถูกเจ้าของที่ดินที่ร่ำรวยซื้อไป.  ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและความรุนแรงอื่นๆ ในการขับไล่ผู้ยึดพื้นที่และจับกุมผู้นำ.  ปีหนึ่งต่อมา, 80 ครอบครัวจากช่องแคบซัมโบ ได้ยึดพื้นที่ในอาณาบริเวณที่เล็กลงมากเป็นเวลาเดือนครึ่ง ก่อนที่จะถูกบังคับให้ออกจากพื้นที่ไป.  OFRANEH ได้นำกรณีนี้เสนอต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนระหว่างอเมริกัน, และทุกวันนี้ ที่ดินผืนนั้น ก็ได้คืนสู่มือของ paternato ท้องถิ่น, ซึ่งเป็นองค์กรปกครอง การิฟูนา ที่บริหารการจัดการหมู่ในที่ดินผืนนี้.
On the other side of the country in the department of Intibucá, hundreds of indigenous Lenca and small-farmer communities make up the Council of Popular and Indigenous Organizations of Honduras (COPINH). They, too, are demanding the right to communal control over land, rivers, forests, and agriculture, and have achieved several victories. They have stalled or stopped free trade agreements, hydroelectric dams, mining exploration, and logging through ongoing popular education, marches, mobilizations on the capital of Tegucigalpa, and direct actions such as road blockades. They have also destroyed illegal corporate installations on their lands, such as surveying operations that were set up in preparation for building dams on the communities’ ancestral rivers.
ในอีกฟากของประเทศใน department of Intibucá, ชาวพื้นเมืองดั้งเดิม เลนกา และ ชุมชนชาวไร่ชาวนารายย่อย หลายร้อยคน รวมตัวกันเป็นสภาประชาชนและองค์กรพื้นเมืองดั้งเดิมแห่งฮอนดูรัส (COPINH).  พวกเขาก็เรียกร้องสิทธิชุมชนในการควบคุมเหนือที่ดิน, แม่น้ำ, ป่า, และเกษตร, และได้รับชัยชนะหลายครั้ง.  พวกเขาได้ขัดขวางและหยุดการตกลงการค้าเสรี, เขื่อนพลังน้ำปั่นไฟฟ้า, การสำรวจเหมือนแร่, และ การตัดไม้ ด้วยการให้การศึกษามวลชน, เดินขบวน, ขับเคลื่อนในเมืองหลวง Tegucigalpa, และปฏิบัติการตรง เช่น การขวางถนน.  พวกเขาได้ทำลายสิ่งก่อสร้างของบริษัทที่ไม่ถูกกฎหมายบนที่ดินของพวกเขา, เช่น อุปกรณ์การสำรวจที่ติดตั้งไว้เพื่อเตรียมสร้างเขื่อนบนแม่น้ำบรรพชนของชุมชน.
In 1994, COPINH created the first Honduran municipality in which all of the land is collectively owned and administered by an indigenous council: San Francisco Opalaca. In the following years, they created six more autonomous municipalities.[22]140
ในปี 1994, COPINH ได้สร้างเทศบาลแห่งแรกของฮอนดูรัส ซึ่งที่ดินทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์หมู่ (ชุมชนเป็นเจ้าของ) และบริหารโดยสภาพื้นเมืองดั้งเดิม คือ  ซานฟรานซิสโก โอปาลากา.  ในปีต่อๆ มา, พวกเขาได้สร้างอีกหกเทศบาลที่ปกครองตนเอง.
In recent years, farming and indigenous communities in Honduras have continued to grow stronger in their organizing and resistance. Bertha Caceres, a Lenca leader of COPINH, says, “The significance of a coup and a military dictatorship helps us form ourselves into what we call here one big knot... We have a chant that we’ve really taken to heart, which is ‘they fear us because we’re fearless.’”
เมื่อเร็วๆ นี้, ชุมชนเกษตรและพื้นเมืองดั้งเดิมในฮอนดูรัส ได้เข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ในการจัดกระบวนและการต่อต้าน.  เบอร์ธา คาเซเรส, ผู้นำ เลนคา ของ COPINH, กล่าวว่า, “นัยสำคัญของรัฐประหารและเผด็จการทหาร ได้ช่วยให้เรารวมตัวเป็นสิ่งที่พวกเราเรียกว่า ปมเขื่อง...พวกเรามีบทท่องบ่น ที่พวกเราจำขึ่นใจจริงๆ, พวกเขากลังพวกเรา เพราะพวกเราไร้ความกลัว’.”
In February 2012, in an open-air auditorium in Bajo Aguán, 1,200 people packed onto cement bleachers and plastic seats for the International Gathering for Human Rights in Honduras. The event was organized by the farmer cooperatives of Bajo Aguán, OFRANEH, and COPINH. Farmers, indigenous organizers, and activists from every country in Central America, and other international allies, spent four days together building cross-border strategies to support the regional land struggle and the larger resistance in Honduras. The gathering was a mix of spirited songs, traditional dance, theatre, testimony, and proclamations. The event also honored the many farmers who have been killed for peacefully defending their families right to the land.
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2012, ในห้องประชุมเปิดใน Bajo Aguán, ประชาชน 1,200 คนได้นั่งเบียดเสียดบนม้าซีเมนต์และเก้าอี้พลาสติกเพื่อร่วมการรวมตัวระหว่างประเทศเพื่อสิทธิมนุษยชนในฮอนดูรัส.  กิจกรรมนี้ จัดขึ้นโดยสหกรณ์ Bajo Aguán, OFRANEH, และ COPINH.   ชาวไร่ชาวนา, ผู้จัดกระบวนพื้นเมืองดั้งเดิม, และนักกิจกรรมจากทุกประเทศในอเมริกากลาง, และพันธมิตรนานาชาติอื่นๆ, ได้ใช้เวลาสี่วันร่วมกันวางยุทธศาสตร์ข้ามพรมแดน เพื่อสนับสนุนการดิ้นรนเรื่องที่ดิน และ การต่อต้านที่ใหญ่กว่าในฮอนดูรัส.  การรวมตัวครั้งนี้ ผสมผสานไปด้วยเพลงที่มีชีวิตชีวา, การเต้นรำตามประเพณีนิยม, การแสดงบนเวที, คำให้การ, และการประกาศ.  กิจกรรมนี้ได้ให้เกียรติรำลึกถึงชาวไร่ชาวนาหลายคนที่ถูกฆ่าในขณะปกป้องสิทธิของครอบครัวของพวกเขาเหนือที่ดินอย่างสันติ.
On the last day of the gathering, Bertha of COPINH read from the final declaration, “We are pushed forward in this fight by the indigenous and black peoples of the country, with their profound understanding and strength to stop the plundering of lands, territories, water, forests, and the theft of cultural and other common goods of nature.”
ในวันสุดท้ายของการรวมตัวกัน, เบอร์ธา แห่ง COPINH ได้อ่านจากแถลงการณ์สุดท้าย, “พวกเราได้ผลักดันไปข้างหน้า ในการต่อสู้นี้โดยชนพื้นเมืองดั้งเดิมและชนผิวดำของประเทศ, ด้วยความเข้าใจอันลึกล้ำและความเข้มแข็งเพื่อหยุดการปล้นสะดมที่ดิน, อาณาเขต, น้ำ, ป่า, และ ขโมยวัฒนธรรมและสิ่งของร่วมอื่นๆ ในธรรมชาติ”.
Also driving them forward are their visions for the future. Some of these, in the form of dreams written by children living in the occupied territory, were posted next to the entrance to the auditorium at the gathering. One child wrote, “My dream is to have a house and land with a good crop of corn, a big field of bananas, a rice field, and a big soccer field; and that my family will always be happy and share good moments with each other.”
สิ่งที่ถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วย คือ วิสัยทัศน์ของพวกเขา.  บางราย, ในรูปของความฝัน เขียนโดยเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในอาณาเขตยึดครองนี้, ถูกติดไว้ข้างทางเข้าห้องประชุมในที่ๆ รวมตัวกัน.  เด็กคนหนึ่งเขียนว่า, “ความฝันของหนูคือ มีบ้านหลังหนึ่ง และ ที่ดินที่ปลูกข้าวโพดได้ดี, ไร่กล้วยขนาดใหญ่, ทุ่งนาข้าว, และสนามฟุตบอลใหญ่ๆ; และ ครอบครัวของหนู มีความสุขและแชร์เวลาดีๆ ต่อกันและกันเสมอ”.


[1] 119. Shalmali Guttal, Maria Luisa Mendonça, and Peter Rosset, “Preface: A History and Overview of the Land Research Action Network,” in Promised Land: Competing Visions of Agrarian Reform, Peter Rosset, Michael Courville, and Raj Patel, eds. (Food First Books, Institute for Food and Development Policy, 2006), 1.
[2] 120. GRAIN, “Seized: The 2008 landgrab for food and financial security,” October 24, 2008, www.grain.org/article entries/93-seized-the-2008-landgrab-for-food-and-financial-security.
[3] 121. Committee on World Food Security, “Land Tenure and International Investments in Agriculture: A Report by the High Level Panel of Experts on Food Security and Nutrition,” July 2011, 9.
[4] 122. Center for Human Rights and Global Justice, Every Thirty Minutes: Farmer Suicides, Human Rights, and the Agrarian Crisis in India (New York: NYU School of Law, 2011), 1.
[5] 123. Ibid.
[6] 124. Unfortunately, despite advances in policy, concrete changes in practice have been fewer and farther between. Sometimes, administrative dysfunction and the lack of government commitment to resolve it have been impediments. Other times, large landowners and multinational corporations have pushed back and governments have given in to their demands, failing to implement the laws. In many cases, paid goons or paramilitaries backed by governments or corporations have attacked, arrested, disappeared, or killed those trying to claim their rightful lands.
[7] 125. Michael Courville and Raj Patel, “Introduction and Overview: The Resurgence of Agrarian Reform in the Twenty-first Century,” in Promised Land: Competing Visions of Agrarian Reform, Peter Rosset, Michael Courville and Raj Patel, eds. (Food First Books, Institute for Food and Development Policy, 2006),  www.foodfirst.org/files/bookstore/pdf/promisedland/introI.pdf.
[8] 126. Food First, “G20-Agriculture: Hundreds of organizations say STOP farm land grabbing,” June 20, 2011, http://www.foodfirst.org/en/land+grabs.
[9] 127. GRAIN, “Pension Funds: Key Players in the Global Farmland Grab,” June 20, 2011, http://www.grain.org/article/entries/4287-pension-funds-key-players-in-the-global-farmland-grab.
[10] 128. Sérgio Sauer, “The World Bank’s Market Based Land Reform in Brazil,” in Promised Land: Competing Visions of Agrarian Reform, Peter Rosset, Michael Courville, and Raj Patel, eds. (Food
First Books, Institute for Food and Development Policy, 2006),177-178. Rural population statistic is from: World Bank, “Indicators by Country,” Agriculture and Rural Development Data, accessed
September 20, 2012, http://data.worldbank.org/topic/agricultureand-rural-development.
[11] 129. Fabíola Ortiz, “Brazil at Risk of Agrarian Counter-Reform,” Inter Press Service website, April 27, 2011, http://ipsnews.net/news.asp?idnews=55414.
[12] 130. Sue Branford and Jan Rocha, Cutting the Wire: The Story of the Landless Movement in Brazil (London: Latin American Bureau, 2002), 175. Brazil has become one of the premier exporters of agricultural products, in particular soy and transgenic corn. By 1999, when Monsanto purchased Brazil’s largest corn seed company, 43 percent of Brazil’s agricultural exports were controlled by 17 international corporations. Branford and Rocha, 2002, 176-178. By 1999, multinationals controlled 90 percent of the hybrid corn seed market, with Monsanto alone controlling 60 percent. These and other mega-businesses placed Brazil seventh globally in agricultural exports – US$15 billion worth of them.
[13] 131. Miriam Nobre, “Quand la libération des femmes rencontre la libération des semences” [“When the liberation of women meets the liberation of seeds”], La Découverte, September-October, 2005, http://www.cairn.info/revue-mouvements-2005-4-page-70.htm.
[14] 132. João Pedro Stedile, “Landless Batallions: The Sem Terra Movement of Brazil,” New Left Review online, May-June 2002, http://newleftreview.org/A2390.
[15] 133. These include that the family be Brazilian, low-income or property-less, live on the land, and produce agriculture for self-sustenance, through its own (not hired) labor.
[16] 134. “What is MST,” Friends of the MST website, accessed February 22, 2012, www.mstbrazil.org/whatismst.
[17] 135. Ibid.
[18] 136. Carmen Diana Deere and Magdalena León, “Toward a Gendered Analysis of the Brazilian Agrarian Reform,” Latin American Studies Consortium of New England, Occasional Paper No. 16, April 1999, 1. Miriam Nobre, “Quand la libération des femmes rencontre la libération des semences” [“When the Liberation of Women Meets the Liberation of Seeds”], Mouvements No. 41, 2005/4, 2-3.
[19] 137. Lauren Carasik, “Honduras Campesinos in the Crosshairs,” Al Jazeera, April 6, 2012, http://www.rightsaction.org/actioncontent/honduran-campesinos-crosshairs-us-government-and-multilateral-institutions-must.
[20] 138. Jeremy Kryt, “Campesinos Rising,” In These Times, February 18, 2011, http://hondurasweekly.com/hwgroups/groups/viewbulletin/356-Campesinos+Rising?groupid=42.
[21] 139. Mark Anderson, Black and Indigenous: Garífuna Activism and Consumer Culture in Honduras (Minneapolis: University of Minnesota Press, 2009), 219-221.
[22] 140. Bill Weinberg, “Honduras: Indigenous Opposition to the Plan Puebla Panamá,” AIPIN Boletín de Prensa, No. 2142, August 22, 2003.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น