วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

23. ยึดพื้นที่วอลล์สตรีท : ภูมิปัญญาที่งอกบนทางเท้า


Intellectual Roots of Wall St. Protest Lie in Academe
Movement's principles arise from scholarship on anarchy
-Yunghi Kim for The Chronicle, October 16, 2011
รากเหง้าปัญญาของการประท้วงวอลล์สตรีทอยู่ที่นักวิชาการ
หลักการขับเคลื่อนที่อุบัติจากการคิดค้นเรื่องอนาธิปไตย
-ยุงฮี คิม สำหรับหนังสือพิมพ์ The Chronicle

Occupy Wall Street protesters have been demonstrating in Zuccotti Park since mid-September. The movement has an academic heritage that spans political science, economics, and literature, but its organizing principles owe a debt to an ethnography of Madagascar.
-By Dan Berrett
การเข้ายึดพื้นที่วอลล์สตรีท ผู้ประท้วงได้ตั้งหลักที่ สวนสาธารณะซุคโคติ ตั้งแต่กลางเดือนกันยายน   ขบวนการนี้ เป็นมรดกจากนักวิชาการที่มาจากหลากสาขา--รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และวรรณคดี แต่หลักการจัดขบวนนั้น มาจากงานศึกษาเชิงชาติพันธุ์ของมาดากาสการ์
-โดย แดน เบอร์เรท์

Academics have become frequent visitors to Zuccotti Park, the 33,000-square-foot pedestrian plaza in the heart of New York City's financial district that is now the site of a nearly monthlong protest, Occupy Wall Street.
นักวิชาการได้กลายเป็นผู้เยี่ยมเยือนประจำของสวนซุคโคติ  ลานทางเดินเท้า 33,000 ตารางฟุต ที่ตั้งอยู่ใจกลางเขตการเงินของนครนิวยอร์ก ตอนนี้ ได้กลายเป็นชัยภูมิของการประท้วง “ยึดพื้นที่วอลล์สตรีท” มานานเกือบเดือนแล้ว

Famous scholars like Cornel West, Slavoj Zizek, and Frances Fox Piven have spoken to the crowd, with their remarks dispersed, word-for-word, from one cluster of people to the next through a "human megaphone." Many others, such as Lawrence Lessig, have lent their support from farther away, as the demonstrations have spread to cities and college campuses nationwide.
บัณฑิตคงแก่เรียนชื่อดัง เช่น Cornel West, Slavoj Zizek, และ Frances Fox Piven ได้มาพูดต่อฝูงชน สาระปาฐกถาถูกกระจาย คำพูดต่อคำพูด จากกลุ่มหนึ่งต่อไปยังอีกกลุ่มผ่าน “เม็กกะโฟนมนุษย์” (ตรงข้ามกับ “ไมโครโฟน”)   คนอื่นๆ เช่น Lawrence Lessig ได้ให้การสนับสนุนจากทางไกล ในขณะที่การประท้วงได้แผ่ขยายออกไปยังเมืองและวิทยาเขตต่างๆ ทั่วประเทศ

The movement has repeatedly been described as too diffuse and decentralized to accomplish real change, and some observers have seen the appearances by academic luminaries as an attempt to lend the protest intellectual heft and direction. Certainly, its intellectual underpinnings and signature method of operating are easier to identify than its goals.
การเคลื่อนไหวนี้ได้ถูกบรรยายซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า กระจัดกระจายและไร้จุดศูนย์กลางเกินกว่าที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจริงจังได้ และผู้สังเกตการณ์บางคน มองว่า การปรากฏตัวของนักวิชาการมีชื่อ เป็นเพียงความพยายามยืมบารมีมาสร้างน้ำหนักและทิศทางแก่การประท้วง   แน่นอน วิธีการแสดงรายชื่อและลายเซ็นของปัญญาชน เป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจนกว่าเป้าหมายของการประท้วง

Economists whose recent works have decried income inequality have informed the movement's critiques of capitalism. Critical theorists like Michael Hardt, professor of literature at Duke University, and Antonio Negri, former professor of political science at the University of Padua, have anticipated some of the central issues raised by the protests. Most recently, they linked the actions in New York and other American cities to previous demonstrations in Spain, Cairo's Tahrir Square, and in Athens, among other places.
นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีผลงานเมื่อเร็วๆ นี้ ที่แสดงถึงความไม่เท่าเทียมเชิงรายได้ ได้กลายเป็นแหล่งข้อมูลของการวิพากษ์ระบบทุนนิยมในขบวนการนี้   นักทฤษฎีวิพากษ์ เช่น Michael Hardt ศาสตราจารย์วรรณคดีแห่งมหาวิทยาลัยดุ๊ค และ Antonio Negri อดีตศาสตราจารย์รัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยปาดัว ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ถึงบางประเด็นหลักๆ ที่ผู้ประท้วงหยิบยกขึ้นมา   ก่อนหน้านี้ พวกเขาเชื่อมปฏิบัติการในนิวยอร์ก และในเมืองอเมริกันต่างๆ กับการประท้วงที่เกิดขึ้นในอดีตในสเปน ในไคโร ที่ Tahrir Square  และในเอเธนส์  ตลอดจนสถานที่อื่นๆ

But Occupy Wall Street's most defining characteristics—its decentralized nature and its intensive process of participatory, consensus-based decision-making—are rooted in other precincts of academe and activism: in the scholarship of anarchism and, specifically, in an ethnography of central Madagascar.
แต่ลักษณะโดดเด่นของขบวนยึดพื้นที่วอลล์สตรีท—ธรรมชาติที่ไม่รวมศูนย์และกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเข้มข้น การตัดสินใจด้วยฉันทามติ—มีรากเหง้าในพื้นที่วิชาการและกิจกรรมรณรงค์อื่น: ในวงการนักคิดลัทธิอนาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในศาสตร์การศึกษาชาติพันธุ์ที่มาดากาสการ์ตอนกลาง

It was on this island nation off the coast of Africa that David Graeber, one of the movement's early organizers, who has been called one of its main intellectual sources, spent 20 months between 1989 and 1991. He studied the people of Betafo, a community of descendants of nobles and of slaves, for his 2007 book, Lost People.
ณ ที่รัฐเกาะแห่งนี้ ที่อยู่นอกชายฝั่งอัฟริกานี่แหละ ที่ เดวิด เกรเบอร์ หนึ่งในนักจัดขบวนรุ่นแรกของการขับเคลื่อนนี้  ผู้ถูกยกย่องให้เป็นแหล่งของภูมิปัญญา/ปัญญาชนหลักคนหนึ่ง  ได้ใช้เวลา 20 เดือน ระหว่าง 1989 และ 1991   ศึกษาประชาชนของ เมืองเบตาโฟ ชุมชนที่เป็นลูกหลานของผู้ดีสูงศักดิ์ และของทาส เพื่อเขียนหนังสือ “ประชาชนผู้สาปสูญ” ในปี 2007

Betafo was "a place where the state picked up stakes and left," says Mr. Graeber, an ethnographer, anarchist, and reader in anthropology at the University of London's Goldsmiths campus.
เมืองเบตาโฟ เป็น “สถานที่ๆ รัฐออกไปเด็ดยอดหาประโยชน์ แล้วก็จากไป” นายเกรเบอร์กล่าว  เขาเป็นนักชาติพันธุ์ศาสตร์ ผู้ฝักใฝ่อนาธิปไตย และนักอ่านผลงานด้านมานุษยวิทยาที่วิทยาเขต Goldsmiths ของมหาวิทยาลัยลอนดอน

In Betafo he observed what he called "consensus decision-making," where residents made choices in a direct, decentralized way, not through the apparatus of the state. "Basically, people were managing their own affairs autonomously," he says.
ที่เบตาโฟ เขาได้สังเกตเห็นสิ่งที่เขาเรียกว่า “กระบวนการตัดสินใจแบบฉันทามติ” ที่ชาวบ้านจะทำการเลือกด้วยวิธีการตรง และไม่รวมศูนย์ ไม่ใช่ผ่านกลไกของรัฐ   “โดยพื้นฐานแล้ว ประชาชนจัดการเรื่องของพวกเขาเองอย่างเป็นเอกเทศ” เขากล่าว

The process is what scholars of anarchism call "direct action." For example, instead of petitioning the government to build a well, members of a community might simply build it themselves. It is an example of anarchism's philosophy, or what Mr. Graeber describes as "democracy without a government."
กระบวนการนี้คือสิ่งที่ผู้ทรงคุณวุฒิด้านอนาธิปไตย เรียกว่า “ปฏิบัติการตรง”   ยกตัวอย่าง แทนที่จะทำเรื่องขอให้รัฐบาลสร้างบ่อน้ำ สมาชิกชุมชนอาจสร้างด้วยตัวเอง    มันเป็นตัวอย่างของปรัชญาลัทธิอนาธิปไตย หรือที่ นายเกรเบอร์ บรรยายว่า เป็น “ประชาธิปไตยที่ปราศจากรัฐบาล”

He transplanted the lessons he learned in Madagascar to the globalism protests in the late 1990s in which he participated, and which some scholars say are the clearest antecedent, in spirit, to Occupy Wall Street.
เขาได้ปลูกถ่ายบทเรียนที่เขาสรุปได้จากการเข้าร่วมประท้วงลัทธิโลกาภิวัตน์ในมาดากาสการ์ในตอนปลายทศวรรษ 1990 และที่ผู้ทรงคุณวุฒิบางคนบอกว่า เป็นสิ่งบันดาลใจที่ชัดเจนที่สุด ในเจตนารมณ์ร่วม เพื่อยึดพื้นที่วอลล์สตรีท

Soon after the magazine Adbusters published an appeal to set up a "peaceful barricade" on Wall Street, Mr. Graeber spent six weeks in New York helping to plan the demonstrations before an initial march by protesters on September 17, which culminated in the occupation.
ไม่นานหลังจากที่แม๊กกาซีน Adbusters ได้ลงพิมพ์คำวิงวอนให้จัดตั้ง “ด่านสันติ” บนถนนวอลล์สตรีท  นายเกรเบอร์ ได้ใช้เวลาหกสัปดาห์ในนิวยอร์ก ช่วยวางแผนการประท้วง ก่อนที่ริ้วขบวนของผู้ประท้วงจะเริ่มออกเดินในวันที่ 17 กันยายน ซึ่งจะลงเอยที่การยึดพื้นที่

It is far from clear, of course, how attuned the protesters are to the scholarship of Mr. Graeber, other critical theorists, or academics who study anarchism. A growing collection of fiction and nonfiction books, however, has a post-office box to which supporters are invited to send books. "The People's Library" in New York City, which has been copied at other Occupy protest sites, houses nearly 1,200 books in cardboard boxes that are protected against the elements by clear plastic sheeting.
แน่นอน มันไม่ชัดเจนว่า ผู้ร่วมประท้วงจะปรับตัวเท่าทันวุฒิปัญญาของนายเกรเบอร์ หรือนักทฤษฎีวิพากษ์อื่นๆ หรือนักวิชาการผู้ศึกษาอนาธิปไตยขนาดไหน    แต่กองหนังสือเพื่อความบันเทิง หรือไม่ใช่เพื่อความบันเทิง ที่กำลังเพิ่มพูนขึ้นนั้น มีการเปิดตู้ ปณ เชื้อเชิญให้คนบริจาคหนังสือ  และได้กลายเป็น “ห้องสมุดของประชาชน” ในนครนิวยอร์ก  ห้องสมุดนี้ได้ถูกเลียนแบบไปใช้ในเขตการประท้วง “ยึดพื้นที่” อื่นๆ  ห้องสมุดของประชาชนนี้ มีหนังสือเกือบ 1,200 เล่ม บรรจุอยู่ในกล่องกระดาษลูกฟูกที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกใสเพื่อป้องกันความเสียหาย

"I really am amazed for the respect they have for the word," Eric Seligson, the librarian at the protest site on Wall Street, told Esquire. "There's a real reverence for what has been written that has surprised me, since they eschew whatever came before, all the thought that came before."
“ผมรู้สึกมหัศจรรย์ใจที่เห็นผู้คนเอาใจใส่ต่อคำพูด/ข้อเขียนขนาดนี้” Eric Seligson บรรณารักษ์ที่เขตประท้วงบนถนนวอลล์สตรีท กล่าว  “ความเคารพนับถืออย่างแท้จริงต่อสิ่งที่เขียนในหนังสือ ทำให้ผมประหลาดใจมาก เพราะ พวกเขาได้หลีกเลี่ยงอะไรก็ตามที่มีมาก่อน ความคิดทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนหน้านี้”

The defining aspect of Occupy Wall Street, its emphasis on direct action and leaderless, consensus-based decision-making, is most clearly embodied by its General Assembly, in which participants in the protest make group decisions both large and small, like adopting principles of solidarity and deciding how best to stay warm at night.
ในด้านนิยามของ การยึดพื้นที่วอลล์สตรีท การเน้นที่ปฏิบัติการตรงและภาวะไร้ผู้นำ กระบวนการตัดสินใจที่อาศัยฉันทามติ เป็นรูปธรรมที่เด่นชัดที่สุดในการประชุมสมัชชาสามัญ ที่ๆ ผู้เข้าร่วมในการประท้วง เป็นผู้ร่วมตัดสินใจของกลุ่มด้วย ทั้งเรื่องใหญ่และเล็ก เช่น การยอมรับหลักการสามัคคี และตัดสินใจว่า วิธีใดจะดีที่สุดในการทำให้พวกเขาอุ่นอยู่ได้ในตลอดคืน

This intensive and egalitarian process is important both procedurally and substantively, Mr. Graeber says. "One of the things that revolutionaries have learned over the course of the 20th century is that the idea of the ends justifying the means is deeply problematic," he says. "You can't create a just society through violence, or freedom through a tight revolutionary cadre. You can't establish a big state and hope it will go away. The means and ends have to be the same."
กระบวนการที่เสมอภาคและเข้มข้นนี้เป็นสิ่งสำคัญทั้งในด้านวิธีการและสาระ  นายเกรเบอร์กล่าว  “สิ่งหนึ่งที่บรรดานักปฏิวัติทั้งหลายได้เรียนรู้ในห้วงศตวรรษที่ 20 คือ ความคิดที่ว่า ผลเป็นตัวสร้างความชอบธรรมแก่มรรค ได้สร้างปัญหาลึกล้ำ” เขากล่าว  “คุณไม่สามารถสร้างสังคมที่มีความเป็นธรรมได้ด้วยวีธีการรุนแรง หรืออิสรภาพด้วยกองกำลังเข้มงวดอยู่ที่การปฏิวัติ   คุณไม่สามารถก่อตั้งรัฐแล้วหวังว่ามันจะจากไปเอง   มรรคและผลจะต้องเหมือนกัน”

When 2,000 people make a decision jointly, it is an example of direct action, or direct democracy, Mr. Graeber says. "It makes you feel different to go to a meeting where your opinions are really respected." Or, as an editorial in the protest's house publication, Occupied Wall Street Journal, put it, "This occupation is first about participation."
เมื่อประชาชน 2,000 คนร่วมกันตัดสินใจ มันเป็นตัวอย่างของปฏิบัติการตรง หรือประชาธิปไตยสายตรง นายเกรเบอร์กล่าว “มันทำให้คุณมีความรู้สึกไม่เหมือนเดิม ในการไปร่วมประชุมที่เคารพความคิดเห็นของคุณจริงๆ”  หรือ อย่างที่บรรณาธิการของสิ่งตีพิมพ์ในเขตประท้วงชื่อ วารสารเขตยึดพื้นที่วอลล์สตรีท เขียนไว้ว่า “การยึดพื้นที่ครั้งนี้ ประการแรกสุด เกี่ยวกับการมีส่วนร่วม”

Three days after the protests began, Mr. Graeber left. Since then, he has kept a low profile because he wants to avoid what he calls an "intellectual vanguard model" of leadership. "We don't want to create a leadership structure," he says. "The fact I was being promoted as a celebrity is a danger. It's the kids who made this happen."
สามวันหลังจากที่การประท้วงได้เปิดฉาก นายเกรเบอร์ก็ออกจากเขตประท้วง   ตั้งแต่นั้นมา เขาทำตัวเงียบๆ เพราะต้องการหลีกเลี่ยงภาวะผู้นำที่เขาเรียกว่า “โมเดลปัญญาชนนำสังคม”   “เราไม่ต้องการจะสร้างโครงสร้างผู้นำ” เขากล่าว “ความจริงที่ผมถูกส่งเสริมให้เป็นผู้มีชื่อเสียงนั้น เป็นเรื่องอันตราย  พวกเด็กๆ เป็นผู้ทำให้ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเอง”

Animated by Anger
ความโกรธทำให้ลุกขึ้นสู้

Those kids include college students, who have been animated by anger over mounting student-loan debt and declining job prospects, and have become visible participants in the protests. Several Occupy Colleges demonstrations took place last week.
เด็กๆ เหล่านั้น รวมทั้งนักศึกษา ผู้ถูกทำให้ลุกขึ้นสู้ในประเด็นภาระหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่เพิ่มพูนขึ้น และโอกาสการได้งานที่ลดลง  และได้กลายเป็นผู้เข้าร่วมอย่างมีตัวตนชัดเจนในการประท้วงต่างๆ   สัปดาห์ก่อน มีการยึดพื้นที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งเกิดขึ้น

The concerns of the protesters are primarily economic, and scholars of that discipline have had much to say about economic fairness that has resonated with the demonstrations.
ประเด็นห่วงใยของผู้ประท้วงเบื้องต้นเป็นเรื่องเศรษฐกิจ และนักวิชาการในสาขานั้น มีเรื่องจะพูดมากมายเกี่ยวกับความเป็นธรรมเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งก้องกังวานอยู่ในกระบวนการประท้วง

In a Vanity Fair article in May, Joseph E. Stiglitz, the Nobel laureate and professor at Columbia University framed income inequality as a matter of a wealthy 1 percent versus the remaining 99 percent—a trope that the movement has championed.
ในบทความ ใน Vanity Fair เดือนพฤษภาคม โจเซฟ อี. สติ๊กลิทซ์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบล และเป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ได้ตีกรอบความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ว่าเป็นเรื่องของการที่คนมั่งคั่ง 1% เทียบกับคนที่เหลือ 99%--เป็นคณะที่แชมเปี้ยนการเคลื่อนไหวครั้งนี้

Critics of the movement, including David Brooks, have faulted this line of thinking because "almost no problem can be productively conceived in this way."
นักวิพากษ์ของขบวนขับเคลื่อน รวมทั้ง เดวิด บรู๊ค ตำหนิความคิดสายนี้ว่า “เกือบไม่มีปัญหาใดๆ ที่เราจะทำความเข้าใจได้อย่างเป็นประโยชน์ ด้วยแนวคิดแบบนี้”

Mr. Stiglitz visited the protests this month, where he said the financial markets, which are supposed to allocate capital and manage risks, have instead misallocated capital and created risk. "We are bearing the cost of their misdeeds," he told the demonstrators.
นายสติ๊กลิทซ์ ได้ไปเยือนผู้ประท้วงเดือนนี้ ณ ที่นั้น เขาพูดถึงตลาดการเงิน ซึ่งสมควรจะจัดสรรเงินทุนและจัดการความเสี่ยง แต่กลับจัดสรรทุนผิดพลาดและทำให้เกิดความเสี่ยง  “พวกเรากำลังแบกภาระต้นทุนของความผิดพลาดของพวกเขา” เขาได้กล่าวต่อผู้ประท้วง

Jeffrey D. Sachs, director of the Earth Institute at Columbia, also visited the demonstrations and spoke to them this month. He says his primary goal in attending was to show his support for the demonstrators' efforts. He also wanted to share ideas, many of which he stakes out in a recent book, The Price of Civilization, which one commentator has urged the protesters to read, though it is not yet in the collection of the People's Library.
เจฟฟรี ดี. ซ๊าคส์ ผู้อำนวยการของ Earth Institute ที่โคลัมเบีย ได้ไปเยี่ยมเยียนในเขตประท้วง และได้พูดที่นั่นเดือนนี้  เขาบอกว่า เป้าหมายเบื้องต้นของเขาที่มาร่วม คือ แสดงความสนับสนุนต่อการประท้วงนี้  แล้วเขาก็ต้องการแบ่งปันความคิดด้วย ซึ่งส่วนใหญ่เขาได้เขียนในหนังสือที่เพิ่งพิมพ์เร็วๆ นี้ “ราคาของอารยธรรม

As a macroeconomist and fiscal expert, Mr. Sachs says he sees the nation's priorities most clearly expressed in the budget of the federal government, and he has come to believe that the market and government must both play a large role in assuring fairness, productivity, and environmental sustainability. "I was trying to explain that we arrived at a fiscal crisis in the country," he says of his remarks to the demonstrators. "Either our government is going to become completely shrunken and dysfunctional, or we're going to start paying for civilization again."
ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์มหภาคและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน นายซาคส์ บอกว่า เขาเห็นลำดับความสนใจของชาติแสดงออกชัดมากที่สุดในการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาล และเขาเชื่อแล้วว่า ทั้งระบบตลาดและรัฐบาลจะต้องมีบทบาทใหญ่ในการทำให้มั่นใจว่ามีความยุติธรรม มีผลิตภาพ และมีความยั่งยืนในสิ่งแวดล้อม   “ผมได้พยายามอธิบายว่า เราได้เผชิญกับความอยุติธรรมทางการเงินในประเทศ” เขากล่าวเช่นนี้กับผู้มาร่วมประท้วง  “รัฐบาลของเรากำลังจะหดตัวเต็มที่และทำหน้าที่ไม่ได้เลย หรือไม่ พวกเราก็จะต้องเริ่มจ่ายสำหรับอารยธรรมอีก”

Other scholars have embraced the movement, either in person or from afar. The American Association of University Professors issued a position statement this month, and more than 200 faculty members at Columbia signed a petition pledging support. The presumption that academics favor the aims of the occupation has become so widespread that Paul Krugman recently felt compelled to explain that the ethical guidelines of The New York Times forbade him from visiting Zuccotti Park.
นักวิชาการอื่นๆ ได้ซึมซับการเคลื่อนไหว ไม่มาด้วยตัวเองก็สื่อจากที่ห่างไกล   สมาคมอเมริกันของศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย ได้แถลงจุดยืนของตนในเดือนนี้ และคณาจารย์กว่า 200 คนที่โคลัมเบีย ได้รวมเซ็นชื่อสนับสนุน   ความเชื่อที่ว่า นักวิชาการเห็นด้วยกับวัตถุประสงค์ของการยึดพื้นที่ ได้แผ่ขยายไปกว้างขนาดที่ พอล ครุกแมน เมื่อเร็วๆ นี้ จำเป็นต้องออกมาอธิบายว่า ระเบียบเชิงจรรยาบรรณของ นิวยอร์กไทมส์ ได้ขัดขวางไม่ให้เขาเยือนสวนซุคโคติ

But visits like these are little more than a celebrity academic "walk by," says Todd Gitlin, professor of journalism and sociology at Columbia University, who has written about the protests for The Chronicle. And other observers have pointed out that the student-loan burden imparted by universities makes these institutions an ambiguous force, at best, in the demonstrations.
แต่การเยือนเช่นนี้ เป็นเพียงการ “แวะเวียน” ของนักวิชาการชื่อดัง Todd Gitlin ศาสตราจารย์วารสารศาสตร์และสังคมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กล่าว  เขาได้เขียนเกี่ยวกับการประท้วงสำหรับ The Chronicle    ผู้สังเกตการณ์อื่นๆ ได้ชี้ให้เห็นว่า ภาระเงินกู้ของนักศึกษา ที่ผ่านช่องทางของมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ทำให้สถาบันเหล่านี้กลายเป็นพลังที่กำกวมในการประท้วง

Of greater influence than any particular thinker or group of thinkers are the recent demonstrations in other countries, and the knowledge that protesters have been gaining there, says Evan Calder Williams, a doctoral candidate in literature at the University of California at Santa Cruz and a Fulbright fellow at the University of Naples-L'Orientale. Protesters in Egypt, Greece, and Spain, among other sites, have been creating a growing record of their experiences, through blogs and social media, which other protesters are reading and commenting upon.
สิ่งที่มีอิทธิพลมากกว่านักคิดหรือกลุ่มนักคิดใดๆ คือ การประท้วงเร็วๆ นี้ในประเทศต่างๆ และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในบรรดาผู้เข้าร่วมประท้วงที่นั่น Evan Calder Williams นักศึกษาปริญญาเอกสาขาวรรณคดีที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งซานตาครูส และ Fulbright fellow ที่มหาวิทยาลัย Naples-L'Orientale กล่าว    ในบรรดาเขตยึดพื้นที่อื่นๆ ผู้ประท้วงในอียิปต์ กรีซ และสเปน ได้สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ผ่านบล็อกและสื่อสังคม ซึ่งผู้ประท้วงอื่นๆ กำลังติดตามอ่านและแสดงความคิดเห็น

"This isn't anti-intellectualism: It is simply to say that the relevant theory is that which will be developed from struggling to grasp the obscure shape of the past few years," Mr. Williams said in an e-mail. "It's safe to say that Syntagma Square, the many-month occupation of a Chilean girls' school by its students, and Occupy the Hood are—and deserve to be—of far greater intellectual import than any contemporary theorist will be."
“นี่ไม่ใช่การต่อต้านปัญญาชน  เพียงแต่บอกว่า ทฤษฎีที่เข้าประเด็น คือ ทฤษฎีที่ได้ถูกพัฒนาจากการดิ้นรนต่อสู้ เพื่อจับความให้เข้าใจรูปพรรณสัณฐานที่คลุมเครือที่ก่อตัวในไม่กี่ปีที่ผ่านมา” นายวิลเลียมส์เขียนในอีเมล์  “เป็นการปลอดภัยที่จะกล่าวว่า เหตุการณ์ที่ Syntagma Square ซึ่งนักเรียนได้ยึดพื้นที่โรงเรียนสตรีชิลี เป็นเวลาหลายเดือน และการยึดพื้นที่ฮู๊ด สมควรที่จะยกให้เป็นปัญญาชนที่มีความสำคัญมากกว่านักทฤษฎีร่วมสมัยอื่นใด

The idea that intellectual ferment is coming from the streets rather than academe is evidence that anarchism is witnessing something of a resurgence of interest among both activists and academics, says Nathan J. Jun, assistant professor of philosophy at Midwestern State University, in Texas, and author of the forthcoming Anarchism and Political Modernity.
ความคิดที่ว่า การก่อตัวของภูมิปัญญามาจากท้องถนนมากกว่านักวิชาการเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมว่า ระบบอนาธิปไตย ได้ประจักษ์เห็นบางอย่างที่เป็นการฟื้นความสนใจทั้งในหมู่นักกิจกรรมขับเคลื่อนและนักวิชาการ  Nathan J. Jun, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยมิดเวสเทอร์นสเตท ในเท็กซัส และผู้เขียนหนังสือที่กำลังจะออก ชื่อ ระบบอยาธิปไตยและความทันสมัยทางการเมือง กล่าว

While some students in the movement might be passingly familiar with anarchist studies, Mr. Jun says, they have probably not read much of the scholarship. It is much more likely that anarchism itself has had the greater influence on Occupy Wall Street because, he says, many activists there "regard anarchy as an ideal to be realized."
นายจุนกล่าวว่า ในขณะที่นักศึกษาบางคนในขบวนการอาจจะคุ้นเคยกับอนาธิปไตยศึกษาแบบอ่านผ่านๆ พวกเขาคงไม่ได้อ่านงานคิดค้นมากพอ   มันเป็นไปได้มากๆ ที่ความคิดเชิงอนาธิปไตยเอง ได้มีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อ การยึดพื้นที่วอลล์สตรีท เพราะ นักกิจกรรมหลายคนที่นั่น “ถือว่าอนาธิปไตยเป็นอุดมคติที่จะต้องบรรลุให้ได้”

Scholars Visit Occupy Wall Street
บัณฑิตที่เยือนบริเวณ ยึดพื้นที่วอลล์สตรีท

David Graeber, of the U. of London's Goldsmiths campus: "You can't create a just society through violence, or freedom through a tight revolutionary cadre. You can't establish a big state and hope it will go away. The means and ends have to be the same."
เดวิด เกรเบอร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน วิทยาเขตโกลด์สมิธส์ “คุณไม่สามารถสร้างสังคมที่มีความยุติธรรมด้วยความรุนแรง หรืออิสรภาพจากกองกำลังปฏิวัติที่เข้มงวด  คุณไม่สามารถก่อตั้งรัฐขนาดใหญ่ขึ้นมา แล้วก็หวังว่ามันจะจากไปเอง  มรรคและผลจะต้องเหมือนกัน”

Michael Hardt, of Duke U. (writing with Antonio Negri): "Indignation against corporate greed and economic inequality is real and deep. But at least equally important is the protest against the lack, or failure, of political representation."
ไมเคิล ฮาร์ดท์  มหาวิทยาลัยดุ๊ค (ร่วมเขียนกับ อันโตนิโอ เนกริ) “ความโกรธเคืองต่อความโลภของบรรษัทและความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจนั้นเป็นของจริงและลึก   แต่อย่างน้อย สิ่งที่สำคัญพอๆ กัน คือ การประท้วงต่อการขาด หรือความล้มเหลว ของการเป็นตัวแทนทางการเมือง”

Jeffrey D. Sachs, of Columbia U.: "Either our government is going to become completely shrunken and dysfunctional, or we're going to start paying for civilization again."
เจฟฟรีย์ ซาคส์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย “รัฐบาลของเราจะกำลังจะหดหัวเต็มที่และทำหน้าที่ไม่ได้ หรือไม่ พวกเราก็กำลังจะต้องเริ่มจ่ายสำหรับความศิวิไลซ์อีก”

Slavoj Zizek, of the European Graduate School: "Don't fall in love with yourselves, with the nice time we are having here. Carnivals come cheap—the true test of their worth is what remains the day after, how our normal daily life will be changed."
สลาโวจ์ ซีเสก บัณฑิตวิทยาลัยยุโรป “อย่าหลงรักกับตัวพวกคุณเอง กับช่วงเวลาดีๆ ที่เรามีในขณะอยู่ร่วมกันที่นี่   งานเฉลิมฉลองของมวลชนได้มาด้วยราคาถูก—เครื่องทดสอบที่แท้จริงถึงคุณค่าของพวกเขา คือ สิ่งที่หลงเหลืออยู่ในวันหลังจากนั้น ในการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของพวกเรา”

Cornel West, of Princeton U.: "It's impossible to translate the issue of the greed of Wall Street into one demand or two demands. We're talking about a democratic awakening."
คอร์เนล เวสท์ มหาวิทยาลัยปริ๊นซตัน  “มันเป็นไปไม่ได้ที่จะแปลประเด็นความโลภของวอลล์สตรีทให้เป็นข้อเรียกร้อง 1 หรือ 2 ประการ  เรากำลังพูดถึงการตื่นตัวแบบประชาธิปไตย”

Joseph E. Stiglitz, of Columbia U.: "We are bearing the cost of their misdeeds. There's a system where we've socialized losses and privatized gains. That's not capitalism; that's not a market economy. That's a distorted economy."
โจเซฟ สติ๊กลิทส์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย  “เรากำลังแบกต้นทุนของความผิดพลาดของพวกขา  มีระบบหนึ่งที่เราได้เกลี่ยความสูญเสียให้สังคม และเก็บเกี่ยวผลได้เป็นประโยชน์ส่วนตัว   นั่นไม่ใช่ระบบทุนนิยม นั่นไม่ใช่ระบบตลาด  นั่นเป็นระบบเศรษฐกิจที่บิดเบี้ยว”

Lawrence Lessig, of Harvard U.: "The arrest of hundreds of tired and unwashed kids, denied the freedom of a bullhorn and the right to protest on public streets, may well be the first real green-shoots of this, the American spring. And if nurtured right, it could well begin real change."
ลอว์เรยซ์ เลสซิก  มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  “การจับกุมเด็กๆ ที่เหน็ดเหนื่อยและไม่ได้อาบน้ำ ปฏิเสธอิสรภาพการใช้เครื่องกระจายเสียง และสิทธิในการประท้วงบนถนนสาธารณะ อาจเป็นหน่ออ่อนแรกที่แท้จริงของฤดูใบไม้ผลิอเมริกันครั้งนี้  และหากได้รับการหล่อเลี้ยงที่ถูกต้อง การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงอาจเริ่มต้นขึ้นได้”

ดรุณี/10-19-11

22. จีเอ็ม—พืช “ลด” หรือ “เพิ่ม” ความหิวโหย ยากจน?


GM Crops Promote Superweeds, Food Insecurity and Pesticides, say NGOs
Report finds genetically modified crops fail to increase yields let alone solve hunger, soil erosion and chemical-use issues
by John Vidal, October 19, 2011 by The Guardian/UK
พืชจีเอ็มส่งเสริมซุปเปอร์วัชพืช ความไม่มั่นคงทางอาหาร และยาฆ่าแมลง เอ็นจีโอกล่าว
รายงานได้พบพืชตัดแต่งทางพันธุกรรม ล้มเหลวที่จะเพิ่มผลผลิต อย่าว่าแต่แก้ปัญหาประเด็นความหิวโหย การชะพังหน้าดิน และการใช้สารเคมี
โดย จอห์น ไวดัล, 19 ตุลาคม 2554 ใน The Guardian/UK

Genetic engineering has failed to increase the yield of any food crop but has vastly increased the use of chemicals and the growth of "superweeds", according to a report by 20 Indian, south-east Asian, African and Latin American food and conservation groups representing millions of people.
วิศวกรรมพันธุกรรมได้ล้มเหลวที่จะเพิ่มผลผลิตพืชอาหารใดๆ แต่ได้เพิ่มการใช้สารเคมีและการเติบโตของ “ซุปเปอร์วัชพืช” อย่างมหาศาล ตามรายงานโดยกลุ่มอาหารและอนุรักษ์อินเดีย เอเชียอุษาคเนย์ อัฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งเป็นตัวแทนประชากรนับล้าน

The so-called miracle crops, which were first sold in the US about 20 years ago and which are now grown in 29 countries on about 1.5bn hectares (3.7bn acres) of land, have been billed as potential solutions to food crises, climate change and soil erosion, but the assessment finds that they have not lived up to their promises.
พืชที่เรียกว่า พืชมหัศจรรย์นี้ ซึ่งครั้งแรกถูกขายในสหรัฐฯ ประมาณ 20 ปีที่แล้ว และซึ่งตอนนี้ปลูกใน 29 ประเทศ ในเนื้อที่ 1.5 พันล้านเฮตเตอร์ (3.7 พันล้านเอเคอร์) ได้ถูกยกย่องว่ามีศักยภาพในการแก้ปัญหาวิกฤตอาหาร  ภูมิอากาศผันผวน และหน้าดินกร่อนทะลาย แต่การประเมินพบว่า พวกมันไม่ได้ให้ผลตามคำสัญญา

The report claims that hunger has reached "epic proportions" since the technology was developed. Besides this, only two GM "traits" have been developed on any significant scale, despite investments of tens of billions of dollars, and benefits such as drought resistance and salt tolerance have yet to materialise on any scale.
รายงานได้อ้างว่า ความหิวโหยได้ถึงขั้น “ปริมาณมหากาพย์” ตั้งแต่เทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้น   นอกจากนี้ มีเพียงจีเอ็ม 2 “สายพันธุ์” ที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นในอัตราที่มีนัยสำคัญ ทั้งๆ ที่มีการลงทุนนับหมื่นล้านเหรียญ และผลประโยชน์ เช่น ความทนสภาพแห้งแล้ง และทนต่อดินเค็ม ก็ยังไม่ไปถึงไหน

Most worrisome, say the authors of the Global Citizens' Report on the State of GMOs, is the greatly increased use of synthetic chemicals, used to control pests despite biotech companies' justification that GM-engineered crops would reduce insecticide use.
สิ่งที่น่ากังวลที่สุด, ผู้เขียนรายงานของพลเรือนโลกเรื่องสภาวะของ จีเอ็มโอ กล่าว, คือ การใช้สารเคมีสังเคราะห์ ที่เคยใช้เพื่อควบคุมแมลงเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทั้งๆ ที่บริษัทไบโอเทค (เทคโนโลยีชีวภาพ) ได้อ้างว่า พืชที่ได้รับการตัดแต่งทางพันธุกรรม จะช่วยลดการใช้ยาฆ่าแมลง

In China, where insect-resistant Bt cotton is widely planted, populations of pests that previously posed only minor problems have increased 12-fold since 1997. A 2008 study in the International Journal of Biotechnology found that any benefits of planting Bt cotton have been eroded by the increasing use of pesticides needed to combat them.
ในประเทศจีน, ที่ซึ่งฝ้าย บีที ที่ต่อต้านแมลง ได้ถูกเพาะปลูกอย่างแพร่หลาย, พบว่า ประชากรแมลงที่แต่ก่อนเพียงสร้างปัญหาเล็กน้อย ได้เพิ่มปริมาณมากขึ้นถึง 12 เท่า ตั้งแต่ปี 1997 (พ.ศ. 2540)   การศึกษาในปี 2008 พิมพ์ใน International Journal of Biotechnology พบว่า ผลประโยชน์ของการปลูกฝ้ายบีที ได้ถูกกัดกร่อนด้วยการใช้ยาฆ่าแมลงเพิ่มมากขึ้นเพื่อกำจัดพวกมัน

Additionally, soya growers in Argentina and Brazil have been found to use twice as much herbicide on their GM as they do on conventional crops, and a survey by Navdanya International, in India, showed that pesticide use increased 13-fold since Bt cotton was introduced.
นอกจากนั้น เกษตรกรถั่วเหลืองในอาร์เจนตินา และบราซิล ได้ถูกพบว่า ต้องใช้ยาฆ่าวัชพืชกับถั่วเหลืองจีเอ็มมากกว่าถั่วเหลืองทั่วไปถึง 2 เท่าตัว  และการสำรวจโดย นวธัญญะนานาชาติ ในอินเดีย ได้แสดงให้เห็นว่ามีการใช้ยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นถึง 13 เท่า ตั้งแต่ฝ้ายบีที ได้ถูกนำเข้ามาปลูก

The report, which draws on empirical research and companies' own statements, also says weeds are now developing resistance to the GM firms' herbicides and pesticides that are designed to be used with their crops, and that this has led to growing infestations of "superweeds", especially in the US.
รายงานฉบับนี้ ซึ่งใช้ข้อมูลจากงานวิจัยเชิงประจักษ์และแถลงการณ์ของบริษัทเอง ก็ได้กล่าวว่า ตอนนี้วัชพืชกำลังพัฒนาตัวเองให้ต่อต้านยาปราบวัชพืชและแมลงที่บริษัทจีเอ็มได้ออกแบบ เพื่อใช้กับพืชของพวกเขา และว่า นี่จะนำไปสู่การขยายการรังควานของ “ซุปเปอร์วัชพืช” มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐฯ

Ten common weeds have now developed resistance in at least 22 US states, with about 6m hectares (15m acres) of soya, cotton and corn now affected.
ปัจจุบัน วัชพืชร่วม 10 ชนิด ได้พัฒนาภูมิต้านทานในอย่างน้อย 22 รัฐในสหรัฐฯ ซึ่งกระทบถั่วเหลือง ฝ้าย และข้าวโพดบนพื้นที่ 6 ล้านเฮคเตอร์ (15 ล้านเอเคอร์)

Consequently, farmers are being forced to use more herbicides to combat the resistant weeds, says the report. GM companies are paying farmers to use other, stronger, chemicals, they say. "The genetic engineering miracle is quite clearly faltering in farmers' fields," add the authors.
ผลคือ เกษตรกรจะถูกบังคับให้ใช้ยาฆ่าวัชพืชมากยิ่งขึ้น เพื่อปราบปรามวัชพืช  ผู้เขียนรายงานกล่าว บริษัทจีเอ็ม กำลังจ่ายเงินให้เกษตรกรใช้สารเคมีอื่นที่แรงกว่า “มหัศจรรย์การตัดแต่งพันธุกรรม กำลังสะดุดอย่างชัดเจนในไร่นาของเกษตรกร”

The companies have succeeded in marketing their crops to more than 15 million farmers, largely by heavy lobbying of governments, buying up local seed companies, and withdrawing conventional seeds from the market, the report claims. Monsanto, Dupont and Syngenta, the world's three largest GM companies, now control nearly 70% of global seed sales. This allows them to "own" and sell GM seeds through patents and intellectual property rights and to charge farmers extra, claims the report.
บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการขายพืชแก่เกษตรกรกว่า 15 ล้านคน ส่วนใหญ่ด้วยการวิ่งเต้นอย่างหนักหน่วงของรัฐบาล กว้านซื้อบริษัทเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่น และถอนเมล็ดพันธุ์ธรรมดาออกจากตลาด   มอนซานโต ดูปองต์ และซินเจนตา เป็นสามบริษัทจีเอ็มยักษ์ใหญ่ที่สุดของโลก ปัจจุบัน ควบคุมตลาดค้าเมล็ดในโลกเกือบ 70%  นี่เป็นการอนุญาตให้บริษัทเหล่านี้ “เป็นเจ้าของ” และขายเมล็ดจีเอ็ม ด้วยการจดลิขสิทธิ์กลายเป็นสิทธิ์สมบัติทางปัญญา ทำให้สามารถเพิ่มราคาขายกับเกษตรกร

The study accuses Monsanto of gaining control of over 95% of the Indian cotton seed market and of massively pushing up prices. High levels of indebtedness among farmers is thought to be behind many of the 250,000 deaths by suicide of Indian farmers over the past 15 years.
รายงานได้กล่าวหา มอนซานโต ว่าได้ควบคุมตลาดเมล็ดฝ้ายของอินเดียกว่า 95%  และได้ผลักดันให้ราคาสูงขึ้นอย่างมหาศาล  การที่เกษตรกรติดหนี้สินในอัตราสูง ถูกคาดว่าเป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายของเกษตรกร 250,000 คน ในกว่า 15 ปีก่อน

The report, which is backed by Friends of the Earth International, the Center for Food Safety in the US, Confédération Paysanne, and the Gaia foundation among others, also questions the safety of GM crops, citing studies and reports which indicate that people and animals have experienced apparent allergic reactions.
รายงานนี้ ซึ่งสนับสนุนโดย Friends of the Earth International, the Center for Food Safety ในสหรัฐฯ Confédération Paysanne และ Gaia foundation ในบรรดาองค์กรอื่นๆ ได้ตั้งคำถามถึงความปลอดภัยของพืชจีเอ็ม โดยอ้างงานศึกษาและรายงานต่างๆ ที่แสดงให้เห็นว่า คนและสัตว์ ได้เกิดมีอาการปฏิกิริยาภูมิแพ้

But it suggests scientists are loath to question the safety aspects for fear of being attacked by establishment bodies, which often receive large grants from the companies who control the technology.
แต่รายงานแนะว่า นักวิทยาศาสตร์ไม่เต็มใจที่จะตั้งคำถามความปลอดภัยนี้ เพราะกลัวว่าจะถูกคุกคามโดยองค์กร/สถาบัน ที่มักได้รับเงินทุนมหาศาลจากบริษัทที่ควบคุมเทคโนโลยีเหล่านี้

Monsanto disputes the report's findings: "In our view the safety and benefits of GM are well established. Hundreds of millions of meals containing food from GM crops have been consumed and there has not been a single substantiated instance of illness or harm associated with GM crops."
มอนซานโต แย้งสิ่งที่รายงานเขียน “ในความเห็นของเรา ความปลอดภัยและผลประโยชน์ของจีเอ็ม ได้เป็นที่ประจักษ์แน่ชัดอยู่แล้ว  อาหารนับร้อยล้านมื้อประกอบจากพืชจีเอ็ม ได้ถูกบริโภค และไม่มีความเจ็บป่วยแม้แต่รายเดียวที่พิสูจน์ได้ว่าเกี่ยวข้องกับพืชจีเอ็ม”

It added: "Last year the National Research Council, of the US National Academy of Sciences, issued a report, The Impact of Genetically Engineered Crops on Farm Sustainability in the United States, which concludes that US farmers growing biotech crops 'are realising substantial economic and environmental benefits – such as lower production costs, fewer pest problems, reduced use of pesticides, and better yields – compared with conventional crops'."
และเสริมว่า “ปีที่แล้ว สภาวิจัยแห่งชาติ ของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐฯ ได้เผยแพร่รายงาน “ผลกระทบของพืชที่ตัดแต่งทางพันธุกรรมต่อความยั่งยืนของไร่นาในสหรัฐฯ” ซึ่งสรุปว่า เกษตรกรสหรัฐฯ ที่ปลูกพืชชีวเทค กำลังได้รับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นกอบเป็นกำ—เช่น ลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาแมลง ลดการใช้ยาฆ่าแมลง และได้ผลผลิตดีขึ้น—เมื่อเทียบกับพืชธรรมดา’”

David King, the former UK chief scientist who is now director of the Smith School of Enterprise and the Environment at Oxford University, has blamed food shortages in Africa partly on anti-GM campaigns in rich countries.
เดวิด คิง อดีตหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการของ สมิธวิทยาลัยแห่งวิสาหกิจและสิ่งแวดล้อม (Smith School of Enterprise and the Environment) ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ได้ตำหนิการขาดแคลนอาหารในอัฟริกาว่า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการต่อต้านจีเอ็มในประเทศที่ร่ำรวย

But, the report's authors claim, GM crops are adding to food insecurity because most are now being grown for biofuels, which take away land from local food production.
แต่ผู้เขียนรายงานอ้างว่า พืชจีเอ็ม กำลังเติมความไม่มั่นคงทางอาหาร เพราะปัจจุบัน ส่วนใหญ่ถูกปลูกเพื่อทำเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งจะแย่งที่ดินจากการปลูกพืชท้องถิ่น

Vandana Shiva, director of the Indian organisation Navdanya International, which co-ordinated the report, said: "The GM model of farming undermines farmers trying to farm ecologically. Co-existence between GM and conventional crops is not possible because genetic pollution and contamination of conventional crops is impossible to control.
วันทนา ศิวะ ผู้อำนวยการขององค์กรชาวอินเดีย นวธัญญะนานาชาติ ซึ่งเป็นผู้ประสานการรายงานนี้ กล่าวว่า “โมเดลจีเอ็มเพื่อการเพาะปลูก ได้กัดกร่อนความพยายามของเกษตรกรในการเพาะปลูกเชิงนิเวศ   การอยู่ร่วมกันระหว่างพืชจีเอ็มและพืชธรรมดาย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะ มลภาวะทางพันธุกรรมและการปนเปื้อนพืชธรรมดา จะทำให้ไม่มีทางควบคุมได้เลย

"Choice is being undermined as food systems are increasingly controlled by giant corporations and as chemical and genetic pollution spread. GM companies have put a noose round the neck of farmers. They are destroying alternatives in the pursuit of profit."
“ทางเลือกถูกกัดเซาะ เมื่อระบบอาหารกำลังถูกควบคุมมากขึ้นโดยบรรษัทยักษ์ใหญ่ และเมื่อมลภาวะจากสารเคมีและพันธุกรรมแผ่ขยายกว้าง   บริษัทจีเอ็ม ได้ทำบ่วงเชือกเตรียมแขวนคอเกษตรกร   พวกเขากำลังทำลายทางเลือกเพียงเพื่อไล่ล่ากำไร”

© 2011 Guardian Media
ดรุณี/10-22-11