วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

287. เสียงแห่งจิตสำนึก...เพื่อผู้ไร้เสียง: อึังชุ่ยเม้ง, คู่ชีวิตของ สมบัด สมพอน


287.  Voice of Conscience…for the Voiceless:  Shui-Meng Ng, Wife of Sombath Somphone
Letter from Shui Meng on the International Day of the Disappeared
Posted on August 30, 2013 by rsbtws
จดหมายจาก ชุ่ยเม้ง ในวันผู้หายสาบสูญสากล
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

Today (August 30) is the International Day of the Disappeared. Shui Meng has shared the following letter with friends and colleagues to call attention to this terrible practice.
๓๐ สิงหาคม เป็นวันของผู้หายสาบสูญนานาชาติ.  ชุ่ยเม้ง (ภรรยาของ สมบัด สมพอน...ผู้ถูกลักตัวและสูญหายไป ตั้งแต่วันที่ ๑๕ ธค ๒๕๕๕, เป็นเวลา ๘ เดือนครึ่งแล้ว) ได้เขียนจดหมายนี้ แบ่งปันกับเพื่อนและผู้ร่วมงาน เพื่อเรียกร้องให้ใส่ใจกับวิธีปฏิบัติที่น่าสะพรึงกลัวนี้.
A number of groups and media organisations are doing research on the number and nature of Enforced Disappearances in Laos. If you have any verifiable, documented evidence, please share it.
หลายกลุ่มและองค์กรสื่อ กำลังทำการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับจำนวนและลักษณะของการ บังคับให้สาบสูญ ในลาว.  หากคุณมีหลักฐาน บันทึก ใดๆ ที่ พิสูจน์ได้, โปรดแบ่งปัน.

Dear All,
สวัสดีทุกท่าน,

August 30 marks the International Day of the Disappeared. In many Asian countries, there are activities marking the day to show solidarity with the victims of Enforced Disappearances.
๓๐ สิงหาคม เป็นวันผู้สาบสูญสากล.  ในหลายประเทศในเอเชีย, มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ในวันนี้ เพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับเหยื่อของการถูกบังคับให้สูญหาย.
Although Laos is a signatory to the UN Convention Against Enforced Disappearances, and many other human rights conventions and protocols, and despite receiving substantial assistance from development partners for awareness and capacity building on HR issues, there is little awareness or even recognition that Enforced Disappearance is an HR issue in Laos.
แม้ว่าลาวจะเป็นผู้ร่วมลงนามหนึ่งใน อนุสัญญาต่อต้านการบังคับให้สาบสูญ ของสหประชาชาติ, และอนุสัญญาและพิธีสารสิทธิมนุษยชนอื่นๆ อีกหลายฉบับ, และแม้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือมากมาย จากภาคีการพัฒนา เพื่อสร้างความตื่นตัวและสมรรถนะเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชน, ก็มีความตื่นตัวเพียงเล็กน้อย หรือ แม้แต่จะยอมรับว่า การบังคับให้สาบสูญ เป็นประเด็นสิทธิมนุษยชน ในลาว.
In fact, in HR terms Enforced Disappearance is considered the “Mother of HR Violations” because a disappeared person is a “non-person,” and until the person’s whereabouts and proof of life or otherwise are known, the family is left in limbo; left waiting without any possibility of “closure”; left hanging between hope and despair. Nobody, except those who have experienced such violations, can even describe the agony and trauma they face every minute of the day, and outsiders can never understand those feelings and emotions.
อันที่จริง, ในแง่ของ สิทธิมนุษยชน การบังคับให้สาบสูญ เป็น “มารดาของการละเมิดสิทธิมนุษยชนอื่นๆ” เพราะ ผู้หายสาบสูญไป เป็น “ไม่มีความเป็นบุคคล” (อ-บุคคล), และ จนกว่าจะรู้ว่า บุคคลนั้นอยู่ที่ไหน และ พิสูจน์ได้ว่ายังมีชีวิตอยู่ หรือ เป็นอื่น, ครอบครัวนั้นจะถูกทอดทิ้งให้ตกนรกทั้งเป็น; ถูกทอดทิ้งให้ตั้งหน้าตั้งตารอคอยโดยปราศจากความเป็นไปได้ใดๆ ที่จะมีการ “ปิดฉาก”; ถูกทอดทิ้งให้ห้อยแขวนอยู่ระหว่างความหวังและความสิ้นหวัง.  ไม่มีใคร, ยกเว้นผู้ที่มีประสบการณ์ของการละเมิดเช่นนี้, จะสามารถแม้แต่บรรยายความเจ็บปวดทรมานและความชอกช้ำ ที่พวกเขาต้องเผชิญทุกๆ นาที ในแต่ละวัน, และคนข้างนอกก็ไม่มีทางเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้นเลย.
I write this not because I am venting my feelings, but to urge you all, as development practitioners and HR advocates, to do more about raising awareness of the issue of disappearances in the HR context of Laos.
ดิฉันเขียน ไม่ใช่เพราะดิฉันต้องการระบายความรู้สึกของดิฉัน, แต่เพื่อเร่งเร้าให้พวกท่านทั้งหลาย, ในฐานะนักพัฒนาและนักรณรงค์ สิทธิมนุษยชน, ให้ทำอะไรมากกว่านี้เกี่ยวกับการปลุกความตื่นตัวถึงประเด็นของ การหายสาบสูญในบริบทของสิทธิมนุษยชนในลาว.
There are many cases of disappearances in Laos, more than are admitted, because the family members of the victims are too afraid to speak or reach out for help. Recently, I wanted to reach out regarding one case which was reported to the Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances, but was told that the family wants it to remain confidential. Such is the scale of fear, and that is why the perpetrators in Laos can continue to act with impunity and know that they will face little or no consequences.
มีหลายกรณีของการหายสาบสูญในลาว, มากกว่าที่ได้ถูกยอมรับไปแล้ว, เพราะสมาชิกในครอบครัวของเหยื่อ ต่างหวาดกลัวเกินกว่าที่จะพูด หรือ ยื่นมือออกไปขอความช่วยเหลือ.  เมื่อเร็วๆ นี้, ดิฉันต้องการจะยื่นมือออกไปช่วยกรณีหนึ่ง ที่ถูกรายงานต่อ คณะทำงานเรื่อง การหายสาบสูญด้วยการถูกบังคับ หรือ ด้วยความไม่สมัครใจ, แต่กลับถูกบอกว่า ครอบครัวดังกล่าวไม่ต้องการเปิดเผยตัวเอง.  นี่คือระดับของความหวาดกลัว, และ นั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไม ผู้กระทำผิดในลาว สามารถปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีความผิด และ รู้ว่า ไม่มีอะไรจะเกิดขึ้นกับพวกเขา หรือ หากมี ก็เพียงนิดหน่อย.
I have spent my entire working life working on development in Laos and elsewhere to improve the lives and rights of the poor and disenfranchised, and I have been very proud of our mission. So, I urge you all, my development colleagues, to take a firmer and more forthright stand on the issue of disappearances with your Lao partners at the national and at the local levels. I at least have a voice, please be the voice and conscience of those Lao people who are voiceless and afraid.
ดิฉันได้ใช้ชีวิตทำงานทั้งหมด ทำงานพัฒนาในลาวและที่อื่นๆ เพื่อยกระดับชีวิตและสิทธิของคนยากจนและคนที่ถูกกีดกัน, และดิฉันก็ภาคภูมิใจในภารกิจของเรา.  ดังนั้น, ดิฉันขอเร่งเร้าท่านทั้งหลาย, ผู้ร่วมงานในการพัฒนาของดิฉัน, ให้มีจุดยืนที่หนักแน่นขึ้น และ เปิดเผยเฉียบขาดยิ่งขึ้น ต่อประเด็นการหายสาบสูญ กับภาคีลาวของท่านในระดับชาติ และ ระดับท้องถิ่น.  ดิฉัน อย่างน้อย เป็นเสียงหนึ่ง, โปรดเป็นเสียงและจิตสำนึกของประชาชนชาวลาวเหล่านั้น ผู้ไร้เสียงและหวาดกลัว.

Yours sincerely, Shui Meng
นับถือ, ชุ่ยเม้ง

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

286. หิงสา งัดข้อ อหิงสา : อเมริกา และ ชิลี


286.  Violence vs Non-violence : America and Chile

A Time for Creative Suffering: Martin Luther King’s Words in a Surveillance World
เวลาสำหรับความทุกข์สร้างสรรค์: คำพูดของมาร์ติน ลูเธอร์ คิง ในโลกสอดแนม
-แอเรียล ดอร์ฟแมน

So much has changed since that hot day in August 1963 when Martin Luther King delivered his famous words from the steps of the Lincoln Memorial. A black family lives in the White House and official segregation is a thing of the past. Napalm no longer falls on the homes and people of Vietnam and the president of that country has just visited the United States in order to seek “a new relationship.”
โลกเปลี่ยนไปมากตั้งแต่วันร้อนระอุในเดือนสิงหาคม ๒๕๐๖ เมื่อ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง เปล่งคำพูดที่เลื่องลือต่อมา จากขั้นบันไดของอนุสรณ์สถานลินคอล์น.  (ปัจจุบัน)  ครอบครัวผิวดำหนึ่ง อาศัยอยู่ในทำเนียบขาว และ การแยกผิวอย่างเป็นทางการ กลายเป็นเรื่องในอดีต.  ระเบิดนาปาล์ม ไม่ตกลงในบ้านและประชาชนเวียดนามอีกต่อไป และ ประธานาธิบดีของประเทศนั้นก็เพิ่งมาเยือนสหรัฐฯ เพื่อแสวงหา “ความสัมพันธ์ใหม่”.
A health-care law has been passed that guarantees medical services to many millions who, 50 years ago, were entirely outside the system. Gays were then hiding their sexuality everywhere -- the Stonewall riots were six years away -- and now the Supreme Court has recognized that same-sex couples are entitled to federal benefits. Only the year before, Rachel Carson had published her groundbreaking ecological classic Silent Spring, then one solitary book.  Today, there is a vigorous movement in the land and across the Earth dedicated to stopping the extinction of our planet.
กฎหมายสุขภาพเพิ่งออกมา ซึ่งให้หลักประกันการบริการแพทย์แก่ประชาชนหลายล้านคน ผู้, เมื่อ ๕๐ ปีก่อน, อยู่นอกระบบโดยสิ้นเชิง.  ตอนนั้น เกย์ก็ยังต้องแอบซ่อนเพศวิถีของตนทุกแห่งหน—จลาจล สโตนวอลล์ ก็อยู่ห่างออกไป ๖ ปี—และตอนนี้ ศาลสูงสุดได้ยอมรับให้คู่สมรสเพศเดียวกันได้รับผลประโยชน์จากรัฐบาลกลางด้วย.   เพียงก่อนหน้าหนึ่งปี ตอนนั้น, เรเชล คาร์สัน ได้ตีพิมพ์หนังสือคลาสสิคเชิงนิเวศสะท้านโลก ของเธอ “ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบกริบ”, ตอนนั้น เป็นหนังสือโดดเดี่ยวหนึ่งเดียว.   ทุกวันนี้, มีการเคลื่อนไหวที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาทั่วแผ่นดิน และ ทั่วโลก ที่อุทิศตัวให้กับการหยุดยั้งการล้างผลาญดับสูญพิภพของเรา.
In 1963, nuclear destruction threatened our species every minute of the day and now, despite the proliferation of such weaponry to new nations, we do not feel that tomorrow is likely to bring 10,000 Hiroshimas raining down on humanity.
ในปี ๒๕๐๖, การทำลายล้างด้วยอาวุธนิวเคลียร์ขู่คุกคามสายพันธุ์ของเราอยู่ทุกนาทีแต่ละวัน  และ ตอนนี้, แม้จะมีการขยายกำลังยุทโธปกรณ์ในประเทศใหม่ๆ, เราไม่รู้สึกว่า พรุ่งนี้ อาจนำมาซึ่งห่าฝนเทียบได้กับ ๑๐,๐๐๐ ฮิโรชิมา ตกลงสู่มนุษยชาติ.
So much has changed -- and yet so little.
หลายสิ่งหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงมากมาย—แต่ก็ยังเปลี่ยนไปน้อยมาก.
The placards raised in last week’s commemorative march on Washington told exactly that story: calls for ending the drone wars in foreign lands; demands for jobs and equality; protests against mass incarceration, restrictions on the right to an abortion, cuts to education, assaults upon the workers of America, and the exploitation and persecution of immigrants; warnings about the state-by-state spread of voter suppression laws. And chants filling the air, rising above multiple images of Trayvon Martin, denouncing gun violence and clamoring for banks to be taxed. Challenges to us all to occupy every space available and return the country to the people.
แผงป้ายยกชูขึ้นในการเดินขบวนรำลึกเมื่อสัปดาห์ก่อน สู่วอชิงตัน เล่าเรื่องเช่นนั้น: เรียกร้องให้ยุติสงครามลำบินติดอาวุธไร้คนขับในต่างแดน; เรียกร้องให้มีงานและความเท่าเทียม; ประท้วงคัดค้านการกักขังหมู่, การจำกัดสิทธิ์ในการทำแท้ง, การตัดงบการศึกษา, การข่มเหงคนงานแห่งอเมริกา, และการกดขี่และประหัตประหารคนย้ายถิ่น; คำเตือนเกี่ยวกับการแพร่ขยายของกฎหมายปราบปรามผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในแต่ละรัฐ.  และในอากาศที่เต็มไปด้วยเสียงร้องเป็นจังหวะ, ลอยเหนือรูปภาพหลากหลายของ เทรวอน มาร์ติน, ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงด้วยปืน และ เสียงโห่ร้องกึกก้องให้เก็บภาษีธนาคาร.  เป็นการท้าทายให้พวกเราทั้งหมด ยึดพื้นที่ทุกหัวระแหงที่มีอยู่ และ คืนประเทศนี้แก่ประชาชน.
Yes, so much has changed -- and yet so little.
ใช่แล้ว, หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไป—แต่แล้วก็เปลี่ยนแปลงน้อยมาก.
In my own life, as well.
ในชีวิตของผม, ก็เช่นเดียวกัน.

Words for an Assassination Moment ... คำพูดสำหรับห้วงเวลาแห่งการลอบสังหาร

I wasn’t able to attend last week’s march, but I certainly would have, if events of a personal nature hadn’t interfered. It was just a matter of getting in a car with my wife, Angélica, and driving four hours from our home in Durham, North Carolina.
ผมไม่สามารถเข้าร่วมในการเดินขบวนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว, แต่ผมต้องเข้าร่วมแน่นอน, หากไม่ได้ถูกแทรกแซงด้วยเหตุการณ์ส่วนตัว.  มันเป็นเพียงแค่การขึ้นรถกับภรรยาของผม, แองเจลิกา, และขับรถ ๔ ชั่วโมงจากบ้านของเราในเดอร์แฮม, แครอไลนาเหนือ.
Fifty years ago, that would have been impossible.  We were living in distant Chile and didn’t even know that a march on Washington was taking place. I was 21 years old at the time and, like so many of my generation, entangled in the struggle to liberate Latin America.  The speech by King that was to influence my life so deeply did not even register with me.
ห้าสิบปีก่อน, นั่นคงเป็นไปไม่ได้.  เรายังอาศัยอยู่ในแดนไกลประเทศชิลี และไม่รู้แม้กระทั่งว่ามีการเดินขบวนสู่วอชิงตันครั้งนั้น.   ผมอายุ ๒๑ ตอนนั้น, เช่นเดียวกับหลายคนรุ่นเดียวกัน, พัวพันอยู่กับการดิ้นรนต่อสู้เพื่อปลดแอกลาตินอเมริกา.  สุนทรพจน์ของคิง ที่กลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของผมอย่างลึกซึ้ง ขณะนั้น ไม่ได้แม้แต่ลงทะเบียนในหัวของผม.
What I can remember with ferocious precision, however, is the place, the date, and even the hour when, five years later, I had occasion to listen for the first time to those “I have a dream” words, heard the incantations of that melodious baritone, that emotional certainty of victory. I can remember the occasion so clearly because it happened to be April 4, 1968, the day Martin Luther King was killed, and ever since, his dream and his death have been grievously conjoined in my mind as they still are, almost half a century later.
แต่สิ่งที่ผมจำได้อย่างแม่นยำอย่างดุเดือด คือ สถานที่, วันที่, และแม้แต่ชั่วโมงเมื่อ, ห้าปีต่อมา, ผมเผอิญได้ฟังเป็นครั้งแรกคำพูดที่ว่า “ผมมีความฝันหนึ่ง”, ได้ยินเสียงแบริโทนดั่งเสียงสวดมนตร์ที่มีท่วงทำนองไพเราะ, ที่เต็มไปด้วยอารมณ์แน่ใจในชัยชนะ.  ผมจำได้ถึงวาระนั้นได้อย่างแจ่มชัด เพราะ มันเกิดขึ้นในวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๑๑, วันที่มาร์ติน ลูเธอร์ คิงถูกสังหาร, และ ตั้งแต่นั้นมา, ความฝันของเขาและความตายของเขา ได้เชื่อมต่อกันอย่างเศร้าสลดในจิตใจของผมอย่างที่มันเป็นอยู่ตอนนี้, เกือบครึ่งศตวรรษให้หลัง.
I recall how I was sitting with Angélica and our one-year-old child, Rodrigo, in a living room high up in the hills of Berkeley, the university town in California.  We had arrived from Chile barely a week earlier. Our hosts, an American family who generously offered us temporary lodgings while our apartment was being readied, had switched on the television.  We all solemnly watched the nightly news, probably delivered by Walter Cronkite, the famed CBS anchorman. And there it was, the murder of Martin Luther King in that Memphis hotel, and then came the first reports of riots all over America and, finally, a long excerpt from his “I have a dream” speech.
ผมยังจำได้ว่า ผมนั่งอยู่กับแองเจลิกาและลูกน้อยหนึ่งขวบ, ร็อดริโก, ในห้องนั่งเล่นที่อยู่สูงขึ้นไปในเนินเขาของเบอร์กลีย์, เมืองมหาวิทยาลัยในแคลิฟอร์เนีย.   เราเพิ่งมาจากชิลีได้ยังไม่ครบสัปดาห์.   เจ้าภาพของเรา, ครอบครัวชาวอเมริกัน ผู้เอื้ออารี ได้ให้ที่พักพิงชั่วคราวกับเรา ในขณะที่อพาร์ตเมนท์ของเรายังไม่เรียบร้อย, ได้เปิดโทรทัศน์.  พวกเราทั้งหมดกำลังดูข่าวยามค่ำ, คงแถลงโดย วอลเตอร์ ครองไคท์, โฆษกอ่านข่าวผู้เรืองนามของ ซีบีเอส.  และแล้วมันก็โผล่ขึ้นมา, การฆาตกรรม มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ในโรงแรมเมมฟิส, และตามด้วยข่าวการจลาจล ที่แพร่ขยายไปทั่วอเมริกา และ, ในที่สุด, เป็นการถ่ายทอดสุนทรพจน์บทยาวของเขา “ผมมีความฝันหนึ่ง”.
It was only then, I think, that I began to realize who Martin Luther King had been, what we had lost with his departure from this world, the legend he was becoming before my very eyes. In later years, I would often return to that speech and would, on each occasion, hew from its mountain of meanings a different rock upon which to stand and understand the world.
ตอนนั้นเองที่, ผมคิดว่า, ผมเริ่มตระหนักว่า ใครคือ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง และเป็นมาอย่างไร, อันเป็นสิ่งที่ผมได้สูญเสียไปพร้อมกับการไปจากโลกนี้ของเขา, เขากำลังกลายเป็นตำนานต่อหน้าต่อตาของผม.  ในปีหลังๆ, ผมมักกลับไปที่สุนทรพจน์นั้น และจะ, ในแต่ละโอกาส, หักล้างถางพงจากขุนเขาแห่งความหมายอันมากมาย เพื่อแสวงหาหินก้อนใหม่ที่จะเป็นฐานให้ผมยืนและเข้าใจโลกได้.
Beyond my amazement at King’s eloquence, my immediate reaction was not so much to be inspired as to be puzzled, close to despair. After all, the slaying of this man of peace was answered not by a pledge to persevere in his legacy, but by furious uprisings in the slums of black America.  The disenfranchised were avenging their dead leader by burning down the ghettos in which they felt themselves imprisoned and impoverished, using the fire this time to proclaim that the non-violence King had advocated was useless, that the only way to end inequity in this world was through the barrel of a gun, that the only way to make the powerful pay attention was to scare the hell out of them.
เหนือกว่าความอัศจรรย์ใจต่อคำพูดโน้มน้าวจับใจของ คิง, ปฏิกิริยาในบัดดลของผม ไม่ได้อยู่ที่แรงบันดาลใจ แต่เป็นความฉงน, เกือบเป็นความสิ้นหวัง.  และแล้ว, การสังหารชายแห่งสันติภาพผู้นี้ ถูกขานรับไม่ใช่ด้วยการประกาศว่าจะพากเพียรอดทน/ขันติ อันเป็นตำนานของเขา, แต่ด้วยการจลาจลกราดเกรี้ยวในสลัมของอเมริกาผิวดำ.  ผู้ด้อยโอกาสที่ถูกกีดกันสิทธิ์ กำลังล้างแค้นให้ผู้นำของพวกเขาที่ตายไป ด้วยการเผาสลัมแออัดที่พวกเขาอยู่อาศัยและรู้สึกว่า มันเป็นคุกกักขังและทำให้พวกเขายากจน, การใช้ไฟครั้งนี้ เพื่อประกาศว่า อหิงสาที่ คิง ได้รณรงค์มาตลอด ใช้ไม่ได้, ว่า ทางเดียวที่จะยุติความไม่เท่าเทียมในโลกนี้ คือ ด้วยกระบอกปืน, ว่า ทางเดียวที่ผู้มีอำนาจจะหันมาสนใจ คือ ทำให้พวกเขาตื่นตระหนกพรั่นพรึง.
King’s assassination, therefore, savagely brought up a question that was already bedeviling me -- and so many other activists -- in the late sixties: What was the best method to achieve radical change? Could we picture a rebellion in the way that Martin Luther King had envisioned it, without drinking from the cup of bitterness and hatred, without treating our adversaries as they had treated us? Or did the road into the palace of justice and the bright day of brotherhood inevitably lead through fields of violence?  Was violence truly the unavoidable midwife of revolution?
ด้วยเหตุนี้, การลอบสังหาร คิง ได้ตั้งถามดุร้าย ดังที่ได้สิงในตัวผมอยู่แล้ว—และในนักกิจกรรมอีกหลายต่อหลายคน—ในยุคทศวรรษ ๒๕๐๓- (1960’s): อะไรเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดถอนรากถอนโคน?  เรามองเห็นภาพการปฏิวัติตามวิสัยทัศน์ของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง, โดยปราศจากการดื่มความขมขื่นและเกลียดชัง, ปราศจากการกระทำต่อปฏิปักษ์ของเรา ดังที่พวกเขาได้กระทำต่อพวกเรา ได้ไหม?  หรือ ถนนสู่วังเวียงแห่งความยุติธรรม และ วันแห่งแสงสว่างของภราดรภาพ ได้นำเราให้ผ่านท้องทุ่งแห่งความรุนแรงอย่างเลี่ยงไม่ได้?  ความรุนแรงเป็นหมอตำแยที่เลี่ยงไม่ได้ของการปฏิวัติหรือ?

Martin Luther King and the Dream of a Revolutionary Chile
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง และ ความฝันของการปฏิวัติใน ชิลี

These were questions that, back in Chile, I would soon be forced to answer, not through cloudy theoretical musings, but while immersed in the day-to-day reality of history-in-the-making.  I’m talking about the years after 1970 when Salvador Allende was elected Chile’s president and we became the first country to try to build socialism through peaceful means. Allende’s vision of social change, elaborated over decades of struggle and thought, was similar to King’s, even though they came from very different political and cultural traditions.
เหล่านี้เป็นคำถามที่, ย้อนกลับไปใน ชิลี, ผมจะต้องถูกบังคับให้ตอบ, ไม่ใช่ด้วยการลุยผ่านเมฆหมอกรำพึงรำพันทางทฤษฎี, แต่ท่ามกลางความจริงในชีวิตประจำวันของการสร้างประวัติศาสตร์.  ผมกำลังพูดถึงห้วงปีหลังจาก ๒๕๑๓ เมื่อ ซัลวาดอร์ อัลเลนเด ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของ ชิลี และ เราก็กลายเป็นประเทศแรก ที่พยายามสร้างสังคมนิยมด้วยสันติวิถี.   วิสัยทัศน์การเปลี่ยนสังคมของ อัลเลนเด, ซึ่งได้ประดิษฐ์ประดอยมาหลายทศวรรษด้วยการดิ้นรนต่อสู้และครุ่นคิด, คล้ายคลึงกับวิสัยทัศน์ของ คิง, แม้ว่า ทั้งสองจะมาจากขนบทางการเมืองและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันอย่างยิ่ง.
Allende, for instance, was not at all religious and would not have agreed with King that physical force must be met with soul force.  He favored instead the force of social organizing. At a time when many in Latin America were still dazzled by the armed struggle proposed by Fidel Castro and Che Guevara, however, it was Allende’s singular accomplishment to imagine the two quests of our era to be inextricably connected: the quest by the dispossessed of this Earth for more democracy as well as civil freedoms, and the parallel quest for social justice and economic empowerment.
อัลเลนเด, ยกตัวอย่าง, ไม่เชื่อศาสนาเลย และ คงไม่เห็นพ้องกับ คิง ที่ว่า พละกำลังทางกาย จะต้องเสมอกับ พละกำลังทางวิญญาณ.  เขาฝักใฝ่กับการจัดองค์กรสังคมด้วยการใช้กำลัง.  ในขณะนั้น หลายๆ คนในลาตินอเมริกา ยังคงตื่นตาตื่นใจกับการต่อสู้ติดอาวุธที่นำเสนอโดย ฟิเดล คาสโตร และ เช กูวารา, แต่, มันเป็นผลงานเดี่ยวของ อัลเลนเด ที่จินตนาการได้ว่า การแสวงหาทั้งสองทางในยุคของเรา เชื่อมต่อกันอย่างแบ่งแยกไม่ได้: การแสวงหาของเหล่าผู้ถูกกีดกันของโลก เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยเต็มใบขึ้น รวมทั้ง เสรีภาพของพลเมือง, และ การแสวงหาคู่ขนานเพื่อให้ได้สังคมเป็นธรรมและเสริมสร้างอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ.
Unfortunately, it was Allende’s fate to echo King’s.  Three years after King's death in Memphis, it was Allende’s choice to die in the midst of a Washington-backed military coup against his democratic government in the presidential palace in Santiago, Chile.
โชคไม่ดี, มันเป็นชะตากรรมของอัลเลนเด ที่เป็นเสียงสะท้อนชะตากรรมของ คิง.  สามปีหลังจากการตายของ คิง ในเมมฟิส, มันเป็นทางเลือกของ อัลเลนเด ที่จะตายท่ามกลางดารรัฐประหารโดยกองทัพที่มีวอชิงตันหนุนหลัง ต่อต้านรัฐบาลประชาธิปไตยของเขา ในทำเนียบประธานาธิบดีใน ซานติอาโก, ชิลี.
Yes, on the first 9/11 -- September 11, 1973 -- almost 10 years to the day since King’s “I have a dream” speech, Allende chose to die defending his own dream, promising us, in his last speech, that sooner, not later, más temprano que tarde, a day would come when the free men and women of Chile would walk through las amplias alamedas, the great avenues full of trees, toward a better society.
ถูกต้อง, เมื่อ 9/11 ครั้งแรก—๑๑ กันยายน ๒๕๑๖—เกือบ ๑๐ ปี หลังจากวันที่ คิง กล่าวสุนทรพจน์ “ผมมีความฝันหนึ่ง”, อัลเลนเด เลือกที่จะตาย เพื่อปกป้องความฝันของเขาเอง, ด้วยคำสัญญาในสุนทรพจน์สุดท้ายของเขา, ว่า อีกเร็วๆ นี้, ไม่ใช่ช้ากว่านี้, ..., วันหนึ่งจะมาถึง เมื่อชายและหญิงเสรีชนแห่ง ชิลี จะเดินผ่าน ..., ถนนกว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยต้นไม้, สู่สังคมที่ดีกว่า.
It was in the immediate aftermath of that terrible defeat, as we watched the powerful of Chile impose upon us the terror that we had not wanted to visit upon them, it was then, as our nonviolence was met with executions and torture and disappearances, it was only then, after that military coup, that I first began to seriously commune with Martin Luther King, that his speech on the steps of the Lincoln Memorial came back to haunt me. It was as I left Chile and headed, with wife and child, into an exile lasting many years that King’s voice and message began to filter fully, word by word, into my life.
มันเป็นช่วงเวลาทันทีทันใดหลังจากการพ่ายแพ้ที่ร้ายกาจนั้น, ในขณะที่เราเฝ้าดูผู้เรืองอำนาจของ ชิลี ถาโถมความรุนแรงที่น่าสพรึงกลัวใส่พวกเรา โดยไม่ได้รับเชิญ, ช่วงนั้นแหละ, ในขณะที่อหิงสาของพวกเรา ถูกตอบรับด้วยการประหารชีวิตและการทรมานและการหายสาบสูญ, มันถึงตอนนั้นเท่านั้น, หลังจากรัฐประหารด้วยกองทัพ, ที่ผมเป็นครั้งแรก เริ่มสื่อสารกับ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง อย่างจริงจัง, ที่สุนทรพจน์ของเขา ณ ขั้นบันไดของอนุสรณ์สถานลินคอล์น ได้กลับมาหลอนผม.  มันเป็นเวลาที่ผมได้ละลา ชิลี และมุ่งสู่, พร้อมกับภรรยาและลูก, การเนรเทศ ซึ่งกินเวลาหลายปี ที่เสียงและสาส์นของ คิง เริ่มซึมซาบในชีวิตของผมเต็มที่, ทุกๆ คำพูด.
If ever there were a situation where violence could be justified, it would have been against the military junta in Chile led by Augusto Pinochet. He and his generals had overthrown a constitutional government and were now murdering, torturing, imprisoning, and persecuting citizens whose radical sin had been to imagine a world where you would not need to massacre your opponents in order to allow the waters of justice to flow. 
หากมีสถานการณ์หนึ่งใด ที่มีความชอบธรรมให้ใช้ความรุนแรงได้, มันคงเป็นการต่อต้านกองทหารพรานใน ชิลี ที่นำโดย ออกัสโต ปิโนเช่.  เขาและเหล่านายพลของเขา ได้โค่นรัฐบาลที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ และ ต่อมาก็ทำการฆาตกรรม, ทารุณกรรม, จำขัง, และ ปราบปรามพลเมือง ผู้ซึ่งบาปสุดโต่งของพวกเขา คือ จินตนาการโลกใบหนึ่ง ที่คุณไม่จำเป็นต้องสังหารหมู่คู่อริ เพื่อปล่อยให้สายน้ำแห่งความยุติธรรมไหลผ่านได้.

The Dogs of Mississippi and Valparaiso / สุนัขแห่งมิสซิสซิปปี และ วาลปาไรโซ

And yet, very wisely, almost instinctively, the Chilean resistance embraced a different route: slowly, resolutely, dangerously taking over every possible inch of public space in the country, isolating the dictatorship inside and outside our nation, making Chile ungovernable through civil disobedience. It was not entirely different from the strategy that the civil rights movement had espoused in the United States; and, indeed, I never felt closer to Martin Luther King than during the 17 years it took us to free Chile of the dictatorship.
แต่แล้ว, อย่างชาญฉลาด เกือบตามสัญชาตญาณ, ชาวชิลีกลุ่มต่อต้าน ได้ใช้วิธีอื่น: ช้าๆ, มุ่งมั่น, อันตราย รุกคืบไปในพื้นที่สาธารณะทุกๆ นิ้วที่เข้าไปได้ในประเทศ, แยกเผด็จการทั้งในและนอกประเทศออกให้อยู่โดดเดี่ยว, ทำให้ ชิลี ปกครองไม่ได้ด้วยวิธีอารยะขัดขืน.  มันไม่ได้ต่างจากยุทธวิธีของขบวนการสิทธิพลเมือง (แบ่งผิว) ที่เจริญงอกงามในสหรัฐฯ ทั้งหมด; และ อันที่จริง ผมไม่เคยรู้สึกใกล้ชิด มาร์ติน ลูเธอร์ คิง มากไปกว่าความรู้สึกในช่วง ๑๗ ปีที่พวกเราทำการปลดปล่อย ชิลี จากเผด็จการ.
His words to the militants who thronged to Washington in 1963, demanding that they not lose faith, resonated with me, comforted my sad heart. He was speaking prophetically to me, to us, when he said, “I am not unmindful that some of you have come here out of great trials and tribulations. Some of you have come fresh from narrow cells.”
He was speaking to us, to me, when he thundered, “Some of you come from areas where your quest for freedom left you battered by the storms of persecution and staggered by the winds of police brutality. You have been the veterans of creative suffering.” He understood that more difficult than going to your first protest was awakening the following morning and heading for the next protest, and then the one after, engaging, that is, in the daily grind of small acts that can lead to large and lethal consequences.
คำพูดของเขาต่อบรรดานักต่อสู้แข็งข้อ ที่เดินแถวสู่วอชิงตันในปี ๒๕๐๖, เรียกร้องให้พวกเขาอย่าสูญศรัทธา, ส่งกระแสคลื่นเข้าจังหวะกับผม, ช่วยปลอบประโลมหัวใจอันเศร้าสร้อยของผม.  เขาพูดเชิงพยากรณ์ต่อผม, เมื่อเขาพูดว่า, “ผมไม่ใช่ไม่รู้หรอกนะว่า พวกคุณบางคน มาที่นี่ เพราะความยากแค้นแสนเข็ญ.  พวกคุณบางคน เพิ่งออกมาจากห้องกักขังแคบๆ”.   เขากำลังพูดกับพวกเรา, กับผม, เมื่อเขาแผดเสียง, “พวกคุณบางคนมาจากพื้นที่ๆ การแสวงหาอิสรภาพของคุณ ทำให้คุณถูกทุบตีด้วยพายุของการประหัตประหาร และ ถูกซัดเซด้วยลมแห่งทารุณกรรมของตำรวจ.  คุณได้เป็นทหารผ่านศึกของความทุกข์เข็ญแบบสร้างสรรค์”.   เขาเข้าใจว่า สิ่งที่ยากกว่าการไปร่วมประท้วงครั้งแรก คือ การตื่นขึ้นในเช้าวันรุ่งขึ้น และ มุ่งหน้าไปร่วมการประท้วงครั้งต่อไป, และก็ไปครั้งหลังจากนั้น, ร่วมกิจกรรมอันเป็นการกระทำเล็กๆ น้อยๆ ประจำวันที่สามารถนำไปสู่ผลพวงที่ใหญ่หลวงกว่าและถึงตายได้.
The sheriffs and dogs of Alabama and Mississippi were alive and well in the streets of Santiago and Valparaiso, and so was the spirit that had encouraged defenseless men, women, and children to be mowed down, beaten, bombed, harassed, and yet continue to confront their oppressors with the only weapons available to them: the suffering of their bodies and the conviction that nothing could make them turn back.
นายตำรวจและสุนัขของอลาบามา และ มิสซิสซิปปี ยังมีชีวิตและอยู่ดีในท้องถนนของ ซานติอาโก และ วาลปาไรโซ, และก็เป็นเช่นนั้นด้วยกับความกระเหี้ยนกระหือที่จะปราบปราม, ทุบตี, ทิ้งระเบิด, ข่มเหง ชาย, หญิง, และเด็กๆ ที่ไม่มีเครื่องป้องกันตัวเอง, แต่ก็ต้องเผชิญกับผู้กดขี่ด้วยอาวุธเพียงชิ้นเดียวที่มีอยู่: ความทุกข์ทรมานบนร่างกาย และ ความเชื่อมั่นที่ว่า ไม่มีสิ่งใดจะสามารถทำให้พวกเขาหันหลังกลับได้.
Like the blacks in the United States, so in Chile we sang in the streets of the cities that had been stolen from us. Not spirituals, for every land has its own songs. In Chile we sang, over and over, the Ode to Joy from Beethoven’s Ninth Symphony, the hope that a day would come when all men would be brothers.
เช่นเดียวกับชาวผิวดำในสหรัฐฯ, ในชิลี เราร้องเพลงในท้องถนนของเมืองต่างๆ ที่ถูกปล้นไปจากพวกเรา.  ไม่ใช่เป็นพวกฝักใฝ่ทางจิตวิญญาณ, เพราะทุกดินแดนย่อมมีบทเพลงของตนเอง.   ในชิลี เราร้องเพลง, ซ้ำแล้วซ้ำเล่า, Ode to Joy (โคลงแห่งความปรีดา) จาก ซิมโฟนีลำดับที่เก้า ของ บีโทเฟน, ด้วยความหวังว่า สักวันหนึ่งจะมาถึง เมื่อคนทั้งมวลเป็นพี่น้องกัน.
Why were we singing? To give ourselves courage, of course, but not only that. In Chile, we sang and stood against the hoses and tear gas and truncheons, because we knew that somebody else was watching. In this, we were also following in the media-savvy footsteps of Martin Luther King.  After all, that mismatched confrontation between a police state and the people was being photographed or filmed and transmitted to other eyes. In the deep south of the United States, the audience was the majority of the American people; while in that other struggle years later in the deeper south of Chile, the daily spectacle of peaceful men and women being repressed by the agents of terror targeted national and international forces whose support Pinochet and his dependent third world dictatorship needed in order to survive.
ทำไมพวกเราถึงร้องเพลง?  เพื่อให้พวกเราเองมีความหาญกล้า, แน่นอน, แต่ไม่ใช่เพียงเท่านั้น.  ใน ชิลี, เราร้องเพลงและยืนปะทะกับท่ออัดฉีดน้ำ และก๊าซน้ำตาและ กระบองตำรวจ, เพราะเรารู้ว่า ยังมีบางคนเฝ้ามองพวกเราอยู่.  ในด้านนี้, พวกเราเดินตามรอยเท้าของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง ที่รู้ใจสื่อ.  ทั้งหมดนี้, การเผชิญหน้าอย่างเทียบกำลังกันไม่ได้ระหว่าง ตำรวจรัฐ และ ประชาชน ก็ถูกบันทึกภาพและถ่ายเป็นภาพยนตร์ และ เผยแพร่สู่สายตาอื่นๆ.  ในตอนใต้สุดของสหรัฐฯ, ผู้ชมคือ ชาวอเมริกันส่วนใหญ่; ในขณะที่ในการต่อสู้ในปีหลังๆ ในตอนใต้สุดๆ ของชิลี, ภาพประจำวันของชายหญิงที่อยู่อย่างสันติ ถูกปราบปรามโดยเจ้าหน้าที่ผู้กระทำการอันน่าสพรึงกลัว เป็นเป้าของกองกำลังแห่งชาติและนานาชาติ ที่ให้การสนับสนุน ที่ปิโนเช่และพรรคพวก เผด็จการในโลกที่สาม จำเป็นต้องพึ่งเพื่อความอยู่รอด.
The tactic worked because we understood, as Gandhi and King had before us, that our adversaries could be influenced and shamed by public opinion, and could in this fashion eventually be compelled to relinquish power. That is how segregation was defeated in the South; that is how the Chilean people beat Pinochet in a plebiscite in 1988 that led to democracy in 1990; that is the story of the downfall of tyrannies around the world, more than ever today, from the streets of Burma to the cities of the Arab Spring.
กลยุทธ์นี้ใช้ได้ผล เพราะเราเข้าใจ, ดังที่ คานธี และ คิง เข้าใจก่อนหน้าพวกเรา, ว่า ปรปักษ์ของเราสามารถถูกกดดันและทำให้ละอายด้วยความเห็นสาธราณะได้, และด้วยวิธีนี้ ในที่สุด อาจถูกบีบให้ละทิ้งอำนาจได้.  นั่นเป็นวิธีทำให้การแยกสีผิวพ่ายแพ้ในแถบใต้; นั่นเป็นวิธีที่ชาวชิลี โค่น ปิโนเช่ ในการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศในปี ๒๕๓๑ ที่นำไปสู่ประชาธิปไตยในปี ๒๕๓๓; นั่นเป็นเรื่องเล่าถึงการโค่นล้มของทรราชย์ทั่วโลก, มากยิ่งขึ้นในทุกวันนี้, จากท้องถนนของพม่า ถึง เมืองต่างๆ ของอาหรับสปริง.

King in the Age of Surveillance  / คิง ในยุคสอดแนม

And what of this moment? When I return to that speech I first heard 45 years ago, the very day King died, is there still a message for me, for us, something we need to hear again as if we were listening to those words for the first time?
แล้วตอนนี้เป็นอะไร?  เมื่อผมกลับไปฟังสุนทรพจน์ที่ผมได้ยินเป็นครั้งแรกเมื่อ ๔๕ ปีก่อน, วันที่ คิง ตายไป, ยังมีสาระอะไรสำหรับผม, สำหรับพวกเรา, บางอย่างที่เราจำเป็นต้องฟังอีกครั้ง ประหนึ่งว่า เรากำลังฟังคำพูดเหล่านั้นเป็นครั้งแรกไหม?
What would Martin Luther King say if he could return to contemplate what his country has become since his death? What if he could see how the terror and slaughter brought to bear upon New York and Washington on September 11, 2001, had turned his people into a fearful, vengeful nation, ready to stop dreaming, ready to abridge their own freedoms in order to be secure? What if he could see how that obsession with security has fed espionage services and a military-industrial complex run amok?
มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จะพูดอะไร หากเขาสามารถกลับมาครุ่นคิดถึงความเป็นไปของประเทศทุกวันนี้ ตั้งแต่เขาได้ตายจากไป?  อะไรจะเกิดขึ้น หากเขาได้เห็นความน่าสะพรึงกลัวและการเข่นฆ่าที่เกิดขึ้นที่นิวยอร์กและวอชิงตัน เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๔, ได้ทำให้ประชาชนของเขากลายเป็นชนชาติที่หวาดกลัว, อาฆาต, พร้อมที่จะหยุดฝันใฝ่, พร้อมที่จะตัดทอนอิสรภาพของตนเองเพื่อความมั่นคง?  อะไรจะเกิดขึ้น หากเขาได้เห็นว่า ความหมกมุ่นอยู่กับความมั่นคงได้หล่อเลี้ยงการบริการด้านจารกรรมและการจับมือกันของกองทัพ-อุตสาหกรรมให้อาละวาดไปทั่ว?
What would he say if he could observe how that fear was manipulated in order to justify the invasion and occupation of a foreign land against the will of its people? How would he react to the newest laws disenfranchising the very citizens he fought to bring to the voting booths? What sorrow would have gripped his heart as he watched the rich thrive and the poor be ever more neglected and despised, as he observed the growing abyss between the one percent and the rest of the country, not to speak of the power of money to intervene and intercede and decide?
เขาจะพูดอะไร หากเขาได้มาสังเกตเห็นว่า ความกลัวได้ถูกกำกับควบคุมอย่างไรเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่การบุกรุกและยึดครองต่างแดนที่ตรงข้ามกับความประสงค์ของประชาชนในถิ่นนั้น?  เขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร ต่อกฎหมายฉบับล่าสุดที่ริดลอนสิทธิ์ของพลเมืองที่เขาได้ต่อสู้เพื่อนำพวกเขาให้เข้าสู่คูหาลงคะแนนเสียงได้?  หัวใจของเขาจะถูกรุมเร้าด้วยความเศร้าโศกขนาดไหน ในขณะที่เขาเฝ้ามอง เห็นคนรวยยิ่งเจริญงอกงาม และ คนจนก็ถูกทอดทิ้งและรังเกียจมากขึ้นกว่าเดิม, ในขณะที่เขาสังเกตเห็นห้วงเหวที่ขยายกว้างและลึกขึ้น ระหว่างพวก 1% และ ส่วนที่เหลือในประเทศ, นี่ยังไม่ต้องพูดถึงอำนาจของเงินที่แทรกแซง และ ขัดขวาง และ ตัดสิน?
What words would he have used to denounce the way the government surveillance he was under is now commonplace and pervasive, potentially targeting anyone in the United States who happens to own a phone or use email? Wouldn’t he tell those who oppose these policies and institutions inside and outside the United States to stand up and be counted, to march ahead, and not ever to wallow in the valley of despair?
เขาจะใช้คำพูดอะไร เพื่อประณามวิธีการสอดแนมของรัฐบาลที่เขาเคยอยู่ภายใต้มัน แต่บัดนี้ กลายเป็นของธรรมดาและมีอยู่ทุกแห่งหน, จะพุ่งเป้าไปที่คนใดก็ได้ในสหรัฐฯ ผู้ใดที่มีโทรศัพท์ หรือใช้อีเมล?  เขาจะบอกไหม ต่อคนที่ต่อต้านนโยบายและสถาบันเหล่านี้ทั้งในและนอกสหรัฐฯ ให้ลุกขึ้น และเข้าชื่อ, เพื่อเดินประท้วงไปข้างหน้า, และจะไม่ยอมถูกกลืนเข้าไปในหุบเขาแห่งความสิ้นหวังเป็นอันขาด?
That’s my belief. That he would repeat some of the words he delivered on that now-distant day in the shadow of the statue of Abraham Lincoln.  My guess is that he would once again affirm his faith in the potential of his country.  He would undoubtedly point out that his dream remained rooted in an American dream which, in spite of all the difficulties and frustrations of the moment, was still alive; that his nation still had the ability to rise up and live out the true meaning of its original creed, summed up in the words “we hold these truths to be self-evident: that all men are created equal.”
นี่เป็นความเชื่อของผม.  ว่าเขาจะพูดบางคำพูดเดิมซ้ำๆ ที่เขาได้กล่าวในวันอันไกลโพ้นในอดีต ในร่มเงาของอนุสาวรีย์ของ อับราฮัม ลินคอล์น.   ผมเดาว่า เขาคงตอกย้ำอีกครั้งถึงความศรัทธาของเขาในศักยภาพของประเทศของเขา.  ไม่ต้องสงสัย เขาจะชี้ให้เห็นว่า ความฝันของเขายังหยั่งรากอยู่ใน ฝันอเมริกันหนึ่ง ซึ่ง, แม้จะมีความยากลำบากและอึดอัดใจทั้งปวงในช่วงเวลาหนึ่งๆ, ยังมีชีวิตอยู่; ว่า ประเทศชาติของเขา ยังมีความสามารถที่จะลุกขึ้นยืน และ ยังชีพบนความหมายที่แท้จริงของ หลักความเชื่อแรกเริ่ม, สรุปรวมในคำพูด “เราถือว่า ความจริงเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดในตัวของมันเอง: ว่า คนทั้งปวงถูกสร้างมาให้เท่าเทียมกัน”.
Let us hope that his faith in us was and still is on the mark. Let us hope and pray, for his sake and ours, that his faith in his own country was not misplaced and that 50 years later his compatriots will once again listen to his fierce yet gentle voice calling on them from beyond death and beyond fear, calling on all of us, here and abroad, to stand together for freedom and justice in our time.
ขอให้เราหวังว่า ความศรัทธาของเขาในพวกเรา เคยมีอยู่ และ ยังปรากฏอยู่.  ขอให้เราหวังและอ้อนวอน, เพื่อเขาและพวกเรา, ว่าความศรัทธาของเขาในประเทศของเขาเอง ไม่ได้ผิดที่ผิดทาง และ ว่า ๕๐ ปีให้หลัง เพื่อนร่วมชาติของเขา จะยังฟังเสียงอันดุดัน แต่อ่อนโยนของเขา เรียกร้องพวกเขาจากแดนโพ้นความตายและความกลัว, เรียกร้องพวกเราทั้งหมด, ที่นี่และในต่างแดน, ให้ลุกขึ้นด้วยกัน เพื่ออิสรภาพและความยุติธรรมในยุคของเรา.

Copyright 2013 Ariel Dorfman

Ariel Dorfman is a Chilean-American writer. His books have been published in over 40 languages and his plays staged in more than one hundred countries. He is the author, most recently, of Feeding on Dreams: Confessions of an Unrepentant Exile (Houghton Mifflin Harcourt). His website, including a message to his readers, can be viewed by clicking here
แอเรียล ดอร์ฟแมน เป็นนักเขียนชาวอเมริกัน เชื้อสายชิลี.  หนังสือของเขาถูกตีพิมพ์ใน ๔๐ กว่าภาษา และ บทละครของเขาก็ขึ้นเวทีแสดงในกว่า ๑๐๐ ประเทศ.  เขาเป็นนักประพันธ์, หนังสือล่าสุด, “มีชีวิตด้วยความฝัน: คำสารภาพของการเนรเทศที่ไม่เสียใจในความผิด” (Houghton Mifflin Harcourt).

Published on Tuesday, August 27, 2013 by TomDispatch
Strange is our situation here upon earth. Each of us comes for a short visit, not knowing why, yet sometimes seeming to a divine purpose. From the standpoint of daily life, however, there is one thing we do know: That we are here for the sake of others… for the countless unknown souls with whose fate we are connected by a bond of sympathy. Many times a day, I realize how much my outer and inner life is built upon the labors of people, both living and dead, and how earnestly I must exert myself in order to give in return as much as I have received.

Albert Einstein

285. เกาะติดปฏิรูปการศึกษาในสหรัฐฯ...เพื่อดูแลปฏิรูปการศึกษาในบ้านเรา


285. Watching Education Reform in US … To Mind Our Own Education Reform

Back To School Season Reveals Education Policy Disconnect
ฤดูโรงเรียนคืนสู่โรงเรียน เผยนโยบายการศึกษาสับสน
-เจฟ ไบรอันท์

Chicago Police patrol the neighborhood as safety guard Renee Green, center, watches for children heading to Gresham Elementary School on the first day of classes Monday, Aug. 26. 2013 in Chicago. Thousands of students will walk newly designated “Safe Passage” routes after CPS announced in May it would close about 50 schools and programs. Workers hired to help students get to and from school safely will be stationed along those routes, as well as police, firefighters and even public library security guards. (Photo: AP / M. Spencer Green)

The annual ritual of Back to School Season had education in the headlines more than usual this week, and what it revealed were two starkly different narratives about the present state and future of the nation’s schools.
One story is a continuation of promises coming from prominent individuals claiming to know what will fix the nation’s schools and make them more “accountable,” while the other is a much more troubling tale about schools that is plainly visible to most Americans – except those at the top.
พิธีกรรมประจำปีของการคืนสู่โรงเรียน ทำให้การศึกษาเป็นข่าวพาดหัวนานกว่าปกติในสัปดาห์นี้, และสิ่งที่เผยออกมา คือ สองบทบรรยายที่ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตของโรงเรียนของชาติ.  เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับความต่อเนื่องของคำสัญญาจากบุคคลที่มีชื่อเสียงที่อ้างตัวว่า รู้วิธีแก้ไขปัญหาโรงเรียนของชาติและทำให้มัน “น่าเชื่อถือ” ยิ่งขึ้น, ในขณะที่อีกเรื่อง เล่าถึงปัญหาเกี่ยวกับโรงเรียนที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เห็นตำตา—ยกเว้นพวกที่อยู่เบื้องสูงสุด.
So much evidence – from both anecdotal reporting and objective data – revealed this vast disconnect.
Promoters of what has been caste as an “education reform” movement continue to take on the the mantle of civil rights cause, but reports from the frontlines of America’s classrooms show the negative consequences that reform policies actually have on poor black and brown school children they’re purported to serve.
มีหลักฐานมากมาย—จากรายงานเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย และ ข้อมูลเชิงประจักษ์—เผยถึงความไม่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันเช่นนี้.
In Chicago, mayor Rham Emanuel has “waxed poetic” about school reforms he claimed will “bridge the divide” between low-income kids on the South Side with their better off white peers. Yet this year in Chicago, back to school on the South Side required a police escort, including a helicopter, to get elementary children through dangerous gang territory because the schools that the mayor had promised to “fix” were closed under his leadership instead.
ในชิคาโก, นายกเทศมนตรี ราม เอมานูเอล มีภาพสวยหรูเกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนที่เขาอ้างว่า จะ “เชื่อมช่องว่าง” ระหว่างเด็กจากครอบครัวรายได้ต่ำในแถบทิศใต้ กับเพื่อนๆ ที่ร่ำรวยกว่า.  แต่ในปีนี้ในชิคาโก, การคืนสู่โรงเรียนที่แถบทิศใต้ ต้องมีตำรวจคอยคุ้มกัน, รวมทั้งใช้ เฮลิคอปเตอร์, เพื่อพาเด็กชั้นประถมให้เดินผ่านย่านแก๊งอันตราย เพราะโรงเรียนที่นายกเทศมนตรีสัญญาว่าจะ “แก้ไข” กลับถูกปิดลงภายใต้การนำของเขา.
Due to the closing of so many neighborhood schools in neighborhoods where the presence of safe schools should matter most, city officials have had to double the number of police-protected routes – dubbed “Safe Passageways” – and dramatically increased security costs to $15.7 million.
เนื่องจากการปิดโรงเรียนย่านมากมายในละแวกเพื่อนบ้านที่ๆ การมีโรงเรียนปลอดภัยตั้งอยู่ ควรจะเป็นเรื่องสำคัญที่สุด, เจ้าหน้าที่เมืองกลับต้องเพิ่มถนนหนทางที่มีตำรวจคุ้มกันเป็นสองเท่า—ที่ถูกเรียกขานเป็น “ทางผ่านที่ปลอดภัย”—และ เพิ่มค่าใช้จ่ายความมั่นคงอย่างรวดเร็วเป็น $15.7 ล้าน.
While the mayor claimed that police protection would ensure “kids will think about their studies, not their safety,” a concerned mother more aptly described what should be a routine, even boring experience, for children as “a zoo.”
ในขณะที่ นายกเทศมนตรีอ้างว่า การคุ้มกันของตำรวจจะทำให้มั่นใจว่า “เด็กๆ จะได้คิดถึงแต่เรื่องการเรียน, ไม่ต้องพะวงเรื่องความปลอดภัย”, คุณแม่ที่ห่วงใยคนหนึ่งกลับบรรยายถึงสิ่งที่ควรเป็นเรื่องประจำวันสำหรับเด็กๆ นี้, ว่าแม้เป็นประสบการณ์ที่น่าเบื่อหน่าย, ก็เหมือน “สวนสัตว์”.
Education “reform” doesn’t look any better in North Carolina, where that state’s relatively new governor, Pat McCrory has proclaimed a “passion” for schools that more closely resembles a resentment toward them.
“การปฏิรูป” การศึกษาไม่ได้ดูดีกว่าเลยสักนิดในรัฐแครอไลนาเหนือ, ที่ๆ ผู้ว่าการรัฐที่ค่อนข้างใหม่, แพ็ต แมคครอรีย์ ได้ประกาศว่าตนมีความ “หลงใหล” กับโรงเรียนที่ดูเหมือนจะใกล้เคียงกับความขุ่นเคืองต่อพวกมัน.
This summer, the state passed legislation eliminating teacher positions, increasing class sizes, and lowering teacher qualifications in charter schools, while creating voucher programs that send more tax money to private schools and expanding funding for Teach for America to stock classrooms for the least served children with teachers who are the least experienced and least prepared. All of this is portrayed as an effort to help low-income children out of “low-performing schools,” even though the vast majority of poor kids in the state are likely to see the quality of their education decline.
ฤดูร้อนปีนี้, รัฐได้ผ่านกฎหมายที่ขจัดตำแหน่งครู, เพิ่มขนาดของห้องเรียน, และ ลดคุณสมบัติของครูในโรงเรียนที่อยู่ในสัญญา, ในขณะที่สร้างโปรแกมใบเสร็จการจ่ายที่ส่งเงินภาษีมากขึ้นให้โรงเรียนเอกชน และ ขยายกองทุนสำหรับ “การสอนเพื่ออเมริกา” เพื่อรวบรวมห้องเรียนสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาสที่สุด ด้วยครูที่มีประสบการณ์น้อยที่สุด และ มีการเตรียมตัวน้อยที่สุด.  ทั้งหมดนี้ ถูกสร้างภาพว่า เป็นความพยายามช่วยเด็กจากครอบครัวรายได้ต่ำให้หลุดพ้นจาก “โรงเรียนที่มีผลงานระดับต่ำ”, แม้ว่าเด็กยากจนส่วนใหญ่ในรัฐ คงจะเห็นว่า คุณภาพของการศึกษาของพวกเขาเอง ที่ถดถอยลง.
North Carolina is not alone in seeing the quality of its education program severely cut at the same time a reform agenda promises to fix everything. New curriculum standards known as the Common Core – which have been adopted by most states – have been promoted as the latest “game changer” that will transform America’s schools for the better. Yet many of the states that have adopted the Common Core are in the process of slashing the money needed to implement the new standards.
รัฐแครอไลนาเหนือ ไม่ใช่เป็นรัฐเดียวที่เห็นคุณภาพโปรแกมการศึกษาถูกตัดงบอย่างรุนแรง ในขณะเดียวกัน ก็มีวาระการปฏิรูปที่สัญญาว่าจะซ่อมแซมแก้ไขทุกๆ อย่าง.  มาตรฐานหลักสูตรที่รู้จักในนาม คอมมอนคอร์ (แก่นร่วม)—ที่รัฐส่วนใหญ่ได้ยอมรับมาใช้—ได้ถูกส่งเสริมเป็น “ผู้เปลี่ยนเกม” ฉบับล่าสุด ที่จะพลิกโฉมโรงเรียนของอเมริกาให้ดีขึ้น.  แต่หลายๆ รัฐที่ได้ยอมรับ คอมมอนคอร์ กำลังอยู่ในขั้นตอนของการตัดลดเงินที่จำเป็นเพื่อดำเนินตามมาตรฐานใหม่.
According to this article from the Pew Charitable Trusts, a new study found that education agencies in 28 states had gotten less or no additional funding for implementing the Common Core, and 12 reported having to scale their implementation effort back. “Less than a quarter of the states that responded said they had adequate staff expertise, staffing levels, and resources to implement the Common Core,” the article explained.
ตามรายงานจาก Pew Charitable Trusts, มีงานศึกษาใหม่ที่พบว่า วาระการศึกษาใน ๒๘ รัฐได้รับงบน้อยลง หรือ ไม่มีงบเพิ่มสำหรับดำเนิน คอมมอนคอร์, และ ๑๒ รัฐ ต้องลดทอนขอบเขตการดำเนินการ.  “รัฐที่สนองต่อการศึกษานี้ น้อยกว่า ¼ กล่าวว่า พวกเขามีกำลังคนที่มีความชำนาญ, ระดับ, และ ทรัพยากรเพียงพอที่จะดำเนินการตาม คอมมอนคอร์”.
Rising above anecdotal reports, a trio of recent surveys revealed the growing disillusionment Americans are having with the education policy agenda that has been in place for nearly 20 years.
พอยกระดับสูงกว่ารายงานเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย, การสำรวจสามทีมเมื่อเร็วๆ นี้ ได้เปิดเผยว่า ชาวอเมริกันมากขึ้นเริ่มตาสว่าง กับความหลงเชื่อในวาระนโยบายการศึกษาที่ติดตั้งมาเกือบ ๒๐ ปี.
Writing at Politico, Stephanie Simon reviewed the survey results and pronounced it a “mixed report card for education reforms.” But one finding from all three surveys seemed especially jarring compared to the rhetoric coming from the top.
สเตฟานี ไซมอน เขียนใน Politico ทบทวนผลการสำรวจ และวินิจฉัยมันว่าเป็น “สมุดพกที่มีรายงานปนเปสำหรับการปฏิรูปการศึกษา”.  แต่การค้นพบหนึ่งจากผลการสำรวจทั้งสาม ดูเหมือนจะน่ากังวลยิ่ง เมื่อเทียบกับวาทกรรมที่มาจากพวกที่อยู่เบื้องสูงสุด.
Despite the incessant drumbeat, for many years – and amplified by a deep pocketed PR campaign including feature-length films Waiting for Superman and Won’t Back Down – that school teachers are principally to blame for the nation’s education problems, the masses don’t seem to be buying it. Contrary to the distrust of educators spread by the elite, the American people have a great deal of confidence in their local schools and the teachers in those buildings.
แม้จะมีการตีฆ้องร้องป่าวไม่หยุดหย่อน, เป็นเวลาหลายปี—และขยายเสียงด้วยการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อที่ทุ่มเงินหนัก รวมทั้งภาพยนตร์ยาว “รอคอยซูเปอร์แมน และ จะไม่ยอมถอย”—ที่ว่า ครูโรงเรียนเป็นกลุ่มหลักที่พึงถูกตำหนิสำหรับปัญหาการศึกษาของชาติ, เหล่ามวลชนดูเหมือนจะไม่เห็นด้วย.   ตรงข้ามกับความไม่เชื่อใจนักการศึกษาที่ถูกขจรขจายโดยกลุ่มอภิสิทธิ์ชน, ชาวอเมริกันมีความมั่นใจอย่างใหญ่หลวงในโรงเรียนท้องถิ่นและครูของพวกเขาในอาคารเหล่านั้น.
“Asked how they would grade the school their oldest child attends,” Simon noted, “71 percent of public school parents” graded their local school “A or ‘B” according to the poll conducted by PDK/Gallup. Another poll, from AP-NORC, showed “76 percent of respondents rating their child’s current education as good or excellent, and 82 percent giving their child’s teachers high marks.”
“พวกเขาถูกขอให้ลงคะแนนโรงเรียนที่ลูกคนโตได้เข้าเรียน”, ไซมอนกล่าว, “71% ของผู้ปกครองในโรงเรียนสาธารณะ” ให้คะแนน “เอ” หรือ “บี” แก่โรงเรียนท้องถิ่นของพวกเขา ตามการสุ่มความเห็นที่ดำเนินโดย PDK/Gallup.  อีกการสุ่มความเห็น, จาก AP-NORC, แสดงว่า “ผู้ตอบ 76% ให้คะแนนการศึกษาปัจจุบันของลูกๆ ว่า ดี หรือ ยอดเยี่ยม, และ 82% ได้ให้คะแนนสูงสุดแก่ครูของลูกๆ”.
“Americans like and trust teachers,” concluded Anne Wujcik, a blogger for an education marketing firm, noting “72 percent of the PDK/Gallup respondents agree that they ‘have trust and confidence in the men and women who are teaching children in the public schools.’ Eighty-two percent of parents surveyed by AP-NORC rate their child’s teacher as excellent/good.”
“ชาวอเมริกัน ชอบ และเชื่อใจ ครู”, แอน วุจซิค สรุป, นักเขียนบล็อกสำหรับบริษัทการตลาดด้านการศึกษา, ระบุว่า “72% ของ ผู้สนองต่อ PDK/Gallup เห็นพ้องว่า พวกเขา เชื่อใจและมั่นใจในชายหญิงที่สอนลูกๆ ของตนในโรงเรียนสาธารณะ.  ผู้ปกครอง 82% ในการสำรวจโดย AP-NORC ให้คะแนนครูของลูกๆ ว่า ดีเยี่ยม/ดี”.
Journalists at Education Week noted that support for firing teachers based on student test scores – a favorite of the reform crowd – is now in reverse. “The PDK/Gallup survey … found that 58 percent of respondents oppose requiring teacher evaluations to include student scores on standardized tests. That’s a reversal of public opinion from just last year, when 47 percent of PDK/Gallup respondents opposed using test scores in evaluations.”
นักข่าวที่ Education Week  ตั้งข้อสังเกตว่า แรงสนับสนุนให้ไล่ออกครูออก บนพื้นฐานของคะแนนสอบของนักเรียน—ซึ่งเป็นวิธีการโปรดปรานของกลุ่มปฏิรูป—ตอนนี้กำลังสวนทางกลับ.  “การสำรวจของ PDK/Gallup...พบว่า ผู้ตอบ 58% คัดค้านการใช้คะแนนสอบมาตรฐานของนักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินการทำงานของครู.   นั่นเป็นการผันกลับที่สวนทางกับผลการสำรวจปีกลาย, เมื่อ 47% ของผู้ตอบ PDK/Gallup คัดค้านการใช้คะแนนสอบในการประเมิน”.
The article quoted William J. Bushaw, the executive director of Phi Delta Kappa International, who said, “I think parents are listening to their children’s teachers and are hearing their concerns about these new evaluation systems that are untested and deciding that maybe it’s not fair.”
บทความได้อ้าง วิลเลียม เจ.บุชอว์, ผอ.บริหารของ Phi Delta Kappa International, ผู้กล่าวว่า, “ผมคิดว่า ผู้ปกครองกำลังเงี่ยหูฟังครูของลูกๆ และได้ยินความห่วงใยของครูเกี่ยวกับระบบการประเมินใหม่เหล่านี้ ที่ไม่ได้ผ่านการทดสอบ และก็ตัดสินใจว่า มันอาจไม่เป็นธรรม”.
What really concerns Americans? Lack of resources.
อะไรที่ชาวอเมริกันกังวล?  ขาดแคลนทรัพยากร.
A report on the PDK survey at USA Today looked at the data and noticed, “Thirty-six percent of public school parents cited a lack of financial support as the biggest problem facing schools in their community, the largest proportion surveyed. Eleven percent put overcrowding atop their list of concerns. Only 4 percent were concerned with testing or regulations.”
รายงานเรื่องการสำรวจของ PDK ใน นสพ USA Today วิเคราะห์ข้อมูลและสังเกตเห็นว่า, “ผู้ปกครองในโรงเรียนสาธารณะ 36% อ้างการขาดแคลนเงินทุนสนับสนุน ว่าเป็นปัญหาใหญ่สุดที่โรงเรียนในชุมชนของพวกเขาเผชิญอยู่, อันเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มที่ถูกสำรวจ.  11% บอกว่า ความเบียดเสียดในห้องเรียนเป็นความห่วงใยสูงสุด.  เพียง 4% กังวลถึงการสอบหรือ ข้อบังคับ”.
The article quoted Helen Gym, co-founder of Parents United for Public Education in Philadelphia, who explained that policies under the reform umbrella – such as the Common Core, standardization, testing, and teacher evaluations linked to test scores – are “removed from our reality … In the Philadelphia public schools, where they’ve stripped out almost everything, you can’t have a conversation about the Common Core … It’s almost laughable to talk about kids being college and career ready when 60 percent of high schools may not even have a guidance counselor.”
บทความได้อ้าง เฮเลน จิม, ผู้ร่วมก่อตั้ง สามัคคีผู้ปกครองเพื่อการศึกษาสาธารณะในฟิลาเดลเฟีย, ที่อธิบายว่า นโยบายภายใต้ร่มการปฏิรูป—เช่น คอมมอนคอร์, มาตรฐาน, การสอบ, และ การประเมินครูที่โยงใยกับคะแนนสอบ—ล้วน “ไม่ติดดิน / ห่างไกลจากความเป็นจริงของเรา... ในโรงเรียนสาธารณะในฟิลาเดลเฟีย, ที่ๆ พวกเขาถูกปลดเปลื้องเกือบทุกอย่าง, คุณไม่สามารถสนทนาเกี่ยวกับ คอมมอนคอร์... มันน่าขันที่จะพูดถึงเด็ก ๆ ให้พร้อมเข้าเรียนในวิทยาลัย และ อาชีพการงาน เมื่อ โรงเรียนมัธยม 60% อาจไม่มีแม้แต่ครูที่ปรึกษาแนะแนว.
Writing at The Huffington Post, education historian Diane Ravitch questioned what reform measures like the Common Core can really accomplish given the circumstances on the ground:
นักประวัติศาสตร์ ไดแอน เรวิตช์, เขียนใน The Huffington Post, ตั้งคำถามว่า มาตรการปฏิรูปเช่น คอมมอนคอร์ จะสามารถบรรลุผลอะไรได้จริงๆ ในเมื่อสถานการณ์ในพื้นที่เป็นดังต่อไปนี้.
Across the nation, our schools are suffering from budget cuts.
ทั่วประเทศ, โรงเรียนของเรากำลังถูกตัดงบ.
Because of budget cuts, there are larger class sizes and fewer guidance counselors, social workers, teachers’ assistants, and librarians.
เพราะการตัดงบ, ห้องเรียนจึงใหญ่ขึ้น และ ครูแนะแนว, นักสังคม, ผู้ช่วยครู, และ บรรณารักษ์ ก็น้อยลง.
Because of budget cuts, many schools have less time and resources for the arts, physical education, foreign languages, and other subjects crucial for a real education.
เพราะการตัดงบ, หลายๆ โรงเรียนมีเวลาและทรัพยากรลดลงสำหรับวิชาศิลปะ, พละศึกษา, ภาษาต่างประเทศ, และ วิชาอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาจริงๆ.
As more money is allocated to testing and accountability, less money is available for the essential programs and services that all schools should provide.
ในขณะที่ทุ่มเงินใส่การทดสอบและความน่าเชื่อมากขึ้น, กลับลดเงินจัดสรรให้แก่โปรแกมและการบริการที่จำเป็นที่โรงเรียนทั้งหมดพึงมี.
Our priorities are confused.
การลำดับความสำคัญของเราดูสับสน.
So with this year’s Back to School Season revealing widespread evidence that lack of resources – rather than lack of accountability – is the foremost problem troubling the nation’s schools, let’s see if any of the education reform crowd mounts a well-funded campaign to reform that.
ดังนั้น ในฤดูกาลของการคืนสู่โรงเรียนปีนี้ ได้เผยให้เห็นชัดเจนถึงความขาดแคลนทรัพยากร—แทนที่จะขาดแคลนความน่าเชื่อถือ—เป็นปัญหานำหน้าที่ทำให้โรงเรียนของชาติตกต่ำ, ขอให้พวกเราคอยดูว่า จะมีใครจากกลุ่มปฏิรูปการศึกษาออกมาทำการรณรงค์ที่ด้วยเงินทุนมากพอ เพื่อปฏิรูป ด้านนั้น.
© 2013 Education Opportunity Network
Description: C:\Users\Administrator\Documents\my doc 7-26-13\common dream\image\jeff_bryant.jpg
Jeff Bryant is an associate fellow at Campaign for America's Future and editor of the recently launched Education Opportunity Network, a project of the Institute for America’s Future, in partnership with the Opportunity to Learn Campaign.
เจฟ ไบรอันท์ สังกัดกับ การรณรงค์เพื่ออนาคตของอเมริกา และเป็นบรรณาธิการของ เครือข่ายโอกาสการศึกษา ที่เพิ่งเริ่ม, อันเป็นโครงการของ สถาบันเพื่ออนาคตอเมริกา, ร่วมกับ การรณรงค์โอกาสในการเรียนรู้.

Published on Tuesday, August 27, 2013 by Education Opportunity Network