วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

123. FM: เกษตรอินทรีย์ในไทย-กรีนเน็ต



Farmer groups and the biodiversity dividend
by Michael B. Commons
กลุ่มเกษตรกร และปันผลความหลากหลายทางชีวภาพ

Many different agricultural practices contribute positively in terms of biodiversity. Joining hands and working together is clearly one of them. This was shown by Green Net, the co-op that recently hosted the participants of the Agrobiodiversity@knowledged programme in Thailand. There they also saw the benefits that biodiversity can bring to both producers and their organisations.
                วิถีปฏิบัติทางเกษตรกรรมต่างๆ หลายแนว ได้ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ.   การจับมือและทำงานร่วมกัน เป็นวิธีหนึ่งที่ชัดเจน.  นี่เป็นสิ่งที่ กรีนเน็ต แสดงให้เห็น.  กรีนเน็ต เป็นสหกรณ์ที่หน้าที่เป็นเจ้าภาพของโปรแกม Agrobiodiversity@knowledged  จัดขึ้นในประเทศไทย.   ที่นั่น ผู้เข้าร่วมได้เห็นถึงประโยชน์ที่ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถให้แก่ทั้งผู้ผลิตและองค์กรของพวกเขา.

Since 1993, Green Net Co-operative has been working with small-scale farmer groups under two key principles: organic farming and fair trade. The primary motivation for starting to work together was not our interest in biodiversity, but rather our desire to link farmers applying sustainable ecological practices to consumers interested in having access to quality foods, thus benefiting both sides.
                ตั้งแต่ปี 1993, สหกรณ์กรีนเน็ต ได้ทำงานกับกลุ่มเกษตรกรรายย่อยภายใต้สองหลักการ: เกษตรอินทรีย์ และ การค้าที่เป็นธรรม.   แรงกระตุ้นแรกที่ทำให้เริ่มทำงานร่วมกัน ไม่ใช่ความสนใจในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ, แต่เป็นความปรารถนาที่จะเชื่อมโยงเกษตรกรที่ใช้วิถีนิเวศยั่งยืน กับ ผู้บริโภค ที่สนใจจะเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ, ดังนั้น เป็นประโยชน์แก่ทั้งคู่.
Yet, from the start, this linkage has been very positive in terms of local biodiversity. Our work supports the use of integrated ecological practices, contributes to the economic development of farmers and farmers’ communities, and has helped to preserve and enrich farm ecologies, and to preserve and enrich farm communities.
                แต่, ตั้งแต่แรกเริ่ม, การเชื่อมโยงนี้เป็นบวกมากในแง่ความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่น.   งานของเราสนับสนุนการใช้วิธีปฏิบัติที่ผสมผสานเชิงนิเวศ, ที่สร้างคุณูปการต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเกษตรกรและชุมชนของเกษตรกร, และได้ช่วยสงวนพร้อมทั้งทำให้ระบบนิเวศในฟาร์มอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น, และช่วยสงวนพร้อมทั้งทำให้ชุมชนเกษตรอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น.
Most of the Green Net farms show a much greater diversity of life than those managed under a regime of chemical inputs. Farmers adopting organic methods consistently point to the return of species of fish, frogs, wild vegetables and so forth that they had not seen since their childhoods.
                ฟาร์มส่วนใหญ่ของกรีนเน็ต แสดงให้เห็นว่า มีความหลากหลายของชีวิตมากกว่าฟาร์มที่ใช้สารเคมี.  เกษตรกรที่ใช้วิธีการอินทรีย์บอกเหมือนๆ กันว่า ปลาหลากสายพันธุ์, กบ, ผักพื้นบ้าน และอื่นๆ ที่พวกเขาเคยเห็นตอนเป็นเด็ก ได้พากันหวนกลับคืนมา.
We have also seen that working together to produce quality agricultural products that are marketed collectively can help farmers improve their economic well-being.
                เราก็ได้เห็นการทำงานร่วมกันเพื่อทำการผลิตเกษตรที่มีคุณภาพ ที่ขายสู่ตลาดอย่างเป็นกลุ่มก้อน และสามารถช่วยเกษตรกรให้ยกระดับความเป็นอยู่ได้.
However, the benefit of being part of a farmers’ group and of a network, goes far beyond this. Whether in Thailand or elsewhere, the modern world does not seem to value local, indigenous, and personal knowledge and experience, especially when it has to compete with the knowledge and information coming from academic and official channels.
                ถึงอย่างไร, ประโยชน์ของการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกร และของเครือข่ายหนึ่งๆ ไปไกลกว่านี้.  ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยหรือที่อื่นๆ, โลกสมัยใหม่ดูเหมือนจะไม่ให้คุณค่าต่อองค์ความรู้และประสบการณ์ท้องถิ่น, ดั้งเดิม, และส่วนตัว, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมันต้องแข่งขันกับองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารจากสถาบันการศึกษาและทางการ.
For many years, Green Net members have been using participatory learning methodologies to develop skills in organic methods, and more recently for developing technologies to adapt to climate change. This process enables farmers to share their knowledge and experience with others and to become researchers and innovators themselves. All of our groups have regular village and district level meetings, and we also host an annual Green Net Co-operative meeting.
                เป็นเวลาหลายปีแล้ว ที่สมาชิกกรีนเน็ต ได้ใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะในวิธีการอินทรีย์, และเร็วๆ นี้ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง.   กระบวนการนี้ ได้ทำให้เกษตรกรสามารถแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของพวกเขากับผู้อื่น และกลายเป็นนักวิจัยและนักนวัตกรรมไปในตัว.   กลุ่มของพวกเราทั้งหมด มีการประชุมเป็นประจำในระดับหมู่บ้านและอำเภอ, และเราก็เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของสหกรณ์กรีนเน็ตด้วย.
With new confidence in one’s knowledge and a spirit of innovation, each meeting is an exchange of knowledge and ideas and, usually, also of seeds and growing materials. New species are integrated onto farms and new ways to use natural resources are learned – and the area’s biodiversity wealth increases.
                ด้วยความมั่นใจใหม่ในความรู้ของตัวเองและวิญญาณแห่งนวัตกรรม, ในทุกการประชุม เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิด และ, เป็นปกติ, ก็จะรวมถึงเมล็ดพันธุ์ และวัสดุเพื่อการเพาะปลูก.   สายพันธุ์ใหม่ๆ ได้ถูกผนวกลงในฟาร์ม และได้เรียนรู้วิธีการใหม่ๆ  ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ—และคลังแห่งความหลากหลายทางชีวภาพก็เพิ่มพูนขึ้น.

Our biodiverse “rice based-farming systems”
                “ระบบเกษตรบนฐานของข้าว” อันหลากหลายทางชีวภาพของเรา

While most Green Net farmers are primarily rice farmers, and (organic) rice is the main product the co-operative trades, economic stability, time and an interest in innovation and exchange, have led our farmer members towards more diverse and integrated production.
                ในขณะที่ เกษตรกร กรีนเน็ต ส่วนใหญ่ในเบื้องต้นจะเป็นชาวนา, และ ข้าว (อินทรีย์) เป็นผลผลิตหลักของการค้าสหกรณ์, ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ, เวลาและความสนใจในนวัตกรรมและการแลกเปลี่ยน, ได้ทำให้สมาชิกเกษตรกรของเราเดินหน้าสู่การผลิตที่หลากหลายและผสมผสานมากยิ่งขึ้น.
This is in strong contrast with many other farmers in their own and in neighbouring communities, and has led to the successful establishment of many local “green markets” where organic/sustainable farmers sell their local vegetables, home processed foods and snacks, harvested fish, frogs, bamboo worms, mushrooms, rice or vegetable seeds.
                อันนี้ตรงข้ามอย่างแรงกับเกษตรกรอื่นๆ หลายคนที่ทำเอง และอยู่ในชุมชนใกล้เคียง, และได้นำไปสู่ความสำเร็จในการก่อตั้ง “ตลาดสีเขียว” ท้องถิ่นหลายๆ จุด ที่ซึ่ง เกษตรกรอินทรีย์/ยั่งยืน ขายผักบ้าน, อาหารแปรรูปที่บ้าน และอาหารว่าง, ปลา, กบ, หนอนหน่อไม้, เห็ด, ข้าว หรือเมล็ดผัก.
In other cases, communities apply their traditional knowledge to make special products such as naturally dyed fabrics or basketry handicrafts, and adapt them to tap into interesting new markets. While it may not be evident that this diversified production system comes from groups originally established to produce organic rice, without the existing group dynamics and the market linkages, most of these farmer members would probably not be applying organic methods, and many would probably be supplementing their incomes by selling their labour in cities and factories. They would probably also have lost more of their cultural knowledge and their varietal diversity. They would not have had the marketing, accounting, and management experience they now hold to move forward in new ventures that are founded on their own strengths; their knowledge and the biodiversity they care for.
                ในกรณีอื่นๆ, ชุมชนใช้ความรู้ตามประเพณีดั้งเดิม เพื่อทำผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ เช่น ผ้าย้อมสีธรรมชาติ  หรือ ตะกร้าสาน, และก็ดัดแปลงเพื่อให้เป็นที่สนใจของตลาดใหม่ๆ.   ในขณะที่ มันอาจไม่ชัดว่า ระบบการผลิตที่หลากหลายนี้ มาจากกลุ่มที่เริ่มแรกก่อตั้ง เพื่อผลิตข้าวอินทรีย์,  แต่หากไม่มีพลวัตของกลุ่มดังกล่าว และการเชื่อมโยงของตลาด, สมาชิกเกษตรกรส่วนใหญ่เหล่านี้ คงไม่ใช้วิธีการอินทรีย์, และหลายคนก็คงเสริมรายได้ด้วยการขายแรงงานในเมืองและโรงงาน.  พวกเขาคงจะสูญเสียความรู้ด้านวัฒนธรรมและความหลากหลายของพืชพันธุ์ยิ่งกว่านี้ด้วย.  พวกเขาคงจะไม่มีประสบการณ์ในการตลาด, การบัญชี, และการจัดการ ที่ตอนนี้พวกเขามีอยู่ เพื่อเดินหน้าสู่กิจการใหม่ๆ ที่ต่อยอดจากจุดแข็งของพวกเขา นั่นคือ  องค์ความรู้ของพวกเขาและความหลากหลายทางชีวภาพที่พวกเขาดูแลอยู่.

“Make every aspect of biodiversity a part of your life”
                “ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพทุกด้าน เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคุณ”

Forty-three people from all over the world met in Thailand in July for a three day conference as part of the Agrobiodiversity@knowledged programme. Following on from the first meeting in Thika, Kenya, in October 2011, this second meeting was meant to help consolidate the group and kick-start activities. According to M.P. Vasimalai, a participant from India, “the meeting in Thika was like the germination of a seed.
                ผู้เข้าร่วม 43 คนจากทั่วโลกมาพบกันในประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม เพื่อร่วมประชุม 3 วัน อันเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกม Agrobiodiversity@knowledged.  การประชุมนี้เป็นครั้งที่สอง ตามหลังการประชุมครั้งที่หนึ่ง ในธิคา, เคนยา, ในเดือนตุลาคม 2011, ต้องการช่วยผนึกพลังกลุ่มและเริ่มต้นกิจกรรมต่างๆ.   ตามความเห็นของ เอ็ม.พี.วสิมาลัย, ผู้เข้าร่วมจากอินเดีย, “การประชุมที่ธิคา เหมือนกับการเพาะเมล็ดหนึ่ง.
This second meeting brought a kind of binding that will only strengthen in the future.” The venue and the set-up of the meeting was special (the green, airy grounds of a Buddhist ashram, surrounded by water and only accessible by a rope raft), but it was the approach which impressed participants most.
                การประชุมครั้งที่สองนี้ ได้นำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่จะมีแต่เสริมสร้างความเข้มแข็งในอนาคต”.  สถานที่ประชุม และการตบแต่งสถานที่มีความพิเศษ (พื้นที่สีเขียว, ปลอดโปร่ง ในบริเวณอาศรมพุทธ, ล้อมรอบด้วยน้ำและเข้าถึงได้ทางเดียวโดยแพโยง), แต่ผู้เข้าร่วมมีความประทับใจมากที่สุดที่แนวทางการนำเสนอ.
Quoting the same participant, “the preparatory committee and the facilitator saw to it that the content came from the community, and therefore the ownership lies with the community”.
                ขออ้างคำพูดจากผู้เข้าร่วมคนเดิม, “คณะกรรมการเตรียมงานและกระบวนกร ได้ดูแลให้มีเนื้อหาสาระที่มาจากชุมชน,  ดังนั้น ความเป็นเจ้าของอยู่กับชุมชน”.
The three-day discussions helped the group map out ideas and define a strategic direction. Maryleen Micheni, from PELUM Kenya, described the meeting as a “kind of think-tank”. Participants from many civil society organisations together identified five strategic fields of action (policy and government, market and trade, the development of resilient communities, information and networking, and seeds and technology), and then drafted plans to develop with research institutes, governments and the private sector. “The message I take home is that it is very important to understand the interactions between land and resources, local legislation, and the market forces.” “We will go for an agrobiodiversity network on seeds, and set up action programmes. It doesn’t need a lot of money to do that. And I intend to target the universities we work with.” “Our intention is to make every aspect of biodiversity a part of our life.”
                การอภิปราย 3 วันได้ช่วยให้กลุ่มทำแผนที่ความคิดและกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์.  แมรีลีน มิเคนิ, จาก PELUM เคนยา, บรรยายว่า การประชุมนี้เป็นเหมือน “ถังความคิด”.  ผู้เข้าร่วมจากองค์กรประชาสังคมต่างๆ ได้ร่วมกันระบุยุทธศาสตร์ 5 สาขา เพื่อปฏิบัติการ (นโยบายและรัฐบาล, การตลาดและการค้า, การพัฒนาของชุมชนยืดหยุ่น, สารนิเทศและการสร้างเครือข่าย, และเมล็ดพันธุ์และเทคโนโลยี), แล้วก็ยกร่างแผนเพื่อพัฒนาร่วมกับสถาบันวิจัย, รัฐบาลและภาคธุรกิจเอกชน.  “ข่าวสารที่ฉันจะนำกลับบ้าน คือ มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างที่ดินและทรัพยากร, การตรากฎหมายในท้องถิ่น, และกระแสตลาด”.   “เราจะเดินหน้าเพื่อสร้างเครือข่ายความหลากหลายทางชีวภาพเกษตร ด้านเมล็ดพันธุ์, และจัดตั้งโปรแกมปฏิบัติการ.   มันไม่ต้องใช้เงินมากมายนักในการทำเรื่องนั้น.  และฉันตั้งใจจะปักหลักที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เราทำงานด้วย”.   “เจตนาของพวกเรา คือ ทำให้ทุกๆ ด้านของความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา”.
All these plans are built on the many lessons and ideas that emerged at the meeting. The challenge at home is now “to test the plans we have formulated, interact with others, and further develop our strategies.” The sense of success was summarised by Zimbabwe’s Prosper Matondi: “I like the feeling that this is our business. We are in charge.” (Karoline Bias)
ทั้งหมดนี้ ต่อยอดจากบทเรียนและความคิดมากมายที่เกิดขึ้นในที่ประชุม.  สิ่งท้าทายที่บ้านตอนนี้ คือ “ทดสอบแผนที่พวกเราได้กำหนดขึ้น, สร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ, และพัฒนายุทธวิธีของเราให้มากขึ้น”.   ความรู้สึกถึงความสำเร็จได้ถูกรวบยอดโดย พรอสเพอร์ มาตันดิ จากซิมบาบวย : “ฉันชอบความรู้สึกที่ว่า นี่เป็นธุระของเรา.  เราเป็นคนกำกับควบคุม”.
Michael B. Commons
Michael B. Commons (michael@greennet.or.th) works with Green Net in Thailand, and is a member of the Agrobiodiversity@knowledged programme. More information can be found on their website: www.greennet.or.th.

For more information about the OxfamNovib / Hivos knowledge programme please get in touch with Willy Douma (wdouma@hivos.nl) or Gine Zwart (gine.zwart@oxfamnovib.nl).

ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

122. FM: เกษตรอินทรีย์ กับ ผู้หญิงด้อยโอกาส ในอินโดนีเซีย



Women, families and communities in Aceh
by Gavin Tinning
ผู้หญิง, ครอบครัว และ ชุมชนในอาเจะห์

In 2004 the province of Aceh in Indonesia was affected by a devastating earthquake and tsunami. The impact on rural communities was particularly harsh, exacerbating the existing poverty and poor living conditions caused by a long separatist conflict. A network of women farmers established under these difficult circumstances is not only benefitting its participants, but also their families and communities.
                ในปี 2004 จังหวัดอาเจะห์ในอินโดนีเซีย ถูกกระทบจากแผ่นดินไหวรุนแรงและสึนามิ.   ผลกระทบต่อชุมชนชนบทร้ายแรงมาก, ได้เพิ่มปัญหาแก่ความยากจนและสภาพความเป็นอยู่ที่ลำบากอันเนื่องมาจากความขัดแย้งแบ่งแยกดินแดนที่เนิ่นนาน.   เครือข่ายเกษตรกรหญิง ที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้ความยากลำบากเหล่านี้ ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนร่วมเท่านั้น, แต่ยังต่อครอบครัวและชุมชนด้วย.

Farming Matters | 28.3 | September 2012


The Australian Centre for International Agricultural Research (ACIAR) was one of many organisations which became involved in regenerating agriculture in Aceh in the wake of the tsunami. Although we were well aware that many post-disaster development programmes are criticised for having a limited impact, we wanted to support rural communities struggling to recover from the loss of life, displacement and breakdown of community networks. Our projects were research-centred, seeking solutions to the soil and crop problems farmers faced after the tsunami.
                ศูนย์การวิจัยเกษตรนานาชาติ-ออสเตรเลีย เป็นหนึ่งในหลายๆ องค์กรที่มีส่วนร่วมในการฟื้นชีพเกษตรกรรมในอาเจะห์ หลังสึนามิ.   แม้ว่าเราจะรู้ดีว่า หลายโปรแกมพัฒนาหลังภัยพิบัติ ได้ถูกวิจารณ์ว่ามีผลกระทบจำกัด, เราต้องการสนับสนุนชุมชนชนบทที่ดิ้นรนหาทางกลับคืนสู่ปกติ จากการสูญเสียชีวิต, การถูกโยกย้าย และการล่มสลายของโครงข่ายชุมชน.   โครงการของเราเป็นงานวิจัย, เพื่อแสวงหาทางแก้ไขแก่ปัญหาดินและพืชผล ที่เกษตรกรประสบหลังจากสึนามิ.

Our early consultations and forums were predominantly attended by male farmers and government staff. A chance meeting with Ibu Supriyani, an inspirational extension agent working on the tsunami-devastated west coast of Aceh with Penyuluh Petani Lapang, the local extension organisation, showed us the importance of providing direct assistance to women farmers. As elsewhere in Indonesia, women in rural Aceh are highly dependent on farming for their livelihoods, but we could not see many programmes supporting them.
                การปรึกษาหารือและการจัดเวทีในระยะเริ่มต้นของเรา มีผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรชายและข้าราชการ.  การพบกันโดยบังเอิญกับ  อิบู (แม่) สุปรียานิ, เจ้าหน้าที่เกษตรบริการที่เป็นแรงบันดาลใจ เป็นผู้ทำงานในพื้นที่เสียหายจากสึนามิ ในชายฝั่งตะวันตกของอาเจะห์ กับ Penyuluh Petani Lapang, องค์กรเกษตรบริการในท้องถิ่น, ได้แสดงให้เราเห็นถึงความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่เกษตรกรหญิง.  เช่นเดียวกับที่อื่นๆ ในอินโดนีเซีย, ผู้หญิงในชนบทอาเจะห์ ต้องอาศัยเกษตรกรรมเพื่อยังชีพอย่างสูง,  แต่เราไม่เห็น หลายๆ โปรแกม ให้การสนับสนุนพวกเธอเลย.

Small benefits add up
            ประโยชน์เล็กน้อยรวมๆ กันได้

Supriyani had established organic agriculture groups made up of women farmers, working to provide an occupation for women who had no work in the tsunami-damaged rice fields and limited opportunities elsewhere. With limited funds, the participants were making their own fertiliser from fish waste and manure, and growing crops on vacant plots. The women’s engagement and enjoyment of working together to produce food for home and sale, and their interest in learning new skills, inspired us to include seed money for women’s farming activities in a new project. The funds helped Supriyani provide training, establish new groups and meet the growing demand to participate in the programme.
                สุปรียานิ ได้จัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่ประกอบด้วยเกษตรกรหญิง, ที่ทำงานเพื่อสร้างงานให้ผู้หญิงที่ไม่มีงานทำ เพราะที่นาถูกสึนามิทำลาย และมีโอกาสจำกัดในที่อื่นๆ.   ด้วยเงินทุนที่จำกัด, ผู้เข้าร่วม ทำปุ๋ยเองจากเศษซากปลาและมูลสัตว์, และปลูกพืชในที่ว่างเปล่า.   การร่วมกันและความสนุกของผู้หญิงในการทำงานร่วมกันเพื่อผลิตอาหารให้แก่ครอบครัวและเพื่อขาย, และความสนใจในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ, เป็นแรงดลใจให้พวกเรา เติมเงินริเริ่มสำหรับกิจกรรมเกษตรของผู้หญิงในโครงการใหม่.   เงินทุนนี้ได้ช่วยให้ สุปรียานิ ให้การฝึกอบรม, ก่อตั้งกลุ่มใหม่ และตอบสนองความต้องการมากขึ้นที่จะเข้าร่วมโปรแกม.
The initial financial support provided to the groups was small, but by focusing on leadership and capacity building, the benefits endure, as groups establish a solid basis for the future. Growing fresh food locally saves money, which can then be invested in, for example, education. Fresh organic crops now form a greater part of the diets of these families, improving their general health. Training and capacity building has helped diversify the local food production options, creating more independent and sustainable communities. Some groups have taken their development further, identifying business opportunities to supply fresh and processed products to local and regional markets. All this happens without disrupting family activities in the rice fields and rubber plantations.
                เงินริเริ่มสนับสนุนที่ให้แก่กลุ่มเป็นจำนวนเล็กน้อย, แต่ด้วยการมุ่งสร้างภาวะผู้นำและสมรรถนะ, ผลประโยชน์จึงคงทนอยู่ได้, ในขณะที่กลุ่มต่างๆ สร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งเพื่ออนาคต.   การปลูกพืชในท้องที่ ช่วยประหยัดเงิน, ซึ่งสามารถจะใช้ลงทุนใน, ยกตัวอย่าง, การศึกษา.   พืชอินทรีย์สด ตอนนี้กลายเป็นอาหารหลักในโภชนาการของครอบครัวเหล่านี้, เป็นการช่วยปรับปรุงสุขภาพทั่วไปของพวกเขาด้วย.   การฝึกอบรม และการสร้างสมรรถนะ ได้ช่วยทำให้ทางเลือกในการผลิตอาหารท้องถิ่นมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น, เป็นการสร้างชุมชนที่เป็นอิสระและยั่งยืนขึ้น.   บางกลุ่มได้เดินหน้าพัฒนาการของพวกเธอไปไกลกว่านี้, มีการมองหาโอกาสธุรกิจ ในการจัดหาแหล่งผลผลิตทั้งสดและแปรรูปแก่ตลาดท้องถิ่นและภูมิภาค.  ทั้งหมดนี้เกิดขึ้น โดยไม่ขัดขวางกิจกรรมครอบครัวในทุ่งนาและสวนยาง.

Bringing women together, the start of a network?
                นำผู้หญิงให้รวมตัวกัน, เริ่มสร้างเครือข่าย?

It was not long before we met other extension staff working with groups of women farmers, so we decided to bring them all together in a forum to identify which activities should be supported. The discussions and recommendations from this first forum, which was held in Aceh in 2009, helped us design a training programme for women. This programme was built on Supriyani’s model of group management; the group members’ commitment, the management of profits, and also on an organic approach to farming vegetables. This provided other extension staff with a guideline to establish new groups.
                ไม่นาน เราก็ได้พบเจ้าหน้าที่เกษตรบริการคนอื่นๆ ที่ทำงานกับกลุ่มหญิงเกษตรกร, ดังนั้น เราตัดสินใจที่จะนำพวกเขามาเข้าร่วมเวที เพื่อดูว่า กิจกรรมใดที่ควรได้รับการสนับสนุน.  การอภิปรายและข้อเสนอแนะจากเวทีครั้งแรกนี้, ซึ่งจัดขึ้นในอาเจะห์ ในปี 2009, ได้ช่วยให้เราออกแบบโปรแกมการฝึกอบรมเพื่อผู้หญิง.  โปรแกมนี้ต่อยอดจากโมเดลการจัดการกลุ่มของสุปรียานิ; ความมุ่งมั่นผูกพันของสมาชิกกลุ่ม, การจัดการกำไร, และรวมทั้งแนวทางอินทรีย์ในการปลูกผัก.   อันนี้ได้เป็นแนวทางแก่เจ้าหน้าที่เกษตรบริการอื่นๆ ในการจัดตั้งกลุ่มใหม่.
In 2009, Balai Pengkajian Teknologi Pertanian (BPTP), the provincial agricultural service, appointed Ibu Nazariah as co-ordinator of the women’s farming groups, with the specific responsibility of establishing and managing the programme. Since then, Nazariah has been assisted by volunteers from the Australian Youth Ambassadors for Development programme, and by an increasing number of local extension staff who provide the day to day support to the groups. In 3 years, the total number of participants has grown from 60 to more than 700 women. The programme’s credibility is reinforced by its training and communication activities and by regular interactions with the local staff. Some groups are now financially independent and act as hubs for the demonstration and dissemination of new ideas.
                ในปี 2009, Balai Pengkajian Teknologi Pertanian (BPTP), เกษตรบริการจังหวัด, ได้แต่งตั้ง อิบู นาซาเรียห์ เป็นผู้ประสานงานของกลุ่มเกษตรกรของผู้หญิง, โดยมีความรับผิดชอบเฉพาะของการสร้างและจัดการโปรแกม.  ตั้งแต่นั้นมา, นาซาเรียห์ ได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัครจากโปรแกม ทูตเยาวชนออสเตรเลียเพื่อการพัฒนา, และจากเจ้าหน้าที่เกษตรบริการท้องถิ่นมากขึ้นในการให้การสนับสนุนในงานประจำวันแก่กลุ่มต่างๆ.   ในเวลาสามปี, จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้เพิ่มจากผู้หญิงกว่า 60 คน เป็น 700 คน.   ความน่าเชื่อถือของโปรแกมได้รับการตอกย้ำจากกิจกรรมฝึกอบรมและสื่อสารของโปรแกม และจากการมีปฏิสัมพันธ์เป็นนิจสินกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น.   บางกลุ่มตอนนี้ เป็นอิสระทางการเงินแล้ว และทำหน้าที่เป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อการสาธิตและเผยแพร่ความคิดใหม่ๆ.
The most interesting observation, however, is that the programme has evolved into a network of women farmers and advisory staff, who maintain contact through exchange visits and farmer forums. Attending a meeting in July 2011, farmers and representatives of both the government and a group of NGOs that support or work with women discussed the establishment of a Women in Agriculture Network in Aceh, following similar examples in Australia and Papua New Guinea. We agreed on the goals and structure of the proposed network and started working to formally establish it.
                แต่ สังเกตการณ์ที่น่าสนใจที่สุด คือ โปรแกมได้วิวัฒนาการไปเป็นเครือข่ายของเกษตรกรผู้หญิง และเจ้าหน้าที่ให้การปรึกษา, ผู้ธำรงการติดต่อด้วยการแลกเปลี่ยนการเยี่ยมเยียน และเวทีเกษตรกรต่างๆ.   ในการเข้าร่วมการประชุมในเดือนกรกฎาคม 2011, เกษตรกรและผู้แทนจากทั้งรัฐบาลและเอ็นจีโอกลุ่มหนึ่ง ที่สนับสนุน หรือทำงานกับผู้หญิง ได้อภิปรายถึงการก่อตั้งเครือข่ายผู้หญิงในเกษตรในอาเจะห์, ตามตัวอย่างเดียวกันกับออสเตรเลีย และ ปาปัวนิวกินี.   เราได้ตกลงในเป้าหมายและโครงสร้างของเครือข่ายที่ถูกนำเสนอ และได้เริ่มทำงานให้มันก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ.

From isolation to leadership
            จากความโดดเดี่ยวสู่ภาวะผู้นำ

Immediately after the tsunami, the focus of most programmes was on soil rehabilitation and agricultural recovery. Working in the more accessible parts of Aceh we rarely saw the impacts of the civil conflict that has lasted nearly 30 years. While the impact on infrastructure has been reported, the social and psychological impacts are rarely mentioned. Visiting some women’s farming groups in the more isolated parts of Aceh, we began to understand the conflict’s wider impact.
                ทันทีหลังจากสึนามิ, โปรแกมส่วนใหญ่มุ่งไปที่การบำบัดดินและฟื้นฟูเกษตร.  การทำงานในพื้นที่ๆ เข้าถึงได้ง่ายในอาเจะห์ ทำให้เราไม่ค่อยเห็นผลกระทบจากความขัดแย้งกลางเมือง ที่ยืนยงอยู่นานเกือบ 30 ปี.   ในขณะที่ผลกระทบต่อสาธารณูปโภคได้ถูกรายงาน, ผลกระทบเชิงสังคมและจิตวิทยา ไม่ค่อยมีการกล่าวถึง.   การเยี่ยมเยียนกลุ่มเกษตรกรของผู้หญิงในที่ห่างไกลของอาเจะห์, ทำให้เราเริ่มเข้าใจถึงผลกระทบในวงกว้างของความขัดแย้ง.
Social isolation and limited access to social services are some of the lasting effects of the conflict in Aceh. Rural networks were affected by the loss of life and displacement, and in some cases farming ceased altogether because of the difficulties and danger of working in the fields. In many rural villages access to technical assistance and resources such as seed remains difficult.
                การแยกโดดเดี่ยวจากสังคมและการเข้าไม่ค่อยถึงบริการทางสังคม เป็นผลกระทบอันยาวนานบางประการจากความขัดแย้งในอาเจะห์.   เครือข่ายชนบทถูกกระทบจากการสูญเสียชีวิตและการโยกย้ายถิ่นที่, และในบางกรณี การทำเกษตรก็หยุดไปด้วย เพราะความยากลำบากและอันตรายในไร่นา.   ในหลายหมู่บ้านชนบท การเข้าถึงความช่วยเหลือทางเทคนิคและแหล่งทรัพยากร เช่น เมล็ด ยังเป็นเรื่องยากลำบาก.
Comprehensive strategies to develop community-based programmes are crucial to meeting the challenges of the estimated 600,000 people displaced by the conflict. The women farmers programme meets some of the needs of local communities, providing income generating activities and promoting communication and co-operation within and between villages.
                ยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมเพื่อพัฒนาโปรแกมที่มีฐานในชุมชน เป็นเรื่องสำคัญยิ่งเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายของประชาชนประมาณ 600,000 คนที่ถูกย้ายถิ่นเพราะความขัดแย้ง.   โปรแกมเกษตรกรหญิงได้ตอบสนองความจำเป็นบางประการของชุมชนท้องถิ่น, ด้วยการสร้างกิจกรรมที่สร้างรายได้, ส่งเสริมการสื่อสาร และความร่วมมือภายใน และระหว่างหมู่บ้าน.
Whilst not all groups in the women farmers programme are situated in areas that were affected by the conflict, the social contribution of our communication and co-operation efforts is recognised as the main benefit by the Aceh women. The group farming activities provide a focus for social interaction, which is often missing in the villages. In former conflict zones women spoke of years of remaining isolated in their homes, only leaving when it was deemed safe to work in the rice fields. Coming together as a group has provided a renewal of village life, and a good opportunity to work together and help each other deal with past difficulties.
                ในขณะที่ไม่ใช่ทุกกลุ่มในโปรแกมเกษตรกรหญิง จะตั้งอยู่ในพื้นที่ๆ ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง, ผู้หญิงอาเจะห์ ได้ยอมรับว่า  ผลประโยชน์หลัก ที่พวกเธอได้รับ เป็นคุณูปการทางสังคม จากความพยายามของเราที่ทำให้เกิดการสื่อสาร และสร้างความร่วมมือระหว่างกัน.   กิจกรรมทำเกษตรเป็นกลุ่ม ได้สร้างพื้นที่ให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, ซึ่งมักจะขาดในหมู่บ้าน.   ในเขตขัดแย้งเดิม ผู้หญิงพูดถึงหลายๆ ปีที่พวกเธอต้องอยู่แยกโดดเดี่ยวในบ้านของตน, จะออกจากบ้านก็ต่อเมื่อแน่ใจว่าปลอดภัยที่จะทำงานในทุ่งนา.   การมารวมตัวกันเป็นกลุ่ม ได้คืนชีวิตให้แก่หมู่บ้าน, และเป็นโอกาสอันดีในการทำงานร่วมกัน และช่วยกันจัดการกับความยากลำบากในอดีต.
And the programme not only addresses the isolation and needs of women farmers, but also recognises that poorly resourced advisory staff struggle to obtain the necessary knowledge, training and experience to help rural farmers. A “training of trainers” programme that covers soils, crop nutrition, pests and diseases, group dynamics and financial management is spreading knowledge and technical skills to advisory staff and members of the established and new groups.
                และโปรแกมก็ไม่เพียงแต่แก้ปัญหาความโดดเดี่ยวและความจำเป็นของเกษตรกรหญิง, แต่ยังได้ตระหนักถึงความลำบากของเจ้าหน้าที่ปรึกษา ที่มีทรัพยากรน้อยมาก และดิ้นรนที่จะแสวงหาความรู้ที่จำเป็น, การอบรม และประสบการณ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชนบท.   โปรแกม “ฝึกอบรมผู้ฝึก/วิทยการ” ที่ครอบคลุมความรู้เรื่องดิน, ธาตุอาหารของพืช, ศัตรูพืชและเชื้อโรค, พลวัตกลุ่ม และการจัดการการเงิน ได้เผยแพร่ความรู้และทักษะทางเทคนิค ให้แก่เจ้าหน้าที่ปรึกษา และสมาชิก ของกลุ่มที่ก่อตั้งแล้วและกลุ่มใหม่.
The need for leadership training was identified as a number one priority at the second Women Farmers’ Forum, held in 2010 in Bireuen. Groups with strong leadership have taken advantage of opportunities to approach local governments and businesses for support as they expand their activities and become more established. Not surprisingly, the more organised groups tend to be situated closer to urban areas and the members have a higher level of education. But the exchange visits that have become a regular activity provide an opportunity for all groups, such as those made up of young conflict widows, or those established in the post-tsunami communities along the west coast, to learn from the more established groups.
                ความจำเป็นของการฝึกอบรมภาวะผู้นำ ได้ถูกยกให้มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ในเวทีเกษตรกรหญิงครั้งที่สอง, จัดขึ้นในปี 2010 ใน Bireuen.  กลุ่มที่มีผู้นำเข้มแข็ง ได้ถือโอกาสเข้าหารัฐบาลและธุรกิจท้องถิ่นเพื่อขอความสนับสนุนกิจกรรมที่พวกเธอขยายและกลายเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น.   ไม่ประหลาดใจเลย, กลุ่มที่มีการจัดรูปองค์กรดีกว่า มักจะอยู่ใกล้เมือง และสมาชิกมีการศึกษาสูงกว่า.  แต่การแลกเปลี่ยนการเยี่ยมเยือนที่ได้กลายเป็นกิจกรรมประจำ ก็ได้กลายเป็นโอกาสสำหรับกลุ่มทั้งหมดด้วย, เช่น กลุ่มที่มีแต่แม่หม้ายสาวจากเขตขัดแย้ง, หรือ พวกที่ก่อตั้งขึ้นในชุมชนหลังจากสึนามิ ในชายฝั่งตะวันตก, ก็ได้เรียนรู้จากกลุ่มที่ตั้งมานานกว่า.

Forming new networks, strengthening old ones
                ก่อตั้งเครือข่ายใหม่, เสริมความเข้มแข็งเครือข่ายเก่า

The women farmers programme in Aceh has been successful because there is a specific purpose in all group activities, and these activities provide specific benefits for the women, their families and communities. Equally important is the long term support that has been provided, addressing the women’ needs and interests, and strengthening local capacities. An emphasis on creating links to the education, health and nutrition initiatives of local agencies has further strengthened interactions with other networks. Without excluding men, a specific focus on women empowers participants, and ensures that the ownership and development of the Women in Agriculture Network remains with women.
                โปรแกมเกษตรกรหญิงในอาเจะห์ ได้ประสบความสำเร็จ เพราะมีเป้าประสงค์เฉพาะในกิจกรรมกลุ่มทั้งหมด, และกิจกรรมเหล่านี้ได้ยังผลประโยชน์เฉพาะสำหรับผู้หญิง, ครอบครัวของเธอ และชุมชน.  สิ่งที่สำคัญพอๆ กัน คือ การสนับสนุนระยะยาว, ที่แก้ไขปัญหาความต้องการและความสนใจของผู้หญิง, และเสริมความเข้มแข็งของสมรรถนะท้องถิ่น.   การเน้นที่การสร้างความเชื่อมโยงกับโครงการริเริ่มในด้านการศึกษา, สาธารณสุข และโภชนาการ ของหน่วยงานท้องถิ่น ได้ช่วยให้ปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายอื่นๆ เข้มแข็งขึ้น.  โดยไม่ต้องกันผู้ชายออกไป, การมุ่งเน้นเฉพาะที่ผู้หญิง ก็ช่วยเสริมอำนาจต่อรองของผู้เข้าร่วมได้, และทำให้มั่นใจว่า ความเป็นเจ้าของและพัฒนาการของเครือข่ายผู้หญิงในเกษตร จะยังคงอยู่กับผู้หญิงต่อไป.
A network for women farmers in Aceh has started. It may or may not develop into a formally recognised organisation, but it is already having a positive impact, and it may help extend the benefits currently enjoyed by the women farmers groups to other parts of Aceh, especially to isolated hinterland communities that are still struggling to come to terms with the impacts of the conflict.
                เครือข่ายหนึ่งสำหรับเกษตรกรหญิงในอาเจะห์ ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว.  มันอาจ หรืออาจไม่พัฒนาสู่องค์กรที่ทางการยอมรับ, แต่มันก็มีผลกระทบทางบวกแล้ว, และมันอาจช่วยขยายผลประโยชน์ที่ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรหญิงได้รับ สู่ส่วนอื่นๆ ในอาเจะห์, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สู่ชุมชนโดดเดี่ยวที่ห่างไกล ที่ยังดิ้นรนปรับตัวกับผลกระทบของความขัดแย้ง.

Gavin Tinning
Gavin Tinning works with the New South Wales Department of Primary Industries. 1243 Bruxner Highway, Wollongbar, NSW, 2477, Australia.
E-mail: gavin.tinning@dpi.nsw.gov.au

Further reading

Strempel, A., 2011. Women in agriculture in Aceh, Indonesia: Needs assessment for the BPTP and ACIAR ‘Women Farmer Groups’ project. Prepared by Anna Strempel (Australian Youth Ambassadors for Development) for the Australian Centre for International Agricultural Research (ACIAR) and Balai Pengkajian Teknologi Pertanian NAD (BPTP).

Tinning, G., 2008. Ibu Supriyani: Organic farming pioneer in Aceh. ACIAR Partners Magazine, March-June 2008.

Tinning, G., 2011. The role of agriculture in recovery following natural disasters: A focus on post-tsunami recovery in Aceh, Indonesia. Asian Journal of Agricultural Development. Vol 8. No. 1

Filed under: community development, conflicts, disasters, farmers organisations, indonesia, women, womens participation
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

121. จะใช้ประโยชน์จาก ริโอ+20 ที่สร้างโครงข่ายเชื่อมโยงทั่วโลกได้อย่างไร



Globally connected: Rio+20 - what now?
by KVS Prasad , Teresa Gianella , Awa Faly Ba
เชื่อมถึงกันทั่วโลก: ริโอ+20 – แล้วไงต่อ?

Many people were disappointed with the outcome of the Rio+20 conference in June. Nonetheless, it was a very good opportunity for many representatives of the civil society, from practically all countries, to gather and discuss the challenges that still exist for transforming the global agricultural system into one that respects and supports family farming and agro-ecology. What can we do now to capitalise on the results of the conference and keep the Rio+20 momentum going? Who should we work with? Partners of the AgriCultures Network share their ideas.
หลายคนผิดหวังกับผลการประชุม ริโอ+20 ในเดือนมิถุนายน.  แต่มันก็เป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับผู้แทนหลายๆ คน จากภาคประชาสังคม, จากเกือบทุกประเทศทีเดียว, ที่ได้รวมตัวกัน และถกกันถึงข้อท้าทายที่ยังคงอยู่ในการแปรเปลี่ยนระบบเกษตรโลก สู่ เกษตรที่เคารพและค้ำจุนครอบครัวชาวนาและเกษตร-นิเวศ.   ตอนนี้เราจะทำอะไรได้ เพื่อตักตวงผลจากการประชุม และพยุงแรงโน้มถ่วงของ ริโอ+20 ให้ทรงตัวต่อไป?   เราควรทำงานกับใคร?   ภาคีของ เครือข่ายวัฒนธรรมเกษตร แบ่งปันความคิดของพวกเขา.

Farming Matters | 28.3 | September 2012

Awa Faly Ba: “We need better bridges”
อวา ฟาลี บา: “เราจำเป็นต้องมีสะพานที่ดีกว่า”

Every analysis of what happened in Rio needs to look back at the expectations we all had. We wanted political decisions to be taken, and clear commitments from world leaders, so it has been a disappointment that this did not happen–especially when compared to the first Rio meeting and to the enormous challenges we see now, 20 years later. But the representatives of many organisations were able to present and share the solutions they advocate, and which they are trying out in their own sphere of influence, at the People’s Summit and elsewhere. This can be seen as a very positive result.
ทุกๆ การวิเคราะห์ของสิ่งที่เกิดขึ้นในริโอ จำเป็นต้องมองย้อนหลังไปที่ความคาดหวังที่พวกเราทั้งหมดตั้งไว้.   เราต้องการให้มีการตัดสินใจทางการเมือง, และคำมั่นสัญญาผูกพันที่ชัดเจนจากผู้นำโลกทั้งหลาย, ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องน่าผิดหวังที่มันไม่เกิดขึ้น—โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับการประชุมริโอครั้งแรก และ สิ่งท้าทายมหาศาลที่พวกเราเห็นอยู่ตอนนี้, ๒๐ ปีให้หลัง.   แต่ผู้แทนของหลายองค์กรก็สามารถนำเสนอและแบ่งปันทางออกที่พวกเขาสนับสนุน, และที่พวกเขากำลังพยายามทดลองในปริมณฑลภายใต้อำนาจของพวกเขา, ที่การประชุมสุดยอดของประชาชน และที่อื่นๆ.   อันนี้สามารถมอได้ว่า เป็นผลบวกมากๆ.
According to Awa Faly Ba, editor of AGRIDAPE, Rio showed the gap between the civil society and decision-makers, and the different expectations of the two groups. “What we need to do is develop better bridges between those who are trying interesting initiatives in the field and the authorities and decision- makers, and thus link both processes.” This is not something that can be achieved in a one-off event, but is a long-term process which will help us influence policy processes at the local level.
ตามความเห็นของ อวา ฟาลี บา, บรรณาธิการของ AGRIDAPE, ริโอ ได้แสดงให้เห็นช่องว่างระหว่างภาคประชาสังคมกับผู้ตัดสินใจ, และความคาดหวังที่ต่างกันของสองกลุ่มนี้.  “สิ่งที่พวกเราจำเป็นต้องทำ คือ พัฒนาสะพานที่ดีกว่านี้ ระหว่าง พวกที่กำลังลองโครงการริเริ่มที่น่าสนใจในพื้นที่ และ ผู้มีอำนาจหน้าที่และผู้ตัดสินใจ, อันจะเป็นการเชื่อมกระบวนการทั้งสอง”.   นี่ไม่ใช่บางสิ่งบางอย่างที่จะบรรลุได้ในการพบปะเพียงครั้งเดียว, แต่เป็นกระบวนการระยะยาว ที่จะช่วยให้พวกเรามีอิทธิพลต่อกระบวนการกำหนดนโยบายในระดับท้องถิ่นได้.
Better bridges can help those representing farmers and consumers to voice the opinions and needs of these farmers or consumers, and also help them provide feedback. “Those who went to Rio cannot just go back to their job. There is an urgent need to provide feedback, and to involve everybody in the preparations for future meetings. We need better bridges, but that is something that all stakeholders need to build together.”
สะพานที่ดีกว่าสามารถช่วยพวกที่เป็นตัวแทนของชาวนาและผู้บริโภค ให้ส่งเสียงแสดงความเห็นและความจำเป็น/ต้องการของชาวนาและผู้บริโภค, และยังช่วยให้พวกเขาป้อนข้อมูลกลับขึ้นไปได้.  “พวกที่ไปที่ริโอ ไม่สามารถจะแค่กลับไปทำงานเก่าของตน.   มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะป้อนข้อมูลกลับขึ้นไป, และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเตรียมตัวสำหรับการประชุมในอนาคต.   เราจำเป็นต้องมีสะพานที่ดีกว่านี้, แต่นั่นเป็นบางสิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดจำเป็นต้องมาสร้างร่วมกัน”.

KVS Prasad: “Our job starts now”
เค วี เอส ปราสาท: “งานของเราเริ่มขึ้นขณะนี้”

Many analysts have concluded that Rio+20 gave them a “more-of-the-same” feeling, of “business as usual” once again, or that this was just another platform for governments or international organisations to continue pursuing their own agenda. But many other voices were also heard during the conference, and the concerns of the readers of this magazine were also discussed. It has been very encouraging to hear these different voices, and especially “to see that they are so many”, said KVS Prasad, Executive Director of the AME Foundation.
                นักวิเคราะห์หลายคน ได้สรุปว่า ริโอ+20 ให้ความรู้สึก “เดิมๆ”, ของ “กิจการก็ยังคงดำเนินต่อไปเหมือนปกติ” อีกครั้ง, หรือ มันก็เป็นเพียงอีกเวทีหนึ่งสำหรับรัฐบาล หรือ องค์การระหว่างประเทศ ในการไล่ล่าวาระของตัวเองต่อไป.   แต่หลายเสียงอื่นๆ ก็ได้ยินเช่นกันในระหว่างการประชุม, และก็ได้มีการยกประเด็นห่วงใยจากผู้อ่านของแมกกาซีนนี้ขึ้นอภิปรายด้วย.   เสียงต่างๆ กันนี้ สร้างกำลังใจให้ได้มาก, และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การได้เห็นว่า มันมีมากมายเหลือเกิน”, เค วี เอส ปราสาท กล่าว, ผู้อำนวยการบริหารของมูลนิธิ เอเอ็มอี.
He finds it comforting to think of the large number of voices and opinions heard in favour of family farming and agro-ecology. “The Rio+20 conference gave us a great opportunity to see how strong we are, and how strong we can be”. What we need to do now is to look at the all the contacts made, and to further develop them into ‘relationships’ so that we move forward. “We cannot expect to see outcomes and outputs immediately, but we can nurture these relationships, developing something like a ‘real life Facebook’ that will not only let us keep in touch, but actually help us work together towards our common and shared goal. In this sense, our job starts now.”
                เขารู้สึกสบายใจขึ้น เมื่อคิดถึงเสียงและความคิดเห็นมากมาย ที่เขาได้ยินที่เข้าข้างครอบครัวเกษตรและเกษตร-นิเวศ.   “การประชุมริโอ+20 ได้ให้โอกาสยิ่งใหญ่แก่พวกเราให้เห็นว่าพวกเราแข็งแรงแค่ไหน, และพวกเราจะสามารถแข็งแรงได้ขนาดไหน”.   สิ่งที่พวกเราต้องทำตอนนี้ คือ มองไปที่จุดติดต่อทั้งหมดที่สร้างขึ้น, และพัฒนามันให้กลายเป็น “ความสัมพันธ์” เพื่อว่า เราจะได้เดินหน้าไปด้วยกัน.  “เราไม่สามารถคาดหวังว่า จะเห็นผลพวงและผลลัพธ์ทันทีทันใด, แต่เราสามารถหล่อเลี้ยงความสัมพันธ์เหล่านี้, พัฒนาบางอย่าง ประหนึ่ง เฟสบุ๊คที่มีชีวิตจริงๆที่ไม่เพียงแต่เป็นช่องทางให้เราติดต่อกัน, แต่อันที่จริง ช่วยให้เราทำงานร่วมกันสู่เป้าหมายร่วมของพวกเรา.   ในทำนองนี้, งานของพวกเราเริ่มต้นขณะนี้”.

Teresa Gianella: “Translate, and continue”
เทเรซา เกียเนลลา: “แปล, และทำต่อไป”

Good or insufficient, the results of Rio+20 run the risk of getting lost if they are not “translated”, or at least analysed with a local level perspective. Teresa Gianella, editor of LEISA revista de agroecología, thinks that this is especially necessary in Peru and in Latin America in general, where social differences are huge, and where “one-size-fits-all” approaches are particularly difficult. There is an urgent need to look at how the discussions and agreements reached, or at how the issues raised in Rio, relate to the growing inequalities that go hand in hand with the impressive figures of economic growth.
ดี หรือ ไม่พอเพียง, ผลของริโอ+20 เสี่ยงต่อการสูญหายไป หากมันไม่ถูก “แปล”, หรือ อย่างน้อยวิเคราะห์ในมุมมองของท้องถิ่น.  เทเรซา เกียเนลลา, บรรณาธิการ ของ LEISA revista de agroecología, คิดว่า นี่เป็นสิ่งจำเป็น อย่างยิ่งในเปรู และ ลาตินอเมริกาทั่วไป, ที่ๆ มีความแตกต่างทางสังคมสูงมาก, และแนวทาง “ขนาดเดียวสำหรับทุกคน” เป็นเรื่องยากมาก.  มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะมองลึกลงไปที่ วิธีการอภิปรายและทำข้อตกลงต่างๆ, และที่วิธีการนำเสนอประเด็นต่างๆ ในริโอ, ว่ามันเกี่ยวข้องกับความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มมากขึ้น ที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่น่าประทับใจอย่างไร.
“What we need to do is to translate what we’ve talked about and heard, looking at the macro and at the micro contexts: at the initiatives that are being tried at a national level, but also at what’s happening in, for example, a village that is resisting the expansion of large-scale mining enterprise.” This translation is necessary to turn general proposals into concrete action plans.
                “สิ่งที่พวกเราต้องทำ คือ แปลสิ่งที่พวกเราได้พูดถึงและได้ยิน, มองในมหภาคและบริบทจุลภาค: ที่การริเริ่มที่กำลังถูกลองที่ระดับชาติ, แต่ยังดูว่า เกิดอะไรขึ้น, เช่น, หมู่บ้านหนึ่งที่กำลังต่อต้านการขยายตัวของวิสาหกิจทำเหมืองขนาดใหญ่”.   การแปลนี้ เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อเปลี่ยนข้อเสนอทั่วๆ ไป สู่ แผนปฏิบัติการรูปธรรม.
Equally important is the need to look in more detail at agriculture, at the problems that small-scale farmers are facing, and at the enormous contributions they can make. “Rio+20 needs to be linked to the International Year of Family Farming”. While it may not be necessary to organise a large-scale world conference again, we may need “to follow its example”, and encourage a large scale exchange of opinions and discussions that are based on what is happening, and on what needs to happen, at a local level.
                สิ่งสำคัญเท่าเทียมกัน คือ จำเป็นต้องดูในรายละเอียดที่การเกษตร, ที่ปัญหาที่เกษตรกรขนาดเล็กกำลังเผชิญ, และที่คุณูปการมหาศาลของพวกเขา.  “ริโอ+20 จำเป็นต้องเชื่อมกับปีสากลของครอบครัวเกษตรกร”.  ในขณะที่มันอาจไม่จำเป็นต้องจัดการประชุมโลกขนาดใหญ่อีก, เราอาจจำเป็นต้อง “ทำตามตัวอย่างของมัน”, และเชิญชวนให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นและการอภิปราย ที่มีฐานบนสิ่งที่เกิดขึ้นจริง, และบนสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น, ในระดับท้องถิ่น.
Read more about Rio+20
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

120. ทำไมเกษตรกรจึงรวมตัวกันยาก



Hard work - Finding rules that keep a group together
by Giel Ton
งานหนัก--การหากฎเกณฑ์ที่ทำให้กลุ่มอยู่รวมกันได้


In spite of their differences, there are some essential features that are common to all farmer organisations. One of these is the need to find a balance between their interests as a group and the interests of its individual members. How - and when - is this balance found?
แม้พวกเขาจะมีความแตกต่างกันมาก, ก็ยังมีคุณลักษณะบางประการที่เป็นฐานร่วมสำหรับองค์กรเกษตรกรทั้งหมด.   สิ่งหนึ่ง คือ ความจำเป็นที่จะหาความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของพวกเขา ในฐานะกลุ่ม และผลประโยชน์ในฐานะปัจเจกสมาชิก.  จะหาความสมดุลนี้ได้อย่างไร-และเมื่อไร?

Farming Matters | 28.3 | September 2012

Following the framework to analyse the way farmer organisations
work that was presented in the June issue of Farming Matters, the
Empowering Smallholder Farmers in Markets (ESFIM) research
programme is looking in detail at the ways in which organisations
handle the tensions between groups and individuals, and is
drawing lessons that can help these organisations be more efficient.
                ต่อจากกรอบวิเคราะห์วิธีการที่องค์กรเกษตรกรทำงาน ดังได้รายงานในฉบับเดือนมิถุนายน ของ Farming Matters, โปรแกมวิจัย เสริมอำนาจเกษตรกรรายเล็กในตลาด (ESFIM) กำลังดูที่รายละเอียดในวิธีการที่องค์กรจัดการกับความตึงเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มและปัจเจก, และได้ถอดบทเรียนที่จะสามารถช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น.
Not surprisingly, we’ve found that holding a group together is not easy, and that we all need “organisational intelligence”. The efforts of different organisations in Bolivia illustrate the iterative process that leads to organisational learning.
                ไม่ประหลาดใจเลย, เราได้พบว่า การรวมเป็นกลุ่มด้วยกันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย, และว่า พวกเราทั้งหลายต้องการ “ปัญญาของการจัดองค์กร”.  ความพยายามขององค์กรต่างๆ ในโบลิเวีย แสดงให้เห็นถึงกระบวนการยอกย้อน ซ้ำๆ ที่นำไปสู่การเรียนรู้เชิงองค์กร.

Quality Assurance Systems
                ระบบประกันคุณภาพ

In collective marketing, an organisation will define the terms of trade on the basis of the quality and quantity it can offer. Once a deal is made, the organisation has to ensure that its members’ products meet the defined standards.
                ในการตลาดที่รวมเป็นหมู่คณะ, องค์กรจะนิยามข้อตกลงการค้าบนพื้นฐานของคุณภาพและปริมาณที่มันจะสามารถเสนอได้.   เมื่อต่างฝ่ายยอมรับข้อตกลงนั้นได้, องค์กรจะต้องทำให้มั่นใจว่า ผลผลิตของสมาชิกเข้ามาตรฐานที่กำหนดไว้.
“We had problems with members who supplied tarwi (a traditional Andean cereal) of a lower quality. To solve this, we introduced sanctions for those who did this more than once, fining them Bs 100 (or US$ 15). These sanctions are not included in our statutes, but were agreed to in our Assembly. Quality control is done by a specially appointed board member, who has to taste the tarwi and then decide whether to accept or reject the product. To prevent the influence of family ties we had the entire group observing that no bad products were allowed. This group control has been decisive Hard work Finding rules that keep a group together in making the system work. It also helped that we are a small organisation. The first time there is a problem we just give a warning and this usually prevents any problems reoccurring. Sometimes, we have had to impose sanctions, but only a few members have been fined.” (ASAFOP, an organisation in Sucre selling tarwi to school feeding programmes)
                “เรามีปัญหากับสมาชิกส่ง ทาร์วิ (ธัญพืชแอนเดียนดั้งเดิม) ที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาให้.   เพื่อแก้ปัญหานี้, เราได้ตั้งระบบการลงโทษพวกที่ทำเช่นนี้มากกว่าหนึ่งครั้ง, ด้วยการปรับเงิน Bs 100 (หรือ US$ 15).  การลงโทษเหล่านี้ ไม่ได้รวมอยู่ในธรรมนูญ, แต่ได้ตกลงกันในสมัชชา.   การควบคุมคุณภาพ กระทำโดยแต่งตั้งคณะกรรมการเป็นการพิเศษ, ผู้จะต้องชิมทาร์วิ และตัดสินว่า จะรับหรือไม่รับผลิตผลนั้น.    เพื่อหลีกเลี่ยงอิทธิพลเครือญาติ เราได้ให้ทั้งกลุ่มนั่งสังเกตการณ์ว่า จะไม่มีการยอมรับผลิตผลเลวๆ.   การควบคุมโดยกลุ่มนี้ เป็นงานยากมากในการหากฎเกณฑ์ที่จะเป็นตัวตัดสินให้กลุ่มรวมตัวขับระบบให้ทำงานได้.   การที่เราเป็นองค์กรเล็กๆ ก็มีส่วนช่วย.   ครั้งแรก มีปัญหา เราเพียงแต่เตือน และนี่ก็มักทำให้ปัญหาไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก.  บางครั้ง, เราต้องลงโทษ, แต่สมาชิกเพียงไม่กี่คนที่ถูกปรับ”.

Coping with working capital constraints
            รับมือกับข้อจำกัดด้านต้นทุนการทำงาน

Most smallholder farmers face cash constraints. Organisations involved in processing, exporting or supplying governments often have to wait several months before they are paid. While every organisation finds it better to pay its members after all the financial transactions have been completed, most members cannot wait that long.
                เกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่ไม่มีเงิน.  องค์กรที่ร่วมในการแปรรูป, ส่งออก หรือส่งให้รัฐบาล มักต้องรอหลายเดือนกว่าจะได้รับเงิน.   ในขณะที่ทุกๆ องค์กรพบว่า จะดีกว่าถ้าจ่ายสมาชิกหลังจากเสร็จสิ้นธุรกรรมทางการเงินทั้งหมด, สมาชิกส่วนใหญ่ไม่สามารถรอนานขนาดนั้น.
“We have set up a fund with the profits we make, so we pay our members on delivery of the product. We pay one boliviano per pound of product (‘reintegro’) and use the rest to capitalise this fund. Every member pays an annual contribution of Bs 50. Nevertheless, we are looking for ways to get extra funds as we do not have enough working capital. Due to this shortage, we have to accept that members also sell to other buyers: we cannot prevent them selling their alpaca fibre to others as we cannot always pay them in cash. We need to find strategies to solve this. We are thinking of a bank loan or of an additional member contribution, but this will affect all members, so it has to be planned with caution.” (APCA, an organisation on the Altiplano selling alpaca wool)
                “เราได้จัดตั้งกองทุนขึ้นด้วยเงินกำไรที่เราได้, ดังนั้น เราจ่ายสมาชิกของเราเมื่อส่งผลิตภัณฑ์.  เราจ่าย Bs1 ต่อผลผลิตหนึ่งปอนด์ (‘reintegro’) และใช้เงินที่เหลือเพื่อสมทบกองทุนนี้.    สมาชิกทุกคน จ่าย Bs 50 เป็นค่าธรรมเนียมประจำปี.   ถึงกระนั้น, เรากำลังมองหาทางที่จะได้ทุนมากขึ้น เพราะเราไม่มีต้นทุนทำงานมากพอ.  เพราะความขัดสนนี้, เราต้องยอมให้สมาชิกของเราขายให้ผู้อื่นด้วย: เราไม่สามารถห้ามพวกเขาขายเส้นใยแก่ผู้อื่น เพราะเราไม่สามารถจ่ายเป็นเม็ดเงินแก่พวกเขามาตลอด.   เราจำเป็นต้องหายุทธศาสตร์อื่นๆ เพื่อแก้ปัญหานี้.   เรากำลังคิดกู้ธนาคาร หรือ เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่ม, แต่นี่จะกระทบสมาชิกทั้งหมด, ดังนั้น จะต้องวางแผนอย่างรอบคอบ”.  

Anticipating side-selling
            คาดการณ์ถึงการขายข้าง

There is a serious risk that farmers “side-sell” their produce to competing traders or processors from whom they receive no services or inputs, and with whom they have no monetary obligations. Most organisations need mechanisms to prevent this occurring and avoid losses, or find other ways to recover the costs incurred in providing services to its members.
                มีความเสี่ยงสูงที่เกษตรกรจะ “ขายข้าง” ผลิตผลของเขาให้พ่อค้าคู่แข่ง หรือ ผู้แปรรูปที่ไม่ได้เป็นสมาชิก หรือให้บริการต่อกลุ่ม, และไม่มีพันธะทางการเงินต่อกัน.  องค์กรส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีกลไกป้องกันไม่ให้เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นได้ และเป็นการหลีกเลี่ยงการรั่วไหลหรือเสียหาย, หรือหาวิธีอื่น เพื่อชดใช้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการให้บริการแก่สมาชิก.
“It takes a lot of effort to have ‘loyal’ members. Some do not understand that as an organisation we have additional costs that external agents or brokers do not have. We decided that those who did not supply our organisation exclusively would not benefit from the external support or grants we get as a group. But this did not work. Another mechanism has been to try to convince members of the fairness of the price we pay, developing a cost-benefit analysis in a participatory way. We start indicating the price in the market and the costs we have to pay as an association. Then, we look at the profit and we define the on-farm price. Until now, we have not been able to find an effective mechanism. Fortunately, fewer than 10% of our members need convincing...” (AOCEMM, an organisation in Tarija supplying honey to a national nutrition programme)
                “เราต้องใช้ความพยายามมากที่จะทำให้สมาชิก ภักดี.  บางคนไม่เข้าใจว่า ในฐานะองค์กร เรามีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เมื่อเทียบกับเอเย่นต์จากข้างนอก หรือนายหน้า ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายนี้.  พวกเราได้ตัดสินใจว่า คนที่ไม่ส่งผลิตผลให้เราทั้งหมดผู้เดียว จะไม่ได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนหรือทุนที่เราได้รับจากภายนอก ในฐานะเป็นกลุ่ม.   แต่นี่ก็ใช้ไม่ได้.   พวกเราได้ลองกลไกอื่น ด้วยการชักจูงสมาชิกว่า ราคาที่เราจ่าย เป็นธรรม, ด้วยการพัฒนาการวิเคราะห์ ต้นทุน-ผลประโยชน์ อย่างมีส่วนร่วม.  เราได้เริ่มแสดงราคาตลาด และต้นทุนที่เราต้องจ่ายในฐานะที่เป็นสมาคม.  แล้ว, เราก็ดูที่กำไร และกำหนด ราคาหน้าไร่.   จนบัดนี้, เราก็ยังไม่สามารถหากลไกที่มีประสิทธิภาพ.  โชคดี, เรามีสมาชิกน้อยกว่า 10% ที่เราต้องชักจูงให้เชื่อตาม...”

Differentiating between services to members and non-members
            แยกระหว่างการบริการแก่ผู้ที่เป็นสมาชิกและผู้ไม่เป็นสมาชิก

Most economic organisations need contributions from their members to do business or to provide efficient services. However, members face a number of disincentives to do so. The most common one is free-riding: why contribute when you can get the same services without being a member?
                องค์กรเศรษฐกิจส่วนใหญ่จำเป็นต้องเก็บค่าธรรมเนียมจากสมาชิกเพื่อดำเนินธุรกิจ หรือ เพื่อให้บริการที่มีประสิทธิภาพ.   แต่, สมาชิกเจอเรื่องไม่จูงใจให้ทำเช่นนั้น.   ปัญหาร่วมคือ การกินขึ้นรถฟรี: จ่ายทำไม เมื่อคุณสามารถได้รับบริการอย่างเดียวกันโดยไม่ต้องเป็นสมาชิก?
“In our latest Assembly we decided that members would receive a better price than non-members. We hope to implement this decision this autumn, though it may not work. If we had bigger profits we could pay our members higher prices but we don’t have enough money. And we cannot pay less to non-members: they won’t sell to us if we do not pay them more than our competitors. We do a service that differentiates between members and nonmembers: the grain mill. Members pay Bs 0.50 less for each kilo milled in it, so a lot of producers have indicated their interest in joining our association. However, the existing members are hesitant to allow this because they think that new members will benefit from the mill without having contributed to it. They argue that new members should pay more, but the new ones do not accept this condition.” (APEMAK, an organisation in a remote area of Azurduy that sells cereals to urban traders)
                “ในการประชุมสมัชชาล่าสุด พวกเราได้ตัดสินใจให้สมาชิกได้รับบริการที่ดีกว่าคนที่ไม่เป็นสมาชิก.   เราหวังว่าจะดำเนินการตัดสินใจนี้ในฤดูใบไม้ร่วง, แม้ว่ามันอาจไม่ทำงาน.   หากเรามีกำไรมากกว่านี้ เราจะสามารถจ่ายให้สมาชิกของเราสูงกว่า  แต่เราไม่มีเงินมากพอ.  และเราก็จ่ายให้คนที่ไม่เป็นสมาชิกน้อยกว่า: พวกเขาจะไม่ยอมขายให้เรา หากเราไม่จ่ายสูงกว่าคู่แข่งของเรา.   เราให้บริการที่แยกสมาชิกกับคนนอก: โรงสี.   สมาชิกจ่าย  Bs 0.50 น้อยกว่าต่อทุกๆ กิโลกรัมที่สีกับเรา,  ดังนั้น ผู้ผลิตหลายคน ได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมสมาคมของเรา.   แต่สมาชิกที่มีอยู่ลังเลที่จะอนุญาต เพราะคิดว่า สมาชิกใหม่เหล่านี้ จะได้รับประโยชน์จากโรงสี โดยไม่จ่ายค่าธรรมเนียม.   พวกเขาแย้งว่า สมาชิกใหม่ควรจ่ายมากกว่า, แต่คนใหม่ก็ไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว”.
What are your experiences in dealing with such problems? We are interested in stories that show innovative ways farmer organisations have coped with these and similar challenges when marketing collectively. All contributions will be entered into an extensive database of experiences, which will be accessible through a special website, www.collectivemarketing.org, later this year. Please send your contributions, short or long, told as stories or analysed, to: cases@esfim.org. Be part of this crowd-sourcing project!
                คุณมีประสบการณ์อย่างไรในการจัดการปัญหาเช่นนี้?  เราสนใจในเรื่องราวที่เป็นนวัตกรรมขององค์กรเกษตรกร ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ หรือสิ่งท้าทายแบบเดียวกัน เมื่อทำการตลาดอย่างเป็นหมู่คณะ.  

Text: Giel Ton, Lithzy Flores and Evaristo Yana

This project benefits from financial support from ICCO, IFAD and the Dutch Government and is part of the ESFIM research support programme to national farmer organisations (www.esfim.org), implemented by AGRINATURA (www.agrinatura.eu) through Wageningen UR, CIRAD and NRI. Giel Ton (giel.ton@wur.nl) is ESFIM’s research co-ordinator. Working with the programme, Lithzy Flores, Evaristo Yana and Rubén Monasterios applied the framework presented in the June issue of Farming Matters in their in-depth interviews with forty Bolivian farmer organisations.
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล