วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

202. ตำราการปลดแอกอาณานิคมอาหารร่วมของเรา-๒


202.  Book on Decolonizing Our Food Commons-2

2. A Level Planting Field: Challenging Corporate Rule
2. แปลงเพาะปลูกที่เสมอกัน: ท้าทายกฎบรรษัท
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
“The farmer is the one who feeds us all.
Lives on credit ‘til the fall,
Then they take him by the hand,
And they lead him from the land,
And the middleman’s the one who gets it all.”
— “The Farmer is the One,” traditional from the 1800s (excerpted)
“เกษตรกรเป็นคนที่เลี้ยงพวกเราทั้งหมด.
ยังชีพด้วยสินเชื่อจนล้มทั้งยืน,
แล้วพวกเขาก็มาจูงเขาที่มือ,
และพวกเขาก็พาเขาออกจากที่ดิน,
และคนกลางก็เป็นคนที่ได้ไปทั้งหมด”.
-“เกษตรกรเป็นคนที่,” คำพังเพยเดิม ตั้งแต่ทศวรรษ 1800s (๒๓๔๓)

Just outside of the small town of Maumelle, Arkansas sits your run-of-the-mill American strip mall. And as in so many other box store hubs, a Walmart dominates the landscape. But something is a shade different about this one: Its big, looming letters are not the standard blue. These letters, in a new, green hue, spell out “Walmart Neighborhood Market.” Focused primarily on groceries, Walmart’s “Neighborhood Markets” seem a valiant attempt at a makeover, an effort to woo the growing number of people who find themselves driving down Main Street, craving an actual, legitimate neighborhood market.
นอกเมืองเล็กๆ ของ มอเมลล์, รัฐอาร์คานซอ เป็นย่านชอปปิ้งมอลล์อเมริกันของคุณ.  และก็เหมือนกับจุดรวมร้าน (รูปร่าง) กล่องอื่นๆ มากมาย, วอลล์มาร์ทครอบงำภูมิทัศน์.  แต่มีบางอย่างที่ทำให้สีสันดูแปลกไป:  อักษรตัวใหญ่ของมันไม่ใช่สีน้ำเงินแบบมาตรฐาน.  แต่เป็นแบบใหม่ สีเชียว, สะกดว่า “วอลล์มาร์ท ตลาดเพื่อนบ้าน”.  ด้วยการเน้นที่ของชำเป็นพื้น, “ตลาดเพื่อนบ้าน” ของวอลล์มาร์ทดูเหมือนเป็นความพยายามที่อาจหาญ, ความพยายามกู่เรียกคนจำนวนเพิ่มขึ้น ที่เกิดความต้องการที่จะขับรถไปถนนเอก, แสวงหาตลาดเพื่อนบ้านที่มีความชอบธรรม.
A little further down the interstate, a giant billboard with a photo of a stoic-looking farmer watches over the speeding traffic. He’s staring into the distance against the backdrop of a glowing wheat field, with the caption “America’s Farmers Grow America.” It’s an image to melt all our pastoral hearts. Until we read the small print in the corner: “Monsanto.”
เลยไปหน่อยที่ถนนหลวงระหว่างรัฐ, มีป้ายโฆษณาข้างทางขนาดยักษ์ ที่มีภาพเกษตรกรหน้าขรึม จ้องมองจราจรที่วิ่งผ่านไปมาอย่างรวดเร็ว.  เขากำลังจ้องมองไปไกลบนภูมิภาพของทุ่งข้าวสาลีอร่าม, พร้อมคำบรรยายใต้ภาพ “เกษตรกรของอเมริกาปลูกอเมริกา”.  มันเป็นภาพพจน์ที่หลอมหัวใจที่รักทุ่งหญ้าชนบทของเรา.  จนกระทั่งเราอ่านเจอตัวพิมพ์เล็กๆที่หัวมุม “มอนซานโต”.
It’s true, Monsanto and Walmart catch all the flack. But they are irresistible targets for a reason. Walmart now sells more groceries than anyone else in the country, and Monsanto is the world’s largest seed company. Together, they profit off of a tremendous percentage of the food that will eventually make its way into our stomachs.
เป็นความจริง, มอนซานโตและวอลล์มาร์ท ถูกด่าทุกอย่าง.  แต่พวกเขาเป็นเป้าที่เหลืออดเพราะเหตุผลหนึ่ง.  วอลล์มาร์ท ตอนนี้ ขายของชำมากกว่าใครอื่นในประเทศ, และ มอนซานโตเป็นบริษัทเมล็ดใหญ่ที่สุดในโลก.  รวมกันแล้ว, พวกเขาทำกำไรคิดเป็นเปอร์เซ็นต์มหาศาลจากอาหาร ที่ในที่สุดก็จะเข้าไปอยู่ในกระเพาะของเรา.
It’s no secret that we are bombarded and manipulated by corporate name brands every day. A Coca-Cola annual report some years back stated, “All of us in the Coca-Cola family wake up each morning knowing that every single one of the world’s 5.6 billion people will get thirsty that day… If we make it impossible for these 5.6 billion people to escape Coca-Cola…, then we assure our future success for many years to come.  Doing anything else is not an option.”18[1]
มันไม่ใช่ความลับเลยที่ว่า พวกเราถูกสาดยิงและล้างสมองด้วยยี่ห้อชื่อของบรรษัททุกวัน.  รายงานประจำปีของโคคา-โคลาหลายปีก่อน ระบุว่า, “พวกเราทั้งหมดในครอบครัวโคคา-โคลา ตื่นขึ้นทุกเช้า รู้ว่า ทุกๆ คนใน 5.6 พันล้านคนของโลก จะต้องหิวน้ำในวันนั้น...หากเราทำให้มันเป็นไปไม่ได้สำหรับคน 5.6 พันล้านนี้ ที่จะหนีพ้นโคคา-โคลาได้..., แล้วพวกเราก็แน่ใจได้ในความสำเร็จอนาคตของเราเป็นเวลาหลายๆ ปี.  การจะทำอะไรอย่างอื่น ไม่ใช่ทางเลือก”.
‘Impossible’ to ‘escape’ certainly sounds daunting. Creepy, even. Yet people are escaping by the droves, escaping a food system more obsessed with money than with sustenance. Around the globe people are declaring an end to the corporate takeover of food.
เป็นไปไม่ได้ที่จะหนีแน่นอน ฟังน่ากลัวนัก.  แม้แต่ น่าขยะแขยง.  แต่คนกำลังวิ่งหนีเป็นฝูง, หนีจากระบบอาหารที่หมกมุ่นอยู่กับเม็ดเงินมากกว่าการบำรุงหล่อเลี้ยงชีวิต.  รอบๆ โลก ประชาชนกำลังประกาศจุดจบของบรรษัทที่ยึดครอบครองอาหาร.
In the small village of Hinche, Haiti on a hot June day in 2010, a circle of thousands of farmers stood around a small pile of smouldering seeds. Though seeds are sacred to farmers, this pile was not being offered up in reverence, but in resistance. A few months earlier, the Haitian Ministry of Agriculture had given Monsanto permission to import and ‘donate’ 505 tons of hybrid corn and vegetable seeds. “It’s a declaration of war,” peasant leader Chavannes Jean-Baptiste said. The importation of massive amounts of hybrid seed threatens Haiti’s traditional, regionally adapted seed stock. It also creates a cycle of dependence, with farmers buying seeds from Monsanto each year rather than relying on local markets or their own saved seed. In an open letter, Jean-Baptiste, the Executive Director of the Peasant Movement of Papay (MPP), called the entry of Monsanto seeds into Haiti “a very strong attack on small agriculture, on farmers, on biodiversity, on Creole seeds…, and on what is left of our environment in Haiti.”19[2]
ในหมู่บ้านเล็กๆ ฮินเช, ไฮติ ในวันที่ร้อนระอุเดือนมิถุนายน ปี 2010, เกษตรกหลายพันคนยืนล้อมวงรอบๆ กองเมล็ดที่คุไฟ.  แม้ว่าเมล็ดจะเป็นของศักดิ์สิทธิ์สำหรับเกษตรกร, กองๆ นี้ไม่ใช่การถวายด้วยจิตสักการะ, แต่เป็นการต่อต้าน.  ไม่กี่เดือนก่อนหน้า, กระทรวงเกษตรของไฮติ ได้อนุญาตให้ มอนซานโต ส่งเข้า และ “บริจาค” เมล็ดข้าวโพดและผักผสมพันธุ์ 505 ตัน.  “มันเป็นการประกาศสงคราม”, Chavannes Jean-Baptiste.  การส่งเข้าในปริมาณมหาศาลของเมล็ดพันธุ์ผสม คุกคาม คลังเมล็ดดั้งเดิมของไฮติที่ได้ปรับตัวในภูมิภาคดีแล้ว.  มันยังสร้างวงจรของการเป็นเมืองขึ้น, ที่เกษตรกรต้องซื้อเมล็ดจากมอนซานโตทุกๆ ปี แทนที่จะพึ่งตลาดท้องถิ่น หรือ เมล็ดที่พวกเขาเก็บรักษาไว้เอง.  ในจดหมายเปิด, Jean-Baptiste, ผอ ของขบวนการชาวนาแห่ง ปาปาย (MPP), ได้เรียกการเข้ามาของเมล็ดเหล่านี้ว่าเป็น “การโจมตีอย่างแรงต่อเกษตรกรรมเล็ก, ต่อเกษตรกร, ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ, ต่อ เมล็ดของชาวครีโอ..., และต่อสิ่งแวดล้อมที่เหลืออยู่ของเราในไฮติ”.

©Tequila Minsky
Small farmers burn Monsanto seeds in Haiti, June 2010. The hats say, “Down with Monsanto.”

The same day as the protest in Haiti, activists in Seattle gathered in solidarity. They burned Monsanto seeds in front of the headquarters of the Gates Foundation, which is promoting genetically modified seeds in Africa. In Missoula, Montana, activists dressed in lab coats and Tyvek to protest. In Chicago, a Haiti support group didn’t have Monsanto seeds, so they burned Cheetos instead. The Organic Consumers Association’s network sent more than 10,000 emails protesting Monsanto to USAID and President Obama.
ในวันเดียวกับที่มีการประท้วงในไฮติ, นักรณรงค์ในซีแอตเติลพร้อมใจรวมตัวกัน.  พวกเขาเผาเมล็ดมอนซานโตข้างหน้า สนญ ของมูลนิธิเกตส์, ที่ส่งเสริมเมล็ด จีเอ็มโอ ในอาฟริกา.  ใน มิสซูลา, รัฐมอนทานา, นักรณรงค์แต่งชุดแล็บ และ Tyvek.  ในชิคาโก, กลุ่มสนับสนุนไฮติ ไม่ได้มีเมล็ดมอนซานโต, พวกเขาเผา Cheetos แทน.  เครือข่ายของสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ ได้ส่งอีเมลกว่า 10,000 ฉบับ ประท้วงการ “บริจาค” ของมอนซานโต ต่อ กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ และ ประธานาธิบดีโอบามา. 
Once the maker of Agent Orange, Monsanto is also a leading herbicide company and a primary force in the creation and marketing of genetically modified organisms (GMOs).  Via Campesina, the international alliance of small farmers, peasants, landless people, and indigenous people, declared Monsanto and other transnational corporations the “principle enemies of peasant sustainable agriculture and food sovereignty.”[3]20 The coalition keeps the spotlight on Monsanto at the majority of its protests, most recently at the 2011 UN Climate Change Conference in Durban, South Africa. In October 2009 and 2010, the coalition organized international days of action against the company and agribusiness in general, with teach-ins, marches, hunger strikes, land occupations, and protests of all types carried out in at least 20 countries.[4]21
ครั้งหนึ่งในฐานะผู้ผลิต เอเจนค์ ออเรนจ์, มอนซานโตยังเป็นบริษัทนำในการผลิตยากำจัดวัชพืช และ เป็นพลังปฐมในการสร้างและการตลาดค้า จีเอ็มโอ.  เวีย คัมเปซินา, เป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศของเกษตรกรรายย่อย, ชาวนา, คนไร้ที่ทำกิน, และชนพื้นเมืองดั้งเดิม, ที่ประกาศว่า มอนซานโต และ บรรษัทข้ามชาติอื่นๆ เป็น “ปฏิปักษ์หลักของอธิปไตยอาหารและเกษตรที่ยั่งยืนของชาวนา”.  เวีย คัมเปซินา ได้เฝ้าส่องสป็อตไลท์ ไปที่ มอนซานโต ในที่ประท้วงทั้งหลาย, เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ การประชุมสหประชาชาติเรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ที่ Durban, South Africa.  ในเดือนตุลาคม 2009 และ 2010, เครือข่ายได้จัดวันปฏิบัติการระหว่างประเทศ ต่อต้าน บรรษัทนี้และธุรกิจเกษตรโดยทั่วไป, ด้วยการฝึกอบรม, การเดินขบวน, การอดอาหารประท้วง, การยึดที่ดิน, และ การประท้วงในรูปแบบต่างๆ ที่จัดขึ้นในอย่างน้อย 20 ประเทศ.

Jeremy Seifert, www.gmofilm.com; Protesting in Los Angeles.

From Corn to Cheetos: Food as Big Business
จากข้าวโพด สู่ ชีโตส : อาหารในฐานะธุรกิจขนาดใหญ่

The nation’s move towards industrialization in the 19th Century ushered in major changes in agriculture. The focus shifted to creating an abundance of affordable food for a growing population, while simultaneously reducing the number of people laboring in the fields in order to free them up for work in the factories. The need for more food with less labor meant more mechanization and therefore bigger farms.  The emergence of vast, spread-out farms required that food travel long distances, and went hand-in-hand with the creation of companies to transport, package, and process food.
การเคลื่อนตัวสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมของชาติมในศตวรรษที่ 19 ได้นำการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในภาคเกษตร.  จุดเน้นได้ขยับไปเป็นสร้างอาหารมากมายที่จ่ายไหว สำหรับประชากรที่เพิ่มมากขึ้น, ในขณะเดียวกันก็ลดจำนวนผู้คนที่ออกแรงในไร่นา เพื่อปลดปล่อยพวกเขาให้ทำงานในโรงงาน.  ความต้องการอาหารมากขึ้นด้วยแรงงานน้อยลง หมายถึง การใช้เครื่องจักรกลมากขึ้น และดังนั้น ฟาร์มขนาดใหญ่ขึ้น.  การอุบัติขึ้นของฟาร์มขนาดใหญ่ที่แพร่กระจาย จำเป็นต้องให้อาหารเดินทางไกล, และไปพร้อมกับการสร้างบริษัทเพื่อการขนส่ง, บรรจุภัณฑ์, และแปรรูปอาหาร.
Over the years, our food has become increasingly commodified, that is, converted from nourishment to a mass-marketed consumer product. These days, an ever-shrinking number of mega-corporations controls an ever-expanding amount of food production, from seeds to equipment, from chemical inputs to processing. Consider these statistics:
ในช่วงขวบปีที่ผ่านมา, อาหารของเราได้กลายเป็นสินค้ามากขึ้นเรื่อยๆ, นั่นคือ, เปลี่ยนจากสิ่งหล่อเลี้ยง บำรุงร่างกาย เป็น มวลบริโภคภัณฑ์เพื่อค้าขาย.  ทุกวันนี้, จำนวนบรรษัทขนาดมหึมา จำนวนลดลงทุกที ควบคุมปริมาณที่มีแต่มากยิ่งขึ้นของ กระบวนการผลิตอาหาร, จากเมล็ดถึงอุปกรณ์, จากวัสดุเคมีภัณฑ์ ถึง การแปรรูป.  ขอให้พิจารณาสถิติต่อไปนี้:
• Just four companies own approximately 84 percent of the U.S. beef market;[5]22
เพียง 4 บริษัทครอบครองตลาดเนื้อวัวของสหรัฐฯ ประมาณ 84%;
• Four firms control 66 percent of the pork-packing market and another four control 58 percent of poultry processing;[6]
สี่บริษัทควบคุม ตลาดบรรจุภัณฑ์เนื้อหมู 66% และอีกสี่ ควบคุมการแปรรูปสัตว์ปีก 58%;
• Four companies own 43 percent of the world’s commercial seed market;[7]24
สี่บริษัทครอบครองตลาดเมล็ดพาณิชย์ของโลก 43%;
• Three companies (Archer Daniels Midland, Cargill, and Bunge) control 90 percent of the global grain trade;[8]25 and
สามบริษัท (อาร์เชอร์ แดเนียล มิดแลนด์, คาร์กิลล์ฅ และ บังเก) ควบคุม การค้าธัญพืชของโลก 90%;
• Four companies own 48 percent of grocery retailers (Walmart being the largest).[9]26
สี่บริษัทครอบครอง ธุรกิจขายปลีกของชำ 48% (วอลล์มาร์ทใหญ่ที่สุด).

The True Price of a Banana: Hidden Costs of a Corporate-Controlled Food System
ราคาที่แท้จริงของกล้วย: ต้นทุนของระบบอาหารที่ควบคุมโดยบรรษัท

The underlying objective of much of our industrial food system is to provide a profit to shareholders and CEOs. Coca-Cola’s advertising budget was over $2.9 billion dollars in 2010.[10]27 It’s money well spent from a stockholder’s point of view; profits that year were $11.8 billion.[11]28
จุดประสงค์ซ่อนเร้นของระบบอาหารอุตสาหกรรมของเรา คือ หากำไรให้ผู้ถือหุ้นและ ซีอีโอ.  งบโฆษณาของ โคคา-โคลา สูงกว่า $2.9 พันล้าน ในปี 2010.  ในมุมมองของผู้ถือหุ้น นับเป็นการใช้เงินคุ้มค่า, ในปีนั้น ได้กำไร $11.8 พันล้าน.
The current system, however, was arguably not built only to amass wealth. Many policymakers and supporters, historically and today, have been driven by the conviction that industrial-scale agriculture is the best way to produce massive amounts of affordable food. And indeed, in some ways it has accomplished this. People in the U.S. spend relatively little on food – about 7 percent of their total spending, as compared to 13 percent in France, 23 percent in Mexico, and 38 percent in Vietnam.[12]29 As individuals, most of us in the U.S. are devoting less time, energy, and money to feeding ourselves then we ever have historically.
แต่ระบบปัจจุบันไม่ได้สร้างเพียงเพื่อกอบโกยความมั่งคั่ง.  นักนโยบายและผู้สนับสนุนหลายคน, ในประวัติศาสตร์และทุกวันนี้, ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยความเชื่อมั่นว่า เกษตรกรรมขนาดอุตสาหกรรม เป็นทางที่ดีที่สุดที่จะผลิตมวลอาหารมหาศาลราคาถูกได้.  และอันที่จริง, มันก็ทำสำเร็จด้วย.  ประชาชนในสหรัฐฯ ใช้จ่ายค่อนข้างน้อยเรื่องอาหาร—ประมาณ 7% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด, เมื่อเทียบกับ 13% ในฝรั่งเศส, 23% ในเม็กซิโก, และ 38% ในเวียดนาม.  ในฐานะปัจเจก, พวกเราส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ กำลังใช้เวลา, พลังงาน, และ เงิน น้อยลงในการป้อนตัวเองเมื่อเทียบกับที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์.
On the buying end, it seems an irresistibly good deal, our 99¢ soda or $1.50 loaf of bread. But these prices represent just a fraction of the true costs of getting that soda and bread into our shopping bags. There are hidden costs in our industrialized food system that don’t show up at the register, but which we pay for in multiple ways. Some, depending on class, race, nationality, and livelihood, pay more dearly than others.
ในด้านการซื้อ, ก็เป็นต่อรองดีเกินปฏิเสธ, โซดา 99¢ หรือขนมปังแถว $1.50.  แต่ราคาเหล่านี้สะท้อนเพียงเศษเสี้ยวของต้นทุนที่แท้จริงที่ทำให้โซดาและขนมปังเดินเข้าสู่ถุงช็อปปิ้งของเราได้.  ต้นทุนในระบบอาหารอุตสาหกรรมของเรา ที่ไม่ได้แสดงออกที่โต๊ะจ่ายเงิน, แต่ที่เราต้องจ่ายชดเชยด้วยวิธีต่างๆ.  มันขึ้นกับชนชั้น, เชื้อชาติ, สัญชาติ, และวิถีชีวิต, บางคนต้องจ่ายแพงกว่าคนอื่นๆ.
Some of these costs do show up financially. We subsidize food corporations through our taxes, which pay for public works like transportation infrastructure for long-distance shipping (highways, airports, and railroads), communication infrastructure (satellites, television, radio and internet), energy infrastructure (coal plants and nuclear power stations), and research and development (like government-funded crop research). Tax dollars also fund the government subsidies that keep certain crop prices low, allowing corporations to create their processed foods so cheaply.
ต้นทุนบางประการแสดงออกเป็นตัวเงิน.  พวกเราให้เงินอุดหนุนอาหารบรรษัทด้วยภาษีของเรา, ที่จ่ายสำหรับงานสาธารณะ เช่น โครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง เพื่อการขนส่งทางไกล (ทางหลวง, สนามบิน, และทางรถไฟ), สื่อสารมวลชน (ดาวเทียม, ทีวี, วิทยุ, และอินเตอร์เน็ต), พลังงาน (โรงงานถ่านหินและพลังงานนิวเคลียร์), และ การวิจัยและพัฒนา (เช่น การวิจัยพืชที่ได้รับทุนจากรัฐบาล).  รัฐบาลยังใช้เงินภาษีกดราคาพืชบางอย่างให้ต่ำ, เปิดทางให้บรรษัททำอาหารแปรรูปได้ถูกเช่นนี้.)
Small- and medium-sized farmers are paying extremely high hidden costs. Their farms have been steadily disappearing as land is further consolidated into the hands of fewer people. The U.S. has lost 800,000 farmers and ranchers in the last 40 years[13].30 Between 1900 and 2002, the number of farms in the U.S. shrank by 63 percent, while the average farm size increased by 67 percent.[14]31 The dairy industry has undergone an even starker decline: in just over 35 years, between 1970 and 2006, the country lost 88 percent of its dairy farms, while the average herd size per farm increased from 19 to 120 cows.
เกษตรกรขนาดเล็กและกลาง กำลังจ่ายชดเชยต้นทุนสูงลิ่วที่ซ่อนเร้นนี้.  ฟาร์มของพวกเขาสูญหายไปอย่างต่อเนื่องในขณะที่ที่ดินค่อยๆ กระจุกรวมอยู่ในมือของคนไม่กี่คน.  สหรัฐฯ ได้สูญเสียเกษตรกรและเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ไป 800,000 คน ในช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านมา.  ในระหว่างปี 1900 และ 2002, จำนวนฟาร์มในสหรัฐฯ หดไป 63%, ในขณะที่พื้นที่เฉลี่ยของฟาร์มเพิ่มขึ้น 67%.  อุตสาหกรรมโคนมได้หดตัวลงยิ่งมากกว่า, ในเพียง 35 ปี, ระหว่างปี 1970-2006, ฟาร์มโคนมหายไป 88%, ในขณะที่ขนาดเฉลี่ยของฝูงโค/ฟาร์ม ได้เพิ่มขึ้นจาก 19 เป็น 120 ตัว.
Farmworkers and other laborers all along the food supply chain also pay by receiving inadequate wages; they are twice as likely to be living below the poverty line.
คนงานฟาร์มและแรงงานอื่นๆ ตลอดห่วงโซ่แหล่งอาหาร ก็ยังต้องจ่าย ด้วยการรับค่าแรงที่ไม่เพียงพอ, พวกเขามีแนวโน้มถึงสองเท่าที่จะอาศัยอยู่ใต้เส้นความยากจน.
As consumers, we all pay with our health and well-being. Our country’s most popular cuisine is affectionately called ‘junk,’ after all. Eating the highly processed food made readily available to us has led to epidemic levels of diabetes and heart disease. Individuals get chastised for their own diet-related problems while ‘junk’ food is much easier and cheaper to access than healthy food.
ในฐานะผู้บริโภค, พวกเราทั้งหมดจ่ายด้วยสุขภาพและความอยู่ดีมีสุขของพวกเรา.  อาหารยอดนิมที่สุดของประเทศของเรา ถูกเรียกว่า “ขยะ”.  การกินอาหารที่แปรรูปสูงปรุงสำเร็จรูปสำหรับพวกเรา ได้นำไปสู่การระบาดของโรคเบาหวานและโรคหัวใจ.  ปัจเจกถูกตำหนิเรื่องการกินของตน ในขณะที่ การเข้าถึงอาหาร “ขยะ” นั้นง่ายกว่าและถูกกว่าอาหารดีต่อสุขภาพ.
Recent outbreaks of Listeria and stomach acid-resistant E. coli are other manifestations of the costs to our health. Food-safety experts blame the industrialized production of grain-fed cattle and poultry for the emergence of these dangerous bacteria strains.[15]32 Manure from overcrowded animal farms seeps into the groundwater and rivers. When vegetable crops are irrigated, bacteria in the water can contaminate the food supply. If you’ve ever driven past a commercial livestock lot, the smell alone lets you know something has gone terribly wrong.
การปะทุอาการป่วยรุนแรง Listeria และ เชื้อ E. coli ที่ดื้อกรดในกระเพาะ เมื่อเร็วๆ นี้  และอื่นๆ เป็นต้นทุนต่อสุขภาพของพวกเรา.  ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของอาหาร ตำหนิกระบวนการผลิตเชิงอุตสาหกรรมที่เลี้ยงวัวและสัตว์ปีกด้วยธัญพืช ว่าเป็นสาเหตุของสายพันธุ์แบคทีเรียที่อีนตรายเหล่านี้.   มูลสัตว์จากคอกที่เบียดเสียดเกิน ได้ซึมสู่น้ำใต้ดินและแม่น้ำ.  เมื่อน้ำถูกใช้รดพืชผัก, แบคที่เรียก็ปนเปื้อนในแหล่งอาหารด้วย.   หากคุณเคยขับรถผ่านโรงเลี้ยงสัตว์พาณิชย์, ลำพังกลิ่นที่โชยมาก็ทำให้คุณรู้ว่า บางอย่างไม่ดีมากๆ เกิดขึ้น.

“The first man who, having enclosed a piece of ground, bethought himself of saying, This is mine, and found people simple enough to believe him, was the real founder of civil society. From how many crimes, wars, and murders, from how many horrors and misfortunes might not anyone have saved mankind, by pulling up the stakes, or filling up the ditch, and crying to his fellows: Beware of listening to this imposter; you are undone if you once forget that the fruits of the earth belong to us all, and the earth itself to nobody.”
— Jean-Jacques Rousseau, from Discourse on the Origin of Inequality, 1755.
“ชายคนแรกที่, หลังจากล้อมรั้วที่ดินแปลงหนึ่ง, กล่าวว่า,  นี่ของฉัน, และก็พบว่า คนอื่นๆ ก็เชื่อเขา, คนนี้ เป็นผู้ค้นพบ สังคมพลเรือน (ประชาสังคม).   จากอาชญากรรม, สงคราม, และ ฆาตกรรม สักเท่าไร, จากความสยดสยอง และ เคราะห์กรรม สักเท่าไรที่ใครๆ อาจไม่ได้ช่วยรักษามนุษยชาติ, ด้วยการดึงเสาหลักขึ้น, หรือ ถมดินใส่หลุม, และร้องบอกเพื่อนๆ : ระวังเวลาฟังนักต้มตุ๋นคนนี้; พวกคุณจะเจอกับหายนะ เมื่อไรที่คุณลืมว่า พืชผลจากแผ่นดิน เป็นของพวกเราทุกคน, และโลกไม่ได้เป็นของใคร”.
-จัง-จ๊ากส์ รุสโซ, วาทกรรมเรื่องต้นตอของความไม่เท่าเทียมกัน, 1755.

The most profound hidden costs are enacted on our planet as a whole: polluted water, air, and soil; deforestation; acid rain; species extinction; and climate change. The corporate food system wreaks countless ecological harms.
ต้นทุนซ่อนเร้นที่ลึกล้ำที่สุดประทับลงในพิภพทั้งหมด: มลภาวะในน้ำ, อากาศ, และ ดิน; ทำลายป่า; ฝนกรด; สายพันธุ์สาบสูญ; และภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง.  ระบบอาหารบรรษัทได้สร้างความปั่นป่วนนับไม่ถ้วนและทำร้ายระบบนิเวศ.
Monocropping, a farming system where the same crop is grown on a piece of land year after year, is foundational to industrial-scale agriculture. It’s what makes farming such gigantic swaths of land physically possible. Yet monocropping depletes the soil, upends the ecological balance, and creates conditions highly susceptible to pests and disease, requiring more pesticides and fertilizers.
การปลูกพืชเชิงเดี่ยว, ระบบเกษตรกรรมที่พืชชนิดเดียวกันถูกปลูกซ้ำแล้วซ้ำเล่าปีต่อปี, เป็นรากฐานของเกษตรกรรมขนาดอุตสาหกรรม.  มันเป็นการทำฟาร์มที่เหมือนเคียวยักษ์ทำลายเชิงกายภาพของผืนดิน.  แต่การปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำให้ดินจืด, ทำให้นิเวศเสียสมดุล, และทำให้เกิดภาวะเปราะบางต่อแมลงและเชื้อโรค, ทำให้ต้องใช้ยากำจัดแมลงและปุ๋ยมากขึ้น.
Spraying toxic pesticides on our food has become the norm, so much so that we call it ‘conventional’ agriculture, though there’s nothing conventional about it. Introduced in large scale only after World War II, using surplus warfare chemicals,[16]33 pesticides are now applied at a rate of 1.1 billion pounds per year in the U.S. That’s 22 percent of the world’s total use.[17]34 These chemicals move throughout our ecosystem, making their way into groundwater and our drinking supply, traveling down streams and rivers, and eventually reaching the ocean. In just one example, fertilizer running off fields and down the Mississippi River has created such an imbalance that there is a ‘dead zone’, where nothing can survive, the size of New Jersey in the Gulf of Mexico.[18]35 Pesticides also wind up on our plates and in our bloodstreams. In 2005, the Environmental Working Group tested the umbilical cords of 10 babies from different U.S. hospitals and found an average of 200 industrial chemicals and pollutants in their blood, including a number of pesticides.[19]36
การสเปรย์ยาฆ่าแมลงพิษใส่อาหารได้กลายเป็นเรื่องปกติ, มากจนกระทั่งเราเรียกมันว่า เกษตร “ตามประเพณีนิยม”, แม้ว่ามันจะไม่มีอะไรที่เป็นประเพณีนิยมเลย.   มันถูกนำเข้ามาใช้ขนานใหญ่เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2, ด้วยการใช้เคมีภัณฑ์ที่ผลิตเกินจากสงคราม, เป็นยาฆ่าแมลง 33 ชนิดที่ถูกใช้ในอัตรา 1.1 พันล้านปอนด์ต่อปี ในสหรัฐฯ.  นั่นเป็น 22% ของปริมาณที่ใช้ในโลกทั้งหมด.  สารเคมีหล่านี้เคลื่อนตัวไปทั่วระบบนิเวศ, ซอกแซกไปสู่น้ำบาดาล และ แหล่งน้ำดื่มของเรา, ท่องไปตามแม่น้ำลำธาร, และ ในที่สุดก็ถึงมหาสมุทร,  ขอยกเพียงหนึ่งตัวอย่าง, ปุ๋ยที่ไหลออกจากไร่นาและลงสู่แม่น้ำมิสซิสซิปปี้ ได้ทำให้เกิดความไม่สมดุลเป็น “แดนตาย”, ที่ไม่มีอะไรอยู่รอดได้, ขนาดเท่ารัฐนิวเจอร์ซี ในอ่าวเม็กซิโก.  ยาฆ่าแมลงก็ลงเอยที่จานอาหารและในกระแสเลือดของเรา.  ในปี 2005, คณะทำงานสิ่งแวดล้อมได้ทดสอบสายรกของทารก 10 ราย จากโรงพยาบาลต่างๆ ในสหรัฐฯ และพบ เคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมและมลพิษ รวมทั้งยาฆ่าแมลงโดยเฉลี่ย 200 ชนิดในเลือดของทารก.
If all of these costs showed up in the prices we pay at the store, things would be very different. If the prices reflected the oil that powers the jet to bring a banana thousands of miles, together with the air pollution that results, the workers’ healthcare costs after handling pesticides, and the future loss of soil health due to monocropping, this fruit would certainly be a luxury item in the North rather than part of an average American breakfast.
หากต้นทุนเหล่านี้ ปรากฏขึ้นในราคาที่เราต้องจ่ายที่ร้าน, อะไรๆ จะต่างไปมากที่เดียว.  หากราคาสะท้อนถึงน้ำมันที่ให้พลังเครื่องบินเจ๊ตให้นำกล้วยเดินทางหลายพันไมล์, แล้วยังมลพิษในอากาศที่ตามมา, ต้นทุนในค่ารักษาคนงานที่ใช้ยาฆ่าแมลง, และการสูญเสียสุขภาพของดินในอนาคตเนื่องจากพืชเชิงเดี่ยว, ผลไม้/กล้วยนี้ แน่นอน จะต้องเป็นสินค้าสุดหรูในซีกโลกเหนือ แทนที่จะเป็นอาหารเช้าของชาวอเมริกันทั่วไป.
“What single thing could change the U.S. food system, practically overnight? Widespread public awareness – of how this system operates and whom it benefits, how it harms consumers, how it mistreats animals and pollutes the land, how it corrupts public officials and intimidates the press, and most of all, how its power ultimately depends on a series of cheerful and ingenious lies.”
— Eric Schlosser, author of Fast Food Nation[20]37
“อะไรคือสิ่งเดียวที่จะเปลี่ยนระบบอาหารของสหรัฐฯ ได้, ชั่วข้ามคืน?  ความตื่นตัวสาธารณะอย่างแพร่หลาย—ว่าระบบนี้ทำงานอย่างไร และ ใครได้รับประโยชน์, มันทำร้ายผู้บริโภคอย่างไร, มันข่มเหงสัตว์ และ ทำให้แผ่นดินปนเปื้อนอย่างไร, มันทำให้เจ้าหน้าที่/ข้าราชการโกง และ ข่มขู่สื่ออย่างไร, และมากที่สุด, อำนาจของมันขึ้นอยู่กับชุดมุสาที่ร่าเริงและชาญฉลาดเป็นชุดๆ.
-อีริค โชล์สเซอร์, ผู้เขียน ชนชาติอาหารด่วน

Who Put That Fish in My Tomato?
ใครเติมปลาตัวนั้นในมะเขือเทศของฉัน?

GMOs are one frightening demonstration of how corporations are gaining more control over our food supply. GMOs are formed when genetic material from one plant or animal is inserted into another, creating an organism with new genetic traits. Since their introduction in the U.S. in the mid-1990s, GMOs have been met with heated protest for a myriad of ecological, health, and economic reasons.
จีเอ็มโอ เป็นตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นว่า บรรษัทกำลังลุกคืบควบคุมแหล่งอาหารของเราอย่างไร.  จีเอ็มโอ เกิดขึ้นเมื่อสารพันธุกรรมจากพืชหรือสัตว์ชนิดหนึ่ง ถูกยัดเยียดใส่อีกชนิดหนึ่ง, เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีพันธุกรรมใหม่.  ตั้งแต่มันถูกนำมาใช้ใมนสหรัฐฯ ในกลางทศวรรษ 1990s, จีเอ็มโอ ได้เผชิญกับการต่อต้านที่เผ็ดร้อนด้วยเหตุผลเชิงสิ่งแวดล้อม, สุขภาพ และ เศรษฐกิจมหาศาล.
Though relatively new, GMO technology has spread quickly. Today, 90 percent of the country’s soybean acreage and 80 percent of corn acreage is planted with Monsanto’s GMO varieties.[21]38 Eighty percent of grocery items in the U.S. now contain GMOs.[22]39 Because corporations such as Monsanto, Pioneer and Syngenta own the patents on GMO seeds, GMOs establish further economic control of farmers by agribusiness.
แม้ว่าจะค่อนข้างใหม่, เทคโนโลยี จีเอ็มโอ ได้แพร่ตัวอย่างรวดเร็ว.  ทุกวันนี้, พื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองในประเทศ 90% และ พื้นที่ปลูกข้าวโพด 80% ถูกปลูกด้วยสายพันธุ์ จีเอ็มโอ ของมอนซานโต.  สินค้าในร้านขายของชำในสหรัฐฯ 80% ขณะนี้มี จีเอ็มโอ.   เพราะบรรษัทเช่น มอนซานโต, ไพโอเนียร์ และ ซินเจนตา เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เมล็ดจีเอ็มโอ, จีเอ็มโอ สถาปนาการควบคุมเชิงเศรษฐกิจยิ่งกว่านั้นเหนือเกษตรกรด้วยธุรกิจเกษตร.
Farmers who buy GMO seeds are required to sign contracts prohibiting them from saving or replicating the seed. They also are prohibited from doing any research on the seeds (to determine under which conditions they thrive, to compare seeds from different companies, or to investigate environmental side effects, for example)[23].40 Not only do farmers find themselves locked into a cycle of buying new seeds from a particular company each year, they also oftentimes become reliant on the same company’s pesticides, which are made to accompany many GMOs.
เกษตรกรผู้ซื้อ เมล็ดจีเอ็มโอ ถูกบังคับให้เซ็นสัญญาที่ห้ามพวกเขาเก็บรักษา หรือ ทำซ้ำเมล็ด.  พวกเขายังถูกห้ามไม่ให้ทำการวิจัยเมล็ด (เพื่อหาว่า มันจะเจริญงอกงามได้ดีภายใต้เงื่อนไขใด, เพื่อเปรียบเทียบเมล็ดจากบริษัทต่างๆ, หรือ เพื่อตรวจสอบผลกระทบข้างเคียงเชิงสิ่งแวดล้อม, เป็นต้น).   ไม่เพียงแต่เกษตรกรพบว่า ตัวเองถูกกักอยู่ในวงจรของการซื้อเมล็ดใหม่จากบริษัทหนึ่งๆ ทุกปี, บ่อยครั้งพวกเขามักกลายเป็นต้องพึ่งยาฆ่าแมลงของบริษัทเดียวกัน, ซึ่งถูกผลิตเพื่อให้ควบไปกับ จีเอ็มโอ มากมาย.
GMOs also contaminate non-GMO crops. Because plants cross-pollinate via wind and insects, the pollen of GMO plants can travel to nearby fields and cross with other plants.
จีเอ็มโอ ยังปนเปื้อน พืชที่ไม่ใช่ จีเอ็มโอ.  เพราะว่าพืชผสมเกสรโดยอาศัยลมและแมลง, เกสรของพืช จีเอ็มโอ จะท่องไปในไร่ข้างเคียง และ ผสมพันธุ์กับพืชอื่นๆ.
This threatens farmers’ control over their seed supply and the unique crop traits that they, or their ancestors, may have developed by saving seeds over the years. Organic growers can lose their organic certification if their crops are contaminated. Adding insult to injury, Monsanto has sued more than 144 farmers since the mid-1990s for patent infringement when their crops have become contaminated. An additional 700 farmers have settled out of court.[24]41
นี่คุกคามการควบคุมของเกษตรกรเหนือแหล่งเมล็ดพันธุ์ และ สายพันธุ์พิเศษของพืช ที่พวกเขา, หรือบรรพชนของพวกเขา, อาจได้พัฒนาด้วยการเก็บรักษาเมล็ดเป็นเวลาหลายปี.   ผู้ปลูกอินทรีย์อาจสูญเสียใบรับรองอินทรีย์ หากพืชของพวกเขาถูกปนเปื้อน.  ประหนึ่งสาดเกลือใส่แผลสด, มอนซานโต ได้ฟ้องร้องเกษตรกร 144 ราย ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990s ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ เมื่อพืชของพวกเขาถูกปนเปื้อน.  เกษตรกรอีก 700 ราย ได้ทำการตกลงนอกศาล.

Some 250 farmers, scientists, and activists destroying experimental GMO potatoes, Belgium, May 2011.
Courtesy of the Belgian Field Liberation Movement, http://fieldliberation.wordpress.com/press/”
เกษตรกร, นักวิทยาศาสตร์ และ นักรณรงค์ประมาณ 250 คน ทำลายการทดลองปลูกมันเทศ จีเอ็มโอ, เบลเยี่ยม, พฤษภาคม 2011

In response to this trend, in 2011 the Organic Seed Growers and Trade Association – together with 82 other plaintiffs, including agricultural associations, seed companies, and farmers – brought a lawsuit against Monsanto in Manhattan federal district court to establish protections for organic farmers whose crops are contaminated by GMOs. The court ruled against them, and as of this writing the plaintiffs are considering an appeal.
เพื่อตอบโต้แนวโน้มนี้,ในปี 2011 สมาคมผู้ปลูกและค้าเมล็ดอินทรีย์—พร้อมด้วยผู้ร้องทุกข์อีก 82 ราย, รวมทั้งสมาคมเกษตร, บริษัทเมล็ดพันธุ์, และชาวนา—ได้ฟ้องร้องมอนซานโต ในศาลแมนฮัตตัน เพื่อขอให้คุ้มครองชาวนาอินทรีย์จากการปนเปื้อนของ จีเอ็มโอ.  ศาลได้ยกฟ้อง, ในขณะเขียนนี้ ผู้ร้องทุกข์กำลังหาทางอุทธรณ์.
The Organic Consumers Association has spearheaded the “Millions Against Monsanto” campaign, demanding that the company stop intimidating small family farmers and forcing untested and unlabeled genetically engineered foods on consumers.
สมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ ได้เป็นหัวหอกการรณรงค์ “หลายล้านต้านมอนซานโต”, เรียกร้องให้บริษัทหยุดข่มเหงครอบครัวชาวนารายย่อย และ ยัดเยียดอาหารที่ไม่ได้ทดสอบและไม่ได้ติดฉลาก จีอี แก่ผู้บริโภค.
In 2012 the Association gathered enough signatures for a ballot initiative in California to mandate labeling of products containing GMOs. They hope that forcing companies to label in California, the eighth-largest economy in the world, will prompt countrywide labeling. And that ultimately, this transparency, coupled with consumer education, will make GMO products unmarketable. Labeling laws are also being considered by legislators in Vermont, Washington, Connecticut, and other states.
ในปี 2012 สมาคมได้รวบรวมลายเซ็นมากพอที่จะจัดการลงคะแนนประชาพิจารณ์ในแคลิฟอร์เนีย เพื่อบังคับให้ติดฉลากผลิตภัณฑ์ที่มี จีเอ็มโอ.  พวกเขาหวังว่าจะบังคับบริษัทให้ติดฉลากในแคลิฟอร์เนีย, ซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกลำดับที่แปด, จะทำให้มีการติดฉลากทั่วประเทศได้.  และว่า ในที่สุด, ความโปร่งใสเช่นนี้, ประกบกับการให้การศึกษาแก่ผู้บริโภค, จะทำให้ผลิตภัณฑ์ จีเอ็มโอ ขายไม่ได้.  กฎหมายการติดฉลากกำลังถูกพิจารณาในเวอร์มอนต์, วอชิงตัน, คอนเน็คติกัต และ รัฐอื่นๆ.
Around the world, farmers and activists have long been taking it upon themselves to destroy Monsanto’s GMO crops. Groups have cut down or pulled up fields of corn, potatoes, rapeseed, and other crops, sometimes laying them at the entryways of government buildings where they are demanding anti-GMO legislation. In 2003 in the state of Paraná in Brazil, activists uprooted plants at one of Monsanto’s experimental labs. They went on to file and win a land reform claim and then started their own agroecology center on the site.
ทั่วโลก, เกษตรกรและนักกิจกรรมได้ลุกขึ้นทำลายพืช จีเอ็มโอ ของมอนซานโต.  กลุ่มต่างๆ ได้ล้มหรือถอนข้าวโพด, มันเทศ, เรพสีด, และพืชอื่นๆ, บางครั้ง ก็นอนขวางทางเข้าของอาคารรัฐบาล ที่ๆ พวกเขาเรียกร้องให้ออกกฎหมายต่อต้านจีเอ็มโอ.  ในปี 2003 ในรัฐปารานา ในบราซิล, นักกิจกรรมได้ถอนต้นไม้ที่ห้องปฏิบัติการหนึ่งของมอนซานโต.  พวกเขาได้ฟ้องร้อง และ ชัยชนะในการอ้างการปฏิรูปที่ดิน และเริ่มศูนย์เกษตรนิเวศของพวกเขาเองแทนในที่นั่น.
“The seeds of life are the seeds of all humanity, our common inheritance for more than 10,000 years, and they should remain as numerous and diverse as the stars above, shared by all, owned by none, and ever filling us with awe and wonder.”
— Jeremy Seifert, maker of an upcoming film about GMOs
“เมล็ดแห่งชีวิต เป็นเมล็ดของมนุษยชาติทั้งมวล, เป็นมรดกร่วมของพวกเรามากว่า 10,000 ปี, และเมล็ดเหล่านี้ ก็ควรคงอยู่มากมายและกระจัดกระจายดั่งดวงดาวข้างบน, แบ่งปันกับทุกคน, ไม่มีใครเป็นเจ้าของ, และก็เติมเต็มในพวกเราด้วยความน่าทึ่งและน่าพิศวงเสมอ”.
-          เจอเรมี ไซเฟอร์ต, ผู้สร้างภาพยนตร์เกี่ยวกับ จีเอ็มโอ

From Growing Profit to Growing Food: Reclaiming Agriculture
จากการปลูกกำไร สู่ การปลูกอาหาร: ทวงคืนเกษตรกรรม

A mass movement of people is actively creating and supporting smaller-scale, local food networks. But in order for these local systems to truly thrive, we must simultaneously dismantle the policies and structures that have taken agriculture out of the hands of small farmers the world over. The following are a few recent campaigns and victories in the U.S., where farmers, food justice activists, and consumers are uniting to challenge corporate rule.
การเคลื่อนไหวของมวลชนกำลังสร้างและส่งเสริมเครือข่ายอาหารท้องถิ่นขนาดเล็ก.  แต่เพื่อให้ระบบท้องถิ่นเหล่านี้ เจริญงอกงามได้อย่างแท้จริง, เราจะต้องรื้อถอนนโยบายและโครงสร้างที่ได้แย่งเกษตรกรรมออกจากมือของชาวนาเล็กๆ ทั่วโลก.  ต่อไปนี้ เป็นการรณรงค์และชัยชนะเมื่อเร็วๆ นี้ในสหรัฐฯ, ที่ๆ เกษตรกร, นักรณรงค์เพื่ออาหารเป็นธรรม, และ ผู้บริโภค กำลังผนึกกำลังเพื่อท้าทายกฎบรรษัท.
• In one strategy to reduce corporate control of the milk industry, many states, including Iowa, Kentucky, Massachusetts, Minnesota, New Jersey, Oregon, Texas, Washington, and Wisconsin, are considering bills that would allow more farmers to sell raw milk.[25]42 Milk that is produced and sold locally in small batches doesn’t require the lengthy shelf life or, therefore, the pasteurization process that has become status quo for industrialized milk. Most often sold directly off the farm, raw milk creates a more direct link between farmers and consumers, cuts out corporate middlepeople, and provides farmers with a larger percentage of the consumer dollar.
-ในยุทธศาสตร์หนึ่งเพื่อลดการควบคุมของบรรษัทในอุตสาหกรรมนมโค, หลายๆ รัฐ รวมทั้ง ไอโอวา, เคนทัคกี, แมสซัสชูเซทส์, มินเนโซตา, นิวเจอร์ซี, โอเรกอน, เท็กซัส, วอชิงตัน, และ วิสคอนซิน, กำลังพิจารณาร่าง พรบ ที่จะอนุญาตให้เกษตรกรมากขึ้น ขายนมดิบได้.  นมที่ผลิตและขายในท้องถิ่นในปริมาณน้อยๆ ไม่จำเป็นต้องมีอายุยืนยาวบนหิ้งขาย หรือ การพาจเจอไรส์ เพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งได้กลายเป็น สถานภาพของอุตสาหกรรมนม.  บ่อยครั้งที่มีการขายตรงจากฟาร์ม, นมดิบสร้างความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค, ตัดบรรษัทตัวกลาง, และให้เกษตรกรได้รับส่วนแบ่งมากขึ้นจากเงินของผู้บริโภค.
And any raw-milk lover will swear it tastes better and is more nutritious. Vernon Hershberger, a Wisconsin dairy farmer who was recently charged with operating without a license and four criminal misdemeanors for supplying raw milk to a buyers’ club, says, “There is more at stake here than just a farmer and his few customers... [T]his is about the fundamental right of farmers and consumers to engage in peaceful, private, mutually consenting agreements for food, without additional oversight.”[26]43
และคนที่ชอบดื่มนมดิบจะสาบานได้ว่า มันรสชาดอร่อยกว่า และมีสารอาหารมากกว่า.  เวอร์นอน เฮอชเบอร์เกอร์, เกษตรกรนมโค วิสคอนซิน ผู้เมื่อเร็วๆ นี้ ถูกจับในข้อหาประกอบการโดยปราศจากใบอนุญาต และ ข้อหาอาชญากรรมสี่กระทงโทษฐานขายนมดิบให้แก่ชมรมผู้ซื้อแห่งหนึ่ง, กล่าวว่า, “เดิมพันที่นี่มีมากกว่าแค่เกษตรกรคนหนึ่ง และ ผู้บริโภคไม่กี่คน...มันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเกษตรกรและผู้บริโภค ในการมีส่วนร่วมในข้อตกลงที่ สันติ, เป็นส่วนตัว, และสมยอมกันทุกฝ่าย เพื่ออาหาร โดยปราศจากการควบคุมเพิ่มขึ้น”.
• Nine U.S. states have established some legal restraints to keep corporations from buying and owning farms.[27]44 In Pennsylvania, the Community Environmental Legal Defense Fund has helped individual towns pass and defend local ordinances banning corporate farming in their communities.
-เก้ารัฐในสหรัฐฯ ได้สถาปนากฎหมายยับยั้งบางประการ เพื่อไม่ให้บรรษัทซื้อและเป็นเจ้าของฟาร์ม.  ในเพ็นซิลเวเนีย, กองทุนคุ้มครองสิ่งแวดล้อมชุมชนทางกฎหมาย ได้ช่วยหลายเมืองให้ออกกฎหมาย และ ปกป้องกฎหมายที่ห้ามบรรษัทให้เข้ามาอยู่ในชุมชน.
• Organizations like the Program on Corporations, Law, and Democracy (POCLAD) have popularized the need to eliminate ‘corporate personhood,’ not just in agriculture but in society in general. Corporate personhood gives corporations the same constitutional rights as human beings under the 14th Amendment, which means they are entitled to due process, equal protection, and free speech. POCLAD has been doing research, hosting workshops, and publishing books and articles to spark conversations about the effects of corporate power on our governance, lives and the planet.
-องค์กรเช่น โปรแกมบรรษัท, กฎหมาย, และ ประชาธิปไตย (POCLAD) ได้เผยแพร่ความจำเป็นที่จะต้องขจัด “ความเป็นบุคคลของบรรษัท”, ไม่เพียงในภาคเกษตร แต่ในสังคมทั่วไป.  บุคคลบรรษัท ให้บรรษัทมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญเหมือนกับมนุษย์ ภายใต้ข้อแก้ไขที่ 14, ซึ่งหมายความว่า พวกมันสมควรได้รับการคุ้มครองในกระบวนการและการแสดงความคืดเห็นเท่าเทียมกับคน.  POCLAD ได้ทำการวิจัย, จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ, และพิมพ์หนังสือและบทความ เพื่อจุดประกายการสนทนา เกี่ยวกับผลกระทบของอำนาจบรรษัทต่อการปกคอรง, ชีวิต และ พิภพโลก.
• Activists are challenging the 2010 Supreme Court decision Citizens United v. Federal Election Commission, which prohibits government restrictions on political spending by corporations. Big agribusiness, as well as all other corporate industries, can now have even greater sway over the political process. Communities around the country, led by organizations like Move to Amend and United for the People, have introduced local resolutions calling on Congress to pass a constitutional amendment overturning Citizens United. As of March 2012, 120 municipalities and two states had passed these resolutions. At the federal level, 19 different resolutions have been proposed in Congress.
-นักกิจกรรมกำลังท้าทายคำพิพากษาของศาลสูงสุด ปี 2010 ระหว่าง Citizens United ปะทะกับ Federal Election Commission (คณะกรรมการเลือกตั้ง), ที่ห้ามรัฐบาลกำหนดข้อจำกัดต่อบรรษัทในการใช้จ่ายเพื่อการเมือง.  ธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่, รวมทั้งอุตสาหกรรมบรรษัทอื่นๆ, ตอนนี้ สามารถมีอิทธิพลยิ่งมากขึ้นในการทำให้การเมืองโคลงเคลง.  ชุมชนทั่วประเทศ, นำโดยองค์กรเช่น  การขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขและผนึกกำลังเพื่อประชาชน, ได้เสนอให้ยื่นมติท้องถิ่นต่อสภาคองเกรส ให้ผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้าง Citizens United.  ในเดือนมีนาคม 2012, เทศบาล 120 แห่ง และ สองรัฐ ได้ผ่านมติเหล่านี้.  ในระดับรัฐบาลกลาง, มีการนำเสนอมติต่างๆ 19 รายต่อสภาคองเกรส.
• In 2010, the U.S. Department of Justice and the Department of Agriculture held five workshops throughout the country to hear public opinion about corporate consolidation in agriculture. In preparation, organizations formed the ‘Bust the Trust’ coalition to ensure that family farmers and consumers had a strong presence at the workshops. In May 2011, when the government had still not released its findings from the hearings, 160 groups sent a letter to the government asking that they announce an action plan for addressing the problem of corporate consolidation.[28]45
-ในปี 2010, กระทรวงยุติธรรม และ กระทรวงเกษตร ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการห้าครั้งทั่วประเทศ เพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับการกระจุกรวมของบรรษัทในภาคเกษตร.  ในการเตรียมการ, องค์กรได้รวมตัวเป็น เครือข่าย ‘Bust the Trust’ เพื่อให้แน่ใจว่า ครอบครัวเกษตรกรและผู้บริโภคเข้าร่วมการประชุมมากพอและมีเสียงเข้มแข็ง.  ในเดือนพฤษภาคม 2011, เมื่อรัฐบาลยังไม่ได้เปิดเผยผลจากประชาพิจารณ์, องค์กร 160 กลุ่มได้ส่งจดหมายไปยังรัฐบาล ขอให้พวกเขาประกาศแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาของการกระจุกรวมของบรรษัท.
© Tequila Minsky
A rally in New York City, February 2012, following hearings in a lawsuit to protect farmers against legal action if their crops become contaminated with GMOs.
การประท้วงในเมืองนิวยอร์ก, กุมภาพันธ์ 2011, หลังจากการรับฟังในคดีป้องกันเกษตรกรจากการฟ้องร้อง หากพืชของพวกเขาถูกปนเปื้อนด้วย จีเอ็มโอ.

The Consumer’s Got To Change The System
Ben Burkett[29]46
ผู้บริโภคจะต้องเปลี่ยนระบบ
เบน เบอร์เกตต์

Ben Burkett is a family farmer, the coordinator of the Federation of Southern Cooperatives for the state of Mississippi, the president of the board of the National Family Farm Coalition, and a member of the food sovereignty commission of Via Campesina.
เบน เบอร์เกตต์ เป็นครอบครัวเกษตรกร, ผู้ประสานงานของ สหพันธ์สหกรณ์ภาคใต้ ของรัฐมิสซิสซิปปี, ประธานบอร์ดของ เครือข่ายครอบครัวเกษตรแห่งชาติ, และ สมาชิกของคณะกรรมการอธิปไตยทางอาหารของ เวีย คัมเปซินา.
The Federation of Southern Cooperatives grew out of the civil rights movement. We are probably 90 percent African American, but we have white, Native American, and Hispanic farmers. Racism is still here in the marketplace and in credit, but we have learned to deal with it and not give up on changing the system. We struggle every day to bring about a change.
สหพันธ์สหกรณ์ภาคใต้ เติบโตมากจากขบวนการสิทธิพลเรือน (การเรียกร้องสิทธิของคนผิวดำ).  พวกเราคงจะ 90% เป็นอเมริกันเชื้อสายอัฟริกัน, แต่เราก็ยังมีเกษตรกรคนผิวขาว, ชนอเมริกันพื้นเมืองดั้งเดิม, และชาวสเปน.  ที่นี่ยังมีการกีดกันทางเชื้อชาติ ในตลาด และในสินเชื่อ, แต่เราก็ได้เรียนรู้วิธีต่อรองกับมัน และก็ยังไม่เลิกล้มที่จะเปลี่ยนระบบ.  เราดิ้นรนทุกๆ วัน เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง.
We work with co-ops in 16 Southern states. Everything we’re about is food sovereignty, though I don’t think that many farmers in Mississippi really know the term. It’s the right of every individual on earth to wholesome food, clean water, clean air, clean land, and the self-determination of a local community to their rights of intellectual property to grow and to do what they want.
เราทำงานกับ สหกรณ์ใน 16 รัฐของภาคใต้.  ทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับพวกเรา คือ อธิปไตยทางอาหาร, แม้ว่าผมไม่คิดว่า เกษตรกรหลายคนใน มิสซิสซิปปี จะรู้ความหมายของคำนี้จริงๆ.  มันคือสิทธิของทุกๆ คนบนโลกที่จะได้อาหารที่สมบูรณ์แข็งแรง, น้ำสะอาด, อากาศบริสุทธิ์, ที่ดินสะอาด, และ ชุมชนท้องถิ่นที่ตัดสินชะตากรรมของตนเอง เกี่ยวกับสิทธิทางปัญญาของพวกเขา ที่จะปลูกและที่จะทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการ.
We just recognize the natural flow of life; it’s just what we’ve always done. Like myself, I’m a fourth-generation farmer on a farm that my great-grandfather homesteaded in 1889. That wasn’t but about 20 years after the end of slavery. He got 164 acres from the United States government.
เราเพียงแต่ตระหนักถึงการเลื่อนไหลตามธรรมชาติของชีวิต; มันก็เป็นเหมือนกับที่พวกเราเคยทำมาตลอด.  เช่นตัวผมเอง, ผมเป็นเกษตรกรรุ่นที่สี่ บนฟาร์มที่ผู่ทวดของผมได้ริเริ่มในปี 1889.  มันแค่เพียง 20 ปีหลังจากการเลิกทาศ.  ท่านได้ที่ 164 เอเคอร์จากรัฐบาลสหรัฐฯ.
I still have the title – they called it a patent – signed by Grover Cleveland. And we’re still farming that same land.
ผมยังมีใบโฉนดอยู่—พวกเขาเรียกมันว่า สิทธิบัตร—เซ็นโดย โกรเวอร์ คลีฟแลนด์.  และพวกเราก็ยังทำเกษตรบนที่ดินผืนเดิม.
Our view is local production for local consumption. The crops we grow, we sell them mostly within a 300-mile radius of this [Indian Springs Farmers Association-owned] packing facility.
มุมมองของพวกเราคือ การผลิตท้องถิ่น เพื่อการบริโภคท้องถิ่น.  พืชที่พวกเราปลูก, ส่วนใหญ่เราขายเขตรัศมี 300 ไมล์ ของโรงงานบรรจุภัณฑ์ ที่สมาคมเกษตรกรอินเดียนสปริงส์ เป็นเจ้าของ.
We don’t want a change. We just want to go back to the way things were. It’s just supporting mankind as small farmers and family farmers. It’s not so much a matter of making money, it’s a matter of carrying on so your farm will continue on. But you have to make some profit off it in order to keep it going.
เราไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง.  เราเพียงต้องการกลับไปสู่วิถีเดิมของเรา.  ที่สนับสนุนมนุษยชาติเช่นเกษตรกรรายย่อยและครอบครัวเกษตรกร.  มันไม่ใช่เรื่องของการทำเงินมากๆ, มันเป็นเรื่องของการทำงานต่อไปในฟาร์ม ให้มันคงอยู่ต่อไป.  แต่คุณต้องทำกำไรบ้าง เพื่อให้มันดำเนินต่อไปได้.
Some say the system is working. It appears to be working fine, but corporate agriculture is not sustainable. Our system of growing food is heavy, heavy, heavy dependent on petro-chemicals, on inorganic compounds, mostly petroleum-based. And then it takes too much control out of the local community. Now, it might last for several decades, but in the end it can’t last.
บางวัน ระบบทำงาน.  มันดูเหมือนทำงานเรียบร้อยดี, แต่บรรษัทเกษตรไม่มีความยั่งยืน.  ระบบปลูกอาหารของเรา ต้องพึ่งสารเคมี, สารอนินทรีย์, ส่วนใหญ่มาจากปิโตรเลียม อย่างหนักหน่วงมากๆ.  และมันก็ดึงความสามารถควบคุมจากชุมชนท้องถิ่น.  ตอนนี้, มันอาจอยู่ได้อีกหลายทศวรรษ, แต่ในที่สุด มันอยู่ไม่ได้.
 courtesy of Grassroots International
Ben Burkett on his farm in Petaluma, Mississippi, with his great-nephew.
เบน เบอร์เกตต์ ที่ฟาร์มของเขา และ เหลน

You’ve got a few companies that want to control all the seedstock of the world, and they’ve just about got a handle on marketing three of the main commodities: corn, soybean, and cotton. It’s hard to find seeds that aren’t treated with the Monsanto-manufactured Roundup Ready. I’ve tried to find cotton that wasn’t treated, but I couldn’t. Now they’re working on controlling wheat and rice.
มีไม่กี่บรรษัทที่ต้องการควบคุมเมล็ดทั้งหมดในโลก, และพวกเขาก็กุมตลาดสินค้าหลักสามรายการ: ข้าวโพด, ถั่วเหลือง, และ ฝ้าย.  มันยากมากที่จะหาเมล็ดที่ปลอดจาก ราวน์อัพเร็ดดี้ ผลิตโดยมอนซานโต.  ผมได้พยายามหาฝ้ายที่ไม่ถูกบิดเบือน, แต่หาไม่ได้.  ตอนนี้พวกเขากำลังหาทางควบคุมข้าวสาลี และ ข้าว.
And they make those seeds so most of them don’t regenerate the next year anyway. But if you do save any of the seeds, Monsanto and the other companies are going to prosecute you for saving their property. Those seeds are patented, the property of the seed company, so they reserve the right to keep them. They’ll take you to court and make you pay back their money. Basically you’re just sharecropping for them, you’re leasing their seeds.
แล้วพวกเขาก็ทำเมล็ดเหล่านั้น เพื่อให้มันไม่เจริญพันธุ์อีกได้ในปีต่อๆ ไป.  แต่ถ้าคุณยังมีเมล็ดพวกนั้น, มอนซานโตและบริษัทอื่นๆ ก็จะฟ้องคุณในข้อหาว่าคุณเก็บสมบัติของพวกเขา. เมล็ดเหล่านั้นถูกจดลิขสิทธิ์, เป็นสมบัติของบริษัทเมล็ด, ดังนั้นพวกเขามีสิทธิ์ที่จะเก็บรักษา.  พวกเขาจะลากคุณขึ้นศาล และทำให้คุณจ่ายเงินคืน.  คุณก็เป็นเพียงผู้เช่าทำนา, คุณเช่าเมล็ดของพวกเขาเท่านั้น.
I don’t think that’s fair. Once you’ve bought the seeds and planted them on your own land, it looks to me like they ought to be your own seeds. That’s the essence of life. Where did Monsanto and the other companies get their first seed from? Someone gave them to them. Those seeds didn’t fall out of the sky.
ผมไม่คิดว่ามันเป็นธรรมเลย.  เมื่อไรที่คุณได้ซื้อเมล็ดและเพาะปลูกมันในผืนดินของคุณ, สำหรับผม มันก็ควรเป็นเมล็ดของคุณแล้ว.  มันเป็นสาระของชีวิต.  มอนซานโตและบริษัทอื่นๆ ได้เมล็ดแรกของพวกเขาจากที่ไหน?  บางคนมอบให้พวกเขา.  เมล็ดเหล่านั้นไม่ได้ตกมาจากฟากฟ้า.
Through the National Family Farm Coalition, we signed onto the protest against the seeds Monsanto sent to Haiti. Developing countries such as Haiti have no need for Monsanto, for hybrid seeds or GMO seeds, no kind of way. Let them use their traditional seeds they’ve been saving for hundreds of years. Let them propagate and then continue to farm traditionally. Because if they get used to buying from America, they’ll lose the diversity of seed that they need in order to build new seed. Normally when those types of seeds and other products from America hit a country, local farmers lose. They get put out of business, they can’t compete.
ด้วยเครือข่าย ครอบครัวเกษตรกรแห่งชาติ, เราได้เซ็นชื่อประท้วงเมล็ดมอนซานโตที่ถูกส่งไปไฮติ.  ประเทศกำลังพัฒนาเช่นไฮติ ไม่มีความจำเป็นต้องใช้มอนซานโต, เมล็ดพันธุ์ผสม หรือเมล็ดจีเอ็มโอ.  ปล่อยให้พวกเขาใช้เมล็ดตามประเพณีนิยมของพวกเขาที่ได้เก็บรักษามาหลายร้อยปีแล้ว.  ปล่อยให้พวกเขาแพร่พันธุ์และทำไร่ไถนาแบบที่เคยทำกันมา.  เพราะหากพวกเขาเกิดเคยชินกับการซื้อเมล็ดจากอเมริกาเข้า, พวกเขาจะสูญเสียความหลากหลายของเมล็ดพันธุ์ ที่จำเป็นในการสร้างเมล็ดใหม่.  ปกติแล้ว เมื่อเมล็ดพวกนั้นและผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากอเมริกาหล่นลงประเทศใด, เกษตรกรท้องถิ่นเป็นผู้แพ้.  พวกเขาต้องปิดกิจการ, พวกเขาแข่งไม่ได้.
We’ve been – I don’t want to use the word co-opted – trained by the institutions of agriculture, the companies, the university system, and technology, to give our rights over to the company, which I think is absolutely wrong. We have to be more proactive than reactive as small farmers, family farmers. We can’t wait for the government and large corporations to dictate to us what we can do in our region.
เราได้ถูก—ผมไม่อยากใช้คำว่า ถูกหักแขน—อบรมโดย สถาบันเกษตร, บริษัท, ระบบมหาวิทยาลัย, และเทคโนโลยี, ให้มอบสิทธิ์ของพวกเราแก่บริษัท, ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องผิดที่สุด.  เราต้องเข้าคุมสถานการณ์มากขึ้น แทนที่จะเพียงแสดงปฏิกิริยา ในฐานะเกษตรกรรายเล็ก, ครอบครัวเกษตรกร.  เราไม่สามารถนั่งรอให้รัฐบาลและบรรษัทใหญ่ๆ บงการพวกเราว่าจะทำอะไรได้บ้างในภูมิภาคของเรา.
They got a unique way of buying you off to not fight here. The American consumer doesn’t care as long as it’s cheap. But no matter what us farmers plant, the consumer’s got to change the system. People buying the end product have to complain. As long as they don’t complain, there’s no need even talking about it. The marketplace dictates.
พวกเขามีวิธีพิเศษที่จะซื้อคุณไม่ให้ต้อสู้.  ผู้บริโภคอเมริกันไม่แคร์ตราบที่มันราคาถูก.  แต่ไม่ว่าพวกเราเกษตรกรจะปลูกอะไร, ผู้บริโภคจะต้องเปลี่ยนระบบ.  ประชาชนที่ซื้อผลิตผลที่ปลายน้ำจะต้องร้องทุกข์.  ตราบเท่าที่พวกเขาไม่ร้องทุกข์, ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะพูดถึงมันอีก.  ตลาดเป็นผู้บงการ.



[1] 18. Coca-Cola Corporation, 1993 Annual Report, quoted in E.F. Schumacher, Small is Beautiful (Blond & Briggs, 1973), 8.
[2] 19. Chavannes Jean-Baptiste, group email, May 14, 2010.
[3] 20. Via Campesina, “Peasants Worldwide Rise up Against Monsanto, GMOs,” October 16, 2009, viacampesina.org/en/index.php?option=com_content&view=article&id=797:peasants-worldwide-rise-up-against-monsanto-gmos&catid=49:stoptransnational-corporations&Itemid=76.
[4] 21. Food First, “La Via Campesina Carries out Global Day of Action against Monsanto,” Institute for Food and Development Policy, October 19, 2009, www.foodfirst.org/en/node/2595.
[5] 22. Food and Water Watch, “Horizontal Consolidation and Buyer Power in the Beef Industry,” July 2010, http://www. foodandwaterwatch.org/factsheet/beef-industry/.
[6] 23. Food and Water Watch, “Taking on Corporate Power in the Food Supply,” March 2011, http://www.foodandwaterwatch.org/factsheet/taking-on-corporate-power-in-the-food-supply/.
[7] 24. Kristina Hubbard, “Out of Hand: Farmers Face the Consequences of a Consolidated Seed Industry,” Farmer to Farmer Campaign on Genetic Engineering, National Family Farm Coalition, December 2009, 4, http://farmertofarmercampaign.com/Out%20of%20Hand.FullReport.pdf.
[8] 25. Eric Holt-Giménez, “The World Food Crisis: What Is Behind it and What We Can Do,” Hunger Notes, October 2008, http://www.worldhunger.org/articles/09/editorials/holt-gimenez.htm.
[9] 26. Forty-eight percent statistic is from Food and Water Watch, “Taking on Corporate Power in the Food Supply,” March 2011, http://www.foodandwaterwatch.org/factsheet/taking-oncorporate-power-in-the-food-supply/. Walmart’s position as the largest grocery retailer is recorded in Capital Reporting Company, “Workshop on Agriculture and Antitrust Enforcement Issues in our 21st Century Economy,” Agriculture and Antitrust Enforcement Issues, December 8, 2010, 183, www.justice.gov/atr/public/workshops/ag2010/dc-agworkshop-transcript.pdf.
[10] 27. Jeremiah McWilliams, “Coca-Cola Spent More Than $2.9 Billion on Advertising in 2010,” Atlanta Journal Constitution online, February 28, 2011, accessed February 29, 2012, http://www.ajc.
com/business/coca-cola-spent-more-856183.html.
[11] 28. CNN, “Fortune 500’s Top Companies: Most Profitable,” CNN Money online, May 23, 2011, http://money.cnn.com/magazines/fortune/fortune500/2011/performers/companies/profits/.
[12] 29. U.S. Department of Agriculture/Economic Research Service, “Table 97 - Percent of household final consumption expenditures spent on food, alcoholic beverages, and tobacco that were consumed at home, by selected countries, 2010,” June 2011, www.ers.usda.gov/Briefing/CPIFoodAndExpenditures/Data/Table_97/table97_2010.xls.
[13] 30. Capital Reporting Company, “Workshop on Agriculture and Antitrust Enforcement Issues in Our 21st Century Economy,” Agriculture and Antitrust Enforcement Issues, December 8, 2010, 6, www.justice.gov/atr/public/workshops/ag2010/dc-agworkshoptranscript.pdf.
[14] 31. Carolyn Dimitri, Anne Effland, and Neilson Conklin, “The 20th Century Transformation of U.S. Agriculture and Farm Policy,” USDA Economic Research Service, Electronic Information Bulletin, No. 3, June 2005, www.ers.usda.gov/publications/eib3/eib3.htm. An additional statistic from the EPA reports that the number of farms in the U.S. fell from 6.8 million in 1935 to about 2 million in 1997. U.S. Environmental Protection Agency, “Demographics,” modified September 10, 2009, accessed February 29, 2012, www.epa.gov/oecaagct/ag101/demographics.html.
[15] 32. Nina Planck, “Leafy Green Sewage,” The New York Times online, September 9, 2006,  http://www.nytimes.com/2006/09/21/opinion/21planck.html?ex=1159675200&en=219a8917c14974f2&ei=5070. Made to digest grasses, the stomachs of these animals become unnaturally acidic on grain diets, creating perfect laboratories for bacteria that are harmful to humans. Farms try to counteract these bacteria by using vast amounts of antibiotics. In 2009, nearly 29 million pounds of antibiotics were sold for animal production. 2009 FDA report referenced by Helena Bottemiller, “FDA Releases First Estimate on Antibiotics in Ag,” December 13, 2010, Food Safety News, www.foodsafetynews.com/2010/12/fdareleases-first-estimate-on-antibiotic-in-ag/.
[16] 33. Michael Pollan, The Omnivore’s Dilemma: A Natural History of Four Meals (New York: Penguin, 2006).
[17] 34. Arthur Grube, et al., “Pesticide Industry Sales and Usage 2006 and 2007 Market Estimates,” US Environmental Protection Agency, February 2011, http://www.epa.gov/opp00001/pestsales/07pestsales/usage2007.htm#3_1.
[18] 35. Elizabeth Weise, “Gulf of Mexico Dead Zone Predicted to be the Size of New Jersey This Year,” USA Today online, June 29, 2010, http://content.usatoday.com/communities/sciencefair/post/2010/06/gulf-of-mexico-dead-zone-predicted-to-be-thesize-
of-new-jersey-this-year/1.
[19] 36. Environmental Working Group, “Body Burden - The Pollution in Newborns: A benchmark investigation of industrial chemicals, pollutants, and pesticides in umbilical cord blood,” July 14, 2005, http://www.ewg.org/reports/bodyburden2/execsumm.php.

[20] 37. Eric Schlosser in “One Thing to Do about Food: A Forum,” Alice Waters, ed., The Nation online, August 24, 2006, http://www.thenation.com/article/one-thing-do-about-food-forum.
[21] 38. Kristina Hubbard, “Out of Hand. Farmers Face the Consequences of a Consolidated Seed Industry,” Farmer to Farmer Campaign on Genetic Engineering, National Family Farm Coalition, December 2009, 4, http://farmertofarmercampaign.com/Out%20of%20Hand.FullReport.pdf.
[22] 39. Organic Consumers Association, Millions Against Monsanto website, accessed February 29, 2012, www.organicconsumers.org/monsanto/action.cfm.
[23] 40. The Editors, “Do Seed Companies Control GM Crop Research?,” Scientific American online, August 13, 2009, http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=do-seed-companiescontrol-gm-crop-research.
[24] 41. Organic Seed Growers and Trade Association, “Judge Sides with Monsanto: Ridicules Farmers’ Right to Grow Food Without
Fear, Contamination and Economic Harm,” Organic Seed Growers and Trade Association website, February 27, 2012, www.osgata.org/judge-sides-with-monsanto-ridicules-farmers-right-to-growfood-
without-fear-contamination-and-economic-harm.
[25] 42. Real Raw Milk Facts, “Raw Milk Facts State by State,” Real Raw Milk Facts website, accessed February 29, 2012, http://www.realrawmilkfacts.com/raw-milk-regulations; Dan Flynn, “Indiana, Iowa Stir Raw Milk Debate,” Food Safety News, February 16, 2012, http://www.foodsafetynews.com/2012/02/indiana-iowa-stir-rawmilk-debate/; and Dan Flynn, “Raw Milk Debates Underway in Several States,” Food Safety News, February 6, 2012, http://www.foodsafetynews.com/2012/02/raw-milk-games-already-underwayin-3-statehouses.
[26] 43. County Sheriff Project, “Farmer Faces Possible 3-year Prison Term for Feeding Community,” February 24, 2012, http://www.countysheriffproject.org/17-health-freedom/38-declaration-offood-independence-march-2-in-wisconsin.
[27] 44. New Rules Project, “Corporate Ownership Limitations,” The Institute for Local Self-Reliance, accessed February 29, 2012, www.newrules.org/agriculture/rules/corporate-ownershiplimitations.
[28] 45. Testimony from the hearings can be found at www.justice.gov/atr/public/workshops/ag2010/index.html.
[29] 46. Ben Burkett, interview with Beverly Bell, Indian Springs Farmers Association Co-op packing plant, Indian Springs, MS, June 22, 2010.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น