201. Book on
Decolonizing Our Food Commons-1
Harvesting
Justice
Transforming
Food, Land, and Agricultural Systems in the Americas
Tory Field
and Beverly Bell
Other Worlds
. 2013
Created for
the U.S. Food Sovereignty Alliance
เก็บเกี่ยวความยุติธรรม
พลิกโฉมอาหาร,
ที่ดิน, และ ระบบเกษตรกรรมในทวีปอเมริกา
ทอรี ฟิลด์
และ เบเวอรี เบล
Other Worlds
. 2013
สำหรับ U.S. Food
Sovereignty Alliance (พันธมิตรอธิปไตยทางอาหาร สหรัฐฯ)
|
Dedication
Harvesting
Justice is dedicated to peasant, indigenous, landless, and small farmers
around the world, with respect and appreciation for their work of growing
food and growing justice.
We also
dedicate it to the U.S. Food Sovereignty Alliance, with the hope that – as a
result of the collective work of the Alliance and its members – food
sovereignty will soon flourish in the U.S.
คำอุทิศ
ขออุทิศหนังสือ
“เก็บเกี่ยวความยุติธรรม” แด่ชาวนา, ชาวพื้นเมืองดั้งเดิม, ผู้ไร้ที่ทำกิน
และเกษตรกรรายย่อย ทั่วโลก,
ด้วยความเคารพและซาบซึ้งในงานของพวกเขาในการเพาะปลูกอาหารและเพาะปลูกความยุติธรรม.
เราขออุทิศหนังสือเล่มนี้
แด่ พันธมิตรอธิปไตยทางอาหารสหรัฐฯ, ด้วยความหวังว่า—อานิสงค์ของงานร่วมของสมาชิกพันธมิตรเอง—อธิปไตยทางอาหารจะเจริญงอกงามในสหรัฐฯ
ได้เร็วๆ นี้.
|
Table of
Contents
สารบัญ
Introduction:
Breaking Bread
เกริ่นนำ: แบ่งขนมปัง
|
2
|
1.
Time to Make Salt: Food Sovereignty
ถึงเวลาผลิตเกลือ : อธิปไตยทางอาหาร
|
5
|
2.
A Level Planting Field: Challenging Corporate Rule
เกลี่ยแปลงเพาะปลูกให้เสมอกัน : การท้าทายกฎบรรษัท
|
21
|
3.
Good Growing Conditions: Changing Government Policies
เงื่อนไขที่ดีเพื่อการเพาะปลูก
: การเปลี่ยนนโยบายรัฐบาล
|
36
|
4.
Bringing it Home: Creating and Reviving Local Food Systems
นำกลับบ้าน : การสร้างสรรค์ และ การฟื้นคืนระบบอาหารท้องถิ่น
|
47
|
5.
Land of Plenty: Making Good Food Accessible to All
ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ : ทำให้อาหารดีๆ เข้าถึงได้สำหรับคนทั้งมวล
|
62
|
6.
Honor the Hands: Food Worker Justice
เกียรติภูมิของมือ : ความยุติธรรมต่อคนงานอาหาร
|
74
|
7.
Inherit the Earth: Land Reform
สืบทอดแผ่นดิน : การปฏิรูปที่ดิน
|
86
|
8.
Homelands: Indigenous Territories and Sovereignty
ถิ่นเกิด :
เขตแดนและอธิปไตยชนพื้นเมืองดั้งเดิม
|
99
|
Appendices
ภาคผนวก
|
|
Gratitude
คำขอบคุณ
|
117
|
Dig
Deeper
ขุดลึกลงไป
|
119
|
Authors
and Contributors
ผู้เขียนและผู้มีอุปการะ
|
131
|
About
Other Worlds and the U.S. Food Sovereignty Alliance
เกี่ยวกับ
Other
Worlds และ the U.S. Food Sovereignty Alliance
|
133
|
Breaking
Bread: lntroduction
แบ่งขนมปัง
:
เกริ่นนำ
“This
isn’t just a romantic exercise. We don’t like the way the food system treats
the earth and its negative health effects on the people, and we are working to
actualize an alternative.”
—
Miguel Santistevan, New Mexican farmer and teacher
“นี่ไม่ใช่เป็นแค่แบบฝึกหัดเพ้อฝัน. เราไม่ชอบวิธีการที่ระบบอาหารกระทำต่อแผ่นดิน
และ ผลกระทบลบต่อสุขภาพของประชาชน, และ พวกเรากำลังทำให้ทางเลือกเป็นรูปธรรมได้”.
-มิเกล
ซานติสเตวาน, ชาวนาและครู นิวเม็กซิโก
In
the fall of 2011, the Occupy movement was growing, as they say, like a weed –
quickly and strongly. In groups as small as two and as large as 200,000, people
gathered in public spaces around the world to challenge an economic system that
has long abandoned the majority for the profit of a few, creating what writer
Arun Gupta called “liberated territory” in the “great cathedral of global
capitalism.”[1] The first group of protestors
on New York City’s Wall Street publically delivered 23 complaints, outlining
the ways in which corporations control our daily lives. Number four asserted,
“They have poisoned the food supply through negligence and undermined the
farming system through monopolization.”[2]
ในฤดูใบไม้ร่วงของปี 2011, ขบวนการยึดพื้นที่กำลังขยายตัว, ดังที่พวกเขาบอก, เหมือนวัชพืช—รวดเร็วและแข็งแรง. ประชาชนรวมตัวเป็นกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มเล็กเพียง 2
คน จนถึงกลุ่มใหญ่ 200,000 คน
ในที่สาธารณะทั่วโลก เพื่อท้าทายระบบเศรษฐกิจ ที่ได้ทอดทิ้งคนส่วนใหญ่
เพื่อทำกำไรให้ไม่กี่คน, ที่สร้างสิ่งที่ อรุณ คุปตา เรียกว่า “อาณาเขตปลดปล่อย”
ใน “มหาวิหารของลัทธิทุนนิยมโลก”.
กลุ่มแรกของผู้ประท้วงที่วอลล์สตรีทของนิวยอร์ก
ได้ยื่นคำร้องทุกข์ในที่สาธารณะ 23 ข้อ,
เป็นเค้าโครงของการควบคุมของบรรษัทต่อชีวิตประจำวันของพวกเรา. ข้อสี่ยืนยันว่า,
“พวกเขาได้ทำให้แหล่งอาหารเป็นพิษ ด้วยการใช้ระบบผูกขาดที่ละเลยและกัดกร่อนระบบการเกษตร”.
The
same season, on the other side of the earth, farmers in Lufeng, China were also
in the streets. They were protesting the city government’s seizure and sale of
800 acres of farmland to an upscale property development ironically named
Country Garden.
ในอีกฟากหนึ่งของโลก,
ด้วยเหตุผลเดียวกัน, ชาวนาใน หลู่เฟิ่ง, ประเทศจีน ก็ประท้วงบนถนนด้วย. พวกเขาประท้วงรัฐบาลเมือง ที่ยึดและขายที่นา 800 เอเคอร์ ให้แก่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่น่าขัน มีชื่อว่า สวนชนบท.
In
Bolivia, around the same time, the president was forced to suspend construction
of a major highway after indigenous activists led a 41-day march in protest.
The road would have cut through protected forests and indigenous ancestral
lands in order to shuttle commerce between Brazil and ports in Chile and Peru.
ในโบลิเวีย, ในเวลาเดียวกัน,
ประธานาธิบดีถูกบังคับให้ระงับการก่อสร้างทางหลวงหลักสายหนึ่งชั่วคราว
หลังจากที่นักรณรงค์ชาวพื้นเมืองดั้งเดิม ได้นำการเดินประท้วง 41 วัน. ถนนสายนี้
จะตัดผ่านเขตป่าสงวนและดินแดนบรรพชนของชาวพื้นเมืองดั้งเดิม
เพื่อให้เป็นเส้นทางขนส่งพาณิชย์ ระหว่าง บราซิล และ ท่าเรือในชิลี และ เปรู.
And
simultaneously, back in the Northern hemisphere, in rural New Mexico, a winter
farmers’ market was starting up on Taos Indian Pueblo land. The shelves held
garlic, carrots, chokecherry jam, blue corn flour, hot tamales, and giant heads
of Napa cabbage harvested from the greenhouse. The market room and greenhouse
were both heated by a furnace stoked with wood from the surrounding hills. A
sign on the front door said “come back next week and we’ll have fresh buffalo.”
และในเวลาใกล้กัน,
ในซีกโลกเหนือ, ในชนบทของรัฐนิวเม็กซิโก, ตลาดนัดชาวนาภาคฤดูหนาว
ก็ได้เริ่มขึ้นในแดนของ Taos
Indian Pueblo. บนหิ้งขายของมี
กระเทียม, แครอท, แยมโช๊กเชอรี, แป้งข้าวโพดสีน้ำเงิน, พริกทามาเลส, และหัวผักกาดขาวยักษ์
ที่เก็บเกี่ยวจากเรือนกระจก. ห้องตลาดและเรือนกระจก
ถูกทำให้อุ่นด้วยเตาผิงที่ใช้ฟืนจากดอยที่อยู่รายรอบ. ป้ายที่หน้าประตูเขียนว่า “กลับมาสัปดาห์หน้า
แล้วเราจะมีควายสด”.
A
common thread links these stories happening around the globe: a vision of a
society that values life and the earth over profit. One cornerstone on which
this vision rests is the revival of community-led, sustainable food systems,
and an end to the corporate control of food, land, and agriculture.
สายใยที่เชื่อมเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั่วโลกเหล่านี้
: วิสัยทัศน์ของสังคมที่ให้คุณค่าต่อชีวิตและแผ่นดินผืนโลก มากกว่า
กำไร.
หินหัวมุมหนึ่งที่วิสัยทัศน์นี้วางอยู่ คือ การฟื้นคืนชีวิตของระบบอาหารที่ยั่งยืนที่นำโดยชุมชน,
และ ยุติการควบคุมของบรรษัทในอาหาร, ที่ดิน, และ เกษตร.
How
we feed ourselves and each other is the backbone of how, historically, we have
organized our communities and societies. The ways in which we arrange our
agricultural systems make evident our larger worldviews. Food literally and
figuratively connects us to each other, to our ancestors, to our cultures, and
to the earth. All food is soul food (with a low bow to true Southern cooking)
because it is, in fact, that deep.
วิธีการที่พวกเราเลี้ยงดูตนเองและกันและกัน
เป็นกระดูกสันหลัง, ในเชิงประวัติศาสตร์, ของวิธีการที่พวกเราได้จัดกระบวนชุมชนและสังคมของเรา. วิธีการที่พวกเราจัดการระบบเกษตรกรรมของเรา
เป็นหลักฐานแสดงถึงโลกทัศน์ที่กว้างใหญ่กว่าของพวกเรา. อาหาร ทั้งในความเป็นจริงและในการอุปมาอุปมัย
ได้เชื่อมพวกเรา ต่อกันและกัน, ต่อบรรพชนของเรา, ต่อวัฒนธรรมของเรา,
และต่อผืนแผ่นดินโลก. อาหารทั้งหมดเป็นอาหารทางวิญญาณ
(ขอโค้งคำนับด้วยจิตคาระวะต่อการทำอาหารที่แท้จริงในซีกโลกใต้) เพราะ ที่จริง
มันเป็นเรื่องลึกล้ำ.
From
community gardens to just global policy, a movement is growing to reclaim and
transform our food systems. The movement addresses:
จากสวนชุมชน ถึง
นโยบายเป็นธรรมโลก, การเคลื่อนไหวหนึ่งกำลังเติบโตขยายตัว
เพื่อทวงและพลิกโฉมระบบอาหารของเรา.
การขับเคลื่อน มีประเด็นต่อไปนี้.
•
The well-being of the land, air, and waters;
•
The ability of all to eat adequate and healthy food;
•
The rights, health, and fair wages of those who plant, harvest, produce and
prepare food;
•
The need to restore and protect small farms and local food systems;
•
The preservation and reclamation of local culture;
•
The right of every nation to control its own food and agriculture; and
•
An end to corporate control of food and agriculture, including an end to trade
rules and international agreements that prioritize profit over the well-being
of people and the earth.
-
ความอยู่ดีของผืนดิน, อากาศ, และ น้ำ
-
ความสามารถของคนทั้งปวงที่จะมีอาหารที่แข็งแรงสมบูรณ์กินอย่างเพียงพอ
-
สิทธิ, สุขภาพ, และค่าแรงที่เป็นธรรม
สำหรับคนที่เพาะปลูก, เก็บเกี่ยว, ผลิต และ ปรุงอาหาร
-
ความจำเป็นที่จะปฏิสังขรณ์และพิทักษ์ฟาร์มขนาดเล็กและระบบอาหารท้องถิ่น
-
การปกป้องและฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น
-
สิทธิของทุกชาติ
ในการควบคุมอาหารและเกษตรกรรมของตน, และ
-
ยุติการควบคุมของบรรษัท ต่อ
อาหารและเกษตร, รวมทั้ง ยุติกฎการค้า และ ข้อตกลงระหว่างประเทศ
ที่ให้ความสำคัญแก่กำไร เหนือ ความอยู่ดีมีสุขของประชาชนและโลก.
We
created this book in order to share stories about some of the countless
heartening changes that are happening in this movement. We also hope it will
illuminate the connections and interdependence between different initiatives.
Understanding the ways our visions overlap and strengthen each other is, we
think, vital.
เราสรรค์สร้างหนังสือเล่มนี้
เพื่อแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้หัวใจพองโตนับไม่ถ้วน
ที่กำลังเกิดขึ้นในขบวนการนี้.
เรายังหวังด้วยว่า ความสัมพันธ์และความพึ่งพาต่อกันและกัน
ระหว่างการริเริ่มต่างๆ จะเรืองแสงรุ่งโรจน์ขึ้น.
ความเข้าใจต่อวิธีการที่วิสัยทัศน์ต่างๆ ของพวกเราคาบเกี่ยวกัน, เราคิดว่า,
สำคัญยิ่ง.
A
few notes about our language choices. We refer to ‘agriculture’, ‘farming’, and
‘farmers’, often. Really, we wish we had better words that encompassed the full
array of farmers, fishermen and women, hunters, gatherers, shepherds, ranchers,
and all those involved in food provision. We apologize for the many places
where we fall short of capturing the whole picture.
โปรดสังเกตการณ์เลือกใช้คำของเรา. เรามักกล่าวถึง “เกษตรกรรม”, “การทำฟาร์ม”, และ
“ชาวนา/คนทำฟาร์ม”. จริงๆ แล้ว
เราได้แต่หวังว่า เราจะมีคำที่ดีกว่าเพื่อโอบรวม ชาวนา, ชาวประมง และ ผู้หญิง,
คนล่าสัตว์, คนเก็บผลหมากรากไม้, คนเลี้ยงแกะ, เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์, และ
ทั้งหมดที่มีส่วนในการผลิตอาหาร.
เราต้องขออภัยในหลายๆ ที่ๆ ไม่สามารถฉายภาพทั้งหมดได้.
Also,
we at times refer to ‘peasant farmers’ when talking about small farmers in
Latin America because, though the term is uncommon and sometimes considered
pejorative in the U.S., it is how most small and subsistence farmers identify
themselves in other parts of the world. It describes a socio-economic position
in a way that the descriptor ‘farmer’, which describes only a profession, does
not. Additionally, we use the terms ‘movement’, ‘food movement’, and
‘sustainable agriculture movement’ loosely and interchangeably to refer to the
huge spectrum of efforts to create food systems that are nourishing, just, and
healthy for people, animals, the earth, and future generations.
บางครั้ง เราก็ใช้คำว่า “ชาวนา”
เมื่อพูดถึงเกษตรกรรายย่อยในลาตินอเมริกา เพราะ, แม้ว่าคำนี้จะไม่ค่อยใช้กัน และ
บางทีก็ถูกมองว่าดูถูกกันในสหรัฐฯ, มันเป็นคำที่เกษตรกรรายย่อยและยังชีพ
เรียกตัวเอง ในส่วนอื่นๆ ของโลก.
มันบรรยายถึง ตำแหน่งทางสังคม-เศรษฐกิจ อย่างที่คำว่า “เกษตรกร”,
ซึ่งเป็นเพียงคำบรรยายอาชีพ, ไม่พูดถึง.
อีกอย่าง, เราใช้คำว่า “การเคลื่อนไหว”, “ขบวนการอาหาร”, และ
“การเคลื่อนไหวเกษตรยั่งยืน” อย่างหลวมๆ และ แลกเปลี่ยนกันได้ เพื่อกล่าวถึง
ความพยายามอันหลากหลายมหาศาล เพื่อสร้างระบบอาหารที่หล่อเลี้ยง, เป็นธรรม, และ สมบูรณ์
แข็งแรง สำหรับคน, สัตว์, และโลก, และ อนุชนในอนาคต.
A
note about organization: This booklet starts with a chapter on food
sovereignty, which is the overarching framework for most of the discussions
that follow. Of the remaining chapters, we have loosely divided them between
the U.S. and Latin America, because people in the U.S. tend to think about
issues along a domestic/international binary. Also, certain food and
agricultural issues predominate more in one hemisphere than the other. Yet all
of the issues discussed here are global. They crosscut North-South divides,
reflecting the impacts of our globalized economic relationships.
เกี่ยวกับองค์กร: หนังสือเล่มนี้ เริ่มด้วยบทแรก อธิปไตยทางอาหาร,
ซึ่งเป็นกรอบคิดคลุมหมดของการอภิปรายตามมา.
บทที่เหลือ, เราได้แยกอย่างหลวมๆ ระหว่างสหรัฐฯ และ ลาตินอเมริกา,
เพราะประชาชนในสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะคิดถึงประเด็นต่างๆ ในลักษณะแยกขั้ว
ในประเทศ/ระหว่างประเทศ. นอกจากนี้,
ประเด็นอาหารและเกษตรบางเรื่อง จะเด่นในซีกโลกหนึ่งกว่าอีกซีกหนึ่ง. แต่ประเด็นทั้งหมดที่อภิปรายในที่นี้
ล้วนเป็นประเด็นโลก.
มันตัดข้ามเส้นแบ่งเหนือใต้,
สะท้อนถึงผลกระทบของความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัตน์.
At
the end of this book you’ll find an appendix of organizations that are engaged
in exciting work, books that we appreciate, resources to feed your interest and
enthusiasm, and ideas for turning dedication into action.
ในตอนท้ายของหนังสือ
เป็นภาคผนวกขององค์กรที่มีส่วนร่วมในโครงการอันน่าตื่นเต้นนี้, รายการหนังสือที่เราประทับใจ,
ทรัพยากรเพื่อหล่อเลี้ยงความสนใจและความกระตือรือร้นของคุณ, และ
ความคิดที่เปลี่ยนความทุ่มเทสู่ปฏิบัติการ.
And
lastly, any quotes that are not otherwise attributed come from interviews with
the authors.
และสุดท้าย, คำกล่าวอ้างใดๆ
ที่ไม่ได้ระบุแหล่ง มาจากการสัมภาษณ์กับผู้เขียน.
May
we continue to break bread and make change together.
ขอให้เราแบ่งขนมปังกันต่อไป และ
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน.
Blessings
on the meal.
ขอพรจงมีแก่อาหารมื้อนี้.
1.
Time to Make Salt: Food Sovereignty
ถึงเวลาผลิตเกลือแล้ว : อธิปไตยทางอาหาร
“We
are the food we eat, the water we drink, the air we breathe. And reclaiming
democratic control over our food and water and our ecological survival is the
necessary project for our freedom.”[3]
—
Vandana Shiva, physicist and activist
“เราเป็นอาหารที่เรากิน,
น้ำที่เราดื่ม, และ อากาศที่เราสูดหายใจ.
และการทวงคืนการควบคุมประชาธิปไตยต่ออาหารของเรา และ
ความอยู่รอดเชิงนิเวศของเรา เป็นโครงการจำเป็นเพื่ออิสรภาพของเรา”.
-วันทนา
ศิวะ, นักฟิสิกส์ และ นักรณรงค์
“Over
a half-century ago, Mahatma Gandhi led a multitude of Indians to the sea to make
salt – in defiance of the British Empire’s monopoly on this resource critical to
people’s diet. The action catalyzed the fragmented movement for Indian
independence and was the beginning of the end for Britain’s rule over India.
The act of ‘making salt’ has since been repeated many times in many forms by
people’s movements seeking liberation, justice and sovereignty: César Chávez,
Nelson Mandela, and the Zapatistas are just a few of the most prominent
examples. Our food movement – one that spans the globe – seeks food sovereignty
from the monopolies that dominate our food systems, with the complicity of our
governments.
“กว่ากึ่งศตวรรษที่แล้ว,
มหาตมะคานธี ได้นำฝูงชนอินเดียนอันหลากหลายมากมายไปยังทะเลเพื่อทำเกลือ—เป็นการขัดขืนการผูกขาดของจักรวรรดิ์อังกฤษ
ในทรัพยากรนี้ ที่สำคัญยิ่งในโภชนาการของประชาชน.
ปฏิบัติการนี้
ได้กระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวกระจัดกระจายเพื่อกอบกู้เอกราชของอินเดีย
และเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของการปกครองของอังกฤษเหนืออินเดีย. ตั้งแต่นั้นมา การกระทำ “ทำเกลือ”
ได้ถูกทำซ้ำหลายครั้ง ในหลายรูปแบบ โดยการเคลื่อนไหวของประชาชนที่แสวงหาทางปลดแอก,
ความยุติธรรม และ อธิปไตย: ซีซาร์ ชาเวส, เนลสัน แมนเดลา, และ ซาปาติสตาส์
เป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุด.
ขบวนการอาหารของเรา—หนึ่งในการเคลื่อนไหวที่แผ่ไปทั่วโลก—แสวงหาอธิปไตยทางอาหารจากการผูกขาด
ที่ครอบงำระบบอาหารของเรา, ด้วยความสยบยอมของรัฐบาลของเรา.
We
are powerful, creative, committed and diverse. It is our time to make salt.”[4] So begins a statement by the People’s Movement
Assembly on Food Sovereignty from the 2010 U.S. Social Forum in Detroit. Today,
you can find similar declarations on food sovereignty crafted by communities around
the world, from small rural towns and villages to high-profile global gatherings.
พวกเรามีพลังอำนาจ,
ความคิดสร้างสรรค์, ปณิธานมุ่งมั่น และ หลากหลาย.
มันถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะ “ทำเกลือ”.
ดังคำกล่าวเริ่มต้นในแถลงการณ์โดย สมัชชาขบวนการประชาชน
ว่าด้วย อธิปไตยทางอาหาร จาก เวทีสังคมสหรัฐฯ ปี 2010
ในดีทรอยท์. ทุกวันนี้,
คุณจะพบแถลงการณ์คล้ายๆ กัน เรื่องอธิปไตยทางอาหาร เขียนโดยชุมชนทั่วโลก,
ตั้งแต่เมืองและหมู่บ้านชนบทเล็กๆ จนถึง การรวมตัวดังๆ ระดับโลก.
Food
sovereignty is not a one-size-fits-all approach but an expansive set of
principles, policies, and practices. It is grounded in the belief that everyone
has the right to healthy, sustainably produced food, and that people and
nations must have democratic control over their food and agricultural systems. In
2007, in the West African country of Mali, more than 500 small farmers, food
producers, and activists from around the world came together for the Nyéléni
Forum for Food Sovereignty, named after a legendary woman farmer from the
region. The final statement articulated six key attributes of food sovereignty.[5] Below
are excerpts from that declaration.
อธิปไตยทางอาหารไม่ใช่เป็นแนวทางแบบขนาดเดียวใช้ได้กับทุกที่
แต่เป็นชุดหลักการ, นโยบาย, และการปฏิบัติการที่ครอบคลุมกว้าง. มันเชื่อมั่นว่า ทุกๆ
คนมีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงอาหารที่แข็งแรง, ถูกผลิตอย่างยั่งยืน, และว่าประชาชนและชาติต่างๆ
จะต้องมีการควบคุมแบบประชาธิปไตยเหนือระบบอาหารและเกษตรของตน. ในปี 2007, ในประเทศมาลี
ในแถบอาฟริกาตะวันตก, ชาวนารายย่อย, ผู้ผลิตอาหาร, และ นักรณรงค์จากทั่วโลกกว่า 500 คน รวมตัวกันใน เวทีเนียเรนิเพื่ออธิปไตยทางอาหาร,
ซึ่งตั้งชื่อตามชาวนาหญิงผู้เป็นตำนานในภูมิภาค.
แถลงการณ์สุดท้าย ได้ชี้แจงถึงลักษณะสำคัญ 6 ประการของอธิปไตยทางอาหาร. ต่อไปนี้ เป็นข้อความที่ยกมาจากแถลงการณ์.
© David Lauer
The
impact of the North American Free Trade Agreement has been devastating to
Mexican farmers. In 2008, farmers’ organizations drove their tractors on the
route Pancho Villa took during the 1910 revolution, traveling from the U.S.
border to Mexico City as part of the “Without corn there is no country” and
“The land can’t take anymore” campaigns, demanding support for sustainable food
production.
ผลกระทบของ นาฟตา
เป็นวิบัติต่อเกษตรกรเม็กซิกัน. ในปี 2008,
องค์กรเกษตรกรได้ขับรถแทรกเตอร์ไปตามทางที่ ปันโช วิลลา ได้ใช้ในปฏิวัติ 1910, เดินทางจากชายแดนสหรัฐฯ สู่ เม็กซิโกซิตี อันเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์
“ไม่มีข้าวโพด ไม่มีชนบท” และ “แผ่นดินรับต่อไปไม่ไหวแล้ว”,
เรียกร้องให้สนับสนุนการผลิตอาหารที่ยั่งยืน.
1.
Focuses on Food for People: Food sovereignty stresses the right to sufficient, healthy
and culturally appropriate food for all individuals, peoples and communities.
Food sovereignty rejects the proposition that food is just another commodity
for international agribusiness.
1. ให้เน้นที่อาหารเพื่อประชาชน: อธิปไตยทางอาหารเน้นที่สิทธิของปัจเจก, ประชาชน และ ชุมชนทั้งปวง ที่จะมีอาหารเพียงพอ,
สมบูรณ์แข็งแรง และ เหมาะสมเชิงวัฒนธรรม.
อธิปไตยทางอาหารปฏิเสธข้อเสนอที่ว่า อาหารเป็นเพียงสินค้าอีกชิ้นหนึ่งสำหรับธุรกิจเกษตรโลก.
2.
Values Food Providers: Food sovereignty values and supports the contributions, and
respects the rights, of women and men, peasants and small-scale family farmers,
pastoralists, artisanal fishers, forest dwellers, indigenous peoples, and
agricultural and fisheries workers, including migrants, who cultivate, grow, harvest
and process food.
2. ให้ความสำคัญต่อผู้จัดหาอาหาร: อธิปไตยทางอาหารให้ความสำคัญ และ สนับสนุน ผลงาน, และ
เคารพสิทธิของหญิงและชาย, ชาวนาและครอบครัวเกษตรกรรายย่อย, คนเลี้ยงปศุสัตว์,
ชาวประมง-นายช่างฝีมือ, ผู้อาศัยในป่า, ชนพื้นเมืองดั้งเดิม,
และคนงานเกษตรและการประมง, รวมทั้ง คนย้ายถิ่น, ผู้เพาะปลูก, เก็บเกี่ยว และ
แปรรูปอาหาร.
3.
Localizes Food Systems: Food sovereignty puts providers and consumers at the
center of decision-making on food issues; protects food providers from the dumping
of food and food aid in local markets; and resists governance structures, agreements,
and practices that… promote… inequitable international trade and give power to
remote and unaccountable corporations.
3. ระบบอาหารในท้องถิ่น: อธิปไตยทางอาหารจัดให้ผู้จัดหาและผู้บริโภค
อยู่ที่ศูนย์กลางของการตัดสินใจ ในประเด็นอาหาร; ปกป้องผู้จัดหาอาหารจากการทุ่มอาหารและความช่วยเหลือทางอาหารในตลาดท้องถิ่น; และ ต่อต้าน โครงสร้างรัฐบาล, ข้อตกลง,
และการปฏิบัติที่...ส่งเสริม...ความไม่เสมอภาคในการค้าระหว่างประเทศ และ
ให้อำนาจแก่บรรษัทที่อยู่ห่างไกลและเชื่อถือพึ่งพาไม่ได้.
4.
Makes Decisions Locally: Food sovereignty seeks control over and access to territory,
land, grazing, water, seeds, livestock and fish populations for local food
providers. These resources ought to be used and shared in socially and environmentally
sustainable ways which conserve diversity.
4.
ทำการตัดสินใจในท้องถิ่น: อธิปไตยทางอาหาร
แสวงหาการควบคุมเหนือและการเข้าถึง อาณาเขต, ที่ดิน, ทุ่งหญ้าสำหรับปศุสัตว์, น้ำ,
เมล็ด, ประชากรปศุสัตว์ และ ปลา สำหรับผู้จัดหาอาหารท้องถิ่น. ทรัพยากรเหล่านี้
ควรถูกใช้และแบ่งปันในลักษณะยั่งยืนเชิงสังคมและสิ่งแวดล้อม
ทีอนุรักษ์ความหลากหลาย.
5.
Builds Knowledge and Skills: Food sovereignty builds on the skills and local
knowledge of food providers and their local organizations that conserve, develop
and manage localized food production and harvesting systems, and that pass on
this wisdom to future generations. Food sovereignty rejects technologies that
undermine, threaten or contaminate these, e.g., genetic engineering.
5.
ต่อยอดองค์ความรู้และทักษะ: อธิปไตยทางอาหาร
ต่อยอดกับทักษะและภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้จัดหาอาหาร และ
องค์กรท้องถิ่นของพวกเขาที่อนุรักษ์, พัฒนา และ
จัดการระบบการผลิตอาหารและเก็บเกี่ยวที่หยั่งรากในท้องถิ่น, และที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่อนุชนในอนาคต. อธิปไตยทางอาหาร ปฏิเสธเทคโนโลยีที่กัดกร่อน,
คุกคาม หรือ ปนเปื้อน เช่น จีเอ็มโอ.
6.
Works with Nature: Food sovereignty seeks to heal the planet so that the planet
may heal us; and rejects methods that harm beneficial ecosystem functions, that
depend on energy-intensive monocultures and livestock factories, destructive
fishing practices and other industrialized production methods.
6. ทำงานกับธรรมชาติ: อธิปไตยทางอาหาร แสวงหาทางสมานแผล เยียวยาโลก เพื่อว่า โลกอาจสมานแผล
เยียวยาพวกเรา; และปฏิเสธวิธีการที่ทำร้ายกลไกการทำงานของระบบนิเวศที่มีประโยชน์,
ที่พึ่งพืชเชิงเดี่ยวและโรงงานปศุสัตว์ที่ใช้พลังงานเข้มข้น,
วิธีการประมงที่ทำลายล้าง และ วิธีการผลิตเชิงอุตสาหกรรมอื่นๆ.
“This
is not ultimately a battle about food and farming. It is about the survival
of all of us.”
—
Shalmali Guttal, Focus on the Global South
“ถึงที่สุด
นี่ใช่สงครามเกี่ยวกับอาหารและการทำเกษตร.
มันเป็นเรื่องความอยู่รอดของพวกเราทั้งหมด”.
-
ชาลมาลี กุตตัล, Focus
on the Global South
|
Local
to Global, and Everything in Between
จากระดับท้องถิ่นสู่ระดับโลก,
และ ทุกสิ่งในระหว่างนั้น
Food
sovereignty recognizes that transforming our food systems necessitates working in
our communities, changing international policies, and everything in between.
The movement is rooted in the daily work of every small farmer, rancher,
fisherperson, landless farm worker, and everyone else involved in local food
production. Yet no matter what they produce, their ability to survive is
affected by international market forces. The movement, therefore, also includes
community, national, and international activists working for just trade and economic
systems.
อธิปไตยทางอาหารยอมรับว่า
การพลิกโฉมระบบอาหารของเรา จำเป็นต้องทำงานในชุมชนของเรา,
เปลี่ยนนโยบายระหว่างประเทศ, และทุกอย่างระหว่างสองระดับ. การขับเคลื่อนหยั่งรากอยู่ในงานประจำวันของเกษตรกร,
เจ้าของปศุสัตว์, ชาวประมงรายย่อย, คนงานฟาร์มที่ไร้ที่ทำกิน, และ ทุกๆ
คนที่ร่วมอยู่ในกระบวนการผลิตอาหารท้องถิ่น.
แต่ไม่ว่าพวกเขาจะผลิตอะไร, ความสามารถที่จะอยู่รอดได้ของพวกเขา
ถูกกระทบด้วยกระแสตลาดระหว่างประเทศ. ดังนั้น
การเคลื่อนไหวจึงรวมนักรณรงค์ระดับ ชุมชน, ชาติ และ นานาชาติ
ในการทำงานเพื่อการค้าและระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม.
The
principles of food sovereignty challenge the neoliberal economic model that
governs food systems in much of the world. The neoliberal model promotes globalized
trade, favoring the import and export of large quantities of food across
borders. It assumes that a low- or middle-income nation’s best option is that
of fitting into the economic position allotted to it by richer countries and
financial institutions. If the American Midwest can grow massive amounts of corn,
the rationale goes, then it should grow corn for the world, while Colombian farmers
export coffee, Brazilian farmers bananas, and so on. This logic favors a food industry
reliant on industrial-scale farming, monocropping, and massive inputs of fuel, fertilizers,
and pesticides. The beneficiaries are the corporate middlepeople who
consolidate, arrange, package, and ship the food around the world.
หลักการของอธิปไตยทางอาหาร
ท้าทายโมเดลเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ที่ปกครองระบบอาหารในโลกส่วนใหญ่. โมเดลเสรีนิยมใหม่ส่งเสริมการค้าโลกาภิวัตน์,
เข้าข้างการสั่งเข้าและส่งออกอาหารปริมาณมากๆ ข้ามพรมแดน. มันสมมติเอาเองว่า
ทางเลือกที่ดีที่สุดของประเทศรายได้ต่ำ หรือ ปานกลาง คือ การทำตัวให้สอดคล้องเข้ากับตำแหน่งเศรษฐกิจที่ประเทศร่ำรวยกว่าและสถาบันการเงิน
จัดสรรให้. หากชาวอเมริกันมิดเวสต์
(ตะวันตกกลาง) สามารถปลูกข้าวโพดมหาศาล, ดังหลักการและเหตุผลกล่าว,
ก็ควรจะปลูกข้าวโพดสำหรับทั่วโลก, ในขณะที่เกษตรกรชาวโคลัมเบียส่งออกกาแฟ,
ชาวบราซิลส่งกล้วย, ฯลฯ.
ตรรกะนี้เข้าข้างอุตสาหกรรมอาหารที่พึ่ง เกษตรขนาดอุตสาหกรรม,
พืชเชิงเดี่ยว, และ วัตถุดิบมหาศาลของเชื้อเพลิง, ปุ๋ย, และ ยาฆ่าแมลง. ผู้ได้รับผลประโยชน์ คือ บรรษัทคนกลาง
ผู้รวบรวม, จัดระเบียบ, บรรจุหีบห่อ, และส่งอาหารออกไปทั่วโลก.
The
proponents of this model are the World Bank, International Monetary Fund (IMF),
World Trade Organization (WTO), governments of industrialized countries, large landholders,
and corporations. They insist that global South countries lower agricultural tariffs
on food coming into their countries so as to open their markets to foreign trade.
They also pressure countries to eliminate agricultural subsidies, even though many
high-income countries like the U.S. maintain large subsidies of their own.
These measures undermine local production and the livelihoods of the world’s
small-scale farmers who cannot compete on an uneven playing field with
corporate giants.
ผู้สนับสนุนโมเดลนี้ คือ
ธนาคารโลก, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), องค์การค้าโลก (WTO), รัฐบาลของประเทศอุตสาหกรรม, เจ้าของที่ดินขนาดใหญ่, และ บรรษัท. พวกเขายืนกรานให้ประเทศซีกโลกใต้ต้องลดอัตราภาษีศุลกากรสินค้าเกษตร
ของอาหารที่มาจากประเทศของพวกเขา
เพื่อจะได้เปิดตลาดของพวกเขาในการค้าต่างประเทศ.
พวกเขายังกดดันประเทศด้วย ให้ขจัดเงินอุดหนุนให้ภาคเกษตร, แม้ว่าหลายๆ
ประเทศที่มีรายได้สูง เช่น สหรัฐฯ ก็ยังธำรงเงินอุดหนุนก้อนใหญ่ให้ภาคเกษตรของตนเอง. มาตรการเหล่านี้ กัดกร่อนการผลิตท้องถิ่น และ
วิถีชีวิตของชาวนารายย่อยของโลก
ผู้ไม่สามารถแข่งในสนามที่ไม่เสมอกันเช่นนี้กับบรรษัทยักษ์ใหญ่.
A
food system that depends on importing and exporting goods around the globe leaves
everyone more vulnerable to the whims of global market forces. When oil prices
rise, for example, communities and countries who can’t afford the resulting price
spikes in food, or who no longer have their own strong agricultural systems in place,
are left hungry.
ระบบอาหารที่พึ่งการสั่งเข้าและส่งออกสินค้าทั่วโลก
ปล่อยให้ทุกคนเปราะบาง ต่อความเพ้อฝันของตลาดโลก. เมื่อราคาน้ำมันเพิ่ม,
ชุมชนและประเทศที่ไม่สามารถจ่าย เพราะราคาอาหารพุ่งสูงขึ้น, หรือ
ผู้ไม่มีระบบเกษตรที่เข้มแข็งพอ, ต่างถูกทอดทิ้งให้หิวโหย.
“For a poor
person in Thailand, Brazil or Haiti, a marginally lower number on a computer
screen in New York, London or Tokyo may be the difference between eating and
going hungry.”
— Helena
Norberg-Hodge, founder, International Society for Ecology and Culture
“สำหรับคนจนในประเทศไทย,
บราซิล หรือ ไฮติ, ตัวเลขที่ต่ำลงเพียงนิดเดียวบนจอคอมพิวเตอร์ในนิวยอร์ก,
ลอนดอน หรือ โตเกียว อาจเป็นความแตกต่างระหว่าง การกิน หรือ การหิว”.
-
เฮเลนา นอร์เบอร์ก-ฮอดจ์, ผู้ก่อตั้ง,
สมาคมนิเวศและวัฒนธรรมระหว่างประเทศ
|
Food
sovereignty calls for the democratic participation of the population in shaping
food and trade policies. It promotes tariffs on food imports to protect local markets
and an end to international trade agreements and financial institutions that interfere
with the sovereignty and sustainability of food systems. It promotes de-industrialized
agriculture, where local farmers grow for domestic consumption under local
control.
อธิปไตยทางอาหาร
เรียกร้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย
ในการกำหนดนโยบายอาหารและการค้า. มันส่งเสริมพิกัดภาษีส่งออกอาหารเพื่อปกป้องตลาดท้องถิ่น
และ ยุติข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ และ สถาบันการเงินที่แทรกแซง
อธิปไตยและความยั่งยืนของระบบอาหาร.
มันส่งเสริมการปลดแอกอุตสาหกรรมบนเกษตร, ที่ๆ ชาวนาท้องถิ่นปลูกเพื่อการบริโภคในประเทศ
ภายใต้การควบคุมของท้องถิ่น.
Building
the Food Sovereignty Movement
การสร้างขบวนการอธิปไตยทางอาหาร
The
most powerful international coalition promoting food sovereignty is Via Campesina,
an alliance of approximately 150 groups from 70 countries, representing around
200 million small- and medium-size farmers and food producers, landless people,
indigenous peoples, and rural women. The coalition includes groups as
wide-ranging as the Indonesian Peasant Association, the Confederation of
Farmers’ Unions in Turkey, and the U.S National Family Farm Coalition. Via
Campesina takes strong stands around trade and financial institutions and
policies, and opposes any intervention of the World Bank, IMF, and WTO on
questions of food and land. For each critique, the coalition advocates specific
alternatives. Via Campesina provides a network in which groups can work
together on global campaigns, international days of action, country-specific
mobilizations, public education, and demonstrations at prominent venues such as
climate talks and WTO meetings.
เครือข่ายส่งเสริมอธิปไตยทางอาหารระหว่างประเทศที่ทรงพลังที่สุด
คือ เวีย คัมเปซินา, เป็นสหพันธ์ของประมาณ 150 กลุ่ม จาก 70 ประเทศ, เป็นตัวแทนของชาวนาและผู้ผลิตอาหาร ขนาดเล็กและกลาง,
คนไร้ที่ทำกิน, คนพื้นเมืองดั้งเดิม, และ หญิงชนบท ประมาณ 200 ล้านคน. เครือข่ายนี้
รวมกลุ่มที่หลากหลาย เช่น สมาคมชาวนาอินโดนีเซีย, สหพันธ์สหภาพชาวนาในตุรกี, และ
เครือข่ายครอบครัวเกษตรกรแห่งชาติสหรัฐฯ.
เวีย คัมเปซินา มีจุดยืนที่เข้มแข็งเรื่องการค้า, สถาบันและนโยบายการเงิน,
และต่อต้านการแทรกแซงใดๆ ของธนาคารโลก, IMF, และ WTO ในเรื่องอาหารและที่ดิน. ในทุกๆ
วิพากษ์, เครือข่ายมีข้อเสนอสนับสนุนทางเลือกเฉพาะ. เวีย คัมเปซินา ได้ให้เครือข่ายที่กลุ่มต่างๆ
สามารถทำงานร่วมกัน ในการรณรงค์โลก, วันปฏิบัติการระหว่างประเทศ,
การขับเคลื่อนในประเทศเฉพาะ, การศึกษาสาธารณะ, และการประท้วงที่เวทีต่างๆ เช่น การบรรยายภูมิอากาศ
และ การประชุม WTO.
Another
important grassroots force for food sovereignty is the Latin American Coordination
of Rural Organizations (CLOC by its Spanish acronym), whose members are both
farmers and farmworkers. CLOC represents the Latin American branch of Via
Campesina, but it also takes independent positions and actions. CLOC pursues
its vision of a future without hunger through three primary campaigns:
challenging free trade agreements, promoting agrarian reform, and creating food
sovereignty. More recently, its focus has expanded to oppose biotechnology.
CLOC members develop their political program through lobbying, popular education,
protests, mass mobilizations, international campaigns, and international tours.
พลังรากหญ้าเพื่ออธิปไตยทางอาหารที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่ง
คือ กลุ่มประสานงานลาตินอเมริกันขององค์กรชนบท (CLOC), ซึ่งมีสมาชิกทั้งชาวนาและคนงานเกษตร. CLOC เป็นตัวแทนของ เวีย
คัมเปซินา สาขา ลาตินอเมริกัน, แต่มันก็มีอิสระในการปฏิบัติการ. CLOC
ดำเนินการตามวิสัยทัศน์สู่อนาคตที่ปราศจากความหิวโหย ด้วย การรณรงค์ขั้นมูลฐานสามประการ: ท้าทายข้อตกลงการค้า, ส่งเสริมการปฏิรูปการเกษตร, และ
สร้างอธิปไตยทางอาหาร. เมื่อเร็วๆ นี้,
เป้าประสงค์ของมันได้ขยายไปครอบคลุมการต่อต้านเทคโนโลยีทางชีวภาพ. สมาชิก CLOC
ได้พัฒนาโปรแกมการเมืองของพวกเขาผ่านช่องทางการล็อบบี, การศึกษาประชานิยม,
การประท้วง, การขับเคลื่อนมวลชน, การรณรงค์ระหว่างประเทศ, และ
การเดินทางระหว่างประเทศ.
Another
network that has spread throughout Latin America over the past 30 years is the
Farmer to Farmer Movement (Movimiento Campesino a Campesino). In this network,
small farmers are developing sustainable agricultural techniques and
innovation, and passing this knowledge on via several hundred thousand
‘farmer-promoters’ or ‘farmer-technicians.’ The promoters travel to communities
across various regions, sharing information, ideas, seeds, and tools.
อีกเครือข่ายหนึ่งที่แผ่ขยายไปทั่วลาตินอเมริกา
ในช่วง 30
ปีที่ผ่านมา คือ ขบวนการชาวนาสู่ชาวนา. ในเครือข่ายนี้,
ชาวนารายย่อยกำลังพัฒนาเทคนิคและนวัตกรรมเกษตรที่ยั่งยืน, และ ถ่ายทอดความรู้ผ่าน
“นักส่งเสริมชาวนา” หรือ “ช่างเทคนิคชาวนา” หลายพันคน.
นักส่งเสริมท่องเที่ยวไปตามชุมชนในภูมิภาคต่างๆ, แบ่งปันข้อมูล, ความคิด,
เมล็ด, และเครื่องมือ.
Opposite Page: John Kinsman is a dairy
farmer, forester, and president of Family Farm Defenders which works to change
U.S. food and farming policy and collaborates with Via Campesina and the
international movement for food sovereignty. ©Nic Paget-Clarke,
www.inmotionmagazine.com
The
Launch of the U.S. Food Sovereignty Alliance
การเริ่ม
พันธมิตรอธิปไตยทางอาหารสหรัฐฯ
Early
on a gray Saturday morning in November 2011, 75 people gathered around an altar
of seeds, soil, and burning sage in the basement of a Chinese Methodist church in
Oakland, California. The group was a mix of young organizers, Native community leaders,
Washington policy analysts, immigrants’ rights advocates, dairy and vegetable farmers,
fishermen, farm workers, and others passionate about food sovereignty.
ในเช้าตรู่อันขมุกขมัวของวันเสาร์
ในเดือนพฤศจิกายน 2011,
ประชาชน 75 คนรวมตัวรอบๆ แท่นที่วางเมล็ด,
ดิน, และ เผาเครื่องเทศชนิดหนึ่ง ในชั้นใต้ดินของโบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองโอ๊คแลนด์,
แคลิฟอร์เนีย. ในกลุ่มมีนักจัดกระบวนหนุ่มสาว,
ผู้นำชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิม, นักวิเคราะห์นโยบายวอชิงตัน,
นักรณรงค์สิทธิคนย้ายถิ่น, เกษตรกรนมโคและปลูกผัก, ชาวประมง, คนงานฟาร์ม, และ
คนอื่นๆ ที่ฝักใฝ่เรื่องอธิปไตยทางอาหาร.
For
the preceding year and a half, starting with a small convening at the U.S.
Social Forum that declared, “It is our time to make salt,” organizers had been
nurturing the creation of the U.S. Food Sovereignty Alliance. Now the diverse assemblage
from North, Central, and South America came together for the first official
meeting and spent the day in intense political discussion, strategizing, and
celebration.
ในช่วงปีครึ่งก่อนหน้า,
เริ่มจากการรวมกลุ่มเล็กๆ ที่ เวทีสังคม สหรัฐฯ ที่แถลงว่า
“มันถึงเวลาแล้วที่เราจะทำเกลือ”, นักจัดกระบวนได้หล่อเลี้ยงการสร้าง “พันธมิตรอธิปไตยทางอาหาร
สหรัฐฯ”. ตอนนี้
เป็นการรวมตัวหลากกลุ่มจากอเมริกาตอน เหนือ, กลาง, และ ใต้
ที่มาร่วมในการประชุมครั้งแรก และ ได้ใช้ทั้งวันในการถกการเมืองอย่างเข้มข้น,
วางยุทธศาสตร์ และ เฉลิมฉลอง.
The
members of the assembly committed themselves to spreading the concept of food
sovereignty, already so prevalent in many parts of the world, within the U.S.
สมาชิกในสมัชชาได้ปวารณาตัวเอง
ในการเผยแพร่กรอบคิดของอธิปไตยทางอาหาร, ซึ่งแพร่หลายอยู่แล้วในหลายส่วนของโลก,
และ ภายในสหรัฐฯ.
They
identified the power of agribusiness corporations as the key challenge at hand,
and committed themselves to fighting it as well as land and resource grabs.
They agreed to dedicate their energies toward land reform, immigrant rights,
trade justice, the rights of Mother Earth, and defense of the global commons.
They also committed to tackling power dynamics – including issues of race,
nationality, class, and occupation – within the group itself, and to ensuring
that the Alliance truly represents the joint vision of all those involved.
Concluding with protest songs and chants from food and land movements around
the world, the assembly left participants energized and inspired for the coming
year of collaboration and collective struggle.
พวกเขาได้ระบุอำนาจของบรรษัทธุรกิจเกษตร
ว่าเป็นอุปสรรคหลักเฉพาะหน้า, และตั้งปณิธานต่อสู้กับมัน รวมทั้งพวกที่ฉกชิงที่ดินและทรัพยากร.
พวกเขาตกลงที่จะอุทิศพละกำลังสู่การปฏิรูปที่ดิน, สิทธิคนอพยพ,
การค้าเป็นธรรม, สิทธิพระแม่ธรณี, และปกป้องสมบัติร่วมโลก. พวกเขายังปวารณาตัวที่จะแก้ไขพลวัตอำนาจ—รวมทั้งประเด็น
เชื้อชาติ, ชนชาติ, ชนชั้น, และ อาชีพ—ภายในกลุ่มของตนเอง, และทำให้มั่นใจว่า
พันธมิตรฯ นี้ เป็นตัวแทนของวิสัยทัศน์ร่วมอย่างแท้จริง
ของคนทั้งหมดที่เข้าร่วม. ตอนสุดท้าย
สรุปด้วยเพลงประท้วง และ คำท่องจากขบวนการอาหารและที่ดิน จากทั่วโลก, สมัชชาได้ทำให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกเต็มไปด้วยพลังและแรงดลใจเพื่อร่วมมือและต่อสู้ร่วมกัน
ในปีที่กำลังจะมาถึง.
“Farmers
everywhere in the world are at root the same farmers. Let us say that the key
to peace lies close to the earth.”
— Masanobu
Fukuoka, farmer and philosopher
“ชาวนาทุกแห่งหนในโลก
ในรากฐาน เป็นชาวนาเหมือนกัน.
ขอให้พวกเราพูดว่า สันติภาพอยู่ใกล้กับแผ่นดิน”
-มาซาโนบุ
ฟูกูโอกะ, ชาวนาและนักปราชญ์
|
“A
Living Reality”
Dawn
Morrison[6]
“ความจริงที่มีชีวิต”
ดอว์น มอร์ริสัน
Dawn
Morrison is the coordinator of the British Columbia Food Systems Network’s
Working Group on Indigenous Food Sovereignty.
ดอว์น
มอร์ริสัน เป็นผู้ประสานงาน ของกลุ่มทำงานเรื่อง อธิปไตยทางอาหารของชนพื้นเมืองดั้งเดิม
ของ เครือข่ายระบบอาหารบริติชโคลัมเบีย.
Secwepemc
are the original people who come from the land where the water flows from
highest mountains through the rivers on its way to the ocean. And like many
indigenous people around the world, our name tells who we are in relation to
the land.
Secwepemc เป็นชนต้นแบบที่มาจากดินแดนที่น้ำไหลจากเทือกเขาสูงสุด
ผ่านแม่น้ำระหว่างทาง สู่มหาสมุทร.
และเช่นเดียวกับคนพื้นเมืองดั้งเดิมทั่วโลก, นามของพวกเรา บอกว่า
ความเป็นอยู่ของพวกเรามีความสัมพันธ์กับแผ่นดิน.
We
have agricultural techniques and cultivation techniques that have been a part
of our culture for thousands of years, but it’s primarily hunting, fishing, and
gathering. We are continuously broadening the discussion in the food security
movement to include the hunting, the fishing, and the gathering. It brings [the
movement] to a broader ecological perspective.
เรามีเทคนิคการทำเกษตรและเทคนิคการเพาะปลูก
ที่เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของเรามาหลายพันปี, แต่โดยพื้นฐาน มันเป็นการล่าสัตว์,
การประมง, และการเก็บกิน.
เราได้ขยายขอบเขตการอภิปรายในขบวนการความมั่นคงทางอาหารให้รวมถึงการล่าสัตว์,
การประมง, และการเก็บกิน. ซึ่งทำให้ขบวนการมีมุมมองเชิงนิเวศกว้างขวางขึ้น.
Food
sovereignty has been a living reality for our people for thousands of years.
The concept may just have been newly introduced in the English language, but
the living reality is very much alive and well in our communities.
อธิปไตยทางอาหารเป็นความจริงที่มีชีวิตสำหรับประชาชนของเรามาหลายพันปีแล้ว. กรอบคิดนี้อาจเพิ่งถูกแนะนำใหม่ในภาษาอังกฤษ,
แต่ความจริงที่มีชีวิตนี้ ยังมีชีวิตและยังอยู่ดีในชุมชนของเรา.
Really,
there is no universal definition of food sovereignty because it’s up to each
community to describe for themselves what it means, recognizing the diversity
of many different nations of indigenous peoples.
อันที่จริง,
ไม่มีคำนิยามครอบจักรวาลของอธิปไตยทางอาหาร เพราะมันขึ้นกับแต่ละชุมชน
ที่จะบรรยายสำหรับตนเองว่ามันหมายถึงอะไร, ด้วยการยอมรับความหลากหลายของชนชาติต่างๆ
มากมาย ของชนพื้นเมืองดั้งเดิม.
With
respect to that, I think the most important principle is the sacredness, that
food is a gift from the creator. In my language it’s Tqelt7kukpi. Food
sovereignty is about our responsibility to maintain those relationships to the
plants and the animals that provide us with our food. It’s not something that
can be constrained by colonial laws or policies. It is up to us to be
maintaining our responsibility. Food sovereignty is about self-determination,
about being free from the control of the corporately owned globalized food
system. It’s about being able to make those decisions for ourselves about where
we get our food.
ด้วยความเคารพในด้านนี้,
ฉันคิดว่า หลักการสำคัญที่สุด คือ ความศักดิ์สิทธิ์, ที่ว่า
อาหารเป็นของขวัญจากพระผู้สร้าง.
ในภาษาของฉัน มันคือ Tqelt7kukpi.
อธิปไตยทางอาหารเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรับผิดชอบที่จะธำรงความสัมพันธ์ต่อพืชและสัตว์
ที่ให้อาหารแก่พวกเรา.
มันไม่ใช่บางสิ่งบางอย่างที่สามารถกีดกันได้ด้วยกฎหมายและนโยบายอาณานิคม. มันอยู่ที่เราที่จะธำรงความรับผิดชอบของเรา. อธิปไตยทางอาหาร เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตัดสินใจด้วยตนเอง
(ปกครองตนเอง), เกี่ยวกับอิสรภาพจากการควบคุมของระบบอาหารโลกที่บรรษัทเป็นเจ้าของ. มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตัดสินใจเหล่านั้นเพื่อพวกเราเองว่าจะเอาอาหารจากที่ไหน.
Food
sovereignty is also about our participation and our responsibility. It’s based
on day-to-day actions and being involved in traditional harvesting activities.
On the individual, family, and community level, we must be participating in it
or we become assimilated into the globalized food system.
อธิปไตยทางอาหารเป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพวกเราและความรับผิดชอบของพวกเรา. มันตั้งอยู่บนปฏิบัติการประจำวัน และ
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเก็บเกี่ยวตามประเพณีนิยม.
ในระดับปัจเจก, ครอบครัว, และชุมชน,
เราจะต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการเหล่านี้ มิฉะนั้น
เราจะถูกกลืนเข้าไปในระบบอาหารโลกาภิวัตน์.
Food
sovereignty is also about policy. We recognize colonial policies are impacting
our ability to harvest our foods. We recognize that food sovereignty is
ultimately based on policy driven by practice from a community base.
อธิปไตยทางอาหารเป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบายด้วย. เราตระหนักว่า นโยบายเจ้าอาณานิคมกำลังส่งผลกระทบต่อความสามารถของเราในการเก็บเกี่ยวอาหารของเรา. เราตระหนักว่า อธิปไตยทางอาหารในที่สุด
จะต้องตั้งอยู่บนฐานของนโยบายที่ขับเคลื่อนโดยวิถีปฏิบัติจากฐานชุมชนหนึ่งๆ.
In Haiti, members of the Union of Peasant
Groups of Bay map out the families and resources in their community as a step
in planning and tracking their local development process. ©Ben Depp
Miami
Rice, or Food Sovereignty, in Haiti?
ข้าวไมอามี,
หรือ อธิปไตยทางอาหาร, ในไฮติ?
Somewhere
between 60 to 80 percent of Haiti’s citizens are farmers.[7]
But despite this large population of food producers, more than half of what
Haitians eat is imported.[8]
Up to half the nation is estimated to face food insecurity and one-third of
children under five are chronically malnourished.[9]
พลเมืองของไฮติ เป็นชาวนาประมาณ 60-80%. แต่ทั้งๆ
ที่มีประชาชนผู้ผลิตอาหารมากขนาดนี้, สิ่งที่ชาวไฮติกินกว่าครึ่ง
ถูกสั่งเข้า.
ครึ่งหนึ่งของประเทศถูกประเมินว่าต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหาร และ 1/3
ของเด็กอายุต่ำกว่าห้าขวบ ไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอชนิดเรื้อรัง.
This
crisis is not a natural phenomenon. It is the result of policy choices. In the
1980s and 1990s, the U.S. and IMF pressured Haiti to lower tariffs on food
imports in order to open up the market to foreign companies. This led to a
flood of underpriced food into the country with which Haitian farmers could not
compete – notably rice, which is among the seven most heavily subsidized crops
in the U.S.[10]
The subsidized and industrial-scale U.S.
production, on top of lowered import tariffs in Haiti, created a bizarre
outcome: rice grown in such places as Arkansas and California and shipped in by
boat could be sold cheaper than rice grown in a neighboring field in Haiti.
Between 1992 and 2003, rice imports in Haiti increased by more than 150
percent,[11]
pushing hundreds of thousands of Haitian farmers out of their livelihoods and
into the city to search for work in sweatshops. (An overcrowded capital city is
one reason why the toll from the 2010 earthquake was so high.) The import’s
impact was so great that Haitians dubbed it Miami Rice, after the TV show
popular at the time. Today, a full 90 percent of the rice eaten in Haiti comes
from the U.S., while local rice farmers struggle to survive.[12]
วิกฤตนี้ไม่ใช่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ. มันเป็นผลของนโยบาย. ในทศวรรษ 1980s-1990s, สหรัฐฯ และ IMF
กดดันให้ไฮติลดพิกัดภาษีนำเข้าอาหารเพื่อเปิดตลาดให้บรรษัทต่างชาติ. นี่นำไปสู่การไหลทะลักของอาหารราคาต่ำกว่าความเป็นจริงเข้าสู่ประเทศ
ซึ่งเกษตรกรไฮติไม่มีทางสู้ได้—โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว, ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดรายการของพืชที่ได้รับเงินอุดหนุนอย่างหนักหน่วงในสหรัฐฯ. การที่รัฐให้เงินอุดหนุนการผลิต ขนาดอุตสาหกรรมในสหรัฐฯ,
ที่กดทับบนการลดพิกัดภาษีนำเข้าในไฮติ, ได้สร้างผลพวงวิปริต:
ข้าวที่ปลูกในสถานที่ เช่น รัฐอาร์คานซอ และ รัฐแคลิฟอร์เนีย และส่งทางเรือ สามารถขายได้ในราคาถูกกว่าข้าวที่ปลูกในนาเพื่อนบ้านในไฮติ. ในระหว่างปี 1992-2003,
ปริมาณข้าวสั่งเข้าในไฮติเพิ่มขึ้น 150%, บีบขับชาวนาไฮติหลายหมื่นคนให้ออกจากวิถีชีวิตของพวกเขา
สู่เมืองเพื่อหางานทำในโรงงานห้องแถว.
(นครหลวงที่เบียดเสียด เป็นเหตุผลหนึ่งว่า ทำไมจำนวนคนตายจากแผ่นดินไหวในปี
2010 จึงสูงมากเช่นนั้น.)
ผลกระทบของการสั่งเข้า ยิ่งใหญ่มากจนชาวไฮติตั้งฉายาให้มันว่า ข้าวไมอามี,
ตามชื่อรายการทีวี ที่นิยมในตอนนั้น.
ทุกวันนี้, 90% ของอาหารที่กินในไฮติ มาจากสหรัฐฯ,
ในขณะที่ชาวนาท้องถิ่นต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด.
What
would it take to turn this around? What would it take to transform Haiti’s
economy such that its role in the global economy is no longer that of providing
cheap labor for sweatshops? What would it take for the 400,000 people left
homeless by the 2010 earthquake to have a secure life and income?
จะต้องทำอย่างไรเพื่อผันกลับ? จะต้องทำอย่างไรเพื่อพลิกโฉมเศรษฐกิจไฮติ
เพื่อว่าบทบาทของไฮติในระบบเศรษฐกิจโลก จะไม่ต้องเป็นแหล่งแรงงานราคาถูกเพื่อป้อนโรงงานห้องแถวอีกต่อไป? จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ประชาชน 400,000 คน ที่ถูกทอดทิ้งให้ไร้ที่อยู่อาศัยโดยแผ่นดินไหวปี 2010 ได้มีชีวิตที่มั่นคงและมีรายได้?
According
to Haitian small-farmer organizations, food sovereignty and support for peasant
agriculture are big parts of the solution. “It’s not houses that are going to
rebuild Haiti, it’s investing in the agriculture sector,” says Rosnel
Jean-Baptiste of Heads Together Small Peasant Farmers of Haiti (Tèt Kole Ti
Peyizan Ayisyen). “If the country doesn’t produce, farmers won’t be able to
survive. And we’ll always have to depend on others.” Peasant groups and allies
are developing long-term plans for reorienting Haiti’s political economy in
favor of agriculture. Their vision includes technical-support programs for
farmers, land reform, protection of native and traditional seeds, access to
credit, aid for seeds and equipment, government investment in food storage
facilities and transportation systems, attention to deforestation and Haiti’s
ecological health, and rural public services.
ตามรายงานขององค์กรชาวนารายย่อยไฮติ,
อธิปไตยทางอาหารและการสนับสนุนชาวนาภาคเกษตร เป็นส่วนใหญ่ของทางแก้ไข. “มันไม่ใช่บ้านที่จะสร้างไฮติขึ้นใหม่ได้,
มันเป็นการลงทุนในภาคเกษตร”, Rosnel Jean-Baptiste ของ องค์กร
ชาวนารายย่อยสุมหัวแห่งไฮติ.
“หากประเทศไม่ผลิต, ชาวนาจะไม่สามารถอยู่รอดได้. และเราจะต้องพึ่งผู้อื่นอยู่เสมอ”. กลุ่มชาวนาและพันธมิตร กำลังพัฒนาแผนระยะยาว
เพื่อผันทิศทางเศรษฐกิจการเมืองของไฮติ ให้เข้าข้างภาคเกษตร. วิสัยทัศน์ของพวกเขารวมถึง
โปรแกมการสนับสนุนทางเทคนิคแก่ชาวนา, การปฏิรูปที่ดิน,
การป้องกันเมล็ดพื้นเมืองดั้งเดิม, การเข้าถึงสินเชื่อ,
ความช่วยเหลือด้านเมล็ดและอุปกรณ์, การลงทุนของรัฐบาลในอุปกรณ์เก็บผลผลิต และ
ระบบขนส่ง, การปลูกป่า และ สุขภาพเชิงนิเวศของไฮติ,
และการบริการสาธารณะในชนบทไฮติ.
Women’s
Declaration on Food Sovereignty (excerpted), Nyéléni, February 27, 2007[13]
แถลงการณ์ของผู้หญิง
เรื่อง อธิปไตยทางอาหาร (ยกข้อความมา), เนียเรนิ, 27 กุมภาพันธ์ 2007
“We,
women from more than 40 countries, from different indigenous peoples of Africa,
the Americas, Europe, Asia and Oceania and from different sectors and social
movements, have gathered together in Sélingué [Mali] to participate in the
creation of a new right: the right to food sovereignty. We reaffirm our will to
act to change the capitalist and patriarchal world which puts the interests of
the market before the rights of people. Under the watchful eye of Nyéléni, an
African woman who defied discriminatory rules, who shone from her creativity
and agricultural prowess, we will find the energy to establish our right to
food sovereignty, carrier of hope in constructing another world. We will carry
this message to women all over the world.”
“พวกเรา, ผู้หญิงจากกว่า 40 ประเทศ, จากชนพื้นเมืองดั้งเดิมต่างๆ ในอาฟริกา, อเมริกา, ยุโรป, เอเชีย
และ โอเชียเนีย จากภาคส่วน และ
ขบวนการทางสังคมต่างๆ, ได้มารวมตัวกันใน Sélingué [ประเทศมาลี]
เพื่อมีส่วนร่วมในการสร้างสิทธิใหม่: สิทธิต่ออธิปไตยทางอาหาร. เราขอยืนยันอีกครั้งถึงปณิธานของเรา เพื่อปฏิบัติการเปลี่ยนโลกแห่งทุนนิยมและปิตาธิปไตย
ที่เห็นผลประโยชน์ของตลาดมากกว่าสิทธิของประชาชน.
ภายใต้สายตาเฝ้ามองของเนียเรนิ, หญิงอาฟริกันคนหนึ่ง ที่ขัดขืนกฎเลือกปฏิบัติ,
ผู้ฉายแสงจากความคิดสร้างสรรค์และความชำนาญทางเกษตรกรรมของเธอ,
เราจะพบพลังงานเพื่อสถาปนาสิทธิต่ออธิปไตยทางอาหารของเรา,
อันเป็นพาหะแห่งความหวังในการสร้างอีกโลก,
เราจะนำสาส์นนี้ไปสู่ผู้หญิงทั้งหมดทั่วโลก”.
Women’s
Work: Gender and the Globalized Food System
งานของผู้หญิง: เพศสภาพ/เจนเดอร์ และ ระบบอาหารโลกาภิวัตน์
“The
notion of food sovereignty fits well with a feminist agenda. Food sovereignty
recognizes women as agents and actors and not merely consumers in the food
system.”
—
Alexandra Spieldoch, director of the Trade and Global Governance Program at the
Institute for Agriculture and Trade Policy (IATP)[14]
“ความคิดของอธิปไตยทางอาหารเข้ากันได้ดีกับวาระสตรีนิยม. อธิปไตยทางอาหารตระหนักว่า ผู้หญิงเป็นเอเย่นต์
และ ผู้กระทำ และไม่ใช่เป็นเพียงผู้บริโภคในระบบอาหาร”.
-
Alexandra Spieldoch, ผอ.
โปรแกมธรรมาภิบาลโลกและการค้า ที่ สถาบันนโยบายเกษตรและการค้า
Women
produce 60 to 80 percent of all food, both as subsistence farmers and as
agricultural wage laborers.[15]
They are the primary providers for the majority of the world’s 925 million
hungry people, obtaining food, collecting firewood and water, and cooking.[16] And yet they have less access to land and the
resources necessary to grow on it than their male counterparts. Inequitable
distribution of land, labor, and resources leaves farming women triply burdened
by work: in the fields, in the home, and in society.
ผู้หญิงผลิต 60-80% ของอาหารทั้งหมด, ทั้งในฐานะชาวนายังชีพและแรงงานเกษตร.
พวกเธอเป็นผู้จัดหาขั้นมูลฐานสำหรับประชาชนผู้หิวโหย 925 ล้านคน ของโลก, ด้วยการหาอาหาร, เก็บฟืนและน้ำ, และหุงหาอาหาร.
แต่พวกเธอเข้าถึงที่ดินและทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อทำการเพาะปลูกได้น้อยกว่าฝ่ายชาย. ความไม่เท่าเทียมในการกระจายที่ดิน, แรงงาน,
และทรัพยากร ทำให้ผู้หญิงทำงานเกษตรต้องแบกภาระสามเท่า: ในไร่นา,
ในบ้าน, และ ในสังคม.
How
do the agricultural policies of international financial institutions (IFIs),
such as the International Monetary Fund and the World Bank, affect women? We
have adapted the following from Gender Action’s 2011 report on gender and the
food crisis:[17]
นโยบายเกษตรของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(IFI), เช่น IMF และธนาคารโลก
ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงอย่างไร?
เราได้ดัดแปลงรายงาน ปฏิบัติการเจนเดอร์ ปี 2011
เรื่องเจนเดอร์และวิกฤตอาหาร ดังต่อไปนี้.
•
When the collapse of agricultural markets
–
often precipitated by IFI policies
–
forces men to leave home and travel to other countries in search of work, women
are left behind to tend to family and work family farmland;
เมื่อตลาดเกษตรพังทลาย
-
มักจะเนื่องจากนโยบาย IFI
-
บังคับให้ผู้ชายต้องจากบ้านและท่องไปประเทศอื่นเพื่อหางานทำ,
ผู้หญิงถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลังให้ดูแลครอบครัว และ ทำงานในไร่นาของครอบครัว,
•
IFI pressure on governments to abolish taxes on food imports and repay debts
reduces governments’ ability to pay for healthcare and education. Spending cuts
in these sectors inevitably cause the most harm to women and girls;
IFI
กดดันรัฐบาลให้ยกเลิกภาษีการสั่งเข้าอาหาร และ ให้จ่ายหนี้
ซึ่งเป็นการลดความสามารถของรัฐบาลในการจ่ายสำหรับการสาธารณสุขและการศึกษา. การตัดงบใช้จ่ายในภาคส่วนเหล่านี้
ทำให้เกิดอันตรายมากที่สุดต่อผู้หญิงและเด็กอย่างเลี่ยงไม่ได้,
•
Rising food prices put additional pressure on already strained household
budgets. When women enter the formal work force to help support household
consumption, girls are often forced to leave school to attend to household
chores and care for younger siblings;
ราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นสร้างแรงกดดันเพิ่มแก่งบครัวเรือนที่ตึงอยู่แล้ว. เมื่อผู้หญิงเข้าสู่แรงงานในระบบ
เพื่อช่วยเสริมค่าใช้จ่ายเพื่อบริโภคในครอบครัว,
เด็กหญิงมักจะถูกบังคับให้ออกจากโรงเรียนเพื่อทำงานบ้าน และ ดูแลน้องๆ
ที่เล็กกว่า.
•
IFI agriculture investments support big businesses, not women farmers. IFI
investments tend to focus on agroprocessing and commercial agriculture, which
mainly utilize male laborers and focus on external markets. These investments
tend to overlook women, who are often restricted to subsistence farming, and
instead mainly benefit the transnational corporations that win IFI procurement
contracts.
การลงทุนภาคเกษตรของ IFI สนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่, ไม่ใช่ชาวนาผู้หญิง. การลงทุนของ IFI
มักจะเน้นที่การแปรรูปผลิตผลเกษตร และเกษตรพาณิชย์, ซึ่งส่วนใหญ่ใช้แรงงานชาย และ
เน้นที่ตลาดภายนอก.
การลงทุนเหล่านี้มักมองข้ามผู้หญิง, ผู้มักจำกัดอยู่ที่เกษตรยังชีพ, และ บรรษัทข้ามชาติกลายเป็นผู้ได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่
ด้วยการได้รับสัญญาเป็นฝ่ายจัดซื้อ.
Though
facing difficult challenges, women around the world have been making strides
both in national policy and in land movements themselves. In some places, they
are gaining greater access to arable land, technology, credit, markets,
training, equipment, and control over agricultural knowledge. In certain
countries, they have won the right for their name, not just their husband’s, to
go on the land title, making them direct beneficiaries of land reform. More
women are directly earning wages for their agricultural labor, instead of
through their husbands or fathers. And some countries are articulating
women-specific labor rights in their constitutions.
แม้จะเผชิญกับอุปสรรคแสนเข็ญ,
ผู้หญิงทั่วโลกกำลังก้าวไปข้างหน้าผลักดันทั้งนโยบายชาติและการขับเคลื่อนที่ดิน. ในบางแห่ง, พวกเธอได้เข้าถึงที่ดินที่เพาะปลูก,
เทคโนโลยี, สินเชื่อ, ตลาด, การฝึกอบรม, อุปกรณ์, และ การควบคุมความรู้เกษตรกรรม
มากขึ้น. ในบางประเทศ,
พวกเธอได้รับสิทธิ์ที่จะคงชื่อของตนเอง, ไม่ใช่เพียงของสามี, ให้อยู่ในโฉนดที่ดิน,
ทำให้พวกเธอเป็นผู้รับประโยชน์โดยตรงจากการปฏิรูปที่ดิน.
ผู้หญิงมากขึ้นได้รับค่าแรงโดยตรงจากการเป็นแรงงานเกษตรของพวกเธอ,
แทนที่จะต้องผ่านสามีหรือบิดา.
ในบางประเทศ กำลังบรรจุสิทธิแรงงานที่เฉพาะเจาะจงกับผู้หญิงลงในรัฐธรรมนูญของพวกเธอ.
In the Mexican state of
Chihuahua, Rarámuri women choose corn to save for next year’s planting. They
just finished participating in a farmer-to-farmer workshop on seed selection. © David Lauer
Food
sovereignty movements explicitly recognize the importance of women in
agriculture. Via Campesina has made challenging gender inequity a central goal
of its work, both internally and globally. It has hosted three international
women’s assemblies, led campaigns challenging gender-based violence, hosted
trainings and exchanges for women, and committed to integrating a gender
analysis into each of its program areas. Internally, it now requires that one
woman and one man from each region participate in the international coordinating
committee. It has set a goal of having 50 percent of delegates in all
committees and conferences be women. It challenges its member organizations to
ensure that women play an equally significant role in all leadership
structures.
ขบวนการอธิปไตยทางอาหาร
ตระหนักถึงความสำคัญของผู้หญิงในภาคเกษตร.
เวีย คัมเปซินา ได้จัดให้การเรียกร้องความเสมอภาคทางเจนเดอร์
เป็นเป้าหมายศูนย์กลางของการทำงาน, ทั้งระดับภายในและระดับโลก. ได้เป็นเจ้าภาพของการประชุมสตรีระหว่างประเทศ
สามครั้ง, นำไปสู่การรณรงค์ที่ท้าทายความรุนแรงบนฐานของเจนเดอร์,
เป็นเจ้าภาพการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนสำหรับผู้หญิง, และมุ่งมั่นผนวกวิธีการวิเคราะห์เชิงเจนเดอร์ในแต่ละโปรแกม. ในระดับภายใน, ได้บังคับให้ส่งหญิงหนึ่ง
ชายหนึ่ง จากแต่ละภูมิภาคให้เข้าร่วมในคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ. มันท้าทายให้องค์กรสมาชิกสร้างความมั่นใจว่า
ผู้หญิงเล่นบทบาทที่สำคัญอย่างเท่าเทียมกันอย่างมีนัยสำคัญในโครงสร้างผู้นำทั้งหมด.
Reclaiming
Control of Food and Agriculture
Peter
Rosset
ทวงคืนการควบคุมอาหารและเกษตร
ปีเตอร์ โรสเซต
Agricultural
economist Peter Rosset is with the Center for the Study of Rural Change in
Mexico and the Land Research Action Network. He is also a member of the
technical support team of Via Campesina.
นักเศรษฐศาสตร์เกษตร
ปีเตอร์ โรสเซต ทำงานที่ ศูนย์ศึกษาการเปลี่ยนแปลงชนบท ในเม็กซิโก และ
เครือข่ายวิจัยเชิงปฏิบัติด้านที่ดิน.
เขายังเป็นสมาชิกของทีมสนับสนุนทางเทคนิค ของเวีย คัมเปซินา.
There
are several fundamental pillars that are necessary to take control over food
and agricultural systems. One is to force even reluctant or reactionary
governments to regain control over their national borders from the flow of
imported food. That means canceling free trade agreements and not signing WTO
agreements. It means stopping the import either of incredibly cheap, subsidized
food from agro-export countries which drives local producers out of business,
or of food made ridiculously expensive by food speculation.
มีเสาหลักขั้นรากฐานมากมายที่จำเป็น
เพื่อชิงคืนการควบคุมระบบอาหารและเกษตร. ประการแรก
คือ การบังคับให้รัฐบาลที่แม้จะลังเล หรือ แสดงปฏิกิริยาขัดขืน
เพื่อชิงคืนการควบคุมพรมแดนของประเทศให้พ้นจากการไหลทะลักเข้ามาของอาหารสั่งเข้า. นั่นหมายถึง ยกเลิกข้อตกลงการค้าเสรี และ
ไม่ลงนามในข้อตกลง WTO. มันหมายถึงการยุติการสั่งเข้า
ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ได้รับเงินอุดหนุน ที่ทำให้มีราคาถูกอย่างเหลือเชื่อ
จากประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตร ซึ่งบีบให้ผู้ผลิตท้องถิ่นต้องปิดธุรกิจลง, หรือ
อาหารที่ทำให้แพงอย่างไม่เข้าท่าเพราะพวกเก็งกำไรอาหาร.
Governments
also need to support peasant and small-farmer agriculture as the fundamental
source of food for national economies. Why not big farms or agribusiness? It’s
more than proven in any country in the world that if agribusiness controls the
majority of the land, there will not be enough food for people because
agribusiness just doesn’t produce food for local people. What agribusiness
does, be it the United States or Thailand, is produce exports. Sometimes those
exports are not even food for people but soybeans for animals, or ethanol, or
biodiesel for automobiles in other part of the world.
รัฐบาลยังจำเป็นต้องสนับสนุนเกษตรของชาวนาและเกษตรกรรายย่อย
ให้เป็นแหล่งรากฐานของอาหารเพื่อเศรษฐกิจแห่งชาติ. ทำไมไม่เอาฟาร์มขนาดใหญ่หรือธุรกิจเกษตร? หลายประเทศในโลกได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า หากธุรกิจเกษตรควบคุมที่ดินส่วนใหญ่,
จะไม่มีอาหารเพียงพอสำหรับประชาชน เพราะธุรกิจเกษตรไม่ผลิตอาหารสำหรับคนท้องถิ่น. สิ่งที่ธุรกิจเกษตรทำ, ไม่ว่าจะเป็นในสหรัฐฯ
หรือ ประเทศไทย, คือ ผลิตเพื่อส่งออก. บางที
สิ่งที่ส่งออกไม่ใช่เป็นอาหารสำหรับคนด้วยซ้ำ แต่เป็นถั่วเหลืองสำหรับสัตว์, หรือ
เอธานอล, หรือ ดีเซลชีวภาพ สำหรับรถยนต์ในส่วนอื่นของโลก.
On
the other hand, the real vocation of the small farm, the family farm, the
peasant farm, the indigenous farm, is producing food for the family, for the
local economy, and for the national economy. All over the world, these farmers
are underrepresented in control of land. So a second essential element to claim
control over food and agricultural systems is for countries to place their bets
on peasant and family agriculture. And that means land has to be taken away
from agribusiness. That, in turn, means real agrarian reform, redistribution of
land to people who are landless, who are poor, who want to earn a living with
dignity by producing food for people. And that means rebuilding small and
family agriculture by investing in it. That necessitates changing budget
priorities so that, instead of government subsidies flowing to support the
exports of agribusiness, they flow to small farms.
อีกด้านหนึ่ง,
อาชีวะที่แท้จริงของฟาร์มขนาดเล็ก, ครอบครัวเกษตร, ไร่นาชาวบ้าน,
ฟาร์มชนพื้นเมือง, คือ การผลิตอาหารเพื่อครอบครัว, เพื่อเศรษฐกิจท้องถิ่น,
และเพื่อเศรษฐกิจชาติ. ทั่วทั้งโลก,
เกษตรกรเหล่านี้ น้อยมากที่ควบคุมที่ดิน.
ดังนั้น ปัจจัยสำคัญที่สอง เพื่อทวงคืนการควบคุมเหนือระบบอาหารและเกษตรของเรา
คือ ให้ประเทศวางเดิมพันไว้ที่เกษตรของชาวนาและครอบครัว. และนั่นหมายความว่า จะต้องดึงที่ดินจากธุรกิจเกษตร. นั่นหมายถึง การปฏิรูปเกษตรที่แท้จริง, การกระจายที่ดิน
สู่ประชาชนที่ไร้ที่ทำกิน, ที่ยากจน,
ผู้ต้องการหารายได้อย่างมีศักดิ์ศรีด้วยการผลิตอาหารเพื่อผู้คน. และนั่นหมายถึง บูรณะเกษตรรายย่อยและครอบครัว
ด้วยการลงทุน.
จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนลำดับความสำคัญในการจัดสรรงบ เพื่อว่า
แทนที่รัฐบาลจะให้เงินสนับสนุนการส่งออกของธุรกิจเกษตร, ให้หันไปที่ฟาร์มขนาดเล็ก.
Yet
a third pillar in reclaiming control of agriculture means changing how we
produce food. Via Campesina and other social movements say that we can no
longer afford to keep food prices tied to the cost of petroleum. We can’t keep
using indiscriminate amounts of chemical fertilizer, tractors, mechanical
harvesters, and pesticides. We need to engage in ecological agriculture that
preserves soil fertility for future generations.
แต่ เสาหลักที่สามในการทวงคืนการควบคุมเกษตร
หมายถึง การเปลี่ยนวิธีที่เราผลิตอาหาร.
เวีย คัมเปซินา และ ขบวนการสังคมอื่นๆ บอกว่า
เราไม่สามารถผูกราคาอาหารไว้กับต้นทุนปิโตรเลียมต่อไป. เราไม่สามารถใช้ปุ๋ยเคมี, รถแทรกเตอร์,
เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยว, และ ยาฆ่าแมลง อย่างไม่ยั้งมือไปเรื่อยๆ. เราจำเป็นต้องเข้าร่วมในเกษตรนิเวศ
ที่รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินสำหรับอนุชนในอนาคต.
Fourthly,
we need to defend the territories of indigenous peoples and peasant communities
who haven’t yet lost their land. Part of the strategy must also be to gain new
territories through land reform or land occupations.
ประการที่สี่,
เราจำเป็นต้องปกป้องอาณาเขตของชนพื้นเมืองดั้งเดิม และ ชุมชนชาวนา
ผู้ยังไม่ได้สูญเสียที่ดินไป. ยุทธศาสตร์ส่วนหนึ่ง
จะต้องมีการเพิ่มอาณาเขตใหม่ด้วยการปฏิรูปที่ดิน หรือ การยึดที่ดิน.
A
fifth element involves seeds. We can’t allow seeds to be patented and
privatized by Monsanto and Syngenta and other corporations. We can’t allow them
to be contaminated by GMOs. We need to support the free exchange of local,
indigenous seeds, because those varieties are much more adapted to local
environmental conditions and can form a much stronger basis for new national
food systems.
ปัจจัยที่ห้า รวมเรื่องเมล็ด.
เราไม่อาจยอมให้เมล็ดถูกจดลิขสิทธิ์ และ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัวของมอนซานโตและซินเจนตา
และ บรรษัทอื่นๆ.
เราไม่อาจยอมให้พวกเขาทำการปนเปื้อนด้วย จีเอ็มโอ.
เราจำเป็นต้องสนับสนุนการแลกเปลี่ยนอย่างอิสระของเมล็ดท้องถิ่น,
พื้นเมืองดั้งเดิม, เพราะสายพันธุ์เหล่านี้ ปรับตัวเข้ากับสภาวะสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น
และ สามารถเป็นพื้นฐานที่แข็งแรงกว่า สำหรับระบบอาหารแห่งชาติใหม่.
A Via Campesina march in Hong Kong,
2005, demanding an end to WTO trade negotiations over agriculture. Courtesy of Via Campesina
Sixth,
we need to nationalize the food reserves that are in the hands of transnational
corporations. Part of the origin of the recent food crisis is that under
neoliberal policies of the past 20 years, most countries sold off their food
inventories that were in the hands of the public sector. World food reserves
are now largely in the hands of private corporations like Cargill and Archer
Daniels Midland. This is a problem because when it comes to food reserves, the
public sector and the private sector behave in exactly opposite ways. If
there’s a food shortage, the public sector releases food from storage so that
prices won’t rise so fast, or so people who can’t afford food can get it from
public sources. But private traders and transnational corporations hoard and
speculate. That is, they withhold food from the market in order to drive prices
up even higher so that they can make a windfall profit, at the cost of some
people not being able to eat.
ประการที่หก, เราจำเป็นต้องแปลงสำรองอาหารที่อยู่ในมือของบรรษัทข้ามชาติ
ให้เป็นสมบัติของชาติ. ต้นเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤตอาหารเมื่อเร็วๆ
นี้ อยู่ในนโยบายเสรีนิยมใหม่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา,
ประเทศส่วนใหญ่ขายอาหารสำรอง ที่อยู่ในมือของภาครัฐ. อาหารสำรองของโลกตอนนี้
ส่วนใหญ่อยู่ในมือของบรรษัทเอกชน เช่น คาร์กิล และ อาร์เชอร์ แดเนียล
มิดแลนด์. นี่เป็นปัญหา เพราะ เมื่อพูดถึงอาหารสำรอง,
ภาครัฐและภาคเอกชน มีพฤติกรรมที่ตรงกันข้าม.
หากมีการขาดแคลนอาหาร, ภาครัฐปล่อยอาหารจากยุ้งฉางเพื่อพยุงราคาไม่ให้เพิ่มพรวดพราด,
หรือ เพื่อประชาชนที่ไม่สามารถซื้ออาหาร จะสามารถซื้อได้จากแหล่งของภาครัฐได้. แต่ผู้ค้าเอกชนและบรรษัทข้ามชาติกักตุนและเก็งกำไร. นั่นคือ,
พวกเขากักอาหารออกจากตลาดเพื่อบีบราคาให้สูงขึ้น เพื่อพวกเขาจะได้เก็บส้มหล่นกำไร,
ซึ่งกลายเป็นต้นทุนสูงเกินจนบางคนไม่สามารถกินได้.
But
we can’t just renationalize food reserves in the hands of governments because
we can’t trust governments. There has to be some kind of a co-management scheme
where farmers and consumers, through their social movements and grassroots
organizations, participate in owning and managing food reserves so that those
reserves exist in every country – but at the service of people, not of private
profit.
แต่เราไม่สามารถแค่ให้อาหารสำรองอยู่ในมือของรัฐบาล
เพราะเราไม่สามารถเชื่อถือรัฐบาลได้.
จะต้องมีวิธีการร่วมจัดการบางอย่าง ที่เกษตรกรและผู้บริโภค,
ด้วยช่องทางขบวนการสังคมและองค์กรรากหญ้าของพวกเขา, มีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของและจัดการอาหารสำรอง
เพื่อให้ สำรองเหล่านั้น มีอยู่ในทุกๆ ประเทศ—แต่เพื่อให้บริการประชาชน,
ไม่ใช่เพื่อกำไรของเอกชน.
Via
Campesina and allied social movements have all gathered together under the
banner of food sovereignty. This is the collective banner of struggle to build
counter-power to transnational
corporations,
to renationalize food systems, and to regain control over rural territories and
the land. To make sure that land is used to support rural peoples. To support
production, for local and national consumption, of healthier food, more
affordable food, food that’s not speculated with, that’s not hoarded, that’s
not contaminated with GMOs. To reclaim our food systems and protect our lands
and territories.
เวีย คัมเปซินา และ
พันธมิตรขบวนการสังคม ได้รวมตัวกันภายใต้ป้าย อธิปไตยทางอาหาร. นี่เป็นป้ายร่วมของการดิ้นรนต่อสู้
เพื่อสร้างพลังถ่วงดุลกับบรรษัทข้ามชาติ, เพื่อฟื้นฟูระบบอาหารแห่งชาติ,
และเพื่อเรียกคืนการควบคุมเหนืออาณาเขตชนบท และ ที่ดิน. เพื่อให้แน่ใจว่า
ที่ดินถูกใช้เพื่อเกื้อกูลคนชนบท.
เพื่อสนับสนุนการผลิต, เพื่อการบริโภคท้องถิ่นและชาติ, ของอาหารที่สมบูรณ์
แข็งแรง ดีกว่า, ซื้อไหวกว่า, อาหารไม่ถูกเก็งกำไร, ไม่ถูกกักตุน, ไม่ปนเปื้อนด้วย
จีเอ็มโอ. เพื่อทวงคืนระบบอาหารของเรา และ
ปกป้องดินแดนและอาณาเขตของเรา.
Source:
www.harvesting-justice.org
ดรุณี
ตันติวิรมานนท์ แปล
[1] Arun Gupta, “The Revolution
Begins at Home: A Clarion Call to Join the Wall Street Protests,” AlterNet,
September 27, 2011,
www.alternet.org/story/152557/the_revolution_begins_at_home%3A_a_clarion_call_to_join_the_wall_street_protests?page=entire.
[2] Revg33k,
“Forum Post: First Official Release from Occupy Wall Street,” Occupy Wall
Street website, September 30, 2011,
http://occupywallst.org/forum/first-official-release-from-occupy-wall-street/.
[3] Vandana
Shiva, Earth Democracy: Justice, Sustainability, and Peace (Massachusetts:
South End Press, 2005), 5.
[4] Statement
from the People’s Movement Assembly on Food Sovereignty, U.S. Social Forum,
Detroit, 2010.
[5] “Nyéléni
2007: Forum for Food Sovereignty: Definition of Food Sovereignty” (from the
Declaration of Nyéléni), Sélingué, Mali, February 27, 2007, www.ienearth.org/docs/nyeleni-food-sov-en.pdf.
[6] 6. Dawn Morrison, excerpted
from presentation at the Community Food Security Coalition conference, October
2010.
[7] 7. U.S. Agency for
International Development & Office of Foreign Disaster Assistance, “Seed
System Security Assessment, Haiti,” August 2010, 1. USAID estimates that
approximately 60 percent of Haiti’s population are farmers; peasant groups such
as the Peasant Movement of Papaye use the figure 80 percent.
[8] 8. World Bank and UN,
“Development at Work in Haiti,” April 2009,
http://siteresources.worldbank.org/INTHAITI/Resources/HaitiBrochureEng.pdf.
This 2009 report states that “local production accounts for only 45 percent of
food consumption.”
[9] 9. UN Office for the
Coordination of Humanitarian Affairs, “Humanitarian Bulletin: Haiti,” September
21-October 18, 2011, 3,
http://reliefweb.int/sites/reliefweb.int/files/resources/OCHA%20 Haiti_Humanitarian%20Bulletin_11_ENG.pdf; and
Lucy Basset, World Bank, “Nutrition Security in Haiti: Pre- and Post-Earthquake
Conditions and the Way Forward,” En Breve, June 2010, No. 157, 2.
[10] 10.
Environmental Working Group, “The United States Summary Information,” accessed
February 24, 2012, http://farm.ewg.org/re
gion?fips=00000®name=UnitedStatesFarmSubsidySummary.
[11] 11. Oxfam
International, “Kicking Down the Door: How Upcoming WTO Talks Threaten Farmers
in Poor Countries,” April 2005, 26,
http://www.fao.org/righttofood/KC/downloads/vl/en/ details/214560.htm.
[12] 12. USA Rice
Federation, “USA Rice Efforts Result in Rice Food- Aid for Haiti,” January 20,
2010, http://www.usarice.com/index.
php?option=com_content&view=article&id=957.
[13] 13. Nyéléni
2007, “Women’s Declaration on Food Sovereignty,” February 27, 2007,
http://www.nyeleni.org/spip.php?article310.
[14] 14. Alexandra
Spieldoch, “A Row to Hoe: The Gender Impact of Trade Liberalization on our Food
System, Agricultural Markets and Women’s Human Rights,” Institute for
Agriculture and Trade Policy, March 2007, 12.
[15] 15. Food and
Agriculture Organization of the UN, quoted in: Alexandra Spieldoch, “A Row to
Hoe: The Gender Impact of Trade Liberalization on our Food System, Agricultural
Markets and Women’s Human Rights,” Institute for Agriculture and Trade Policy,
March 2007, 5-10.
[16] 16. Food and
Agriculture Organization of the UN, “925 Million in Chronic Hunger Worldwide:
Though Improved, Global Hunger Level ‘Unacceptable,” September, 14, 2010,
http://www.fao.org/news/ story/en/item/45210/icode/; and World Food Programme,
“Women Shoulder Heaviest Burden in Global Food Crisis,” March 5, 2009,
http://www.wfp.org/stories/women-shoulder-heaviest-burdenglobal-
food-crisis.
[17] 17. Excerpted
from: Alana Fook, “Gender, IFIs and Food Insecurity,” Gender Action, April
2011, www.genderaction.org/ publications/fdsec/primer.pdf.
ได้รับเงินกู้ ในวันนี้ ในอัตราที่ ต่ำ ในขณะนี้ ใช้การ กู้ยืมเงิน จะได้รับ ในอัตรา 3%ในขณะนี้ ใช้การ นี้ สามารถเพิ่ม ธุรกิจของคุณให้สูง มากขึ้น เราจะนำเสนอ เงินให้กู้ยืมแก่ ธุรกิจและ ส่วนบุคคลของ คน ถ้าคุณต้องการ สินเชื่อที่จะ เริ่มต้นธุรกิจหรือ สินเชื่อ เพื่อชำระค่า ทำ ติดต่อเราผ่านทาง (georgeanderson.loanfirm255@gmail.com) นี้และได้รับ เงินกู้จาก บริษัท ของเรา ... ฉัน ทำให้ดีที่สุดบริการ สินเชื่อ
ตอบลบเสนอสินเชื่อ