วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

303. คุณพร้อมรับมือกับมหวิกฤตโลก ที่รุกคืบเข้ามาหรือยัง?



303.  Are You Ready for the Upcoming Global Grand Crises?

10 Practical Tools for Building a Resilient Local Economy
By Environmental Change Makers
(Read more at Envirochangemakers.org, Added on December 14, 2012 by Films For Action)
เครื่องมือปฏิบัติการ ๑๐ ชิ้น เพื่อสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ยืดหยุ่น
โดย ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม
  
The economy is changing. Dramatically. Coping with these changes means changing the way we do things. The path of the future involves root level, radical changes. Things we have always considered “normal” won’t work anymore. We must think LOCALLY, and act now to begin growing a resilient local economy.

เศรษฐกิจกำลังเปลี่ยนแปลง.  อย่างมโหฬาร.  การปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงวิธีการที่เราทำอยู่.  มรรคาสู่อนาคต รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงระดับรากอย่างสุดเหวี่ยง.  สิ่งต่างๆ ที่เราคิดว่า “ปกติ” ใช้การไม่ได้อีกแล้ว.  เราจะต้องคิดในระดับท้องถิ่น, และปฏิบัติการเดี๋ยวนี้ เพื่อเริ่มปลูกเศรษฐกิจท้องถิ่นที่ยืดหยุ่น.

Understand the full extent of the problem / เข้าใจขอบข่ายเต็มที่ของปัญหา
We’ve only seen the tip of the iceberg: Prepare for hard times to get worse. ? Any plans we make today –from business plans to individual career/college/retirement planning, to government policies – must presume they will unfold in an environment of ongoing, long-term economic downturn. Otherwise, they are not viable plans. ? We’re facing (simultaneously) the growing costs of climate change, the end of the oil age, plus there are fatal flaws in the original design of our economy. Eternal “growth” is impossible on a finite planet. We are living in a contracting economy and life as we once knew it is changing forever. ? We can no longer “go it alone.” The crises we face demand that we work together with others in ways we never have done before.
ที่ผ่านมา เราได้เห็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็ง: จงเตรียมพร้อมสำหรับกลียุคที่มีแต่จะยากเข็ญลง.  ?  แผนการใดๆ ที่เราวางไว้วันนี้—ตั้งแต่แผนธุรกิจ จนถึง การวางแผนปัจเจก อาชีพ/อุดมศึกษา/เกษียณอายุ, จนถึงนโยบายรัฐบาล—จะต้องสมมติไว้ก่อนว่า มันจะคลี่ออกในสภาพแวดล้อมของภาวะเศรษฐกิจขาลงอย่างต่อเนื่องระยะยาว.  มิฉะนั้น, มันจะไม่สัมฤทธิ์ผล.  ?  พวกเรากำลังเผชิญหน้า (เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน) กับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, จุดจบของยุคน้ำมัน, แถมความบกพร่องมรณะในการออกแบบแรกเริ่มของระบบเศรษฐกิจของเรา.   การ “ขยายตัว” นิรันดร เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในพิภพที่จำกัด.  เรากำลังอาศัยอยู่ในระบบเศรษฐกิจที่หดตัว และ ชีวิตอย่างที่เราเคยรู้จักในกาลครั้งหนึ่ง กำลังเปลี่ยนไปชั่วนิรันดร์.   ?  เราไม่สามารถ “ก้าวไปตามลำพัง”.  วิกฤตที่เรากำลังเผชิญ เรียกร้องให้พวกเราทำงานร่วมกับคนอื่นๆ ในหนทางที่เราไม่เคยทำกันมาก่อน.

1) Build resilience / สร้างความยืดหยุ่น
As the conventional economy continues to crumble, we the people at the grassroots still need to keep a roof over our head, feed our children, and maintain a relative degree of peace within our local community. In order to keep things going, we are going to have to use different economic tools than we have in the past: tools to facilitate transactions between people. ? Develop practical life skills which will get you through challenges. Grow food. Now. Everywhere you can. ? Relocalize: shift to lifestyles which require far less transportation. Powerdown: decrease your energy dependence overall. ? Develop a supportive community circle around you to fall back on emotionally or more tangibly. Develop Inner Resilience – the character and spiritual base to remain flexible and feel good about it.
ในขณะที่เศรษฐกิจกระแสหลักกำลังผุกร่อน, พวกเราประชาชนในระดับรากหญ้ายังจำเป็นต้องรักษาหลังคาบนหัวของเรา, เลี้ยงลูกของเรา, และธำรงสันติในระดับหนึ่งภายในชุมชนท้องถิ่นของเราเอง.  เพื่อรักษาให้สิ่งต่างๆ ลื่นไหลต่อไป, เราต้องใช้เครื่องมือเศรษฐกิจต่างๆ ที่ไม่เหมือนกับที่ใช้ในอดีต: เครื่องมือที่อำนวยการแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างผู้คน.  ?  พัฒนาทักษะชีวิตเชิงปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยนำพาให้คุณผ่านพ้นสิ่งท้าทายต่างๆ ได้.  ปลูกอาหาร.  เดี๋ยวนี้.  ทุกแห่งหนที่คุณทำได้.  ?  นำกลับคืนสู่ท้องถิ่น: ขยับวิถีชีวิตที่ลดความจำเป็นต้องพึ่งการขนส่งเดินทาง.  ลดพลังงาน: ลดการพึ่งพิงพลังงานทั้งหมด.  ?  พัฒนาแวดวงชุมชนเกื้อกูลรอบๆ ตัวคุณเพื่อพักพิงทางอารมณ์ หรือ พึ่งพิงอะไรที่เป็นรูปธรรม.  พัฒนาความยืดหยุ่นภายใน—ฐานคุณลักษณะและจิตวิญญาณ เพื่อธำรงความยืดหยุ่นและความรู้สึกบวก.

2) Expect Contraction / คาดการณ์ความหดตัว
Conserve your cash. Make the most of the U.S. dollars you do have. Use budgets and learn to get by on much less. Decrease your outflow, don’t merely seek to increase your inflow. ? Debt, leveraging, and interest are great tools in a growing economy, but they doom you to faster decline in a contracting economy. Systematically begin to reduce/renegotiate/eliminate all your debts and don’t take on more. (Don’t vote for more government debt, a.k.a. bond measures, either) ? An economy is like an ecosystem: it has many interrelated parts. We need to build much greater resilience into each of the parts – local business, currency, investment, measurement systems – in anticipation of what lies ahead.
เก็บออมเงินทองให้ดี.  ใช้เงินทุกดอลลาร์ให้คุ้มค่าที่สุด.   ใช้งบประมาณ และ เรียนรู้ที่จะยังชีพด้วยการใช้จ่ายน้อยลง.  ลดเงินรั่วไหลออก, อย่าเอาแต่เพิ่มการไหลเข้าของเงินตรา.  ?   หนี้สิน, การเกลี่ย/หมุนเวียนหนี้, และดอกเบี้ย เป็นเครื่องมือยอดเยี่ยมสำหรับเศรษฐกิจที่ขยายตัว, แต่มันสาปแช่งให้คุณพังเร็วขึ้นในเศรษฐกิจหดตัว.   เริ่มลด/ต่อรองใหม่/ขจัดหนี้ทั้งหมดของคุณอย่างเป็นระบบ และอย่ากู้ยืมอีก.  (จงอย่าลงคะแนนให้รัฐบาลเพิ่มหนี้,  การออกพันธบัตรด้วย)   ?  ระบบเศรษฐกิจก็เหมือนกับระบบนิเวศ: มันมีชิ้นส่วนมากมายที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน.  เราจำเป็นต้องสร้างความยืดหยุ่นให้มากมหาศาลขึ้นในแต่ละส่วน—ธุรกิจท้องถิ่น, สกุลเงิน, การลงทุน, ระบบชั่งตวงวัด—พร้อมกับคาดการณ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า.

3) Rethink the idea of “Jobs” / คิดใหม่เกี่ยวกับ “งาน”
The role of “employee” of a giant facility controlled by corporate executives is part of the fading past. Even “green jobs” and “stimulus” are tied into the fatally-flawed eternal growth presumption. ? As the crises unfold further, making a living is much more likely to be as “proprietor,” rather than employee.
บทบาทของ “นายจ้าง” ของระบบอำนวยการยักษ์ใหญ่ ที่ควบคุมโดยผู้บริหารบรรษัท เป็นส่วนหนึ่งของอดีตที่กำลังลางเลือนไป.  แม้แต่ “งานสีเขียว” และ “ตัวกระตุ้น” ก็ล้วนถูกผนวกเข้ากับสมมติฐานของการโตชั่วนิรันดร์ที่มีความบกพร่องมรณะ.  ?  ในขณะที่วิกฤตต่างคลี่ตัวเผยโฉมมากขึ้น, การหาเลี้ยงชีพ จะเป็นลักษณะของ “เจ้าของกิจการ”, มากกว่า ลูกจ้าง.

4) Support Resilience-Building businesses and industries / สนับสนุนธุรกิจและอุตสาหกรรมที่สร้างความยืดหยุ่น
What kinds of businesses will your immediate local neighborhood need to survive? Which businesses will provide the basics like locally sourced food and water, basic clothing? Particularly as we face limited petroleum and with local supply chains? These are the “business opportunities” of the new future. ? As you create your resilience-oriented business, plan to accept multiple currencies (#5). Work with local investment vehicles (#7). Evaluate success using alternative metrics. Reduce your volume expectations in keeping with planetary limits (biocapacity). ? Meanwhile, support the future with your voting dollar. BUY LOCAL. Every dollar you spend at a non-resilient business or industry (chain store) is a vote against local survival.
ธุรกิจแบบไหนที่เพื่อนบ้านท้องถิ่นใกล้ชิดของคุณจำเป็นต้องใช้เพื่อความอยู่รอด?  ธุรกิจแบบไหนที่จะให้ปัจจัยพื้นฐาน เช่น อาหารและน้ำ, เครื่องนุ่งห่มที่ผลิตในท้องถิ่น?  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเราเผชิญหน้ากับความจำกัดของ ปิโตรเลียม และห่วงโซ่อุปทานท้องถิ่น?   เหล่านี้ เป็น “โอกาสทางธุรกิจ” แห่งอนาคตใหม่.  ?  ในขณะที่คุณสร้างธุรกิจที่มุ่งไปทางสร้างความยืดหยุ่น, ขอให้เตรียมตัวยอมรับสกุลเงินตราหลากรูปแบบ (#5).  ทำงานกับยานพาหนะที่ลงทุนในท้องถิ่น (#7).  ประเมินความสำเร็จด้วยการใช้มาตรวัดทางเลือก.   ลดระดับความคาดหวังของคุณให้เข้ากับความจำกัดของพิภพ (สมรรถนะชีวภาพ).  ?  ในขณะเดียวกัน, สนับสนุนอนาคตด้วยเงินลงคะแนนเสียงของคุณ.  ซื้อของท้องถิ่น.  ทุกบาททุกสตางค์ที่คุณจ่ายให้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ไร้ความยืดหยุ่น (ร้านค้าห่วงโซ่สะดวกซื้อ) เป็นการลงคะแนนเสียงต่อต้านความอยู่รอดของท้องถิ่น.

5) Develop multiple financial vehicles / พัฒนาพาหนะการเงินหลากรูปแบบ
We cannot count on the U.S. dollar alone. With the looming possibility of severe inflation or deflation, at a local level we need to have a wide variety of alternative ways to conduct economic transactions. ? Try sophisticated barter systems: Set up or join time banks or LET Systems (Local Economic Trading Systems). Trade goods and services with local neighbors, without the need for U.S. dollar cash. Several time banks are active and operating in various parts of L.A. ? Practice sharing: Set up lots of sharing networks, like carpools, home repair groups, garden sharing, group purchasing, tool libraries, gift cultures and more. Do it now, while times are relatively good, so these networks will be in place when we really need them.
เราไม่สามารถพึ่งดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำพัง.  ด้วยความเป็นไปได้ของภาวะเงินเฟ้อหรือเงินยุบ ที่ใกล้เข้ามาทุกที, ในระดับท้องถิ่น เราจำเป็นต้องมีทางเลือกมากๆ เพื่อทำการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ.  ?  ลองใช้วิธีการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าที่เจนจัด: จัดตั้ง หรือ เข้าร่วมธนาคารเวลา หรือ ระบบ LET (ระบบการค้า/แลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจท้องถิ่น).  การแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยการให้บริการกับเพื่อนบ้านท้องถิ่น, โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินสด.  ธนาคารเวลาหลายแห่งทำงานแข็งขันในหลายภาคส่วนในลอสแองเจิลลิส.  ?  แบ่งปัน: จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายแบ่งปัน, เช่น ร่วมโดยสารรถยนตร์คันเดียวกัน, กลุ่มซ่อมแซมบ้านเรือน, สวนแบ่งปัน, ซื้อเป็นกลุ่ม, ห้องสมุดอุปกรณ์, วัฒนธรรมการให้ของขวัญแก่กัน เป็นต้น.  ทำเดี๋ยวนี้เลย, ในขณะที่วันเวลายังดีอยู่, เพื่อว่า เครือข่ายเหล่านี้จะเข้ารูปเข้ารอยเมื่อถึงเวลาที่คุณต้องการใช้มันจริงๆ.

6) Community-based Investment / การลงทุนชุมชน
Got investment funds? Retirement funds? Retain them within your local community. Put them to work locally on resilience-building projects within your community – projects which will help your local community cope with peak oil and economic downturn. ? In the new paradigm, security, peace, and safety are so dear that they are worth “investing” in, with hopes to preserve them. Rather than seeking “rate of return,” better shop for local investments which might help secure our collective future. ? In Totnes, UK, people are pooling their investment funds to build community-owned wind farms. In Marin, California, they pooled their funds to buy options on farmland to keep it out of the hands of suburban developers. In Washington state, L.I.O.N. investors seed local sustainable businesses.
มีกองทุนเพื่อการลงทุนหรือยัง?  กองทุนเกษียณอายุ?  รักษาให้มันอยู่กับชุมชนท้องถิ่น.  เอาออกมาใช้ในท้องถิ่นกับโครงการที่สร้างความยืดหยุ่นภายในชุมชนของคุณ—โครงการจะช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นของคุณรับมือกับภาวะน้ำมันหมดและขาลงของเศรษฐกิจ.  ?  ในวิถีทัศน์ใหม่, ความมั่นคง, สันติ, และ ความปลอดภัย เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่คุ้มค่าการ “ลงทุน”, ด้วยความหวังว่าจะอนุรักษ์มันไว้ได้.   แทนที่จะแสวงหา “อัตราการคืนทุน”, เลือกซื้อหุ้นลงทุนท้องถิ่นดีกว่า ซึ่งอาจช่วยสร้างความมั่นคงร่วมของเราในอนาคต.  ?  ในท็อตเนส, สหราชอาณาจักร, ประชาชนกำลังระดมเงินสร้างกองทุนเพื่อสร้าง ไร่กังหนลมที่ชุมชนเป็นเจ้าของ.  ในมาริน, แคลิฟอร์เนีย, พวกเราระดมทุนเพื่อซื้อที่ไร่นา เพื่อป้องกันที่ดินให้รอดพ้นมือพวกธุรกิจพัฒนาชานเมือง.  ในรัฐวอชิงตัน, นักลงทุน L.I.O.N. หว่านเมล็ดธุรกิจท้องถิ่นที่ยั่งยืน.

7) Demand new economic indicators / เรียกร้องให้ใช้ดัชนีใหม่เพื่อวัดเศรษฐกิจ
Economic Indicators are our measuring sticks. They’re the way we determine whether (or how far) we’re moving in the right direction. Our old, outdated set of economic indicators --which includes things like GDP, bottom-line, and sales volume-- measures economic growth and profit, period. ? For humanity to survive in the new future, we must measure the right stuff. Ask businesses about their scorecard on the things you care about: how they’re cutting carbon emissions; how much of their supplies are locally-sourced, whether they buy from other local businesses and hire local workers. Then vote with your buying dollar to support vendors who give you good answers.
ดัชนีเศรษฐกิจเป็นไม้มาตรวัดของเรา.  มันเป็นวิธีที่เราใช้ตัดสินว่า เรากำลังเคลื่อนไปถูกทางไหม (หรือไปได้ไกลแค่ไหน).  ชุดดัชนีเศรษฐกิจเก่า, ล้าสมัยของเรา—เช่น จีดีพี, เส้นล่างสุด, และปริมาตรการขาย—วัดการขยายตัวและกำไรของเศรษฐกิจ, จบ.  ?  เพื่อให้มนุษยชาติอยู่รอดในอนาคตใหม่, เราต้องวัดสิ่งที่ถูกต้อง.  ถามธุรกิจเกี่ยวกับบัตรคะแนนของพวกเขาในเรื่องที่คุณห่วงใย: พวกเขาลดการปล่อยคาร์บอนอย่างไร; แหล่งสินค้าของพวกเขาผลิตในท้องถิ่นกี่มากน้อย, พวกเขาซื้อจากธุรกิจท้องถิ่น และ จ้างคนงานท้องถิ่นหรือเปล่า.  แล้วคุณลงคะแนนเสียงให้ด้วยเงินดอลลาร์ซื้อของ เพื่อสนับสนุนพ่อค้าผู้ให้คำตอบที่ดี ที่คุณพอใจ.

8) Redefine “Success” / นิยามใหม่ “ความสำเร็จ”
Our conventional economic system is broken because it defined “success” so narrowly, exclusively in terms of dollars, profit and growth. That lone measurement has taken us far off track with respect to environment, social ills, and quality of life. ? “The economy” is the sum total of transactions between people. And people’s lives and experiences are about much more than just dollars, profit and growth.
ระบบเศรษฐกิจกระแสหลักของเราแตกหักแล้ว เพราะ มันได้นิยาม “ความสำเร็จ” ไว้อย่างแคบมาก, มีแต่คำว่า ดอลลาร์, กำไร และ เติบโต.  เจ้าตัววัดโดดเดี่ยวนั้น ได้นำพาพวกเราให้ตกราง ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม, สังคมเจ็บป่วย, และ คุณภาพชีวิต.  ?  “เศรษฐกิจ” เป็นยอดรวมทั้งหมดของการแลกเปลี่ยนซื้อขายระหว่างประชาชน.  และชีวิตและประสบการณ์ของประชาชน มีค่ามากมายกว่าเพียงดอลลาร์, กำไร และ เติบโต.

9) Strive for a Socially-Just Economics / ต่อสู้เพื่อเศรษฐกิจที่เป็นธรรมทางสังคม
We cannot forget that our local communities are not islands. Particularly within our cities, we are kidding ourselves if we think we can help prepare or “transition” only our own household or neighborhood without regard to helping nearby neighborhoods. Reach out to others and share the message in this document. Help others get prepared!
เราไม่สามารถลืมได้ว่า ชุมชนของเราไม่ใช่เกาะ.  โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในเมืองของเรา, เรากำลังหลอกตัวเอง หากเราคิดว่า เราสามารถช่วยตระเตรียม หรือ “เปลี่ยนผ่าน” แค่ครัวเรือน หรือ ละแวกบ้านของเราเอง โดยไม่สนใจช่วยเหลือละแวกบ้านอื่นใกล้เคียง.  ขอให้ยื่นมือออกไปหาผู้อื่น และ แบ่งปันสาระสำคัญในบทความ/ภาพยนตร์เรื่องนี้.  ขอให้ช่วยผู้อื่นเตรียมพร้อมด้วย!

10) Help build the safety net / ช่วยกันสร้างร่างแหรองรับความปลอดภัย
Viewed separately, any lone one of these Practical Tools may feel flimsy and insufficient. Assembled as a unified whole, the Practical Tools create a resilient safety net. As the current economic structures wobble and crumble, the safety net is there to catch us -- to keep our local communities functional at a very basic level. ? Look for signs of a safety net in your neighborhood. As you discover small portions of it, help build these, shift your transactions to support them, and make these the way you do things within your social circle. As the conventional economy crumbles, a resilient local safety net is your best hope for maintaining peace.
เมื่อดูแยกกัน, เครื่องมือปฏิบัติการโดดๆ แต่ละชิ้น อาจรู้สึกว่าบอบบาง และไม่เพียงพอ.  พอรวบรวมมันเข้าด้วยกันเป็นองค์รวม, ชุดเครื่องมือปฏิบัติการนี้ สร้างร่างแหรองรับความปลอดภัยที่ยืดหยุ่นได้.  ในขณะที่โครงสร้างเศรษฐกิจปัจจุบันโยกเยก สั่นไหว และ แตกสลาย, ร่างแหดังกล่าวจะรองรับพวกเราไว้—ด้วยการทำให้ชุมชนท้องถิ่นของเราทำงานได้ในระดับพื้นฐาน.  ?   มองหาเครื่องหมายของร่างแหรองรับความปลอดภัยในละแวกบ้านของคุณ.  เมื่อคุณค้นพบเสี้ยวส่วนของมัน, จงช่วยกันต่อยอดสร้างมันขึ้น, ขยับการซื้อขายไปสนับสนุนพวกเขา, และถือเป็นวิธีปฏิบัติภายในวงสังคมของคุณ.  เมื่อเศรษฐกิจกระแสหลักพังครืน, ร่างแหความปลอดภัยท้องถิ่นที่ยืดหยุ่น เป็นความหวังที่ดีที่สุดเพื่อธำรงสันติภาพ.  
These are excerpts from “Economic Resilience” by Joanne Poyourow. The expanded version of “Economic Resilience” can be read free online at http://EconomicResilience.blogspot.com/ Please share it with your friends, and take action to make our Safety Net a reality.
นี่เป็นข้อความยกมาจาก “ความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจ” โดย โจแอน โพยูโรว.  ฉบับเต็มของ “ความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจ” สามารถหาอ่านได้ฟรีออนไลน์ ที่ http://EconomicResilience.blogspot.com/  โปรดแบ่งปันกับเพื่อนของคุณ, และเริ่มปฏิบัติการเพื่อทำให้ ร่างแหแห่งความปลอดภัย ของเราเป็นจริงได้.

302. โลกจะเต็มไปด้วยความสวยงาม หรือ ความเกลียดชัง ขึ้นกับการเลือกส่วนตัวที่จะเป็นของเรา


302.  The World Is Beautiful or Hateful Depends on Our Personal Choice of Being

Healing the Interior Wound of Separation Is the Key to a Sustainable World
สมานแผลภายในของการแปลกแยก เป็นกุญแจสู่โลกที่ยั่งยืน

 “ผมจินตนาการว่า เหตุผลหนึ่งที่ผู้คนนัวเนียอยู่กับความเกลียดของตนอย่างดื้อรั้น ก็เพราะพวกเขารู้สึกว่า, เมื่อไรความเกลียดนั้นหายไป, พวกเขาจะถูกบังคับให้เผชิญหน้า จัดการกับความปวดร้าวของตนเอง”  - เจมส์ บอลด์วิน, กองไฟครั้งต่อไป

When I read James Baldwin’s words, I intuitively sense a deep truth. It is nearly impossible to live in the world today without feeling at some point in our lives a feeling of not being good enough, ostracized, or excluded. This is a painful feeling not in a physical sense but rather internally, a result of a deep subconscious feeling of separation or disconnection from the whole causing an interior wound of separation in all of us. When the pain remains unrealized, it results in deep suffering, which may manifest feelings of frustration, anxiety, loneliness, anger and, eventually, hate. Of what we aren’t exactly sure. But it is manifested in many ways.
เมื่อผมอ่านคำของเจมส์ บอลด์วิน, ผมสัมผัสรู้โดยสัญชาตญาณถึงสัจธรรมระดับลึก.  มันเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะมีชีวิตอยู่ในโลกทุกวันนี้โดยปราศจากความรู้สึก ในบางขณะในชีวิตของเราว่า เราดีไม่พอ, ถูกเนรเทศ, หรือถูกกีดกัน.  นี่เป็นความรู้สึกเจ็บปวดไม่เพียงทางกาย แต่ลึกเข้าไปภายใน, ผลจากความรู้สึกของจิตใต้สำนึกลึกๆ แห่งการแปลกแยก หรือ หลุดจากองค์รวม ซึ่งเป็นเหตุทำให้เกิดแผลภายในของการแปลกแยกที่มีอยู่ในพวกเราทั้งหมด.  เมื่อความเจ็บปวดนี้ ยังอยู่ในสภาพที่ไม่ถูกตระหนักรู้, ผลคือความทุกข์ลึกๆ, ซึ่งอาจแสดงตัวเป็นความรู้สึกอึดอัด, พะว้าพะวง, โดดเดี่ยว, โมโห และ, ในที่สุด, เกลียดชัง.  ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเองก็ไม่รู้ว่าเป็นอะไรกันแน่.  แต่มันเผยโฉมหน้าออกมาได้หลายทาง.
If we feel that we are fundamentally separated from others, we know that we cannot depend on anyone else for survival, further reinforcing the idea we are alone. Greed arises. The wound is so heavy that we long for distraction, which we can find plenty of in the form of mindless television, food that tastes great but has little nutrition, shopping, meaningless sex as a poor substitute for real intimacy, or just about anything that keeps us from analyzing this painful feeling. Boredom arises. As time goes on, we find ourselves getting angry over some of the smallest offenses – things like someone cutting you off on the freeway, making you late for an appointment, or getting passed over for an upgrade to first class on a flight. Each of these examples remind us of the deficit in nourishment that peels the scab on our interior wound of separation. Over time, the pain grows as the anger can turn into hate, which is then turned on whichever unfortunate soul crosses us next.
หากเรารู้สึกว่า โดยรากฐาน เราถูกแยกออกจากผู้อื่น, นั่นคือ, เรารู้ว่า เราไม่สามารถพึ่งพาใครอื่นได้เลยเพื่อความอยู่รอด, นั่นเป็นการตอกย้ำความคิดที่ว่า เราอยู่ตามลำพังคนเดียว.  ความโลภย่อมเอ่อขึ้นมา.  บาดแผลนั้นหนักหนามากจนเราโหยหาเครื่องเบี่ยงเบนความสนใจ, ซึ่งเราสามารถหาได้มากมายในรูปของความไร้สติไตร่ตรองใน โทรทัศน์, อาหารที่เอร็ดอร่อยแต่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร, ช็อปปิ้ง, การสมสู่ที่ไร้ความหมายอันเป็นเครื่องทดแทนชั้นเลวของความสนิทสนมที่แท้จริง, หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้เราไม่ต้องวิเคราะห์เจ้าความรู้สึกที่แสนเจ็บปวดนั้น.  ความเบื่อหน่ายเอ่อขึ้นมา.  ในขณะที่เวลาผันผ่านไป, เราพบว่าตัวเองโมโหโกรธากับสิ่งบาดหมางเล็กที่สุดใดๆ –เช่น เมื่อบางคนขับรถปาดหน้าคุณในถนนฟรีเวย์, ทำให้คุณไปสายไม่ตรงตามนัดหมาย, หรือถูกแซงคิวการอัพเกรดเป็นตั๋วบินชั้นหนึ่ง.  แต่ละตัวอย่างเหล่านี้ เตือนเราถึงอาการขาดสารอาหารหล่อเลี้ยง ที่แกะสะเก็ดบนแผลภายในของการแปลกแยก.  เวลาผ่านไป, ความเจ็บปวดเติบใหญ่ขึ้นในขณะที่ความโกรธสามารถเปลี่ยนไปเป็นความเกลียด, ซึ่งก็จะสาดใส่ใครก็ตามที่โชคไม่ดีที่มาสะกิดแผลของเรา.
We are not born with this wound. Indeed, every child is born with not only a desire to connect but a real physical need for connection, a need so strong that the baby could die if it is left void of any physical connection. It is why women receive added hormones during and after pregnancy that help create that emotional connection and desire to nurture their children. As children grow older though, they encounter a world full of people already living with the wound of separation and quickly learn that most people outside the family – and for the most unfortunate, inside the family as well – are at best indifferent to them and at worst a threat to survival. As those children’s desire for connection to others is continually rejected, they too begin to develop their own wound of separation, building walls to protect themselves from the unkind world.
เราไม่ได้เกิดมาพร้อมกับบาดแผลนี้.  อันที่จริง, เด็กทุกคนเกิดมาพร้อมกับไม่เพียงแรงปรารถนาที่จะเชื่อมโยง แต่ความจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องเชื่อมโยงต่อกัน, ความต้องการนี้เข้มข้นมากขนาดที่ทารกอาจตายได้หากถูกทอดทิ้งในโพรงที่ไม่มีการเชื่อมโยงทางกายภาพเลย.   นี่เป็นเหตุผลที่ทำไม ผู้หญิงจึงได้รับฮอร์โมนเพิ่มขึ้นในระหว่างและหลังจากการตั้งครรภ์ ที่ช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางอารมณ์และแรงปรารถนาที่จะบำรุงเลี้ยงดูลูกๆ ของตน.  แต่ในขณะที่เด็กๆ โตขึ้น, พวกเขาเจอกับโลกที่เต็มไปด้วยผู้คนที่มีชีวิตอยู่กับบาดแผลของการแปลกแยก และ ก็เรียนรู้อย่างรวดเร็วจากผู้คนนอกครอบครัวของตน—และสำหรับคนที่โชคร้ายที่สุด, คนในครอบครัวก็เป็นเช่นนั้นด้วย—ว่า อย่างดีที่สุด ก็ไม่แยแสกับพวกเขา และอย่างแย่ที่สุด คุกคามความอยู่รอด.  เมื่อความปรารถนาของเด็กๆ เหล่านั้น ที่ต้องการเชื่อมต่อกับคนอื่นๆ ถูกเมิน, พวกเขาด้วย ก็เริ่มพัฒนาบาดแผลของการแปลกแยกของตัวเองขึ้นด้วยการสร้างกำแพงเพื่อปกป้องตัวเองจากโลกที่ไม่อารี.
This is not who we are as a species as evidenced by anyone who can observe the behaviors of a healthy child. In truth, we are all connected at a fundamental level. We all desire, more than anything else to be seen, heard, and accepted for who we really are in all of our diversity. We all have gifts that we desire to give to others. Through them, we obtain meaning for ourselves. There is a new and more beautiful world that longs to be born, but it will take each of us to go within to heal our own wounds of separation and then help others to heal theirs by being kind to all people in all situations, to look all people in the eye as the divine beings they truly are and recognize them as our brothers and sisters. If we can’t find the way, we need only take our cues from young children who are never far removed from our true loving nature. In our hearts, we know a more beautiful world is possible. Manifesting it comes down to a personal choice between love and fear. I choose love. Which do you choose?
นี่ไม่ใช่พวกเราในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หนึ่ง ตามหลักฐานอย่างที่ใครก็ตามย่อมสังเกตเห็นได้ในพฤติกรรมของเด็กที่สมบูรณ์ปกติ.  ในความสัจจริง, พวกเราล้วนเชื่อมโยงต่อกันในระดับฐานราก.  เราทั้งหมดปรารถนา, เหนือสิ่งอื่นใด ให้คนอื่นเห็น, ได้ยิน, และยอมรับเรา ในลักษณะที่เราเป็นจริงๆ ท่ามกลางความหลากลายของพวกเรา.  พวกเราล้วนมีพรสวรรค์ที่เราต่างปรารถนาที่จะมอบให้คนอื่นๆ.  ผ่านพวกเขา, เราได้รับความหมายสำหรับตัวเราเอง.  มีโลกใหม่และสวยงามกว่า ที่รอคอยเวลาคลอด, แต่จะเป็นไปได้ต่อเมื่อพวกเราแต่ละคน ย้อนกลับเข้าไปภายในตัวเอง ทำการเยียวยา สมานแผลแห่งการแปลกแยกของตนเอง และ ช่วยคนอื่นๆ ให้สมานแผลของพวกเขา ด้วยความเมตตาต่อคนทั้งปวงในทุกสถานการณ์, มองดูคนทั้งปวงประหนึ่งว่าพวกเขาเป็นเทพที่พวกเขาเป็นจริงๆ และยอมรับพวกเขาในฐานะพี่น้องหญิงชาย.  หากเราไม่สามารถหาหนทาง, ก็ขอให้เพียงแต่สังเกตจากเด็กเล็ก ผู้ไม่เคยอยู่ห่างไกลจากธรรมชาติความรักที่แท้จริงของเรา.  ในหัวใจของเรา, เรารู้ว่า โลกที่สวยงามกว่านี้ เป็นไปได้.  การที่มันจะเผยตัวออกมาได้นั้น เป็นการเลือกส่วนบุคคล ระหว่าง ความรัก และ ความกลัว.  ผมเลือกความรัก.  คุณล่ะ เลือกทางไหน?

Comments:
CJ John March 18, 2013 7:43 pm
This article is magnificently spot-on to what is ailing this world. Your final lines, ” In our hearts, we know a more beautiful world is possible. Manifesting it comes down to a personal choice between love and fear.” is EXACTLY what I have felt all my life, but it wasn’t until I understood that fear comes from ego that I was able to untangle my confused mind.

Sunday Sampler: March 24, 2013 | shanjeniah - March 24, 2013 - See more at:
[...] Healing the Interior Wound of Separation is the Key to a Sustainable World – Sustainable Man offers this perspective on the human need for connection, and what is threatened when it is lacking. [...]


วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

301. “อนาคตในโบราณกาล” : บทเรียนจาก ส้วม


 301. “Ancient Future” : Lesson from Toilet

Ladakh Invites New Scarcities
ลาดัคเชื้อเชิญความขาดแคลนยุคใหม่
โดย อธาร์ ปาร์เวศ

ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
Tourism is adding to the strain on natural resources in Leh. Credit: thar Parvaiz/IPS
การท่องเที่ยวเพิ่มภาระแก่ทรัพยากรธรรมชาติในเมืองเลห์

LADAKH, India, Sep 24 2013 (IPS) - The Ladakh of today is a different world from the one Skarma Namgiyal remembers as a child. Back then, he had taken for granted the breathtaking beauty of its landscape, the purity of the cold mountain air, and the sweet taste of water in its streams.
ลาดัค, อินเดีย—ลาดัควันนี้ เป็นโลกที่ต่างจากดินแดนที่ สกรรมา นัมกิยัล จำได้สมัยเด็ก.  สมัยนั้น, เขาถือเบาภูมิทัศน์ที่สวยงามตระการตา, ความบริสุทธิ์ของอากาศหนาวเย็นแห่งขุนเขา, และรสหวานเย็นฉ่ำของสายน้ำในลำธาร.
Today, at 47 years of age, this resident of Tukcha village in Leh district in the north of Kashmir cannot believe they are digging borewells for water, using water to flush toilets in their homes in place of the dry toilets they had been accustomed to, and having to cope with sewage flowing right up to their houses.
ณ วันนี้, เมื่ออายุ ๔๗ ปี, ชาวบ้านของหมู่บ้าน ตุกชา ในอำเภอเลห์ ภาคเหนือของแคชเมียร์ รู้สึกเหลือเชื่อที่พวกเขากำลังขุดบ่อบาดาลเอาน้ำ, เพื่อใช้น้ำชะส้วมในบ้านของพวกเขาแทนการใช้ส้วมแห้งอย่างที่พวกเขาคุ้นเคย, และต้องปรับตัวรับมือกับน้ำเสียที่ไหลมาถึงบ้านของพวกเขา.
Climate change, booming tourism and modern practices are wreaking havoc in this high altitude cold desert in India’s Jammu and Kashmir state. The average elevation in Ladakh is 11,000 ft above sea level and temperatures swing between minus 35 degrees Celsius in winters to 35 degrees in summer. Annual rainfall in the region is less than four inches.
ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, การท่องเที่ยวที่รุ่งโรจน์ และวิธีปฏิบัติสมัยใหม่ กำลังอาละวาดใหญ่ในดินแดนทะเลทรายหนาวเหน็บบนที่สูงแห่งนี้ในรัฐชัมมูและแคชเมียร์ของอินเดีย.  ความสูงโดยเฉลี่ยในลาดัค คือ ๑๑,๐๐๐ ฟุตเหนือน้ำทะเล และอุณหภูมิแกว่งอยู่ระหว่าง –๓๕ องศาเซลเซียสในฤดูหนาว ถึง ๓๕ องศาในฤดูร้อน.  ปริมาณน้ำฝนประจำปีในภูมิภาคนี้ ต่ำกว่า ๔ นิ้ว.
Earlier, water from the melting glaciers would be enough to cater to the needs of the locals, Namgiyal tells IPS. But with less snowfall and warmer summers, some of the glaciers have vanished altogether while others too are fast melting.
ก่อนหน้านี้, น้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็ง มีเพียงพอสำหรับความต้องการของคนท้องถิ่น, นัมกิยัล กล่าว.  แต่ด้วยหิมะที่ตกน้อยลงและฤดูร้อนที่อุ่นมากขึ้น, ธารน้ำแข็งบางสายได้หายวับไปแล้ว ในขณะที่สายอื่นๆ ก็พากันละลายอย่างรวดเร็ว.
“Look at Khardongla,” says Namgiyal’s neighbour Tsering Kushu. “It used to be a huge glacier. It is not there anymore.”
“ดูที่ คาร์ดงกลา สิ”, เซอริง กูชู เพื่อนบ้านของนัมกิยัล กล่าว.  “มันเคยเป็นธารน้ำแข็งมหึมา.  มันไม่อยู่ตรงนั้นอีกแล้ว”.
GERES India, the Indian wing of the Paris-based environmental organisation, had in 2009 done a baseline survey of Ladakh, based on an analysis of meteorological data from 1973 to 2008 and interviews with older villagers. Its results showed glacial retreat in every part of Ladakh, most notably in Khardongla and Stok Kangri, the first north of Leh and the latter to its southwest.
องค์กรสิ่งแวดล้อม GERES อินเดีย, ซึ่งมีฐานอยู่ในปารีส, ได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในลาดัค ปี ๒๕๕๒, โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาตั้งแต่ปี ๒๕๑๖ ถึง ๒๕๕๑ และ สัมภาษณ์ชาวบ้านสูงอายุ.  ผลแสดงให้เห็นถึงการถดถอยของธารน้ำแข็งในทุกส่วนของลาดัค, ที่เห็นชัดที่สุด ในคาร์ดงกลา และ สโตก กังครี, จุดแรกอยู่ทิศเหนือของเลห์ และ จุดหลังอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้.
“Trend analysis clearly indicated a rise of the order of nearly one degree Celsius for all winter months,” says the survey.
“การวิเคราะห์แนวโน้ม ชี้ให้เห็นอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเกือบ ๑ องศาเซลเซียสตลอดเดือนทั้งหมดในฤดูหนาว”, ตามรายงานจากการสำรวจ.
“Snowfall and rainfall too have showed a decreasing trend in the studied period,” Tundup Angmo, under whose guidance the survey was carried out, tells IPS.
“ปริมาณหิมะและน้ำฝนด้วย ได้แสดงให้เห็นแนวโน้มลดลงในช่วงที่ทำการศึกษา”, ตุนดุป อังโม, ผู้อำนวยการสำรวจนี้กล่าว.
Kushu has another barometer for gauging the hotter summer. “Now you can see people using refrigerators and ceiling fans in their homes,” he says.
กูชู มีบารอมิเตอร์อีกเครื่องที่ใช้วัดฤดูร้อนที่ร้อนมากขึ้น.  “ตอนนี้ คุณจะเห็นประชาชนใช้ตู้เย็นและพัดลมเพดานในบ้านของพวกเขา”, เขากล่าว.
Ladakh itself has a population of 280,000, according to the 2011 census. In addition, tourist arrivals have vastly increased from the trickle that began when the Indian government first opened the region to tourism in 1974.
ลาดัคเอง มีประชากร ๒๘๐,๐๐๐ คน, ตามสถิติสำมะโนครัวปี ๒๕๕๔.  นอกจากนี้, นักท่องเที่ยวได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างมาก จากทีละหยดที่เริ่มต้นเมื่อรัฐบาลอินเดียเปิดภูมิภาคนี้เป็นครั้งแรกเพื่อการท่องเที่ยวในปี ๒๕๑๗.
According to figures with the state tourism department, Leh had received 100,179 tourists by the end of August 2013. “The number of arrivals has been less this year because of the increase in air fares,” Mehboob Ali, assistant director for tourism in the Ladakh region, tells IPS.
ตามตัวเลขของกรมการท่องเที่ยวแห่งรัฐ, เลห์รับนักท่องเที่ยว ๑๐๐,๑๗๙ คน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ๑๕๕๖.  “จำนวนคนที่มาได้ลดลงปีนี้ เพราะค่าเครื่องบินสูงขึ้น”, เมห์บูบ อาลี, รอง ผอ. การท่องเที่ยวในลาดัค กล่าว.
To cater to its visitors, Leh has 511 hotels and guest houses. “It is growing very fast,” says Lobzang Sultim, executive director of the environmental NGO Ladakh Ecological Development Group (LEDeG).
เพื่อรองรับผู้มาเยือน, เลห์มีโรงแรมและเกสต์เฮาส์ ๕๑๑ แห่ง.  “มันขยายตัวเร็วมาก”, ล็อบสัง ซัลติม, ผอ.บริหารของ เอ็นจีโอสิ่งแวดล้อม กลุ่มพัฒนานิเวศลาดัค (LEDeG) กล่าว.
LEDeG is conducting a survey titled Urban Water Health Project which was started in October 2012 and will end by March 2014. According to the initial findings of the survey, 375 hotels in the town are extracting 852,000 litres of water a day. Sultim also says that almost 60 percent of Leh’s 20,000 households are using borewells to draw water.
LEDeG กำลังทำการสำรวจ “โครงการน้ำเขตเมือง” ซึ่งเริ่มในเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ และจะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม ๒๕๕๗.  ตามผลการสำรวจครั้งแรก, โรงแรม ๓๗๕ แห่งในเมือง กำลังสกัดน้ำ ๘๕๒,๐๐๐ ลิตร/วัน.  ซัลติมบอกอีกด้วยว่า เกือบ ๖๐ เปอร์เซ็นต์ของ ๒๐,๐๐๐ ครัวเรือนในเลห์ สูบน้ำจากบ่อบาดาล.
“We have no choice but to draw water from borewells as the piped water supply is available for just one hour in the morning,” Manav Thakur, the general manager at Hotel Lingzi in Leh, tells IPS.
“เราไม่มีทางเลือกนอกจากสูบน้ำบาดาลใช้ เพราะน้ำประปาจากท่อมีเพียง ๑ ชม.ตอนเช้า”, มานัฟ ฐากูร, ผจก ใหญ่ของโรงแรม ลิงก์ซี ในเลห์, กล่าว.
All this is putting pressure on Ladakh’s already scarce water resources, and with no means to replenish them, the water table is falling rapidly.
ทั้งหมดนี้สร้างความกดดันต่อแหล่งน้ำที่เหลือน้อยมากอยู่แล้ว, และไม่มีทางอื่นที่จะเสริมเพิ่ม, ระดับน้ำบาดาลกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว.
“We are already aware that precipitation in Leh is quite nominal,” says Sultim. “And with the decrease in glacial melt, stream discharge is also decreasing, making the recharging of the water table very difficult.”
“เรารู้ดีอยู่แล้วว่า ปริมาณน้ำฝนในเลห์มีไม่มาก”, ซัลติมกล่าว. “และด้วยธารน้ำแข็งละลายน้อยลง, น้ำในลำธารก็ลดลงด้วย, ทำให้การคืนน้ำสู่บาดาลยากยิ่งขึ้น”.
LEDeG is working on means to conserve water and regenerate groundwater resources. “We are planning a project in which we will divert some of the surface water and allow it to travel slowly to ensure seepage of water to the water table,” says Sultim.
LEDeG กำลังทำงานหาทางอนุรักษ์น้ำ และ ทำให้แหล่งน้ำบาดาลฟื้นคืนมา.  “เรากำลังวางแผนโครงการหนึ่ง ซึ่งเราจะผันน้ำเหนือดินบางส่วน และปล่อยให้มันไหลไปช้าๆ เพื่อให้แน่ใจว่า มันจะซึมลงสู่ใต้บาดาล”, ซัลติม บอก.
Another negative trend that is straining Ladakh’s water resources is the replacement of traditional dry toilets with water flush toilets. All of Leh’s hotels and guest houses have water flush toilets now, though a few also have dry toilets. A few households too have installed water flush toilets.
แนวโน้มลบอีกประการหนึ่ง ที่กดดันแหล่งน้ำของลาดัค คือ การแทนที่ส้วมแห้งแบบดั้งเดิมด้วยส้วมชะด้วยน้ำ.  โรงแรมและเกสต์เฮาส์ทั้งหมดของเลห์ ติดตั้งส้วมน้ำชะ, แม้ว่า บางแห่งจะมีส้วมแห้งด้วย.  มีไม่กี่ครัวเรือนที่ติดตั้งส้วมน้ำชะด้วย.
Dechen Chosto, a housewife in Leh town, is not one of them; her family is happy using a dry toilet. “They need no water, don’t stink and the compost can be used in our agricultural fields,” Chosto tells IPS.
เดเชน โชสโต, แม่บ้านในเมืองเลห์, ไม่ใช่หนึ่งในพวกนี้; ครอบครัวของเธอมีความสุขในการใช้ส้วมแห้ง.  “มันไม่จำเป็นต้องใช้น้ำ, ไม่เหม็น และ มูลหมักก็ใช้ในไร่เกษตรได้”, โชสโต กล่าว.
Dry toilets, indeed, are ideally suited for Ladakh’s cold climate, says Sultim. “They are easy to use in the winter here when everything else except the blood in the body freezes,” he adds.
อันที่จริง ส้วมแห้งเป็นส้วมอุดมคติที่เหมาะสมกับอากาศเหน็บหนาวของลาดัค, ซัลติม กล่าว.  “มันใช้ง่ายในฤดูหนาว เมื่อทุกอย่างยกเว้นเลือดในกาย แข็งตัว”, เขากล่าวเสริม.
“We cannot afford the luxury of water flush toilets,” says Tashi Tundup, an executive engineer in the public health engineering department in Leh. “Though I am all for change and want people to benefit from modern facilities, I am a strong votary of continuing with dry toilets in Leh,” he tells IPS.
“เรามีไม่พอที่จะใช้ส้วมน้ำชะที่หรูหรา”, ตาชิ ตุนดัป กล่าว, เขาเป็นวิศวกรบริหารใน กรมโยธาสาธารณสุข ในเลห์.  “แม้ว่าผมจะเห็นด้วยทั้งหมดกับการเปลี่ยนแปลงและต้องการให้ประชาชนได้ประโยชน์จากอุปกรณ์ทันสมัย, ผมเป็นผู้สนับสนุนที่เข้มแข็งให้ใช้ส้วมแห้งต่อไปในเลห์”, เขากล่าว.
Leh had so far not felt the need for a sewage system. However, with the growing number of hotels and guesthouses, sewage and waste from these establishments is flowing right into people’s backyards and even into the Leh stream which runs through the town.
จวบจนวันนี้ เลห์ไม่รู้สึกว่าจำเป็นต้องมีระบบน้ำเสีย.  แต่การเพิ่มจำนวนโรงแรมและเกสต์เฮาส์, น้ำเสียและขยะจากสถานที่เหล่านี้ กำลังไหลเข้าถึงหลังบ้านของประชาชน และ แม้แต่เข้าสู่ลำธารที่ไหลผ่านเมือง.
“They not only cause problems for people living in the lower parts, but are also contaminating our water,” says Rigzin Dorge, a resident of Sheynam, a village in the area. “We were better off with our own dry toilets.”
“มันไม่เพียงแต่สร้างปัญหาให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในที่ต่ำ, แต่ยังปนเปื้อนน้ำของเราด้วย”, ริคซิน ดอร์เก, ชาวบ้านใน หมู่บ้านใกล้คียง เชย์นัม,  กล่าว.  “ดีแล้วที่เราใช้ส้วมแห้งของเราเอง”.
LEDeG is now urging people to return to eco-friendly ways. “During our interactions with foreigners, we found that some of them had actually used dry toilets,” says Sultim. “This made us realise that our guests will respect our traditions if we ourselves retain them.”
ตอนนี้ LEDeG กำลังชักชวนประชาชนให้หวนกับไปวิถีที่เป็นมิตรกับนิเวศ.  “ในระหว่างที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับคนต่างชาติ, เราพบว่า ที่จริงบางคนใช้ส้วมแห้งได้”, ซัลติม กล่าว.  “นี่ทำให้เราตระหนักว่า แขกของเราจะเคารพขนบธรรมเนียมของเรา หากพวกเราเอง เป็นผู้รักษามันไว้”.
The organisation is now planning to publish posters and pamphlets to spread awareness about continuing with traditional practices.
ตอนนี้ องค์กรกำลังวางแผนจัดพิมพ์โปสเตอร์และแผ่นพับเพื่อแพร่กระจายความตื่นตัวเกี่ยวกับการปฏิบัติแบบดั้งเดิมต่อไป.
Related IPS Articles

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

300. ทฤษฎีง่ายๆ สู่สังคมเป็นสุขและอยู่รอด (WE), แต่จิตร่วมแห่งโลภะและหลง (ME) ปฏิเสธฟัง


300. Simple Theory for Societal Happiness and Survival (Solution WE), but Collective Mind of Greed and Ignorance (Problem ME) Refuse to Listen

Nirvana and Societal Happiness
นิพพาน และ สันติสุขของสังคม

A Sermon by Phra Khru Sudhammanat (Luang Pho Somnuek), Abbot of Wat Plak Mai Lai (Kamphaengsaen Distr., Nakhon Pathom Prov.) delivered to a group of Bhikkhuni (Thai, Vietnamese and Indonesian) led by Bhikkhuni Dhammananda, Head of Watra Songdhammakalyani (Nakhon Pathom Prov.), May 30, 2013
คำสอนโดย พระครูสุธรรมนาถ (หลวงพ่อสมนึก), เจ้าอาวาส วัดปลักไม้ลาย (จ.นครปฐม) ต่อ คณะภิกษุณี (ไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย) นำโดยพระภิกษุณีธัมมนันทา เจ้าสำนัก วัตรทรงธรรมกัลยาณี (จ.นครปฐม), ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖
(แปลจาก:  “ไปฟังเรื่องนิพพาน” โดย ธัมมสิริ,  พุทธสาวิกา (จดหมายบ่าว พสว), ฉบับที่ ๔๗ กค-กย ๒๕๕๖, หน้า ๑๖-๑๘)

The word “Nibbana” or “Nirvana” (นิพพาน, นิรวาน) is a conjugation of two root words: “nira” (นิร) = absence or no; “vana” (วาน) = binding (เครื่องผูกมัด).  Literally, “nirvana” means free from binding, not connected to, that is, free from the attachment to our being (ไม่มีเครื่องผูกมัดเรากับที่อยู่).

“I, WE” is nothing but a pile of 5 “khandha” = aggregates (ขันธ์ ๕:  รูป/ “rupa” = matter;  เวทนา/ “vedana” = feeling, sensation; สัญญา/ “sanna” = perception;  สังขาร/ “sankhara” = reaction;  วิญญาณ/ “vinnana” consciousness), and of 5 elements (ธาตุ: ดิน/earth;  น้ำ/water;  ลม/wind;  ไฟ/fire;  อากาศ/ether).  Our momental BEING is “bhava” = State (ภพ, ภว).  It is “atta” (อัตตา) = Ego or Identity (ตัวตน).  

Nowadays, people believe that atta is permanent, not changing, and full of ego/identity (ตัวตน).  But Buddha explained that matter, sensation, perception, reaction and consciousness are all “anatta”, impermanent, unsustainable.

The State “bhava” is the present moment in front of us, next life, or future.  If we have relationship with bhava, thus bhava exists.  If we don’t have relationship with bhava, our bhava is thus non-existing.  The BINDING or NIRVANA is in the middle between us and bhava.

No WE, no BHAVA.   To attain nirvana is to be without I/WE, if we can do it.  The problem is whether we can do it.

If we believe in the existence of ego/identity, such belief makes we feel that we can’t attain nirvana.  But if we believe that such a belief is false, then we can rethink: ego/identity is impermanent, unstable, and unsustainable.

What then is impermanent?  Matter, sensation, perception, reaction and consciousness are non-identity (ไม่มีตัวตน) that we can extinguish them.  Well, we may or may not be able to do it.  But in theory, and really, they all can be extinguished.  How?

Buddha said that they were born because some deeds enable them to be born/emerge.  They were born because there was urge or desire to be born, i.e., from 3 factors: “kilesha” (กิเลส = defilement), “karma” (กรรม = deed, action), and “vipaka” (วิบาก = consequences of that deed).   But the root causes of all these three factors are “avijja” (อวิชชา), that is, ignorance of what is “dukkha” (ทุกข์ = suffering).  Our existence today is suffering.

Buddha explained that if we don’t want to be born again, then don’t create causes necessitating birth.  To be able to realize birth is undesirable, one must be able to realize the ill-effect of birth, that it is not good; and must be able to see both the good side and bad side of birth.  Nowadays, people desire for birth because they can see only the positive side, those that are useful and happy.  But if we can see the harm, we will cut them off, no more desire for them.  If we realize that the net effect is bad more than good, we will decide not to be born again, when we realize that this body is no good, full of suffering.  Once we realize this, we will not be born in such a body of suffering.  Many people misunderstood this teaching, because they misunderstood atta.

What is atta?  Buddha explained this in Anattalakkhana Sutra : matter, sensation, perception, reaction and consciousness are not atta.  If they are atta, one will never get sick, instead one would be permanent and eternal, not becoming anything else.

Let’s contemplate on the state of being, not the feeling.  For example, you may think that this table has no feeling therefore no suffering, but can it exist forever?  When everything in the world has to undergo an impermanent state, in the flux of fluctuation and change; that is suffering.  Then where is atta?

When we understood the meaning of atta, nirvana becomes easier.   Now, we know that where ego exists, there is high probability for the ego to be bound.

If there is no binding or attachment, can ego exist?  If we have ego, we must let go of the ego, not focusing on dropping the binding.  What it means is that there is no binding, if there is no ego.  As long as ego exists, the binding also exists.  Because of false understanding that atta is real, thus the binding is there, too.

For example, can we tie a string to the hand of a monkey?  We think that a monkey has a hand, but in fact, a monkey has 4 hands.  Then how can we tie the hands of a monkey?  Oh, we have false understanding.

Similarly, we know that body and mind are non-substance, not ego/identity (ตัวตน), then where is the atta to be bound/tied to?  Once we realize this, we are free, leaping out of suffering, away from the binding, that is, nirvana/nibbana.

Only with right understanding of nirvana can one apply such theory to dhammic training to others.  Luang Pho then continued with simple questioning. “Is this hand mine?  Is it ME?  Must I take care of it?  Why?” 

Buddha taught, for any bad deeds, be careful, don’t do them.   Buddha then taught, anything good, how you ought to do it so that it proliferates.

Some people may think or criticize that Buddha’s teaching is not dramatic or profound.  Looking back to Buddha’s time when there were many prophets preaching their religions, Buddha must be engaged in debates with Brahmins and diverse scholars of different philosophical thoughts.  Buddha would not answer any questions that could not be perceived in reality, for example, the world is permanent or impermanent; which prophet is better.  Buddha would ask and answer only those topics that happened in reality by rephrasing the questions and asking the inquirers back in front of the public.  The process of didactical questioning, or pedagogical approach, went on until the inquirers thoroughly investigated their own thoughts by themselves, guided by the re-questioning, and came to term with them.  Such situations happened to the point that the followers of the inquiring religious leaders complained that why not their teachers cornered, but yielded to, Buddha.  Some of these teachers even attained enlightenment during such a challenging process.

Luang Pho then asked, “Since our hands are non-existing, not OURS, can we give them away?”  The answer is, no, because, they are not belonging to us alone.  They belong to our parents, to our siblings and relatives, to our friends, neighbors, communities, to our nation, and to the world.  Everyone in the world is under the same situation.

Knowing that it is not ours, then do we have to take care of it?
If we borrow a car from our friend, do we need to take care of it?
When visiting our friend’s home, do we need to be careful not to cause any damage in his/her house?
Even things are not ours, we need to be careful.  Buddha issued “sila” (ศีล) for his followers to observe, to be careful.

Some taught that all things are zero, a void of vacuum, so no need to pay attention to anything.  But Buddha taught the middle path: to derive benefit for self and for others, too, i.e., take good care of yourself, and also look after the welfare of others.

We bought a car; the car has four wheels.  A robber stole away all the four wheels.  Those wheels belong to the car or to us?

Now come back to our first question: Does this hand belong to me alone?  Since my body is not mine alone, I need to maintain it well.  Even the pets we feed them, they are our bosses, because they know that we love them, and as their owners will protect them.  For everything in the world, in one way or the other, we are related to all of them.  We must not think that we are the absolute owners of anything alone.  Others, too, have their share of ownership.  For example, roads, rivers, streams, trees, mountains…we have relationship with them all.  Everyone has mutual ownership, so what should we do? 

Such discourse is theoretical.  If we understand theory well, we will be able to practice rightly.  Then society will be peaceful and happy because no selfishness but kindness and generosity “metta” to each other.