วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

260. บูรณะความหมายของอาหาร และ การแลกเปลี่ยนท้องถิ่น: เอกัวดอร์


260.  Reconstructing Meaning of Food and Local Exchange Relation: Ecuador

Local food systems: Tzimbuto and Canasta Utopia
 Written  by Francisco Lema , Sonia Zambrano , Pedro J. Oyarzun , Ross Mary Borja
ระบบอาหารท้องถิ่น: ทิมบูโต และ คานาสตา ยูโทเปีย
-ฟรานซิสโก เลมา ฯลฯ
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
In December 2012 Farming Matters ran an article about “Development 3.0”, highlighting the importance of showcasing peoples’ experiences as an inspiration for social change. The Canastas Comunitarias, a movement started by families to address their concerns over food prices (and presented in vol. 28.3 of our magazine) provides a clear example of this approach. Today, the movement has expanded to six cities in Ecuador and has diversified to address new concerns, but remains a perfect example of the benefits of local food systems.
ในเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ FM ได้ลงบทความเกี่ยวกับ “การพัฒนา ๓.๐”, ชูความสำคัญของการแสดงประสบการณ์ของประชาชน ในฐานะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม.  Canastas Comunitarias, เป็นการเคลื่อนไหวที่เริ่มโดยครอบครัวเพื่อตอบโจทย์ความห่วงใยของพวกเขาต่อเรื่องราคาอาหาร เป็นตัวอย่างชัดเจนในแนวทางนี้.  วันนี้, การเคลื่อนไหวได้ขยายไปอีก ๖ เมืองในเอกัวดอร์ และ ได้แตกสาขาในการตอบโจทย์ข้อห่วงใยใหม่๐, แต่ยังคงเป็นตัวอย่างดีเยี่ยมของประโยชน์ของระบบอาหารท้องถิ่น.

Farming Matters | 29.2 | June 2013
Better incomes, healthy food, a stronger organisation. Photo: EkoRural
Over several decades, intermediaries have acquired more and more power in influencing how urban families in Ecuador acquire their food. As part of this process, the urban population has progressively lost track of the different relationships and meanings generated through food procurement.
กว่าหลายทศวรรษ, คนกลางได้เพิ่มพูนอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ ในการสร้างอิทธิพลต่อครอบครัวชาวเมืองในเอกัวดอร์ในเรื่องการซื้อหาอาหาร.  เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้, ประชากรเมืองก็ค่อยๆ หลงลืมความสัมพันธ์และความหมายต่างๆ ที่เกิดจากการหาอาหาร.
At the same time, agricultural production is less shaped by the local context and culture. The growing distance between producers and consumers means that consumers have lost touch with the farms or region where their food comes from, producers don’t know who will eat their products, and both groups are increasingly vulnerable to the interests of intermediaries.
ในขณะเดียวกัน, การผลิตทางเกษตรก็อยู่กำกับอยู่ในบริบทและวัฒนธรรมของท้องถิ่นน้อยลง.  ระยะทางระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ห่างไกลกันมากขึ้น หมายความว่า ผู้บริโภคได้สูญความสัมพันธ์กับไร่นา หรือ ภูมิภาค ที่มาของอาหารที่พวกเขากิน, ผู้ผลิตไม่รู้ว่าใครจะกินผลผลิตของพวกเขา, และ ทั้งสองฝ่ายต่างเปราะบางมากขึ้นภายใต้ผลประโยชน์ของคนกลาง.
The development of longer chains is a main characteristic of the modern food system. Consumers and producers do not know one another (and it is becoming increasingly difficult for them to know one another), farmers’ incomes are falling, consumers’ choices are limited, and diets are less varied and less healthy.
การพัฒนาห่วงโซ่ยาวยิ่งขึ้น เป็นลักษณะหลักของระบบอาหารสมัยใหม่.  ผู้บริโภคและผู้ผลิต ไม่รู้จักกัน (และก็ยากขึ้นเรื่อยๆ ที่พวกเขาจะรู้จักกัน), รายได้ของเกษตรกรลดลง, ทางเลือกของผู้บริโภคจำกัด, และ โภชนาการก็ซ้ำๆ จำกัดชนิดและไม่แข็งแรง.
Based on a renewed relationship between producers to consumers, the concept of local food networks is becoming increasingly relevant. Various examples of direct access to markets, or of “shortcuts to commercialisation”, have emerged as a reaction to the growing power exerted by intermediaries and a handful of supermarkets, showing that families, when they organise, have the potential to change a difficult situation.
บนพื้นฐานของการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค, กรอบคิดเรื่องเครือข่ายอาหารท้องถิ่น กำลังกลายเป็นเรื่องเข้าท่ามากขึ้น.  ตัวอย่างต่างๆ ของการเข้าถึงตลาดโดยตรง, หรือ “ทางลัดของการพาณิชย์”, ได้ผุดขึ้นเป็นปฏิกิริยาต่อการขยายอำนาจที่คนกลางและซูเปอร์มาร์เก็ตหยิบมือสร้างอิทธิพล, เป็นการแสดงว่า ครอบครัว, เมื่อรวมตัวเป็นกระบวน, มีศักยภาพเปลี่ยนสถานการณ์ที่ยากลำบากได้.
One of the best examples is that of the Canastas Comunitarias. These started in the 1980s as urban consumer groups, with members pooling funds to make bulk purchases, which are then divided among the families in the group, giving them substantial savings. Today, the Canastas Comunitarias are a national network of urban, lower class families who have crafted an alternative model that helps them save money, while providing access to quality food.
ตัวอย่างดีที่สุดหนึ่ง คือ Canastas Comunitarias ที่เริ่มในทศวรรษ ๒๕๒๓-๓๓ ในฐานะกลุ่มผู้บริโภคเมือง, โดยสมาชิกลงขันรวมเงินเพื่อซื้อแบบเหมาโหล, แล้วก็แบ่งกันระหว่างครอบครัวในกลุ่ม, ทำให้พวกเขาออมเงินได้เป็นกอบเป็นกำ.  ทุกวันนี้ Canastas Comunitarias เป็นเครือข่ายระดับชาติของครอบครัวชนชั้นล่างในเมือง ผู้ได้สร้างโมเดลทางเลือกที่ช่วยให้พวกเขาประหยัดเงิน,ในขณะที่ช่วยให้เข้าถึงอาหารคุณภาพ.
But what first started as a collective purchasing mechanism to save citizens money, slowly led participants to question the origins and ways in which the food they consume is produced. Many consumers openly started to question the value of saving money by buying food produced with chemical inputs. This encouraged them to approach farmers in search for answers and closer ties, helping the Canastas Comunitarias to become a tool to strengthen the relationship with producers.
แต่สิ่งที่เริ่มจากเป็นกลไกซื้อของร่วมกัน เพื่อประหยัดเงินของพลเมือง, ค่อยๆ นำให้ผู้เข้าร่วมตั้งคำถามต่อแหล่ง และ วิธีการผลิตของอาหารที่พวกเขากิน.   ผู้บริโภคหลายคนเริ่มตั้งคำถามอย่างเปิดเผยต่อคุณค่าของการประหยัดเงินจากการซื้ออาหารที่ผลิตด้วยวัสดุเคมีภัณฑ์.   นี่กระตุ้นให้พวกเขาเข้าหาเกษตรกรเพื่อหาคำตอบและสัมพันธ์ใกล้ชิดขึ้น, เป็นการช่วยให้ Canastas Comunitarias กลายเป็นเครื่องมือ เพื่อเสริมสร้างสายสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับผู้ผลิต.

Tzimbuto and Canasta Comunitaria Utopía
ทิมบูโต และ Canastas Comunitar ยูโทเปีย

Both groups have learnt about the importance of a sustainable approach to agriculture
ทั้งสองกลุ่มได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของแนวทางยั่งยืนสู่การเกษตร
With approximately 250 inhabitants, Tzimbuto is a small, rural community located in the province of Chimborazo, in Ecuador’s central highlands. It is one of the areas where EkoRural, a local development organisation, had been supporting a farmer-led initiative.
ด้วยประชากรประมาณ ๒๕๐ คน, ทิมบูโต เป็นชุมชนชนบทเล็กๆ ในจังหวัด ชิมโบราโซ, ในที่สูงตอนกลางของเอกัวดอร์.  มันเป็นพื้นที่หนึ่งที่ ชนบทนิเวศ (EkoRural), องค์กรพัฒนาท้องถิ่นแห่งหนึ่ง, ได้ให้การสนับสนุนโครงการที่เกษตรกรเป็นผู้ริเริ่ม.
Farmers have different plots spread throughout the area, where they grow a variety of crops. At an average altitude of 3,000 m above sea level, these plots contain various crops, medicinal plants and fruit trees, forming a mosaic of diversity.
เกษตรกรมีแปลงเพาะปลูกกระจายทั่วพื้นที่, ที่พวกเขาได้ปลูกพืชชนิดต่างๆ.   ในระดับสูงเฉลี่ย ๓,๐๐๐ เมตรเหนือระดับทะเล, แปลงเหล่านี้มีพืชหลากชนิด, สมุนไพร และ ผลไม้, เป็นภาพลวดลายของความหลากหลายทางชีวภาพ.
At the beginning of 2010, the Asociación Nueva Generación, which is mostly made up of women from Tzimbuto, met the leaders of Canasta Comunitaria Utopía, one of Ecuador’s oldest canastas, which is based in the nearby city of Riobamba. Having previously worked with both groups, EkoRural saw the opportunity to bring together their complementary interests around food consumption and production, and facilitated the initial meetings. Our interest in building stronger consumer- producer relationships was mainly a response to the producers’ recurring preoccupation with their limited bargaining power, the low prices they received for their products, and the seemingly unjust benefits that families – both urban and rural – gave to intermediaries.
ในต้นปี ๒๕๕๓, สมาคมคนยุคใหม่, ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงจากทิมบูโต, ได้พบกับผู้นำของ Canasta Comunitaria Utopía, หนึ่งใน คานาสตา ที่เก่าแก่ที่สุดของเอกัวดอร์, ซึ่งอยู่ในเมืองใกล้ ริโอแบมบา.  เนื่องจากได้เคยทำงานกับทั้งสองกลุ่มมาก่อน, ชนบทนิเวศ เห็นโอกาสที่จะเชื่อมความต้องการเชิงเกื้อกูลกันของทั้งสองเรื่องการบริโภคและการผลิตอาหาร, และอำนวยความสะดวกให้เกิดการพบปะครั้งแรก.   ความสนใจของเราในการสร้างความสัมพันธ์ ผู้บริโภค-ผู้ผลิต ที่เข้มแข็ง ส่วนใหญ่ เป็นการตอบสนองต่อความหมกมุ่นของผู้ผลิตที่เกิดซ้ำๆ ว่าพวกเขามีอำนาจต่อรองจำกัด, ราคาต่ำที่พวกเขาได้รับสำหรับผลผลิต, และ ผลประโยชน์ที่ดูเหมือนไม่เป็นธรรมที่ครอบครัว—ทั้งเมืองและชนบท—ที่ให้กับคนกลาง.
Three years later, around 50 farmers regularly deliver their products to the canasta, and these are taken to consumers in Riobamba. Today, the producers provide approximately 25% of the purchases made by the Canasta Utopía (and about 50% of the vegetables). The Tzimbuto farmers make an average profit rate of 80% – approximately twice what they make when selling the same products to the wholesale retailer. Their association is also stronger than before and they have put mechanisms in place to encourage other neighbours to join.
สามปีต่อมา, เกษตรกรประมาณ ๕๐ คน ได้นำส่งผลผลิตให้ คานาสตาเป็นปกติ, และก็ส่งต่อไปให้ผู้บริโภคใน ริโอแบมบา.  ทุกวันนี้, ผู้ผลิตบริการสินค้าถึง 25% ของการซื้อของ Canasta Utopía (และประมาณ 50% ของผัก).  เกษตรกรทิมบูโต ทำกำไรได้ในอัตราเฉลี่ย 80%--ประมาณสองเท่าของที่พวกเขาเคยขายผลผลิตอย่างเดียวกันได้กับผู้ขายส่ง.  สมาคมของพวกเขาแข็งแรงมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และพวกเขาได้ปรับวางกลไกให้เข้าที่ เพื่อส่งเสริมให้เพื่อนบ้านอื่นๆ เข้าร่วม.
At the same time, the advantages for members of the canasta in Riobamba are clear: they pay half of what they would otherwise have to pay in the city supermarkets or retailers. The canasta pays the farmers in Tzimbuto the same that they paid to wholesalers in the past, but get better quality products (environmentally-friendly products, free from pesticides and other chemicals) for the same price.
ในขณะเดียวกัน, ข้อได้เปรียบของสมาชิกคานาสตาในริโอแบมบา เห็นได้ชัด.  พวกเขาจ่ายครึ่งหนึ่งของราคาที่จะต้องจ่ายให้ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านขายปลีกในเมือง.  คานาสตา จ่ายให้เกษตรกรในทิมบูโต ในราคาที่พวกเขาเคยจ่ายให้ร้านขายส่งในอดีต, แต่ได้รับผลผลิตที่มีคุณภาพดีกว่า (ผลิตผลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, ไร้ยาฆ่าแมลงและสารเคมีอื่นๆ) ในราคาเดียวกัน.

Not only economic, but also social and environmental benefits. An enormous potential for change. Photos: EkoRural
Establishing linkages / สร้างความเชื่อมโยง

While stronger links between consumers and producers give many advantages, building these new relationships is not always a straightforward process. We saw some initial difficulties because of the cultural differences between the rural and urban families, and some producers found it difficult to avoid the use of pesticides and other harmful production practices that they were used to. This created some difficulties when trying to co-ordinate the efforts of both parties, ensure the quality of all products, and build a trust-based relationship.
ในขณะที่ความเชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิตมีข้อได้เปรียบหลายประการ, การสร้างความสัมพันธ์ใหม่ๆ เหล่านี้ ไม่ใช่กระบวนการที่ตรงไปตรงมาเสมอไป.  เราได้เห็นความยากลำบากในตอนต้น เพราะวัฒนธรรมที่แตกต่างระหว่างครอบครัวชนบท และ ครอบครัวเมือง, และผู้ผลิตบางคนก็พบว่า ยากที่จะไม่ใช้ยาฆ่าแมลงและวิธีการปฏิบัติที่อันตรายอื่นๆ ที่พวกเขาเคยใช้.   อันนี้สร้างความยุ่งยากเมื่อพยายามประสานความพยายามต่างๆ ของทั้งสองฝ่าย, สร้างหลักประกันคุณภาพของผลผลิตทั้งหมด, และ สร้างความสัมพันธ์บนพื้นฐานของความเชื่อใจกัน.
Yet all the participants found that working together for change opened up exciting new possibilities, starting with the identification of the relationships and reciprocities that had been lost, and which they all wanted to rebuild. Both groups wanted a good business deal; consumers also wanted to gain access to healthy food, while farmers were interested in knowing more about those eating their products, their tastes and preferences. Members of the Asociación began planning in detail what to grow and when, organising a more efficient way of providing the required products.
แต่ผู้เข้าร่วมทั้งหมดพบว่า การทำงานร่วมกันเพื่อการเปลี่ยนแปลง ได้เปิดโอกาสของความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น, เริ่มต้นด้วยการระบุความสัมพันธ์ และ การแลกเปลี่ยนพึ่งพาอาศัยกันที่ได้สูญหายไปแล้ว, และ สิ่งที่พวกเขาทั้งหมดต้องการสร้างขึ้นมาใหม่.  ทั้งสองกลุ่มต้องการธุรกรรมที่ดี, ผู้บริโภคก็ต้องการเข้าถึงอาหารที่แข็งแรง, ในขณะที่เกษตรกรก็สนใจที่จะรู้มากขึ้น เกี่ยวกับคนที่กินผลผลิตของพวกเขา.  สมาชิกของสมาคมเริ่มวางแผนอย่างละเอียดว่าต้องการจะปลูกอะไร และ เมื่อไร, เป็นการจัดกระบวนการส่งผลผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น.
A process of produce diversification led to the introduction of new species and varieties, including indigenous potato varieties and crops such as mashua (Tropaeolum tuberosum), oca (Oxalis tuberosa), arracha (Arracacia xantorrhiza), and melloco (Ullucus tuberosus), all of which became gradually available for selling and consumption. In addition, farmers started paying more attention to their own farming practices, the clear advantages of crop rotations, associations, and the use of manure. Looking back, these practices have had a major impact on the availability of new foods for families in both Tzimbuto and Riobamba.
กระบวนการผลิตที่หลากหลาย ได้นำไปสู่นำพืชชนิดและสายพันธุ์ใหม่มาใช้, รวมทั้งสายพันธุ์มันเทศ เช่น mashua (Tropaeolum tuberosum), oca (Oxalis tuberosa), arracha (Arracacia xantorrhiza), และ melloco (Ullucus tuberosus), ทั้งหมดทะยอยพร้อมขายและบริโภค.  นอกจากนี้ เกษตรกรได้เริ่มให้ความสนใจเพิ่มขึ้นในปฏิบัติการเพาะปลูกของพวกเขา, ข้อได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัดจากการปลูกพืชหมุนเวียน, สมาคม, และการใช้ปุ๋ยคอก.  มองย้นกลับไป, ปฏิบัติการเหล่านี้ ได้ทำให้เกิดผลกระทบต่อการมีขึ้นของอาหารชนิดใหม่ๆ สำหรับครอบครัวทั้งใน ทิมบูโต และ ริโอแบมบา.
How to achieve all this was essential for a lasting change. The farmers agreed on the need to strengthen their own organisation and to assign clear roles and responsibilities within it. They also agreed to capitalise their organisation by giving back to the group twice as much as they receive from it (in the form of inputs, seeds and other materials). To guarantee the origin and quality of production, the association created a committee to oversee all operations, and named a community leader to ensure that the products meet the established criteria.
กระบวนการที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายนี้ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน.  เกษตรกรเห็นพ้องกับความจำเป็นที่ต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่องค์กรของตน และ ในการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบที่ชัดเจนภายในองค์กรด้วย.   พวกเขาก็ยังเห็นพ้องกับสั่งสมทุนให้กับองค์กรของตน ด้วยการบริจาคเงินให้แก่กลุ่มมากเป็นสองเท่าของที่พวกเขาได้รับจากองค์กร (ในรูปของวัสดุ, เมล็ด และ วัตถุอื่นๆ).   เพื่อสร้างประกันแหล่งกำเนิดและคุณภาพของการผลิต, สมาคมได้จัดตั้งคณะกรรมการให้ดูแลการดำเนินการ, และเลือกผู้นำชุมชน เพื่อให้แน่ใจว่า ผลผลิตสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่ได้กำหนดขึ้น.
Without a doubt, the successes seen have been the result of the leadership efforts of farmer members like Elena Tenelema, and of the inspiration and motivation of Roberto Gortaire, Lupe Ruiz and all those behind the canastas. There is now a co-ordinated system of production and delivery in place which gives all members the opportunity of participating, and benefitting.
ไม่ต้องสงสัย, ความสำเร็จที่ได้เห็น เป็นผลจากความพยายามของภาวะผู้นำของสมาชิกเกษตรกร เช่น เอลีนา เทเนเลมา, และแรงบันดาลใจและกระตุ้นของ โรเบอร์โต กอร์แตร์, ลูเป รูอิซ  และ ทุกคนที่อยู่ข้างหลัง คานาสตา.  ตอนนี้มีระบบประสานงานของการผลิตและการจัดส่ง ที่เปิดโอกาสให้สมาชิกทั้งหมดได้มีส่วนร่วมและได้ประโยชน์.

A force for change / พลังแห่งการเปลี่ยนแปลง

The link between Canasta Comunitaria Utopia and Tzimbuto demonstrates that the creation of new, healthier relationships between urban and rural families has clear and direct benefits. These are not limited to the creation of a more stable market, better prices for farmers and better quality products for consumers.
ความสัมพันธ์ระหว่าง คานาสตา คอมมูนิทาเรีย ยูโทเปีย และ ทิมบูโต แสดงให้เห็นว่า การสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแรงกว่าขึ้นใหม่ ระหว่างครอบครัวเมืองและชนบท มีผลประโยชน์ที่ชัดเจนและตรง.  มันไม่ได้จำกัดที่การสร้างตลาดที่เสถียรกว่า, ราคาดีกว่าสำหรับเกษตรกร และ ผลผลิตที่ดีกว่าสำหรับผู้บริโภค.
Both groups have also learnt about the importance of a sustainable approach to agriculture, of having a strong organisation, about the role and contribution of volunteers, the need to plan and co-ordinate activities in detail, and also about quality – something that faceless consumers never demand. These efforts are showing how the commercialisation of farm products can become a major force for healthier living, with immediate (and highly positive) economic, social and environmental consequences. This is all even clearer when we take the true costs of modern food into account.
ทั้งสองกลุ่มได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของแนวทางที่ยั่งยืนสู่การเกษตร, ของการมีองค์กรที่เข้มแข็ง, เกี่ยวกับบทบาทและคุณูปการของอาสาสมัคร, ความจำเป็นที่ต้องวางแผนและประสานกิจกรรมในรายละเอียด, และเกี่ยวกับคุณภาพด้วย—บางสิ่งที่ผู้บริโภคที่ไร้ใบหน้า ไม่เคยเรียกร้อง.   ความพยายามเหล่านี้กำลังแสดงให้เห็นว่า การพาณิชย์ของผลผลิตเกษตร สามารถกลายเป็นพลังหลัก เพื่อการดำรงชีพที่มีสุขภาวะ สุขอนามัย และแข็งแรง, ซึ่งมีผลทันที (และเป็นบวกยิ่ง) ในเชิงเศรษฐกิจ, สังคม และ สิ่งแวดล้อม.   ทั้งหมดนี้ยิ่งชัดเจนขึ้น เมื่อเราคำนึงถึงต้นทุนที่แท้จริงของอาหารสมัยใหม่ด้วย.
There is an enormous potential for strengthening such practices that are based on people’s inter-dependence and their endless creativity. The existing wealth that is already invested in food production and consumption can be used to strengthen urban and rural organisations. It can also help address the exclusion of certain sectors in our communities and societies and open up spaces for more pluralism and democracy, for example, by involving schools, hospitals, and community organisations. Eating is perhaps our most basic activity, but its potential as a tool for change has been neglected and forgotten. The resources are already in place. They just need to be re-invested and re-placed for new social purposes.
มีศักยภาพมหาศาลเพื่อเสริมความเข้มแข็งให้แก่ปฏิบัติการเหล่านี้ ที่ตั้งอยู่บนความพึ่งอิงระหว่างกันของประชาชน และ ความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขาที่ไม่มีวันหมด.  ความมั่งคั่งที่มีอยู่ที่ได้ลงทุนอยู่แล้วในการผลิตและการบริโภคอาหาร สามารถใช้เพื่อทำให้องค์กรเมืองและชนบทเข้มแข็ง.  มันยังสามารถช่วยแก้ปัญหาของการกีดกันคนบางกลุ่มในชุมชนและสังคมของเรา และ เปิดพื้นที่สำหรับสังคมพหุและประชาธิปไตย, เช่น, ด้วยการรวมโรงเรียน, โรงพยาบาล และองค์กรชุมชนเข้ามาด้วย.  การกิน คงเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่สุดของพวกเรา, แต่ศักยภาพของมันในฐานะเครื่องมือสำหรับการเปลี่ยนแปลงได้ถูกละเลยและหลงลืมไปแล้ว.   ทรัพยากรมีอยู่แล้ว.  เพียงแต่ต้องมีการลงทุนอีกครั้ง และ จัดวางใหม่อีกครั้ง เพื่อเป้าประสงค์ทางสังคมใหม่.

Further reading:
Development 3.0: Development practice in transition (Farming Matters, December 2012)

Ross M. Borja, Pedro Oyarzún, Sonia Zambrano and Francisco Lema

Ross Borja, Pedro Oyarzún, Sonia Zambrano and Francisco Lema work at Fundación EkoRural, Quito, Ecuador.
E-mail: rborja@ekorural.org

The authors acknowledge the valuable inputs of the leaders and members of both organisations, as well as their passion and commitment. They thank Carlos Perez and Claire Nicklin for their advice, and the McKnight Foundation for its support. The valuable comments of Jason Donovan of ICRAF and Steve Brescia of Groundswell International are also acknowledged.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น