241. Indigenous Seeds
and Survive-ability of Humanity
Genes are Gems for Food Security
By Busani Bafana
ยีนส์ (พันธุกรรม)
เป็นมณีล้ำค่าสำหรับความมั่นคงทางอาหาร
-
บูซานิ บาฟานา
ดรุณี
ตันติวิรมานนท์ แปล
What can savvy global financial market traders learn from
humble smallholder farmers in developing countries? Risk management in the face
of climate change.
นักค้าตลาดการเงินที่ชาญฉลาดจะเรียนรู้จากเกษตรกรรายย่อยที่ถ่อมตัวในประเทศกำลังพัฒนาได้อย่างไร?
การจัดการความเสี่ยงท่ามกลางภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง.
“Farmers, particularly in the smallholder sector, are good
risk managers because their fields usually have a diversity of crops in order
to manage risk and ensure food security,” Linda Collette, secretary of the
Commission on Genetic Resources for Food and Agriculture, tells TerraViva on
the sidelines of the 38th conference of the Food and Agricultural Organisation
of the United Nations (FAO), which opened in Rome on Jun. 15.
“เกษตรกร,
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคส่วนรายย่อย, เป็นผู้จัดการความเสี่ยงที่ดี เพราะ
ไร่นาของพวกเขาปกติจะมีพืชพันธุ์หลากหลาย
เพื่อจัดการความเสี่ยงและประกันความมั่นคงทางอาหาร”, ลินดา คอล์เล็ตเต, เลขาฯ
ของคณะกรรมธิการทรัพยากรพันธุกรรมเพื่ออาหารและเกษตร, กล่าวต่อ เทอร์ราวิวา
ในระหว่างการประชุมของ FAO ครั้งที่ ๓๘, ที่เปิดขึ้นในกรุงโรม
เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน.
“Especially now when biodiversity is under threat from many
factors, including climate change.”
“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ตอนนี้ เมื่อความหลากหลายทางชีวภาพกำลังถูกคุกคามจากหลายปัจจัย,
รวมทั้งภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง”.
Linda Collette, Secretary of
the Commission on Genetic Resources for Food and Agriculture, Credit, Busani
Bafana/ IPS
The 30-year-old Commission is the only permanent forum for
governments to discuss and negotiate matters specific to biological diversity
for food and agriculture. Genetic resources contained in crops, trees, marine
and animal species are valuable in maintaining biodiversity in food systems.
Genes are the molecular unit which contain the heredity of living organisms.
คณะกรรมาธิการที่มีอายุ
๓๐ ปี
เป็นเวทีถาวรเพียงพื้นที่เดียวเพื่อให้บรรดารัฐบาลได้อภิปรายและต่อรองกันในเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับ
ความหลากหลายทางชีววิทยาสำหรับอาหารและเกษตร.
ทรัพยากรพันธุกรรม ที่อยู่ในพืช, ต้นไม้, สัตว์ทะเล และ
สายพันธุ์สัตว์ต่างๆ ล้วนมีคุณค่าในการธำรงความหลากหลายทางชีวภาพในระบบอาหาร. พันธุกรรม เป็นหน่วยระดับโมเลกุล
ที่เป็นกรุมรดกของสิ่งมีชีวิตทั้งปวง.
Global genetic resources are invaluable for food security,
nutrition and livelihoods. The world should be worried about the future of
food, Collette says, if no action is taken to conserve them and use them
sustainably.
ทรัพยากรพันธุกรรมโลก
มีคุณค่าอย่างยิ่งยวด สำหรับความมั่นคงทางอาหาร, โภชนาการ และวิถีชีวิต. ชาวโลกควรจะกังวลถึงอนาคตของอาหาร, คอล์เล็ตเต
กล่าว, หากไม่มีปฏิบัติการใดๆ ในการอนุรักษ์ และ ใช้พวกมันอย่างยั่งยืน.
Genetic diversity — the root of biodiversity and therefore
important for agriculture — is being
lost at an alarming rate due to factors such as climate change, loss of natural
habitats, environmental degradation and population growth. An info graphic
developed by FAO paints a worrisome picture of the future of food.
ความหลากหลายทางพันธุกรรม—รากเหง้าของความหลากหลายทางชีวภาพ
และดังนั้น สำคัญสำหรับเกษตร—กำลังสูญหายไปในอัตราที่น่าตกใจ เพราะปัจจัย เช่น
ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, การสูญหายของถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ,
ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และ การขยายประชากร. ผังข้อมูลที่พัฒนาโดย FAO ฉายภาพที่น่าห่วงกังวลของอนาคตอาหาร.
What’s needed to correct the situation is an improvement in
policy and legal frameworks on food security, as well as the integration of
genetic resources and biodiversity into the development agenda, according to
the Commission — which will table its Second Global Plan of Action at this
week’s conference in Rome.
สิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว
คือ การปรับปรุงนโยบายและกรอบกฎหมายด้านความมั่นคงทางอาหาร, ตลอดจน
ผนวกรวมทรัพยากรพันธุกรรม และ ความหลากหลายทางชีวภาพ ลงในวาระการพัฒนา,
ตามข้อมูลจากคณะกรรมาธิการ—ที่จะนำเสนอ แผนปฏิบัติการโลก ฉบับที่สอง
ในการประชุมสัปดาห์นี้ในกรุงโรม.
“We cannot have food if we do not use and manage our genetic
resources,” Collette says. “When we reduce some genetic resources, this also
reduces their genetic pool that provides resilience and traits that might be
helpful in the future.”
“เราไม่สามารถจะมีอาหาร
หากเราไม่ใช้และจัดการทรัพยากรพันธุกรรมของเรา”, คอล์เล็ตเต กล่าว. “เมื่อเราลดทรัพยากรพันธุกรรม,
ก็จะเป็นการลดบ่อเกิดพันธุกรรมของพวกมัน ที่ทำให้พวกมันยืดหยุ่น
และเป็นลักษณะพิเศษ ที่อาจมีประโยชน์ในอนาคต”.
As climate change stalks global agriculture, researchers
should collaborate with smallholder farmers in enhancing the diversification of
crops that use water differently and more efficiently to ensure food security,
says Dr. Emile Frison, director-general of Bioversity International.
ในขณะที่ภูมิอากาศแปรปรวนเดินย่องตามเกษตรโลก,
นักวิจัยควรร่วมมือกับเกษตรกรรายย่อย ในการเพิ่มความหลากหลายของพืช ที่ใช้น้ำต่างๆ
กัน และ เป็นการประกันความมั่นคงทางอาหารที่มีประสิทิภาพมากกว่า, ดร.อิมิเล
ฟริสัน, ผอ ความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างประเทศ.
Adopting a plant diversity approach, according to Frison,
has the double benefit of protecting biodiversity and ensuring food security
for farmers. “Water is going to be a limiting factor in the future and our
interest is in how to make use of this scarce resource for the benefit of
smallholder farmers who value biodiversity to manage risks.”
ตามความเห็นของฟริสัน,
การยอมรับแนวทางของความหลากหลายของพืช เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว คือ
ปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และ ประกันความมั่นคงทางอาหารสำหรับเกษตรกร. “น้ำจะกลายเป็นปัจจัยจำกัดในอนาคต และ
เป็นความสนใจของพวกเราที่จะใช้ทรัพยากรหายากนี้
เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรรายย่อย ผู้ให้คุณค่าแก่ความหลากหลายทางชีวภาพ
เพื่อการจัดการความเสี่ยง”.
Through its research, Bioversity is availing many crop
varieties to farmers that match their current needs, especially in a changing
climate. Under its Seeds for Needs project in Ethiopia, the organisation has
used Geographic Information System (GIS) technology — which visualises
geographic and meteorological data and trends– to find out which plant
varieties in gene banks will be suitable in different areas and rainfall
conditions and make these available to farmers there.
ด้วยการวิจัย,
ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ให้สายพันธุ์พืชมากมายแก่เกษตรกร
ที่เหมาะเจาะกับความต้องการปัจจุบันของพวกเขา, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง. ภายใต้
โครงการ “เมล็ดเพื่อความจำเป็น” ในเอธิโอปีย, องค์กรได้ใช้ เทคโนโลยี GIS
(ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์)—ที่ทำให้เห็นภาพความสัมพันธ์และแนวโน้มของข้อมูลภูมิศาสตร์และอุตุนิยมวิทยา—เพื่อค้นหาว่า
พืชชนิดไหนในธนาคารพันธุกรรม จะมีความเหมาะสมในสภาพพื้นที่ และ ปริมาณฝน
ต่างๆ และให้ข้อมูลเหล่านี้แก่เกษตรกร.
Bioversity is promoting greater diversification by
re-introducing crops that have virtually disappeared or have been neglected. It
is working with women’s groups growing traditional leafy vegetables in Kenya.
The project has given the women greater income and better nutrition.
ความหลากหลายทางชีวภาพ
กำลังส่งเสริมให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ด้วยการนำพืช ที่ได้สูญหายไปแล้ว
หรือถูกละเลย ให้คืนกลับเข้ามาใหม่.
มันกำลังทำงานกับกลุ่มผู้หญิง ที่ปลูกผักใบดั้งเดิม ในเคนย่า. โครงการนี้ ได้ทำให้ผู้หญิงมีรายได้มากขึ้น
และมีโภชนาการดีขึ้น.
Because of their adaptability, diversity and nutritional
benefits, indigenous food plant species can help beat malnutrition and poverty
in Africa, says Prof. Mary Abulutsa Onyango, a Kenyan horticultural researcher.
เพราะความปรับตัวได้ดี,
ประโยชน์ของความหลากหลายและโภชนาการ, สายพันธุ์พืชอาหารถิ่นดั้งเดิม
สามารถช่วยเอาชนะทุโภชนาการและความยากจนในอัฟริกาได้, ศ.แมรี อบูลูต์ซา ออนยาโง,
นักวิจัยพืชสวนชาวเคนยา, กล่าว.
“Indigenous fruits and vegetables,” she says, “have several
advantages that have not been fully exploited. They can withstand harsh
climatic conditions and are highly nutritious in terms of vitamins and
minerals.”
“ผลไม้และผักถิ่นดั้งเดิม”,
เธอกล่าว, “มีข้อได้เปรียบมากมายที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้. พวกมันสามารถทนสภาพอากาศรุนแรง และ
มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ในแง่ วิตามินและแร่ธาตุ”.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น