วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

245. นารวม แก้ปัญหายากจนและหิวโหย ปะทะ ระบบตลาด


245.  Collective Farming Reduces Poverty and Hunger vs Market

Indian Farmers Flex Collective Muscles
เกษตรกรอินเดียเกร็งกล้ามร่วมกัน
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
Description: C:\Users\Administrator\Documents\my doc 6-15-13\common dream\chelmet640-629x472.jpg
Chelmet Padmamma (second from the left), walks with other women near Babanagar village, Medak district, Andhra Pradesh state in southern India. The village is 170 kilometres from Hyderabad. Credit: Stella Paul/IPS
HYDERABAD, Jun 14 2013 (IPS) - Chelmet Padmamma, 42, of Babanagar village in southern India’s drought-prone Medak district, is a happy woman: the rain has come earlier this year, thrice soaking the three-acre farm that she co-owns with four other women from her village.
ไฮเดอราบัด—เจลเมท ปัทมัมมา, 42, แห่งหมู่บ้าน บาบานคร ในตำบล เมทัก ที่แห้งแล้ง ในอินเดียใต้, เป็นหญิงที่มีความสุข เมื่อฝนมาเร็วในปีนี้, ได้นำความชุ่มฉ่ำถึงสามรอบ สู่ไร่ที่เธอเป็นเจ้าของร่วมกับหญิงอีกสี่คนจากหมู่บ้านของเธอ
“This is a dry area and we are dependent on rain. Now that the rain is here, we are going to sow rice. Normally, we would be working in others’ farms as daily wagers. But this year we are taking a month-long break to work on our own farm,” she says, rubbing a red ball of clay in her palm.
“นี่เป็นพื้นที่แห้งแล้ง และ เราต้องพึ่งฝน.  ตอนนี้ฝนมาแล้ว, พวกเราจะเริ่มหว่านข้าว.  ปกติ, เราจะทำงานในไร่นาของคนอื่น เพื่อเอาค่าแรง.  แต่ปีนี้ เราจะพักหนึ่งเดือน เพื่อทำงานในนาของเราเอง”, เธอกล่าว พร้อมกับปั้นก้อนดินเหนียวกลมๆ ในอุ้งมือของเธอ.
Padmamma is one of the 15 million rural Indians who have been landless for generations, instead working land owned by people of a higher caste. The farm that she now co-owns is the result of a government initiative called the National Rural Livelihood Mission (CNRLM), which provides land on lease for collective farming.
ปัทมัมมา เป็นหนึ่งในชาวอินเดียชนบท 15 ล้านคน ที่ไร้ที่ทำกินมาหลายชั่วคน, ต้องทำงานในที่ดินที่ชนวรรณะสูงกว่าเป็นเจ้าของ.  ไร่นาที่เธอตอนนี้เป็นเจ้าของร่วม เป็นผลจากความริเริ่มของรัฐบาล เรียกว่า  ภารกิจวิถีชีวิตชนบทแห่งชาติ (CNRLM), ที่ให้เช่าที่ดินเพื่อการทำเกษตรรวม.
The initiative aims to provide “space for self-help, mutual cooperation and collective action for social and economic development” for marginalised rural citizens, especially women.
โครงการริเริ่มนี้ มุ่งให้ “พื้นที่เพื่อช่วยตัวเอง, ร่วมมือเกื้อกูลกัน และ ปฏิบัติการร่วม เพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ” สำหรับพลเมืองชนบทชายขอบ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หญิง.
Originally a federal plan, the initiative is implemented by state and local government agencies that consult with village communities. NGOs help identify and select farmers who are both socially and economically marginalised, own no land and can benefit the most from the collective farming method.
เริ่มต้นจากการเป็นแผนของรัฐบาลกลาง, การริเริ่มนี้ ถูกดำเนินการโดยรัฐ และ หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น ที่ปรึกษาหารือกับชุมชนหมู่บ้าน.  เอ็นจีโอ ช่วยระบุและเลือกเกษตรกรผู้อยู่ชายขอบทั้งเชิงสังคมและเศรษฐกิจ, ไม่มีที่ดิน และ จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากวิธีการทำเกษตรร่วมกัน.
D.V. Raidu is the head of Community Managed Sustainable Agriculture (CMSA), a project under CNRLM in Andhra Pradesh, a state in the south of India. Raidu told IPS that collective farming has brought unprecedented results, helping over one million people in 8,000 villages overcome poverty and social indignity in eight years’ time.
ดี.วี.ไรดู เป็นหัวหน้า เกษตรยั่งยืนที่ชุมชนจัดการ (CMSA), เป็นโครงการภายใต้ CNRLM ใน อันธราประเทศ, รัฐหนึ่งในอินเดียใต้.  ไรดู กล่าวว่า การทำเกษตรร่วม ได้ยังผลที่ไม่เคยมีมาก่อน, เป็นการช่วยประชาชนกว่า หนึ่งล้านคน ใน 8,000 หมู่บ้านให้ก้าวพ้นความยากจน และ ความไร้ศักดิ์ศรีทางสังคมในช่วงแปดปีที่ผ่านมา.
“This project started in 2004 as a step to eliminate rural poverty,” he said. “We focus on women because they are the most marginalised, without any access to land or money. We help women to build village-based cooperatives. We then take on lease land from villagers who have large landholdings and give that to these cooperatives.
“โครงการนี้ เริ่มต้นในปี ๒๕๔๗ ให้เป็นขั้นหนึ่งของการขจัดความยากจนในชนบท”, เขากล่าว.  “เราเน้นที่ผู้หญิง เพราะพวกเธอเป็นคนที่อยู่ชายขอบที่สุด, ปราศจากการเข้าถึงที่ดินหรือเงินทองใดๆ.  เราช่วยผู้หญิงให้สร้างสหกรณ์มีฐานในชุมชน.  แล้วเราก็ให้มีการเช่าที่ทำกินจากคนในหมู่บ้าน ผู้มีที่ดินผืนใหญ่ และ มอบสิทธิ์นั้นให้เป็นสหกรณ์เหล่านี้.
 “Typically, each woman has about half an acre of land to herself. In the cooperative, they generate microloans to buy seeds, while we give them free training in farm techniques like multi-cropping [and] composting.”
“โดยทั่วไป, ผู้หญิงแต่ละคน มีที่ดินประมาณครึ่งเอเคอร์เป็นของตน.  ในสหกรณ์, พวกเธอจะระดมเงินกู้ขนาดย่อมเพื่อซื้อเมล็ด, ในขณะที่เราให้การฝึกอบรมฟรี เรื่องเทคนิคการเกษตร เช่น การปลูกพืชหลากชนิด และ การทำปุ๋ยหมัก”.
According to Raidu, cost recovery has been nearly 100 percent, although this is not a profit-driven initiative. Buoyed by the success, the cooperatives are now planning to launch their own raw produce brand and the government intends to promote it.
ตามความเห็นของไรดู, การคืนต้นทุน มีเกือบ 100%, แม้ว่าโครงการนี้จะไม่ใช่ขับเคลื่อนด้วยกำไร.  ความสำเร็จทำให้สหกรณ์ลอยตัวได้ และกำลังวางแผนจัดทำยี่ห้อในผลผลิตวัตถุดิบของตนเอง และ รัฐบาลก็ตั้งใจจะช่วยส่งเสริมด้วย.
“The plan is to package the surplus produce like lentils and vegetables in the market under the brand name ‘Krushi’ which means ‘agriculture,’” Raidu said.
“แผน คือ ทำบรรจุภัณฑ์ใส่ผลผลิตส่วนเกิน เช่น ถั่วเล็นทิล และ ผัก ขายในตลาดภายใต้ยี่ห้อ “กรุษิ” ซึ่งหมายถึง กษตร”, ไรดูกล่าว.
Still, some experts argue that the land tenure system in India is so badly skewed only comprehensive reform can fix it.
ถึงกระนั้น, ผู้เชี่ยวชาญบางคนแย้งว่า ระบบการเช่าที่ดินในอินเดีย บูดเบี้ยวมาก มีแต่การปฏิรูปที่ดินอย่างครอบคลุมกว้างขวาง จึงจะสามารถแก้ไขได้.
Dabjeet Sarangi, an agriculturist with Living Farms, an NGO that defends indigenous farmers’ right to forest land and forest produce, noted that, “According to the World Bank, 60 percent of India’s total land is cultivable, but records are available only for less than 50 percent of that.
ทัพชิต สารางิ, นักการเกษตรทำงานกับ Living Farms, ซึ่งเป็นเอ็นจีโอ ที่ปกป้องสิทธิของเกษตรกรถิ่นดั้งเดิม ในป่าไม้และผลผลิต, กล่าวว่า, “ตามข้อมูลของธนาคารโลก, 60% ของที่ดินทั้งหมดของอินเดีย เป็นพื้นที่เพาะปลูก, แต่ในบันทึก มีเพียงน้อยกว่า 50% ของที่ดินดังกล่าว”.
“Also, studies by the Food and Agriculture Organisation (FAO) have shown that different states have different land tenure systems. This is a big hurdle. For example, communities like indigenous people have no rights over the land despite living on it for generations.”
“นอกจากนี้, งานศึกษาของ FAO ได้แสดงให้เห็นว่า รัฐต่างๆ มีระบบการเช่าที่ต่างกัน.  นี่เป็นอุปสรรคใหญ่หลวง,  เช่น, ชุมชนถิ่นพื้นเมืองดั้งเดิม ไม่มีสิทธิเหนือที่ดิน ถึงแม้ว่า พวกเราจะได้อาศัยอยู่ตรงนั้นมาหลายชั่วคน”.
Sarangi hopes that at the 38th session of the annual conference of FAO, scheduled to take place in Rome from Jun. 15-22, the urgency of effective land reform would be on the agenda.
สารางิ หวังว่า การประชุมประจำสองปีของ FAO ครั้งที่ 38, ระหว่าง 15-22 มิ.ย., ความเร่งด่วนที่จะต้องมีการปฏิรูปที่ดินอย่างมีประสิทธิผล จะอยู่ในวาระด้วย.
“A true people’s movement cannot be driven by the government alone. But, if communities have to start collective farming on their own, they first have to have access to land,” he said.
“การเคลื่อนไหวของประชาชนที่แท้จริง ไม่สามารถขับเคลื่อนโดยรัฐบาลตามลำพัง.  แต่, หากชุมชนได้เริ่มการทำเกษตรรวมด้วยตัวเอง, สิ่งแรกคือ พวกเขาจะต้องเข้าถึงที่ดินได้”, เขากล่าว.
Subramanium Kannaiyan, a farmers’ leader from India and spokesman for La Via Campesina, a worldwide movement of small and marginal farmers, is also an advocate of collective farming.
สุพรามานิยัม กันนัยยาน, หัวหน้าเกษตรกรจากอินเดีย และ โฆษกให้ ลา เวีย คัมเปซินา, อันเป็นขบวนการขับเคลื่อนทั่วโลกของเกษตรกรรายย่อยและชายขอบ, ก็เป็นผู้สนับสนุนการทำเกษตรรวมด้วย.
Speaking to IPS from Jakarta, where La Via Campesina just held its fifth global conference, Kannaiyan said that, “Collective farming In India has proved to be very successful. It will definitely be successful in other developed countries as well. We believe that such a farming model should be nurtured all over the world because it can be the way to solve the world’s food crisis.”
กันนัยยาน กล่าวจาก จาร์กาตา ที่ๆ ลา เวีย คัมเปซินา เพิ่งจัดการประชุมโลกครั้งที่ ๕ ว่า, “การทำเกษตรรวมในอินเดีย ได้พิสูจน์ให้เห็นความสำเร็จยิ่ง.  มันจะต้องสำเร็จในประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ด้วย.  เราเชื่อว่า โมเดลเกษตรนี้ ควรจะได้รับการหล่อเลี้ยงทั่วโลก เพราะมันจะเป็นทางแก้ไขวิกฤตอาหารของโลกได้ด้วย”.
However, Kannaiyan also warns that cooperatives should not be in a hurry to enter the market and should instead focus on attaining local food security.
ถึงอย่างไร, กันนัยยาน ได้เตือนด้วยว่า สหกรณ์ไม่ควรรีบเร่งเข้าสู่ระบบตลาด และ ควรจะเน้นที่บรรลุความมั่นคงทางอาหารระดับท้องถิ่นก่อน.
“Co-operatives should not behave like corporate houses and, instead of making profits, they should serve the real interest of the peasants which is protection of land and production of food in a sustainable manner.”
“สหกรณ์ไม่ควรทำตัวเหมือนบ้านของบริษัท และ แทนที่จะทำกำไร, พวกเขาควรรับใช้ความต้องการ/เพื่อประโยชน์ของชาวไร่ชาวนา ที่เป็นผู้ทำการพิทักษ์ผืนดิน และ ผลิตอาหารในลักษณะยั่งยืน”.
Raidu disagrees. “There is nothing wrong in cooperatives entering the competitive markets. In India, there are already several cooperative-owned brands that are earning big profits.
ไรดู ไม่เห็นด้วย.  “ไม่มีอะไรผิดที่สหกรณ์จะเข้าสู่ระบบตลาดการแข่งขัน.  ในอินเดีย, มีหลายๆ สหกรณ์ที่มียี่ห้อของตัวเอง ที่ทำกำไรก้อนใหญ่.”
“For example, Amul, the largest-selling dairy-based product brand, is owned by a cooperative. When a farmers’ collective earns money, it goes back to the community. So, there is no reason to discourage them from entering the market,” he said.
“ยกตัวอย่าง, อมูล, ยี่ห้อผลิตภัณฑ์นมโคที่มียอดขายใหญ่ที่สุด, เป็นกรรมสิทธิ์ของสหกรณ์แห่งหนึ่ง.  เมื่อเกษตรรวมหนึ่ง ทำรายได้ๆ ดี, มันก็กลับไปสู่ชุมชน.  ดังนั้น, ไม่มีเหตุผลที่จะไม่ส่งเสริมให้พวกเขาเข้าสู่ระบบตลาด”, เขากล่าว.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น