วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

255. นักเป่านกหวีด ‘เดวิด’ เปิดโปง ‘โกไลแอธ’ นักหิวสงคราม ในคราบรัฐบาล


255.  Whistle-Blower ‘David’ Exposed War-Hunger ‘Goliath’ in Governments

Global 'Bully': As Snowden Seeks Asylum, Critics Blast US for Manhunt
'Massive Worldwide Surveillance System' should be the story, not whereabouts of the man who exposed it
 - Jon Queally, staff writer
อันธพาลป่วนโลก: เมื่อ สโนว์เด็น ขอลี้ภัย, นักวิพากษ์ประณามสหรัฐฯ สำหรับการล่าคน
ระบบการกวาดตรวจตราควบคุมทั่วโลกมหาศาลควรเป็นเรื่องเอก, ไม่ใช่ที่หลบซ่อนของชายที่เปิดโปงมัน
-จอน เควลีย์
As Edward Snowden's quest for political asylum plays out as a global cat-and-mouse chase, defenders of international law say the US is acting the bully as it scrambles to locate and gain custody of the 30-year-old NSA whistleblower.
ในขณะที่ การขอลี้ภัยทางการเมืองของเอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น กลายเป็นเกมแมวไล่หนูระดับโลก, ผู้ปกป้องกฎหมายระหว่างประเทศ บอกว่า สหรัฐฯ กำลังทำตัวเป็นอันธพาล ในขณะที่รีบเร่งตะเกียกตะกายค้นหาและจับกุม นักเป่านกหวีด NSA อายุ 30.
Though his whereabouts remained unknown Monday, supporters of Snowden say that the US government's aggressive pursuit of the confessed NSA whistleblower—and the mainstream media's fixation on him and not the information he has delivered to the global public regarding a "massive worldwide surveillance system"—is what should most trouble those concerned about privacy, international law and civil liberties.
แม้ว่า ที่หลบซ่อนของเขาจะยังไม่มีใครรู้ในวันจันทร์, ผู้สนับสนุน สโนว์เด็น บอกว่า ความก้าวร้าวของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการไล่ล่า นักเป่านกหวีด NSA ที่ได้สารภาพ—และการจดจ่อของสื่อกระแสหลักที่ตัวเขา และไม่พูดถึงข้อมูลที่เขาได้แถลงต่อสาธารณะโลก เกี่ยวกับ “ระบบกวาดตรวจตราควบคุมทั่วโลกมหาศาล”—เป็นสิ่งที่เป็นปัญหามากที่สุดสำหรับผู้ที่ห่วงใยเรื่องความเป็นส่วนตัว, กฎหมายระหว่างประเทศ และ เสรีภาพพลเรือน.
"The US is doing everything they can do to interfere with [Snowden's effort to gain asylum]," said Michael Ratner, president emeritus of the Center for Constitutional Rights and a lawyer with expertise in international law, during a press call with journalists on Monday. "They're bullying countries all over the world, even where they have no basis for doing so... Bullying them essentially so that they can get Ed Snowden rendered to the United States where he can be prosecuted."
“สหรัฐฯ กำลังทำทุกอย่างที่จะทำได้ เพื่อแทรกแซงกับการขอลี้ภัยของสโนว์เด็น”, ไมเคิล แร็ตเนอร์, ประธานกิติมศักดิ์ ของศูนย์สิทธิทางรัฐธรรมนูญ และ เป็นทนายผู้เชี่ยวชาญในกฎหมายระหว่างประเทศ, กล่าวในระหว่างการให้สัมภาษณ์ในวันจันทร์.  “พวกเขากำลังอาละวาดข่มขู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก, แม้แต่ที่ๆ ไม่มีพื้นฐานที่จะทำอย่างนั้น...การข่มเหงรังแก เพื่อจะบีบให้พวกเขาส่งตัว เอ็ด สโนว์เด็น ให้สหรัฐฯ เพื่อลงโทษ”.
Pushing back against government statements characterizing Snowden as a "criminal" "traitor" or "fugitive of justice," Ratner said the whistleblower "is not a fugitive in any sense of the word" and that there is "an important and legal basis for Ed Snowden's application for asylum" abroad.
เมื่อถูกคาดคั้นถึงแถลงการณ์ของรัฐบาล ที่ตั้งฉายาให้สโนว์เด็นเป็น “อาชญากร” “คนทรยศ” หรือ “ผู้หลบหนีความยุติธรรม”, แร็ตเนอร์ กล่าวว่า นักเป่านกหวีด “ไม่ใช่คนหลบหนี ไม่ว่าจะในความหมายใดๆ ของคำนั้น” และ ว่ามี “พื้นฐานสำคัญและทางกฎหมายสำหรับการขอลี้ภัยของ เอ็ด สโนว์เด็น” ในต่างประเทศ.
Responding to comments made by US Secretary of State John Kerry and the White House warning others countries to hand over Snowden, Wikileaks founder Julian Assange blasted the Obama administration's response to the situation.
การตอบสนองต่อความเห็นที่ จอห์น เคอร์รี เลขาธิการแห่งรัฐของสหรัฐฯ และตอบโต้ของรัฐบาลโอบามาต่อสถานการณ์นี้.
"The US secretary of state is wrong in law," said Assange. He added, "The Obama administration was not given a mandate by the people of the US to hack and spy upon the entire world, to abridge the US constitution or the laws of others nations."
“เลขาธิการแห่งรัฐทำผิดในเรื่องกฎหมาย”, แอสแซงกล่าว.  “รัฐบาลโอบามาไม่ได้รับอาณัติอำนาจจากประชาชนแห่งสหรัฐฯ ให้แหกและดักลักข้อมูลจากทั่วโลก, ให้ตัดทอนรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ หรือ กฎหมายของชาติอื่นๆ”
"It reflects poorly on the U.S. administration, and no self-respecting country would submit to such interference or such bullying by the U.S. in this matter," he said.
“มันสะท้อนภาพที่แย่มากของรัฐบาลอเมริกา, และ ไม่มีประเทศใดที่มีความเคารพในตัวเองจะยอมสยบกับการแทรกแซงเช่นนี้ หรือ การรังแกโดยสหรัฐฯ ในเรื่องเช่นนี้”, เขากล่าว.
Though many in the corporate US news media have been quick to follow the US government's line that Snowden should be considered a "traitor" for his release of documents that expose details of the NSA's vast spying apparatus to the US and global public, Ratner said that Snowden's actions were underpinned by a clear political motive and are therefore protected under international law.
แม้ว่า ในสื่อบรรษัทของสหรัฐฯ จะรีบพูดตามคำของรัฐบาลสหรัฐฯ ว่า สโนว์เด็นควรจะถูกจัดว่า เป็น “คนทรยศ” เพราะให้เอกสารที่เปิดโปงรายละเอียดของกลไกการจารกรรมมหาศาล ของ NSA ต่อสาธารณชนสหรัฐฯ และ โลก, แร็ตเนอร์ กล่าวว่า ปฏิบัติการของสโนว์เด็น ตั้งอยู่บนฐานของแรงจูงใจทางการเมืองที่ชัดเจน ดังนั้น จึงได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ.
Ratner stressed that when it comes to international law, "asylum trumps extradition" meaning that even if Russia, Ecuador, or other nations have a bilateral extradition agreement for criminal offenders, it does not necessarily mean that those countries are obligated to hand over a person seeking political asylum, especially one who has reasonable fear he will not be treated equitably or fairly by his home country's justice system.
แร็ตเนอร์ ย้ำว่า เมื่อมาถึงเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ. “การลี้ภัย ชนะ การส่งผู้ร้ายข้ามแดน” หมายความว่า แม้หากรัสเซีย, อีกัวดอร์, หรือ ประเทศอื่นๆ มีข้อตกลงทวิภาคีส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีอาชญากรรม, มันไม่จำเป็นต้องหมายถึง ประเทศเหล่านั้น มีความผูกพันต้องส่งคนที่แสวงหาการลี้ภัยทางการเมืองกลับไป, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่มีเหตุผลมากพอที่จะกลัวว่า เขาจะไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาค หรือ เป็นธรรม โดยระบบยุติธรรมในประเทศบ้านเกิดของเขา.
"There's no international arrest warrant that we know of," said Ratner, arguing that Snowden's alleged crimes "are classic political crimes under the extradition treaty" and that the US' efforts should be seen as a large, powerful saying to other countries 'Send him here' when, in fact, there's "no legal basis for it."
“ยังไม่มีหมายจับระหว่างประเทศที่เรารู้”, แร็ตเนอร์กล่าว, แย้งว่า ข้อหาอาชญากรรมของสโนว์เด็น “เป็นอาชญากรรมการเมืองดั้งเดิม ภายใต้ข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดน” และ ความพยายามของสหรัฐฯ ควรมองว่า เป็นการพูดวางมาดใหญ่โต และ ทรงอำนาจ ต่อประเทศต่างๆ ส่งเขามาที่นี่เมื่อ, ในความเป็นจริง, มัน “ไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายในการทำเช่นนั้น”.
The ongoing and aggressive attempt to extradite Snowden, added Assange, "further demonstrates the breakdown in the rule of law by the Obama administration."
แอสแซง กล่าวอีกว่า ความพยายามที่กำลังเกิดขึ้นอย่างก้าวร้าว เพื่อให้ส่งตัวสโนว์เด็น, “ยิ่งแสดงให้เห็นจุดแตกหักในนิติรัฐ โดยรัฐบาลโอบามา”.
Under the United Nations' Refugee Convention, Snowden would qualify for protection as someone who fears "being persecuted for political opinion," said Ratner.
ภายใต้ อนุสัญญาผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ, สโนว์เด็น จะมีคุณสมบัติพอที่จะได้รับการคุ้มครองในฐานะที่เป็นบุคคลที่กลัวว่า “จะถูกลงโทษด้วยความเห็นทางการเมือง”, แร็ตเนอร์ กล่าว.
From a press conference in Hanoi, Vietnam on Monday, Ecuador's foreign minister Ricardo Patino read from Snowden's asylum application letter in which Snowden himself discussed why we was taking such lengths to avoid US authorities.
จากการให้สัมภาษณ์สื่อในฮานอย, เวียดนาม เมื่อวันจันทร์, รัฐมนตรีต่างประเทศของอีกัวดอร์ ริคาร์โด ปาติโน ได้อ่านจากจดหมายขอลี้ภัยของสโนว์เด็น ที่สโนว์เด็นได้เขียน อันเป็นเหตุผลที่เราได้ใช้เวลานานขนาดนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงอำนาจของสหรัฐฯ.

"I have been accused of being a traitor" and "there have been calls for me to be executed or imprisoned," the letter from Snowden said. In addition, he said it would be "unlikely" that he would receive "a fair trial or humane treatment" if returned to the US.
“ผมถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ทรยศ” และ “มีคำสั่งให้สังหาร หรือ จำคุกผม”, กล่าวในจดหมายของ สโนว์เด็น.  ยิ่งกว่านั้น, เขากล่าวว่า มัน “ไม่น่าจะเป็นไปได้” ที่เขาจะได้รับ “การพิจารณาอย่างเป็นธรรม หรือ กระทำต่ออย่างมีมนุษยธรรม” หากถูกส่งตัวกลับไปสหรัฐฯ.
Because the US is charging Snowden under the Espionage Act, says law professor at Thomas Jefferson School of Law's Marjorie Cohn, Snowden has "a well-founded fear of persecution in the US."
เนื่องจากสหรัฐฯ ตั้งข้อหาต่อสโนว์เด็น ด้วย กฎหมายจารกรรม, มาร์จอรี โคห์น  อาจารย์กฎหมายที่ คณะนิติศาสตร์ โธมัส เจฟเฟอร์สัน, สโนว์เด็น มี “มูลชัดเจนที่จะกลัวการถูกจับมาลงโทษในสหรัฐฯ”.
And citing the treatment of another well-known whistleblower, Pfc. Bradley Manning, Cohn suggests Snowden can "probably make a good case for political asylum in Ecuador."
และด้วยการอ้างถึงการกระทำต่อนักเป่านกหวีดที่รู้จักกันดีอีกคนหนึ่ง, พลทหาร แบรดลีย์ แมนนิ่ง, โคห์น แนะว่า สโนว์เด็น สามารถ “รวบรวมมูลเหตุที่ดีเพื่อขอลี้ภัยในอีกัวดอร์”.
Norman Solomon, whose group Roots Action is circulating a petition calling the Obama administration to keep its "hands off" Snowden, decried the diplomatic bullying described by Ratner and others.
นอร์แมน โซโลมอน, ซึ่งมีกลุ่ม ปฏิบัติการราก กำลังเวียนคำฎีกาเรียกร้องให้ รัฐบาลโอบามา “เอามือออกไป” จากสโนว์เด็น, ประณามอันธพาลทางการทูตดังที่แร็ตเนอร์ และ คนอื่นๆ ได้อธิบาย อย่างรุนแรง.
"The same government that continues to expand its invasive dragnet of surveillance, all over the United States and the rest of the world," Solomon wrote on Common Dreams, "is now asserting its prerogative to drag Snowden back to the USA from anywhere on the planet. It’s not only about punishing him and discouraging other potential whistleblowers. Top U.S. officials are also determined to—quite literally—silence Snowden’s voice, as Bradley Manning’s voice has been nearly silenced behind prison walls."
“รัฐบาลเดียวกันที่แผ่การไล่ล่าแบบรุกรานของระบบตรวจตราควบคุมอย่างต่อเนื่อง, ทั่วทั้งสหรัฐฯ และ ส่วนที่เหลือในโลก”, โซโลมอนเขียน, “ตอนนี้กำลังยืนกรานอภิสิทธิ์ของตน เพื่อลากสโนว์เด็นกลับมาสหรัฐฯ จากที่ไหนก็ตามในพิภพโลกนี้.  มันไม่ใช่แค่ลงโทษเขา และเป็นการไม่ให้คนอื่นเอาเยี่ยงอย่าง.  เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ระดับสูงยังมุ่งมั่น—เอาเป็นเอาตายทีเดียว—ที่จะปิดปาก/เสียงสโนว์เด็น, ดังที่เสียงของแบรดลีย์ แมนนนิ่ง ได้ถูกปิดเงียบหลังกำแพงเรือนจำ.
He continued, “Those at the top of the U.S. government insist that Edward Snowden and Bradley Manning have betrayed it. But that’s backward. Putting its money on vast secrecy and military violence instead of democracy, the government has betrayed Snowden and Manning and the rest of us.”
เขาเขียนต่อ, “พวกที่อยู่ตำแหน่งสูงสุดในรัฐบาลสหรัฐฯ ยืนกรานว่า เอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น และ แบรดลีย์ แมนนิ่ง ได้ทรยศ.  แต่นั่นเป็นการถอยหลัง.  การใช้เงินมหาศาลในการก่อความรุนแรงเร้นลับและทางการทหาร แทนที่จะเป็นประชาธิปไตย, รัฐบาลได้ทรยศ สโนว์เด็น และ แมนนิ่ง และ พวกเราที่เหลือ”.
In addition to the petition effort by Roots Action, more than 113,000 people as of Monday afternoon had signed a petition on the White House website calling for President Obama to pardon Snowden.
ยิ่งกว่านั้น ฎีกาโดย ปฏิบัติการราก, ที่มีคนกว่า 113,000 คนลงชื่อ ณ บ่ายวันจันทร์ ผ่านทางเว็บไซต์ เป็นการเรียกร้องให้ประธานาธิบดีให้อภัยแก่สโนว์เด็น.
“Edward Snowden is a national hero and should be immediately issued a full, free, and absolute pardon for any crimes he has committed or may have committed related to blowing the whistle on secret NSA surveillance programs,” the petition read.
“เอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น เป็นวีรบุรุษชาติ และ ควรได้รับการอภัยโทษเต็มที่, ให้เป็นอิสระ และ สมบูรณ์ ทันที สำหรับอาชญากรรมใดๆ ที่เขาได้ก่อ หรือ อาจได้ก่อ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเป่านกหวีด เรื่อง ความลับของโปรแกมตรวจตราควบคุมของ NSA”, ดังในฎีกา.
Though the petition received a large enough number of signers to mandate an official response from the White House, the president is not likely to heed its urging.
แม้ว่าฎีกาจะได้มีคนลงนามเป็นจำนวนมาก เพื่อบังคับให้มีการขานรับอย่างเป็นทางการจากทำเนียบขาว, ประธานาธิบดีคงไม่สนใจฟังเสียงเรียกร้อง.
That leaves Ecuador the most likely candidate to offer asylum to Snowden, though its been reported that he's considering applications for other countries as well.
นั่นจึงเหลืออีกัวดอร์ ให้เป็นผู้ได้รับเลือกมากที่สุดที่จะยอมให้ลี้ภัยแก่สโนว์เด็น, แม้ว่า จะมีรายงานว่า เขาอาจขอลี้ภัยไปยังประเทศอื่นก็ได้.
Mark Weisbrot, an expert on Latin America and co-director of the Center for Economic and Policy Research in Washington, was pointed in why supporters of the public’s right to know should support both Snowden and the country—whether Ecuador or another—if and when they grant Snowden political asylum.
มาร์ค ไวส์บรอท, ผู้เชี่ยวชาญด้านลาตินอเมริกา และ ผอ ร่วม ของ ศูนย์การวิจัยเศรษฐกิจและนโยบาย ในวอชิงตัน, ชี้ให้เห็นว่า ทำไม ผู้สนับสนุนสิทธิของสาธารณชนที่จะรู้ ควรสนับสนุนทั้ง สโนว์เด็น และ ประเทศ—ไม่ว่าจะเป็นอีกัวดอร์ หรือ ประเทศอื่น—หากว่า และ เมื่อพวกเขายอมให้ สโนว์เด็น ลี้ภัยทางการเมือง.
“It is important that everyone who believes in freedom to defend Ecuador from Washington’s threats, which are very likely if the Ecuadorean government grants asylum to Snowden," said Weisbrot. "Other governments around the world – whose citizens’ rights have been violated by NSA surveillance overreach – should stand behind Ecuador if it chooses to grant Snowden asylum, as should NGO’s. To charge Snowden with espionage is a severe form of political persecution."
“มันเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนผู้เชื่อในเสรีภาพ ที่จะปกป้องอีกัวดอร์จากการข่มขู่ของวอชิงตัน, ซึ่งเป็นไปได้ยิ่ง หากรัฐบาลอีกัวดอร์ยอมให้สโนว์เด็นลี้ภัย”, ไวส์บรอทกล่าว.  “รัฐบาลอื่นๆ ในโลก—ที่สิทธิพลเมืองถูกละเมิดด้วยการยืดออกไปของระบบ NSA—ควรจะยืนหนุนหลังอีกัวดอร์ หากเลือกที่จะให้สโนว์เด็นลี้ภัย, เอ็นจีโอ ก็เช่นเดียวกัน.  การตั้งข้อหาสโนว์เด็นว่าจารกรรม เป็นการลงโทษทางการเมืองที่รุนแรงมากแบบหนึ่ง”.
In the end, while the intrigue over Snowden's whereabouts and the question over whether or not he is captured by the US or receives safe passage to a country willing to protect him, Ratner was among the many commentators in the progressive community on Monday who were concerned that the focus on Snowden as an individual was partially thwarting the bigger and more important story about the contents of what Snowden's actions have revealed.
ในตอนจบ, ในขณะที่ความฉงนว่า สโนว์เด็นอยู่ที่ไหน และ คำถามที่ว่า เขาได้ถูกจับโดยสหรัฐฯ หรือ ได้เดินทางปลอดภัยถึงประเทศที่ยินดีจะปกป้องเขาแล้ว, แร็ตเนอร์ เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ออกความเห็นหลายคนในชุมชนหัวก้าวหน้า เมื่อวันจันทร์ ผู้เป็นห่วงกับการเน้นที่สโนว์เด็นในฐานะปัจเจก เป็นการขัดขวางเรื่องราวที่ใหญ่กว่า และ สำคัญกว่า เกี่ยวกับสาระที่ปฏิบัติการของ สโนว์เด็นได้เปิดโปง.
"What we should be discussing, unlike what seems the attention primarily in the media right now—Where's Ed Snowden? What country is he going to?—is the massive surveillance system being carried out by the US, the UK, and perhaps other countries all over the world and the violations of rights of people all over the world," Ratner said.
“สิ่งที่เราควรจะถกเถียงกัน, ต่างจากสิ่งที่ดูเหมือนอยู่ในความสนใจอันดับแรกในสื่อตอนนี้—เอ็ด สโนว์เด็น อยู่ที่ไหน?  เขากำลังไปประเทศใด?—คือ ระบบการตรวจสอบควบคุมมหาศาล กำลังดำเนินการอยู่ในสหรัฐฯ, อังกฤษ, และ อาจจะในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และ เป็นการละเมิดสิทธิ์ของประชาชนทั่วโลก” แร็ตเนอร์ กล่าว.
And as Solomon concluded: Top policymakers in Washington seem bent on running as much of the world as possible. Their pursuit of Edward Snowden has evolved into a frenzied rage.
โซโลมอนสรุปว่า, ผู้วางนโยบายระดับสูงในวอชิงตัน ดูเหมือนจะเอียงไปที่บริหารโลกนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้.  การไล่ล่า เอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น ได้กลายเป็นความเกรี้ยวกราดบ้าคลั่ง.
Those at the top of the U.S. government insist that Edward Snowden and Bradley Manning have betrayed it. But that’s backward. Putting its money on vast secrecy and military violence instead of democracy, the government has betrayed Snowden and Manning and the rest of us.
พวกที่อยู่ตำแหน่งสูงสุดในรัฐบาลสหรัฐฯ ยืนกรานว่า เอ็ดเวิร์ด สโนว์เด็น และ แบรดลีย์ แมนนิ่ง ได้ทรยศ.  แต่นั่นเป็นการถอยหลัง.  การใช้เงินมหาศาลในการก่อความรุนแรงเร้นลับและทางการทหาร แทนที่จะเป็นประชาธิปไตย, รัฐบาลได้ทรยศ สโนว์เด็น และ แมนนิ่ง และ พวกเราที่เหลือ
________________________________________________
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-Share Alike 3.0 License
Published on Monday, June 24, 2013 by Common Dreams

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น