238. FAO Promises to Reform to Enable Smaller Farmers Ensure
Food Security for Future
Sowing a Healthier Future
By Claudia Ciobanu
หว่านเมล็ดอนาคตที่แข็งแรงกว่า
-คลอเดีย ซิโอบานู
ดรุณี
ตันติวิรมานนท์ แปล
Rice is a staple for much of humanity. Credit: Bigstock
ROME, Jun 15 2013 (IPS) - “If there was enough political
will to defeat hunger, we would defeat it right now – immediately,” says
Enrique Yeves, chief of corporate communications at the U.N. Food and
Agriculture Organisation (FAO).
“หากมีปณิธานทางการเมืองมากพอที่จะเอาชนะความหิวโหย,
พวกเราจะทำให้มันพ่ายแพ้ได้ ณ บัดนี้—ในฉับพลัน”, เอ็นริค เยเวส,
หัวหน้ากองสื่อสาร ที่ FAO, กล่าว.
“It is a scandal that in the 21st century there are still
people that suffer from hunger in a world in which we produce more food than we
need,” adds Yeves, speaking on the sidelines of the Jun. 15-21 FAO biannual
conference opening Saturday in Rome.
“มันเป็นเรื่องฉาวโฉ่
ที่ ในศตวรรษที่ ๒๑ ยังมีประชาชนที่ทุกข์ทนต่อความหิวโหย
ในโลกที่เราผลิตอาหารได้ในปริมาณมากกว่าที่เราต้องการ”, เยเวส
กล่าวในระหว่างการประชุมรอบสองปี ของ FAO ระหว่าง ๑๕-๒๑
มิย. ที่เปิดในวันเสาร์ในกรุงโรม.
Almost one billion people do not have enough to eat, yet we
throw away one-third to one-half of the food we produce, according to U.N.
estimates.
ประชาชนเกือบหนึ่งพันล้านคน
ไม่มีอาหารกินพอเพียง, แต่พวกเราก็ยังขว้างทิ้งอาหาร ๑/๓ ถึง ๑/๒
ของอาหารที่เราผลิต, ตามการประเมินของยูเอ็น.
This is one of the paradoxes at the core of the global food
system.
นี่เป็น
ความขัดแย้ง ในแก่นของระบบอาหารโลก.
The world made progress over the last decade in combating
hunger. But a widespread and lingering economic crisis has reversed this trend,
especially in sub-Saharan Africa, according to FAO’s own assessments. High and
volatile global food prices are putting additional strains on the world’s poor,
as is the rapid depletion of natural resources caused by our unsustainable way
of life.
โลกได้ก้าวหน้ามากในทศวรรษที่ผ่านมา
ในการประจัญบานกับความหิวโหย.
แต่วิกฤตเศรษฐกิจที่แผ่กระจายกว้างขวาง และ ยังอ้อยอิ่งค้างอยู่
ได้ผันกลับแนวโน้มนี้, โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน อนุภูมิภาคซาฮารา-อัฟริกา,
ตามการประเมินของ FAO เอง.
ราคาอาหารโลกที่ลอยตัวสูงขึ้น กำลังบีบกดคนยากจนของโลก, พอๆ
กับการสูญหายอย่างรวดเร็วของทรัพยากรธรรมชาติ ที่เกิดจากวิถีชีวิตที่ไม่ยั่งยืนของพวกเรา.
This year, FAO’s membership will hit 195, once South Sudan,
Brunei and Singapore join next week.
ในปีนี้, สมาชิกของ
FAO จะบรรลุ ๑๙๕, เมื่อ ซูดานใต้, บรูไน และ สิงคโปร์
เข้าร่วมในสัปดาห์หน้า.
The sense of urgency in addressing hunger in the midst of
the multiple global crises is reflected in the current attempt to reform FAO in
order to make it more efficient and results-oriented.
ความรู้สึกถึงความเร่งด่วนในการแก้ปัญหาหิวโหย
ท่ามกลางวิกฤตโลกมากมาย ถูกสะท้อนในความพยายามปัจจุบัน ในการปฏิรูป FAO
เพื่อทำให้มันมีประสิทธิภาพ และ มุ่งไปที่ผลลัพธ์มากยิ่งขึ้น.
“In the 2000s, there was even talk of shutting down FAO
altogether, as the mantra of liberalisation of markets as a solution for food
security became dominant and the World Trade Organisation became the locus for
most food talks,” says Antonio Onorati from IPC, the International Planning
Committee for Food Sovereignty, a platform bringing together around 300 million
small food producers from all over the world in order to dialogue with FAO.
“ในทศวรรษ ๒๐๐๐,
มีการพูดถึงการปิดกิจการของ FAO ลง, ในขณะที่
การปลดแอกตลาดให้เป็นเสรีนิยม ว่าเป็นทางออกสำหรับความมั่นคงทางอาหาร
ได้กลายเป็นเวทย์มนตร์ครอบงำ และ องค์การค้าโลก
ได้กลายเป็นจุดหมายสำหรับการเจรจาด้านอาหารส่วนใหญ่”, แอนโตนิโอ โอโนราติ แห่ง IPC กล่าว. IPC หรือ
คณะกรรมการวางแผนระหว่างประเทศเพื่ออธิปไตยทางอาหาร เป็นเวทีที่รวบรวม
ผู้ผลิตอาหารรายย่อย ประมาณ ๓๐๐ ล้านคน จากทั่วโลก เพื่อสานเสวนากับ FAO.
“But then we had the economic crisis and the food crises and
the governments understood there was a need for a multilateral space for
dealing with food issues,” he tells IPS. “They also understood that the crisis
of the food system is not only an issue for poor countries in the Global South
but for the global elites too.”
“แต่แล้ว
เราก็เจอวิกฤตเศรษฐกิจ และ วิกฤตอาหาร และ เหล่ารัฐบาลเริ่มเข้าใจว่า
จำเป็นต้องมีพื้นที่ๆ ประกอบด้วยหลายๆ ฝ่าย เพื่อจัดการกับประเด็นอาหาร”,
เขากล่าวต่อ IPS. “พวกเขาก็เข้าใจแล้วว่า
วิกฤตของระบบอาหาร ไม่ใช่แค่เป็นประเด็นของประเทศยากจนในซีกโลกใต้ แต่ยังรวมถึง
กลุ่มคนร่ำรวยของโลกด้วย”.
FAO’s Brazilian Director General José Graziano da Silva has
come up with a set of proposals, including concentrating the organisation’s
work around five strategic objectives: contributing to the eradication of
hunger, food insecurity and malnutrition; increasing and improving the
provision of goods and services from agriculture, forestry and fisheries in a
sustainable manner; reducing rural poverty; enabling more inclusive and
efficient agricultural and food systems at local, national and international
levels; increasing the resilience of livelihoods to threats and crises.
ผอ ชาวบราซิล ของ FAO
โฮเซ กราซิอาโน ดา ซิลวา ได้ยื่นชุดข้อเสนอ, เช่น
การรวบรวมงานขององค์การให้อยู่รอบๆ วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ ๕ ประการ ดังนี้
เพื่อให้ขจัดความหิวโหย, ความไม่มั่นคงทางอาหารและทุโภชนาการ;
เพื่อเพิ่มและปรับปรุงการจัดกระบวนส่งสินค้าและบริการ จากภาคเกษตร, ป่าไม้ และ
ประมง ให้เป็นไปอย่างยั่งยืน; เพื่อลดความยากจนชนบท;
เพื่อทำให้ระบบเกษตรและอาหารโอบรวมทุกภาคส่วนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในระดับท้องถิ่น,
ชาติ และ นานาชาติ; เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของวิถีชีวิต
ต่อภัยคุกคามและวิกฤต.
Another important change will be the mainstreaming of gender
issues across FAO programmes, a move that is very much welcomed by civil
society.
การเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกประการหนึ่ง
คือ การบูรณาการประเด็นเพศสภาพในทุกๆ โปรแกมของ FAO, การขยับตัวที่ได้รับการต้อนรับอย่างมากจากภาคประชาสังคม.
“Women are the majority of farmers yet they have always been
discriminated in agricultural policies,” says Alberta Guerra from Action Aid
International. “If women are given the resources they need, many will be taken
out of poverty. We are happy to see the progress made by FAO on gender
mainstreaming.”
“ผู้หญิงเป็นเกษตรกรส่วนใหญ่
แต่พวกเธอ ถูกกีดกันอยู่เสมอในนโยบายเกษตร”, อัลเบอร์ตา เกอร์รา จาก Action
Aid International กล่าว.
“หากผู้หญิงได้รับทรัพยากรจำเป็นที่พวกเธอต้องการ,
หลายคนจะหลุดจากความยากจนได้.
พวกเรายินดีที่เห็นความก้าวหน้าที่ FAO
ได้กระทำในการบูรณาการมิติเพศสภาพ/เจนเดอร์”.
Da Silva, who came to FAO after being responsible for
implementing the Fome Zero programme in Brazil, said to have lifted 28 million
people out of poverty, may indeed have the needed stamina and good reputation
to carry the reform package through.
ดา ซิลวา,
ผู้เข้าดำรงตำแหน่งใน FAO หลังจากได้รับผิดชอบในการดำเนิน โปรแกม Fome
Zero ในบราซิล, กล่าวว่า การถอนประชาชน ๒๘ ล้านคนจากหล่มความยากจน, จริงๆ แล้ว
อาจจำเป็นต้องมีความแข็งแรง และ ชื่อเสียงที่ดี
ในการขับเคลื่อนให้การปฏิรูปสำเร็จ.
Yet there will likely be resistance from governments
gathering in Rome. One contentious issue is a minor budget increase put up for
discussion: FAO’s budget was 1.005 billion dollars in the 2012-13 period, and
the organisation is now asking for an increase of one percent from its member
states for 2014-15.
แต่ก็คงจะยังมีแรงต่อต้านจากบรรดารัฐบาลที่รวมตัวกันในกรุงโรม. ประเด็นที่โต้เถียงกันมาก คือ
การเพิ่มงบประมาณเล็กน้อย นั่นคือ งบประมาณในช่วงปี 2012-13 ของ FAO มี 1.005 พันล้านเหรียญ,
และ องค์การ กำลังขอให้เพิ่มอีก 1% จากรัฐสมาชิก สำหรับปี 2014-15.
Some member states may resist this budget hike and these may
be precisely the rich countries, as larger developing ones (most notably the
BRICS: Brazil, Russia, India, China and South Africa) are already committed to
increasing their financial contributions to FAO apart from the one percent:
China by an additional 21.3 million dollars, Brazil by 15.3 million and Russia
by 9.2 million dollars.
บางรัฐสมาชิก
อาจต่อต้านการขึ้นงบประมาณ และ พวกนี้ก็แน่นอน เป็นพวกประเทศร่ำรวย, เพราะ
ประเทศกำลังพัฒนาใหญ่ๆ (ที่โดดเด่น คือ BRICS: บราซิล, รัสเซีย,
อินเดีย, จีน และ อัฟริกาใต้) ล้วนสัญญาว่าจะเพิ่มการบริจาคเงินให้ FAO แยกจาก 1%: จีนจะเพิ่มอีก 21.3 ล้านเหรียญ,
บราซิล อีก 15.3 ล้านเหรียญ และ รัสเซีย อีก 9.2 ล้านเหรียญ.
According to Onorati, the changes proposed by the FAO staff
entail a “system view” of food issues – that is, looking at all factors
together and interlinked – which is welcome. He also welcomes the
organisation’s increased openness to civil society.
ตามคำพูดของ
โอโนราติ, การเปลี่ยนแปลงที่ได้นำเสนอโดย เจ้าหน้าที่ FAO ส่งผลใน
“มุมมองเชิงระบบ” ของประเด็นอาหาร—นั่นคือ, มองดูที่ปัจจัยทั้งหมดด้วยกันและเชื่อมโยงกัน—ซึ่งเขาต้อนรับ.
เขายังต้อนรับการที่องค์การเปิดกว้างมากขึ้นต่อภาคประชาสังคม.
At the same time, Onorati warns that some of the national
delegations coming to Rome may be less open than FAO itself to such changes.
ในขณะเดียวกัน,
โอโนราติ ได้เตือนว่า ผู้แทนชาติบางคน ที่มาโรมครั้งนี้ อาจเปิดน้อยกว่า FAO
เองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว.
Related IPS Articles
Keeping Food Security Central to U.N.’s Post-2015 Agenda
Indian Farmers Flex Collective Muscles
The “Secret Treasure” of Food Waste
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น