วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

123. FM: เกษตรอินทรีย์ในไทย-กรีนเน็ต



Farmer groups and the biodiversity dividend
by Michael B. Commons
กลุ่มเกษตรกร และปันผลความหลากหลายทางชีวภาพ

Many different agricultural practices contribute positively in terms of biodiversity. Joining hands and working together is clearly one of them. This was shown by Green Net, the co-op that recently hosted the participants of the Agrobiodiversity@knowledged programme in Thailand. There they also saw the benefits that biodiversity can bring to both producers and their organisations.
                วิถีปฏิบัติทางเกษตรกรรมต่างๆ หลายแนว ได้ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ.   การจับมือและทำงานร่วมกัน เป็นวิธีหนึ่งที่ชัดเจน.  นี่เป็นสิ่งที่ กรีนเน็ต แสดงให้เห็น.  กรีนเน็ต เป็นสหกรณ์ที่หน้าที่เป็นเจ้าภาพของโปรแกม Agrobiodiversity@knowledged  จัดขึ้นในประเทศไทย.   ที่นั่น ผู้เข้าร่วมได้เห็นถึงประโยชน์ที่ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถให้แก่ทั้งผู้ผลิตและองค์กรของพวกเขา.

Since 1993, Green Net Co-operative has been working with small-scale farmer groups under two key principles: organic farming and fair trade. The primary motivation for starting to work together was not our interest in biodiversity, but rather our desire to link farmers applying sustainable ecological practices to consumers interested in having access to quality foods, thus benefiting both sides.
                ตั้งแต่ปี 1993, สหกรณ์กรีนเน็ต ได้ทำงานกับกลุ่มเกษตรกรรายย่อยภายใต้สองหลักการ: เกษตรอินทรีย์ และ การค้าที่เป็นธรรม.   แรงกระตุ้นแรกที่ทำให้เริ่มทำงานร่วมกัน ไม่ใช่ความสนใจในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ, แต่เป็นความปรารถนาที่จะเชื่อมโยงเกษตรกรที่ใช้วิถีนิเวศยั่งยืน กับ ผู้บริโภค ที่สนใจจะเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ, ดังนั้น เป็นประโยชน์แก่ทั้งคู่.
Yet, from the start, this linkage has been very positive in terms of local biodiversity. Our work supports the use of integrated ecological practices, contributes to the economic development of farmers and farmers’ communities, and has helped to preserve and enrich farm ecologies, and to preserve and enrich farm communities.
                แต่, ตั้งแต่แรกเริ่ม, การเชื่อมโยงนี้เป็นบวกมากในแง่ความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่น.   งานของเราสนับสนุนการใช้วิธีปฏิบัติที่ผสมผสานเชิงนิเวศ, ที่สร้างคุณูปการต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของเกษตรกรและชุมชนของเกษตรกร, และได้ช่วยสงวนพร้อมทั้งทำให้ระบบนิเวศในฟาร์มอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น, และช่วยสงวนพร้อมทั้งทำให้ชุมชนเกษตรอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น.
Most of the Green Net farms show a much greater diversity of life than those managed under a regime of chemical inputs. Farmers adopting organic methods consistently point to the return of species of fish, frogs, wild vegetables and so forth that they had not seen since their childhoods.
                ฟาร์มส่วนใหญ่ของกรีนเน็ต แสดงให้เห็นว่า มีความหลากหลายของชีวิตมากกว่าฟาร์มที่ใช้สารเคมี.  เกษตรกรที่ใช้วิธีการอินทรีย์บอกเหมือนๆ กันว่า ปลาหลากสายพันธุ์, กบ, ผักพื้นบ้าน และอื่นๆ ที่พวกเขาเคยเห็นตอนเป็นเด็ก ได้พากันหวนกลับคืนมา.
We have also seen that working together to produce quality agricultural products that are marketed collectively can help farmers improve their economic well-being.
                เราก็ได้เห็นการทำงานร่วมกันเพื่อทำการผลิตเกษตรที่มีคุณภาพ ที่ขายสู่ตลาดอย่างเป็นกลุ่มก้อน และสามารถช่วยเกษตรกรให้ยกระดับความเป็นอยู่ได้.
However, the benefit of being part of a farmers’ group and of a network, goes far beyond this. Whether in Thailand or elsewhere, the modern world does not seem to value local, indigenous, and personal knowledge and experience, especially when it has to compete with the knowledge and information coming from academic and official channels.
                ถึงอย่างไร, ประโยชน์ของการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเครือข่ายเกษตรกร และของเครือข่ายหนึ่งๆ ไปไกลกว่านี้.  ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยหรือที่อื่นๆ, โลกสมัยใหม่ดูเหมือนจะไม่ให้คุณค่าต่อองค์ความรู้และประสบการณ์ท้องถิ่น, ดั้งเดิม, และส่วนตัว, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมันต้องแข่งขันกับองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารจากสถาบันการศึกษาและทางการ.
For many years, Green Net members have been using participatory learning methodologies to develop skills in organic methods, and more recently for developing technologies to adapt to climate change. This process enables farmers to share their knowledge and experience with others and to become researchers and innovators themselves. All of our groups have regular village and district level meetings, and we also host an annual Green Net Co-operative meeting.
                เป็นเวลาหลายปีแล้ว ที่สมาชิกกรีนเน็ต ได้ใช้วิธีการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะในวิธีการอินทรีย์, และเร็วๆ นี้ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง.   กระบวนการนี้ ได้ทำให้เกษตรกรสามารถแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของพวกเขากับผู้อื่น และกลายเป็นนักวิจัยและนักนวัตกรรมไปในตัว.   กลุ่มของพวกเราทั้งหมด มีการประชุมเป็นประจำในระดับหมู่บ้านและอำเภอ, และเราก็เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของสหกรณ์กรีนเน็ตด้วย.
With new confidence in one’s knowledge and a spirit of innovation, each meeting is an exchange of knowledge and ideas and, usually, also of seeds and growing materials. New species are integrated onto farms and new ways to use natural resources are learned – and the area’s biodiversity wealth increases.
                ด้วยความมั่นใจใหม่ในความรู้ของตัวเองและวิญญาณแห่งนวัตกรรม, ในทุกการประชุม เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิด และ, เป็นปกติ, ก็จะรวมถึงเมล็ดพันธุ์ และวัสดุเพื่อการเพาะปลูก.   สายพันธุ์ใหม่ๆ ได้ถูกผนวกลงในฟาร์ม และได้เรียนรู้วิธีการใหม่ๆ  ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ—และคลังแห่งความหลากหลายทางชีวภาพก็เพิ่มพูนขึ้น.

Our biodiverse “rice based-farming systems”
                “ระบบเกษตรบนฐานของข้าว” อันหลากหลายทางชีวภาพของเรา

While most Green Net farmers are primarily rice farmers, and (organic) rice is the main product the co-operative trades, economic stability, time and an interest in innovation and exchange, have led our farmer members towards more diverse and integrated production.
                ในขณะที่ เกษตรกร กรีนเน็ต ส่วนใหญ่ในเบื้องต้นจะเป็นชาวนา, และ ข้าว (อินทรีย์) เป็นผลผลิตหลักของการค้าสหกรณ์, ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ, เวลาและความสนใจในนวัตกรรมและการแลกเปลี่ยน, ได้ทำให้สมาชิกเกษตรกรของเราเดินหน้าสู่การผลิตที่หลากหลายและผสมผสานมากยิ่งขึ้น.
This is in strong contrast with many other farmers in their own and in neighbouring communities, and has led to the successful establishment of many local “green markets” where organic/sustainable farmers sell their local vegetables, home processed foods and snacks, harvested fish, frogs, bamboo worms, mushrooms, rice or vegetable seeds.
                อันนี้ตรงข้ามอย่างแรงกับเกษตรกรอื่นๆ หลายคนที่ทำเอง และอยู่ในชุมชนใกล้เคียง, และได้นำไปสู่ความสำเร็จในการก่อตั้ง “ตลาดสีเขียว” ท้องถิ่นหลายๆ จุด ที่ซึ่ง เกษตรกรอินทรีย์/ยั่งยืน ขายผักบ้าน, อาหารแปรรูปที่บ้าน และอาหารว่าง, ปลา, กบ, หนอนหน่อไม้, เห็ด, ข้าว หรือเมล็ดผัก.
In other cases, communities apply their traditional knowledge to make special products such as naturally dyed fabrics or basketry handicrafts, and adapt them to tap into interesting new markets. While it may not be evident that this diversified production system comes from groups originally established to produce organic rice, without the existing group dynamics and the market linkages, most of these farmer members would probably not be applying organic methods, and many would probably be supplementing their incomes by selling their labour in cities and factories. They would probably also have lost more of their cultural knowledge and their varietal diversity. They would not have had the marketing, accounting, and management experience they now hold to move forward in new ventures that are founded on their own strengths; their knowledge and the biodiversity they care for.
                ในกรณีอื่นๆ, ชุมชนใช้ความรู้ตามประเพณีดั้งเดิม เพื่อทำผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ เช่น ผ้าย้อมสีธรรมชาติ  หรือ ตะกร้าสาน, และก็ดัดแปลงเพื่อให้เป็นที่สนใจของตลาดใหม่ๆ.   ในขณะที่ มันอาจไม่ชัดว่า ระบบการผลิตที่หลากหลายนี้ มาจากกลุ่มที่เริ่มแรกก่อตั้ง เพื่อผลิตข้าวอินทรีย์,  แต่หากไม่มีพลวัตของกลุ่มดังกล่าว และการเชื่อมโยงของตลาด, สมาชิกเกษตรกรส่วนใหญ่เหล่านี้ คงไม่ใช้วิธีการอินทรีย์, และหลายคนก็คงเสริมรายได้ด้วยการขายแรงงานในเมืองและโรงงาน.  พวกเขาคงจะสูญเสียความรู้ด้านวัฒนธรรมและความหลากหลายของพืชพันธุ์ยิ่งกว่านี้ด้วย.  พวกเขาคงจะไม่มีประสบการณ์ในการตลาด, การบัญชี, และการจัดการ ที่ตอนนี้พวกเขามีอยู่ เพื่อเดินหน้าสู่กิจการใหม่ๆ ที่ต่อยอดจากจุดแข็งของพวกเขา นั่นคือ  องค์ความรู้ของพวกเขาและความหลากหลายทางชีวภาพที่พวกเขาดูแลอยู่.

“Make every aspect of biodiversity a part of your life”
                “ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพทุกด้าน เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคุณ”

Forty-three people from all over the world met in Thailand in July for a three day conference as part of the Agrobiodiversity@knowledged programme. Following on from the first meeting in Thika, Kenya, in October 2011, this second meeting was meant to help consolidate the group and kick-start activities. According to M.P. Vasimalai, a participant from India, “the meeting in Thika was like the germination of a seed.
                ผู้เข้าร่วม 43 คนจากทั่วโลกมาพบกันในประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม เพื่อร่วมประชุม 3 วัน อันเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกม Agrobiodiversity@knowledged.  การประชุมนี้เป็นครั้งที่สอง ตามหลังการประชุมครั้งที่หนึ่ง ในธิคา, เคนยา, ในเดือนตุลาคม 2011, ต้องการช่วยผนึกพลังกลุ่มและเริ่มต้นกิจกรรมต่างๆ.   ตามความเห็นของ เอ็ม.พี.วสิมาลัย, ผู้เข้าร่วมจากอินเดีย, “การประชุมที่ธิคา เหมือนกับการเพาะเมล็ดหนึ่ง.
This second meeting brought a kind of binding that will only strengthen in the future.” The venue and the set-up of the meeting was special (the green, airy grounds of a Buddhist ashram, surrounded by water and only accessible by a rope raft), but it was the approach which impressed participants most.
                การประชุมครั้งที่สองนี้ ได้นำมาซึ่งความสัมพันธ์ที่จะมีแต่เสริมสร้างความเข้มแข็งในอนาคต”.  สถานที่ประชุม และการตบแต่งสถานที่มีความพิเศษ (พื้นที่สีเขียว, ปลอดโปร่ง ในบริเวณอาศรมพุทธ, ล้อมรอบด้วยน้ำและเข้าถึงได้ทางเดียวโดยแพโยง), แต่ผู้เข้าร่วมมีความประทับใจมากที่สุดที่แนวทางการนำเสนอ.
Quoting the same participant, “the preparatory committee and the facilitator saw to it that the content came from the community, and therefore the ownership lies with the community”.
                ขออ้างคำพูดจากผู้เข้าร่วมคนเดิม, “คณะกรรมการเตรียมงานและกระบวนกร ได้ดูแลให้มีเนื้อหาสาระที่มาจากชุมชน,  ดังนั้น ความเป็นเจ้าของอยู่กับชุมชน”.
The three-day discussions helped the group map out ideas and define a strategic direction. Maryleen Micheni, from PELUM Kenya, described the meeting as a “kind of think-tank”. Participants from many civil society organisations together identified five strategic fields of action (policy and government, market and trade, the development of resilient communities, information and networking, and seeds and technology), and then drafted plans to develop with research institutes, governments and the private sector. “The message I take home is that it is very important to understand the interactions between land and resources, local legislation, and the market forces.” “We will go for an agrobiodiversity network on seeds, and set up action programmes. It doesn’t need a lot of money to do that. And I intend to target the universities we work with.” “Our intention is to make every aspect of biodiversity a part of our life.”
                การอภิปราย 3 วันได้ช่วยให้กลุ่มทำแผนที่ความคิดและกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์.  แมรีลีน มิเคนิ, จาก PELUM เคนยา, บรรยายว่า การประชุมนี้เป็นเหมือน “ถังความคิด”.  ผู้เข้าร่วมจากองค์กรประชาสังคมต่างๆ ได้ร่วมกันระบุยุทธศาสตร์ 5 สาขา เพื่อปฏิบัติการ (นโยบายและรัฐบาล, การตลาดและการค้า, การพัฒนาของชุมชนยืดหยุ่น, สารนิเทศและการสร้างเครือข่าย, และเมล็ดพันธุ์และเทคโนโลยี), แล้วก็ยกร่างแผนเพื่อพัฒนาร่วมกับสถาบันวิจัย, รัฐบาลและภาคธุรกิจเอกชน.  “ข่าวสารที่ฉันจะนำกลับบ้าน คือ มันเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างที่ดินและทรัพยากร, การตรากฎหมายในท้องถิ่น, และกระแสตลาด”.   “เราจะเดินหน้าเพื่อสร้างเครือข่ายความหลากหลายทางชีวภาพเกษตร ด้านเมล็ดพันธุ์, และจัดตั้งโปรแกมปฏิบัติการ.   มันไม่ต้องใช้เงินมากมายนักในการทำเรื่องนั้น.  และฉันตั้งใจจะปักหลักที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เราทำงานด้วย”.   “เจตนาของพวกเรา คือ ทำให้ทุกๆ ด้านของความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา”.
All these plans are built on the many lessons and ideas that emerged at the meeting. The challenge at home is now “to test the plans we have formulated, interact with others, and further develop our strategies.” The sense of success was summarised by Zimbabwe’s Prosper Matondi: “I like the feeling that this is our business. We are in charge.” (Karoline Bias)
ทั้งหมดนี้ ต่อยอดจากบทเรียนและความคิดมากมายที่เกิดขึ้นในที่ประชุม.  สิ่งท้าทายที่บ้านตอนนี้ คือ “ทดสอบแผนที่พวกเราได้กำหนดขึ้น, สร้างปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ, และพัฒนายุทธวิธีของเราให้มากขึ้น”.   ความรู้สึกถึงความสำเร็จได้ถูกรวบยอดโดย พรอสเพอร์ มาตันดิ จากซิมบาบวย : “ฉันชอบความรู้สึกที่ว่า นี่เป็นธุระของเรา.  เราเป็นคนกำกับควบคุม”.
Michael B. Commons
Michael B. Commons (michael@greennet.or.th) works with Green Net in Thailand, and is a member of the Agrobiodiversity@knowledged programme. More information can be found on their website: www.greennet.or.th.

For more information about the OxfamNovib / Hivos knowledge programme please get in touch with Willy Douma (wdouma@hivos.nl) or Gine Zwart (gine.zwart@oxfamnovib.nl).

ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น