วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

115. โรคไต เพราะ เคมีเกษตร และอื่นๆ – ศรีลังกา


Study Links Kidney Disease in Sri Lanka’s Farm Belt to Agrochemicals
งานศึกษาเชื่อมโรคไตในแถบฟาร์มของศรีลังกากับสารเคมีเกษตร

New research on the high prevalence of kidney disease in Sri Lanka's farming areas mentions a possible link to heavy metals in the water, associated with fertiliser and pesticide use. Credit: Amantha Perera/IPS
COLOMBO, Aug 21 2012 (IPS) - A new report links the high prevalence of chronic kidney disease in Sri Lanka’s main agricultural production regions with the presence of heavy metals in the water, caused by fertiliser and pesticide use.
            โคโลมโบ- รายงานชิ้นใหม่ เชื่อมโยงการแพร่ระบาดของโรคไตเรื้อรังในภาคที่เป็นหลักในการผลิตทางเกษตรของศรีลังกา กับโลหะหนักในน้ำ ที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีและยากำจัดศัตรูพืช.
Over the past two decades, dozens of studies have been conducted on the large number of kidney patients in Sri Lanka’s agro-rich north-central region. However, none had conclusively identified a clear cause.
            กว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา, มีการศึกษาหลายสิบชิ้น เกี่ยวกับผู้ป่วยโรคไตจำนวนมากในภาคเหนือตอนกลาง ที่อุดมไปด้วยเกษตรกรรม ของศรีลังกา.  แต่ไม่มีใครสรุปสาเหตุได้ชัดเจน.
But on Aug. 14, a group of Sri Lankan doctors released a report that they said was compiled as part of an ongoing joint research project by the Sri Lankan government and the World Health Organisation (WHO).
            แต่ในวันที่ 14 สิงหาคม, แพทย์ศรีลังกากลุ่มหนึ่ง ได้เปิดเผยรายงาน ที่พวกเขาบอกว่า เป็นการรวบรวมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยร่วมที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างรัฐบาลศรีลังกา และ องค์การอนามัยโลก.
The report states that: “Exposure to a combination of factors that are toxic to the kidneys (rather than one single factor) seems to cause this kidney disease. Toxic factors identified up to now include nephrotoxic agrochemicals, arsenic and cadmium.”
            รายงานระบุว่า “การสัมผัสกับปัจจัยผสมผสานที่เป็นพิษต่อไต (แทนที่จะเป็นปัจจัยเดี่ยวโดดๆ) ดูเหมือนจะเป็นต้นเหตุของโรคไต.  ปัจจัยที่เป็นพิษที่ถูกระบุจนถึงบัดนี้ มี สารเคมีเกษตร nephrotoxic, สารหนู และ แคดเมียม”.
·         Cultivating Toxic Crops
·         การเพาะปลูกพืชพิษ
As many as 400,000 people in the north-central region may be suffering from kidney disease, said doctors taking part in the release of the report. They added that in the past two decades, as many as 22,000 people may have died as a result.
            ประชาชนมากถึง 400,000 คน ในภาคเหนือตอนกลางอาจล้มป่วยด้วยโรคไต, แพทย์ในคณะเปิดเผยรายงานกล่าว.  พวกเขาเสริมว่า ในสองทศวรรษที่ผ่านมา, ประชาชนมากถึง 22,000 คนที่ตายไปแล้วอาจด้วยสาเหตุดังกล่าว.
“The reason for the spread is heavy metals in the water caused by the unregulated use of fertiliser and pesticides,” Dr. Channa Jayasumana, from the Faculty of Medicine at the Rajarata University in Anuradhapura, told IPS.
            “เหตุผลของการแพร่ระบาด คือ โลหะหนักในน้ำ ที่เกิดจากการใช้ปุ๋ย (เคมี) และยากำจัดศัตรูพืช อย่างไม่มีการควบคุม”, ดร.ชันนา ชัยสุมานา, จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชรัฎ ใน อนุรัธปุระ,
Jayasumana was on the team of doctors who released the report. They said they had handed the study over to the government last year, and accused the authorities of failing to release it to the public, and of failing to take action on the results.
            ชัยสุมานา อยู่ในทีมหมอที่เปิดเผยรายงานนั้น.  พวกเขากล่าวว่า พวกเขาได้ส่งงานศึกษานี้ให้รัฐบาลเมื่อปีที่แล้ว, และได้กล่าวหาผู้ที่มีอำนาจรับผิดชอบ ที่ไม่ได้เปิดเผยรายงานต่อสาธารณชน, และไม่ได้ทำอะไรกับผลการศึกษานั้น.
The report created a media stir in the country, but so far neither the government nor the WHO country office have acknowledged or denied its contents.
            รายงานได้ทำให้เกิดความปั่นป่วนในสื่อของประเทศ, แต่จนถึงบัดนี้ ทั้งรัฐบาล และ องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ยังไม่ได้ออกมายอมรับ หรือ ปฏิเสธ สาระในรายงาน.
WHO sources confirmed to IPS that a researcher cited in the report, Dr. Shanthi Mendis, works for the international organisation. But they said some of the details reported in the media differed from those in WHO reports. They declined to go public, and said the research was still inconclusive.
            แหล่ง WHO ยืนยันว่า นักวิจัยคนหนึ่งที่อ้างถึงในรายงาน, ดร.ศานติ เมนดิส, ทำงานให้องค์กรระหว่างประเทศ.  แต่พวกเขาบอกว่า รายละเอียดบางอย่างที่สื่อรายงาน ต่างจากที่ WHO ได้รายงานแล้ว.   พวกเขาไม่ต้องการแถลงในที่สาธารณะ, และบอกว่า การวิจัยยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด.
Sources closely associated with WHO research said the organisation has in fact made a recommendation to the Sri Lankan government to regulate and standardise fertiliser and pesticide imports – the doctors’ main demand.
            แหล่งใกล้ชิดกับหน่วยวิจัยของ WHO บอกว่า อันที่จริง องค์การได้เสนอข้อแนะนำต่อรัฐบาลศรีลังกา ให้ควบคุม และตรวจตรามาตรฐานของปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชที่สั่งเข้ามา—อันเป็นข้อเรียกร้องหลักของทีมแพทย์.
However, another report, published just one day after the study’s release, dismissed heavy metals as the main cause.
            แต่ ในอีกรายงาน, ตีพิมพ์เพียงหนึ่งวันหลังจากการเปิดเผยงานศึกษา, บอกปัดเรื่องโลหะหนักในฐานะที่เป็นสาเหตุหลัก.
The report, “Environmental Contamination and Its Association with Chronic Kidney Disease of Unknown Etiology in North Central Region of Sri Lanka”, released by the New Delhi-based Centre for Science and Environment (CSE), identifies poor water quality as the main reason for kidney failure in that region.
            รายงาน, “การปนเปื้อนสิ่งแวดล้อม และ ความสัมพันธ์กับโรคไตเรื้อรัง ที่ไม่รู้สาเหตุ/ต้นกำเนิด ในภาคเหนือตอนกลางของศรีลังกา”, เผยแพร่โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม (CSE), ที่มีฐานในกรุงเดลฮี, ได้ระบุว่า คุณภาพแย่ของน้ำ เป็นสาเหตุหลักของอาการไตวายในภาคนั้น.
The report says: “Heavy metals in drinking water are not related to chronic kidney disease in Sri Lanka. If heavy metal is responsible, then there is a different source for it than drinking water, and that should be explored.”
            รายงานกล่าวว่า “โลหะหนักในน้ำดื่ม ไม่ได้เกี่ยวพันกับโรคไตเรื้อรังในศรีลังกา.  หากโลหะหนักเป็นตัวรับผิดชอบ, ก็ต้องมีแหล่งอื่นอีกมากกว่าแหล่งน้ำ, และนั่นควรจะได้รับการสำรวจต่อ”.
CSE deputy director Chandra Bushan told IPS “The problem is with the quality of the groundwater. It is contaminated due to geological and environmental reasons.”
            รองผู้อำนวยการ CSE จันทรา บูชัน กล่าว “ปัญหาอยู่ที่คุณภาพของน้ำใต้ดิน.  มันถูกปนเปื้อนเพราะสาเหตุทางธรณีวิทยาและสิ่งแวดล้อม”.
But, he said, if fertilisers and pesticides were the main cause, then the disease should also be visible in other agricultural areas of the country with equally heavy use.
            แต่ เขากล่าวว่า, หากปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช เป็นสาเหตุหลัก, โรคนี้ก็น่าจะเห็นได้ชัดในเขตเกษตรกรรมอื่นๆ ในประเทศที่มีการใช้สารเคมีเกษตรอย่างหนักหน่วงด้วย.
The CSE report also found that dug wells and tube wells were much more dangerous than natural springs.
The report stated that “The affected area covers approximately 17,000 square km, with a population of about 2.5 million, in which more than 95 percent live in rural areas.”
            รายงานของ CSE ได้พบว่า บ่อขุด และบ่อท่อ มีอันตรายมากกว่าธารน้ำธรรมชาติ.  รายงานเขียนว่า “พื้นที่ๆ ที่ได้รับผลกระทบมีประมาณ 17,000 ตร.กม., มีประชากรประมาณ 2.5 ล้านคน, ในจำนวนนี้ กว่า 95% อาศัยอยู่ในเขตชนบท”.
Citing the main hospital in the North Central Anuradhapura District, the report said that in 2010 there was “a 227 percent increase in live discharge patients with end-stage chronic kidney disease, whereas the death rate increased by 354 percent during the last few years.”
            ด้วยการอ้างถึงโรงพยาบาลหลักแห่งหนึ่งในเขตอนุรัธปุระ เหนือตอนกลาง, รายงานบอกว่า ในปี 2010 มี “ผู้ป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายเพิ่มขึ้นถึง 227% ในขณะที่อัตราการตายเพิ่มขึ้น 354% ในช่วงสองปีที่ผ่านมา”.
According to the numbers cited by the CSE report, which was released in Anuradhapura, more than 10 percent of the island’s population of nearly 21 million lives in these high-risk areas.
            ตามตัวเลขที่อ้างในรายงานของ CSE, ที่เผยแพร่ในอนุรัธปุระ, กว่า 10% ของประชากรเกือบ 21 ล้านในเกาะ เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง.
The regions most in danger are the north-central, eastern, southeastern and central, as well as parts of the northern provinces – Sri Lanka’s main agricultural production areas.
            ภาคที่เสี่ยงอันตรายที่สุด คือ เหนือตอนกลาง, ตะวันออก, ตะวันออกเฉียงใต้ และ กลาง, รวมทั้งจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ อันเป็นบริเวณการผลิตทางเกษตรหลักของศรีลังการ.
Despite the different conclusions reached by the two reports, researchers involved in each study acknowledged that the issues raised by the other were significant.
            ทั้งๆ ที่รายงานทั้งสองชิ้น สรุปต่างกัน, นักวิจัยที่ร่วมในแต่ละงานการศึกษา ยอมรับว่า ประเด็นอื่นๆ ที่อีกฝ่ายยกขึ้นมา มีนัยสำคัญ.
“We have always said that fertiliser and pesticide use should be regulated,” CSE’s Bushan said.
            “เราพร่ำบอกว่า ควรมีการควบคุมการใช้ปุ๋ยและยากำจัดวัชพืช”, บูชัน แห่ง CSE กล่าว.
“There is no question that the water quality is bad, we agree with that,” said Jayasumana, whose research was cited in the CSE report as well.
            “ไม่มีคำถามเลยว่า คุณภาพน้ำแย่, เราเห็นด้วยอันนั้น” ชัยสุมานา กล่าว, งานวิจัยของเขาก็ถูกอ้างในรายงานของ CSE.
Both studies also called for immediate action to stem the spread of kidney disease.
            งานศึกษาทั้งสองชิ้น เรียกร้องให้มีปฏิบัติการทันทีเพื่อระงับการแพร่ขยายของโรคไต.
The statistics show that male farmers, who spend much of their time outdoors in the fields, are struck down most often.
            สถิติแสดงว่า ชาวนาชาย, ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่นอกบ้านในไร่นา, ถูกคุกคามได้มากกว่า.
The CSE report says it is male farmers between the ages of 30 and 60 who are at highest risk.
            รายงาน CSE กล่าวว่า ชาวนาชายอายุระหว่าง 30-60 เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุด.
And the Sri Lankan research shows that at least 15 percent of men between the ages of 15 and 70 were affected in the north-central and southeastern provinces. “Men over the age of 40 years, who have been engaged in farming for more than 10 years, are at higher risk of developing this disease,” it states.
            และงานวิจัยของศรีลังกาแสดงว่า อย่างน้อย ชาย 15% ระหว่างอายุ 15-70 ได้รับผลกระทบในจังหวัดภาคเหนือตอนกลาง และตะวันออกเฉียงใต้.  “ชายอายุเกิน 40, ที่ทำงานในไร่มากกว่า 10 ปี, มีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเป็นโรคนี้ได้”.
But despite the clear danger for men in the high-risk age bracket, especially those engaged in agriculture, options are few and far between.
            แต่แม้ว่าจะมีอันตรายชัดเจนสำหรับชายในกลุ่มอายุเสี่ยงสูง, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่ทำงานเกษตร, ทางเลือกมีน้อยมาก และห่างไกล.
“What to do? We have to use fertiliser and pesticide if we want to get a good harvest, we have to drink the water if we don’t want to die of thirst. No one has told us what to do and what not to do,” said Karunarathne Gamage, who lives in the country’s North Central province.
            “จะทำอย่างไรได้?  เราต้องใช้ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช หากเราต้องการเก็บเกี่ยวได้ผลดี, เราต้องดื่มน้ำหากเราไม่ต้องการตายจากความกระหาย.  ไม่มีใครเคยบอกพวกเราเลยว่า ควรทำอะไร และไม่ควรทำอะไร”, กรุณารัตเน กาเมจ, ผู้อาศัยอยู่ในจังหวัดเหนือตอนกลาง กล่าว.
Bushan said the CSE study also emphasised the poor quality of medical services available in the region. One session of dialysis costs the Sri Lankan government around 90 dollars, and most regional hospitals lack staff and facilities to carry out such procedures regularly.
            บูชันกล่าวว่า งานศึกษา CSE ได้เน้นด้วยถึงคุณภาพที่แย่ของการบริการแพทย์ในภูมิภาค.  การไปฟอกไตแต่ละครั้ง รัฐบาลศรีลังกาต้องจ่ายประมาณ 90 ดอลลาร์, และโรงพยาบาลในภูมิภาคส่วนใหญ่ ไม่มีเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ในการดำเนินการตามปกติได้.
ดรุณี แปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น