What does Rio+20 mean for
sustainable development?
ริโอ+20 มีความหมายอย่างไร ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน?
Helen Clark
เฮเลน คลาร์ก
20 August 2012
(ดรุณี
ตันติวิรมานนท์ แปล)
Helen Clark, UNDP Administrator
State of the Nation’s
Environment
“What does Rio+20
mean for sustainable development?”
Lincoln University,
New Zealand, 20 August 2012, 7:30pm
I thank Lincoln University for the invitation to deliver
this year’s State of the Nation’s Environment address. I commend both the
University and the Isaac Centre for Nature Conservation for establishing and
supporting this annual lecture as a way of drawing attention to the
environmental and sustainability issues New Zealand faces.
ดิฉันขอขอบคุณมหาวิทยาลัยลินคอล์น
ที่เชิญให้มากล่าวสุนทรพจน์ “สภาวะสิ่งแวดล้อมของชาติ” ในปีนี้. ดิฉันชื่นชมทั้งมหาวิทยาลัย และ ศูนย์ไอแซคเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่ก่อตั้งและสนับสนุนการแสดงปาฐกถาประจำปีนี้
ให้เป็นช่องทางดึงดูดความสนใจ ต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนที่นิวซีแลนด์กำลังเผชิญ.
This year’s address takes place in the 25th anniversary year
of the release of the Brundtland Report - the UN Report which, in defining
sustainable development, helped facilitate a global consensus on its importance.
We also meet just two months after world leaders gathered in Rio de Janeiro to
agree on steps to advance sustainable development at the UN Conference on
Sustainable Development, Rio+20.
สุนทรพจน์ปีนี้ ตรงกับปีที่ 25
ของการเปิดตัวรายงานบรุนท์แลนด์ (Brundtland)—รายงานสหประชาชาติ/ยูเอ็น ที่, ในการนิยาม การพัฒนาที่ยั่งยืน,
ได้ช่วยเอื้อให้คนส่วนใหญ่เห็นชอบร่วมในความสำคัญของมัน. เรามาพบกัน (วันนี้) เพียงสองเดือนหลังจากผู้นำโลกได้ร่วมประชุมในกรุง
ริโอเดอจาไนโร เพื่อเจรจาถึงก้าวต่อไปของการพัฒนาที่ยั่งยืน ในที่ประชุมริโอ+20.
Advancing sustainable development worldwide is central to
the mandate of the UN Development Programme which I lead, and it is also of
critical importance for both the health of New Zealand’s environment and the
well-being of its people. No country is truly an island: the state of New
Zealand’s environment and the well-being of its people are also related to the
willingness and capabilities of those outside our borders to make the right
decisions and take collective action to implement them.
การเดินหน้าของการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก
เป็นหัวใจของโปรแกมการพัฒนาสหประชาชาติ (UNDP) ที่ดิฉันนำอยู่,
และมันก็มีความสำคัญยิ่งยวดต่อทั้งสุขภาพของสิ่งแวดล้อมของนิวซีแลนด์
และความอยู่ดีมีสุขของประชาชนในชาติ.
ไม่มีประเทศใดที่เป็นเกาะอย่างแท้จริง: สภาวะสิ่งแวดล้อมของนิวซีแลนด์ และความอยู่ดีมีสุขของประชาชาติ
เกี่ยวเนื่องกับการยินยอมและสมรรถนะของผู้ที่อยู่นอกพรมแดนของเรา
ที่จะเลือกตัดสินใจได้ถูกต้อง และร่วมใจปฏิบัติการเพื่อทำให้มันสัมฤทธิ์ผล.
I am especially pleased, therefore to join you today to
examine what the Rio+20 Conference means for sustainable development for all of
us.
ดิฉันมีความยินดีเป็นพิเศษ,
ที่ได้มาร่วมกับพวกท่านในวันนี้ ตรวจสอบว่า
การประชุมริโอ+20
มีความหมายต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และต่อพวกเราทั้งหมดอย่างไร.
My lecture tonight will address three issues:
ปาฐกถาของดิฉันในค่ำคืนนี้
จะกล่าวถึงสามประเด็น.
First:The background to Rio+20, and what happened at the
conference
Second:What Rio+20 means for engagement in and leadership of
sustainable development.
Third:How the outcome of Rio+20 could be translated into
policy solutions to pressing global challenges.
๑.
ภูมิหลังสู่ริโอ+20, และเกิดอะไรขึ้นในที่ประชุม
๒.
ริโอ+20 หมายความว่าอะไร สำหรับการมีส่วนร่วมและการเป็นผู้นำของการพัฒนาที่ยั่งยืน
๓.
จะแปลผลลัพธ์ของ
ริโอ+20
สู่ทางออกเชิงนโยบายเพื่อรับมือกับข้อท้าทายระดับโลกได้อย่างไร.
First, the background to Rio+20, and what happened at the
conference.
ข้อแรก, ภูมิหลังสู่ริโอ+20,
และเกิดอะไรขึ้นในที่ประชุม
Many of you will have seen the somewhat mixed media accounts
of the conference outcome – some are hopeful, while others are rather dour and
pessimistic. Before drawing conclusions about its success or failure, however,
let’s look at what the Conference was intended to achieve, and what it actually
did accomplish. We also need to consider the context in which it took
place.
หลายท่านคงได้เห็นรายงานจากสื่อที่ค่อนข้างสับสนเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการประชุม—บ้างให้ความหวัง, ในขณะที่ด้านอื่นๆ ค่อนข้างหดหู่และสิ้นหวัง. ก่อนที่จะสรุปถึงความสำเร็จและความล้มเหลว,
ขอให้เราหันมาดูว่า การประชุมตั้งใจจะทำอะไรให้เกิดขึ้น, และอะไรได้เกิดขึ้นจริง.
เราจำเป็นต้องพิจารณาถึงบริบทที่มันเกิดขึ้นด้วย.
The negotiations of UN member states on the outcome document
for Rio+20 occurred against the backdrop of significant political and economic
tension in Europe, the United States, and elsewhere. Economic uncertainty and
the prospect of slow growth polarized the political discourse on growth and
austerity, and left leaders reluctant to be proactive in addressing global
challenges, including through development assistance and environmental
protection.
การเจรจาต่อรองของรัฐสมาชิกของยูเอ็นในเอกสารผลลัพธ์สำหรับ
ริโอ+20
ได้เกิดขึ้นท่ามกลางความตึงเครียดยิ่งทางการเมืองและเศรษฐกิจในยุโรป, สหรัฐฯ,
และที่อื่นๆ.
ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและอนาคตของการขยายตัวช้าลง
ได้แยกขั้ววาทะกรรมทางการเมืองเป็น การขยายตัว และ การรัดเข็มขัด,
และปล่อยให้ผู้นำละล้าละลัง ที่จะก้าวออกมาตอบโต้กับปัญหาท้าทายโลก,
รวมทั้งด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาและการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม.
Development co-operation does have a vital and catalytic
role to play in advancing sustainable development. If traditional donors are
reducing the quantity of aid, that does not help the atmospherics around a
conference like Rio+20. Indeed, the volume of official development assistance,
as measured in real terms by the Organization for Economic Co-operation and Development
(OECD), dropped last year for the first time since 1997. That is not the ideal
backdrop for a major UN conference related to development.
ความร่วมมือในการพัฒนามีบทบาทสำคัญและกระตุ้นให้ผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน. หากผู้ให้ทุนที่เคยให้ เริ่มลดปริมาณความช่วยเหลือ,
ก็ไม่เป็นการดีต่อบรรยากาศรอบๆ ที่ประชุมริโอ+20. อันที่จริง, ปริมาณความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการในด้านการพัฒนา,
ดังที่วัดโดย OECD, ได้ลดลงปีกลายเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี
1997
(๒๕๔๐). นั่นไม่ใช่สถานการณ์ในอุดมคติสำหรับการประชุมหลักของยูเอ็นเรื่องการพัฒนา.
For these and other reasons, failure to agree on any outcome
whatsoever at Rio+20 remained a distinct possibility up until the arrival of
high-level delegations at the conference itself. Months of negotiations in New
York had produced few results. No outcome would have been disastrous, making it
more difficult to generate the momentum needed to address the linked challenges
of environmental degradation, social inequity, and economic volatility.
ด้วยเหตุผลนี้และอื่นๆ,
ความล้มเหลวที่จะตกลงอะไรกันได้ในผลลัพธ์ของริโอ+20 ดูเหมือนเพียงอาจเป็นไปได้ไกลๆ
จนกระทั่งผู้แทนระดับสูงได้มาถึงที่ประชุมด้วยตัวเอง. การเจรจาต่อรองหลายเดือนที่นิวยอร์กก่อนหน้า
ได้ยังผลไม่กี่ประการ. หากไม่มีผลลัพธ์ใดเลย
คงเป็นความฉิบหาย, ทำให้ยากยิ่งขึ้นที่จะจุดประกายให้เกิดแรงโน้มถ่วงที่จำเป็นสำหรับแก้ไขข้อต่ออุปสรรคของความเสื่อมโทรมในสิ่งแวดล้อม,
ความไม่เท่าเทียมในสังคม, และความผันผวนในเศรษฐกิจ.
Unfortunately it is not unknown for major multilateral
meetings to fail to produce significant outcomes: the UN Committee on the
Status of Women could not agree this year; the Commission for Sustainable
Development struggled last year; and the Copenhagen Climate Conference
struggled the year before. As New Zealanders are acutely aware, the WTO’s Doha
Development Round has been in trouble for years.
โชคร้ายคะ มันไม่ใช่เรื่องลึกลับที่การประชุมพหุภาคีสำคัญๆ จะล้มเหลวในการผลิตผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญ: คณะกรรมาธิการยูเอ็นว่าด้วยสถานภาพสตรี ไม่สามารถตกลงกันได้ในปีนี้; คณะกรรมาธิการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องสู้กันปีกลาย; และที่ประชุมภูมิอากาศโคเปนเฮเกน ต้องดิ้นรนต่อสู้กันปีก่อนหน้านั้น. ดังที่ชาวนิวซีแลนด์ตระหนัก,
การประชุมโต๊ะกลมการพัฒนา Doha
ขององค์การค้าระหว่างประเทศ ประสบปัญหามาหลายปีแล้ว.
After much debate and late night negotiations, however, the
193 UN member states at Rio+20 adopted the compromise outcome document
submitted by the host, Brazil. Its title, “The Future We Want”, restates the
global commitment to achieve sustainable development, and calls on all actors
to reinvigorate their efforts. Considering the global political context, this
outcome must be seen as a glass at least half full.
หลังจากมีการอภิปรายมากมายและการเจรจาจนดึกดื่น,
รัฐสมาชิกยูเอ็น 193 ชาติที่ริโอ+20 ได้ยอมรับการประนีประนอมในเอกสารผลลัพธ์ที่นำเสนอโดยประเทศเจ้าภาพ,
บราซิล. ชื่อเอกสาร,
“อนาคตที่เราต้องการ”, ตอกย้ำพันธะสัญญาร่วมระดับโลกว่า เพื่อให้บรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน,
และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเติมชีวิตชีวา ความจริงจังใส่ในความพยายามเหล่านั้นอีกครั้ง. พิจารณาจากบริบทการเมืองของโลก,
ผลลัพธ์ครั้งนี้ จะต้องถูกมองว่าเป็นน้ำครึ่งแก้ว.
To assess the value of the agreement, we should also view it
in a longer term historical context, and consider what the Conference was
established to achieve.
เพื่อประเมินคุณค่าของข้อตกลง,
เราควรจะมองมันในกรอบประวัติศาสตร์ระยะยาว,
และพิจารณาถึงเป้าหมายที่การประชุมนี้ต้องการบรรลุ.
The Rio+20 outcome document concludes that sustainable
development is the only viable path for development, and, therefore, that for
development to be effective it must be sustainable. It highlights how
environmental protection and economic development are linked, and gives, for
the first time at a global conference of this kind, equal emphasis to the
social – or people-centered - dimension of sustainable development. This is of
great importance to UNDP, which both promotes human development and works
across the three strands of sustainable development, seeking synergies between
them.
เอกสารผลลัพธ์ริโอ+20 สรุปว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นวิถีทางเดียวที่เป็นไปได้สำหรับการพัฒนา,
และ, ดังนั้น, เพื่อให้การพัฒนามีประสิทธิภาพ มันจะต้องยั่งยืน. มันชี้ให้เห็นชัดขึ้นว่า
การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาทางเศรษฐกิจเชื่อมโยงกันอย่างไร, และให้,
เป็นครั้งแรก ณ ที่ประชุมโลกเช่นนี้, น้ำหนักความสำคัญเท่ากันแก่ มิติสังคม—หรือ
คนเป็นศูนย์กลาง—ของการพัฒนาที่ยั่งยืน.
นี่มีความสำคัญมากต่อ UNDP,
ที่ทั้งส่งเสริมการพัฒนามนุษย์ และทำงานบูรณาการทั้งสามสายใยของการพัฒนาที่ยั่งยืน,
แสวงหาทางประสานงานระหว่างกัน.
Thus the Rio+20 outcome reflects an advance in thinking
which brings the consensus of member states closer to the conclusions of the
Brundtland Report 25 years ago.
ดังนั้น ผลลัพธ์ริโอ+20 สะท้อนความก้าวหน้าในวิธีคิด ที่นำสู่การเห็นชอบของรัฐสมาชิกส่วนใหญ่
ใกล้เคียงกับข้อสรุปของรายงานบรุนท์แลนด์ เมื่อ 25 ปีก่อน.
In 1983, the UN Secretary General had asked Gro Harlem
Brundtland to chair a World Commission on Environment and Development, citing her experience as
Norway’s Prime Minister and Environment Minister. The Commission’s Report gave
us the concept of sustainable development, which is widely used today.
ในปี 1983, เลขาธิการยูเอ็น ได้ขอให้ โกร ฮาร์เล็ม บรุนท์แลนด์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา,
โดยอ้างถึงประสบการณ์ของเธอในฐานะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของนอร์เวย์.
รายงานของคณะกรรมาธิการได้ให้กรอบคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน,
ซึ่งถูกใช้กันอย่างกว้างขวางจนทุกวันนี้.
It defined sustainable development as “development which
meets the needs of the present without compromising the ability of future
generations to meet their own needs”. This definition linked the concept to a
fundamental tenet of justice and to human development: that no one should be
denied the ability or opportunity to live lives they value because of their
gender, ethnicity, or any other factor, including, in this case, the generation
in which they happen to be born.
มันได้นิยาม
การพัฒนาที่ยั่งยืนว่าเป็น
“การพัฒนาที่สนองความจำเป็นของชนยุคปัจจุบันโดยปราศจากการประนีประนอมที่ลดความสามารถของอนุชนในอนาคตที่จะสนองความจำเป็นของพวกเขา”. คำนิยามนี้
เชื่อมกรอบคิดไปถึงความเชื่อพื้นฐานในความเป็นธรรมต่อการพัฒนามนุษย์: ว่า ไม่มีใครควรถูกปฏิเสธความสามารถหรือโอกาสที่จะมีชีวิต ดำรงชีวิตที่พวกเขาให้คุณค่า
เพียงเพราะ เพศสภาวะ, ชาติพันธุ์, หรือปัจจัยอื่นใดๆ ของพวกเขา, รวมทั้ง, ในกรณีนี้, ในรุ่นที่พวกเขาได้ถือกำเนิดเกิดมา.
The Brundtland Report argued that sustainable development
was about both advancing social justice and human progress and about
maintaining the integrity of ecosystems. The Report went further to suggest
that the economic, social, and environmental strands of sustainable development
represent interconnected objectives which countries can and should pursue
together.
รายงานบรุนท์แลนด์
เสนอว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเรื่องของการผลักดันความเป็นธรรมในสังคม
และความก้าวหน้าของมนุษย์ และเกี่ยวกับการธำรงศักดิ์ศรีของระบบนิเวศ. รายงานยังเสนอแนะว่า สายใยเศรษฐกิจ, สังคม,
และสิ่งแวดล้อม ของการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นสัญลักษณ์แทนวัตถุประสงค์ที่ถักทอประสานกัน
ที่ประเทศต่างๆ สามารถ และควรจะทำให้ลุล่วงร่วมกัน.
The Report’s powerful and compelling ideas popularized
sustainable development, bringing the term and concept into mainstream
development discourse in developed and developing countries. It also laid the
ground for the United Nations Conference on Environment and Development held in
Rio de Janeiro in 1992.
ความคิดที่ทรงพลังและปลุกใจของรายงาน
ได้ทำให้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นที่นิยมกว้างขวาง,
นำคำศัพท์และกรอบคิดเข้าสู่วาทะกรรมการพัฒนากระแสหลัก ในประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา.
มันยังได้ปูพื้นฐานสำหรับการประชุมยูเอ็นเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่จัดขึ้นในกรุงริโอเดอจาไนโร
ในปี 1992 (๒๕๓๕).
That Conference, commonly referred to as the Earth Summit,
focused mainly on moving the environmental agenda forward -which it did in
powerful ways. It agreed on Agenda 21, the Global Environment Facility, and UN
conventions on climate change, biodiversity, and desertification, thereby
establishing a strong foundation for sustainable development. Its implementation,
however, has been uneven.
การประชุมนั้น,
ที่เรียกกันทั่วไปว่า การประชุมสุดยอดโลก,
เน้นที่การขับเคลื่อนวาระสิ่งแวดล้อมไปข้างหน้า—ซึ่งมันก็ทำได้อย่างทรงพลัง. มันได้ตกลงกันในวาระ 21, “สิ่งเอื้ออำนวยสิ่งแวดล้อมโลก”, และ อนุสัญญาต่างๆ
เรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, ความหลากหลายทางชีวภาพ, และการกลายเป็นทะเลทราย,
ได้ก่อตัวเป็นรากฐานที่แข็งแรงสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน. แต่การดำเนินการต่อมา ไม่สม่ำเสมอ.
Rio+20 this year was intended to be a “review” conference
which would assess the progress made since 1992. As such, its aims, on paper at
least, were more limited than those of its predecessor.
ริโอ +20 ปีนี้
มีเจตนารมณ์ให้เป็นการประชุมเพื่อ “ทบทวน” ที่จะประเมินความก้าวหน้าตั้งแต่ปี 1992. ด้วยเหตุนี้, เป้าประสงค์ของมัน,
อย่างน้อยก็ดังปรากฏในเอกสาร, มีขอบเขตจำกัดกว่าการประชุมก่อนหน้านั้นมาก.
The opportunity offered by a major global conference to
advance sustainable development, however was one not to be missed. Many argued
that to tackle growing global challenges of inequity and unsustainability,
quick, bold, & concerted action was needed from Rio+20. It was hoped that
leaders might re-create the ‘spirit of the Earth Summit’, and determine to move
past short-term, sectoral thinking; learn from best practice on sustainability;
and make commitments to tackle the pressing challenges – from ocean acidification
and diminishing biodiversity to food insecurity, entrenched poverty and much
more. In so doing, the misconception that sustainable development is only or
mainly about the environment could be dispelled.
โอกาสที่การประชุมโลกครั้งสำคัญได้เสนอให้
เพื่อเดินหน้าการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่พลาดไม่ได้. หลายคนแย้งว่า
การแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมและความไม่ยั่งยืนระดับโลกที่ขยายตัวมากขึ้น,
จำเป็นต้องมีปฏิบัติการที่ฉับไว, ห้าวหาญ, และเคลื่อนไปร่วมกันจากริโอ+20. มีความคาดหวังว่า
ผู้นำทั้งหลายอาจปลุก “วิญญาณการประชุมสุดยอดโลก” ได้อีกครั้ง,
และตั้งปณิธานที่จะเคลื่อนผ่านวิธีคิดแบบเฉพาะหน้า/ระยะสั้น และแยกเป็นภาคส่วน; เรียนรู้จากตัวอย่างปฏิบัติการที่ดีที่สุดเกี่ยวกับความยั่งยืน; และทำพันธะสัญญาที่จะแก้อุปสรรคท้าทายที่เผชิญหน้าอยู่—จากการที่มหาสมุทรเพิ่มความเป็นกรด
และความหลากหลายทางชีวภาพลดลง จนถึงความไม่มั่นคงทางอาหาร, ความยากจนที่ฝังรากลึก
และอื่นๆ อีกมาก. ด้วยการทำเช่นนี้,
ความคิดผิดๆ ที่ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเพียง หรือส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม จะถูกลบล้างกำจัดไปได้.
In the third week of June, some 100 Heads of State and
Government, many ministers, and more than 40,000 other representatives of
governments, non-governmental organizations, the private sector, and civil
society gathered at Rio+20, making it the largest ever UN gathering.
ในสัปดาห์ที่สามของเดือนมิถุนายน,
ผู้นำรัฐและรัฐบาลประมาณ 100 คน,
หลายคนเป็นรัฐมนตรี, และผู้แทนรัฐบาล, เอ็นจีโอ, ภาคธุรกิจเอกชน, และประชาสังคม
กว่า 40,000 คน ที่มาร่วมชุมนุมกันที่
ริโอ+20,
ทำให้มันเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ยูเอ็นเคยจัด.
It is true that the agreed outcome document included no new
binding targets, few concrete initiatives, and little new financial and
institutional support. That left many activists, NGOs, scientists, and
development actors disappointed. That is understandable, as, measured against
the scale of the global challenges – including environmental degradation,
growing inequality, and economic volatility, the outcome document does fall
short.
เป็นความจริงที่ว่า ในเอกสารผลลัพธ์ที่ตกลงยอมรับกันนั้น ไม่ได้กำหนดเป้าหมายใหม่ใดที่มีผลผูกมัด,
มีการริเริ่มที่เป็นรูปธรรมเพียงไม่กี่อย่าง, และ มีการสนับสนุนทางการเงินและทางสถาบันใหม่ๆ น้อยมาก. ซึ่งทำให้นักกิจกรรม, เอ็นจีโอ, นักวิทยาศาสตร์
และนักพัฒนาหลายๆ คน ผิดหวัง.
อันนั้นก็เข้าใจได้, เมื่อเทียบกับระดับปัญหาในโลก—รวมทั้งความเสื่อมโทรมในสิ่งแวดล้อม,
ความไม่เท่าเทียมเพิ่มมากขึ้น, และความผันผวนทางเศรษฐกิจ, ใช่แล้ว
เอกสารผลลัพธ์น่าผิดหวัง.
But it is also true that the outcome document has wise
things to say about every aspect of sustainable development, and provides a
platform to which to link action by all who want to act, from citizens to
governments. The challenge arising from
Rio+20 is how to advance economic, social, and environmental objectives simultaneously,
lifting integrated policy-making to new levels.
แต่มันก็เป็นความจริงด้วยค่ะ
ที่เอกสารผลลัพธ์ มีสิ่งสะท้อนภูมิปัญญา
พูดถึงทุกๆ ด้านของการพัฒนาที่ยั่งยืน,
และได้เปิดเวทีให้เชื่อมโยงปฏิบัติการสำหรับทุกคนที่ต้องการปฏิบัติ,
ตั้งแต่พลเมือง จนถึง รัฐบาล.
ข้อท้าทายที่ลอบตัวขึ้น จาก ริโอ+20 คือ จะเดินหน้าเป้าประสงค์ด้านเศรษฐกิจ, สังคม, และสิ่งแวดล้อม
ไปพร้อมๆ กันได้, ยกระดับกระบวนการกำหนดนโยบายแบบบูรณาการสู่ระดับใหม่ต่างๆ
ได้อย่างไร.
The outcome signals a broad understanding that the systems
and behaviours which have brought us to this point in history –reaching
planetary boundaries and societal breaking points - must change. The document:
ผลลัพธ์ส่งสัญญาณความเข้าใจในระดับกว้างว่า
ระบบและพฤติกรรมที่ได้นำพาพวกเราให้มาถึงจุดนี้ของประวัติศาสตร์—ถึงขอบของพิภพ
และจุดแตกหักของสังคม—จะต้องเปลี่ยน.
เอกสารได้ระบุ:
(1) calls on governments and the UN system to work across
sectors to identify the policies and programmes which will grow economies and
reduce inequities, while also protecting the environment.
(๑) เรียกร้องรัฐบาลและระบบยูเอ็นให้ทำงานข้ามภาคส่วน
เพื่อระบุนโยบาย และโครงการ ที่จะขยายเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำ,
ในขณะที่ปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วย.
In some quarters, economic growth is looked at as
antithetical to environmental protection. Rio turns such thinking on its head –
encouraging us all to identify how entrepreneurship, job creation, and social
protection can be generated through and linked to environmental protection.
ในบางภาคส่วน,
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ถูกมองว่าเป็นเรื่องขัดกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม. ริโอได้หมุนหัววิธีคิดเช่นนี้—ส่งเสริมให้พวกเราทั้งหมดช่วยกันค้นหาว่า
วิสาหกิจ, การสร้างงาน, และการปกป้องทางสังคม สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ผ่าน
และเชื่อมโยงกับการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม.
In my work, I encounter countless examples of such action –
for example, just last month in Senegal, meeting local women committed to replanting
and protecting the mangrove forests, which, once re-established, nurture fish
and shell fish stocks, thus generating new sources of incomes for families.
ในงานของดิฉัน,
ดิฉันได้ประสบกับตัวอย่างปฏิบัติการเช่นนี้นับไม่ถ้วน—เช่น เดือนก่อนในซีนีกัล, การพบกับผู้หญิงท้องถิ่นที่ผูกพันกับการฟื้นฟูและปกป้องป่าชายเลน,
ซึ่งเมื่อมันอยู่ตัวได้, จะอนุบาลปลาและหอย, และก็เป็นแหล่งรายได้ใหม่ให้ครอบครัว.
In this spirit, UNDP is committed to help countries learn
from and scale up ‘triple-win’ policies and programmes, which many countries
are already employing and which are designed to advance economic, social, and
environment objectives together.
ด้วยสปิริตดังกล่าว, UNDP ผูกพันกับการช่วยประเทศให้เรียนรู้จาก และยกระดับให้เป็นนโยบายและโครงการ
“ชนะสามด้าน”, ที่หลายๆ ประเทศพร้อมที่จะใช้
และที่ถูกออกแบบให้ขับเคลื่อนวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ, สังคม, และสิ่งแวดล้อม
ไปด้วยกัน.
(2) emphasises that economies must be made both green and
inclusive. It singles out poverty
eradication as the world’s most pressing challenge, and calls for targeted
efforts to reach the poor and vulnerable, including by creating jobs and
opportunities.
(๒) เน้นว่า
เศรษฐกิจต่างๆ จะต้องทำให้เป็นสีเขียวและครอบคลุมกว้าง.
มันได้ยกประเด็นการขจัดความยากจนให้เป็นข้อท้าทายที่กดดันมากที่สุดของโลก,
และเรียกร้องให้กำหนดเป้าของความพยายามต่างๆ เพื่อเอื้อมให้ถึงผู้ยากจน
และเปราะบาง, รวมทั้งการสร้างงานและโอกาส.
Negotiations on the green economy were particularly heated,
due to the fears of developing countries that the term could be code for new
conditions on trade and aid. It was agreed that the green economy should be
seen as an important tool for sustainable development, rather than as a rigid
set of rules. In other words, no firm pathway was agreed on. There is much
which can be done, however, to identify locally appropriate ways to generate
green jobs and incentivize shifts to sustainable production and consumption.
UNDP and sister agencies expect to be heavily engaged in supporting developing
countries to do that.
การต่อรองเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวร้อนแรงมาก,
เพราะความกลัวของประเทศกำลังพัฒนาว่า กฎเกณฑ์ที่ใช้อาจถูกใส่รหัสให้เป็นเงื่อนไข
(กีดกัน) ใหม่ในการค้าและการช่วยเหลือ.
ได้ตกลงกันว่า เศรษฐกิจสีเขียว
ควรจะถูกมองว่า เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน, แทนที่จะเป็นเพียงกฎเหล็กชุดหนึ่ง. พูดง่ายๆ คือ
ไม่มีหนทางหนักแน่นใดที่ตกลงกันได้.
ยังมีเรื่องอีกมากมายที่ต้องทำ เพื่อค้นหาวิธีการที่เหมาะสมในท้องถิ่น
เพื่อสร้างงานสีเขียว และจูงใจให้ขยับตัวสู่การผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน. UNDP และองค์การในเครือ คาดว่าจะมีส่วนร่วมหนักหน่วงกับการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาให้ทำเช่นนั้นได้.
(3) calls for continued efforts to achieve the Millennium
Development Goals by their 2015 target date. Looking beyond 2015, Rio+20 also
agreed to craft “sustainable development goals” – which should:
(๓)
เรียกร้องให้พยายามต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าของการพัฒนาสหัสวรรษ ภายใน 2015. ด้วยการมองเลย
ปี 2015, ริโอ+20 ได้ตกลงเขียน “เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน” ด้วย—ซึ่งควรจะเป็น:
(a) build on the significant success of the MDGs in focusing
development efforts and mobilising diverse actors around a common cause;
(ก)
ต่อยอดกับความสำเร็จที่มีนัยสำคัญของ MDGs ในการเพ่งที่งานพัฒนา และขับเคลื่อนให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน รอบๆ
ประเด็น/ปัจจัย ร่วมหนึ่งๆ;
(b) fully reflect all three
strands of sustainable development; and
(ข) ตรึกคิดไตรตรองอย่างถี่ถ้วน ถึงทั้งสามสายใยของการพัฒนาที่ยั่งยืน; และ
(c) raise the level of global ambition to eradicate extreme
poverty.
(ค)
ยกระดับความทะเยอทะยานของโลกในการขจัดความยากจนสุดโต่ง.
Overall, while the agreements reached at Rio are voluntary,
not binding, and overarching, not specific, they do strengthen the
international community’s commitment to implement sustainable development and
provide a platform for action by those willing to act.
ในภาพรวม, ในขณะที่ข้อตกลงบรรลุได้ที่ริโอ เป็นไปตามความสมัครใจ,
ไม่มีพันธะผูกพัน, และครอบคลุมกว้าง, ไม่ชี้เฉพาะ,
มันก็ได้ช่วยเสริมให้ประชาคมระหว่างประเทศมีความมุ่งมั่นยิ่งขึ้นที่จะดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืน
และเป็นเวทีปฏิบัติการโดยพวกที่ต้องการจะขับเคลื่อน.
It should not surprise us that the concerns raised by the
Brundtland report 25 years ago found more resonance with world leaders gathered
in Rio this June. The more polluted and unequal our world becomes, the more
governments will tend to view environmental and social protection systems not as
luxuries to be acquired when countries become wealthy, but as necessities,
vital to sustain development and meet the needs of citizens.
เราไม่ควรประหลาดใจที่เห็นประเด็นห่วงใยที่
รายงานบรุนท์แลนด์ ยกขึ้นมาเมื่อ 25 ปีก่อน
ได้สะท้อนก้องในเหล่าผู้นำโลกที่มาร่วมชุมนุมในริโอในเดือนมิถุนายน.
ยิ่งโลกของเรามีมลภาวะและเหลื่อมล้ำมากขึ้นเท่าไร,
รัฐบาลก็จะมีแนวโน้มเห็นว่า ระบบการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคม
ไม่ใช่เรื่องฟุ้งเฟ้ออีกต่อไป เมื่อประเทศได้ร่ำรวยขึ้น, แต่เป็นเรื่องจำเป็น,
สำคัญยิ่งยวดต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และตอบสนองต่อความจำเป็นของพลเมือง.
This conclusion is increasingly compelling for developing
countries with restless young populations, overstretched services, and rapidly
expanding cities. The challenges are especially daunting for small island
countries faced with obliteration from rising sea levels, and for other poor
countries also bearing the brunt of extreme climate events – including through
the deadly droughts affecting parts of Africa and the catastrophic flooding in
Pakistan and elsewhere.
ข้อสรุปนี้
ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
ที่มีประชากรหนุ่มสาวที่อยู่ไม่สุข, การบริการที่ทำงานหนักเกินตัว,
และเมืองที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว.
ข้อท้าทายเหล่านี้ยิ่งน่ากังวลมากสำหรับประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆ
ที่กำลังเผชิญกับการทำลายล้างอย่างสิ้นซากจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น,
และสำหรับประเทศยากจนอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบหนักหน่วงจากภาวะภูมิอากาศผันผวนหนัก—รวมทั้ง
จากภาวะแล้งปางตายที่คุกคามหลายภาคของอาฟริกา
และน้ำท่วมหายนะในปากีสถานและที่ต่างๆ.
Second, what Rio+20 means for engagement in and leadership
of sustainable development. Some observations:
ข้อสอง, ริโอ+20 มีความหมายสำหรับ การมีส่วนร่วมใน และเป็นผู้นำของ การพัฒนาที่ยั่งยืน
อย่างไร. สังเกตการณ์บางประการ:
1. The role played by developing countries. It was evident
in Rio that new groupings of countries have realized the importance and
relevance of pursuing sustainable development at home and through global
collaboration and international action. Alongside the Conference’s official
proceedings, developing and emerging market countries met in side events and
shared success stories. Many revealed new and innovative policy approaches, and
displayed their willingness to collaborate across borders for sustainable
development. Through south-south
co-operation, developing countries are sharing best practice and lessons
learned. It was notable that while the
majority of the G8’s leaders stayed away, emerging economies were generally
represented at a very high level, strengthening their voice in proceedings.
๑.
บทบาทของประเทศกำลังพัฒนา. เห็นได้ชัดว่า ในริโอ
การรวมกลุ่มใหม่ของประเทศ ได้ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญ
และความเชื่อมโยงของการทำให้บรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนที่บ้าน
และผ่านความร่วมมือระดับโลก และปฏิบัติการระหว่างประเทศ. คู่ขนานไปกับการประชุมทางการ,
ประเทศกำลังพัฒนาและตลาดอุบัติใหม่ พบกันในกิจกรรมข้างเคียง และแบ่งปันเรื่องที่ทำได้สำเร็จ. หลายๆ ที่ได้เผยแนวนโยบายนวัตกรรมใหม่ๆ,
และได้แสดงตนว่ายินดีจะให้ความร่วมมือข้ามพรมแดน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ผ่านการร่วมมือในระหว่างซีกโลกใต้ด้วยกันเอง,
ประเทศกำลังพัฒนาแบ่งปันตัวอย่างปฏิบัติการที่ดีที่สุด ตลอดจนบทเรียน. น่าสนใจที่ว่า ในขณะที่ผู้นำ G8 ส่วนใหญ่อยู่ห่างๆ,
เศรษฐกิจอุบัติใหม่ล้วนส่งตัวแทนเข้าร่วมในการประชุมระดับสูงมาก,
ทำให้เสียงของพวกเขาเข้มแข็งยิ่งขึ้นในที่ประชุม.
2. The role of Brazil. Brazil played a major role as host in
steering the conference, and is determined that there will be a legacy from it.
As part of that, an announcement was made during the conference by Brazil’s
Minister for the Environment and me that Brazil and UNDP will establish the
“Rio+20 World Centre for Sustainable Development”. Located in Rio, the Centre
will promote implementation of the outcome of Rio+20, share best practice, and
support countries' efforts to adopt integrated policy-making and pursue
objectives across the three strands of sustainable development.
๒.
บทบาทของบราซิล.
บราซิลเล่นบทหลักในฐานะเจ้าภาพที่คัดท้ายนาวาการประชุม, และก็มุ่งมั่นว่า
มันจะต้องเป็นตำนาน. นอกจากนี้,
มีการประกาศในระหว่างการประชุม โดยรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของบราซิล และดิฉัน ว่า
บราซิลและ UNDP จะก่อตั้ง “ศูนย์โลก ริโอ+20 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”.
ศูนย์นี้จะตั้งอยู่ในกรุงริโอ จะส่งเสริมการดำเนินการผลลัพธ์จากริโอ+20, แบ่งปันตัวอย่างปฏิบัติการที่ดีที่สุด,
และสนับสนุนความพยายามของประเทศต่างๆ ในการยอมรับกระบวนการกำหนดนโยบายแบบบูรณาการ
และการบรรลุเป้าประสงค์ของทั้งสามสายใยของการพัฒนาที่ยั่งยืน.
3. A new member state forum at the United Nations. At the
global level, member states at Rio+20 agreed to establish a universal
membership, intergovernmental, high-level political forum for sustainable
development at the UN, which builds on the strengths, experiences, resources,
and inclusive ways of working of the current Commission on Sustainable
Development, and subsequently replaces the Commission. An intergovernmental
process will define the features of the new forum which is expected to convene at
the beginning of the 68th session of the General Assembly in September 2013.
๓.
เวทีสำหรับรัฐสมาชิกใหม่ที่ยูเอ็น.
ในระดับโลก, รัฐสมาชิกที่ ริโอ+20 ได้ตกลงที่จะก่อตั้งสมาชิกภาพสากล, เวทีการเมืองระดับสูง ระหว่างรัฐบาล,
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ ยูเอ็น, ซึ่งเป็นการต่อยอดบนความเข้มแข็ง, ประสบการณ์,
ทรัพยากร, และวิธีการทำงานที่ครอบคลุมกว้างของคณะกรรมาธิการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนชุดปัจจุบัน,
และคณะกรรมาธิการชุดใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่.
กระบวนการระหว่างรัฐบาล จะนิยามรูปลักษณ์ของเวทีใหม่นี้
ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมในตอนเริ่มต้นของการประชุมครั้งที่ 68 ของการประชุมใหญ่สามัญในกันยายน 2013.
The overall mandate of the High Level Political Forum will
be to help countries implement the outcome of Rio+20. It could do this by reviewing and monitoring
progress on sustainable development, and by providing a platform for countries
to share their experiences on implementation, rather as the Development
Co-operation Forum associated with the UN’s Economic and Social Council does.
It could also promote co-ordination across the UN system on sustainable
development programming and policies, and seek to strengthen the science-policy
interface.
อาณัติหน้าที่โดยรวมของเวทีการเมืองระดับสูง
จะเป็นการช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในการดำเนินการผลลัพธ์จาก ริโอ+20.
จะทำได้โดยการทบทวนและติดตามความก้าวหน้าเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน,
และโดยการจัดเวทีให้ประเทศต่างๆ ได้แบ่งปันประสบการณ์ของการดำเนินงาน,
แทนที่จะเป็นเวทีความร่วมมือการพัฒนา ที่เกี่ยวโยงกับ
สภาเศรษฐกิจและสังคมของยูเอ็น.
มันจะสามารถประสานงานข้ามระบบยูเอ็นด้านการกำหนดโครงการและนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน,
และช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งในรอยต่อระหว่างวิทยาศาสตร์-นโยบาย.
4. The level of engagement beyond the UN’s member states. UN
global conferences like Rio+20 traditionally work through the good faith,
legitimacy, common understandings, and shared principles generated in
inter-governmental negotiations and dialogue. But Rio + 20 broke the usual
mould with the very large presence of civil society, business people, and local
governments.
๔.
ระดับการมีส่วนร่วมโพ้นรัฐสมาชิกของยูเอ็น.
การประชุมโลกของยูเอ็น เช่น ริโอ+20 แต่เดิมทำงานด้วยความศรัทธาที่ดี, มีความชอบธรรม, มีความเข้าใจร่วม,
และหลักการร่วม ที่เกิดขึ้นจากการเจรจาต่อรองระหว่างรัฐบาลและการสานเสวนา. แต่ ริโอ+20 ทะลุเบ้านี้ด้วยการมีภาคประชาสังคม, นักธุรกิจ,
และรัฐบาลท้องถิ่นกลุ่มมหาศาลเข้าร่วม.
The voluntary commitments made by businesses, development
banks, cities and regions, UN agencies, and NGOs and civil society activists
were among Rio’s most significant outcomes. More than 700 formal commitments
were registered, and more than $500 billion dollars were pledged. For example:
ความผูกพันอย่างสมัครใจโดยนักธุรกิจ,
ธนาคารพัฒนา, เมืองและภูมิภาค, องค์การยูเอ็น, และเอ็นจีโอกับภาคประชาสังคม
เป็นหนึ่งในบรรดาผลลัพธ์ที่มีนัยสำคัญที่สุดของริโอ. มีการลงทะเบียนกว่า 700 พันธกรณีอย่างเป็นทางการ, และสัญญาว่าจะบริจาคเงินกว่า $500 พันล้าน.
Unilever, Tesco, and Johnson and Johnson committed to end
deforestation in their supply chains for beef, soy, paper, and palm oil by
2020,
ยูนิลีเวอร์, เทสโก,
และจอห์นสัน & จอห์นสัน
ได้สัญญาว่าจะยุติการตัดไม้ทำลายป่าในห่วงโซ่อุปทาน เนื้อวัว, ถั่วเหลือง, กระดาษ,
และน้ำมันปาล์ม ในปี 2020,
The 1800 largest companies listed on the London Stock
Exchange committed to disclose their greenhouse gas emissions,
1,800
บริษัทใหญ่ที่สุด ที่อยู่ในรายการของตลาดหุ้น สัญญาว่าจะเปิดเผยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก,
The cities of Beijing, Cairo, Delhi, London, Moscow, New York,
and Sydney, among others, committed to reducing a gigaton of carbon emission
reductions, and agreed to report on their progress through an annual report
card, and
เมืองใหญ่เช่น ปักกิ่ง,
ไคโร, เดลฮี, ลอนดอน, มอสโคว์, นิวยอร์ก, และซิดนีย์, ในบรรดาเมืองอื่นๆ,
สัญญาว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกพันล้านตัน, และตกลงว่าจะรายงานความก้าวหน้าผ่านการ์ดรายงานประจำปี,
และ
Eight development banks committed to spending $175 billion
in grant and loan funding by 2020 to support sustainable low carbon
transportation.
ธนาคารเพื่อการพัฒนา 8 แห่ง สัญญาว่าจะทุ่มเงิน $175 พันล้าน
เพื่อให้การสนับสนุนทางการเงิน แบบให้เปล่าและให้กู้ ภายในปี 2020 ในโครงการขนส่งยั่งยืนที่ใช้คาร์บอนต่ำ.
This outcome suggests that motivated leaders from across the
economic and social sectors and subnational governments can help accelerate
sustainable development. Many of these are well ahead of many governments at
the national level, and certainly well ahead of what UN member states can agree
on. They are not waiting for governments to act – nor should they. The need to
act is urgent.
ผลลัพธ์นี้ แนะว่า
ผู้นำที่มีแรงบันดาลใจจากภาคส่วนเศรษฐกิจและสังคม และรัฐบาลใต้ระดับชาติ
สามารถช่วยเร่งการพัฒนาที่ยั่งยืนได้.
หลายๆ แห่ง แซงหน้ารัฐบาลชาติ, และแน่นอน แซงหน้าสิ่งที่รัฐสมาชิกของยูเอ็น จะสามารถตกลงกันได้.
พวกเขาไม่ได้นั่งรอให้รัฐบาลเป็นผู้เริ่ม—ก็ไม่ควรเป็นเช่นนั้น. ความจำเป็นที่จะปฏิบัติการนั้นเร่งด่วนมาก.
Progress on implementing the more than 700 voluntary
commitments made at Rio+20 needs to be monitored. UNDP will be working with
civil society partners and in-country networks to support such monitoring,
which can also help grow constituencies for sustainable development by raising
awareness of what can and should be done.
ความก้าวหน้าในการดำเนินการพันธะสัญญาตามความสมัครใจกว่า
700 ประการที่ได้กระทำที่ ริโอ+20
จำเป็นต้องมีการติดตาม. UNDP จะทำงานกับภาคีภาคประชาสังคม และเครือข่ายในประเทศ
เพื่อสนับสนุนการติดตามดังกล่าว,
ซึ่งจะเป็นการบ่มเพาะองค์ประกอบสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการปลุกให้ตื่นรู้ว่าอะไรที่สามารถทำได้และควรทำ.
5. Social media engagement on a global scale. Global
constituencies for change can also be built, following on from the successful
“Rio dialogues”. Held in the lead up to the Conference, these were a series of
structured on-line discussions, which originated from the Government of Brazil
and UNDP’s drive to consult citizens on what should happen at Rio+20. The
initiative engaged 60,000 people around the world in voting for the specific
sustainable development actions which were most important to them. The results
were presented to the leaders attending Rio, setting precedents for new levels
of citizen engagement and offering a glimpse of what future of UN summitry
could be.
๕.
การมีส่วนร่วมในสื่อสังคมในระดับโลก. องค์ประกอบโลกเพื่อการเปลี่ยนแปลง
ก็สามารถจะสร้างขึ้นได้เช่นกัน, โดยทำตามอย่าง “สานเสวนาริโอ”
ที่ประสบความสำเร็จ. สานเสวนาเหล่านี้
จัดขึ้นก่อนหน้าการประชุม, ประกอบด้วยชุดการถกเถียงอภิปรายออนไลน์ ในกรอบคำถามที่ออกแบบไว้,
ซึ่งเริ่มต้นจากการขับเคลื่อนของรัฐบาลบราซิลกับ UNDP เพื่อปรึกษาหารือกับพลเมือง ว่า ควรเกิดอะไรขึ้นที่ริโอ+20. กิจกรรมริเริ่มดังกล่าว
มีผู้เข้าร่วม 60,000 คนทั่วโลก
ที่ลงคะแนนออกเสียงให้กับปฏิบัติการเฉพาะเรื่องในการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มีความสำคัญต่อพวกเขา. ผลการลงคะแนนนี้ ได้ถูกนำเสนอต่อผู้นำที่เข้าร่วมประชุมที่ริโอ,
เป็นการสร้างมิติใหม่เพื่อให้พลเมืองมีส่วนร่วม และให้เห็นเสี้ยวหนึ่งของ
อนาคตที่เป็นไปได้ของการประชุมสุดยอดของยูเอ็น.
The UN Charter begins with the words “we the peoples”.
Through the strategic use of new media, the UN can convey the message that the
capacity to expand peace, freedom, and sustainability does not rest in the
hands of diplomats in meetings in New York alone, but with all of us - the
citizens. We are all the shareholders of Planet Earth.
ปฏิญญายูเอ็น
เริ่มต้นด้วยคำว่า “พวกเรา ประชาชน”.
ด้วยการใช้สื่อใหม่ในเชิงยุทธศาสตร์,
ยูเอ็นสามารถจะถ่ายทอดข่าวสารให้เห็นว่า
สมรรถนะในการขยายสันติภาพ, อิสรภาพ, และความยั่งยืน
ไม่ได้อยู่เพียงในมือของนักการทูตที่ประชุมกันในนิวยอร์กเท่านั้น,
แต่อยู่ที่พวกเราทั้งหมด—พลเมือง. พวกเราเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโลกพิภพใบนี้.
Third, how Rio+20 could be translated into policy solutions
to pressing global challenges?
ข้อสาม, ริโอ+20 จะถูกแปลเป็นทางออกเชิงนโยบายเพื่อรับมือต่อข้อท้าทายโลกเฉพาะหน้าได้อย่างไร?
1. Rio+20 drew attention to the pressing need for universal
access to modern and reliable energy services, at the same time as there is
also a need to move away from the high level of dependence on fossil fuels
which the world currently has.
๑. ริโอ+20 ได้ดึงดูดความสนใจต่อความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการพลังงานทันสมัยที่พึ่งได้,
ในเวลาเดียวกัน ก็มีความจำเป็นที่จะต้องขยับให้ออกห่างจากการพึ่งพิงสูงต่อเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
ที่โลกกำลังใช้อยู่ปัจจุบัน.
The International Energy Agency (IEA) reports that in 2011,
1.3 billion people lacked access to electricity. Without access to clean fuels,
2.3 billion people use traditional biomass for heating and cooking. An
estimated two million people, mainly women and children, die each year as a
result of exposure to indoor smoke from such fuels. Reliable access to energy
is essential for providing basic health, education, and sanitation services. It
also lightens the domestic burden of women.
สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ
รายงานว่า ในปี 2011, ประชาชน 1.3 พันล้านคน ขาดการเข้าถึงไฟฟ้า. เมื่อไม่มีเชื้อเพลิงสะอาด,
ประชาชน 2.3 พันล้านคน
ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลดั้งเดิมในการทำความร้อนและทำอาหาร. ประมาณว่าประชาชน 2 ล้านคน, ส่วนใหญ่ผู้หญิงและเด็ก, ตายทุกปีเพราะสูดดมควันที่คลุ้งในบ้านที่ใช้เชื้อเพลิงเหล่านี้. การเข้าถึงพลังงาน ที่พึ่งได้
เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพ, การศึกษา, และการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน. มันยังช่วยลดภาระในครัวเรือนของผู้หญิงด้วย.
At Rio+20, member states noted the UN Secretary-General Ban
Ki-moon’s “Sustainable Energy for All” initiative, and expressed their
“determination to act to make sustainable energy for all a reality”.
ที่ ริโอ+20, รัฐสมาชิกได้รับรู้การริเริ่ม “พลังงานยั่งยืนสำหรับคนทั้งปวง” ของเลขาธิการ
บัน คีมูน, และได้แสดงออกถึง
“ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติเพื่อให้มีพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับคนทั้งปวงในความเป็นจริง”.
The Secretary-General’s initiative has set three targets for
2030:
การริเริ่มของเลขาธิการ
ได้กำหนดเป้าหมายสามประการเพื่อปี 2030:
achieving universal access to modern energy services;
บรรลุการเข้าถึงสากลสู่การบริการพลังงานทันสมัย;
doubling the share of renewables in the global energy mix;
and
เพิ่มส่วนแบ่งของพลังงานหมุนเวียนเป็นสองเท่า
ในส่วนผสมของพลังงานโลก และ
doubling the rate of improvement in energy efficiency
worldwide.
เพิ่มอัตราการปรับปรุงสมรรถภาพของพลังงานเป็นสองเท่า
ทั่วโลก.
Of the US$500 billion pledged through voluntary commitments
at Rio+20, more than sixty per cent were dedicated to this initiative. UNDP is
helping take the Sustainable Energy for All initiative forward in the 55
countries which have signed on thus far, using the convening power of UN Resident
Co-ordinators, who are also the UNDP Representatives, to bring stakeholders
together to identify how to overcome barriers to achieving sustainable energy
for all, and to act to do so.
ในจำนวนเงิน $500 พันล้าน ที่สัญญาบริจาคด้วยความสมัครใจที่ริโอ+20, กว่า 60% ได้อุทิศตัวต่อการริเริ่มนี้. UNDP กำลังช่วยนำให้การริเริ่ม “พลังงานที่ยั่งยืนสำหรับคนทั้งปวง” เดินหน้า ใน 55 ประเทศ ที่ได้ลงนามจนถึงขณะนี้,
ด้วยการอาศัยอำนาจของผู้ประสานงานของยูเอ็นในประเทศ, ผู้เป็นตัวแทนของ UNDP ด้วย, ให้นำผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมกันค้นหาว่า
จะก้าวข้ามอุปสรรคเพื่อให้บรรลุ พลังงานยั่งยืนเพื่อคนทั้งปวงได้อย่างไร,
และปฏิบัติการตามนั้นด้วย.
2. At Rio+20 the UN Secretary-General also issued an
ambitious challenge to achieve “zero hunger” in his lifetime.
๒. ที่ริโอ+20 เลขาธิการยูเอ็น ได้บัญญัติข้อท้าทายที่ทะเยอทะยานอีกเรื่องหนึ่ง
เพื่อให้บรรลุ “ความหิวโหยเป็นศูนย์” ในช่วงชีวิตของเขา.
Specifically he called for a world in which:
เขาเรียกร้องให้เป็นโลกที่:
everyone has access to sufficient levels of nutritious food
all year round;
ทุกคนเข้าถึงโภชนาการที่เพียงพอตลอดปี;
there is no malnutrition in pregnancy and early childhood;
ไม่มีทุโภชนาการในหญิงมีครรภ์และเด็กวัยเยาว์;
all food systems are sustainable;
ระบบอาหารทั้งปวงมีความยั่งยืน;
smallholder farmers have the inputs and opportunities they
need to double their productivity and income; and
ชาวนารายเล็ก
มีวัสดุและโอกาสที่จำเป็น เพื่อเพิ่มผลิตภาพและรายได้เป็นสองเท่า; และ
food losses stemming from waste, poor storage capacity, and
infrastructure are brought to an end.
การสูญเสียอาหารจากการทิ้งขว้าง,
สมรรถนะในการเก็บที่ย่ำแย่, และสาธารณูปโภค จะถูกทำให้หมดไป.
Food is produced today in quantities which could feed
everyone; yet the FAO estimates that in 2010 925 million people were
undernourished. Nearly a quarter of the
population of Sub-Saharan Africa is affected by hunger. This means children are
denied the opportunity to reach their full potential, and adults suffer from
lifelong poor health and low productivity.
อาหารที่ผลิตทุกวันนี้ มีปริมาณที่สามารถเลี้ยงทุกคน; แต่ FAO ประเมินว่า ในปี 2010, ประชาชน 925 ล้านคน
มีอาหารไม่เพียงพอ.
ประชากรเกือบหนึ่งในสี่ของอนุภาคซาฮาราอาฟริกา
ถูกกระทบด้วยความหิวโหย. หมายความว่า
เด็กๆ ถูกกีดกันจากโอกาสที่จะพัฒนาให้เต็มศักยภาพ,
และผู้ใหญ่ต้องทนทรมานกับสุขภาพแย่ๆ ตลอดชีพ และมีผลิตภาพต่ำ.
About a third of global food production intended for human
consumption is lost or wasted each year. In developing countries, more than
forty per cent of food losses occur post-harvest. Grains are eaten by vermin,
and fruits and vegetables rot before they can be sold or eaten.
ประมาณหนึ่งในสามของผลผลิตอาหารโลก
ตั้งใจให้มนุษย์บริโภค แต่สาบสูญหรือถูกทิ้งเปล่าทุกปี. ในประเทศกำลังพัฒนา, อาหารที่สูญเสียกว่า 40% เกิดขึ้นหลังการเก็บเกี่ยว.
ศัตรูพืชกินธัญพืช, และผลไม้ผักเน่าเสียก่อนถูกขายหรือกิน.
Reliable electricity for cold storage and local processing
facilities, and better rural infrastructure, are essential for expanding food
security in the developing world. New Zealand’s expertise in the science and
technology of agriculture, including here at Lincoln University, can be
employed not only to make the shift to more sustainable production methods here
at home, but also to support developing countries to increase the productivity
of small farmers.
การมีไฟฟ้าที่พึ่งได้สำหรับแช่เย็น
และ อุปกรณ์แปรรูปในท้องถิ่น, และสาธารณูปโภคชนบทที่ดีขึ้น,
ล้วนจำเป็นสำหรับการขยายความมั่นคงทางอาหารในประเทศกำลังพัฒนา.
ความเชี่ยวชาญของนิวซีแลนด์ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร,
รวมที่มหาวิทยาลัยลินคอล์นที่นี่, สามารถใช้ไม่เพียงเพื่อขยับตัวให้เข้าใกล้วิธีการผลิตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นที่บ้าน,
แต่ยังสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนาให้เพิ่มผลิตภาพของเกษตรกรรายเล็กได้.
Investments in sustainable agriculture have the potential to
alleviate food insecurity and malnutrition, mitigate climate change, and
protect the environment. As well, UNEP estimates that these investments have
the potential to create up to fifty million more jobs by 2050. The growing numbers of young people in
Sub-Saharan Africa in will need these opportunities in agriculture.
การลงทุนในเกษตรยั่งยืน
มีศักยภาพในการลดความไม่มั่นคงทางอาหารและทุโภชนาการ,
ลดการเปลี่ยนแปลงในภูมิอากาศ, และปกป้องสิ่งแวดล้อม. UNEP ประเมินว่า
การลงทุนเหล่านี้ มีศักยภาพที่จะสร้างงานเพิ่มถึง 50 ล้านงานภายในปี 2050.
จำนวนประชากรหนุ่มสาวที่เพิ่มขึ้นในอนุภาคซาฮาราอาฟริกา
จำเป็นต้องมีโอกาสเหล่านี้ในภาคเกษตร.
3. Rio+20 has given impetus to finding new ways of measuring
development progress, and ending the tyranny of measurement by GDP. UNDP has
for 22 years produced the Human Development Index, which encompasses health and
education components alongside income. Yet, still today, countries are more
likely to be judged by the speed at which their economies grow – rather than by
the education or health status of their populations, or by their ability to
reduce chronic hunger and provide work.
๓. ริโอ+20 ได้ส่งแรงกระตุ้นให้หาวิธีการใหม่ในการวัดความก้าวหน้าของการพัฒนา,
และยุติการวัดแบบทรราชของจีดีพี. UNDP ได้ผลิต ดัชนีการพัฒนามนุษย์ มา 22 ปีแล้ว, ซึ่งรวมองค์ประกอบสุขภาพและการศึกษา
คู่ขนานไปกับรายได้. แต่, แม้ทุกวันนี้,
ประเทศต่างๆ ก็ยังถูกตัดสินด้วยอัตราเร็วของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ—แทนที่จะวัดที่สถานภาพการศึกษาหรือสุขภาพ
ของประชากรในประเทศนั้นๆ, หรือที่ความสามารถในการลดภาวะหิวโหยที่เรื้อรัง
และจัดให้มีงานทำ.
This year, the UN Statistical Commission adopted a System of
Environmental-Economic Accounting to monitor progress on increasing green
investment, creating green jobs, improving energy and resource efficiency, and
recycling.
ปีนี้,
คณะกรรมาธิการสถิติของยูเอ็น ได้ยอมรับ ระบบบัญชีสิ่งแวดล้อม-เศรษฐกิจ
เพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเพิ่มการลงทุนสีเขียว, สร้างงานสีเขียว, ปรับปรุงสมรรถนะของพลังงานและทรัพยากร,
และรีไซเคิล/แปรกลับมาใช้ใหม่.
UNDP is exploring the possibilities of adapting the Human
Development Index to reflect environmental and other sustainability indicators
better.
UNDP
กำลังสำรวจถึงความเป็นไปได้ในการปรับใช้ ดัชนีการพัฒนามนุษย์
เพื่อสะท้อนตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอื่นๆ ให้ได้ดีขึ้น.
4. Rio+20 showcased innovative social protection systems
which are designed to have environmental benefits. Brazil’s Bolsa Verde, South
Africa’s “Working for Water”, and India’s National Employment Guarantee scheme,
are all good examples. Brazil, for example, established an environmental
conservation support initiative which employs impoverished families living by
forests in support of their protection.
๔. ริโอ+20 ได้เปิดตู้โชว์ นวัตกรรมระบบการปกป้องสังคม
ซึ่งถูกออกแบบให้สร้างประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมด้วย. โบลซา เวอร์เด แห่งบราซิล, “ทำงานเพื่อน้ำ”
ของอาฟริกาใต้, และนโยบายประกันการจ้างงานแห่งชาติ ของอินเดีย,
ล้วนเป็นตัวอย่างที่ดี. ยกตัวอย่าง,
บราซิลได้ก่อตั้งโครงการสนับสนุนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่ว่าจ้างครอบครัวยากจน
ที่อาศัยอยู่ในป่า ให้เป็นการสนับสนุนการอนุรักษ์ของพวกเขา.
These are just some of many examples of “triple win”
policies of the kind which UNDP supports around the world, showing that
economic, social, and environmental objectives can be advanced together.
เหล่านี้เป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่างในหลายๆ
เรื่อง ที่นโยบาย “ชัยชนะสามเท่า” ดังกล่าว ที่ UNDP ได้ให้การสนับสนุนอยู่ทั่วโลก, แสดงให้เห็นว่า เป้าประสงค์เศรษฐกิจ,
สังคม, และสิ่งแวดล้อม สามารถจะเดินหน้าไปด้วยกันได้.
5. Rio+20 called on member states to eliminate, or at least
seriously reduce “harmful and inefficient fossil fuel subsidies that encourage
wasteful consumption and undermine sustainable development”. A grassroots
campaign against fossil fuel subsidies went viral in social media before and
during Rio+20, and had an impact on negotiators.
๕. ริโอ+20 เรียกร้องรัฐสมาชิก ให้ขจัด, หรืออย่างน้อย ลดอย่างจริงจัง
“การช่วยเหลือทางการเงินต่อเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ที่มีอันตรายและไม่มีประสิทธิภาพ
ที่ส่งเสริมให้เกิดการบริโภคอย่างสิ้นเปลือง และข้ามหัวการพัฒนาที่ยั่งยืน”. การรณรงค์ระดับรากหญ้า ต่อต้าน
การช่วยเหลือทางการเงินแก่เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ กลายเป็นไวรัสในสื่อสังคม
ก่อนและระหว่างริโอ+20,
และมีผลกระทบต่อการเจรจาต่อรอง.
The IEA estimates that in 2010 the world spent roughly $409
billion in subsidies on the sale of fossil fuels. In some countries, fossil
fuel subsidies now exceed the total budget allocated to education, health, and
social programmes - one reason why finance ministers are increasingly
supportive of their removal.
สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ
ประเมินว่า ในปี 2010 โลกได้ใช้เงินประมาณ
$409 พันล้าน
ในการสนับสนุนการขายเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์.
ในบางประเทศ, การช่วยเหลือทางการเงินแก่เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ขณะนี้
เกินงบประมาณรวมที่จัดสรรให้แก่ โครงการเพื่อการศึกษา, สาธารณสุข, และสังคม—เหตุผลหนึ่ง
ที่ทำไมรัฐมนตรีการคลังจำนวนมากขึ้น สนับสนุนให้ตัดนโยบายนี้ออก.
Ending or reducing such subsidies would promote energy
conservation, investments in renewables, and free up significant funding for
policies which meet the needs of the poor and advance sustainable development,
such as social protection, mass transit systems, or renewable energy.
การยุติหรือลดการช่วยเหลือดังกล่าว
จะส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน, การลงทุนในพลังงานหมุนเวียน,
และปลดปล่อยเงินทุนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ให้แก่นโยบาย
ที่ขานรับความต้องการพื้นฐานของคนจน และเดินหน้าการพัฒนาที่ยั่งยืน, เช่น
การปกป้องทางสังคม, ระบบการขนส่งมวลชน, หรือพลังงานหมุนเวียน.
While fossil fuel subsidies disproportionately benefit
wealthy households which consume more energy, strategies to remove or reduce
subsidies need to mitigate the impact on the poor. Without a commitment to such
measures, governments can expect savage reactions, as seen in Nigeria a few
months ago.
ในขณะที่การช่วยเหลือทางการเงินแก่เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
ได้ให้ประโยชน์มากเกินไป แก่ครัวเรือนที่ร่ำรวย ที่บริโภคพลังงานมากกว่า, ยุทธศาสตร์ในการตัด
หรือ ลด การช่วยเหลือดังกล่าว จำเป็นต้องลดผลกระทบต่อคนยากจน. หากไม่มีความมุ่งมั่นที่จะทำมาตรการนี้,
รัฐบาลก็คาดได้ถึงปฏิกิริยาดุดัน โกรธแค้น, ดังที่เห็นในไนจีเรีย ไม่กี่เดือนก่อน.
Effective mitigation might involve directing energy
subsidies away from energy companies towards vulnerable households. To do this,
however, countries must have the institutional capacity to
identify vulnerable households and compensate for the
estimated impact of higher energy prices. Public awareness campaigns and
revisions to the underlying social compact may also be needed to convince
sceptical publics.
การบรรเทาที่มีประสิทธิภาพ
อาจต้องเกี่ยวข้องกับการผันการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่พลังงาน
ที่เคยให้แก่บริษัทพลังงาน ไปสู่ครัวเรือนที่เปราะบาง. แต่การทำเช่นนี้,
ประเทศจะต้องมีสมรรถนะเชิงสถาบันในการระบุชี้ตัวครัวเรือนที่เปราะบางและชดเชยให้กับผลกระทบโดยประมาณ
จากราคาพลังงานที่สูงขึ้น. การรณรงค์เพื่อสร้างความตื่นตัวในสาธารณชน
และอาจจำเป็นต้องมีการปรับปรุงแก้ไข หน่วยสังคมที่อัดแน่น (?)
A large share of the world’s fossil fuel subsidies are
provided by G20 countries — which have pledged to phase them out. In Rio, a
petition with one million signatures was presented to the G20, asking them to
make good on their pledge.
ส่วนแบ่งก้อนใหญ่ ในการช่วยเหลือทางการเงินแก่เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ มาจากประเทศ G20—ซึ่งได้สัญญาว่าจะลดละ. ในริโอ, คำร้องพร้อมลายชื่อหนึ่งล้าน
ได้นำขึ้นเสนอต่อ G20,
ร้องขอให้พวกเขาทำตามที่ได้สัญญาไว้.
6. Rio can make good on its promise if increasing numbers of
governments meet their Rio+20 obligations through integrated and low-carbon
development planning. The Resilient People, Resilient Planet report of the
Secretary General’s High Level Global Sustainability panel suggested that “most
economic decision makers still regard sustainable development as extraneous to
their core responsibilities.” Yet we know the contrary can be true: that
integrating environmental and social issues can be vital to the success of
economic decisions.
๖. ริโอ
สามารถทำสัญญาให้เป็นจริงได้ หากมีรัฐบาลจำนวนมากขึ้น
ที่ทำตามพันธะสัญญาที่ให้ไว้ที่ ริโอ+20 ด้วยการวางแผนพัฒนาคาร์บอนต่ำแบบบูรณาการ. รายงาน “ประชาชนฟื้นคืน, พิภพฟื้นคืน” ของคณะโลกที่ยั่งยืน
ระดับสูง ของเลขาธิการ แนะว่า “ผู้ตัดสินใจเศรษฐกิจส่วนใหญ่ ยังมองการพัฒนาที่ยั่งยืนว่าเป็นเรื่องนอกความรับผิดชอบแก่นกลางของพวกเขา”.
แต่พวกเรารู้ว่า
มันตรงกันข้ามกับความจริง: ว่า ประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคมเชิงบูรณาการ
เป็นปัจจัยสำคัญ ให้การตัดสินใจด้านเศรษฐกิจประสบความสำเร็จได้.
Strong leadership is required to build broad constituencies
for sustainable development. International development assistance, climate
funds, and other sources of investment are needed to help overcome the capacity
deficit most developing countries face.
ภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง
จำเป็นสำหรับการสร้างองค์ประกอบที่กว้างขวาง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. การให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาระหว่างชาติ,
กองทุนภูมิอากาศ, และแหล่งการลงทุนอื่นๆ จำเป็นต้องมี
เพื่อช่วยเอาชนะสมรรถนะที่ขาดดุลที่กำลังเผชิญอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่.
Cross-sectoral co-operation and integrated approaches to
policy-making require effective public administrations and governance systems.
UNDP is committed to supporting countries to develop these capacities and
implement low carbon development plans, which can achieve national development
priorities, while limiting future emissions and responding to the needs of
vulnerable, poor, and excluded groups and communities.
การร่วมมือข้ามภาคส่วน
และแนวทางแบบบูรณาการในการวางนโยบาย จำเป็นต้องมี การบริหารสาธารณะ
และระบบการปกครองที่มีประสิทธิภาพ. UNDP มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนประเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาสมรรถนะเหล่านี้
และดำเนินการตามแผนพัฒนาคาร์บอนต่ำ, ที่จำกัดการปล่อยก๊าซในอนาคต
และตอบสนองกับความจำเป็นของกลุ่มเปราะบาง, คนยากจน, และกลุ่มและชุมชนต่างๆ
ที่ถูกกีดกัน.
Last year at the Durban climate conference, Ethiopia
launched its low carbon, climate resilient, green economy strategy. Ethiopia
aims to lifts its people out of poverty, but to do so in a way which does not
wreck the environment. If one of the world’s poorest countries is determined to
act in this way, surely all countries can?
ปีกลาย ณ
ที่ประชุมภูมิอากาศ เดอร์บาน, เอธิโอเปีย ได้เปิดตัวยุทธศาสตร์ เศรษฐกิจสีเขียว
คาร์บอนต่ำ, ฟื้นคืนภูมิอากาศ. เอธิโอเปียมีเป้าหมายยกระดับประชาชนให้ออกจากหล่มความยากจน,
แต่จะทำเช่นนั้นด้วยวิธีการที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม. หากประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง
มีปณิธานทำเช่นนี้, แน่ใจว่า ประเทศทั้งปวงก็สามารถทำได้.
Conclusion
สรุป
The significance and relevance of global summits like Rio+20
ultimately lie in their ability to connect with and influence what people are
doing on the ground around the world to “think globally while acting locally”.
นัยสำคัญและความเกี่ยวโยงกับการประชุมสุดยอดโลก
เช่น ริโอ+20 ในที่สุดขึ้นอยู่กับความสามารถของมันในการติดต่อและมีอิทธิพลเหนือสิ่งที่ผู้คนกำลังกระทำในระดับติดดินทั่วโลก
ให้ “คิดระดับโลก ในขณะที่ปฏิบัติการระดับท้องที่”.
This brings us back home to New Zealand. Our country is more
heavily reliant on the earth’s bounty than are most developed countries. Our
land- and sea-based industries thrive when the climate is benign, and when
ecosystems are healthy.
นี่ก็นำพวกเรากลับมาบ้านในนิวซีแลนด์.
ประเทศของเราพึ่งพิงความอุดมสมบูรณ์จากโลกอย่างหนักหน่วงยิ่งกว่าประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่. อุตสาหกรรมบนดิน และในทะเล
เจริญงอกงานเมื่อภูมิอากาศสงบ, และเมื่อระบบนิเวศแข็งแรงดี.
Lincoln University, the Crown Research Institutes, and the
Isaac Centre for Nature Conservation can all play an advocacy role for the
importance of New Zealand seeking sustainability at home and doing what it
takes to create a more sustainable world.
มหาวิทยาลัยลินคอล์น,
สถาบันวิจัยคราวน์, และศูนย์ไอแซคเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ สามารถเล่นบทสนับสนุน
ให้นิวซีแลนด์มีความสำคัญในการแสวงหาความยั่งยืนในบ้าน และกระทำสิ่งที่ทำได้
เพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืนกว่า.
Rio+20, with its huge engagement of sub-national
governments, NGOs, communities, and businesses, can be seen as promoting bottom-up leadership for sustainable
development, based on pragmatic, multi-sectoral, issue-based coalitions. In the
end, what will motivate governments to act is the knowledge that there is a
groundswell for change.
ริโอ+20, พร้อมกับการมีส่วนร่วมขนานใหญ่จากรัฐบาลใต้ระดับชาติ, เอ็นจีโอ,
ชุมชน และธุรกิจ, อาจมองได้ว่าเป็นการส่งเสริมให้เกิดน้ำพุของภาวะผู้นำเพื่อการร่วมมือดำเนินการพัฒนาที่ยั่งยืน,
ที่ตั้งอยู่บนสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง, พหุภาคส่วน, และตรงประเด็น. ในตอนสุดท้าย,
สิ่งที่จะดลใจให้รัฐบาลขยับตัวปฏิบัติการได้ คือ ความรู้ที่ว่า การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นสะท้านแผ่นดินแล้ว.
The outcome document from Rio+20 is a solid foundation on
which to build. To paraphrase Winston
Churchill: Rio+20 was not the end for sustainable development, nor was it the
beginning of the end.
It may, however, have been the end of the beginning. It does
not mince words on the seriousness of the challenges our world faces. It
challenges us all in our various capacities to act to put our world on a more
sustainable course.
เอกสารผลลัพธ์จากริโอ+20 เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งเพื่อการก่อสร้างต่อยอด. ขอยืมใช้สำนวนของวินสตัน เชอร์ชิล: ริโอ+20 ไม่ใช่ตอนจบของการพัฒนาที่ยั่งยืน, และก็ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของตอนจบ. แต่มันอาจเป็นตอนจบของจุดเริ่มต้น.
มันไม่ได้พูดอ้อมแอ้มถึงความคอขาดบาดตายของปัญหาท้าทายที่โลกกำลังเผชิญอยู่. มันท้าทายให้พวกเราทั้งหมด
ในสมรรถนะที่แตกต่างกัน ให้ปฏิบัติการ เพื่อจัดวางโลกของเราให้กลับเข้าสู่มรรควิถีที่ยั่งยืนกว่านี้.
……..
From: devika.iyer@undp.org
Subject: [pei-net] Helen Clark "What does Rio+20 mean for sustainable development" 20 August
Date: Wed, 5 Sep 2012 11:55:25 -0400
Subject: [pei-net] Helen Clark "What does Rio+20 mean for sustainable development" 20 August
Date: Wed, 5 Sep 2012 11:55:25 -0400
Please
find below a speech by Helen Clark, UNDP Administrator, which provides a good
overview of the key issues post Rio+20 and implications for the future.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น