วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

100. ทางรอด: เศรษฐกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์พอเพียงพึ่งตัวเอง-แบ่งปัน



Growth Is the Problem
การขยาย (เศรษฐกิจ) เป็นปัญหา
by Chris Hedges
โดย คริส เฮดจ์ส
(ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล)

The ceaseless expansion of economic exploitation, the engine of global capitalism, has come to an end. The futile and myopic effort to resurrect this expansion—a fallacy embraced by most economists—means that we respond to illusion rather than reality. We invest our efforts into bringing back what is gone forever. This strange twilight moment, in which our experts and systems managers squander resources in attempting to re-create an expanding economic system that is moribund, will inevitably lead to systems collapse. The steady depletion of natural resources, especially fossil fuels, along with the accelerated pace of climate change, will combine with crippling levels of personal and national debt to thrust us into a global depression that will dwarf any in the history of capitalism. And very few of us are prepared.
การขยายตัวของการถลุงทางเศรษฐกิจอย่างไม่รู้จบ, หัวจักรของระบบทุนนิยมโลก, ได้มาถึงจุดจบแล้ว.   ความพยายามที่ไร้ประโยชน์และด้วยวิสัยทัศน์แคบ ในการกู้ชีพการขยายตัวนี้—ความคิดผิดๆ ที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่กอดไว้—หมายความว่า เราตอบสนองต่อมายาภาพ มากกว่าความเป็นจริง.   เราลงทุนลงแรงเพื่อการนำสิ่งที่ล่วงลับไปแล้วตลอดกาล ให้กลับคืนมาอีก.   ณ ห้วงสนธยาที่พิลึกนี้, เมื่อผู้เชี่ยวชาญและผู้จัดการระบบของเรา  ถลุงทรัพยากรเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจขยายตัวที่ใกล้สูญพันธุ์แล้ว ให้เกิดขึ้นใหม่,  จะนำไปสู่การล่มสลายของระบบต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้.   การรีดไถทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง, โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์, พร้อมกับอัตราเร่งของภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, จะควบรวมกับหนี้ส่วนตัวและระดับชาติ โยนพวกเราลงสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ที่จะทำให้ทุกคนแคระเกร็นในประวัติศาสตร์ของทุนนิยม.  และพวกเราน้อยคนมากที่เตรียมตัวพร้อม.

“Our solution is our problem,” Richard Heinberg, the author of “The End of Growth: Adapting to Our New Economic Reality,” told me when I reached him by phone in California. “Its name is growth. But growth has become uneconomic. We are worse off because of growth. To achieve growth now means mounting debt, more pollution, an accelerated loss of biodiversity and the continued destabilization of the climate. But we are addicted to growth. If there is no growth there are insufficient tax revenues and jobs. If there is no growth existing debt levels become unsustainable. The elites see the current economic crisis as a temporary impediment. They are desperately trying to fix it. But this crisis signals an irreversible change for civilization itself. We cannot prevent it. We can only decide whether we will adapt to it or not.”
“การแก้ไขของเราเป็นปัญหาของเรา”, ริชาร์ด ไฮน์เบิร์ก, ผู้เขียน “จุดจบของการขยายตัว: การปรับตัวให้เข้ากับความจริงของเศรษฐกิจใหม่”, บอกผมเมื่อผมโทรศัพท์ไปหาเขาในแคลิฟอร์เนีย.  “ชื่อของมัน คือ การขยายตัว.   แต่การขยายตัวได้กลายเป็นเรื่อง ต้านเศรษฐศาสตร์.  เรากำลังแย่ลงเพราะการขยายตัว.   เพื่อให้บรรลุเป้าการขยายตัวตอนนี้ หมายถึง การก่อหนี้, ก่อมลภาวะมากขึ้น, สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพในอัตราเร่งด่วน และทำให้ภูมิอากาศไม่เสถียรต่อไป.  แต่เราได้เสพติดการขยายตัวเสียแล้ว.   หากไม่มีการขยายตัว ก็จะไม่มีรายได้จากภาษีพอ และไม่มีงานว่าจ้าง.   หากไม่มีการขยายตัว, ระดับหนี้ที่มีอยู่แล้ว ก็จะไม่ยั่งยืน.   พวกอภิสิทธิ์ชนเห็นว่า วิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบัน เป็นเพียงอุปสรรคชั่วคราว.   พวกเขากำลังกระเสือกกระสนซ่อมแซมมันอย่างสิ้นหวัง.   แต่วิกฤตนี้ ส่งสัญญาณว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงตัวอารยธรรมเองแบบหวนคืนไม่ได้.   เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงมันได้.  เราได้แต่ตัดสินใจว่า เราจะปรับตัวให้เข้ากับมันหรือไม่”.

Heinberg, a senior fellow at the Post Carbon Institute, argues that we cannot grasp the real state of the global economy by the usual metrics—GDP, unemployment, housing, durable goods, national deficits, personal income and consumer spending—although even these measures point to severe and chronic problems. Rather, he says, we have to examine the structural flaws that sit like time bombs embedded within the economic edifice. U.S. household debt enabled the expansion of consumer spending during the boom years, he says, but consumer debt cannot continue to grow as house prices decline to realistic levels. Toxic assets litter the portfolios of the major banks, presaging another global financial meltdown. The Earth’s natural resources are being exhausted. And climate change, with its extreme weather conditions, is beginning to exact a heavy economic toll on countries, including the United States, through the destruction brought about by droughts, floods, wildfires and loss of crop yields.
ไฮน์เบิร์ก, บัณฑิตอาวุโสที่ สถาบันหลังยุคคาร์บอน, แย้งว่า เราไม่สามารถเข้าใจสถานะที่แท้จริงของเศรษฐกิจโลกได้ด้วยมาตรวัดเดิมๆ—จีดีพี, ความไร้งาน, ที่อยู่อาศัย, สินค้าคงทน, การขาดดุล, รายได้ส่วนบุคคล และการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค—แม้ว่ามาตรเหล่านี้จะช่วยชี้ถึงปัญหารุนแรงและเรื้อรัง.   เขากล่าวว่า แทนที่จะเป็นเช่นนั้น, เราต้องตรวจสอบจุดบกพร่องเชิงโครงสร้าง ที่นั่งรออยู่เหมือนระเบิดเวลา ฝังตัวอยู่ในคฤหาสน์มโหฬารของเศรษฐกิจ.   หนี้ครัวเรือนในสหรัฐฯ ได้ช่วยให้เกิดการขยายตัวในการใช้จ่ายของผู้บริโภค ในช่วงรุ่งเรือง, เขากล่าว, แต่หนี้ผู้บริโภคไม่สามารถขยายตัวต่อไป เมื่อราคาบ้านถดถอยสู่ระดับที่แท้จริง.   ทรัพย์สินที่เป็นพิษ กระจุยกระจายเรี่ยราดในซองเอกสารของธนาคารหลักๆ, เป็นลางสังหรณ์สำหรับภาวะการเงินโลกหลอมละลายอีกครั้ง.   ทรัพยากรธรรมชาติของโลกกำลังถูกถลุงใกล้หมด.  และภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, พร้อมกับภาวะอากาศสุดโต่ง, กำลังเริ่มเรียกค่าธรรมเนียมสูงทางเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ, รวมทั้งสหรัฐฯ, ด้วยการทำลายล้างที่มาพร้อมกับความแห้งแล้ง, น้ำท่วม, ไฟป่า และการสูญเสียพืชผลเพาะปลูก.

Heinberg also highlights what he calls “the highly dysfunctional U.S. political system,” which is paralyzed and hostage to corporate power. It is unable to respond rationally to the crisis or solve “even the most trivial of problems.”
ไฮน์เบิร์กได้เน้นย้ำสิ่งที่เขาเรียกว่า “ระบบการเมืองสหรัฐฯ ที่ทำงานผิดปกติอย่างแรง”, ซึ่งถูกทำให้เป็นอัมพาตและกลายเป็นตัวประกันของอำนาจ/อิทธิพลบรรษัท.   มันไม่สามารถตอบสนองด้วยการใช้เหตุผลต่อวิกฤต หรือแก้ไข “แม้แต่ปัญหาที่จิ๊บจ้อยที่สุด”.

“The government at this point exacerbates nearly every crisis the nation faces,” he said. “Policy decisions do not emerge from deliberations between the public and elected leaders. They arise from unaccountable government agencies and private interest groups. The Republican Party has taken leave of reality. It exists in a hermetically sealed ideasphere where climate change is a hoax and economic problems can be solved by cutting spending and taxes. The Democrats, meanwhile, offer no realistic strategy for coping with the economic unraveling or climate change."
“รัฐบาล ณ จุดนี้ มีแต่ทำให้ทุกๆ วิกฤตที่ชาติกำลังเผชิญอยู่ แย่ลง” เขากล่าว.   “การตัดสินใจเชิงนโยบาย ไม่ได้ผุดขึ้นจากการไตร่ตรองอย่างรอบคอบระหว่างสาธารณชน กับ ผู้นำที่ถูกเลือก.  มันมาจากหน่วยงานรัฐบาล และ กลุ่มผลประโยชน์เอกชนที่ไม่มีความรับผิดชอบ.   พรรครีพับริกัน ได้ลาหยุดงานจากความเป็นจริง.   มันอยู่ในโลกของความคิดที่ปิดมิดชิดแบบฤษี ที่ๆ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เป็นเพียงเรื่องหลอกลวง และปัญหาเศรษฐกิจ สามารถแก้ไขได้ด้วยการลดการใช้จ่ายและภาษี.   ในขณะเดียวกัน พรรคเดโมแครต ก็ไม่ได้เสนอยุทธศาสตร์ที่เป็นจริงใดๆ เพื่อการรับมือกับการสลายตัวของเศรษฐกิจ หรือภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง”.

The collision course is set. It is now only a matter of time and our personal response.
หนทางสู่การประสานงาขึ้นรูปแล้ว.   มันเหลือเพียงเวลาและการตอบสนองส่วนตัวของเรา.

“It could implode in a few weeks, in a few months or maybe in a few years,” Heinberg said, “but unless radical steps are taken to restructure the economy, it will implode. And when it does the financial system will seize up far more dramatically than in 2008. You will go to the bank or the ATM and there will be no money. Food will be scarce and expensive. Unemployment will be rampant. And government services will break down. Living standards will plummet. ‘Austerity’ programs will become more draconian. Economic inequality will widen to create massive gaps between a tiny, oligarchic global elite and the masses. The collapse will also inevitably trigger the kind of instability and unrest, including riots, that we have seen in countries such as Greece. The elites, who understand and deeply fear the possibility of an unraveling, have been pillaging state resources to save their corrupt, insolvent banks, militarize their police forces and rewrite legal codes to criminalize dissent.”
“มันอาจระเบิดจากภายใน ในไม่กี่สัปดาห์, ในไม่กี่เดือน หรือแม้แต่ในไม่กี่ปี”, ไฮน์เบิร์กกล่าว, “แต่หากไม่มีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่, มันจะระเบิดจากภายใน.  และเมื่อมันเกิดขึ้น ระบบการเงินจะหยุดชะงักรุนแรงมากกว่าในปี 2008.   คุณจะไปที่ธนาคาร หรือเอทีเอ็ม และก็จะไม่มีเงิน.   อาหารจะขาดแคลนและแพงมาก.   ภาวะไร้งานจะมีไปทั่ว.  และการบริการภาครัฐจะล่มสลาย.   มาตรฐานการครองชีพจะยุบฮวบ.  โครงการ “รัดเข็มขัด” จะเข้มงวดขึ้น.  ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจจะถ่างกว้างขึ้น ให้เกิดช่องว่างมหาศาลระหว่างกลุ่มอภิสิทธิ์โลกกระจุกหนึ่ง กับ มวลชนทั้งหมด.  การพังทลายจะจุดชนวนให้เกิดความไร้เสถียรภาพและความวุ่นวายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้, รวมทั้งจลาจล, ดังที่เราได้เห็นในประเทศต่างๆ เช่น กรีซ.  พวกอภิสิทธิ์, ผู้เข้าใจและหวาดกลัวอย่างลึกซึ้งถึงความเป็นไปได้ของการล่มสลาย, ได้ทำการปล้นสะดมทรัพยากรของรัฐ เพื่อปกป้องธนาคารที่ล้มละลายและทุจริต, ติดอาวุธให้กองกำลังตำรวจ และเขียนกฎหมายใหม่ให้จับกุมลงโทษผู้ต่อต้าน.

If nations were able to respond rationally to the crisis they could forestall social collapse by reconfiguring their economies away from ceaseless growth and exploitation. It remains possible, at least in the industrialized world, to provide to most citizens the basics—food, water, housing, medical care, employment, education and public safety. This, however, as Heinberg points out, would require a radical reversal of the structures of power. It would necessitate a massive cancellation of debt, along with the slashing of bloated militaries, heavy regulation and restraints placed on the financial sector and high taxes imposed on oligarchic elites and corporations in order to reduce unsustainable levels of inequality. While this economic reconfiguration would not mitigate the effects of climate change and the depletion of natural resources it would create the social stability needed to cope with a new post-growth regime. But Heinberg says he doubts a rational policy is forthcoming. He fears that as deterioration accelerates there will be a greater resolve on the part of the power elite to “cannibalize the resources of society in order to prop up megabanks and military establishments.”
หากชาติต่างๆ สามารถตอบสนองด้วยการใช้เหตุผลต่อภาวะวิกฤตได้ พวกเขาก็จะป้องกันไม่ให้สังคมพังทลาย ด้วยการจัดโครงร่างระบบเศรษฐกิจของพวกเขาใหม่ ให้พ้นจากการขยายตัวและขูดรีดอย่างไม่มีวันหยุด.   มันยังเป็นไปได้, อย่างน้อยในประเทศอุตสาหกรรม, ที่จะยังจัดหาปัจจัยพื้นฐานให้พลเมืองส่วนใหญ่—อาหาร, น้ำ, ที่อยู่อาศัย, การพยาบาลรักษา, งานว่าจ้าง, การศึกษา และความปลอดภัยสาธารณะ.  แต่ ดังที่ไฮน์เบิร์กชี้ให้เห็น, นี่จะต้องมีการหมุนโครงสร้างอำนาจกลับอย่างสุดขั้วก่อน.  มันจำเป็นต้องยกเลิกหนี้มหาศาล, พร้อมกับการตัดลดกองกำลังทหารที่บวมเป่ง, วางกฎข้อบังคับและควบคุมภาคการเงิน และเก็บภาษีสูงจากพวกอภิสิทธิ์และบรรษัท เพื่อลดระดับความไม่เท่าเทียมที่ไม่ยั่งยืน.   ในขณะที่การจัดโครงร่างเศรษฐกิจใหม่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ และการพร่องหายของทรัพยากรธรรมชาติ มันจะสร้างเสถียรภาพทางสังคม ที่จำเป็นเพื่อรับมือกับ ระบอบใหม่ยุคหลังการขยายตัว.   แต่ไฮน์เบิร์กบอกว่า เขาไม่คิดว่า นโยบายที่ใช้เหตุผลจะเกิดขึ้น.   เขากลัวว่า เมื่อความเสื่อมเร่งเร็วขึ้น พวกอภิสิทธิ์ที่ทรงอำนาจ จะยิ่งหันไปใช้วิธี “เฉือนแยกชิ้นส่วนของทรัพยากรสังคม เพื่อมาซ่อมหรือสร้างธนาคารมหึมา และแสนยานุภาพทางทหาร”.

Survival will be determined by localities. Communities will have to create collectives to grow their own food and provide for their security, education, financial systems and self-governance, efforts that Heinberg suspects will “be discouraged and perhaps criminalized by those in authority.” This process of decentralization will, he said, become “the signal economic and social trend of the 21st century.” It will be, in effect, a repudiation of classic economic models such as free enterprise versus the planned economy or Keynesian stimulus versus austerity. The reconfiguration will arise not through ideologies, but through the necessities of survival forced on the poor and former members of the working and middle class who have joined the poor. This will inevitably create conflicts as decentralization weakens the power of the elites and the corporate state.
คนท้องถิ่นจะเป็นผู้ตัดสินความอยู่รอด.  ชุมชนจะต้องสร้างกลุ่ม/หมู่เหล่า เพื่อเพาะปลูกอาหารของตัวเอง และจัดหาความมั่นคง, การศึกษา, ระบบการเงิน และการปกครองตัวเอง, อันเป็นความพยายามที่ ไฮน์เบิร์ก คาดว่า จะ “ถูกบั่นทอน และอาจถูกจับกุมโดยผู้มีอำนาจ”.   เขากล่าวว่า กระบวนการดาวกระจายนี้ จะกลายเป็น “สัญญาณแนวโน้มของเศรษฐกิจและการเมืองในศตวรรษที่ 21”.   ผลคือ จะมีการปฏิเสธโมเดลเศรษฐศาสตร์คลาสสิค เช่น วิสาหกิจเสรี เทียบกับ เศรษฐศาสตร์ที่ถูกกำหนดตามแผน หรือ การกระตุ้นแบบ Keynesian เทียบกับ การรัดเข็มขัด.  การจัดโครงร่างใหม่ จะเกิดขึ้นไม่ใช่จากอุดมการณ์, แต่จากความจำเป็นของการอยู่รอด ที่บังคับให้คนยากจน และอดีตสมาชิกของชนชั้นแรงงานและชนชั้นกลาง ผู้ได้ร่วมกับคนยากจน.   นี่จะทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อการกระจายอำนาจ ลดอำนาจของอภิสิทธิ์ชนและรัฐบรรษัท.

Joseph Tainter, an archeologist, in his book “The Collapse of Complex Societies” provides a useful blueprint for how such societies unravel. All of history’s major 24 civilizations have collapsed and the patterns are strikingly similar, he writes. The difference this time around is that we will unravel as a planet. Tainter notes that as societies become more complex they inevitably invest greater and greater amounts of diminishing resources in expanding systems of complexity. This proves to be fatal.
โจเซฟ เท๊นเตอร์, นักโบราณคดี, ผู้เขียนหนังสือ “การพังทลายของสังคมซับซ้อน” ได้ให้พิมพ์เขียวที่มีประโยชน์ เพื่อให้เห็นว่า สังคมเหล่านี้ จะสลายตัวอย่างไร.   ประวัติศาสตร์ของทั้ง 24 อารยธรรมหลักของโลก ได้พังทลายลงด้วยแบบแผนที่คล้ายคลึงกันยิ่งนัก, เขาเขียน.   สิ่งที่ต่าง ออกไปสำหรับยุคนี้ คือ มันได้สลายตัวในระดับทั่วพิภพ.  เท๊นเตอร์ ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อสังคมซับซ้อนมากขึ้น มันเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องลงทุนด้วยทรัพยากรที่ร่อยหรอลง ในปริมาณที่มากขึ้นๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของระบบที่ซับซ้อน.   อันนี้ได้พิสูจน์แล้วว่า ถึงตายได้.

“More complex societies are costlier to maintain than simpler ones and require higher support levels per capita,” Tainter writes. The investments required to maintain an overly complex system become too costly, and these investments yield declining returns. The elites, in a desperate effort to maintain their own levels of consumption and preserve the system that empowers them, through repression and austerity measures squeeze the masses harder and harder until the edifice collapses. This collapse leaves behind decentralized, autonomous pockets of human communities.
“สังคมที่ซับซ้อนกว่า ย่อมธำรงรักษาด้วยราคาที่แพงกว่าสังคมที่เรียบง่าย และต้องการระดับการสนับสนุนต่อหัว (ภาษี) สูงกว่า”, เท๊นเตอร์เขียน.   การลงทุนที่ต้องมีเพื่อรักษาระบบที่ซับซ้อนเหลือรับดังกล่าว กลายเป็นต้นทุนที่สูงเกินไป, และการลงทุนดังกล่าว ก็ให้ผลคืนที่มีแต่ถดถอย.  อภิสิทธิ์ชน, ทุรุนทุรายที่จะรักษาระดับการบริโภคของตน และถนอมระบบที่ทำให้พวกเขามีอำนาจ, ด้วยการใช้มาตรการปราบปรามและรัดเข็มขัด บีบคั้นมวลชนหนักขึ้นๆ จนกระทั่งคฤหาสน์พังทลาย.  การพังทลายเช่นนี้ คงเหลือกระจุกชุมชนมนุษย์ต่างๆ ที่มีอธิปไตยและกระจายตัวอยู่ในที่ต่างๆ.

Heinberg says this is our fate. The quality of our lives will depend on the quality of our communities. If communal structures are strong we will be able to endure. If they are weak we will succumb to the bleakness. It is important that these structures be set in place before the onset of the crisis, he says. This means starting to “know your neighbors.” It means setting up food banks and farmers’ markets. It means establishing a local currency, carpooling, creating clothing exchanges, establishing cooperative housing, growing gardens, raising chickens and buying local. It is the matrix of neighbors, family and friends, Heinberg says, that will provide “our refuge and our opportunity to build anew."
ไฮน์เบิร์กบอกว่า นี่คือ ชะตากรรมของพวกเรา.   คุณภาพชีวิตของพวกเรา จะขึ้นกับคุณภาพของชุมชนของเรา.  หากโครงสร้างชุมชนแข็งแรง เราจะสามารถยืนหยัดอยู่ได้.  หากมันอ่อนแอ เราก็จะพ่ายแพ้ต่อความหมดหวัง.  เป็นสิ่งสำคัญที่โครงสร้างเหล่านี้จะต้องจัดให้มันเข้าที่เข้าทางก่อนที่วิกฤตจะปรากฏตัวขึ้น, เขากล่าว.  นี่หมายถึงการเริ่ม “รู้จักเพื่อนบ้านของคุณ”.   มันหมายถึง การจัดตั้งธนาคารอาหาร และตลาด(สด) ของชาวนา.  มันหมายถึง การก่อตั้งระบบเงินตราท้องถิ่น, หลายคนอาศัยรถคันเดียวกัน, แลกเปลี่ยนเสื้อผ้ากัน, ก่อตั้งที่อยู่อาศัยเชิงสหกรณ์, ทำสวน, เลี้ยงไก่ และซื้อของในท้องถิ่น.  มันเป็นสานเส้นใยของเพื่อนบ้าน, ครอบครัวและเพื่อน, ไฮน์เบิร์กกล่าว, ที่จะเป็น “สรณะของเรา และโอกาสของเราที่จะสร้างขึ้นใหม่”.

"The inevitable decline in resources to support societal complexity will generate a centrifugal force,” Heinberg said. “It will break up existing economic and governmental power structures. It will unleash a battle for diminishing resources. This battle will see conflicts erupt between nations and within nations. Localism will soon be our fate. It will also be our strategy for survival. Learning practical skills, becoming more self-sufficient, forming bonds of trust with our neighbors will determine the quality of our lives and the lives of our children.”
“การถดถอยแบบเลี่ยงไม่ได้ในทรัพยากรเพื่อค้ำจุนความซับซ้อนของสังคม จะทำให้เกิดพลังเหวี่ยงออก”, ไฮน์เบิร์กกล่าว.  “มันจะทำลายโครงสร้างอำนาจที่มีอยู่ของเศรษฐกิจและรัฐบาล.  สงครามจะปะทุขึ้นเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่ลดลง.   สงครามนี้ จะเห็นความขัดแย้งปะทุขึ้น ระหว่างชาติและภายในชาติ.   ลัทธิท้องถิ่นนิยม ไม่ช้าก็จะเป็นชะตากรรมของเรา.  มันก็จะเป็นยุทธศาสตร์เพื่อการอยู่รอดด้วย.   เรียนรู้ทักษะที่ติดดิน, รู้จักใช้ชีวิตพอเพียงพึ่งตัวเองได้, การสร้างความน่าเชื่อถือกับเพื่อนบ้านของเรา จะเป็นตัวตัดสินคุณภาพชีวิตของเรา และของลูกๆ ของเรา”.

To see long excerpts from Richard Heinberg’s “The End of Growth” and Joseph Tainter’s “The Collapse of Complex Societies,” click here and here.
© 2012 TruthDig.com

Chris Hedges writes a regular column for Truthdig.com. Hedges graduated from Harvard Divinity School and was for nearly two decades a foreign correspondent for The New York Times. He is the author of many books, including: War Is A Force That Gives Us Meaning, What Every Person Should Know About War, and American Fascists: The Christian Right and the War on America.  His most recent book is Empire of Illusion: The End of Literacy and the Triumph of Spectacle.
คริส เฮดจ์ส เขียนคอลัมน์ประจำแก่ Truthdig.com.  เฮดจ์ส จบจากเทววิทยาฮาร์วาร์ด และทำงานเป็นนักข่าวต่างประเทศถึงสองทศวรรษให้ นิวยอร์กไทมส์.  เขาเขียนหนังสือหลายเล่ม, “สงครามเป็นกระแสที่ให้ความหมายแก่เรา”, “สิ่งที่ทุกคนพึงรู้เกี่ยวกับสงคราม”, และ “อเมริกันฟาสซิสต์: คริสเตียนเอียงขวา กัน สงครามกับอเมริกา”.  หนังสือเล่มล่าสุด คือ “อาณาจักรแห่งมายา: จุดจบของการอ่านเขียน และชัยชนะของภาพตื่นเต้น”.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น