วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

107. มิติหญิงชายในภาคเกษตร--อาฟริกา



Men and Women Farming Together Can Eradicate Hunger
ชายหญิงทำไร่นาด้วยกัน สามารถขจัดความหิวโหยได้
โดย อิซายา อีสิปิซู
(ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล)
Beatrice Mueni Mutisya inspects her maize crops grown in semi-arid Eastern Kenya. Studies have shown that men and women farming together can lift millions of people out of hunger. Credit: Isaiah Esipisu/IPS 
NAIROBI, Sep 1 2012 (IPS) - Three years ago, the residents of the semi-arid Yatta district in Kenya’s Eastern Province lived on food aid due to dwindling crops of maize that could not thrive because of the decreased rainfall in the area.
ไนโรบี— สามปีก่อน, ชาวยาตตาในแถบกึ่งแห้งแล้ง ในจังหวัดทิศตะวันออกของเคนยา มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารสงเคราะห์ เพราะพืชไร่ข้าวโพดหดลดลง ไม่สามารถงอกงามได้ เพราะฝนตกน้อยลง.
That was until a local bishop, trying to find ways to prevent mothers from forcing their teenage daughters into prostitution, changed everything.
          มันเป็นเช่นนี้จนกระทั่ง บาทหลวงท้องถิ่นท่านหนึ่ง, ในขณะที่พยายามหาทางป้องกันไม่ให้แม่ๆ บังคับให้ลูกสาววัยรุ่นเป็นโสเภณี, ทุกสิ่งทุกอย่างจึงได้เปลี่ยนแปลง.
Now, on a Saturday evening in the district’s village of Makutano, Stephen Mwangangi, his wife, Margaret, and their two children pick bullet chilli peppers meant for export to Europe.
          ทุกวันนี้, ตอนเย็นวันเสาร์ในหมู่บ้าน มากูตาโน, สตีเฟน มวังกาหงิ, ภรรยาของเขา มาร์กาเร็ต, และลูกสองคน จะเก็บเม็ดพริกไทย สำหรับส่งออกไปยุโรป.
The family is one of about 2,000 households that are part of a project called Operation Mwolio Out – Mwolio means food aid in the local Kamba language.
          ครอบครัวนี้ เป็นหนึ่งในประมาณ 2,000 ครัวเรือน ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ชื่อว่า การขับเคลื่อนให้มโวลิโอออกไป—มโวลิโอ หมายถึง อาหารสงเคราะห์ ในภาษาท้องถิ่น กัมบา.
The project began after Bishop Titus Masika from the local Christian Mission Impact ministries saw a story on local television that showed women from the area forcing their teenage daughters to peddle sex for food or money.
          โครงการนี้เริ่มต้นหลังจากที่บาทหลวง ติตุส มาสิกา จาก Christian Mission Impact ท้องถิ่น ได้เห็นรายการบนโทรทัศน์ท้องถิ่น ที่แสดงถึงผู้หญิงในพื้นที่กำลังบังคับลูกสาววัยรุ่นของตน ให้ขายบริการทางเพศเพื่อแลกกับอาหารหรือเงิน.
 “I was disturbed by the story. It prompted me to convene a meeting of all the agricultural and marketing experts born in Yatta who I could reach – most of them were working elsewhere in the country. We sat with the residents of Yatta to identify the main cause of the problem, and find the solution,” Masika told IPS.
          “ผมรู้สึกสะท้านใจจากเรื่องนี้.  มันกระตุ้นให้ผมเรียกประชุมผู้เชี่ยวชาญทางเกษตรและการตลาดทั้งหลายที่เกิดในยาตตา คนที่ผมติดต่อได้—ส่วนมากทำงานในที่อื่นๆ ในประเทศ.   พวกเรานั่งคุยกับชาวบ้านยาตตา เพื่อระบุรากเหง้าหลักของปัญหา, และหาทางออก”, มาสิกา เล่าให้ IPS ฟัง.
What the residents needed was sustainable employment that would lift them out of poverty.
“By implementing advice from the experts and using the traditional knowledge from the residents, we have now successfully eradicated Mwolio. But this was not going to be possible without the involvement of all family members at all stages,” Masika said.
          สิ่งที่ชาวบ้านต้องการ คือ งานว่าจ้างที่ยั่งยืน ที่จะฉุดพวกเขาให้พ้นจากความยากจนได้.   “ด้วยการทำตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ และการใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้าน, ตอนนี้ เราได้ขจัดมโวลิโอ ได้สำเร็จ.   แต่นี่คงเป็นไปไม่ได้หากปราศจากการมีส่วนร่วมของสมาชิกในครอบครัวในทุกๆ ขั้นตอน”, มาสิกา กล่าว.
Local farmers were introduced to different farming techniques, which include the use of zai pits (pits of manure on top of which plants are grown), irrigation using rainwater stored in water pans (small earth dams), and the planting of drought-tolerant crops.
          ชาวนาท้องถิ่น ได้ถูกแนะนำให้รู้จักใช้เทคนิคเกษตรกรรมต่างๆ กัน, ซึ่งรวมทั้งหลุม zai (ฝังมูลสัตว์ ในหลุมเหนือดินที่ปลูกต้นไม้), เก็บน้ำฝนในฝายดินเล็กๆ เพื่อใช้รดน้ำพืช, และการปลูกพืชที่ทนแล้ง.
Through seminars, training workshops and field days spent at local villages, Masika and other agricultural experts from Yatta managed to convince men to join the project. The men provided the hard labour to help dig the water pans, but they also helped women access farm equipment generally owned by men.
          ด้วยการเข้าสัมมนา, การอบรมและดูงานในหมู่บ้านท้องถิ่น, มาสิกาและผู้เชี่ยวชาญทางเกษตรอื่นๆ จากยาตตา ก็สามารถชักจูงให้ผู้ชายเข้าร่วมในโครงการ.  ผู้ชายออกแรงทำงานหนัก ช่วยขุดฝาย, แต่พวกเขาก็ช่วยผู้หญิงให้เข้าถึงอุปกรณ์ไร่นา ซึ่งปกติผู้ชายเป็นเจ้าของ.
Now farmers in Yatta grow their high-value crops, including the bullet chilli peppers, and jointly package and export them to Europe. Farmers are paid depending on the amount of produce they contribute.
          ตอนนี้ ชาวนายาตตาปลูกพืชเศรษฐกิจ, รวมทั้งพริกไทยหัวกระสุน, และร่วมกันใส่บรรจุภัณฑ์ ส่งออกไปยุโรป.  ชาวนาได้ค่าแรงตามผลผลิตที่ได้.
Masika said that the success of the project was thanks to the involvement of entire households and not just women seeking ways to support their families. “When we started this project three years ago, we only had 60 women participants,” Masika said.
มาสิกาบอกว่า ความสำเร็จของโครงการ มาจากการเข้าร่วมของทั้งครอบครัว ไม่เพียงแต่ผู้หญิงที่หาทางเลี้ยงครอบครัว.   “พอเราเริ่มโครงการนี้ สามปีก่อน, เรามีผู้หญิงเพียง 60 คนเข้าร่วม”, มาสิกาเล่า.
Now, if people want to join the project, they can only do so if all their family members join as well.
          ตอนนี้, หากใครต้องการเข้าร่วมโครงการ, จะทำได้ก็ต่อเมื่อทุกคนในครอบครัวเข้าร่วมด้วย.
“Working together as groups of families, when men became involved, has worked miracles over the past two years. As families, we usually reason together, identify prevailing challenges, and strategise how to tackle them as a team,” said Masika.
          “การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มครอบครัว, เมื่อผู้ชายเข้าร่วมด้วย, ได้ทำงานอย่างมหัศจรรย์ในกว่าสองปีก่อน.   ในฐานะครอบครัว, เรามักจะใช้เหตุผลร่วมกัน, ค้นหาอุปสรรค, และหายุทธวิธีว่าจะแก้ไขเป็นทีมอย่างไร”, มาสิกาบอก.
And scientists from the Swedish International Agricultural Network Initiative say that in Sub-Saharan Africa, men and women working together for a common goal increases productivity.
          และนักวิทยาศาสตร์จากเครือข่ายเกษตรนานาชาติของสวีเดน  บอกว่า ในอาฟริกาอนุภาคซาฮารา, การที่ชายและหญิงทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วม จะช่วยเพิ่มผลิตภาพ.
A book soon to be published by the initiative, titled “Transforming gender relations in agriculture in Sub-Saharan Africa: Promising approaches”, highlights innovative methodologies in small-scale farming that have improved gender relations. The book states that cooperation between the genders contributes to increased food production, food security and nutrition, stronger value chains, and better use of natural resources.
          หนังสือเล่มหนึ่งที่เครือข่ายฯจะพิมพ์ออกเผยแพร่เร็วๆ นี้ ชื่อ “การแปรเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงเพศสภาพในภาคเกษตรของอาฟริกาอนุภาคซาฮารา: แนวทางแห่งความหวัง”, เน้นที่นวัตกรรมในแนวปฏิบัติของเกษตรกรรมขนาดเล็ก ที่ช่วยทำให้ความสัมพันธ์ทางเพศสภาพดีขึ้น.   หนังสือระบุว่า ความร่วมมือระหว่างเพศ มีผลให้การผลิตอาหารเพิ่มขึ้น, ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ, ห่วงโซ่คุณค่าแข็งแรงขึ้น, และใช้ทรัพยากรธรรมชาติในทางที่ดีขึ้น.
“This means that we have to improve women’s positions in communities so they have equal access to land, to tools and supplies (like fertiliser), to learning opportunities, and to markets,” one of the authors of the book, Marion S. Davis of the Stockholm Environment Institute, told IPS.
          “นี่หมายความว่า เราต้องปรับปรุงสถานภาพของผู้หญิงในชุมชนให้ดีขึ้น เพื่อว่าพวกเธอจะได้มีความเท่าเทียมในการเข้าถึงที่ดิน, อุปกรณ์ และวัตถุดิบ (เช่น ปุ๋ย), โอกาสในการเรียนรู้, และตลาด”, มาเรียน เอส. เดวิส, สถาบันสิ่งแวดล้อม สต๊อคโฮม กล่าว.
One of the case studies in the book is of coffee farming in Uganda, where men and women directly competed with each other, but in the process ended up producing lower-quality coffee.
          กรณีศึกษาหนึ่งในหนังสือ คือ การปลูกกาแฟในอูกานดา, ที่ๆ ชายและหญิงแข่งขันกันโดยตรง, แต่ในกระบวน ก็จบลงด้วยการผลิตกาแฟคุณภาพต่ำ.
“But after a gender-focused project came in and encouraged men and women to collaborate, they were able to work together to produce higher-quality, higher-value coffee that they sold together, benefiting the whole family,” said Davis.
          “แต่หลังจากใช้โครงการที่เน้นมิติเพศสภาพ มีการชักจูงให้ชายและหญิงร่วมมือกัน, พวกเขาก็ทำงานร่วมกันได้ และผลิตกาแฟที่มีคุณภาพสูงกว่า, ได้ราคาดีกว่า ที่พวกเขาขายด้วยกัน, ทั้งครอบครัวได้ประโยชน์”, เดวิสกล่าว.
Transformation involves more than just focusing on women’s needs and empowerment, according to the findings of the book.
          การแปรเปลี่ยนต้องใช้วิธีมากกว่าเพียงเน้นที่ความต้องการและการเสริมอำนาจของผู้หญิง, ตามที่หนังสือค้นพบ.
“It also depends a great deal on men and women working together at all levels. This is true particularly in the case of adapting technologies and integrating into market value chains,” Dr. Cathy Farnworth, an international expert on gender issues and one of the authors, told IPS.
          “มันยังขึ้นกับการทำงานร่วมกันของชายและหญิงในทุกระดับ.   นี่เป็นความจริงอย่างยิ่ง ในกรณีของการปรับใช้เทคโนโลยี และผนวกรวมเข้ากับห่วงโซ่ราคาตลาด”, ดร.แคธี ฟาร์นเวิร์ธ, ผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศในประเด็นเพศสภาพ และเป็นผู้เขียนคนหนึ่ง กล่าว.
She said the findings showed that promoting methodologies that encouraged cooperation between women and men farmers resulted in increased productivity dividends when they shared resources and maximised the efficiency of their decision-making.
          เธอกล่าวว่า ผลการศึกษา พบว่า การส่งเสริมวิธีการที่ชักชวนให้ชาวนาหญิง-ชายร่วมมือกัน ยังให้ปันผลผลิตภาพสูงขึ้น เมื่อพวกขาแบ่งปันทรัพยากร และร่วมกันทำการตัดสินใจให้มีประสิทธิภาพที่สุด.
“Right now women do not have access to the tools and supplies they need. So if you even the playing field and give women the same access to supplies and tools as men, they’re going to be able to produce a lot more,” Farnworth said.
          “ตอนนี้ผู้หญิงเข้าไม่ถึงอุปกรณ์ และวัตถุดิบที่พวกเธอต้องการ.  ดังนั้น หากคุณปรับพื้นสนามให้เสมอกัน และให้ผู้หญิงเข้าถึงอุปกรณ์และวัตถุดิบได้เหมือนผู้ชาย, พวกเขาก็จะผลิตได้มากกว่านี้มาก”, ฟาร์นเวิร์ธ กล่าว.
Her co-author, a senior researcher at the Stockholm Environment Institute, Melinda Fones Sundell, told IPS that while women have a key role in agricultural production, in many cases they do not have correlated roles in making production and marketing decisions.
          เมลินดา ฟอนส์ ซันเดลล์ กล่าวว่า ในขณะที่ผู้หญิงเล่นบทหลักในการผลิตทางเกษตร, ในหลายๆ กรณี พวกเธอไม่มีบทบาทมากในการตัดสินใจด้านการผลิตและการตลาด.
“They are efficient producers with what they have, but usually produce less than male farmers because of their limited access to land, credit and other production inputs,” said Sundell.
          “พวกเธอเป็นผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพ ด้วยอะไรก็ตามที่พวกเธอมี, แต่มักจะผลิตได้น้อยกว่าชาวนาชาย เพราะพวกเธอมีข้อจำกัดในการเข้าถึงที่ดิน, สินเชื่อ และวัตถุดิบอื่นๆ”, ซันเดลล์กล่าว.
Janice Wanyama, a housewife from Bungoma County in Western Kenya, is a case in point.
“I have just a small plot within our compound where I grow vegetables that feed the entire family throughout the year. But the commercial part of the land, the tractor used for preparing the land and other major farm equipments are controlled by my husband. But still, I have to find time to labour on the commercial land as well,” she told IPS.
          แจนิส วันยามา, แม่บ้านจาก บุนโกมา ในเคนยาตะวันตก, เป็นกรณีดังกล่าว.  “ฉันมีแปลงเล็กๆในบริเวณบ้านของเรา ที่ฉันปลูกผักเพื่อเลี้ยงดูทั้งครอบครัวตลอดปี.  แต่ในแปลงพาณิชย์ ที่ใช้รถแทรกเตอร์เพื่อเตรียมดิน และอุปกรณ์ไร่นาหลักๆ อื่นๆ ล้วนอยู่ในอาณัติของสามีของฉัน.  แต่ฉันก็ยังต้องหาเวลาเพื่อทำงานในแปลงพาณิชย์ด้วย”, เธอกล่าว.
This is despite the fact that women in Sub-Saharan Africa have the highest average agricultural labour force participation in the world.
          เป็นเช่นนี้ ทั้งๆ ที่ข้อเท็จจริงมีว่า ผู้หญิงในอาฟริกามีอัตราเฉลี่ยในการมีส่วนร่วมเป็นแรงงานในภาคเกษตรสูงสุดในโลก.
“In Ghana, for example, women produce 70 percent of the food crops, provide 52 percent of the agricultural labour force, and contribute 90 percent of the labour for post-harvest activities. In East Africa as a whole, women make up about 51 percent of the agricultural labour force,” said Sundell.
          “ในกานา ผู้หญิงผลิตถึง 70% ของพืชอาหาร, เป็นแรงงานถึง 52% ในภาคเกษตร, และ 90% ในกิจกรรมหลังการเก็บเกี่ยว.  ในทั้งหมดของอาฟริกาตะวันออก, ผู้หญิงมีถึง 51% ของแรงงานในภาคเกษตร”, ซันเดลล์กล่าว.
She said that where women lacked the right to own land, children also suffered.
“A report by the Organisation for Economic Co-operation and Development indicates that countries in which women lack any rights to own land have on average 60 percent more malnourished children,” said Sundell.
          เธอกล่าวว่า ที่ใดผู้หญิงขาดสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดิน, ลูกๆ ก็ลำบาก.  “รายงานหนึ่งจาก OECD ชี้ว่า ประเทศที่ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดิน จะมีเด็กที่ขาดอาหารโดยเฉลี่ยมากกว่า 60%”, ซันเดลล์กล่าว.
But a report by the Food and Agriculture Organization of the United Nations titled “Closing the Gender Gap in Agriculture” shows that closing the gap between the genders in agricultural inputs alone can lift 100 to 150 million people out of hunger.
          แต่รายงานจาก FAO ของสหประชาชาติ ชื่อ “ปิดช่องว่างเพศสภาพในภาคเกษตร” แสดงว่า การปิดช่องว่างระหว่างเพศในวัตถุดิบเกษตรอย่างเดียว สามารถยกประชาชน 100-150 ล้านคนให้ออกจากความหิวโหยได้.
And the community in Yatta district is proof of this. “On average, my family earns 250 dollars, the equivalent to 20,000 shillings every two weeks. This is far better than many employed people in Nairobi,” Mwangangi told IPS.
          และชุมชนในยาตตา ก็ช่วยพิสูจน์ข้อนี้.  “โดยเฉลี่ย, ครอบครัวของฉันมีรายได้ 250 เหรียญ, เท่ากับ 20,000 ชิลลิง ในทุกๆ สองสัปดาห์.  อันนี้ดีกว่าหลายมนุษย์เงินเดือนหลายคนในเมืองหลวง ไนโรบี”, มวังกาหงิ กล่าว.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น