วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

108. จำเป็นต้องมีผู้หญิงร่วมในการสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ ... แทนสงคราม



World Needs to Build a Culture of Peace, Says Ex-Envoy
โลกจำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติ, อดีตทูตกล่าว
โดย ธาลิฟ ดีน
(ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล)
UNITED NATIONS, Sep 12 2012 (IPS) - Since wars begin in the minds of men, it is in the minds of men that the defences of peace must be constructed, says the preamble to the constitution of the U.N. Educational, Scientific and Cultural Organisation (UNESCO).
          สหประชาชาติ—ตั้งแต่สงครามเริ่มต้นในจิตใจมนุษย์, มันอยู่ในใจของมนุษย์ว่า จะต้องสร้างความชอบธรรมสำหรับการปกป้องสันติ, ดังที่กล่าวในคำเกริ่นนำของธรรมนูญของยูเนสโก.
“Unless women are in the forefront of this culture of peace, long-term solutions will elude us,” says Ambassador Anwarul Karim Chowdhury, the prime mover of the 1999 General Assembly resolution that adopted the U.N. Declaration and Programme of Action on the Culture of Peace. Credit: UN Photo/Ky Chung
Signed in November 1945, the constitution came into force one year later following ratification by 20 countries, including Australia, Brazil, Canada, Egypt, India, Lebanon, UK and the United States.
          ลงนามในเดือนพฤศจิกายน 1945, ธรรมนูญได้ออกมาหนึ่งปีหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน, ได้แก่ ออสเตรเลีย, บราซิล, แคนาดา, อียิปต์, อินเดีย, เลบานอน, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ.
The UNESCO constitution clearly states that “ignorance of each other’s ways and lives has been a common cause, throughout the history of mankind, of that suspicion and mistrust between the peoples of the world through which their differences have all too often broken into war.”
          ธรรมนูญของยูเนสโก ระบุชัดว่า “ความไม่รู้ถึงวิถีและชีวิตของกันและกัน ได้กลายเป็นสาเหตุร่วม,ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ, ของความหวาดระแวง และไม่เชื่อถือ ระหว่างประชาชนต่างๆ ในโลก ด้วยเหตุนี้ ความแตกต่างมักจะแตกหักลงเป็นสงคราม”.
These sentiments will be very much in evidence Friday as the General Assembly hosts a High-Level Forum on the Culture of Peace – even as protests in Egypt and Libya Wednesday resulted in the killings of U.S. diplomats, including Ambassador Christopher Stevens in Benghazi, over a video ridiculing the Prophet Muhammad, who is revered by Muslims worldwide.
          อารมณ์ความรู้สึกนี้ จะปรากฏชัดในวันศุกร์ เมื่อสมัชชาเป็นเจ้าภาพเวทีระดับสูงว่าด้วย วัฒนธรรมของสันติภาพ—แม้ว่า การประท้วงในอียิปต์และลิเบียในวันพุธ จะยังผลให้เกิดการสังหารนักการทูตสหรัฐฯ, รวมทั้ง เอกอัครราชทูต คริสโตเฟอร์ สตีเวนส์ ในเบงกาซี, ด้วยเหตุที่ วีดีโอหนึ่งได้ลบหลู่ศาสดาโมฮัมเหม็ด, ผู้ที่ชาวมุสลิมทั้วโลกเคารพนับถือ.
The Israeli-American real estate developer Sam Bacile, who is credited with funding the reportedly amateurish video, was quoted as saying that “Islam is a cancer.”
          นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชาวอเมริกัน-อิสราเอล แซม บาคิล, ผู้ได้รับเครดิตว่า ให้ทุนสนับสนุนวีดีโอสมัครเล่นนั้น, ถูกอ้างอิงว่าได้พูดว่า “อิสลามเป็นมะเร็งชนิดหนึ่ง”.
Article 3 of the U.N. Declaration on a Culture of Peace, which is likely to be cited by speakers at the Forum and at the subsequent panel discussions Friday, calls for “advancing understanding, tolerance and solidarity among all civilizations, peoples and cultures, including ethnic, religious and linguistic minorities.”
          มาตรา 3 ของปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ, ซึ่งคงจะถูกอ้างถึงโดยผู้ปราศรัยในเวที และในการอภิปรายต่อมาในวันศุกร์, เรียกร้องให้มี “การก้าวหน้าสู่ความเข้าใจ, ความอดกลั้น และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ในบรรดาอารยธรรมทั้งมวล, ประชาชนและวัฒนธรรมต่างๆ, รวมทั้ง ชนกลุ่มน้อยเชิงชาติพันธุ์, ศาสนา และภาษา”.
“The world must build a culture of peace,” insists Ambassador Anwarul Karim Chowdhury, the prime mover of the 1999 General Assembly resolution that adopted the U.N. Declaration and the Programme of Action (PoA) on the Culture of Peace and the subsequent proclamation of the “International Decade for Culture of Peace and Non-Violence for Children of the World, 2001-2010.”
          “โลกจะต้องตั้งอยู่บนวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ”, ท่านทูต อันวารุล คาริม เชาธุรี ย้ำ เขาเป็นโต้โผในมติสมัชชา ปี 1999 ที่ยอมรับปฏิญญาสหประชาชาติ และโปรแกมปฏิบัติการ (PoA) ว่าเวย วัฒนธรรมแห่งสันติภาพ และการประกาศต่อๆ มา ของ “ทศวรรษสากลเพื่อวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ และอหิงสา สำหรับเด็กๆ ของโลก, 2001-2010.”
Asked about his role, Chowdhury told IPS, “Yes, it was my sole initiative, and that initiative was possible because at that time I was the ambassador to the United Nations, and I happened to represent Bangladesh.
          เมื่อถูกถามถึงบทบาทของเขา, เชาธุรี กล่าว, “ใช่ครับ, มันเป็นการริเริ่มของผมเองคนเดียว, และการริเริ่มนั้น เป็นไปได้เพราะ ตอนนั้น ผมเป็นทูตประจำสหประชาชาติ, และผมก็เป็นตัวแทนของบังคลาเทศด้วย”.
“I chaired the General Assembly drafting committee that prepared the declaration and Programme of Action after nine-month-long complex and intense negotiations,” he said.
          “ผมเป็นประธานคณะกรรมการยกร่างของสมัชชา ที่เตรียมปฏิญญาและโปรแกมปฏิบัติการ หลังจากการต่อรองที่ซับซ้อนและเข้มข้นนานถึงเก้าเดือน”, เขากล่าว.  
In 1997, Chowdhury proposed to the secretary-general the inclusion of “Culture of Peace” as an agenda item to be deliberated upon in the General Assembly plenary.
ในปี 1997, เชาธุรี เสนอต่อเลขาธิการฯ ให้เติม “วัฒนธรรมแห่งสันติภาพ” เป็นวาระหนึ่งเพื่อการพิจารณาในที่ประชุมใหญ่ของสมัชชา.
In 1998, he also proposed the U.N. International Decade for Culture of Peace and Non-violence “at the request of all living Nobel Peace Laureates made to me,” he added.
          ในปี 1998, เขาได้นำเสนอ ทศวรรษสากลของสหประชาชาติ เพื่อวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ และอหิงสา “ตามคำร้องขอจากผู้ได้รับรางวัลโนเบลที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมด”, เขาเสริม.
And since 1997, Bangladesh has remained the focal point for the Culture of Peace agenda item at the United Nations.
          และตั้งแต่ปี 1998, บังคลาเทศได้ดำรงความเป็นจุดรวมสำหรับวาระวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ ที่สหประชาชาติ.
Chowhdury’s second initiative, in March 2000 as the president of the Security Council, led to the adoption of the groundbreaking U.N. Security Council Resolution 1325 on women’s contribution in peace and security.
          การริเริ่มที่สองของเชาธุรี, ในเดือน มีนาคม 2000 ในฐานะประธานของสภาความมั่นคง, ได้นำไปสู่การยอมรับ มติสภาความมั่นคงยูเอ็น 1325 ว่าด้วยคุณูปการของสตรีต่อสันติภาพและความมั่นคง.
When the United Nations commemorated the 50th anniversary of the Universal Declaration on Human Rights back in December 1998, a coalition of civil society organisations launched a global campaign for the universal recognition of the human right to peace.
          เมื่อสหประชาชาติ ฉลองครบรอบปีที่ 50 ของปฏิญญาสิทธิมนุษยชน ในเดือนธันวาคม 1998, เครือข่ายองค์กรประชาสังคม ได้เปิดตัวการรณรงค์ระดับโลกเพื่อให้สากลยอมรับความสำคัญของสิทธิมนุษยชนต่อสันติภาพ.
They called upon all “to prevent violence, intolerance, and injustice in our countries and societies in order to overcome the cult of war and to build a Culture of Peace”.
          พวกเขาเรียกร้องให้ทุกคน “สกัดกั้นความรุนแรง, ความใจแคบ, และความอยุติธรรมในประเทศของเรา และสังคม เพื่อเอาชนะ ลัทธิสงคราม และสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติ”.
“Both of these high aspirations remain elusive,” Chowdhury wrote in an op-ed piece published on the Inter Press Service (IPS) wire back in January 2010.
         “ความทะเยอทะยานฝันใฝ่ทั้งสองประการยังพร่ามัวอยู่”, เชาธุรี เขียนใน อ๊อบ-เอ็ด ที่พิมพ์ใน IPS ในเดือนมกราคม 2010.
“In today’s world,” Chowdhury said, “the culture of peace should be seen as the essence of a new humanity, a new global civilisation based on inner oneness and outer diversity.
          “ในโลกทุกวันนี้”, เชาธุรีกล่าว, “วัฒนธรรมแห่งสันติ ควรจะถูกมองว่าเป็นหัวใจของมนุษยชาติใหม่, อารยธรรมโลกใหม่ ที่ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นหนึ่งภายใน และความหลากหลายภายนอก”.
“The flourishing of a culture of peace will generate the mindset in us that is a prerequisite for the transition from force to reason, from conflict and violence to dialogue and peace. A culture of peace will provide the foundation for a stable, progressive, and prosperous world for all,” he added.
          “ความรุ่งเรืองงอกงามของวัฒนธรรมแห่งสันติ จะก่อให้เกิดฐานจิตในพวกเราที่เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต้องมีก่อนสำหรับการเปลี่ยนผ่านจากการใช้กำลังสู่การใช้เหตุผล,  จากความขัดแย้งและความรุนแรง สู่สานเสวนาและสันติ.   วัฒนธรรมแห่งสันติ จะให้รากฐานสำหรับโลกที่เสถียร, ก้าวหน้า, และมั่งคั่ง สำหรับคนทั้งมวล”, เขากล่าวเสริม.
The High-Level Forum is being held in conformity with Article 9 of the Declaration which says the United Nations should continue to play a critical role in the promotion and strengthening of a culture of peace worldwide.
          เวทีระดับสูง กำลังดำเนินอยู่ตามมาตรา 9 ของปฏิญญาที่บอกว่า สหประชาชาติ ควรเล่นบทสำคัญในการส่งเสริมและตอกย้ำวัฒนธรรมแห่งสันติทั่วโลกต่อไป.
Secretary-General Ban Ki-moon Monday singled out Egypt’s transition from longstanding authoritarian governments to a multi-party democracy as the most recent example of the culture of peace.
          เลขาธิการ บัน คีมูน ในวันจันทร์ ได้หยิบยกการเปลี่ยนผ่านของอียิปต์ จากรัฐบาลเผด็จการอันยาวนาน สู่ ประชาธิปไตยระบบหลายพรรค ว่าเป็นตัวอย่างล่าสุดของวัฒนธรรมแห่งสันติ.
“Ä democratically elected president – they say, the first election in 5,000 years – in Egypt,” he said in his address in to the University of Geneva Monday.
          “ประธานาธิบดีที่ได้มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย—พวกเขาบอกว่า, การเลือกตั้งครั้งแรกใน 5,000 ปี—ในอียิปต์”, เขากล่าวในสุนทรพจน์ ที่มหาวิทยาลัยแห่งเจนีวา ในวันจันทร์.
The consolidation of reforms in Tunisia and Libya are all encouraging, he said, even though there are some forms of instability still. “But we can help them,” Ban said.
          การรวมเป็นหนึ่งของการปฏิรูปในตูนีเซียและลิเบีย ล้วนเป็นเรื่องที่เป็นกำลังใจ, เขากล่าว, แม้ว่า ยังมีรูปแบบบางอย่างที่ไม่เสถียร.  “แต่เราจะช่วยพวกเขา”, บันกล่าว.
Article 3 of the Charter also says the fuller development of a culture of peace is integrally linked to promoting democracy, development and universal respect for and observance of all human rights and fundamental freedoms and strengthening democratic institutions and ensuring full participation in the development process.
          มาตรา 3 ของธรรมนูญบอกด้วยว่า วัฒนธรรมแห่งสันติ จะพัฒนาได้เบ่งบานมากเพียงไร เชื่อมโยงกับการส่งเสริมประชาธิปไตย, การพัฒนาและการเคารพระดับสากลต่อ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพขั้นพื้นฐานทั้งหมด และตอกย้ำสถาบันประชาธิปไตย และทำให้มั่นใจว่า ทุกคนมีส่วนร่วมเต็มที่ในกระบวนการพัฒนา.
Chowdhury argued the international community should assert that there is no more crucial social responsibility or more pressing task than securing sustainable peace on our planet.
          เชาธุรี แย้งว่า ชุมชนระหว่างประเทศ ควรยืนหยัดว่า ไม่มีความรับผิดชอบทางสังคมหรืองานเร่งด่วนใดๆ ที่สำคัญกว่า การทำให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนในพิภพของเรา.
Global efforts towards peace and reconciliation can only succeed with a collective approach built on trust, dialogue, and collaboration. For that, we must build a grand alliance for the culture of peace amongst all, particularly with the proactive involvement and participation of the young people, he said.
          ความพยายามของโลกสู่สันติและการปรองดอง สามารถจะสัมฤทธิ์ผลได้ด้วยแนวทางร่วมกันเป็นหมู่คณะเท่านั้น ที่ตั้งอยู่บนความเชื่อใจ, สานเสวนา, และร่วมมือ.  สำหรับอันนั้น, เราต้องสร้างพันธมิตรมโหฬารเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งสันติในหมู่พวกเราทั้งหมด, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยการมีส่วนร่วมของเยาวชน, เขากล่าว.
“This is the first priority as we look ahead,” said Chowdhury, who will be moderating a panel discussion Friday on “Strengthening the global movement, advancing the implementation of the UN Programme of Action on Culture of Peace: the way forward”.
          “นี่เป็นความสำคัญลำดับแรกที่เรามองไปข้างหน้า”, เชาธุรีบอก, ผู้จะเป็นพิธีกรในคณะอภิปรายในวันศุกร์ เรื่อง “เสริมความเข้มแข็งแก่การขับเคลื่อนระดับโลก, สร้างความก้าวหน้าในการดำเนินการของโปรแกมปฏิบัติการ วัฒนธรรมแห่งสันติภาพ: ทางไปข้างหน้า”.
He said the second area “we need to concentrate on is giving long-overdue recognition to the fact that women also have a major role to play in promoting the culture of peace, particularly in strife-torn societies, and in bringing about lasting peace and reconciliation.
          เขากล่าวว่า เรื่องที่สอง “เราจำเป็นต้องเพ่งไปที่ยอมรับความจริงที่รอนานเกินว่า สตรีก็มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งสันติด้วย, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมที่แตกแยกด้วยความขัดแย้ง, และในการทำให้เกิดสันติและปรองดองที่ยั่งยืน.
“Unless women are in the forefront of this culture of peace, long-term solutions will elude us. Women have proved again and again that it is often they who foster the culture of peace by reaching out across divides and encouraging others to do likewise.”
“หากสตรีไม่ได้เข้ามาอยู่ในแนวหน้าของวัฒนธรรมแห่งสันติภาพแล้วไซร้, ทางแก้ไขระยะยาว จะหลีกหายไปจากเรา.  สตรีได้พิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า พวกเธอเป็นผู้หล่อเลี้ยงวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ โดยการยื่นมือออกไป ผ่านเส้นแบ่งต่างๆ และเชิญชวนให้คนอื่นๆ ทำตาม”.
The third crucial focus, he said, is peace education, which must be accepted in all societies and all countries of the world as an essential element in creating culture of peace.
ประการสำคัญที่สาม, เขากล่าว, คือ สันติศึกษา, ที่จะต้องได้รับการยอมรับในสังคมทั้งปวง และทุกประเทศในโลก ในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมแห่งสันติภาพ.
To effectively meet the complex challenges of our time, the young of today deserve a radically different education – one that does not glorify war but educates for peace, non-violence, and international cooperation.
          เพื่อให้สามารถรับมือกับข้อท้าทายในยุคของเราอย่างมีประสิทธิภาพ, เยาวชนทุกวันนี้ สมควรได้รับการศึกษาที่ต่างออกไปสุดเหวี่ยง—การศึกษาที่ไม่สรรเสริญสงคราม แต่สอนให้รู้จักสันติภาพ, อหิงสา และการร่วมมือระหว่างประเทศ.
“All educational institutions need to prepare students to be responsible and productive citizens of the world to introduce teaching that builds the culture of peace,” he said.
          “สถาบันการศึกษาทั้งหมดจำเป็นต้องเตรียมนักศึกษาให้มีความรับผิดชอบและเป็นพลเมืองที่ก่อเกิดผลของโลก เพื่อนำการสอนที่ตั้งอยู่บนวัฒนธรรมแห่งสันติ”, เขากล่าว.
Explicit recognition of the human right to peace by the Human Rights Council and by the U.N. General Assembly should be the fourth area of focus.
          การยอมรับความสำคัญของสิทธิมนุษยชนต่อสันติอย่างชัดเจน โดยสภาสิทธิมนุษยชน และโดย สมัชชาของยูเอ็น ควรเป็นประการที่สี่.
In addition, he said, civil society has a major role to play in the full and effective implementation of the Culture of Peace Programme of Action, particularly in holding national governments and relevant international organisations accountable for their commitments.
          นอกจากนั้น, เขากล่าว, ประชาสังคมมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการโปรแกมปฏิบัติการวัฒนธรรมแห่งสันติ ให้เต็มที่และมีประสิทิภาพ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการคอยกำกับดูแลให้รัฐบาลชาติของตน และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติตามพันธสัญญา.
“The seeds of peace exist in all of us, and they must be nurtured by all of us – individually and collectively – so that they flourish. Peace cannot be imposed from outside, it must be generated from within,” Chowdhury declared.
          “เมล็ดพันธุ์แห่งสันติเหล่านี้ มีอยู่แล้วในตัวของพวกเรา, และมันจะต้องถูกหล่อเลี้ยงโดยพวกเราทั้งหมด—ระดับปัจเจกและเป็นหมู่คณะ—เพื่อว่ามันจะเจริญงอกงาม.  สันติภาพไม่สามารถยัดเยียดให้จากภายนอก, มันต้องเบ่งบานจากภายใน”, เชาธุรี ประกาศ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น