วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

119. FM: องค์กรเกษตรกร—กระบวนการเสริมอำนาจมือที่ป้อนโลก


Farmer organisations are challenging us!
by Yves Matthijs
องค์กรเกษตรกรกำลังท้าทายเรา!

Farmer organisations can be both effective and efficient in training their own members. Their work, however, also reminds us that agricultural training is not just a technical field. Their commitment to agro-ecology shows that, above all, training is a political issue – and they’re challenging us to follow them.
                องค์กรเกษตรกรอาจมีทั้งประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการฝึกอบรมสมาชิกของตน.  แต่งานของพวกเขาก็เตือนให้เราระลึกว่า การอบรมทางเกษตร ไม่ใช่เพียงเรื่องทางวิชาการ/ทางเทคนิค วิธีการ.   ความมุ่งมั่นผูกพันต่อเกษตร-นิเวศ แสดงว่า, เหนืออื่นใด, การอบรมเป็นประเด็นการเมือง—และพวกเขากำลังท้าทายพวกเราให้เดินตามพวกเขา.

Farming Matters | 28.3 | September 2012

Since the 1990s, the closure of many public extension services in the Sahel has had a severe impact on farming. The limited support provided by most governments is even more striking given that agriculture accounts for an average 45-60% of the region’s GNP, it employs 70-80% of the population and is the largest export sector after mining.
                ตั้งแต่ทศวรรษ 1990s, การปิดตัวลงของการบริการขยายสาธารณะ (บริการวิชาการเกษตรท้องถิ่น) ในซาเฮล มีผลร้ายแรงต่อการเกษตร.   การสนับสนุนที่จำกัดโดยรัฐบาลส่วนใหญ่ นั้นดูยิ่งน่าตกใจเมื่อผลิตผลทางเกษตรเฉลี่ยที่มีมูลค่าถึง 45-60% ของ จีดีพี ในภูมิภาค, ว่าจ้าง 70-80% ของประชากร และเป็นภาคส่งออกที่ใหญ่ที่สุดรองจากเหมืองแร่.
Today, producers are facing profound changes – economic, geo-climatic and institutional – which require adaptations and new skills, especially in the current context of chronic food insecurity.
                ทุกวันนี้, ผู้ผลิตกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ลึกล้ำ—เศรษฐกิจ, ภูมิอากาศและสถาบันเชิงภูมิศาสตร์—ที่ต้องการการปรับตัวและทักษะใหม่ๆ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริบทปัจจุบันของความไร้เสถียรภาพของอาหาร.
Farmer organisations (FOs) bring together the producers in a region, and thus group and represent the end users of every training process. Faced with the challenges mentioned above, it seems logical to conclude that they are better able to define and articulate the training needs of farmers in a given area, according to the needs of the market, but also according to the social, cultural and technical features of a region.
                องค์กรเกษตร (FOs) ต่างๆ รวมผู้ผลิตในภูมิภาคหนึ่งๆ เข้าด้วยกัน, และจัดตั้งเป็นกลุ่ม และเป็นตัวแทนของผู้เข้ารับ/และนำไปใช้ กระบวนการอบรมแต่ละครั้ง.   เมื่อเผชิญหน้ากับความท้าทายดังกล่าวข้างต้น, มันสมเหตุสมผลที่จะสรุปว่า พวกเขามีความสามารถกว่า ในการชี้แจงถึงความต้องการของเกษตรกรในการอบรมในแต่ละพื้นที่, ตามความต้องการของตลาด, แต่ก็ตามลักษณะทางสังคม, วัฒนธรรม และ เทคนิคของภูมิภาคโดยรวมด้วย.
Even better, FOs are not just simple intermediaries that can identify and select the target group. In most cases they are able to provide training courses themselves, since they know the problems farmers face, and the potential solutions, better than anybody else. The costs of training and of providing extension services can also be lowered if it is carried out by farmer organisations themselves. This can be a very positive factor for scaling up and reaching a large number of producers.
                ยิ่งกว่านั้น, FOs ไม่ใช่เพียงสื่อกลางธรรมดาๆ ที่สามารถระบุ และเลือกกลุ่มเป้าหมาย.   ในกรณีส่วนใหญ่ พวกเขาสามารถให้การอบรมด้วยตัวเอง, เพราะพวกเขารู้ปัญหาที่เกษตรกรเผชิญอยู่, และทางออกที่เป็นไปได้, ดีกว่าคนอื่นๆ.   ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและในการให้บริการวิชาการเกษตรในท้องถิ่น ก็สามารถจะต่ำกว่า หากกระทำด้วย FOs เอง.  นี่อาจเป็นปัจจัยบวกสำหรับขยายและเข้าถึงผู้ผลิตจำนวนมาก.
In practice, however, the training courses organised and conducted by FOs are not always systematic or comprehensive, and may depend on existing opportunities, which can be quite often linked to the presence of projects. And it’s true that the quality of trainings varies greatly: the trainers are not always prepared, leaders not always fully involved, cost control is not a major concern, and there is frequently no post-training assessment. Sometimes the role of FOs can be limited to identifying the target groups and selecting participants, without having neither the ownership nor the responsibility for training.
                แต่ ในทางปฏิบัติ การฝึกอบรมที่จัดและกระทำโดย FOs ไม่เป็นระบบหรือครอบคลุมได้กว้างขวางเสมอไป, และอาจต้องขึ้นกับโอกาสที่มีอยู่, ซึ่งมักจะเชื่อมโยงกับการมีอยู่ของโครงการ.   และมันเป็นความจริงที่ว่า คุณภาพของการฝึกอบรมไม่สม่ำเสมอทุกครั้ง: ผู้ฝึกไม่ได้เตรียมตัวพร้อมเสมอไป, ผู้นำไม่ได้มีส่วนร่วมเสมอไป, การควบคุมด้านค่าใช้จ่ายไม่ใช่ข้อคำนึงหลัก, และส่วนมาก ไม่มีการติดตามประเมินผลหลังการฝึกอบรม.   บางครั้ง บทบาทของ FOs อาจถูกจำกัดให้แค่ระบุกลุ่มเป้าหมาย และเลือกผู้เข้าร่วม, โดยปราศจากการเป็นเจ้าของ หรือความรับผิดชอบในการฝึกอบรม.
This lack of ownership is part of a long-term pattern. Historically, many FOs in West Africa were created in order to represent the farmers in a region and bring the voices of producers into the legislative frameworks and the elaboration of national policies. But they were not intended to provide services to their members. The SahelAgroFormation project (SAF) wanted to work with them in a different way, and support those organisations wishing to train their members on their own.
                การขาดความเป็นเจ้าของ เป็นส่วนหนึ่งของแบบแผนระยะยาว.   ในเชิงประวัติศาสตร์, หลายๆ FOs ในอาฟริกาตะวันตก ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของเกษตรกรในภูมิภาคหนึ่งๆ และนำเสียงของผู้ผลิตเข้าสู่กรอบนิติบัญญัติ และรายละเอียดของนโยบายชาติ.   แต่พวกเขาไม่ได้ถูกออกแบบให้ทำการบริการแก่สมาชิกของพวกเขา.   โครงการก่อตั้งเกษตรซาเฮล  (SAF) ต้องการที่จะทำงานกับพวกเขาในวิธีที่ต่างออกไป, และสนับสนุนองค์กรที่ต้องการจะฝึกอบรมสมาชิกของตนเอง.
This is the main objective of our work with the Coordination of Peasant Organisations of Mali (CNOP, in French), the Peasants’ Platform of Niger, and also organisations such as the Regional Union of Agricultural Cooperatives of Kayes (URCAK) in Mali. In both Mali and Niger, SAF’s aim has been to establish sustainable training mechanisms, and not just to train beneficiaries.
                นี่คือวัตถุประสงค์หลักในงานของเรากับ กลุ่มประสานงานองค์กรชาวนาของมาลี, เวทีชาวนาในไนเกอร์, และองค์กรอื่นๆ เช่น สหภาพภูมิภาคของสหกรณ์การเกษตรของคาเยส ในมาลี.   ทั้งในมาลีและไนเกอร์, เป้าประสงค์ของ SAF คือ จัดตั้งกลไกการฝึกอบรมที่ยั่งยืน, และไม่ใช่เพียงเพื่ออบรมผู้พึงได้รับประโยชน์.

A mutual learning process
                กระบวนการเรียนรู้ทั้งสองฝ่ายร่วมกัน

The history of rural West Africa is tainted by the presence and excessive power of outsiders: colonists, urban elites, state representatives, etc. These outsiders represented the interests of what are known as the “economic growth sectors”, such as cotton or peanuts, and to some extent they still do.
                ประวัติศาสตร์ของชนบทอาฟริกาตะวันตก หม่นหมองด้วยอำนาจมากเกินและการปรากฏอยู่ของคนภายนอก: นักล่าอาณานิคม, อภิสิทธิ์ชนจากเมือง, ผู้แทนรัฐ, ฯลฯ.   คนภายนอกเหล่านี้ เป็นตัวแทนของผลประโยชน์ที่รู้จักในนามของ “ภาคส่วนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ”, เช่น ฝ้ายหรือถั่วลิสง, และในระดับหนึ่ง มันก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่.
Focusing on commercialising these products, they offer technological packages that include incentives such as access to credit or specific inputs. Many training programmes are then built around these packages, relying on incentives or subsidising the training courses, or even remunerating participants for attending. Farmers have little choice.
                ด้วยการเพ่งเล็งอยู่ที่การพาณิชย์ผลผลิตเหล่านี้, พวกเขาเสนอชุดวิชาการที่รวมถึงแรงจูงใจ เช่น การเข้าถึงสินเชื่อและวัตถุดิบอื่นๆ.   โปรแกมการฝึกอบรมมากมาย ก็ออกแบบรอบๆ ชุดความรู้เหล่านั้น, ขึ้นกับแรงจูงใจ หรือ การอุดหนุนทางการเงินต่อการฝึกอบรม, หรือแม้แต่การจ่ายเงินให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม.   เกษตรกรมีทางเลือกน้อยมาก.
We too started by identifying the “growth sectors” for which training is needed. However, we were especially interested in the local demand. In economics, the term “demand” refers to the needs and wishes of consumers or recipients. Thus, instead of planning and implementing a training process which focused only on those crops or techniques which are part of the “growth sectors”, our project focused on what the farmers were demanding. In so doing, we were surprised by the concerns of our partners. What interested them primarily was political legitimacy – or ownership – of the training process, and especially of the subjects taught.
                พวกเราก็เหมือนกัน ได้เริ่มต้นดัวยการระบุว่า “ภาคการขยายตัว” เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องฝึกอบรม.  แต่ เราสนใจจริงๆ ในความต้องการ (อุปสงค์) ของท้องถิ่น.   ในเศรษฐศาสตร์, คำว่า “อุปสงค์” หมายถึง ความจำเป็น (พื้นฐาน) และความประสงค์/ปรารถนา ของผู้บริโภค หรือ ผู้รับ.  ดังนั้น, แทนที่จะทำการวางแผน และดำเนินกระบวนการฝึกอบรม ที่เล็งเพียงเหล่าพืช หรือ เทคนิค ที่เป็นส่วนหนึ่งของ “ภาคการขยายตัว” เท่านั้น, โครงการของเราเล็งไปที่สิ่งที่เกษตรกรกำลังเรียกร้อง.   ในการทำเช่นนี้, เรารู้สึกประหลาดใจเมื่อหุ้นส่วนของเราแสดงความห่วงใย,  สิ่งที่พวกเขาสนใจเบื้องต้น คือ ความชอบธรรมทางการเมือง—หรือความเป็นเจ้าของ—ของกระบวนการฝึกอบรม, และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชาที่สอน.
Our work with farmer organisations in West Africa taught us that agricultural and rural training in the region needs a different approach, as it is largely and inevitably a political issue. It is different from (say) repairing a motorcycle engine, which does not force us to opt for a specific development model, as the skills and components required do not fundamentally change from one place to another. Agriculture is not the same. A detailed study in the Sahel put it clearly: “One of the main lessons learned was that there are no technically perfect solutions, but that all solutions are political. Therefore aid agencies have no legitimacy to offer” (Loic Barbedette, 2002).
                งานของเรากับ FOs ในอาฟริกาตะวันตก ได้สอนให้เรารู้ว่า การอบรมเกษตรและชนบทในภูมิภาคนี้ จำเป็นต้องใช้แนวต่างออกไป, เพราะส่วนใหญ่และเลี่ยงไม่ได้ที่เป็นประเด็นทางการเมือง.   มันไม่เหมือนกับการซ่อมเครื่องยนต์ของรถมอเตอร์ไซค์, ที่ไม่ได้บังคับให้เราต้องยอมรับโมเดลการพัฒนาเฉพาะหนึ่งๆ, เพราะทักษะและองค์ประกอบที่ต้องการ ไม่ได้เปลี่ยนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง.   เกษตรไม่เหมือนกัน.  การศึกษาอย่างละเอียดในซาเฮลได้กล่าวไว้ชัด: “บทเรียนหลักหนึ่งที่เราได้เรียนรู้ คือ ไม่มีทางออกเชิงเทคนิคที่ดีหมดจด, แต่ทางแก้ไขทั้งหมดเป็นเรื่องการเมือง.  ดังนั้น หน่วยงานช่วยเหลือ ไม่มีความชอบธรรมที่จะเสนอ (ทางแก้ไข)”.
Without abandoning the required economic focus, we at SAF decided to support the political aims of our partners, gaining credibility and their trust. This choice greatly strengthened our position and ability to carry out our activities – to the point of being able to conduct trainings without external funding.
                โดยไม่ได้ละทิ้งเรื่องเศรษฐกิจที่จำเป็นต้องมี, พวกเราที่ SAF ได้ตัดสินใจที่จะสนับสนุนเป้าประสงค์การเมืองของหุ้นส่วนของเรา, เป็นการสร้างความเชื่อถือและความเชื่อใจจากพวกเขา.   ทางเลือกนี้ ได้ทำให้ตำแหน่งและความสามารถของเราในการดำเนินกิจกรรมของเราเข้มแข็งขึ้น—ถึงขั้นที่ว่า สามารถดำเนินการฝึกอบรมโดยไม่ต้องอาศัยทุนจากภายนอก.

From the local context to agro-ecology
                จากบริบทท้องถิ่น สู่ เกษตร-นิเวศวิทยา

When our project started, one of our objectives was to see training as one of the possible responses to some of the numerous and complex issues faced in the Sahel. This meant analysing the context and overall setting, and not limiting ourselves to the local opportunities for commercialisation.
                เมื่อโครงการของเราเริ่มขึ้น, หนึ่งในวัตถุประสงค์ของเรา คือ เพื่อดูว่า การฝึกอบรมว่าเป็นหนึ่งในการตอบสนองที่เป็นไปได้ ต่อประเด็นซับซ้อนมากมายที่ซาเฮลประสบ.   นี่หมายถึงการวิเคราะห์ในบริบทและภาพรวมทั้งหมด, และไม่จำกัดพวกเราเองกับโอกาสในท้องถิ่นที่จะเข้าสู่ภาคพาณิชยกรรม.
But which context(s) to focus on? We had a clear point of view. So did the leaders of different organisations. And, what about the farmers and producers who were to be the users of the service? We had to ask ourselves what type of farming to focus on.
                แต่บริบทอันไหนเล่าที่เราจับจ้อง?   เรามีมุมมองที่ชัดเจน.  ผู้นำขององค์กรต่างๆ ก็มีเช่นกัน.  และ, เกษตรกรและผู้ผลิตเล่า ที่เป็นผู้ใช้บริการของเรา?   เราต้องถามตัวเราเองว่า เกษตรกรรมแบบไหนที่เราจะจับ.
Working with farmers and their organisations, we saw that the definition of the context is the first political act of any action; that there is nothing less objective than defining the context. This starting point leads to a series of strategies, actions and outcomes. While projects frequently focus on markets and commercialisation (access, diversity, inclusion), farmers prioritise production factors (soil, water, land), and organisation leaders focus on issues such as ownership, sovereignty, and empowerment.
                ในการทำงานกับเกษตรกรและองค์กรของพวกเขา, เราพบว่า คำจำกัดความของบริบท เป็นการกระทำเชิงการเมืองประการแรกสุดของการปฏิบัติการใดๆ; การนิยามบริบทเป็นวัตถุประสงค์ในตัว.   การเริ่มต้นที่จุดนี้ นำไปสู่ชุดยุทธศาสตร์, ปฏิบัติการ และผลพวงที่ต่อเนื่อง.   ในขณะที่โครงการมักจะเพ่งที่การตลาดและการพาณิชย์ (การเข้าถึง, ความหลากหลาย, การรวมเข้ามา), เกษตรกรจัดลำดับปัจจัยการผลิต (ดิน, น้ำ, ที่ดิน), และผู้นำองค์กร เพ่งที่ประเด็น เช่น ความเป็นเจ้าของ, อธิปไตย, และการเสริมอำนาจต่อรอง.
Most producers wanted us to initially tackle what they see as their fundamental problems, starting with the fertility of their soils and the access to land and water. Is it appropriate to explore ways to
market a specific product, or to grow a new seed, if the farmer does not even have control over these key elements of production?
                ผู้ผลิตส่วนมากต้องการให้เราเริ่มต้นด้วยการแก้ไขสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นปัญหารากฐานของพวกเขา, เริ่มต้นด้วยความอุดมสมบูรณ์ของดินของพวกเขา และการเข้าถึงที่ดินและน้ำ.   มันเหมาะสมไหมที่จะสำรวจหาทางทำการตลาดผลิตภัณฑ์เฉพาะอย่าง, หรือเพาะปลูกเมล็ดพันธุ์ใหม่, หากเกษตรกรไม่มีแม้กระทั่งหนทางควบคุมปัจจัยสำคัญการผลิตเหล่านี้?
Not surprisingly, an agro-ecological approach emerged as the central element of the agricultural training offer. The reasons seemed obvious to all those we were working with: agro-ecology helps restore the soil, while offering good positive returns (especially in the Sahel). It can be easily understood and appropriated by farmers (some of whom have been practicing agroforestry for several centuries), and, most of all, it is economically viable. For producers, agro-ecology is a culturally and economically attractive technical solution to their concerns. It also provides much-needed resilience. For farmer organisations, agro-ecology is part of the process towards food sovereignty.
                ไม่น่าประหลาดใจเลย, แนวทางเกษตร-นิเวศวิทยา ผุดขึ้นมาเป็นปัจจัยศูนย์กลางของการอบรมเกษตรที่นำเสนอ.  เหตุผลดูเหมือนชัดเจนสำหรับทุกคนที่เราทำงานด้วย: เกษตร-นิเวศวิทยา ช่วยฟื้นฟูดิน, ในขณะที่คืนทุนในทางบวกอย่างดี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซาเฮล).   มันเป็นเรื่องที่เข้าใจ และทำได้ได้ง่ายโดยเกษตรกร (บางคนได้ทำวนเกษตรมาหลายศตวรรษแล้ว), และ ที่สำคัญที่สุด, มันใช้การได้ในเชิงเศรษฐกิจ.  สำหรับผู้ผลิต, เกษตร-นิเวศวิทยา เป็นทางออกเชิงเทคนิค ที่ดึงดูดใจในเชิงวัฒนธรรมและเชิงเศรษฐกิจ ต่อความห่วงใยของพวกเขา.  มันทำให้เกิดความยืดหยุ่นด้วย.  สำหรับ FOs, เกษตร-นิเวศวิทยา เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสู่อธิปไตยทางอาหาร.

To be continued...
            โปรดติดตามตอนต่อไป...

After only a few years, we have more than 40 training modules in agro-ecology, all of which have been developed or adapted with local producers and their organisations. Up to 65 local techniques have been identified in Niger (including 17 agro-ecological techniques that are not taught in agricultural schools) as part of our efforts in valorising and disseminating endogenous knowledge. All of these are being shared with producers through the trainings. As a whole, this is the first formal and more or less complete training package that is truly adapted to the region.
                หลังจากเพียงไม่กี่ปี, เรามีหลักสูตรการอบรมกว่า 40 ชุดในเรื่องเกษตร-นิเวศวิทยา, ทั้งหมดได้ถูกพัฒนา หรือถูกปรับให้เข้ากับผู้ผลิตท้องถิ่น และองค์กรของพวกเขา.  ในไนเกอร์ ได้มีการระบุถึง 65 เทคนิคในท้องที่ (รวมทั้ง 17 เทคนิคทางเกษตร-นิเวศวิทยาที่ไม่ได้สอนกันในโรงเรียนเกษตร)  อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของเราในการสร้างความฮึกเหิมและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น.  ทั้งหมดนี้ได้แบ่งปันกับผู้ผลิตผ่านการฝึกอบรม.   ในภาพรวม, นี่เป็นชุดการอบรมทางการและค่อนข้างสมบูรณ์ครั้งแรก ที่ปรับปรุงให้เข้ากับภูมิภาคจริงๆ.
A network of local trainers, or “peasant relays”, is being set up in Mali and Niger, operating with the maximum possible level of self-financing. In the same way, agricultural advisory services by farmers’ organisations are being developed in Mali and Niger, with the objective of expanding and standardising the basic training systems, and having more influence on national policies, donors and other projects. As one of the representatives of the Horticultural Network of Kayes (RHK in French) put it, “This is the future. We need to create this pool of trainers and ensure the stability of the training process. This gives us the chance to save money, reinforces our internal cohesion, and lets us focus on what we want“.
                เครือข่ายหนึ่งของผู้ฝึกท้องถิ่น, หรือ “ชาวนาผู้ถ่ายทอด”, ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในมาลีและไนเกอร์, ดำเนินการด้วยระดับความเป็นไปได้สูงสุดของการเลี้ยงตัวเองได้.   ในทางเดียวกัน, การบริการให้คำปรึกษาทางเกษตรโดย FOs ก็ได้รับการพัฒนาในมาลีและไนเกอร์, ด้วยวัตถุประสงค์ของการขยายและสร้างมาตรฐานในระบบการฝึกอบรมพื้นฐาน, และให้มีอิทธิพลต่อนโยบายชาติ, ผู้ให้ทุน และโครงการอื่นๆ.   ดังที่ผู้แทนของ เครือข่ายพืชสวนแห่งคาเยส กล่าว, “นี่คืออนาคต.   เราจำเป็นต้องสร้างกองผู้ฝึก และให้แน่ใจว่า กระบวนการฝึกอบรมจะอยู่ตัว.    นี่จะช่วยให้เรามีโอกาสประหยัดเงิน, เสริมความเชื่อมโยงเหนียวแน่นภายใน, และให้เรามุ่งในเรื่องที่เราต้องการทำ”.
In addition to these results, and to the important task of expanding them further in the coming years, the most important lesson has been that farmer organisations have shown to those who boast years and years of training experience in West Africa: that training is never neutral. Training inevitably conveys doctrines and ideologies, and thus preferences. It is above all politics – especially in agriculture. NGOs must focus more on supporting the projects and visions of their partners, rather than pushing them to follow our perceptions of what development is. Through learning from producers and their organisations we can develop ourselves and learn to better do our job.
                นอกเหนือจากผลเหล่านี้, และต่อภารกิจสำคัญของการขยายตัวให้กว้างขวางขึ้นในปีต่อๆ ไป, บทเรียนที่สำคัญที่สุดคือ FOs ได้แสดงต่อพวกที่ชอบโอ้อวดว่า มีประสบการณ์ในการฝึกอบรมมาหลายๆ ปีในอาฟริกาตะวันตก: การฝึกอบรมไม่เคยเป็นกลาง.  การอบรมถ่ายทอดทฤษฎี/หลักการ และอุดมการณ์อย่างเลี่ยงไม่ได้, ดังนั้น มีความฝักใฝ่.  มันเป็นเรื่องการเมือง—โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเกษตรกรรม.  เอ็นจีโอ จะต้องมุ่งมั่นมากขึ้นในการสนับสนุนโครงการและวิสัยทัศน์ของหุ้นส่วนของตน, แทนที่จะผลักดันให้พวกเขาเดินตามมุมมองของเราที่ว่า การพัฒนาคืออะไร.   ด้วยการเรียนรู้จากผู้ผลิตและองค์กรของพวกเขา เราสามารถพัฒนาพวกเราเอง และเรียนรู้ที่จะทำงานของเราให้ดียิ่งขึ้น.
Yves Matthijs

Yves Matthijs (coordin_saf@live.fr) works as project manager for SahelAgroFormation. This is a project implemented by Swisscontact and funded by a European Union grant, which has the objective of developing “agricultural and rural training services based on demand”.
More information can be found at http://swisscontactniger.org/04_0SAF.html

Further reading
Barbedette, Loic, 2002. Repenser l’appui à la définition de stratégies de formation rurale dans les pays de la zone de solidarité prioritaire, Goas Caradec, Plesidy, France.

De Sardan, Jean-Pierre Olivier, 1995. Anthropologie et developpement. Ed. Karthala, Paris.

Tangara, Seydou and Yves Matthijs, 2010. Conditions d’émergence et de viabilité des dispositifs de formation par les organisations paysannes. Éléments sur la base de l’expérience pratique, Réseau FAR.

Filed under: agroecology, farmers organisations, food security, sahel, training, west Africa
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น