Globally connected: Rio+20
- what now?
by KVS Prasad , Teresa Gianella , Awa Faly Ba
เชื่อมถึงกันทั่วโลก: ริโอ+20 – แล้วไงต่อ?
Many people were disappointed with the outcome of the
Rio+20 conference in June. Nonetheless, it was a very good opportunity for many
representatives of the civil society, from practically all countries, to gather
and discuss the challenges that still exist for transforming the global
agricultural system into one that respects and supports family farming and
agro-ecology. What can we do now to capitalise on the results of the conference
and keep the Rio+20 momentum going? Who should we work with? Partners of the
AgriCultures Network share their ideas.
หลายคนผิดหวังกับผลการประชุม ริโอ+20 ในเดือนมิถุนายน.
แต่มันก็เป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับผู้แทนหลายๆ คน จากภาคประชาสังคม,
จากเกือบทุกประเทศทีเดียว, ที่ได้รวมตัวกัน
และถกกันถึงข้อท้าทายที่ยังคงอยู่ในการแปรเปลี่ยนระบบเกษตรโลก สู่
เกษตรที่เคารพและค้ำจุนครอบครัวชาวนาและเกษตร-นิเวศ. ตอนนี้เราจะทำอะไรได้
เพื่อตักตวงผลจากการประชุม และพยุงแรงโน้มถ่วงของ ริโอ+20 ให้ทรงตัวต่อไป?
เราควรทำงานกับใคร? ภาคีของ
เครือข่ายวัฒนธรรมเกษตร แบ่งปันความคิดของพวกเขา.
Farming Matters | 28.3 | September 2012
Awa Faly Ba: “We need better bridges”
อวา ฟาลี บา: “เราจำเป็นต้องมีสะพานที่ดีกว่า”
Every analysis of what happened in Rio needs to look back at
the expectations we all had. We wanted political decisions to be taken, and
clear commitments from world leaders, so it has been a disappointment that this
did not happen–especially when compared to the first Rio meeting and to the
enormous challenges we see now, 20 years later. But the representatives of many
organisations were able to present and share the solutions they advocate, and
which they are trying out in their own sphere of influence, at the People’s
Summit and elsewhere. This can be seen as a very positive result.
ทุกๆ
การวิเคราะห์ของสิ่งที่เกิดขึ้นในริโอ
จำเป็นต้องมองย้อนหลังไปที่ความคาดหวังที่พวกเราทั้งหมดตั้งไว้. เราต้องการให้มีการตัดสินใจทางการเมือง, และคำมั่นสัญญาผูกพันที่ชัดเจนจากผู้นำโลกทั้งหลาย,
ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องน่าผิดหวังที่มันไม่เกิดขึ้น—โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เมื่อเทียบกับการประชุมริโอครั้งแรก และ สิ่งท้าทายมหาศาลที่พวกเราเห็นอยู่ตอนนี้,
๒๐ ปีให้หลัง.
แต่ผู้แทนของหลายองค์กรก็สามารถนำเสนอและแบ่งปันทางออกที่พวกเขาสนับสนุน,
และที่พวกเขากำลังพยายามทดลองในปริมณฑลภายใต้อำนาจของพวกเขา,
ที่การประชุมสุดยอดของประชาชน และที่อื่นๆ.
อันนี้สามารถมอได้ว่า เป็นผลบวกมากๆ.
According to Awa Faly Ba, editor of AGRIDAPE, Rio showed the
gap between the civil society and decision-makers, and the different
expectations of the two groups. “What we need to do is develop better bridges
between those who are trying interesting initiatives in the field and the
authorities and decision- makers, and thus link both processes.” This is not
something that can be achieved in a one-off event, but is a long-term process
which will help us influence policy processes at the local level.
ตามความเห็นของ อวา ฟาลี บา,
บรรณาธิการของ AGRIDAPE, ริโอ
ได้แสดงให้เห็นช่องว่างระหว่างภาคประชาสังคมกับผู้ตัดสินใจ,
และความคาดหวังที่ต่างกันของสองกลุ่มนี้.
“สิ่งที่พวกเราจำเป็นต้องทำ คือ พัฒนาสะพานที่ดีกว่านี้ ระหว่าง
พวกที่กำลังลองโครงการริเริ่มที่น่าสนใจในพื้นที่ และ
ผู้มีอำนาจหน้าที่และผู้ตัดสินใจ, อันจะเป็นการเชื่อมกระบวนการทั้งสอง”.
นี่ไม่ใช่บางสิ่งบางอย่างที่จะบรรลุได้ในการพบปะเพียงครั้งเดียว,
แต่เป็นกระบวนการระยะยาว
ที่จะช่วยให้พวกเรามีอิทธิพลต่อกระบวนการกำหนดนโยบายในระดับท้องถิ่นได้.
Better bridges can help those representing farmers and
consumers to voice the opinions and needs of these farmers or consumers, and
also help them provide feedback. “Those who went to Rio cannot just go back to
their job. There is an urgent need to provide feedback, and to involve
everybody in the preparations for future meetings. We need better bridges, but
that is something that all stakeholders need to build together.”
สะพานที่ดีกว่าสามารถช่วยพวกที่เป็นตัวแทนของชาวนาและผู้บริโภค
ให้ส่งเสียงแสดงความเห็นและความจำเป็น/ต้องการของชาวนาและผู้บริโภค,
และยังช่วยให้พวกเขาป้อนข้อมูลกลับขึ้นไปได้.
“พวกที่ไปที่ริโอ ไม่สามารถจะแค่กลับไปทำงานเก่าของตน.
มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะป้อนข้อมูลกลับขึ้นไป, และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเตรียมตัวสำหรับการประชุมในอนาคต. เราจำเป็นต้องมีสะพานที่ดีกว่านี้,
แต่นั่นเป็นบางสิ่งที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดจำเป็นต้องมาสร้างร่วมกัน”.
KVS Prasad: “Our job starts now”
เค วี เอส ปราสาท: “งานของเราเริ่มขึ้นขณะนี้”
Many analysts have concluded that Rio+20 gave them a
“more-of-the-same” feeling, of “business as usual” once again, or that this was
just another platform for governments or international organisations to
continue pursuing their own agenda. But many other voices were also heard
during the conference, and the concerns of the readers of this magazine were
also discussed. It has been very encouraging to hear these different voices,
and especially “to see that they are so many”, said KVS Prasad, Executive Director
of the AME Foundation.
นักวิเคราะห์หลายคน
ได้สรุปว่า ริโอ+20 ให้ความรู้สึก “เดิมๆ”, ของ
“กิจการก็ยังคงดำเนินต่อไปเหมือนปกติ” อีกครั้ง, หรือ
มันก็เป็นเพียงอีกเวทีหนึ่งสำหรับรัฐบาล หรือ องค์การระหว่างประเทศ
ในการไล่ล่าวาระของตัวเองต่อไป.
แต่หลายเสียงอื่นๆ ก็ได้ยินเช่นกันในระหว่างการประชุม,
และก็ได้มีการยกประเด็นห่วงใยจากผู้อ่านของแมกกาซีนนี้ขึ้นอภิปรายด้วย. เสียงต่างๆ กันนี้ สร้างกำลังใจให้ได้มาก,
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “การได้เห็นว่า มันมีมากมายเหลือเกิน”, เค วี เอส ปราสาท
กล่าว, ผู้อำนวยการบริหารของมูลนิธิ เอเอ็มอี.
He finds it comforting to think of the large number of
voices and opinions heard in favour of family farming and agro-ecology. “The
Rio+20 conference gave us a great opportunity to see how strong we are, and how
strong we can be”. What we need to do now is to look at the all the contacts
made, and to further develop them into ‘relationships’ so that we move forward.
“We cannot expect to see outcomes and outputs immediately, but we can nurture
these relationships, developing something like a ‘real life Facebook’ that will
not only let us keep in touch, but actually help us work together towards our
common and shared goal. In this sense, our job starts now.”
เขารู้สึกสบายใจขึ้น
เมื่อคิดถึงเสียงและความคิดเห็นมากมาย
ที่เขาได้ยินที่เข้าข้างครอบครัวเกษตรและเกษตร-นิเวศ. “การประชุมริโอ+20 ได้ให้โอกาสยิ่งใหญ่แก่พวกเราให้เห็นว่าพวกเราแข็งแรงแค่ไหน,
และพวกเราจะสามารถแข็งแรงได้ขนาดไหน”.
สิ่งที่พวกเราต้องทำตอนนี้ คือ มองไปที่จุดติดต่อทั้งหมดที่สร้างขึ้น,
และพัฒนามันให้กลายเป็น “ความสัมพันธ์” เพื่อว่า เราจะได้เดินหน้าไปด้วยกัน. “เราไม่สามารถคาดหวังว่า จะเห็นผลพวงและผลลัพธ์ทันทีทันใด,
แต่เราสามารถหล่อเลี้ยงความสัมพันธ์เหล่านี้, พัฒนาบางอย่าง ประหนึ่ง ‘เฟสบุ๊คที่มีชีวิตจริงๆ’ ที่ไม่เพียงแต่เป็นช่องทางให้เราติดต่อกัน,
แต่อันที่จริง ช่วยให้เราทำงานร่วมกันสู่เป้าหมายร่วมของพวกเรา. ในทำนองนี้, งานของพวกเราเริ่มต้นขณะนี้”.
Teresa Gianella: “Translate, and continue”
เทเรซา เกียเนลลา: “แปล, และทำต่อไป”
Good or insufficient, the results of Rio+20 run the risk of
getting lost if they are not “translated”, or at least analysed with a local
level perspective. Teresa Gianella, editor of LEISA revista de agroecología,
thinks that this is especially necessary in Peru and in Latin America in
general, where social differences are huge, and where “one-size-fits-all”
approaches are particularly difficult. There is an urgent need to look at how
the discussions and agreements reached, or at how the issues raised in Rio,
relate to the growing inequalities that go hand in hand with the impressive
figures of economic growth.
ดี หรือ ไม่พอเพียง, ผลของริโอ+20 เสี่ยงต่อการสูญหายไป หากมันไม่ถูก “แปล”, หรือ
อย่างน้อยวิเคราะห์ในมุมมองของท้องถิ่น.
เทเรซา เกียเนลลา, บรรณาธิการ ของ LEISA
revista de agroecología, คิดว่า นี่เป็นสิ่งจำเป็น อย่างยิ่งในเปรู และ
ลาตินอเมริกาทั่วไป, ที่ๆ มีความแตกต่างทางสังคมสูงมาก, และแนวทาง “ขนาดเดียวสำหรับทุกคน”
เป็นเรื่องยากมาก.
มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะมองลึกลงไปที่ วิธีการอภิปรายและทำข้อตกลงต่างๆ,
และที่วิธีการนำเสนอประเด็นต่างๆ ในริโอ,
ว่ามันเกี่ยวข้องกับความไม่เท่าเทียมที่เพิ่มมากขึ้น
ที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่น่าประทับใจอย่างไร.
“What we need to do is to translate what we’ve talked about
and heard, looking at the macro and at the micro contexts: at the initiatives
that are being tried at a national level, but also at what’s happening in, for
example, a village that is resisting the expansion of large-scale mining
enterprise.” This translation is necessary to turn general proposals into
concrete action plans.
“สิ่งที่พวกเราต้องทำ
คือ แปลสิ่งที่พวกเราได้พูดถึงและได้ยิน, มองในมหภาคและบริบทจุลภาค: ที่การริเริ่มที่กำลังถูกลองที่ระดับชาติ, แต่ยังดูว่า
เกิดอะไรขึ้น, เช่น,
หมู่บ้านหนึ่งที่กำลังต่อต้านการขยายตัวของวิสาหกิจทำเหมืองขนาดใหญ่”. การแปลนี้ เป็นเรื่องจำเป็นเพื่อเปลี่ยนข้อเสนอทั่วๆ
ไป สู่ แผนปฏิบัติการรูปธรรม.
Equally important is the need to look in more detail at
agriculture, at the problems that small-scale farmers are facing, and at the
enormous contributions they can make. “Rio+20 needs to be linked to the
International Year of Family Farming”. While it may not be necessary to
organise a large-scale world conference again, we may need “to follow its
example”, and encourage a large scale exchange of opinions and discussions that
are based on what is happening, and on what needs to happen, at a local level.
สิ่งสำคัญเท่าเทียมกัน
คือ จำเป็นต้องดูในรายละเอียดที่การเกษตร, ที่ปัญหาที่เกษตรกรขนาดเล็กกำลังเผชิญ,
และที่คุณูปการมหาศาลของพวกเขา. “ริโอ+20 จำเป็นต้องเชื่อมกับปีสากลของครอบครัวเกษตรกร”.
ในขณะที่มันอาจไม่จำเป็นต้องจัดการประชุมโลกขนาดใหญ่อีก, เราอาจจำเป็นต้อง
“ทำตามตัวอย่างของมัน”, และเชิญชวนให้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นและการอภิปราย
ที่มีฐานบนสิ่งที่เกิดขึ้นจริง, และบนสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น, ในระดับท้องถิ่น.
Read more about Rio+20
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น