Looking for Kids' Books? Avoid This Propaganda
มองหาหนังสืออ่านสำหรับเด็กรึ?
จงหลีกเลี่ยงโฆษณาชวนเชื่อนี้
by Rebekah Wilce
โดย รีเบกาห์ วิลเซ
(ดรุณี ตันติวิรมานนท์-แปล)
Did you know that genetic engineering (GE) "is helping
to improve the health of the Earth and the people who call it home"? A
trade group funded by Monsanto wants your kids to believe it.
คุณรู้ไหมว่า การตัดแต่งทางพันธุกรรม (จีอี) “กำลังช่วยทำให้สุขภาพของผืนพิภพและของประชาชนผู้เรียกโลกเป็นบ้าน”? กลุ่มค้าขายที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก มอนซานโต
ต้องการให้ลูกหลานของคุณเชื่อเช่นนั้น.
The Council for Biotechnology Information (CBI) has
published a kids' book on genetically modified organisms (GMOs) that purports
to give kids "a closer look at biotechnology. You will see that biotechnology
is being used to figure out how to: 1) grow more food; 2) help the environment;
and 3) grow more nutritious food that improves our health."
สภาข้อมูลไบโอเทค (เทคโนโลยีทางชีวภาพ, ซีบีไอ)
ได้พิมพ์หนังสือเด็กเรื่อง สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการตกแต่งทางพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) ที่อ้างว่า
ต้องการให้เด็ก “มองเห็นไบโอเทคได้อย่างใกล้ชิด.
คุณจะเห็นว่าไบโอเทคกำลังถูกใช้ให้เป็นเครื่องมือหาทาง (๑)
ปลูกอาหารให้ได้มากขึ้น, (๒) ช่วยสิ่งแวดล้อม, และ (๓)
ปลูกอาหารที่มีธาตุอาหารมากขึ้น ที่ปรับปรุงสุขภาพให้ดีขึ้น”.
If that book doesn't appeal to you, you could try a
nanotechnology coloring book made by a company that produces such things as
"colloidal silver nanoparticles" used in antibacterial products that
find their way into the water supply and can be poisonous to the human system.
It compares nanotechnologies like these silvers to "the smell of baking
cookies."
หากหนังสือเล่มนั้นไม่ประทับใจคุณ, คุณสามารถลองดูหนังสือระบายสีนาโนเทคโนโลยี
ที่จัดทำโดยบริษัทที่ผลิตเจ้าสิ่งที่เรียกว่า “อนุภาคเงินคอลลอยด์/สารที่ละลายในของเหลว”
ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ปฏิชีวนะ ที่มุดเข้าไปอยู่ในแหล่งน้ำ
และเป็นพิษต่อระบบร่างกายของมนุษย์.
มันเปรียบเทียบนาโนเทคโนโลยี เช่น อนุภาคเงินเหล่านี้ ว่าเป็น “กลิ่นของคุกกี้ที่กำลังอยู่ในเตาอบ”.
Or perhaps a "biosolids" workbook made by
wastewater treatment facilities? It directs kids to grow sunflowers in toxic
sewage sludge to see how they grow.
หรือ บางที (คุณอาจชอบ) สมุดการบ้าน “ของแข็งชีวภาพ” ที่จัดทำโดย
ระบบจัดการน้ำเสีย?
มันชี้ทางให้เด็กปลูกต้นทานตะวันในกากปฏิกูลพิษ เพื่อดูว่า
มันเติบโตอย่างไร.
Monsanto Brainwashing: GMO Myths for Kids
มอนซานโตล้างสมอง: เทพนิยาย จีเอ็มโอ สำหรับเด็ก
GMO Kids Book (Source: Council for
Biotechnology Information)
Monsanto and its cohorts among the "Big 6"
pesticide and GMO companies -- Monsanto, Dow Chemical, Bayer, Syngenta, Dupont,
and BASF -- are fighting a battle with California voters on whether or not GMO
foods should be labeled. In the meantime, the trade group CBI, whose membership
consists solely of those six corporations, is busily educating children on the
supposed benefits of GMOs.
มอนซานโตและพวก ในหมู่บริษัท ยาฆ่าแมลงและ จีเอ็มโอ “หกบิ๊ก”—มอนซานโต,
ดาว เคมีภัณฑ์, เบเยอร์, ซินเจนตา, ดูปองต์, และ บาสฟ์—กำลังอยู่ในสมรภูมิต่อสู้กับผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนในแคลิฟอร์เนีย
เรื่อง ควรจะปิดฉลากอาหาร จีเอ็มโอ หรือไม่.
ในเวลาเดียวกัน, กลุ่มค้าขาย ซีบีไอ,
ที่สมาชิกประกอบด้วยบริษัทหกบิ๊กนี้เท่านั้น,
กำลังสาละวนอยู่กับการให้การศึกษาแก่เด็กว่า จีเอ็มโอ มีประโยชน์.
As several outlets have reported, CBI is promoting its
dis-informative Biotech Basics Activity Book for kids. The book has cute
illustrations and introduces kids to the "neat topic" of
biotechnology.
ดังที่หลายๆ ร้านได้รายงานไว้,
ซีบีไอ กำลังส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ หนังสือที่ให้ข้อมูลผิดๆ ด้านกิจกรรมพื้นฐานไบโอเทค
สำหรับเด็ก. ในหนังสือมีภาพน่ารักๆ
และชักนำให้เด็กหลงไหลกับ “หัวข้อเพียวๆ” ของเทคโนโลยีทางชีวภาพ.
Note that the industry uses the term
"biotechnology" exclusively. According to Stacy Malkan, a spokeswoman
for the Yes on 37: California Right to Know Campaign, "Polls show that the
term 'biotechnology' is viewed much more favorably than 'genetically modified'
or 'genetically engineered food.' Yet the term most easily recognized and
understood by people is 'genetically engineered food.' So they are obviously
trying to change the language for PR purposes, not accuracy or clarity."
The choice of terms is a subtle example of the transfer or association
technique to project positive qualities of one concept onto another.
โปรดสังเกตว่า อุตสาหกรรมใช้คำว่า “ไบโอเทค” โดดๆ. ตามความเห็นของ สเตซี มัลคัน, โฆษกหญิงของ การรณรงค์
“เอามติ 37: สิทธิแคลิฟอร์เนียที่จะรู้” (Yes on 37: California Right to Know Campaign), “การสำรวจพบว่า คนชอบ คำว่า ‘ไบโอเทค’ มากกว่า คำว่า ‘ถูกปรับเปลี่ยนพันธุกรรม’ หรือ ‘อาหารวิศวพันธุกรรม’. ถึงกระนั้น คำที่ประชาชนจำได้และเข้าใจได้ง่ายที่สุด
คือ ‘อาหารวิศวพันธุกรรม’. ดังนั้น
จึงชัดอยู่แล้วที่พวกเขาจะพยายามเปลี่ยนภาษาที่ใช้ เพื่อการทำประชาสัมพันธ์,
ไม่ใช่เพื่อสื่อตรงความหมาย หรือทำให้ชัดแจ้ง”.
การเลือกคำเช่นนี้ เป็นตัวอย่างลึกล้ำของเทคนิคการถ่ายโอน หรือเกี่ยวโยง
เพื่อสร้างภาพเชิงบวกของกรอบคิดหนึ่ง แล้วสวมครอบให้ความเป็นจริงอีกอันหนึ่ง.
On page four, the book asks, "How can biotechnology
help the health of the Earth and its people?" It directs kids to
"look closer" and use the decoder at the side of the page to figure
out three ways that biotechnology helps us. The answers are at the end of the
book.
บนหน้าที่สี่, หนังสือ ถามว่า, “ไบโอเทคจะช่วยสุขภาพของพิภพ
และประชาชนของมันได้อย่างไร?” มันชี้ชวนให้เด็กๆ
“มองใกล้เข้ามา” และใช้ตัวถอดรหัสที่อยู่ด้านข้างของหน้านั้น เพื่อหาทางออกสามทาง
ที่ไบโอเทคจะช่วยเราได้.
คำตอบอยู่ที่ท้ายเล่ม.
Strangely, some of the hazards associated with GMOs, such as
a large increase in pesticide use (383 million more pounds) and possible liver
and kidney damage, are not listed.
น่าแปลก, ภัยอันตรายที่เกี่ยวโยงกับ จีเอ็มโอ, เช่น ปริมาณยาฆ่าแมลงที่ถูกใช้มากขึ้นมหาศาล
(กว่า 383 ล้านปอนด์) และแนวโน้มที่จะทำลายตับและไต,
ไม่ได้ถูกระบุไว้.
Nano Coloring Book
หนังสือระบายสีนาโน
Benzene Nanogears to color (Source:
NanoSonic)
In "nanoscale," one nanometer equals
one-thousandth of a micrometer or one-millionth of a millimeter. Nanoparticles
can occur in nature, but there is now an entire industry devoted to turning all
sorts of minerals and other substances into nanoparticles that give consumer
products certain properties. For instance, nanosilver has been added to dozens
of consumer products for its antimicrobial qualities. Artificially produced
nanoparticles are now being added to paint, cosmetics, sunscreen, vitamins,
toothpaste, food colorants, and hundreds of other consumer products, without
sufficient review of their safety.
ในมาตรวัด “นาโน”, 1 นาโนเมตร เท่ากับ 1 ส่วน 1,000 ของ 1 ไมโครเมตร หรือ 1 ส่วนล้านของ 1 มม (มิลลิเมตร).
อนุภาคนาโนเกิดขึ้นได้ในธรรมชาติ, แต่ตอนนี้ มีอุตสาหกรรมเป็นชุด
ที่อุทิศตัวแปรเปลี่ยนธาตุสารพัดและสารอื่นๆ ให้เป็นอนุภาคนาโน ที่ทำให้เครื่องอุปโภคบริโภคมีคุณสมบัติเฉพาะบางอย่าง. เช่น นาโนเงิน ได้ถูกเติมใส่ผลิตภัณฑ์บริโภคหลายสิบชนิด
เพื่อทำให้มันมีคุณสมบัติต้านจุลินทรีย์.
อนุภาคนาโนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น ได้ถูกเติมในสี, เครื่องสำอาง, สารกันแดด,
วิตามิน, ยาสีฟัน, สีใส่อาหาร, และผลิตภัณฑ์บริโภคอีกนับร้อย,
โดยปราศจากการทบทวนประเมินมากพอถึงผลกระทบต่อความปลอดภัย.
But a coloring book produced by NanoSonic, a manufacturer of
nanoparticles and nanomaterials, implies kids should not worry. After all, it
explains, there are nanoparticles in "the smell of baking cookies."
Many of the images waiting to be colored are of items found in nature, like
fractals and bird feathers. These are cheek by jowl with images of
nanoparticles like benzene nanogears (image at left; benzene is a known
carcinogen).
แต่หนังสือระบายสี ผลิตโดย นาโนโซนิค, โรงงานผลิตอนุภาคนาโน
และวัสดุนาโน, บอกเป็นนัยกับเด็กว่า ไม่ต้องวิตก. มันอธิบายว่า อนุภาคนาโนมีอยู่แล้วใน “กลิ่นของคุกกี้ที่กำลังอบอยู่”. ภาพต่างๆ ที่รอให้เด็กระบายสี
ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่พบในธรรมชาติ, เช่น ขนนก.
พวกนี้ เป็นเหมือน แก้มกับขากรรไกรล่าง ด้วยการใช้ภาพอนุภาคนาโน เช่น เบนซีน นาโนเกียร์ส (ดังภาพ,
เบนซีนเป็นสารก่อมะเร็ง).
Although minerals occur in nature, we've long known that
overexposure to certain minerals is toxic. According to the Centers for Disease
Control and Prevention (CDC), high doses of copper, for instance, damage liver
and kidneys and can lead to death even though copper in tiny amounts is a
micronutrient essential to human health. "Nano," of course, refers to
the size of the particles, not the size of the dose or exposure.
แม้ว่า แร่ธาตุจะเกิดขึ้นในธรรมชาติ, เราต่างรู้มานานแล้วว่า การได้รับแร่ธาตุบางอย่างมากเกินไป
ก็เป็นพิษได้. ตามรายงานของ
ศูนย์การควบคุมและป้องกันโรคภัย (CDC), เช่น การกินธาตุทองแดงสูง
สามารถทำลายตับและไต และอาจถึงตายได้ แม้ว่า ธาตุทองแดงปริมาณน้อยมากๆ จะเป็นจุลสารอาหารที่จำเป็นสำหรับสุขภาพของมนุษย์. แน่นอน “นาโน” หมายถึงขนาดของอนุภาค,
ไม่ใช่ขนาดของปริมาณที่กิน หรือ สัมผัส.
According to the Institute for Agriculture and Trade Policy
(IATP), "Despite already being commercially available, nanomaterials in
sunscreens, cosmetics, foods and food contact substances are unlabeled and
largely untested for their human health effects. Existing research raises red
flags, indicating that nanomaterials have the ability to enter the bloodstream
through contact with the skin, ingestion and inhalation, as well as move in the
natural environment once discarded."
ตามรายงานของสถาบันนโยบายเกษตรและการค้า
(IATP),
“ทั้งๆ
ที่มีวางจำหน่ายทั่วไปแล้ว, วัสดุนาโนในสารกันแดด, เครื่องสำอาง, อาหาร
และสารที่สัมผัสอาหาร ล้วนไม่ได้มีการปิดฉลาก
และไม่ได้มีการทดสอบถึงผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์. รายงานที่มีอยู่ได้ยกธงแดง/เตือน, ชี้ว่า
สารนาโน มีความสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดด้วยการสัมผัสกับผิวหนัง, การกลืนกิน และการสูดดม,
และมันก็จะยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ หลังจากไม่ใช้ของนั้นและทิ้งมันไป”.
Some scientists are concerned that certain nanoparticles may
be particularly hazardous to children. Many sunscreens, for example, contain
nanoparticles of zinc oxide or titanium dioxide, which are potentially harmful
in their nanoform.
นักวิทยาศาสตร์บางคนกังวลว่า อนุภาคนาโนบางชนิด
อาจมีอันตรายต่อเด็กโดยเฉพาะ. เช่น สารกันแดดหลายยี่ห้อ
มีส่วนประกอบของอนุภาคนาโน ซิงค์ (สังกะสี) อ๊อกไซด์ หรือ ไททาเนียมไดอ๊อกไซด์,
ซึ่งมีศักยภาพเป็นอันตรายในรูปนาโน.
For some products like spray-on sunscreen, nanoparticles
make the sunscreen more easy to apply. Scientists like Dr. Philip Moos of the
University of Utah's Nano Institute is worried that children might actually
ingest this nano-sized zinc oxide, particularly from these spray-on sunscreens
that carry warnings about "excessive inhalation." Dr. Robert Schiestl
of the University of California Los Angeles found in a 2009 study that titanium
dioxide nanoparticles cause systemic genetic damage in mice and increase the
risk of cancer and concluded, "I believe the toxicity of these
nanoparticles has not been studied enough."
สำหรับผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น สเปรย์กันแดด, อนุภาคนาโน
ทำให้ง่ายในการทาสารกันแดด. นักวิทยาศาสตร์
เช่น ดร.ฟิลิป มูส แห่ง สถาบันนาโน ของ มหาวิทยาลัยยูทาห์ กังวลว่า
เด็กเล็กอาจกลืนกินนาโนซิงค์อ๊อกไซด์, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากสเปรย์กันแดดเหล่านี้
ที่มีฉลากเตือน “การสูดดมมากเกิน”.
ดร.โรเบิร์ต ชิสเติล แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจิลลิส ได้ค้นพบในการศึกษา
ปี 2009 (๒๕๕๒) ว่า อนุภาคนาโนไททาเนียมไดอ๊อกไซด์
เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายในระบบพันธุกรรมของหนูทดลอง และได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
และสรุปว่า, “ผมเชื่อว่า พิษภัยของอนุภาคนาโนเหล่านี้ ยังไม่ได้รับการศึกษามากพอ”.
The U.S. Food and Drug Administration has no immediate plans
to review evidence of ingredient toxicity, according to the Environmental
Working Group.
อย ของสหรัฐฯ
ไม่มีแผนในระยะใกล้ที่จะทบทวนหลักฐานที่แสดงพิษภัยของสารประกอบ, ตามรายงานของกลุ่มทำงานด้านสิ่งแวดล้อม.
Sludge Workbook
สมุดทำงานเรื่องกากของเสีย
Growing Plants in Sludge (Source:
King County Wastewater Treatment Division)
The "biosolids" workbook published by the
"Biosolids Program" of Kings County in Washington State (the Seattle
area) suggests that kids try growing sunflower or marigold seeds in composted
sewage sludge as well as in different kinds of soil to see which grow best.
สมุดงาน “ของแข็งไบโอ” พิมพ์โดย โปรแกมของแข็งไบโอ แห่ง เขตคิงส์
ในมลรัฐวอชิงตัน แนะว่า เด็กๆ ควรพยายามปลูกเมล็ดทานตะวัน หรือ ดาวเรือง
ในกากปฏิกูลหมัก ตลอดจนในดินต่างๆ และดูว่า ใครงอกงามได้ดีที่สุด.
Toxic sewage sludge is the material left behind after human
and industrial waste is processed at wastewater treatment plants to clean and
separate the water. The workbook activity doesn't suggest using gloves or any
protective gear, even though some of the toxic contaminants found in virtually
every sewage sludge sample tested by the U.S. Environmental Protection Agency
(EPA) in 2009 include 27 heavy metals, four volatile organic compounds, dozens
of pharmaceuticals, several steroids and hormones, and multiple kinds of highly
toxic flame retardants.
กากปฏิกูลพิษ ที่เป็นวัสดุขับทิ้งหลังจากของเสียจากมนุษย์และโรงงาน
ได้ผ่านโรงกำจัดน้ำเสีย ให้แยกเป็นน้ำสะอาดออกไป. สมุดงานไม่ได้แนะนำให้ใช้ถุงมือ
หรืออุปกรณ์ป้องกันใดๆ, แม้ว่า มีการพบสารปนเปื้อนที่เป็นพิษบางชนิดในตัวอย่างกากปฏิกูลเกือบทุกชนิดที่
สนง ป้องกันสิ่งแวดล้อมของสหรัฐฯ ได้ตรวจสอบ ในปี 2009
(๒๕๕๒)
ซึ่งรวมโลหะหนัก 27 ชนิด, สารระเหยอินทรีย์ 4 ตัว, สารเภสัชกรรมหลายสิบ, สเตอรอยด์และโฮโมนมากมาย,
และสารดับเปลวเพลิงที่เป็นพิษอย่างแรงหลายชนิด.
The workbook talks about the supposed benefits of treated
sewage sludge -- "biosolids contain all the essential nutrients that
plants need for healthy growth[,] . . . are rich in nutrients and organic
matter, and are used as a soil amendment to improve soil and fertilize
plants" -- without mentioning any of the toxic contaminants listed above.
These toxics are especially hazardous to children and pregnant women. A
follow-up article to the influential Chicago Tribune series on flame
retardants, for example, exposed that small doses -- "no more than 3
milligrams per kilogram of weight per day" -- of the flame retardant
"Firemaster 550," promoted as safe by industry and government
officials, "can trigger obesity, anxiety, and developmental
problems."
สมุดงานพูดถึงประโยชน์ที่พึงเกิดขึ้นได้จากกากปฏิกูลที่ได้ผ่านกระบวนการแล้วว่า
– “ของแข็งไบโอ มีธาตุอาหารจำเป็นทั้งหมดสำหรับพืช
เพื่อให้เติบโตงอกงามได้ดี...มันอุดมไปด้วยสารอาหารและสารอินทรีย์,
และถูกใช้ปรับสภาพดิน เพื่อเพิ่มปุ๋ยแก่พืช”—โดยปราศจากการกล่าวถึงสารปนเปื้อนพิษดังกล่าวข้างต้น. สารพิษเหล่านี้ เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อ
เด็กและหญิงมีครรภ์.
บทความที่ตามหลังชุดรายงานที่ทรงอิทธิพลของ ชิคาโกทริบูน เรื่อง
สารดับเพลิง, ยกตัวอย่าง, เผยว่า การได้รับสารแม้เพียงนิดเดียว—“ไม่เกิน 3 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัม ต่อวัน”—จากสารดับเพลิง
“Firemaster 550," ที่ถูกอุตสาหกรรมและรัฐบาลส่งเสริมในฐานะอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย,
“สามารถกระตุ้นให้เป็นโรคอ้วน, กระวนกระวาย, และปัญหาพัฒนาการอื่นๆ”.
Toxic sludge also commonly contains endocrine disruptors,
phthalates, industrial solvents, resistant pathogens, and perfluorinated
compounds, which can bioaccumulate in soil, plants, and animals. All good
reasons not to have kids planting seeds in it. The workbook reads like a
follow-up to the "sludge puppet" on which the Center for Media and
Democracy (CMD) previously reported, also made to educate kids about the joys
of sludge.
ปฏิกูลพิษทั่วไป มักจะมีสารเหล่านี้ เช่น สารขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ,
สารเคมี phthalates, สารละลายที่ใช้ในโรงงาน,
เชื้อโรคดื้อรั้น, และสารประกอบ perfluorinated,
ที่สามารถจะสะสมในสารอินทรีย์ในดิน, พืช, และสัตว์. ด้วยเหตุผลทั้งปวง ไม่ควรให้เด็กเพาะปลูกเมล็ดในดินที่ปนเปื้อนสารปฏิกูลเหล่านี้. สมุดงานอ่านเหมือน การติดตาม “หุ่นเชิดกากปฏิกูล”
ดังที่ ศูนย์สื่อและประชาธิปไตยได้รายงานก่อนหน้านี้, ได้ถูกจัดทำขึ้นเพื่ออบรมเด็กให้รู้สึกชื่นชอบยินดีกับกากปฏิกูล.
Kids' Propaganda
โฆษณาชวนเชื่อสำหรับเด็ก
As CMD's PRWatch has reported, industries and their front
groups "target . . . America's teachers and, ultimately, our children . .
. trying to justify everything from deforestation to extinction of species . .
. . Surreptitious public relations campaigns and deceptive advertising are
battling today for the hearts and minds of our children." John Borowski,
an environmental science teacher, reported that teachers at the 2000 National
Science Teachers Convention were "quickly filling their bags with
curricula as corrosive as the pesticides that the Farm Bureau promotes."
ดังที่กลุ่มติดตามประชาสัมพันธ์ ของศูนย์สื่อและประชาธิปไตย
ได้รายงาน, อุตสาหกรรมและกลุ่มบังหน้าของพวกเขา “ได้พุ่งเป้า...ไปที่บรรดาครูของอเมริกา
และ, ที่สุด, ไปที่เด็กๆ ของเรา... พยายามที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับทุกอย่าง
ตั้งแต่การตัดไม้ทำลายป่า จนถึงการสูญพันธุ์ของสายพันธุ์ต่างๆ...การรณรงค์ประชาสัมพันธ์แบบลับๆ
ล่อๆ และการโฆษณาที่หลอกลวง
กำลังจู่โจมช่วงชิงหัวใจและหัวคิดของลูกหลานของเราทุกวันนี้”. จอห์น บอโรวสกี, ครูวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม,
รายงานว่า บรรดาครู ณ ที่ประชุมครูวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ปี 2000 (๒๕๔๓) ต่างพากัน “ตุนใส่กระเป๋าของพวกเขาอย่างรวดเร็ว
ด้วยหลักสูตรที่กัดกร่อนมากพอๆ กับยาฆ่าแมลงที่ สำนักงานฟาร์ม ได้ส่งเสริม”.
Twelve years haven't changed the way spinmeisters operate.
Corporate propaganda like this is distributed online, handed out at conferences
and fairs where these corporations, agencies, and their front groups exhibit,
as well as at teachers' conventions like Borowski describes.
เวลา 12 ปี ไม่ได้เปลี่ยนวิธีการที่
สปินมิสเตอร์ ดำเนินการ. โฆษณาชวนเชื่อของบริษัท
ดังที่นำเสนอนี้ ถูกแพร่กระจายออนไลน์, หยิบยื่นให้ในที่ประชุม และงานมหกรรม ที่ๆ
บริษัทเหล่านี้, เอเย่นส์ และกลุ่มบังหน้าของพวกเขา จัดนิทรรศการ, ตลอดจนในที่ประชุมเชิงวิชาการของครู
ดังที่ บอโรวสกี บรรยาย.
© 2012 Center for Media & Democracy
Rebekah Wilce is a farmer with a degree in writing from the
University of Arizona. She researches and reports for CMD and milks cows at a
local farm. She is the lead writer for CMD's Food Rights Network.
รีเบกาห์ วิลเซ เป็นชาวนา ที่มีปริญญาในการเขียนจากมหาวิทยาลัย
อาริโซนา. เธอทำงานวิจัย
และเขียนรายงานให้ ศูนย์สื่อและประชาธิปไตย
และรีดนมวัวในฟาร์มท้องถิ่น.
เธอเป็นหัวหน้านักเขียนสำหรับเครือข่ายสิทธิอาหาร ของ ศูนย์สื่อและประชาธิปไตย.
Published on Wednesday, August 22, 2012 by PR Watch
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น