วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2555

122. FM: เกษตรอินทรีย์ กับ ผู้หญิงด้อยโอกาส ในอินโดนีเซีย



Women, families and communities in Aceh
by Gavin Tinning
ผู้หญิง, ครอบครัว และ ชุมชนในอาเจะห์

In 2004 the province of Aceh in Indonesia was affected by a devastating earthquake and tsunami. The impact on rural communities was particularly harsh, exacerbating the existing poverty and poor living conditions caused by a long separatist conflict. A network of women farmers established under these difficult circumstances is not only benefitting its participants, but also their families and communities.
                ในปี 2004 จังหวัดอาเจะห์ในอินโดนีเซีย ถูกกระทบจากแผ่นดินไหวรุนแรงและสึนามิ.   ผลกระทบต่อชุมชนชนบทร้ายแรงมาก, ได้เพิ่มปัญหาแก่ความยากจนและสภาพความเป็นอยู่ที่ลำบากอันเนื่องมาจากความขัดแย้งแบ่งแยกดินแดนที่เนิ่นนาน.   เครือข่ายเกษตรกรหญิง ที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้ความยากลำบากเหล่านี้ ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนร่วมเท่านั้น, แต่ยังต่อครอบครัวและชุมชนด้วย.

Farming Matters | 28.3 | September 2012


The Australian Centre for International Agricultural Research (ACIAR) was one of many organisations which became involved in regenerating agriculture in Aceh in the wake of the tsunami. Although we were well aware that many post-disaster development programmes are criticised for having a limited impact, we wanted to support rural communities struggling to recover from the loss of life, displacement and breakdown of community networks. Our projects were research-centred, seeking solutions to the soil and crop problems farmers faced after the tsunami.
                ศูนย์การวิจัยเกษตรนานาชาติ-ออสเตรเลีย เป็นหนึ่งในหลายๆ องค์กรที่มีส่วนร่วมในการฟื้นชีพเกษตรกรรมในอาเจะห์ หลังสึนามิ.   แม้ว่าเราจะรู้ดีว่า หลายโปรแกมพัฒนาหลังภัยพิบัติ ได้ถูกวิจารณ์ว่ามีผลกระทบจำกัด, เราต้องการสนับสนุนชุมชนชนบทที่ดิ้นรนหาทางกลับคืนสู่ปกติ จากการสูญเสียชีวิต, การถูกโยกย้าย และการล่มสลายของโครงข่ายชุมชน.   โครงการของเราเป็นงานวิจัย, เพื่อแสวงหาทางแก้ไขแก่ปัญหาดินและพืชผล ที่เกษตรกรประสบหลังจากสึนามิ.

Our early consultations and forums were predominantly attended by male farmers and government staff. A chance meeting with Ibu Supriyani, an inspirational extension agent working on the tsunami-devastated west coast of Aceh with Penyuluh Petani Lapang, the local extension organisation, showed us the importance of providing direct assistance to women farmers. As elsewhere in Indonesia, women in rural Aceh are highly dependent on farming for their livelihoods, but we could not see many programmes supporting them.
                การปรึกษาหารือและการจัดเวทีในระยะเริ่มต้นของเรา มีผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรชายและข้าราชการ.  การพบกันโดยบังเอิญกับ  อิบู (แม่) สุปรียานิ, เจ้าหน้าที่เกษตรบริการที่เป็นแรงบันดาลใจ เป็นผู้ทำงานในพื้นที่เสียหายจากสึนามิ ในชายฝั่งตะวันตกของอาเจะห์ กับ Penyuluh Petani Lapang, องค์กรเกษตรบริการในท้องถิ่น, ได้แสดงให้เราเห็นถึงความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือโดยตรงแก่เกษตรกรหญิง.  เช่นเดียวกับที่อื่นๆ ในอินโดนีเซีย, ผู้หญิงในชนบทอาเจะห์ ต้องอาศัยเกษตรกรรมเพื่อยังชีพอย่างสูง,  แต่เราไม่เห็น หลายๆ โปรแกม ให้การสนับสนุนพวกเธอเลย.

Small benefits add up
            ประโยชน์เล็กน้อยรวมๆ กันได้

Supriyani had established organic agriculture groups made up of women farmers, working to provide an occupation for women who had no work in the tsunami-damaged rice fields and limited opportunities elsewhere. With limited funds, the participants were making their own fertiliser from fish waste and manure, and growing crops on vacant plots. The women’s engagement and enjoyment of working together to produce food for home and sale, and their interest in learning new skills, inspired us to include seed money for women’s farming activities in a new project. The funds helped Supriyani provide training, establish new groups and meet the growing demand to participate in the programme.
                สุปรียานิ ได้จัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่ประกอบด้วยเกษตรกรหญิง, ที่ทำงานเพื่อสร้างงานให้ผู้หญิงที่ไม่มีงานทำ เพราะที่นาถูกสึนามิทำลาย และมีโอกาสจำกัดในที่อื่นๆ.   ด้วยเงินทุนที่จำกัด, ผู้เข้าร่วม ทำปุ๋ยเองจากเศษซากปลาและมูลสัตว์, และปลูกพืชในที่ว่างเปล่า.   การร่วมกันและความสนุกของผู้หญิงในการทำงานร่วมกันเพื่อผลิตอาหารให้แก่ครอบครัวและเพื่อขาย, และความสนใจในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ, เป็นแรงดลใจให้พวกเรา เติมเงินริเริ่มสำหรับกิจกรรมเกษตรของผู้หญิงในโครงการใหม่.   เงินทุนนี้ได้ช่วยให้ สุปรียานิ ให้การฝึกอบรม, ก่อตั้งกลุ่มใหม่ และตอบสนองความต้องการมากขึ้นที่จะเข้าร่วมโปรแกม.
The initial financial support provided to the groups was small, but by focusing on leadership and capacity building, the benefits endure, as groups establish a solid basis for the future. Growing fresh food locally saves money, which can then be invested in, for example, education. Fresh organic crops now form a greater part of the diets of these families, improving their general health. Training and capacity building has helped diversify the local food production options, creating more independent and sustainable communities. Some groups have taken their development further, identifying business opportunities to supply fresh and processed products to local and regional markets. All this happens without disrupting family activities in the rice fields and rubber plantations.
                เงินริเริ่มสนับสนุนที่ให้แก่กลุ่มเป็นจำนวนเล็กน้อย, แต่ด้วยการมุ่งสร้างภาวะผู้นำและสมรรถนะ, ผลประโยชน์จึงคงทนอยู่ได้, ในขณะที่กลุ่มต่างๆ สร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งเพื่ออนาคต.   การปลูกพืชในท้องที่ ช่วยประหยัดเงิน, ซึ่งสามารถจะใช้ลงทุนใน, ยกตัวอย่าง, การศึกษา.   พืชอินทรีย์สด ตอนนี้กลายเป็นอาหารหลักในโภชนาการของครอบครัวเหล่านี้, เป็นการช่วยปรับปรุงสุขภาพทั่วไปของพวกเขาด้วย.   การฝึกอบรม และการสร้างสมรรถนะ ได้ช่วยทำให้ทางเลือกในการผลิตอาหารท้องถิ่นมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น, เป็นการสร้างชุมชนที่เป็นอิสระและยั่งยืนขึ้น.   บางกลุ่มได้เดินหน้าพัฒนาการของพวกเธอไปไกลกว่านี้, มีการมองหาโอกาสธุรกิจ ในการจัดหาแหล่งผลผลิตทั้งสดและแปรรูปแก่ตลาดท้องถิ่นและภูมิภาค.  ทั้งหมดนี้เกิดขึ้น โดยไม่ขัดขวางกิจกรรมครอบครัวในทุ่งนาและสวนยาง.

Bringing women together, the start of a network?
                นำผู้หญิงให้รวมตัวกัน, เริ่มสร้างเครือข่าย?

It was not long before we met other extension staff working with groups of women farmers, so we decided to bring them all together in a forum to identify which activities should be supported. The discussions and recommendations from this first forum, which was held in Aceh in 2009, helped us design a training programme for women. This programme was built on Supriyani’s model of group management; the group members’ commitment, the management of profits, and also on an organic approach to farming vegetables. This provided other extension staff with a guideline to establish new groups.
                ไม่นาน เราก็ได้พบเจ้าหน้าที่เกษตรบริการคนอื่นๆ ที่ทำงานกับกลุ่มหญิงเกษตรกร, ดังนั้น เราตัดสินใจที่จะนำพวกเขามาเข้าร่วมเวที เพื่อดูว่า กิจกรรมใดที่ควรได้รับการสนับสนุน.  การอภิปรายและข้อเสนอแนะจากเวทีครั้งแรกนี้, ซึ่งจัดขึ้นในอาเจะห์ ในปี 2009, ได้ช่วยให้เราออกแบบโปรแกมการฝึกอบรมเพื่อผู้หญิง.  โปรแกมนี้ต่อยอดจากโมเดลการจัดการกลุ่มของสุปรียานิ; ความมุ่งมั่นผูกพันของสมาชิกกลุ่ม, การจัดการกำไร, และรวมทั้งแนวทางอินทรีย์ในการปลูกผัก.   อันนี้ได้เป็นแนวทางแก่เจ้าหน้าที่เกษตรบริการอื่นๆ ในการจัดตั้งกลุ่มใหม่.
In 2009, Balai Pengkajian Teknologi Pertanian (BPTP), the provincial agricultural service, appointed Ibu Nazariah as co-ordinator of the women’s farming groups, with the specific responsibility of establishing and managing the programme. Since then, Nazariah has been assisted by volunteers from the Australian Youth Ambassadors for Development programme, and by an increasing number of local extension staff who provide the day to day support to the groups. In 3 years, the total number of participants has grown from 60 to more than 700 women. The programme’s credibility is reinforced by its training and communication activities and by regular interactions with the local staff. Some groups are now financially independent and act as hubs for the demonstration and dissemination of new ideas.
                ในปี 2009, Balai Pengkajian Teknologi Pertanian (BPTP), เกษตรบริการจังหวัด, ได้แต่งตั้ง อิบู นาซาเรียห์ เป็นผู้ประสานงานของกลุ่มเกษตรกรของผู้หญิง, โดยมีความรับผิดชอบเฉพาะของการสร้างและจัดการโปรแกม.  ตั้งแต่นั้นมา, นาซาเรียห์ ได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัครจากโปรแกม ทูตเยาวชนออสเตรเลียเพื่อการพัฒนา, และจากเจ้าหน้าที่เกษตรบริการท้องถิ่นมากขึ้นในการให้การสนับสนุนในงานประจำวันแก่กลุ่มต่างๆ.   ในเวลาสามปี, จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้เพิ่มจากผู้หญิงกว่า 60 คน เป็น 700 คน.   ความน่าเชื่อถือของโปรแกมได้รับการตอกย้ำจากกิจกรรมฝึกอบรมและสื่อสารของโปรแกม และจากการมีปฏิสัมพันธ์เป็นนิจสินกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น.   บางกลุ่มตอนนี้ เป็นอิสระทางการเงินแล้ว และทำหน้าที่เป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อการสาธิตและเผยแพร่ความคิดใหม่ๆ.
The most interesting observation, however, is that the programme has evolved into a network of women farmers and advisory staff, who maintain contact through exchange visits and farmer forums. Attending a meeting in July 2011, farmers and representatives of both the government and a group of NGOs that support or work with women discussed the establishment of a Women in Agriculture Network in Aceh, following similar examples in Australia and Papua New Guinea. We agreed on the goals and structure of the proposed network and started working to formally establish it.
                แต่ สังเกตการณ์ที่น่าสนใจที่สุด คือ โปรแกมได้วิวัฒนาการไปเป็นเครือข่ายของเกษตรกรผู้หญิง และเจ้าหน้าที่ให้การปรึกษา, ผู้ธำรงการติดต่อด้วยการแลกเปลี่ยนการเยี่ยมเยียน และเวทีเกษตรกรต่างๆ.   ในการเข้าร่วมการประชุมในเดือนกรกฎาคม 2011, เกษตรกรและผู้แทนจากทั้งรัฐบาลและเอ็นจีโอกลุ่มหนึ่ง ที่สนับสนุน หรือทำงานกับผู้หญิง ได้อภิปรายถึงการก่อตั้งเครือข่ายผู้หญิงในเกษตรในอาเจะห์, ตามตัวอย่างเดียวกันกับออสเตรเลีย และ ปาปัวนิวกินี.   เราได้ตกลงในเป้าหมายและโครงสร้างของเครือข่ายที่ถูกนำเสนอ และได้เริ่มทำงานให้มันก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ.

From isolation to leadership
            จากความโดดเดี่ยวสู่ภาวะผู้นำ

Immediately after the tsunami, the focus of most programmes was on soil rehabilitation and agricultural recovery. Working in the more accessible parts of Aceh we rarely saw the impacts of the civil conflict that has lasted nearly 30 years. While the impact on infrastructure has been reported, the social and psychological impacts are rarely mentioned. Visiting some women’s farming groups in the more isolated parts of Aceh, we began to understand the conflict’s wider impact.
                ทันทีหลังจากสึนามิ, โปรแกมส่วนใหญ่มุ่งไปที่การบำบัดดินและฟื้นฟูเกษตร.  การทำงานในพื้นที่ๆ เข้าถึงได้ง่ายในอาเจะห์ ทำให้เราไม่ค่อยเห็นผลกระทบจากความขัดแย้งกลางเมือง ที่ยืนยงอยู่นานเกือบ 30 ปี.   ในขณะที่ผลกระทบต่อสาธารณูปโภคได้ถูกรายงาน, ผลกระทบเชิงสังคมและจิตวิทยา ไม่ค่อยมีการกล่าวถึง.   การเยี่ยมเยียนกลุ่มเกษตรกรของผู้หญิงในที่ห่างไกลของอาเจะห์, ทำให้เราเริ่มเข้าใจถึงผลกระทบในวงกว้างของความขัดแย้ง.
Social isolation and limited access to social services are some of the lasting effects of the conflict in Aceh. Rural networks were affected by the loss of life and displacement, and in some cases farming ceased altogether because of the difficulties and danger of working in the fields. In many rural villages access to technical assistance and resources such as seed remains difficult.
                การแยกโดดเดี่ยวจากสังคมและการเข้าไม่ค่อยถึงบริการทางสังคม เป็นผลกระทบอันยาวนานบางประการจากความขัดแย้งในอาเจะห์.   เครือข่ายชนบทถูกกระทบจากการสูญเสียชีวิตและการโยกย้ายถิ่นที่, และในบางกรณี การทำเกษตรก็หยุดไปด้วย เพราะความยากลำบากและอันตรายในไร่นา.   ในหลายหมู่บ้านชนบท การเข้าถึงความช่วยเหลือทางเทคนิคและแหล่งทรัพยากร เช่น เมล็ด ยังเป็นเรื่องยากลำบาก.
Comprehensive strategies to develop community-based programmes are crucial to meeting the challenges of the estimated 600,000 people displaced by the conflict. The women farmers programme meets some of the needs of local communities, providing income generating activities and promoting communication and co-operation within and between villages.
                ยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมเพื่อพัฒนาโปรแกมที่มีฐานในชุมชน เป็นเรื่องสำคัญยิ่งเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายของประชาชนประมาณ 600,000 คนที่ถูกย้ายถิ่นเพราะความขัดแย้ง.   โปรแกมเกษตรกรหญิงได้ตอบสนองความจำเป็นบางประการของชุมชนท้องถิ่น, ด้วยการสร้างกิจกรรมที่สร้างรายได้, ส่งเสริมการสื่อสาร และความร่วมมือภายใน และระหว่างหมู่บ้าน.
Whilst not all groups in the women farmers programme are situated in areas that were affected by the conflict, the social contribution of our communication and co-operation efforts is recognised as the main benefit by the Aceh women. The group farming activities provide a focus for social interaction, which is often missing in the villages. In former conflict zones women spoke of years of remaining isolated in their homes, only leaving when it was deemed safe to work in the rice fields. Coming together as a group has provided a renewal of village life, and a good opportunity to work together and help each other deal with past difficulties.
                ในขณะที่ไม่ใช่ทุกกลุ่มในโปรแกมเกษตรกรหญิง จะตั้งอยู่ในพื้นที่ๆ ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง, ผู้หญิงอาเจะห์ ได้ยอมรับว่า  ผลประโยชน์หลัก ที่พวกเธอได้รับ เป็นคุณูปการทางสังคม จากความพยายามของเราที่ทำให้เกิดการสื่อสาร และสร้างความร่วมมือระหว่างกัน.   กิจกรรมทำเกษตรเป็นกลุ่ม ได้สร้างพื้นที่ให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, ซึ่งมักจะขาดในหมู่บ้าน.   ในเขตขัดแย้งเดิม ผู้หญิงพูดถึงหลายๆ ปีที่พวกเธอต้องอยู่แยกโดดเดี่ยวในบ้านของตน, จะออกจากบ้านก็ต่อเมื่อแน่ใจว่าปลอดภัยที่จะทำงานในทุ่งนา.   การมารวมตัวกันเป็นกลุ่ม ได้คืนชีวิตให้แก่หมู่บ้าน, และเป็นโอกาสอันดีในการทำงานร่วมกัน และช่วยกันจัดการกับความยากลำบากในอดีต.
And the programme not only addresses the isolation and needs of women farmers, but also recognises that poorly resourced advisory staff struggle to obtain the necessary knowledge, training and experience to help rural farmers. A “training of trainers” programme that covers soils, crop nutrition, pests and diseases, group dynamics and financial management is spreading knowledge and technical skills to advisory staff and members of the established and new groups.
                และโปรแกมก็ไม่เพียงแต่แก้ปัญหาความโดดเดี่ยวและความจำเป็นของเกษตรกรหญิง, แต่ยังได้ตระหนักถึงความลำบากของเจ้าหน้าที่ปรึกษา ที่มีทรัพยากรน้อยมาก และดิ้นรนที่จะแสวงหาความรู้ที่จำเป็น, การอบรม และประสบการณ์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชนบท.   โปรแกม “ฝึกอบรมผู้ฝึก/วิทยการ” ที่ครอบคลุมความรู้เรื่องดิน, ธาตุอาหารของพืช, ศัตรูพืชและเชื้อโรค, พลวัตกลุ่ม และการจัดการการเงิน ได้เผยแพร่ความรู้และทักษะทางเทคนิค ให้แก่เจ้าหน้าที่ปรึกษา และสมาชิก ของกลุ่มที่ก่อตั้งแล้วและกลุ่มใหม่.
The need for leadership training was identified as a number one priority at the second Women Farmers’ Forum, held in 2010 in Bireuen. Groups with strong leadership have taken advantage of opportunities to approach local governments and businesses for support as they expand their activities and become more established. Not surprisingly, the more organised groups tend to be situated closer to urban areas and the members have a higher level of education. But the exchange visits that have become a regular activity provide an opportunity for all groups, such as those made up of young conflict widows, or those established in the post-tsunami communities along the west coast, to learn from the more established groups.
                ความจำเป็นของการฝึกอบรมภาวะผู้นำ ได้ถูกยกให้มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ในเวทีเกษตรกรหญิงครั้งที่สอง, จัดขึ้นในปี 2010 ใน Bireuen.  กลุ่มที่มีผู้นำเข้มแข็ง ได้ถือโอกาสเข้าหารัฐบาลและธุรกิจท้องถิ่นเพื่อขอความสนับสนุนกิจกรรมที่พวกเธอขยายและกลายเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น.   ไม่ประหลาดใจเลย, กลุ่มที่มีการจัดรูปองค์กรดีกว่า มักจะอยู่ใกล้เมือง และสมาชิกมีการศึกษาสูงกว่า.  แต่การแลกเปลี่ยนการเยี่ยมเยือนที่ได้กลายเป็นกิจกรรมประจำ ก็ได้กลายเป็นโอกาสสำหรับกลุ่มทั้งหมดด้วย, เช่น กลุ่มที่มีแต่แม่หม้ายสาวจากเขตขัดแย้ง, หรือ พวกที่ก่อตั้งขึ้นในชุมชนหลังจากสึนามิ ในชายฝั่งตะวันตก, ก็ได้เรียนรู้จากกลุ่มที่ตั้งมานานกว่า.

Forming new networks, strengthening old ones
                ก่อตั้งเครือข่ายใหม่, เสริมความเข้มแข็งเครือข่ายเก่า

The women farmers programme in Aceh has been successful because there is a specific purpose in all group activities, and these activities provide specific benefits for the women, their families and communities. Equally important is the long term support that has been provided, addressing the women’ needs and interests, and strengthening local capacities. An emphasis on creating links to the education, health and nutrition initiatives of local agencies has further strengthened interactions with other networks. Without excluding men, a specific focus on women empowers participants, and ensures that the ownership and development of the Women in Agriculture Network remains with women.
                โปรแกมเกษตรกรหญิงในอาเจะห์ ได้ประสบความสำเร็จ เพราะมีเป้าประสงค์เฉพาะในกิจกรรมกลุ่มทั้งหมด, และกิจกรรมเหล่านี้ได้ยังผลประโยชน์เฉพาะสำหรับผู้หญิง, ครอบครัวของเธอ และชุมชน.  สิ่งที่สำคัญพอๆ กัน คือ การสนับสนุนระยะยาว, ที่แก้ไขปัญหาความต้องการและความสนใจของผู้หญิง, และเสริมความเข้มแข็งของสมรรถนะท้องถิ่น.   การเน้นที่การสร้างความเชื่อมโยงกับโครงการริเริ่มในด้านการศึกษา, สาธารณสุข และโภชนาการ ของหน่วยงานท้องถิ่น ได้ช่วยให้ปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายอื่นๆ เข้มแข็งขึ้น.  โดยไม่ต้องกันผู้ชายออกไป, การมุ่งเน้นเฉพาะที่ผู้หญิง ก็ช่วยเสริมอำนาจต่อรองของผู้เข้าร่วมได้, และทำให้มั่นใจว่า ความเป็นเจ้าของและพัฒนาการของเครือข่ายผู้หญิงในเกษตร จะยังคงอยู่กับผู้หญิงต่อไป.
A network for women farmers in Aceh has started. It may or may not develop into a formally recognised organisation, but it is already having a positive impact, and it may help extend the benefits currently enjoyed by the women farmers groups to other parts of Aceh, especially to isolated hinterland communities that are still struggling to come to terms with the impacts of the conflict.
                เครือข่ายหนึ่งสำหรับเกษตรกรหญิงในอาเจะห์ ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว.  มันอาจ หรืออาจไม่พัฒนาสู่องค์กรที่ทางการยอมรับ, แต่มันก็มีผลกระทบทางบวกแล้ว, และมันอาจช่วยขยายผลประโยชน์ที่ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรหญิงได้รับ สู่ส่วนอื่นๆ ในอาเจะห์, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สู่ชุมชนโดดเดี่ยวที่ห่างไกล ที่ยังดิ้นรนปรับตัวกับผลกระทบของความขัดแย้ง.

Gavin Tinning
Gavin Tinning works with the New South Wales Department of Primary Industries. 1243 Bruxner Highway, Wollongbar, NSW, 2477, Australia.
E-mail: gavin.tinning@dpi.nsw.gov.au

Further reading

Strempel, A., 2011. Women in agriculture in Aceh, Indonesia: Needs assessment for the BPTP and ACIAR ‘Women Farmer Groups’ project. Prepared by Anna Strempel (Australian Youth Ambassadors for Development) for the Australian Centre for International Agricultural Research (ACIAR) and Balai Pengkajian Teknologi Pertanian NAD (BPTP).

Tinning, G., 2008. Ibu Supriyani: Organic farming pioneer in Aceh. ACIAR Partners Magazine, March-June 2008.

Tinning, G., 2011. The role of agriculture in recovery following natural disasters: A focus on post-tsunami recovery in Aceh, Indonesia. Asian Journal of Agricultural Development. Vol 8. No. 1

Filed under: community development, conflicts, disasters, farmers organisations, indonesia, women, womens participation
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น