Workers Feel the Pain of
Bain
แรงงานเจ็บปวดเพราะเบน
by Amy Goodman
โดย เอมี กู๊ดแมน
(ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล)
Four hardy souls from rural Illinois joined tens of
thousands of people undeterred by threats of Hurricane Isaac during this week’s
Republican National Convention. They weren’t among the almost 2,400 delegates
to the convention, though, nor were they from the press corps, said to number
15,000. They weren’t part of the massive police force assembled here, more than
3,000 strong, all paid for with $50 million of U.S. taxpayer money. These four
were about to join a much larger group: the more than 2.4 million people in the
past decade whose U.S. jobs have been shipped to China. In their case, the
company laying them off and sending their jobs overseas is Bain Capital,
co-founded by the Republican presidential nominee, Mitt Romney.
นักสู้ชีวิตเข้มแข็งสี่คนจากชนบทอิลลินอยส์ ได้เข้าร่วมกับคนนับแสน
ที่ไม่หวาดหวั่นต่อการคุกคามของพายุเฮอริเคนไอเซค
ในระหว่างการประชุมระดับชาติของพรรครีพับริกันสัปดาห์นี้. พวกเขาไม่ได้เป็นแขกผู้แทนเกือบ 2,400 คนที่เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้, หรือเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพนักข่าว
ซึ่งมีถึง 15,000 คน.
พวกเขาไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกำลังตำรวจอันมหาศาลที่รวมตัวกันที่นี่
ซึ่งมีกว่า 3,000 นาย,
ทั้งหมดจ่ายโดยเงินภาษีของสหรัฐฯ ถึง $50 ล้าน (ประมาณ 1,500 ล้านบาท).
สี่คนนี้ กำลังจะเข้าร่วมกับกลุ่มที่ใหญ่กว่ามาก: กว่า 2.4 ล้านคนในทศวรรษที่แล้ว ผู้เคยมีงานทำ
แต่งานของพวกเขาถูกลำเลียงส่งไปที่ประเทศจีน.
ในกรณีของพวกเขา, บริษัทที่ได้ลอยแพพวกเขาและส่งงานออกไปโพ้นทะเล คือ เบน
แคปิตัล, ซึ่งมิตต์ รอมนีย์, ผู้ที่พรรคริพับลิกันส่งท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี,
เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง.
Cheryl Randecker: "“Mitt
Romney created the model of outsourcing jobs... He created Bain ... he is still
reaping very high benefits from Bain, financially. So he can pick up the phone
and call his buddies and say, ‘We need to stop this practice and keep the U.S.
jobs here.'” (Photograph: Carlos Ortiz/Polaris)
We met the group at Romneyville, a tent city on the
outskirts of downtown Tampa, established by the Poor People’s Economic Human
Rights Campaign in the spirit of the Hoovervilles of the Great Depression. A
couple hundred people gathered before the makeshift stage to hear speakers and
musicians, under intermittent downpours and the noise of three police
helicopters drowning out the voices of the anti-poverty activists. Scores of
police on bicycles occupied the surrounding streets.
เราได้พบกับกลุ่มสี่คนนี้ที่ รอมนีย์วิลล์, เมืองเต็นท์ตั้งอยู่ชานเมืองแทมปา,
ที่ก่อตั้งโดย กลุ่มรณรงค์เพื่อสิทธิ์มนุษยชนด้านเศรษฐกิจของคนจน
ในสปิริตเดียวกันกับ ฮูเวอร์วิลล์ ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่
(ซึ่งนำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง).
คนประมาณสองร้อย รวมตัวอยู่หน้าเวทีที่ตั้งขึ้น เพื่อฟังนักพูด
และนักดนตรี, ท่ามกลางฝนตกใหญ่เป็นช่วงๆ และเสียงสนั่นของเฮลิคอปเตอร์ตำรวจสามลำ
ที่กลบเสียงของนักกิจกรรมต่อต้านความยากจน.
ตำรวจหลายโหลขี่จักรยาน
อยู่เต็มถนนรอบๆ.
Cheryl Randecker was one of those four we met at Romneyville
whose Bain jobs are among the 170 slated to be off-shored. They build
transmission sensors for many cars and trucks made in the United States. Cheryl
was sent to China to train workers there, not knowing that the company was
about to be sold and the jobs she was training people for included her own. I
asked her how it felt to be training her own replacements after working at the
same company for 33 years:
เชอรีล แรนเด๊กเกอร์ เป็นหนึ่งในสี่คนที่เราพบที่รอมนีย์วิลล์
เป็นหนึ่งในคนงานของงานเบน 170 ชนิด ที่ถูกส่งออก. พวกเขาผลิตเซ็นเซอร์สำหรับทรานสมิชชั่นของรถเก๋งและรถกระบะที่ผลิตในสหรัฐฯ. เชอรีล ถูกส่งไปจีน เพื่อฝึกคนงานที่นั่น,
หารู้ไม่ว่า บริษัทกำลังจะถูกขาย และงานของเธอที่กำลังฝึกให้คนงานจีน
ก็รวมงานของเธอด้วย. ฉันถามเธอว่า
รู้สึกอย่างไร ที่ต้องเป็นคนฝึกคนใหม่ที่จะมาแทนที่เธอ
หลังจากทำงานในบริษัทเดียวกันนี้ถึง 33 ปี.
“Knowing that you’re going to be completely out of a job and
there’s no hope for any job in our area, it was gut-wrenching, because you
don’t know where the next point is going to be. I’m 52 years old. What are we
going to do? To start over at this point in my life is extremely scary.”
“พอรู้ว่า คุณกำลังจะไม่มีงานทำโดยสิ้นเชิง และไม่มีหวังเลยว่าจะได้งานในละแวกของเรา,
มันรู้สึกเสียวไส้, เพราะคุณไม่รู้เลยว่า คุณกำลังมุ่งหน้าไปจุดอะไรข้างหน้า. ฉันอายุ 52 แล้ว.
เราจะทำอะไรต่อไปได้?
ให้เริ่มต้นใหม่ ณ จุดนี้ในชีวิตของฉัน มันน่าหวาดเสียวมากจริงๆ.”
Cheryl and her co-workers learned that the Honeywell
division they had been working for had been sold to Sensata Technologies. They
researched Sensata. “We found out this summer that it was owned by Bain
[Capital],“she said. “Then we found the connection between Bain and Governor
Romney. And that just spurred a little bit of emotion ... we wanted to stand up
and fight back and take a stand for the American people and for our jobs.”
เชอรีล และเพื่อนร่วมงาน เรียนรู้ว่า หน่วยฮันนีเวลล์
ที่พวกเธอได้ทำงานมานาน ได้ถูกขายให้ เซนซาตาเทคโนโลยีส์. พวกเขาได้ค้นคว้าหาข้อมูล เซนซาตา. “เราพบในฤดูร้อนนี้ว่า เบน
(แคปิตัล) เป็นเจ้าของ,” เธอกล่าว.
“แล้วเราก็พบความเกี่ยวโยงระหว่างเบน และผู้ว่ารอมนีย์. นั่นทำให้เราตกตะลึง...เราต้องการลุกขึ้น
และสู้กลับ และยืนหยัดเพื่อคนอเมริกัน และเพื่องานของพวกเรา.”
Cheryl and her co-workers started a petition that got 35,000
signatures, which they delivered to Bain Capital in Evanston, Ill.
เชอรีลและเพื่อนร่วมงาน ได้เริ่มล่าลายเซ็น และได้ 35,000 ชื่อ, ซึ่งพวกเขาก็ได้นำส่งให้ เบน แคปิตัล
ในเมืองอีแวนสตัน, อิลลินอยส์.
They work in Freeport, in the northwest corner of Illinois,
not far from Iowa and Wisconsin. Tom Gaulrapp, another 33-year veteran of the
Honeywell company now owned by Sensata/Bain, knew that Romney would be
campaigning in both of those swing states. He described their efforts that
followed: “We attempted to bring an open letter to the Romney campaign
headquarters after they repeatedly said that they were unaware of the
situation. At every stop, when we tried to have contact with them, they locked
us out of the building. [In] Madison, Wisconsin, they called the police on us.”
พวกเขาทำงานใน ฟรีปอร์ต, ในด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอิลลินอยส์,
ไม่ห่างจากไอโอวา และวิสคอนซิน. ทอม
โกลรัปป์, คนงานที่มีอายุงาน 33 ปี อีกคนที่ บริษัท ฮันนีเวลล
ที่ตอนนี้ตกเป็นของ เซนซาตา/เบน, รู้ว่า รอมนีย์ จะทำการรณรงค์ในรัฐทั้งสอง. เขาบรรยายถึงความพยายามของพวกเขา
“พวกเราได้พยายามยื่นจดหมายเปิดผนึกที่สำนักงานใหญ่ของการรณรงค์ของรอมนีย์ หลังจากที่
(ได้ยิน) พวกเขาพูดซ้ำๆ ซากๆ ว่า ไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ของพวกเรา. ในทุกๆ จุดที่พวกเขาหยุด,
พอเราพยายามติดต่อพวกเขา, ก็จะถูกปิดประตูใส่ ไม่ให้เราเข้าไปในอาคารได้. ที่เมดิสัน, วิสคอนซิน, พวกเขาเรียกตำรวจมาจับกุมพวกเรา.”
So they went to a campaign event where Romney was speaking,
in Bettendorf, Iowa. Tom stood up and appealed to Romney to come to Freeport to
help them save their jobs. He was shouted down by the crowd, which chanted,
“U.S.A! U.S.A.!” Tom continued: “We’re there trying to save our jobs, and we
were called communists. For trying to stop our jobs from going to communist
China.”
ดังนั้น พวกเขาเดินทางไปมหกรรมรณรงค์ที่รอมนีย์ไปกล่าวสุนทรพจน์,
ใน เบทเทนดอร์ฟ, ไอโอวา. ทอมลุกขึ้นยืน และร้องขอต่อรอมนีย์
ให้มาที่ฟรีปอร์ต เพื่อช่วยพวกเขาพิทักษ์งานของพวกเขา. แต่เขาถูกหมู่คนตะโกนให้หดตัวลงด้วยเสียงสวด
“สหรัฐฯ! สหรัฐฯ!” ทอมพูดต่อ
“พวกเราอยู่ที่นั่น พยายามที่จะปกป้องงานของพวกเรา,
และพวกเราก็ถูกประณามว่าเป็นคอมมิวนิสต์
เพราะพยายามหยุด ไม่ยอมให้งานของเรา ไปที่จีนคอมมิวนิสต์.”
I asked Cheryl why they were targeting Romney, who no longer
runs Bain. “Mitt Romney created the model of outsourcing jobs,” she explained.
“He created Bain ... he is still reaping very high benefits from Bain, financially.
So he can pick up the phone and call his buddies and say, ‘We need to stop this
practice and keep the U.S. jobs here.’”
ฉันถามเชอรีล ทำไมถึงพุ่งเป้าไปที่รอมนีย์,
ผู้ไม่ได้เป็นคนบริหารเบนแล้ว. “มิตต์
รอมนีย์ สร้างโมเดลการส่งงานออกนอกประเทศ,” เธออธิบาย.
“เขาสร้างเบน...เขายังคงเก็บเกี่ยวผลประโยชน์มากมายจากเบน,
เป็นเม็ดเงิน. ดังนั้น
เขาสามารถจะยกโทรศัพท์ขึ้น และบอกเพื่อนของเขาว่า. ‘เราจำเป็นต้องหยุดปฏิบัติการนี้
และรักษางานสหรัฐฯ ไว้ที่นี้.’”
Bonnie Borman was pregnant with her daughter when she
started at the factory 23 years ago. She told me, “I now have to compete with
my daughter for minimum-wage jobs.” Tom added: “We’ve been told our last day of
work will be Friday, Nov. 2. We’ll file for unemployment the following Monday.
The day after that, we vote.” Just to be safe, they should bring a photo ID.
บอนนี บอร์แมน กำลังตั้งครรภ์ (ลูกสาว)
เมื่อเธอเริ่มทำงานที่โรงงานเมื่อ 23 ปีก่อน. เธอบอกฉันว่า, “ตอนนี้
ฉันต้องแข่งกับลูกสาวของฉัน เพื่อให้ได้งานค่าแรงขั้นต่ำ.” ทอมเสริมว่า “เขาบอกพวกเราว่า
วันสุดท้ายของการทำงาน จะเป็นวันศุกร์, 2 พฤศจิกายน. เราจะยื่นคำร้องว่า ไม่มีงานทำ
ในวันจันทร์ถัดไป. วันถัดจากนั้นไป,
เราลงคะแนนเสียง.” เพื่อความปลอดภัย,
พวกเราควรนำรูปบัตรประชาชนไปด้วย.
Denis Moynihan contributed research to this column.
© 2012 Amy Goodman
Amy Goodman is the host of
"Democracy Now!," a daily international TV/radio news hour airing on
900 stations in North America. She was awarded the 2008 Right Livelihood Award,
dubbed the “Alternative Nobel” prize, and received the award in the Swedish
Parliament in December.
เอมี กู๊ดแมน เป็นพิธีกรรายการทีวี/วิทยุประจำวันนานาชาติ
“ประชาธิปไตยเดี๋ยวนี้!” ซึ่งถ่ายทอดไปทั่ว 900 สถานีในทวีปอเมริกาเหนือ. เธอได้รับรางวัล สัมมาอาชีวะ ปี 2008 ที่ถูกตั้งให้เป็น รางวัลโนเบลทางเลือก,
และได้รับรางวัลในรัฐสภาของสวีเดนในเดือนธันวาคม.
Published on Thursday, August 30, 2012 by TruthDig.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น