วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

99. ทวงคืนฝันอเมริกันเริ่มแรก ... ยุคบุกเบิก



 America the Possible: Breaking the Chains of Consumerism
อเมริกาที่เป็นไปได้:  สะบั้นโซ่บริโภคนิยม
by James Gustave Speth
โดย เจมส์ กุสตาฟ สเปธ
(ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล)

The following is an excerpt from the recently published America the Possible: Manifesto for a New Economy (New Haven: Yale University Press, 2012). The book, written as the third volume of Speth's award-winning American Crisis series, calls for deep, transformative change in a dozen areas of national life, including a reimagination of our political economy, a halt to debt-inducing consumerism, and a host of prescriptions for our bad case of affluenza. This appears with the kind permission of the author.
บทความต่อไปนี้ ยกมาจากหนังสือที่เพิ่งออกจำหน่าย “อเมริกาที่เป็นไปได้: แถลงการณ์สำหรับเศรษฐกิจใหม่” (New Haven: Yale University Press, 2012).  หนังสือเล่มนี้, เป็นเล่มที่สามในชุดหนังสือ “วิกฤตอเมริกัน” ที่สเปธได้รับรางวัล, เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับลึกชนิดหันหัวกลับ ในพื้นที่ชีวิตแห่งชาติสิบกว่าด้าน, รวมทั้งฉายจินตนาการใหม่สำหรับเศรษฐกิจการเมืองของเรา, การหยุดยั้งบริโภคนิยมที่ก่อหนี้, และใบสั่งยาอีกมากมายสำหรับไข้หวัดใหญ่ที่ย่ำแย่ของพวกเรา.   บทความนี้ ได้รับอนุญาตจากผู้เขียน.

The path to a new political economy leads straight away from consumerism and commercialism to a very different world in which getting and spending, material possessions, and overall consumption have a decidedly circumscribed and modest place in everyday life.
หนทางสู่เศรษฐกิจการเมืองใหม่ ฉีกตัวออกจากบริโภคนิยมและพาณิชย์นิยม สู่โลกที่แตกต่างออกไปมาก ในการได้มาและการใช้จ่าย, การยึดถือเป็นเจ้าของวัตถุ, และการบริโภคโดยรวมที่มีขอบเขตและเรียบง่ายในชีวิตประจำวันของเรา.

In her insightful book, A Consumers’ Republic, Lizabeth Cohen documents that American consumerism as we know it did not just happen. It is not something in our genes or human nature, at least not wholly. Referring to the era of postwar prosperity that lasted approximately from 1945 to 1975, she notes that “this period of unprecedented affluence did much more than make Americans a people of plenty. Undergirding the pursuit of plenty was an infrastructure of policies and priorities, what I have dubbed, for shorthand, the Consumers’ Republic. In reconstructing the nation after World War II, leaders of business, government, and labor developed a political economy and a political culture that expected a dynamic mass consumption economy not only to deliver prosperity, but also to fulfill American society’s loftier aspirations.”
ในหนังสือที่สะท้อนภูมิปัญญา, “สาธารณรัฐของผู้บริโภค”, ลิซาเบธ โคเฮน บันทึกว่า บริโภคนิยมของชาวอเมริกัน ดังที่เรารู้ๆกัน ไม่ได้เกิดขึ้นเอง.   มันไม่ใช่บางอย่างในยีนส์ของเรา หรือธรรมชาติของมนุษย์, อย่างน้อยไม่ทั้งหมด.   ด้วยการอ้างถึงความมั่งคั่งยุคหลังสงครามโลก ที่อยู่ยงตั้งแต่ปี 1945 – 1975 (๒๔๘๘-๒๕๑๘), เธอเขียนว่า “ช่วงเวลาแห่งความมั่งคั่งอย่างไม่เคยมีมาก่อน ได้ทำให้ชาวอเมริกันเป็นอะไรมากกว่าเพียงประชาชนที่มีเหลือเฟือ.  การแสวงหาความเหลือเฟือ ได้กลายเป็นพื้นฐานของนโยบายและความสนใจพิเศษลำดับต้นๆ, ที่ฉันขอเรียกว่า, “สาธารณรัฐของผู้บริโภค”.  ในการบูรณะสร้างชาติใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒, ผู้นำธุรกิจ, รัฐบาล, และแรงงาน ได้พัฒนา เศรษฐกิจการเมือง และ วัฒนธรรมการเมือง ที่คาดหวังให้เกิดเป็นเศรษฐกิจบริโภคมวลที่มีพลวัต  ไม่เพียงแต่สร้างความมั่งคั่ง, แต่ยังเติมเต็มความทะเยอทะยานอันสูงส่งของสังคมอเมริกัน.

A consumer society is one in which consumerism and materialism are central aspects of the dominant culture, where goods and services are acquired not only to satisfy common needs but also to secure identity and meaning. Framing this situation as a matter of consumer sovereignty--where the customer is always right--is misleading. Consumption patterns are powerfully shaped by forces other than preformed individual preferences--forces such as advertising, cultural norms, social pressures, and psychological associations.
สังคมผู้บริโภค คือ สังคมที่บริโภคนิยม และวัตถุนิยม เป็นหัวใจของวัฒนธรรมที่เป็นใหญ่, ที่ๆ สินค้าและบริการ ล้วนถูกจัดหาไว้ ไม่เพียงแต่เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานร่วม แต่ยังเพื่อสร้างความมั่นคงในอัตลักษณ์และความหมาย.   การตีกรอบสถานการณ์นี้ ให้เป็นเรื่องของอธิปไตยผู้บริโภค—ผู้บริโภคถูกเสมอ—เป็นเรื่องหลอกลวง.   แบบแผนการบริโภคได้ถูกกระแสอื่นปรุงแต่งอย่างแรง มากกว่า เป็นเพียงการเลือกด้วยความชอบของปัจเจก—กระแสเช่นการโฆษณา, มาตรฐานวัฒนธรรม, แรงกดดันทางสังคม, และอารมณ์จิตใจ.

Consumerism is not, and should not be confused with, consumption that satisfies essential human needs. Consumerism is the faith that meaning, identity, and significance can be found in material, commodity consumption, which in turn requires money. But since meaning and self-realization cannot be found there, nor basic psychological needs so met, consumers remain unfilled and are driven ever on to seek more possessions, which requires still more money, all of which is well understood by marketers. Richard Layard refers to the “hedonic treadmill” to describe the phenomenon whereby people become habituated to their new incomes and their new toys. “When I get a new home or a new car, I am excited at first. But then I get used to it, and my mood tends to revert to where it was before. . . . Advertisers understand this and invite us to ‘feed our addiction’ with more and more spending. However, other experiences do not pale in the same way--the time we spend with our family and friends, and the quality and security of our job.”
บริโภคนิยมไม่ใช่, และไม่ควรจะสับสนกับ, การบริโภคที่ตอบสนองความจำเป็นแท้จริงของมนุษย์.   บริโภคนิยมเป็นความศรัทธาเชื่อว่า ความหมาย, อัตลักษณ์, และนัยสำคัญ สามารถจะหา (ซื้อ) ได้ในวัตถุ, การบริโภคสินค้า, ซึ่งต้องใช้เงิน.   แต่เนื่องจาก ความหมายและความตระหนักถึงตัวตนของตน ไม่สามารถหาได้จากที่นั่น, หรือความต้องการทางจิตใจขั้นพื้นฐาน ก็ไม่พบเช่นกัน, ผู้บริโภคก็ยังคงรู้สึกไม่เต็มอิ่ม และถูกผลักดันให้ต้องแสวงหาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง, ซึ่งทำให้ต้องการเงินมากยิ่งขึ้น, ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ นักการตลาดเข้าใจดี.   ริชาร์ด เลยาร์ด เรียกว่า “สายพานลู่วิ่งแห่งความเพลิดเพลิน” เพื่อบรรยายปรากฏการณ์ ที่ผู้คนคุ้นชินกับรายได้ใหม่ และของเล่นใหม่ๆ.  “เมื่อฉันได้บ้านใหม่หรือรถคันใหม่, ฉันตื่นเต้นในตอนแรก.  แต่พอฉันเคยชินกับมัน, และอารมณ์ของฉันค่อนกลับไปที่ๆ เป็นมาก่อน...นักโฆษณาเข้าใจเรื่องนี้ และเชื้อเชิญให้เรา ป้อนการเสพติดของเราด้วยการจ่ายมากขึ้นๆ.   แต่ ประสบการณ์อื่นๆ ไม่ได้จืดจางไปในแบบเดียวกัน—เวลาที่เราใช้ไปกับครอบครัวและเพื่อน, และคุณภาพและความมั่นคงของงานของเรา”.

A consumer society is one in which the human tendency to compare ourselves with others is grotesquely exploited. This human tendency to compare ourselves with others has not escaped the attention of humorists. There’s the joke about the Russian peasant whose neighbor had a cow while he did not. He had lived a good life, and so God asked how He could help. The peasant replied, “Kill the cow!” Numerous studies confirm that happiness levels depend inversely on one’s neighbor’s prosperity. People constantly compare themselves with others, and if everyone is better off financially, then no one is any happier. Comparative position is what counts, not absolute income, so rising incomes can leave just as many unhappy comparisons.
สังคมผู้บริโภค คือ สังคมที่มนุษย์มักเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ  ได้ถูกนำไปใช้อย่างวิตถาร.   แนวโน้มนี้ของมนุษย์ในการเปรียบเทียบพวกตนกับพวกอื่นๆ  ไม่ได้หลุดพ้นสายตาของนักล้อเลียน.   มีขำขันเกี่ยวกับชาวนารัสเซียที่เพื่อนบ้านมีแม่วัวหนึ่งตัว ในขณะที่เขาไม่มี.    เขามีชีวิตที่ดี, และพระเจ้าก็ถามเขาว่า จะให้ช่วยอะไร.  ชาวนาตอบว่า “ฆ่าแม่วัวเสีย!”   การศึกษาหลายชิ้น ยืนยันว่า ระดับความสุข แปรผกผันกับ ความมั่งคั่งของเพื่อนบ้าน.   คนจะเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นตลอดเวลา, และหากใครรวยกว่า, ก็ไม่มีใครที่จะเป็นสุขขึ้น.    สถานภาพเปรียบเทียบเป็นสิ่งสำคัญ, ไม่ใช่รายได้สุทธิ, ดังนั้น การมีเงินเดือนสูงขึ้น สามารถทำให้เกิดการเปรียบเทียบที่ไม่เป็นสุขขึ้นมากพอกัน.

Consumerism thus has a doubly negative impact. It is the beating heart of the growth system. Private consumption expenditures in the United States, for example, are about 70 percent of gross domestic product, and consumer spending is the principal driver of the economy and its expansion. When the Financial Times observed that “the stamina of shoppers will be crucial for global growth,” the emphasis was on consumers serving the economy, not the other way around. Second, consumerism gives rise to a host of social pathologies. On the squirrel wheel of getting and spending, with the longest hours on the job in the OECD, and with both parents often at work, we Americans are neglecting the things that would truly make us better off, including personal relationships and social contact. Ed Diener and Martin Seligman, two leaders in the field of positive psychology, point out, “The quality of people’s social relationships is crucial to their well-being. People need supportive, positive relationships and social belonging to sustain well-being.”
บริโภคนิยมมีผลกระทบสองเท่าตัว.   มันเป็นการเต้นของหัวใจของระบบการขยายตัว.   ยกตัวอย่าง, การใช้จ่ายเพื่อบริโภคของเอกชนในสหรัฐฯ คิดเป็นประมาณ 70% ของจีดีพี, และการใช้จ่ายของผู้บริโภค เป็นเฟืองหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และทำให้มันขยายตัว.   เมื่อไฟแนนเชียลไทมส์ สังเกตว่า “ความแข็งแรงของนักช็อป เป็นปัจจัยสำคัญให้เศรษฐกิจโลกขยายตัว”, จุดเน้นอยู่ที่การทำให้ผู้บริโภครับใช้ระบบเศรษฐกิจ, ไม่ใช่ในทางกลับกัน.   ประการที่สอง, บริโภคนิยม เป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคทางสังคมมากมาย.  ด้วยการมัวแต่วิ่งไต่บนล้อกระรอกของการได้มาและจ่ายไป, ด้วยการใช้เวลายาวนานที่สุดทำงานในประเทศ OECD, และด้วยการที่ทั้งพ่อและแม่มักจะทำแต่งาน, เราอเมริกันกำลังละเลยสิ่งที่จะทำให้เราอยู่ดีมีสุขขึ้น, รวมทั้งความสัมพันธ์ส่วนตัวและการติดต่อทางสังคม.   เอ๊ด ดีเนอร์ และ มาร์ติน เซลิกแมน, ผู้นำสองคนในสาขาจิตวิทยาเชิงบวก, ชี้ว่า, “คุณภาพของความสัมพันธ์ทางสังคมของประชาชน เป็นปัจจัยสำคัญของความอยู่ดีมีสุขของพวกเขา.   คนต้องการแรงสนับสนุน, ความสัมพันธ์เชิงบวก และความเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เพื่อธำรงความอยู่ดีมีสุข”.

In The Loss of Happiness in Market Democracies, sociologist Robert Lane believes Americans suffer from “a kind of famine of warm interpersonal relations, of easy-to-reach neighbors, of encircling, inclusive memberships, and of solidary family life. There is much evidence that for people lacking in social support of this kind, unemployment has more serious effects, illnesses are more deadly, disappointment with one’s children is harder to bear, bouts of depression last longer, and frustration and failed expectations of all kinds are more traumatic.”
ในหนังสือ “ความสุขที่หายไปในตลาดประชาธิปไตย”, นักสังคมวิทยา โรเบิร์ต เลน เชื่อว่า ชาวอเมริกันเป็นทุกข์จาก “ความอดอยากด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่อบอุ่น, การมีเพื่อนบ้านที่เข้าถึงได้ง่าย, การล้อมวงเข้าหากัน, สมาชิกที่มีความหลากหลาย, และชีวิตครอบครัวที่เป็นปึกแผ่น.   มีหลักฐานมากมายที่แสดงว่า สำหรับคนที่ขาดแรงสนับสนุนทางสังคมดังกล่าว, การไม่มีงานจ้างทำ จะส่งผลกระทบรุนแรงกว่า, ความเจ็บป่วยจะหนักถึงปางตายมากกว่า, จะยอมรับความผิดหวังจากลูกๆ ของตนเอง ได้ยากกว่า, ความซึมเศร้าจากจิตใจที่หดหู่จะอยู่นานกว่า, และความท้อแท้และความหวังที่ล้มเหลวในทุกเรื่อง จะสร้างความบอบช้ำในจิตใจมากกว่า”.

Our families, friends, and true companionship are thus among consumerism’s principal casualties. We have channeled our desires, our insecurities, our need to demonstrate our worth and our success, our wanting to fit in and to stand out, increasingly into material things--into bigger homes, fancier cars, more appliances and gadgets, and branded apparel. But in the process, we’re slighting the precious things that no market can provide. We are hollowing out whole areas of life, of individual and social autonomy, of community, and of nature, and, if we don’t soon wake up, we will lose the chance to return, to reclaim ourselves, our neglected society, our battered world, because there will be nothing left to reclaim, nothing left to return to.
ครอบครัวของเรา, เพื่อนของเรา, และมิตรแท้ของเรา ล้วนเป็นหนึ่งในบรรดาเหยื่อหลักๆ  ของบริโภคนิยม.   เราได้โกยความปรารถนาของเรา, ความรู้สึกไม่มั่นคงของเรา, ความจำเป็นของเรา เพื่อแสดงออกถึงความมีค่าของเราและความสำเร็จของเรา, ความต้องการของเราที่จะเข้ากับคนอื่น และที่จะโดดเด่น, ใส่ในวัตถุมากขึ้น—ในบ้านที่ใหญ่กว่า, รถแฟนซีกว่า, เครื่องอุปโภคบริโภคมากกว่า, และเสื้อผ้ายี่ห้อดังๆ.  แต่ในกระบวนการนี้, เรากำลังเชือดเฉือนสิ่งล้ำค่าที่ไม่มีตลาดที่ไหนจะให้เราได้.   เรากำลังคว้านไส้องค์รวมของชีวิต, ของอธิปไตยปัจเจกและของสังคม, ของชุมชน, และของธรรมชาติ, และ, หากเราไม่รีบตื่นขึ้น, เราจะสูญเสียโอกาสที่จะหวนกลับไป, ที่จะกู้ตัวของเราเอง, สังคมที่เราได้ละเลยทอดทิ้งมานาน, โลกที่ถูกประทุษร้าย, เพราะจะไม่มีอะไรเหลือให้กู้คืน, ไม่มีอะไรเหลือให้กลับไปหา.

Amitai Etzioni sees the excesses of consumerism also at the roots of our current economic troubles: “The link to the economic crisis should be obvious. A culture in which the urge to consume dominates the psychology of citizens is a culture in which people will do most anything to acquire the means to consume--working slavish hours, behaving rapaciously in their business pursuits, and even bending the rules in order to maximize their earnings. They will also buy homes beyond their means and think nothing of running up credit-card debt. It therefore seems safe to say that consumerism is, as much as anything else, responsible for the current economic mess.”
อมิไต เอ็ตสิโอนี เห็นว่า ลัทธิบริโภคนิยมที่ล้นเกิน เป็นรากเหง้าของความยากเข็ญในเศรษฐกิจยุคปัจจุบันของเราด้วย: “ข้อต่อสู่วิกฤตเศรษฐกิจน่าจะเห็นชัดอยู่แล้ว.  วัฒนธรรมที่เร่งเร้าให้บริโภค ครอบงำจิตใจของพลเมือง เป็นวัฒนธรรมที่ประชาชนจะทำเกือบทุกอย่างเพื่อให้ได้เข้าสู่การบริโภค—ทำงานยาวนานแบบทาส, พฤติกรรมละโมบในการแย่งชิงทางธุรกิจ, และแม้แต่บิดเบือนกฎเพื่อให้ได้รายได้มากที่สุด.   พวกเขาจะซื้อบ้านใหญ่เกินกว่ากำลังทรัพย์ และไม่เคยกังวลว่าจะกลายเป็นหนี้บัตรเครดิต.   ดังนั้น คงปลอดภัยที่จะบอกว่า ลัทธิบริโภคนิยม, และก็มากพอๆ กับสิ่งอื่นๆ, เป็นตัวการที่ทำให้เกิดความรุงรังยุ่งเหยิงในเศรษฐกิจปัจจุบัน”.

Cohen also highlighted the ironies inherent in the faith that “a prospering mass consumption economy could foster democracy.” What actually happened was we witnessed “a decline in the most critical form of political participation--voting--as more commercialized political salesmanship replaced rank-and-file mobilization through parties.” She also notes, “The Consumers’ Republic’s dependence on unregulated private markets wove inequalities deep into the fabric of prosperity. . . . The deeply entrenched convictions prevailing in the Consumers’ Republic that a dynamic, private, mass consumption marketplace could float all boats and that a growing economy made reslicing the economic pie unnecessary predisposed Americans against more redistributive actions.”
โคเฮนได้ชี้ให้เห็นว่า  ความน่าหัวเราะและน่าเศร้าฝังตัวอยู่ในความศรัทธาที่ว่า “เศรษฐกิจการบริโภคมวลที่เจริญรุ่งเรือง จะทำให้เกิดประชาธิปไตย”.   แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแทน คือสิ่งที่เราได้เป็นประจักษ์พยานถึง “ความเสื่อมโทรมในรูปแบบที่สำคัญที่สุดในการมีส่วนร่วมทางการเมือง—การลงคะแนนเสียง—เมื่อเซลแมนการเมืองพาณิชย์มากขึ้น เข้าไปนั่งแทนที่ ๆ ควรจะเป็นของคนที่มาจากการขับเคลื่อนผ่านกระบวนการของพรรคการเมือง”.   เธอได้เขียนว่า, “สาธารณรัฐผู้บริโภค พึ่งตลาดเอกชนที่ไร้การควบคุม ที่ได้ถักทอความเหลื่อมล้ำให้ฝังลึกอยู่ในเส้นใยแห่งความเจริญรุ่งเรือง...  ความเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าที่ฝังลึกแผ่ซ่านอยู่ทั่วสาธารณรัฐผู้บริโภค บอกว่า ตลาดการบริโภคมวลของเอกชน ที่มีพลวัตสูง สามารถจะยกเรือทั้งหมดให้ลอยลำ และเศรษฐกิจที่เติบโตขยายตัว ทำให้การซอยแบ่งขนมพายเศรษฐกิจย่อยลง เป็นเรื่องไม่จำเป็น ได้โน้มน้าวให้ชาวอเมริกันต่อต้านปฏิบัติการเพื่อกระจาย (รายได้ให้กว้างขึ้น)”.

The creation of the Consumers’ Republic represented the triumph of one vision of American life and purpose. But there has always been another American vision, what historian David Shi calls the tradition of “plain living and high thinking,” a tradition that began with the Puritans and the Quakers and that provides the tradition on which to build a better America for tomorrow. This tradition that sees America as a republic of virtue has always been in tension with the allure of unfettered purchasing, of America as the venue nonpareil for consumer appetites indulged shamelessly and unapologetically. In his book The Simple Life, Shi described how the concept of the simple but good life “has remained an enduring--and elusive--ideal. . . . Its primary attributes include a hostility toward luxury and a suspicion of riches, a reverence for nature and a preference for rural over urban ways of life and work, a desire for personal self-reliance through frugality and diligence, a nostalgia for the past, a commitment to conscientious rather than conspicuous consumption, a privileging of contemplation and creativity, an aesthetic preference for the plain and functional, and a sense of both religious and ecological responsibility for the just uses of the world’s resources.”
การก่อตัวของสาธารณรัฐผู้บริโภค เป็นตัวแทนของชัยชนะของวิสัยทัศน์หนึ่งของชีวิตและจุดประสงค์ของชาวอเมริกัน.   แต่ก็ยังมีอีกวิสัยทัศน์หนึ่งที่อยู่กับชาวอเมริกันมาตลอด, ที่นักประวัติศาสตร์ เดวิด ฉี เรียกว่า จารีตประเพณีของ “การมีชีวิตเรียบง่าย แต่ตรึกคิดสูงส่ง”, จารีตประเพณีที่เริ่มต้นพร้อมกับพวก พยูริตัน (ผู้เคร่งในหลักศีลธรรมและอพยพจากอังกฤษไปอเมริกายุคบุกเบิก) และพวกเควกเกอร์ส และนั่นเป็นพื้นฐานจารีตประเพณี เพื่อการสร้างอเมริกาที่ดีกว่าสำหรับวันพรุ่งนี้.   จารีตประเพณีที่เห็นอเมริกาในฐานะที่เป็นสาธารณรัฐแห่งคุณงามความดีนี้  ได้งัดข้อมาตลอดกับ แรงเย้ายวนของการซื้ออย่างไม่มีขอบเขต ของอเมริกา ในฐานะที่เป็นแหล่งไร้เทียมทานสำหรับความอยากของผู้บริโภค ได้รับการปรนเปรออย่างไร้ยางอายและไร้ความรู้สึกผิด (ไร้หิริ โอตัปปะ).  ในหนังสือของเขา, “ชีวิตที่เรียบง่าย”, ฉีได้อธิบายว่า กรอบคิดของชีวิตเรียบง่ายแต่ดี “ยังเป็นอุดมคติที่ยืนยง—และยากที่จะหาได้...คุณลักษณะแรกๆ ของมัน รวมถึงความเกรี้ยวกราดต่อความฟุ้งเฟ้อ และความระแวงต่อคนร่ำรวย, ความเคารพยำเกรงต่อธรรมชาติ และความฝักใฝ่ในวิถีชีวิตและงานในชนบทมากกว่าเมือง, ความปรารถนาที่จะพึ่งตนเองได้ด้วยการประหยัดมัธยัสถ์และขยันทำงาน, ความอาลัยอาวรณ์ โหยหาอดีต, ความมุ่งมั่นผูกพันกับการบริโภคอย่างมีจิตสำนึก มากกว่า การบริโภคแบบโอ้อวด, การยกย่องการตรึกคิด สมาธิ และความคิดสร้างสรรค์, ความฝักใฝ่เชิงสุนทรียภาพต่อสิ่งเรียบง่ายแต่ใช้งานได้, และความรู้สึกรับผิดชอบต่อทั้งศาสนกิจและนิเวศ เพื่อการใช้ทรัพยากรโลกอย่างเป็นธรรม”.

If the creation of American consumerism was a project of the country’s political and economic leaders after World War II, as Cohen concludes, it should be possible to build a counter project aimed at something better. Overcoming our bad case of national affluenza is important if America is to achieve a host of goals: reducing its ecological footprint, expanding investment in public goods, bolstering retirement security, reducing corporate power, undermining our growth fetish, expanding civic engagement, focusing resources on vast social and economic disparities at home and abroad, and improving the social and psychological well-being of individuals and families.
หากการสร้างลัทธิบริโภคนิยมอเมริกัน เป็นโครงการที่เหล่าผู้นำทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง, ดังที่โคเฮนสรุป, มันก็น่าจะเป็นไปได้ที่จะสร้างโครงการสวนทาง ที่มุ่งสร้างบางอย่างที่ดีกว่า.   การเอาชนะโรคไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ เป็นเรื่องสำคัญ หากอเมริกาจะบรรลุเป้าหมายอื่นๆ อีกมากมายได้: การลดรอยเท้านิเวศ, ขยายการลงทุนในสมบัติสาธารณะ, สนับสนุนความมั่นคงของการปลดเกษียณ, ลดอำนาจของบรรษัท, ลดทอนความงมงายในการขยายเศรษฐกิจ, ขยายการมีส่วนร่วมของพลเมือง, เน้นใช้ทรัพยากรลดช่องว่างทางสังคมและเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ และปรับปรุงส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขทางสังคมและจิตใจ ของปัจเจกและครอบครัว.

Etzioni properly asks what should replace the worship of consumer goods and argues that “the two most obvious candidates to fill this role are communitarian pursuits and transcendental ones.” “Communitarianism,” he writes, “refers to investing time and energy in relations with the other, including family, friends, and members of one’s community. The term also encompasses service to the common good, such as volunteering, national service, and politics. Communitarian life is not centered around altruism but around mutuality, in the sense that deeper and thicker involvement with the other is rewarding to both the recipient and the giver. . . . Transcendental pursuits refer to spiritual activities broadly understood, including religious, contemplative, and artistic ones. . . . Communitarian activities require social skills and communication skills as well as time and personal energy--but, as a rule, minimal material or financial outlays. The same holds for transcendental activities such as prayer, mediation, music, art, sports, adult education, and so on.”
เอ็ตสิโอนี ถามว่า ควรแทนที่การบูชาสินค้าบริโภคด้วยอะไร และแย้งว่า “คู่แข่งสองตัวในการสวมบทนี้ คือ การแสวงหาความเป็นชุมชน และ โพ้นโลกีย์”.   เขาเขียนว่า “ชุมชนนิยม หมายถึง การลงทุนเวลาและพลังงานในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น, รวมทั้งครอบครัว, เพื่อน, และสมาชิกในชุมชนของตน.   คำนี้ รวมถึงการให้บริการเพื่อสร้างประโยชน์ส่วนรวม, เช่น การอาสาสมัคร, การรับใช้ชาติ, และการเมือง.  ชีวิตชุมชนนิยม ไม่ได้มีศูนย์กลางอยู่ที่การเอาประโยชน์คนอื่นเป็นตัวตั้งโดยไม่คิดถึงตัวเอง (altruism) แต่อยู่ที่ประโยชน์ร่วมกัน (mutuality), ในทำนองว่า การมีส่วนร่วมที่ลึกล้ำกว่าและแน่นหนากว่ากับคนอื่น เป็นสิ่งที่สร้างความพึงพอใจแก่ทั้งผู้ให้และผู้รับ... การแสวงหาทางโพ้นโลกีย์ มีความหมายกว้างๆ ถึง กิจกรรมด้านจิตวิญญาณ, เช่น ศาสนกิจ, การทำสมาธิ, งานศิลปะ...  กิจกรรมชุมชน จำเป็นต้องอาศัยทักษะทางสังคม และการสื่อสาร รวมทั้งเวลาและพลังส่วนตัว—แต่, มีกฎว่า, ใช้วัตถุและเม็ดเงินน้อยที่สุด.   เช่นเดียวกัน กิจกรรมทางโพ้นโลกีย์ ได้แก่ การสวดมนตร์, การทำสมาธิ-วิปัสสนา, ดนตรี, ศิลปะ, กีฬา, การศึกษาผู้ใหญ่, เป็นต้น”.

Juliet Schor has also offered a path forward, one she calls “plenitude.” It has four key features: moderation in hours of work, self-provisioning, environmentally aware consumption, and restoring investments in one another and community. In sum, “work and spend less, create and connect more.”
จูเลียต ชอร์ ได้เสนอหนทางมุ่งไปข้างหน้า, ที่เธอเรียกว่า “ความสมบูรณ์”.  มันมีสี่คุณลักษณะ: จำนวนชั่วโมงทำงานพอประมาณ, จัดหาเสบียงของใช้ด้วยตัวเอง, การบริโภคอย่างตื่นรู้ต่อภาวะสิ่งแวดล้อม, และคืนการลงทุนให้กันและกันและแก่ชุมชน.  สรุปคือ “ทำงานและใช้จ่ายน้อย, สร้างสรรค์และสัมพันธ์ (ติดต่อกัน) มาก”.

What policy agenda would help move America beyond consumerism? First, there are attractive steps, including some described elsewhere in this book, that would help immensely: eliminating wasteful subsidies and imposing limits on virgin materials entering the economy and on emissions, toxics, and other residuals discharged to the environment; requiring full-cost, honest prices, with border tariffs to protect U.S. producers and workers from unfair foreign competition from countries not fully internalizing costs; imposing a surtax on high-end consumption spending along with various luxury taxes; promoting new for-benefit corporations and corporate transformation generally; providing high- quality public services, infrastructure, and amenities; moving to much greater social and economic equality and security; conducting educational and social marketing campaigns that not only provide accurate information to consumers but also address deeper issues such as the shortcomings of consumerism; promoting sharing, renting, and collaborative consumption instead of owning (“do more, own less, rent the rest”); attacking waste and throwaway, made-to-break culture by requiring producers to take back products at the end of their useful lives and to design products for durability, easy repair, and even instructive conversation; imposing tight regulation on “easy credit,” predatory lending; and promoting initiatives to shift cultural norms that promote consumerism.
ประเด็นนโยบายอะไรที่จะช่วยขับดันอเมริกาให้ไปโพ้นบริโภคนิยม?   ประการแรก, ขั้นตอนที่จูงใจ, รวมทั้งบางประการที่ได้บรรยายไว้แล้วในที่ต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้, ที่จะช่วยได้มาก: การกำจัดการอุดหนุนทางการเงินที่สิ้นเปลือง และการกำหนดข้อจำกัดต่อการดึงสิ่งบริสุทธิ์ (เช่น แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ได้ถูกสำรวจ/บุกรุกเพื่อสกัดมาถลุงใช้) เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และการปล่อยก๊าซ, สารพิษ, และซากเดนต่างๆ สู่สิ่งแวดล้อม; เรียกร้องให้มีการคำนึงถึงต้นทุนจริงทั้งหมด, ป้ายราคาที่มีความซื่อสัตย์, ด่านภาษีชายแดน เพื่อปกป้องผู้ผลิต และคนงานในสหรัฐฯ จากการแข่งขันต่างประเทศที่ไม่เป็นธรรม จากประเทศที่ไม่ยอมรับรู้มูลค่าต้นทุนที่แท้จริง; ตั้งภาษีสินค้าคนรวยให้สูงกว่า รวมทั้งเก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ให้มากขึ้น; ส่งเสริมให้เกิดการแปรเปลี่ยนใหม่ๆ ในบรรษัทเพื่อการค้ากำไร และบรรษัททั่วไป; จัดให้มีการบริการสาธารณะ, สาธารณูปโภค (เช่น รถประจำทางมวลชน) และเครื่องอำนวยความสะดวก (เช่น ทางเดิน ทางเท้า) ที่มีคุณภาพสูง; มุ่งหน้าสู่ความเท่าเทียมและความมั่นคงทางสังคมและการเมืองมากยิ่งขึ้น; ทำการรณรงค์ด้านการตลาดเชิงการศึกษาและสังคม ที่ไม่เพียงแต่ให้ข้อมูลที่แม่นยำแก่ผู้บริโภค แต่ยังกล่าวถึงประเด็นที่ลึกล้ำกว่า เช่น ข้อด้อยของบริโภคนิยม; ส่งเสริมการบริโภคแบบแบ่งปัน, เช่า, และร่วมมือกัน แทนที่จะเป็นเจ้าของ (“ทำงานมากขึ้น, เป็นเจ้าของน้อยลง, เช่าสิ่งอื่นๆ”); โจมตีวัฒนธรรมที่สิ้นเปลืองและทิ้งขว้าง, การผลิตที่ตั้งใจให้สินค้าเสื่อมเสียง่าย ด้วยการเรียกร้องให้ผู้ผลิตรับคืนสินค้าเมื่อมันหมดประโยชน์การใช้งาน และออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความคงทน, ซ่อมง่าย, รวมทั้งปรับใช้กับบริบทอื่นได้; กำหนดกฎข้อบังคับเข้มงวดเกี่ยวกับ “สินเชื่อเงินด่วน”, ฉลามเงินกู้; และส่งเสริมการริเริ่มเพื่อขยับจุดยืนของมาตรฐานวัฒนธรรมที่ส่งเสริมบริโภคนิยม.

Two additional steps are essential. First, we need to put in place a set of new policies that will eliminate overwork and lead to a shorter work-year. Just as America legislated a forty-hour workweek, we can also legislate a thirty- to thirty-two-hour (or four-day) workweek. A take-back-your-time package of initiatives should also include measures to protect part-time workers and favor work sharing; guarantee longer, paid vacations; restrict the use of overtime; and provide for generous parental and caregiving leaves, worker sabbaticals, graduated retirement, and the option of early retirement. Allied with these measures should be support needed for non-income-generating “leisure” activities (continuing education, hobbies, recreation, family and community activities, politics, volunteering, music, the arts, reading, self-improvement, and so on).
ยังจำเป็นต้องมีอีกสองขั้น.  ขั้นที่หนึ่ง เราจำเป็นต้องวางนโยบายชุดใหม่ ที่จะขจัดการทำงานเกิน และนำไปสู่การทำงานน้อยลงในแต่ละปี.   ดังที่อเมริกาได้ออกกฎหมายให้ทำงานสัปดาห์ละ 40 ชั่วโมง, เราก็สามารถออกกฎหมายให้ทำงาน 30-32 ชั่วโมง (หรือ 4 วัน) ต่อสัปดาห์.   ชุดนโยบาย/การริเริ่ม “ทวงคืนเวลาของคุณ” ควรจะรวมมาตรการคุ้มครอง คนทำงานกึ่งเวลา และโน้มไปทางการแบ่งงานกันทำ; สร้างหลักประกันพักร้อนที่ยาวขึ้นและยังคงได้รับเงินเดือน; จำกัดการใช้มาตรการทำงานเกินเวลา; และจัดให้ได้ลางานได้สำหรับกิจเอื้ออารีเพื่อดูแลลูกและคนป่วยในครอบครัว, การพักผ่อนของคนงาน, การปลดเกษียณ, และทางเลือกปลดเกษียณก่อนเวลา.   ควบคู่กับมาตรการเหล่านี้ ควรมีการสนับสนุนที่จำเป็นสำหรับกิจกรรม “พักผ่อน บันเทิง” ที่ไม่ทำรายได้ (การศึกษาต่อเนื่อง, งานอดิเรก, สันทนาการ, กิจกรรมครอบครัวและชุมชน, การเมือง, งานอาสา, ดนตรี, ศิลปะ, การอ่านหนังสือ, การปรับปรุงตัวเอง, ฯลฯ)

Second, we must put advertising in its place, which should be a small place. Advertising is one of the world’s most pernicious businesses. In the United States, advertising expenditures grew from $60 billion a year in 1960 to $260 billion in 2004 (in 2003 dollars), or about half of total world spending on advertising that year. In 1983, at the behest of the Reagan administration, the Federal Communications Commission deregulated advertising to children on television. One year later, the ten best-selling toys all had ties to television programs. Between 1983 and 2011, marketing aimed at children swelled from a $100 million-a-year endeavor to a $17 billion-a-year juggernaut. The average child in the United States today sees twenty thousand commercials annually. Meanwhile, ads have invaded air travel, movie theaters, video games, comic books, postseason bowl games, public schools, universities, clothing, and popular songs. And that’s not all: “Wizmark’s ‘Interactive Urinal Communicator’ plays 10-second promotional messages to the ‘ever elusive targeted male audience you are constantly aiming for.’” The Internet is the largest segment, but “out-of-home” advertising now exceeds radio, newspaper, and magazine advertising combined. Finally, there is the advent reported in the April 23, 2011, issue of The Economist of “gladvertising” and “sadvertising:” “a rather sinister-sounding idea in which billboards with embedded cameras, linked to face-tracking software, detect the mood of each consumer who passes by, and change the advertising on display to suit it.”
ขั้นที่สอง, เราต้องควบคุมที่ทางของการโฆษณา, ซึ่งควรจะเป็นพื้นที่เล็กๆ.   โฆษณาเป็นหนึ่งในธุรกิจโลกที่อันตรายที่สุด.  ในสหรัฐฯ, ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเพิ่มจาก $60 พันล้าน/ปี ในปี 1960 (๒๕๐๓) ถึง $260 พันล้าน ในปี 2004 (๒๕๔๗), หรือประมาณครึ่งหนึ่งของเงินทั่วโลกที่จ่ายเพื่อโฆษณาในปีเดียวกัน.   ในปี 1983 (๒๕๒๖), ตามคำสั่งของรัฐบาลเรแกน, คณะกรรมาธิการการสื่อสารสหพันธ์ ได้ยกเลิกกฎควบคุมการโฆษณากับเด็กในโทรทัศน์.  หนึ่งปีต่อมา, ของเล่นที่ขายดีที่สุดสิบรายการ ล้วนผูกติดกับรายการทีวี.  ระหว่างปี 1983-2011, การตลาดพุ่งเป้าไปที่เด็กๆ เบ่งบวมจากกิจการ $100 ล้าน/ปี ไปเป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่ $17 พันล้าน/ปี.   โดยเฉลี่ย เด็กในสหรัฐฯ ทุกวันนี้ จะเห็นรายการโฆษณา 20,000 ครั้งต่อปี.   ในขณะเดียวกัน, การโฆษณาได้บุกรุกการเดินทางในอากาศ, โรงภาพยนตร์, วีดีโอเกม, หนังสือการ์ตูน, เกมฟุตบอลใหญ่ประจำปี (ช่วงหยุดยาวปีใหม่), โรงเรียนรัฐ, มหาวิทยาลัย, เสื้อผ้า, และเพลงยอดนิยม.   และนั่นยังไม่หมด: “อุปกรณ์ ควบคุมการปัสสาวะของวิสมาร์ก จะเปิดจิงเกิลโปรโมตสินค้า ทุกๆ 10 วินาที เพื่อให้ถูก เป้าหมายเพ้อฝันผู้ฟังชายที่คุณพยายามเล็งหา”.    อินเตอร์เน็ตเป็นพื้นที่ๆ ใหญ่ที่สุด, แต่ การโฆษณา “นอกบ้าน” ตอนนี้ มากเกินกว่าโฆษณาที่ผ่านวิทยุ, หนังสือพิมพ์, และแม็กกาซีนรวมกัน.   สุดท้าย การปรากฏตัวที่ถูกรายงานในวันที่ 23 เมษายน 2011 ในวารสาร Economist ฉบับ “gladvertising” and “sadvertising” มีความว่า: “ความคิดหนึ่งที่ค่อนข้างวิตถาร  คือ ป้ายโฆษณาใหญ่ ติดกล้องที่เชื่อมโยงกับโปรแกมคอมพิวเตอร์ที่จับสีหน้าคนได้, ตรวจจับอารมณ์ของผู้บริโภคแต่ละคนที่เดินผ่าน, และเปลี่ยนภาพที่กำลังแสดงบนโฆษณาอยู่ให้เข้ากัน”.

These folks show us no mercy, and we should return the favor. A good start would be a ban on advertising to children in grade school, as is now done in some Nordic countries and Quebec. We should also severely restrict out-of-home advertising, especially in schools. Vermont has made a strong start with its ban on highway billboards. It should be unlawful to circulate mail-order catalogues except on request. To ensure greater truthfulness and relevancy in advertising, a committee of the corporation’s directors should be required to attest to the accuracy and relevance of all claims in major ad campaigns, and accuracy and relevance should be closely policed by the appropriate federal agencies, with fines levied when appropriate. Television and radio should be required to make time available so that the public can challenge advertising pitches and commercialism generally, much as Adbusters and others now do. Finally, advertising costs should be disallowed as a business expense for tax purposes.
คนเหล่านี้ ไม่มีความเมตตาต่อพวกเราเลย, และเราควรจะตอบแทนพวกเขา.  จุดเริ่มต้นที่ดี จะเป็นการห้ามการโฆษณาต่อเด็กในโรงเรียนประถม, ดังที่ตอนนี้ได้บังคับใช้ ในบางประเทศนอร์ดิกและคิวเบก.   เราควรจะจำกัดการโฆษณานอกบ้านให้เข้มงวดขึ้น, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียน.  เวอร์มอนต์ ได้เริ่มต้นอย่างเข้มแข็งด้วยการห้ามตั้งป้ายกระดานโฆษณาขนาดใหญ่บนทางหลวง.   การส่งแคตาล็อกโฆษณาสั่งซื้อสินค้าทางไปรษณีย์ ควรทำให้เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ยกเว้นมีการขอไว้.   เพื่อทำให้แน่ใจว่ามีความซื่อสัตย์ ถูกต้องจริง และ มีสาระในการโฆษณา, คณะกรรมการผู้อำนวยการของบริษัท ควรจะต้องพิสูจน์ ความถูกต้องและความมีสาระสัมพันธ์กับข้ออ้างต่างๆ ที่ระบุในการโฆษณาต่างๆ,  และความถูกต้องและความมีสาระสัมพันธ์ ควรจะถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิดโดยหน่วยงานของสหพันธรัฐที่เหมาะสม, และตั้งค่าปรับตามความเหมาะสม.  โทรทัศน์และวิทยุ ควรถูกสั่งให้จัดสรรเวลา เพื่อสาธารณชนจะสามารถท้าทายสุ้มเสียงของการโฆษณาและพาณิชย์นิยมทั่วไป, เหมือนกับที่ “แอดบัสเตอร์” และคนอื่นๆ กำลังทำอยู่.  สุดท้าย, ต้นทุนในการโฆษณาควรไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อธุรกรรมเพื่อลดภาษี.

There is no magic bullet with which to slay consumerism, but measures like these will carry us a good distance toward that goal.
ไม่มีกระสุนวิเศษที่ฆ่าบริโภคนิยม, แต่มาตรการดังกล่าว จะช่วยพาให้พวกเราไปไกลสู่เป้าหมายนั้น.

James Gustave Speth is a professor at Vermont Law School and a Distinguished Senior Fellow at Demos, a nonpartisan public policy research and advocacy organization. His most recent book is, America the Possible: Manifesto for a New Economy. A former dean of the Yale School of Forestry & Environmental Studies, he also co-founded the Natural Resources Defense Council, was founder and president of the World Resources Institute, and served as administrator of the United Nations Development Programme. His previous books include: The Bridge at the Edge of the World: Capitalism, the Environment, and Crossing from Crisis to Sustainability and Red Sky at Morning: America and the Crisis of the Global Environment.
เจมส์ กุสตาฟ สเปธ เป็นศาสตราจารย์ที่ วิทยาลัยกฎหมายเวอร์มอนต์ และเป็นบัณฑิตอาวุโสที่ เดโมส์, องค์กรวิจัยและสนับสนุนนโยบายสาธารณะ ที่ไม่ฝักใฝ่พรรคใด.   หนังสือล่าสุดของเขา, “อเมริกาที่เป็นไปได้: แถลงการณ์สำหรับเศรษฐกิจใหม่”.   เขาเป็นอดีตคณบดีของคณะป่าไม้และสิ่งแวดล้อมศึกษาที่มหาวิทยาลัยเยล, ได้ร่วมก่อตั้ง สภาปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ, เป็นผู้ก่อตั้งและประธานของ สถาบันทรัพยากรโลก, และเคยเป็นผู้บริหารของ UNDP.   หนังสือเล่มก่อนๆ: “สะพานที่ขอบโลก: ทุนนิยม, สิ่งแวดล้อม, และการก้าวข้ามจากวิกฤตสู่ความยั่งยืน” และ “ฟ้าสีแดงตอนเช้า: อเมริกาและวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก”.

Published on Monday, September 10, 2012 by Common Dreams

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น