วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

74. ความโลภมาจากไหน? ... ระบบการเงินโลกกระจุกตัวอิงเทคโนโลยี


Three Big Lies Perpetuated by the Rich
-          Paul Buchheit
โป้ปด ๓ ประการ สร้างภาพโดยคนรวย
-          พอล บุชเชต์

When it comes to the economy, too many Americans continue to be numbed by the soothing sounds of conservative spin in the media. Here are three of their more inventive claims:
พอพูดถึงเศรษฐกิจ  ชาวอเมริกันมากเกินยังคงต้องมนต์สะกดจากเสียงกล่อมของฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่ปั่นผ่านสื่อ    นี่คือ สาระการโป้ปด ๓ ประการที่พวกเขาประดิษฐ์ขึ้น

1.       Higher taxes on the rich will hurt small businesses and discourage job creators
การเก็บภาษีมากขึ้นในหมู่คนรวย จะทำร้ายธุรกิจขนาดเล็ก และทำให้ผู้สร้างงานหมดกำลังใจ

 A recent Treasury analysis found that only 2.5% of small businesses would face higher taxes from the expiration of the Bush tax cuts.
การวิเคราะห์จากฝ่ายการคลังเมื่อเร็วๆ  นี้ พบว่า มีธุรกิจขนาดเล็กเพียง 2.5% ที่จะเผชิญกับปัญหาการเก็บภาษีสูงขึ้น หลังจากมาตรการลดภาษีของบุชหมดอายุลง

 As for job creation, it's not coming from the people with money. Over 90% of the assets owned by millionaires are held in a combination of low-risk investments (bonds and cash), the stock market, real estate, and personal business accounts. Angel investing (capital provided by affluent individuals for business start-ups) accounted for less than 1% of the investable assets of high net worth individuals in North America in 2011. The Mendelsohn Affluent Survey agreed that the very rich spend less than two percent of their money on new business startups.
ส่วนเรื่องการสร้างงาน  มันไม่ได้มาจากคนที่มีเงินมาก   กว่า 90% ของทรัพย์สินที่อยู่ในกรรมสิทธิ์ของเศรษฐีเงินล้าน  ถูกผูกติดกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ (พันธบัตร/หุ้นกู้ และเงินสด)  ตลาดหุ้น  อสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจส่วนตัว   การลงทุนเทวดา (คนร่ำรวยให้ทุนส่วนตัวเพื่อการริเริ่มธุรกิจใหม่) มีน้อยกว่า 1% ในทรัพย์สินที่ลงทุนได้ของคนรวยในอเมริกาเหนือ ในปี 2011    ผลการสำรวจคนรวยแมนเดลสัน ยืนยันว่า คนรวยมากๆ ใช้จ่ายเงินของพวกเขาน้อยกว่า 2% เพื่อเริ่มกิจการใหม่ๆ

The Wall Street Journal noted, in way of confirmation, that the extra wealth created by the Bush tax cuts led to the "worst track record for jobs in recorded history."
วารสารวอลล์สตรีทระบุเชิงยืนยัน ว่า ความมั่งคั่งที่ก่อเกิดขึ้นจากมาตรการลดภาษีของบุช ได้นำไปสู่ “การสร้างงานที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์”

2.       Individual initiative is all you need for success.
การริเริ่มระดับปัจเจก เป็นสิ่งเดียวที่จำเป็นที่จะนำพาสู่ความสำเร็จ

 President Obama was criticized for a speech which included these words: "If you've been successful, you didn't get there on your own...when we succeed, we succeed because of our individual initiative, but also because we do things together."
ประธานาธิบดีโอบามา ถูกวิจารณ์เมื่อเขาใช้คำพูดเหล่านี้ในสุนทรพจน์ “หากคุณเคยประสบความสำเร็จมาแล้ว คุณไม่ได้ไปถึงจุดนั้นด้วยตัวคุณเอง...เมื่อเราสำเร็จ  เราสำเร็จเพราะความริเริ่มระดับปัจเจกของเรา แต่ยังเพราะเราทำงานด้วยกันด้วย”

'Together' is the word that winner-take-all conservatives seem to forget. Even the richest and arguably most successful American, Bill Gates, owes most of his good fortune to the thousands of software and hardware designers who shaped the technological industry over a half-century or more. A careful analysis of his rise shows that he had luck, networking skills, and a timely sense of opportunism, even to the point of taking the work of competitors and adapting it as his own.
คำว่า “ด้วยกัน” เป็นคำที่พวกอนุรักษ์นิยม—ผู้ชนะโกยหมด—ดูเหมือนจะลืมไปแล้ว   แม้แต่คนที่ร่ำรวยที่สุดและอาจกล่าวได้ว่า เป็นชาวอเมริกันที่ประสบความสำเร็จสูงสุด บิล เกตส์  โชคลาภส่วนใหญ่อันมหาศาลของเขา ก็เป็นหนี้ต่อนักออกแบบซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์นับพัน ที่สร้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ในช่วงเวลากว่ากึ่งศตวรรษหรือมากกว่านั้น   เมื่อวิเคราะห์ความรุ่งเรืองของเขาอย่างถี่ถ้วน จะเห็นว่า เขามีโชค ทักษะในการสร้างเครือข่าย และรู้กาลเทศะในการฉวยโอกาส  ถึงขั้นชิงงานของคู่แข่ง และปรับให้กลายเป็นผลงานของเขาเอง

Gates was preceded by numerous illustrious Americans who are considered individual innovators when in fact they used their skills to build upon the work of others. On the day that Alexander Graham Bell filed for a patent for his telephone, electrical engineer Elisha Gray was filing an intent to patent a similar device. Both had built upon the work of Antonio Meucci, who didn't have the fee to file for a patent. Thomas Edison's incandescent light bulb was the culmination of almost 40 years of work by other fellow light bulb developers. Samuel Morse, Eli Whitney, the Wright brothers, and even Thomas Edison had, as eloquently stated by Jared Diamond, "capable predecessors...and made their improvements at a time when society was capable of using their product."
ก่อนหน้า  เกตส์ มีชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากมาย ที่นับได้ว่าเป็นบุคลากรนักนวัตกรรม  ซึ่งแท้จริง พวกเขาใช้ทักษะต่อยอดจากงานของคนอื่น    ในวันที่ อเล็กซานเดอร์ แกรแฮม เบลล์ ยื่นขอสิทธิบัตรสำหรับโทรศัพท์ของเขา  วิศวกรไฟฟ้า เอลิชา เกรย์ ก็กำลังยื่นคำร้องแสดงความจำนงที่จะจดสิทธิบัตรในเครื่องประดิษฐ์คล้ายคลึงกัน    ทั้งคู่ต่อยอดจากผลงานของ แอนโทนิโอ มูซซี ผู้ไม่มีเงินพอที่จะจ่ายค่าจดสิทธิบัตร    ดวงไฟฟ้าของ โทมัส เอดิสัน เป็นการรวบยอดผลงานของนักพัฒนาหลอดไฟฟ้าอื่นๆ ในช่วงเวลาเกือบ 40 ปี    ซามูเอล มอร์ส   เอลไล วิทนีย์  พี่น้องตระกูลไรท์ และแม้แต่ โทมัส เอดิสัน ล้วนมี “คนเก่งที่เดินทางนี้มาก่อน...และพวกเขาก็ทำการปรับปรุงในจังหวะเวลาที่สังคมเก่งพอที่จะใช้ผลผลิตของพวกเขา” ดังที่ จาเรด ไดมอนด์  กล่าวได้อย่างคมคาย

If anything, it's harder than ever today to ascend through the ranks on one's own. As summarized in the Pew research report "Pursuing the American Dream," only 4% of those starting out in the bottom quintile make it to the top quintile as adults, "confirming that the 'rags-to-riches' story is more often found in Hollywood than in reality."
ทุกวันนี้ มันยากยิ่งขึ้นที่จะไต่ขึ้นขั้นด้วยตัวเอง   ดังที่สรุปไว้ในรายงานวิจัยพิว “ไล่ล่าฝันอเมริกัน” ว่า มีเพียง 4% ของกลุ่มคน 25% ในระดับล่าง ที่สามารถไต่เต้าขึ้นถึงกลุ่มระดับยอด 25% ในฐานะผู้ใหญ่  “ยืนยันว่า นิทาน จากผ้าขี้ริ้วสู่เศรษฐี เป็นเรื่องที่พบในฮอลลีวูด มากกว่าในชีวิตจริง”

3.       A booming stock market is good for all of us
ความรุ่งเรืองของตลาดหุ้น เป็นสิ่งดีสำหรับพวกเราทุกคน

The news reports would have us believe that happy days are here again when the stock market goes up. But as the market rises, most Americans are getting a smaller slice of the pie.
รายงานข่าวต่างๆ ต้องการให้เราเชื่อว่า วันแห่งความสุขสันต์จะกลับมาอีกครั้ง เมื่อตลาดหุ้นลอยสูงขึ้นด้วยปัจจัยบวก   แต่ในขณะที่ตลาดพุ่งสูงขึ้น  ชาวอเมริกันส่วนใหญ่กลับได้พายชิ้นเล็กลง

In a recent Newsweek article, author Daniel Gross gushed that "The stock market has doubled since March 2009, while corporate profits and exports have surged to records."
ในบทความไม่นานมานี้ของนิวส์วีค  ผู้เขียน แดเนียล กรอส พ่นว่า “ตลาดหุ้นเพิ่มสองเท่าตัวตั้งแต่ มีนาคม 2009 ในขณะที่กำไรและการส่งออกของบริษัทพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์”

But the richest 10% of Americans own over 80% of the stock market. What Mr. Gross referred to as the "democratization of the stock market" is actually, as demonstrated by economist Edward Wolff, a distribution of financial wealth among just the richest 5% of Americans, those earning an average of $500,000 per year.
แต่ชาวอเมริกันรวยที่สุด 10% เป็นเจ้าของตลาดหุ้นกว่า 80%   สิ่งที่คุณกรอสอ้างว่า เป็น “การทำให้ตลาดหุ้นมีความเป็นประชาธิปไตย” แท้จริง—ดังที่นักเศรษฐศาสตร์ เอ็ดเวิร์ด วูล์ฟ ได้สาธิตไว้—เป็นการกระจายความมั่งคั่งทางการเงินในหมู่ชาวอเมริกันที่ร่ำรวยที่สุดเพียง 5% นั่นคือ พวกที่มีรายได้เฉลี่ย $500,000 (๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท) ต่อปี

Thanks in good part to a meager 15% capital gains tax, the richest 400 taxpayers DOUBLED their income and nearly HALVED their tax rates in just seven years (2001-2007). So dramatic is the effect that anyone making more than $34,500 a year in salary and wages is taxed at a higher rate than an individual with millions in capital gains.
อันนี้ต้องขอบคุณภาษีอันน้อยนิดเพียง 15% ที่เรียกเก็บจากการเพิ่มของทุน (มูลค่าหุ้น?)  ผู้เสียภาษีที่ร่ำรวยที่สุด 400 คน ได้รับรายได้เพิ่มเป็นสองเท่า และได้รับการลดอัตราภาษีลงเกือบครึ่ง ภายในเวลาเพียงเจ็ดปี (2001-2007).  มันช่างผาดโผนมากในเชิงผลกระทบที่ว่า ใครก็ตามที่ทำเงินมากกว่า $34,500 (๑,๐๓๕,๐๐๐ บาท) ทั้งเงินเดือนและค่าแรง จะถูกเรียกเก็บภาษีสูงกว่าบุคคลที่ได้รับรายได้เพิ่มจากทุน (ค่าหุ้น?) นับล้าน

There's yet more to the madness. The stock market has grown much faster than the GDP over the past century, which means that this special tax rate is being given to people who already own most of the unearned income that keeps expanding faster than the productiveness of real workers.
ยังมีเรื่องบ้าๆ อีกมาก   ตลาดหุ้นได้ขยายตัวเร็วกว่าจีดีพีมากในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งหมายความ เจ้าอัตราภาษีพิเศษตัวนี้ ได้จัดสรรให้แก่เหล่า “เสือนอนกิน” ที่เอาแต่ขยายตัวเร็วกว่าผลิตภาพแท้จริงของคนทำงานตัวจริง

And one fading illusion: People in the highest class are people of high class.
และอีกหนึ่งมายาภาพที่กำลังเลือนราง : คนในชนชั้นสูงสุด เป็นคนชั้นสูง

Scientific American and Psychological Science have both reported that wealthier people are more focused on self, and have less empathy for people unlike themselves.
ทั้ง อเมริกันวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์จิตวิทยา ต่างรายงานว่า คนที่มั่งคั่งกว่า ล้วนเพ่งเล็งที่ตัวเอง และมีความเห็นอกเห็นใจน้อยต่อคนที่ต่างจากตน

This sense of self-interest, according to a study published in the Proceedings of the National Academy of Sciences and other sources, promotes wrongdoing and unethical behavior.
ความรู้สึกที่สนใจแต่เรื่องของตนเอง ตามการศึกษาที่พิมพ์ใน เอกสารประกอบการประชุม วิทยาศาสตร์อุดมศึกษาแห่งชาติ และแหล่งอื่นๆ ส่งเสริมพฤติกรรมกระทำผิดและมิชอบทางจริยธรรม

Can't help but think about bankers and hedge fund managers.
ช่วยไม่ได้ ที่จะคิดถึง บรรดานายธนาคารและพรานเก็งกำไรจากความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ

Paul Buchheit is a college teacher, an active member of US Uncut Chicago, founder and developer of social justice and educational websites (UsAgainstGreed.org, PayUpNow.org, RappingHistory.org), and the editor and main author of "American Wars: Illusions and Realities" (Clarity Press). He can be reached at paul@UsAgainstGreed.org.
พอล บุชเชต์ เป็นอาจารย์วิทยาลัย เป็นสมาชิกที่แข็งขันของ US Uncut Chicago  ผู้ก่อตั้งและพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อการศึกษาและสังคมเป็นธรรม (UsAgainstGreed.org, PayUpNow.org, RappingHistory.org) และเป็นบรรณาธิการ และผู้เขียนเอกของ “สงครามอเมริกัน : มายาคติ และ ความเป็นจริง” (Clarity Press)  ติดต่อเขาได้ที่ paul@UsAgainstGreed.org

Published on Monday, July 23, 2012 by Common Dreams
ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น