วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

63.1 พลังชีวิตจักรวาล ตอน ๑


A Guide to the Macrobiotic Principles
by Verne Varona
แนวทางสู่หลักการพลังชีวิตจักรวาล (แมคโครไบโอติค)
โดย เวอน วาโรนา




                                                 Natural Laws of Life and Change               
กฎธรรมชาติแห่งชีวิตและการเปลี่ยนแปลง


Introduction
เกริ่นนำ
The principle without the technique is useless,
the technique without the principle is dangerous.
— George Ohsawa

หลักการที่ปราศจากเทคนิค... ไร้ประโยชน์
เทคนิคที่ปราศจากหลักการ... อันตราย
                                                                                -ยอร์ช โอฮะซาวะ-

I've always felt like a closet cult member telling someone that, "I'm macrobiotic." I could have said: "Hi, I'm part of the "Humu-Humu clan," and it really wouldn't have made any difference.
ผมรู้สึกคล้ายเป็นสมาชิกของลัทธิลึกลับคนหนึ่ง เมื่อผมบอกบางคนว่า “ผมเป็นแมคโครไบโอติค (ชาวพลังชีวิตจักรวาล)”   ผมอาจพูดว่า “สวัสดีครับ ผมมาจากตระกูล ฮูมู ฮูมู ครับ”  และก็คงไม่ทำให้คนฟังรู้สึกต่างไป

The general consensus about macrobiotics is that it's a debilitating vegetarian diet followed by food fanatics who end up anemic, frighteningly lean and blisteringly arrogant. They think they have answers for everything, do a lot of chewing and speak in a language exclusively their own. And, nothing could be further from the truth. Well, on second thought...there might be some truth there.
ดูเหมือนคนส่วนใหญ่มองเหมือนกันว่า พลังชีวิตจักรวาล เป็นเรื่องของการควบคุมอาหารด้วยการกินผักที่ทำให้ร่างกายอ่อนกำลังลง แล้วก็ตามด้วยพวกคลั่งอาหารที่ลงท้ายด้วยโลหิตจาง ผ่ายผอมอย่างน่ากลัว และผยองพองลมด้วยความอหังการ์     พวกเขาคิดว่า ตัวเองมีคำตอบสำหรับทุกสิ่ง  มักขบเคี้ยวอยู่เรื่อย และพูดภาษาที่ตัวเองเข้าใจแต่ผู้เดียว   และไม่มีอะไรจะเป็นจริงไปกว่านั้น   เอาหล่ะ มาคิดอีกที...อาจเป็นจริงมั่งนะ

Most people are grossly misinformed about the meaning of macrobiotics. Books from the mid-50's still in print make the outrageous claim that the most common debilitating diseases can be cured in ten days by exclusively eating brown rice.
คนส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลผิดๆ มากมายเกี่ยวกับความหมายของพลังชีวิตจักรวาล   หนังสือที่ออกเผยแพร่ตั้งแต่กลางทศวรรษ 50's (ก่อน และหลัง พ.ศ.๒๔๙๓)  ยังพิมพ์อยู่ ได้กล่าวอ้างเกินตัวว่า โรคสามัญที่ทำให้อ่อนกำลังลง สามารถรักษาได้ใน ๑๐ วัน ด้วยการกินแต่ข้าวกล้อง

This really doesn't help the issue. We're told that it was a translation problem, that the word cure really meant to "change the direction of" as in to move toward a healthier direction, but this is not spelled out. To new ears, the claims and excessive dietary emphasis in most macrobiotic books seems a bit over-the-top and one sided. In this author's opinion, it is.
อันนี้ไม่ได้ช่วยให้เข้าใจเลย   พวกเราได้รับคำอธิบายว่า มันเป็นปัญหาของการแปล  ว่าคำว่า รักษา แท้จริงหมายถึง “การเปลี่ยนทิศทางของ” ดั่งการเคลื่อนสู่ทิศทางที่มีอนามัย แข็งแรง สมบูรณ์กว่า  แต่อันนี้ ไม่ได้ขยายความให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจน    สำหรับหูที่ได้ยินคำนี้เป็นครั้งแรก การอ้าง และการควบคุมอาหารที่เข้มงวดอย่างที่เน้นหนักในหนังสือ พลังชีวิตจักรวาลต่างๆ ดูเหมือนจะโม้มากและเอียงไปข้างหนึ่งไปหน่อย  ในความเห็นของผู้เขียนคนนี้  มันเป็นเช่นนั้นจริง

The "suggested dietary recommendations" pie-plate template advises 50—60% of dietary fare consist exclusively of whole grain, which for a western culture (whose idea of whole grain is bread and crackers), seems foreign, impractical and, considering common tastes, agonizingly bland.
กราฟ “โภชนาการแนะนำ” ระบุว่า ในแผนโภชนาการ ให้มีธัญพืช (ซ้อมมือ) 50—60% ซึ่งสำหรับวัฒนธรรมตะวันตก (ที่ในหัวจะคิดถึงแต่ขนมปังและขนมปังกรอบ) ฟังดูประหลาด ทำไม่ได้ และเมื่อเทียบกับรสชาดที่เคยชิน  ทำให้รู้สึกว่า มันช่างจืดชืดเหลือทน

Yes, you can chew until your eyes cross and whole grains do become slightly sweeter, but this is a matter of established sensitivity more common to long time grain eaters. Between those that have zero interest in macrobiotics and those that are just itching to leap into a strict regime, there's a whole population of individuals in need a gradual transitional approach.
ถูกต้อง  คุณสามารถเคี้ยวจนตาคุณเหล่ และคุณรู้สึกรสของธัญพืชซ้อมมือว่า เออ มันก็หวานนะ   แต่นี่เป็นการทำให้คุณมีความละเอียดอ่อน ซึ่งเป็นเรื่องสามัญสำหรับพวกที่กินเม็ดธัญพืชมานาน    ในระหว่างพวกที่ไม่สนใจเรื่องพลังชีวิตจักรวาลเลยแม้แต่น้อย และพวกที่รู้สึกคันๆ อยากโดดเข้าร่วมการคุมอาหารอย่างเข้มงวดนี้ ยังมีประชากรอีกกลุ่มใหญ่ ที่ต้องการแนวทางค่อยเป็นค่อยไป

Beyond all the dietary writings of macrobiotics, the cookbooks, the food products, the disease-reversing claims and the general pre-occupation with healing, are some sound principles that have been ignored or misunderstood. I often explain macrobiotics to be a philosophy of dynamic living.
เหนือกว่าบทความโภชนาการพลังชีวิตจักรวาลทั้งหลาย  หนังสือประกอบอาหาร  ผลิตภัณฑ์อาหาร  ข้ออ้างทั้งหลายว่า ต้านโรคได้ และการหมกมุ่นอยู่กับการรักษาเยียวยาโรค ล้วนเป็นหลักการดีที่มักถูกมองข้าม หรือเข้าใจผิด  ผมมักจะอธิบาย พลังชีวิตจักรวาล ว่าเป็นปรัชญาของการดำรงชีพอย่างมีพลวัต (มีพลัง กระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า ...)

It provides foundational information about how we can better care for ourselves and recover from many debilitating conditions, achieve greater mental clarity, develop greater intuitive perception and help us to reframe the way we look at life.
มันให้ข้อมูลพื้นฐานให้เรารู้ว่า จะดูแลตัวเองให้ดีขึ้นได้อย่างไร และฟื้นฟูสุขภาพตัวเองให้หายจากภาวะอ่อนเปลี้ยหลายๆ ประเภทได้อย่างไร  ให้มีจิตใจ หัวคิดที่แจ่มใสยิ่งขึ้น  พัฒนาสัญชาตญาณและการหยั่งรู้ให้มากขึ้น และช่วยให้เราเปลี่ยนมุมมองชีวิตได้อย่างไร

The principles of macrobiotic philosophy are essentially, Natural Laws of Life and Change, common to many religions and spiritual movements. Once the insight from these principles is grasped, it can help make our lives more meaningful, adventurous and amusing—unless you're married to your E-Z chair.
แก่นของหลักการของปรัชญาพลังชีวิตจักรวาล คือ กฎธรรมชาติแห่งชีวิตและการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นเรื่องสามัญในหลายๆ ศาสนา และขบวนการทางจิตวิญญาณต่างๆ    เมื่อไรที่ซึมซับแจ่มแจ้งในหลักการเหล่านี้ได้ มันจะช่วยให้เราดำรงชีวิตได้อย่างมีความหมายมากขึ้น กล้าที่จะผจญภัยแสวงหา และสนุกกับชีวิต—หากคุณไม่ได้แต่งงานกับเก้าอี้ E-Z (เล่นคำ จากเสียงหมายถึง “มักง่าย” หรือ เก้าอี้หลังยาว)

On the back of many macrobiotic magazines in the early 1970s was a list of "macrobiotic principles and theorems" that always seemed intriguing, yet were abstractly described. The odd times these principles and theorems were written about, usually failed to offer a simple, non-jargoned explanation of their meaning and application.
ที่หลังปกแม็กกาซีนพลังชีวิตจักรวาล ในต้นทศวรรษ 1970 (พ.ศ.๒๕๑๓) มักจะมีรายการ “หลักการและทฤษฎีพลังชีวิตจักรวาล / แมคโครไบโอติค” ที่ดูน่าสนใจ แต่มักอธิบายเป็นนามธรรมเหลือเกิน    ส่วนใหญ่ที่เขียนไว้ มักจะล้มเหลวด้วยไม่สามารถใช้คำพูดง่ายๆ ไม่ใช้ศัพท์เทคนิคที่หนักหัว ในการอธิบายถึงความหมายและการประยุกต์ใช้

Typically, they were cryptically described in archaic Asian phrasing, as well as in terms better known to physics majors. Many of these principles have become new age philosophical colloquialisms; adages that roll off the lips of many, but seem to be understood by few.
ส่วนใหญ่จะอธิบายอย่างกำกวม ใช้ทับศัพท์คำเอเชีย ตลอดจนใช้คำที่พวกที่เรียนเอกฟิสิกส์เท่านั้น ที่จะเข้าใจได้    หลักการเหล่านี้ หลายข้อ ได้กลายเป็นวาทะกรรมเชิงปรัชญาของพวกยุคใหม่ (new age) เป็นคำพังเพยที่ไหลผ่านริมฝีปากของหลายคน แต่ไม่กี่คนที่เข้าใจได้

Over the years, from study and life experience, I began to witness them at work in my personal and professional life. These sagely whisperings from traditional cultures command observation and respect. Their roots extend far beyond the writings and musings of Ohsawa, Aihara and Kushi.
ในช่วงปีที่ผ่านมา จากการศึกษาและจากประสบการณ์ชีวิต ผมได้เริ่มเห็นว่า หลักการพลังชีวิตจักรวาล/แมคโครไบโอติค เหล่านั้น เริ่มทำงาน ในชีวิตส่วนตัวและวิชาชีพของผม    ข้อความดั่งเสียงกระซิบของปราชญ์จากวัฒนธรรมดั้งเดิมต่างๆ ทำให้เราต้องตั้งใจสังเกตและให้ความเคารพ   รากเหง้าของหลักการเหล่านั้น ยาวไปไกลเกินกว่าบทเขียนและการครุ่นคิดของ โอฮะซาวะ ไอฮาระ และ คูชิ

In these principles, you can hear the echos of the Old and New Testament, of Talmudic scholars, Buddhistic precepts and essential Taoism, as well as the inspirational works of Lao Tzu, Ishizuka, Kibara, Hufeland, Gurdjieff, Ouspensky, Russell, and so many more that share credit for their existence.
ในหลักการเหล่านี้ คุณจะได้ยินเสียงสะท้อนของพระคัมภีร์ไบเบิลที่ฉบับเก่าและฉบับใหม่  ของบัณฑิตทัลมูดิก  ศีลในศาสนาพุทธ และที่สำคัญลัทธิเต๋า ตลอดจนผลงานบันดาลใจของ เล่าจื่อ   อิชิซูกะ  คิบาระ  ฮูฟแลนด์  Gurdjieff, อูเปนสกี้  รัสเซล และคนอื่นๆ อีกมากมายที่มีส่วนพึงได้รับการยกย่องว่ามีคุณูปการด้วย

The evident repetition of these principles, over a span of time, makes them distinctively universal, because their core teachings all lead to the same lesson; that God, nature, the Universe and all aspects of creation are simply, One.
การพูดย้ำซ้ำซากที่เห็นชัดในหลักการเหล่านี้  ในห้วงเวลาหนึ่ง  ทำให้มันกลายเป็นสากล เพราะแก่นของคำสอนทั้งหมด ล้วนนำไปสู่บทเรียนเดียวกัน ที่ว่า พระเจ้า ธรรมชาติ จักรวาล และ การสรรสร้างทั้งปวง แท้จริงคือ หนึ่งเดียว

In several interviews recently, I've used the term, "Macrobiotic Principles," explaining that I'd rather say I'm attempting to live by macrobiotic principles than simply label myself as "macrobiotic." Subsequently, a number of emails called me to task to elaborate.
ในการสัมภาษณ์เมื่อเร็วๆ นี้ ผมใช้คำว่า “หลักการแมคโครไบโอติค/พลังชีวิตจักรวาล”  และอธิบายว่า  ผมขอพูดว่า ผมพยายามดำรงชีวิตตามวิถีแมคโครไบโอติค/พลังชีวิตจักรวาล แทนที่จะเพียงติดป้ายตัวเองว่า เป็น พวกแมคโครไบโอติค   ผลคือ มีคนส่งอีเมลถึงผมมากมาย ขอให้ผมอธิบายเพิ่ม

Before you are 30 macrobiotic principles. The payoff for learning these principles and being able to identify them, is the gift of living a great life (macro = great / bios = life).
ก่อนที่คุณจะเข้าถึงหลักการ ๓๐ ประการของแมคโครไบโอติค   สิ่งที่คุณต้องจ่ายเพื่อเรียนรู้หลักการ และให้สามารถระบุมันได้ คือ รางวัลของการดำรงชีวิตที่ยิ่งใหญ่ (แมคโคร = ยิ่งใหญ่ และ ไบโอส์ = ชีวิต)

Thirty principles, a great life...not a bad deal. Off-the-cuff, here they are:
หลักการ ๓๐ ประการ  ชีวิตที่ยิ่งใหญ่...เป็นการต่อรองที่ไม่เลวทีเดียว    อยู่นี่แหละ...

1.     Everything Changes
สรรพสิ่งย่อมแปรเปลี่ยน
2.    Nothing is Identical
ไม่มีอะไรเหมือนกันหมด
3.     What Has A Beginning, Has An End
มีเริ่ม ก็มีดับ
4.     Everything in the Extreme, Changes to its Opposite
สรรพสิ่งเมื่อถึงสุดขั้วหนึ่ง จะเปลี่ยนไปขั้วตรงข้าม
5. All Polarities Are Complementary, Yet Antagonistic
ขั้วต่างๆ ล้วนเกื้อกูลกัน แต่ก็ปรปักษ์กัน
6. Opposites Attract, Like Repels Like
สิ่งที่ตรงข้ามกัน ดึงดูดเข้าหากัน   เหมือนขับไล่เหมือน
7. Healing Is a Body, Mind, Spirit Paradigm.
การเยียวเป็นกระบวนทัศน์ที่รวม กาย ใจ และจิตวิญญาณ
8. One Grain, Ten Thousand
เมล็ดเดียว  เป็นหมื่น
9. Vivero Parvo - "Take the Minimum Required"
เอาเท่าที่จำเป็นน้อยที่สุด (รู้จักความพอเพียง)
10. "Mea Culpa" ("My Fault.")
“ความผิดของฉันเอง”
11. Make Friends Everywhere
ผูกมิตรในทุกที่
12. Every Front Has a Back
ทุกด้านหน้า มีด้านหลัง
13. The Bigger the Front, the Bigger the Back
ด้านหน้าใหญ่ขึ้น  ด้านหลังก็ใหญ่เพิ่มด้วย
14. Respect Your Elders
จงเคารพผู้อาวุโสของคุณ
15. Embody Active Gratitude
จงมีความกตัญญูกตเวที
16. Ecology
นิเวศวิทยา
17. Self-Challenge
ท้าทายตัวเอง
18. Cultivate A Sense Of Humor
บ่มเพาะอารมณ์ขัน
19. Non- Credo (Do Not Believe)
ไม่เชื่อง่าย
20. Growth is Spirallic, Not Linear
การเติบโต ขยายตัวเป็นวัฏจักรเกลียว ไม่ใช่เส้นตรง
21. Seek Significance
จงแสวงหาความหมาย นัยสำคัญแห่งชีวิต
22. Cultivate Intuition
จงบ่มเพาะสัญชาติญาณ

MACROBIOTIC PRINCIPLES RELATING TO FOOD
หลักการพลังชีวิตจักรวาล ที่เกี่ยวกับอาหาร

23. Select Local Foods
จงเลือกจากพืชในท้องถิ่น
24. Categorize Foods into Principle & Secondary & Pleasure
จงแยกเป็นประเภท อาหารหลัก อาหารรอง และอาหารเพื่อความเพลิดเพลิน
25. Digestion Begins in the Mouth
การย่อยเริ่มในปาก
26. Be Mindful of Acid & Alkaline Properties in Food
จงมีสติรู้คุณสมบัติกรด และ ด่าง ในอาหาร
27. Use the Five Tastes, Textures and Colors in Food Preparation
จงใช้รสชาดทั้งห้า   ความหยาบ/ละเอียด และสีที่หลากหลาย ในการประกอบอาหาร
28. Avoid Late Night Eating
หลีกเลี่ยงการกินยามค่ำคืน
29. Quantity Changes Quality
ปริมาณเปลี่ยนแปลงคุณภาพ
30. Learn Food Preparation Fundamentals
จงศึกษาพื้นฐานการประกอบอาหาร



1. Everything Changes
๑. สรรพสิ่งย่อมแปรเปลี่ยน

Surely, you know this... but it's worth repeating: Everything Changes. The condition of our health, physical tension and emotional conflicts are constantly changing. Everything is temporary, so nothing really remains stable; Whether it be in regard to structure, tendency or function, Everything Changes . This is an axiom. In nature, things are growing, or in a state of decay. Our friendships, work, passions, moods, fashion, good fortune, bad fortune, philosophies—anything else you can think of—are all subject to the cycle of change. Bank on it.
The Life Cycle itself is one of the most dramatic Law of Change illustrations. A tiny seed, compact and full of life, grows a sprout, which continues to expand and grow upward until it reaches its limit, at which time it turns to seed. Then, the seeds drop to the ground and the cycle is repeated.
เชื่อแน่ว่าคุณรู้แล้ว แต่มันก็มีค่าพอที่จะพูดซ้ำ  สรรพสิ่งย่อมแปรเปลี่ยน    ภาวะสุขภาพของเรา การเกร็ง ความเครียด และอารมณ์ขัดแย้ง เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา    สรรพสิ่งอยู่เพียงชั่วขณะ ดังนั้นไม่มีอะไรที่อยู่ยงคงกระพันจริงๆ   ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้าง แนวโน้ม หรือ การทำงาน   ทุกอย่างแปรเปลี่ยน   นี่เป็น กฎที่ทุกคนยอมรับ   ในธรรมชาติ สิ่งต่างๆ กำลังเติบโต หรืออยู่ในภาวะเน่าเปื่อย    มิตรภาพของเรา  การงาน  ความฝักใฝ่  อารมณ์  แฟชั่น  โชคดี  โชคร้าย  ปรัชญา—อะไรก็ได้ที่คุณนึกออก—ล้วนอยู่ในวัฏจักรของการเปลี่ยนแปลง   วงจรชีวิตเอง ก็เป็นภาพประกอบหนึ่งของกฎแห่งการแปรเปลี่ยน ที่ตื่นตาตื่นใจมากที่สุด   เมล็ดกระจิดลิด กระชับแน่น และเต็มไปด้วยชีวิต งอกงามเป็นต้นอ่อน ที่เจริญเติบโตสูงขึ้นต่อไปเรื่อยๆ จนถึงขอบเขตจำกัด ก็จะผลิตเมล็ด   แล้วเมล็ดก็หล่นลงดิน และวงจรชีวิตก็เริ่มต้นใหม่อีก

Life is full of such cycles. The Moisture Cycle is another example: The heat of the sun causes water to evaporate and rise. When it reaches the limit of its ascent it condenses and it's heaviness, as rain, brings it falling back to earth. Mountains change into sand misfortune into fortune, ideas change into creation. The arms of the law of change have infinite reach.
ชีวิตเต็มไปด้วยวัฏจักรเหล่านี้    วัฏจักรของความชื้นเป็นอีกตัวอย่าง  ความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำให้น้ำระเหย และลอยตัวขึ้นสูง   เมื่อมันลอยถึงขอบเขตจำกัด มันก็กลั่น/รวมตัว และน้ำหนักของมันเอง ทำให้ตกลงมาเป็นฝน ตกกลับลงมาสู่แผ่นพิภพ    ภูเขาเปลี่ยนเป็นทราย   โชคร้ายเป็นโชคดี  ความคิดเปลี่ยนไปเป็นการสร้างสรรค์   แขนของกฎแห่งการแปรเปลี่ยนยื่นยาวไปไม่มีที่สิ้นสุด

Everything in our life, at any time, is subject to change. Now, doesn't that irritate you? This means we coexist with instability. Constantly. So, you cannot really control anything. Attempting to control things (something especially important for 'perfectionists' to remember), can only be fleeting and ultimately frustrating. Remembering this principle increases the worth we have for each moment and gives us added value for life. It allows us to be more engaged in the moment, more focused on the larger picture—because we can actually see it.
ทุกสิ่งในชีวิตของเรา ไม่ว่าเวลาใด ย่อมสยบต่อการเปลี่ยนแปลง   ตอนนี้ คุณคงนึกรำคาญขึ้นมาใช่ไหม?   นี่หมายความว่า เราอยู่ร่วมกับความไม่เสถียร/ไม่มั่นคง   ดังนั้น คุณไม่อาจควบคุมอะไรได้จริงๆ จังๆ   ความพยายามที่จะบงการสิ่งต่างๆ (นี่เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับพวกหมกมุ่นกับความเนี๊ยบ ต้องจำไว้) ก็ทำได้แค่ประเดี๋ยวประด๋าว และในที่สุดก็จะทำให้ท้อแท้ ผิดหวัง   การจำหลักการข้อนี้ได้ จะทำให้เราเพิ่มมูลค่าต่อทุกๆ  และเติมคุณค่าแก่ชีวิตของเรา    มันทำให้เราอยู่ในปัจจุบันขณะ พุ่งเป้าไปที่ภาพใหญ่กว่า--เพราะเราสามารถเห็นมันได้

Everything changes—particularly the attention you will give to all of the principles mentioned below. Some will resonate with you, some will not. At a later time, based on your developing perspective (the benefit of a healthy maturity), others may take greater importance.
ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลง—โดยเฉพาะความสนใจที่คุณมีต่อหลักการดังกล่าวข้างต้น   บ้างสอดคล้องกับคุณ บ้างไม่   ภายหลัง เมื่อคุณได้พัฒนาทัศนคติ (อันเป็นอานิสงค์จากการเจริญอายุที่สมบูรณ์)  หลายๆ ข้ออาจมีความสำคัญมากขึ้น

Understanding the law of change gives us patience and faith when it's needed most: in times of challenge. Of all phenomena, there is only one thing that resists change. That, is change itself. This is considered, by traditional folk wisdom to be the only absolute.
การเข้าใจกฎแห่งการเปลี่ยนแปลง ทำให้เรามีความอดทนและมีศรัทธาในเวลาที่เราต้องการมาก  ในยามที่เจออุปสรรค    ในบรรดาปรากฏการณ์ทั้งหมด มีเพียงอย่างเดียวที่ไม่ยอมเปลี่ยน  นั่นคือ ตัวการเปลี่ยนแปลงเอง

2. Nothing is Identical
๒. ไม่มีอะไรเหมือนกันหมด

This is good to know if you have a history of dating and are still soliciting telephone numbers from strangers. There exists nothing identical to anything or anyone else. Your new lover might look like your Ex—, but you won't find a carbon copy. Frankly, why would you want to?
นี่เป็นข่าวดี หากคุณมีประวัติการเดท และก็ยังเก็บเบอร์โทรศัพท์จากคนแปลกหน้า   ไม่มีอะไร ไม่มีใครเหมือนกันเปี๊ยบ   แฟนใหม่ของคุณอาจหน้าตาเหมือนแฟนเก่า  แต่คุณจะไม่พบสำเนาที่ไหน  จริงๆ แล้ว ทำไมคุณจะต้องการให้เป็น?

No two things can be "the same," it is said. Therefore, everything in this world has its own uniqueness. No two snowflakes, autumn leaves, fingerprints, mountains, rivers, animals, both sides of the human face, even 'identical twins,' are alike. There will always be differences, no matter how subtle.
ไม่มีทางที่สองสิ่งจะ “เหมือนกัน”  ดังนั้น ทุกสิ่งในโลกมีความพิเศษในตัวเอง  ไม่มีเกร็ดหิมะ ใบไม้ยามฤดูใบไม้ร่วง ลายนิ้วมือ ภูเขา แม่น้ำ สัตว์ ซีกซ้าย-ขวาของหน้าเดียวกัน แม้แต่คู่แฝด ที่เหมือนกันหมด  มันจะต้องมีความแตกต่าง ไม่ว่าจะลึกล้ำอย่างไร

Even if two things—for arguments sake—are exactly alike, the fact that they are "two" separates them because they occupy different points in space and/or time. Nature has a sense of irony. While all physical objects are composed from atoms and molecules, the amount and combination of them in each will be unique. Knowing this might win you a lot of pub bets.

Consider this: If everything is really in a continuous process of change, then obviously, nothing can really be identical, anyway. Right? Does that make sense? My inner cynic says, 'who cares, why is it relevant and who are you to make gross evaluations?' But, I can ignore that voice. I'm sure knowing this principle can serve some purpose. Like when you reorder your favorite dish from your local restaurant and it tastes nothing like the last time. It helps cushion disappointment.

The origins of this principle is also common to many sacred texts from various ideologies. One recent find in my research was from The Madhyamika School of Buddhism:
บ่อเกิดของหลักการนี้ มีอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ จากหลากอุดมการณ์  จากการค้นคว้าเร็วๆ นี้ของผมแหล่งหนึ่ง คือ มัธยนิกาย

Nagarjuna (second century A.D.), founder of The Madhyamika School of Buddhism, presented his Middlath ("The Madhyamika"—Doctrine of the Middle Way) with the following statement of what he considered to be the Eightfold Truth of Buddhism:
นาคะจุนะเถระ (คริสตศวรรษที่ ๒ หรือ ประมาณ พ.ศ.๗๐๐-๘๐๐) ผู้ก่อตั้งสำนักมัธยนิกายในพุทธศาสนา เสนอ “ทางสายกลาง” ด้วยข้อแถลงที่ท่านกล่าวว่าเป็นสัจจะ ๘ ประการ

"Nothing comes into being, nor does anything disappear.
Nothing is eternal, nor has anything an end.
Nothing is identical, nor is anything differentiated.
Nothing moves here, nor does anything move there."
“ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเป็นตัวตน หรืออะไรดับหายไป
ไม่มีอะไรที่อยู่ชั่วนิรันดร์ หรืออะไรที่เป็นจุดจบ
ไม่มีอะไรที่เหมือนกัน หรืออะไรที่แตกต่างไป
ไม่มีอะไรที่เคลื่อนมาที่นี่ หรืออะไรที่เคลื่อนไปที่นั่น”

I rest my case. If it's good enough for Nagarjuna, it's good enough for me. Nothing is identical.
ผมขอจอดที่นี่  หากมันดีพอสำหรับนาคะจุนะ มันก็ดีพอสำหรับผมเช่นกัน  ไม่มีอะไรที่เหมือนกันเปี๊ยบ

3. What Has A Beginning, Has An End
๓. มีเริ่มต้น ก็มีจุดจบ

In the relative world, there exists nothing that begins without an end. Our lives begin with the advent of birth and end with inevitable death. Nothing is exempt from this principle. For me, knowing this has always been a saving grace. It bolstered my patience during low periods and during each of these times, because of my faith in this principle, I was able to endure through it all with patience and tenacity. Being aware of this beginning-to-ending cycle in daily life and nature's rhythms, affirms change. It's awareness keeps life more meaningful, more dynamic.
ในโลกของการเปรียบเทียบ ไม่มีอะไรที่เริ่มแล้วไม่จบ   ชีวิตของเราเริ่มด้วยฉากการคลอด และจบลงด้วยความตายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้    ไม่มีอะไรได้รับการยกเว้นจากหลักการข้อนี้  สำหรับผม การรู้ข้อนี้ ได้ช่วยผมมากมาตลอด   มันทำให้ผมมีความอดทนมากขึ้นในยามตกอับ และทุกครั้ง ก็เพราะศรัทธาในหลักการข้อนี้ ผมจึงสามารถฝ่าฟันความยากลำบากทั้งหลายด้วยความอดทนและดื้อรั้น   การตระหนักรู้วัฏจักรเริ่ม-จบ ในชีวิตประจำวัน และจังหวะของธรรมชาติ ยืนยันการเปลี่ยนแปลง   การมีสติตื่นรู้เช่นนี้ ทำให้ชีวิตมีความหมาย มีพลังยิ่งขึ้น

4. Everything in the Extreme, Changes to its Opposite
๔. สรรพสิ่งที่อยู่สุดขั้ว ย่อมเปลี่ยนไปสู่ขั้วตรงข้าม

When I began to long distance track as a teenager, this was the first lesson. Run too fast on a long training run and you may reduce your body's ability to transfer oxygen. You suddenly feel your muscles weigh a ton and you have to rest—or fall down. "Pacing," a key approach in racing strategy, is actually about recognizing and minimizing extremes for the benefit off greater endurance.
เมื่อผมเริ่มออกกำลังกายบนเครื่องวิ่งทางไกลตอนเป็นวัยรุ่น ก็ได้บทเรียนบทแรก   วิ่งเร็วเกินไปบนสายพานวิ่งยาว คุณอาจลดความสามารถของร่างกายในการส่งต่อออกซิเจน  คุณจะรู้สึกทันทีว่า กล้ามเนื้อของคุณหนักเป็นตัน และคุณต้องพัก—หรือไม่ก็ล้มลง    “การก้าว” เป็นกุญแจในกยุทธศาสตร์การวิ่งแข่ง ที่จริง คือ การสำเหนียกและลดความสุดโต่งให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อประโยชน์ให้มีความอดทนสูงสุด

At 16, I did my first fast, complete abstinence from food, and ended it six days later by eating everything that wasn't nailed down in my kitchen. Everything in the extreme, changes to its opposite.
เมื่ออายุ ๑๖ ผมอดอาหารเป็นครั้งแรก ไม่กินอาหารใดๆ เลย และตอนจบของวันที่หก กลับกินทุกอย่างที่ไม่ถูกตอกตะปูกักไว้ในครัวของผม   สรรพสิ่งที่อยู่สุดขั้ว แปรเปลี่ยนไปขั้วตรงข้าม

A cigarette burns hot, contracting as it reduces in size. At the extreme point of reduction it suddenly cools and becomes expansive ash. Everything in the extreme, changes to its opposite.
บุหรี่ติดไฟแดง เริ่มหดเมื่อบุหรี่สั้นลง  ที่จุดสุดโต่งของการลดขนาด ทันใดนั้น มันก็เย็นลง และกลายเป็นเถ้าที่ขยายตัว  สรรพสิ่งที่อยู่สุดขั้ว แปรเปลี่ยนไปขั้วตรงข้าม

In the early 60s we all went mad for tab shirts, thin ties, tight pants, pointy shoes, short greased hair. By 1965, we were taking fashion cues from Carnaby Street, wearing bell bottoms, square-toed boots, wide polka dot ties and growing our hair. Let's also not forget the American mullet hair-do. What ever happened to that? How can you not look back and wonder, what were we thinking? But, there you have it--one extreme changing to another. Happens all the time.
ในช่วงต้นของทศวรรษ  60s (พ.ศ.๒๕๐๓)  พวกเราล้วนคลั่งเสื้อเชิร์ตแท็บ เน็คไทเรียวๆ รองเท้าหัวแหลม ผมสั้นมันขลับ  พอถึง ๒๕๐๘ พวกเราก็ตามแฟชั่น Carnaby Street สวมใส่กางเกงขาระฆัง รองเท้าบูทหัวเหลี่ยม เนคไทกว้างจุดโปลกา และไว้ผมยาว   อย่าลืมผมทรง mullet ของชาวอเมริกัน     เกิดอะไรขึ้นกับพวกนี้?  คุณจะเหลียวกลับไปมองและสงสัยได้อย่างไรว่า ตอนนั้นพวกเราคิดอย่างไร?  แต่คุณก็ได้เป็นแล้ว—สุดโต่งด้านหนึ่ง เหวี่ยงไปอีกด้านหนึ่ง  มันเกิดขึ้นตลอดเวลา

Here's another example: When I officially started macrobiotics (1969-70), I was enrolled at Ringling Brothers, Barnum & Bailey Winter quarters as a clown college student (a very handy diploma to have on your office wall). When I decided to try Ohsawa's recommendation for fasting on grain, as opposed to nothing, I diligently consumed brown rice, tamari (natural soy sauce), gomashio (a condiment made from sesame seeds and sea salt that were ground together) and twig tea for 18 days.
นี่เป็นอีกตัวอย่าง   เมื่อผมเริ่มเป็นชาวแมคโครไบโอติค/พลังชีวิตจักรวาล อย่างเป็นทางการ (1969-70  พ.ศ.๒๕๑๒-๑๓) ผมได้เข้าเรียนที่ในฐานะนักศึกษาของวิทยาลัยตัวตลกแห่งหนึ่ง   เมื่อผมตัดสินใจจะลองคำแนะนำของโอฮะซาวะในการอดอาหารที่กินเพียงธัญพืช แทนที่จะไม่กินอะไรเลย  ผมกินข้าวกล้อง  ซี่อิ้วญี่ปุ่นทามาริ  โกมาชิโอ และก้านชา เป็นเวลา ๑๘ วัน อย่างขยันขันแข็ง

Initially, ten days was the recommended course of "experimenting," However, being of sound body and fanatic mind, I thought I'd eat this way forever. Felt great, had no cravings and couldn't sleep more than 5 hours, at the most, so it felt natural and easy for me. At least, doing "#7", you got to eat.
ตอนแรก ผมถูกแนะนำให้อดอาหาร ๑๐ วัน สำหรับคอร์สทดลอง   แต่ผมเห็นว่า ผมมีร่างกายที่แข็งแรง และจิตใจที่คลั่งไคล้ ผมคิดว่า ผมจะกินอย่างนี้ ตลอดไป   ผมรู้สึกดีมาก  ไม่รูสึกโหยหาและนอนได้ไม่เกิน ๕ ชั่วโมง  ดังนั้น ผมย่อมรู้สึกเป็นธรรมชาติ และเป็นเรื่องง่าย  อย่างน้อย การทำ "#7", คุณจะต้องกิน

At some point, 18 days into it, someone in the arena stuffed a banana in my face at a performance rehearsal and its taste literally possessed me. The sweetness was overwhelming. It kicked in my craving center and all I could think about was sugar—and my need to have more, immediately. I ran outside, jumped on someone's parked bicycle and sped to the grocery store about a half mile away.
พอเข้าวันที่ ๑๘ ในเวทีซ้อมการแสดงยัดกล้วยใส่หน้าของผม และรสชาติของมันเข้าครอบงำผมเต็มที่   ความหวานของกล้วยสุดแสนทนได้  มันได้เตะเข้าไปที่ศูนย์กลางแห่งความโหยหา และผมคิดได้แต่น้ำตาล—และผมมีแต่ต้องการมากขึ้น ทันทีทันใด   ผมวิ่งออกไปข้างนอก กระโดดขึ้นขี่รถจักรยานที่คนจอดไว้ และปั่นไปร้านของชำที่อยู่ห่างออกไปครึ่งไมล์

Once inside the market, I grabbed a large pack of chocolate chip cookies (packaged in three columns), a quart of milk and headed for the curb. I ate the cookies, nearly a column at a time, guzzled the milk and then, sitting on the street curb with my legs half in the street, lay back on the sidewalk to ease a sudden abdominal cramp. Apparently, I feel asleep (or went into a chocolate chip coma).
พออยู่ในตลาด ผมคว้าคุกกี้ช็อกโกแลตห่อใหญ่ที่สุด นม และนั่งลงที่ขอบถนน กินคุกกี้เกือบแถวแต่ละครั้ง และกรอกนม และแล้ว ก็หงายหลังนอนอยู่บนทางเท้าทั้งๆ ที่เขาเหยียดครึ่งหนึ่งบนถนน เพราะเกิดอาการปวดท้องกะทันหัน  อันที่จริง ผมม่อยหลับไป (หรือเข้าขั้นโคม่าช็อกโกแลตชิป)

My comrades from rehearsal eventually caught up with me and later described the scene: "Man, you were laying half in the street, passed out snoring, with milk spilling and cookies all over the place." Reactively, for the next several weeks, I suddenly became Party Boy, or, as friends nicknamed me: The Human Garbage Disposal. "Go ahead and dare me!" became my new diet motto. This was a simple, yet hard earned lesson in everything in the extreme changing to its opposite.
สหายของผมที่เวทีซ้อมในที่สุดก็ไล่ตามผมได้ และภายหลังบรรยายฉากว่า “คุณนอนแผ่ครึ่งตัวอยู่บนถนน สลบไปและส่งเสียงกรนด้วย มีนมหกเลอะเทอะ และคุกกี้กระจายเกลื่อนกลาด”  ปฏิกิริยา คือ ในหลายอาทิตย์ต่อมา ผมกลายเป็นเด็กปาร์ตี้ หรือ เพื่อนตั้งชื่อเล่นให้ผม ที่ทิ้งขยะมนุษย์ “เอาเลย ลองผมดู” กลายเป็นคำขวัญใหม่ของผม   นี่เป็นเรื่องง่ายๆ แต่เป็นบทเรียนที่ได้มายากยิ่งว่า สรรพสิ่งที่อยู่สุดโต่ง จะเปลี่ยนไปอีกขั้ว

Which, is probably why traditional wisdom calls moderation the hallmark of good health. If we are moderate, we have more control. In some circumstances, extremes are necessary and can have their own healing component. But during such times we need a good understanding that can bolster our will, as well as practical techniques that will keep us from bouncing between extremes.
นี่คงเป็นสาเหตุว่า ทำไมปราชญ์ดั้งเดิมบอกว่า ความพอประมาณเป็นหลักของสุขภาพที่ดี   หากคุณรู้จักความพอประมาณ คุณจะควบคุมได้มากขึ้น   ในบางกรณี อาจจำเป็นต้องมีความสุดโต่ง และมันก็มีองค์ประกอบเพื่อการสมานรักษา   แต่ในช่วงเวลาเช่นนั้น เราจำเป็นต้องมีความเข้าใจอย่างดี เพื่อหนุนปณิธานของเรา รวมทั้งมีเทคนิคที่ปฏิบัติได้ ที่จะช่วยให้เรากระเด้งกลับไปกลับมาระหว่างสองขั้ว

5.                  All Polarities Are Complementary, Yet Antagonistic
๕. ขั้วต่างๆ ล้วนเกื้อกูลต่อกัน  แต่ก็ขัดแย้งกัน

Common folk wisdom and old saws can take on an entirely new coherence when viewed through the principle of opposites. Some examples:
ภาษิตโบราณ กลายเป็นสาระใหม่ที่มีความสอดคล้องกัน เมื่อมองผ่านหลักการแบ่งฝ่าย  ดังตัวอย่าง

"You always hurt the one you love."
"The darkest hour is just before dawn."
'"The grass is always greener on the other side of the fence."
"Work is the curse of the drinking class."
“คุณมักทำร้ายจิตใจคนที่คุณรักเสมอ”
“ชั่วโมงแห่งความมืดมิดที่สุด คือวินาทีก่อนรุ่งอรุณ”
“หญ้าที่เขียวขจีกว่าจะอยู่ฝั่งตรงข้ามของรั้วเสมอ”
“งาน คือ คำสาปแช่งสำหรับพวกขี้เมา”

"The bigger they come, the harder they fall."
"There is some good in the worst of us, and some bad in the best of us."
"Pride goeth before a fall."
“มาแรงมากเท่าไร ก็ล้มหนักมากเท่านั้น”
“มันก็มีดีบ้างในส่วนที่ดีที่สุดของพวกเรา  และก็เลวบ้าง ในส่วนที่เลวที่สุดของพวกเรา”
“ความหยิ่งยโสมาก่อนการล้มครืน”

There are always extreme elements in any polarity, yet they are dependent on each other. Sometimes they're compatible, other times, seemingly antagonistic, and some times both. For instance, let's use a medicinal beverage analogy with umeboshi drink—a popular macrobiotic remedy for acid conditions (usually a result of excessive party food or overeating).
ในขั้วใดๆ ย่อมมีส่วนที่สุดโต่งอยู่เสมอ แต่ส่วนต่างๆ ก็พึ่งพิงกันและกัน   บางครั้ง พวกมันก็ไปด้วยกันได้  เวลาอื่น ก็เป็นปรปักษ์ต่อกัน  และบางครั้งก็เป็นทั้งมิตรและศัตรูต่อกัน   ขอยกตัวอย่าง เครื่องดื่มอูเมโบชิ ที่เป็นยาบำบัดภาวะกรดตามแนวแมคโครไบโอติค/พลังชีวิตจักรวาล อันเป็นที่นิยมกันมาก (ภาวะกรดมักจะเนื่องจากงานเลี้ยง หรือกินมากเกินไป)

This drink is composed of the umeboshi salt plum ( sister fruit to the small apricot), tamari, kuzu, and the fresh juice from fine-grated ginger root. Although chemically antagonistic, the acid ginger compliments the drink by making it less extreme as an alkaline remedy. This makes the medicine more effective because it is slightly less extreme.
น้ำบำบัดนี้ทำจากผลพลัม อูเมโบชิ ดองเค็ม (คล้ายกับลูกเอพริคอทเล็กๆ / คงเป็นลูกบ๊วย)  ทามาริ คุสุ และน้ำขิงคั้นสดๆ   แม้ว่าส่วนผสมนี้จะเป็นอริต่อกันทางเคมี แต่ความเป็นกรดของขิง กลายเป็นมิตรในน้ำบำบัดนี้ ด้วยการลดความเป็นด่างสุดๆ ของน้ำที่ตั้งใจใช้เพื่อลดกรด  อันนี้ทำให้ยาขนานนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะมันไม่สุดโต่งจนเกินไป

Think of the Tao symbol with one sheath of black and one sheath of white, yet within each is a bit off the other. I once had a philosophy teacher who described it by saying, "...in the overwhelming bright light of day we have the small shadows of scattered tree and rock, and during the deep black of night, we have the dim glimmering light of distant stars." Meaning, each duality contains a little of the opposite.
ลองพิจารณาสัญลักษณ์ของเต๋า ที่ประกอบด้วยฝักที่ขาวและฝักสีดำ แต่ภายในแต่ละฝัก ก็มีส่วนของฝ่ายตรงข้าม   ครั้งหนึ่งอาจารย์ปรัชญาคนหนึ่งอธิบายว่า “...ในวันที่แดดจ้า เรามีเงาน้อยๆ ของต้นไม้ และโขดหินกระจัดการะจายไปทั่ว และในค่ำคืนดึกดื่นมืดสนิท เราก็มีแสงระยิบระยับจากดวงดาวที่อยู่ห่างไกล  หมายความว่า ในแต่ละเหรียญสองด้าน แต่ละด้านก็มีส่วนเล็กน้อยของอีกด้าน

Recognizing opposites is the path to wholeness, because their balance produces the neutral state of one. This is why the Tao was called a 'monism.' However, nothing is exclusively of solely one entity.
การยอมรับฝ่ายตรงข้าม เป็นมรรควิถีสู่ความเป็นองค์รวม เพราะความสมดุลนำไปสู่ภาวะความเป็นกลางของหนึ่งเดียว   นี่คือเหตุผลว่า ทำไมจึงเรียก เต๋า ว่า เป็น ลัทธิมาตรฐานเดียว   แต่ไม่มีอะไรที่เป็นของใครทั้งหมด

There's a little of each in both entities. If you statically classify something as "yang" or to use a physics term, ruled by centripetal force, you are merely saying that the amount of yang in this exceeds it's opposite (centrifugal force, or yin) quality. You can't say someone is, "all strength." They must have some weakness. The degree this weakness is visible differs for everyone, but in some amount, it's always present.
จะมีส่วนเล็กน้อยของอีกฝ่ายในทั้งสองฝ่าย   หากคนแยกประเภททื่อๆ ว่า บางสิ่งเป็น หยาง หรือ ใช้คำที่เป็นรูปธรรม คือ เป็นพลัง/แรงดึงเข้า (centripetal force)  คุณก็จะแค่บอกว่า ปริมาณหยางในนี้ สูงเกินกว่า คุณสมบัติคู่ปฏิปักษ์ของมัน (แรงผลักออก/ centrifugal force หรือ หยิน)   คุณบอกไม่ได้ว่า บางคน มีแต่พลังเข้มแข็ง   มันจะต้องมีความอ่อนแอบ้าง  ระดับความอ่อนแออยู่ที่สายตาของคนมอง  แต่ในบางขณะ มันมีอยู่เสมอ

The philosophy of opposites can be easily misunderstood, because speaking in terms of fixed classifications usually leads to dogmatic thinking. Its laws are not truly understood. There are always layers and depths to our superficial perception. To think in terms of black and white minimizes the unique complexity of how opposites interact and the layers between them. Between black and white, there is an entire universe of gray.
ปรัชญาของความตรงข้าม มักเข้าใจผิดกันง่าย เพราะการพูดต้องใช้คำยึดติดกับการแยกแยะ ทำให้กลายเป็นการคิดอย่างดื้อรั้น   กฎของคู่ตรงข้ามนี้ ยังไม่มีความเข้าใจที่แท้จริง   แนวคิดตื้นๆ ของเรามักจะมีหลายชั้นและหยั่งรากลึก   การคิดในลักษณะขาวและดำ ช่วยลดความซับซ้อนของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่ตรงข้าม และแผ่นผิวมากมายระหว่างกัน   ระหว่างดำและขาว มีจักรวาลหนึ่งที่สีเทา

ดรุณีแปล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น