วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

67. รำลึกฟูกุโอกะ ... ภารกิจกู้โลกไปถึงไหน?




The Green Deserts of Western Civilization
-          Masanobu Fukuoka
ทะเลทรายสีเขียวของอารยธรรมตะวันตก
-           มาซะโนบุ ฟูกุโอกะ

The following commentary is adapted from the posthumously published Sowing Seeds in the Desert by Masanobu Fukuoka (Chelsea Green, 2012). Fukuoka was the author of the international bestseller One-Straw Revolution. He died in 2008. Given the recent news about the extended drought facing much of the United States, we thought our readers might want to read Mr. Fukuoka’s deep insight into how Western agricultural practices have helped to create vast deserts across the planet, while on the surface appearing very “green.” In fact, Mr. Fukuoka notes, below the grassy surface, soils are being depleted and drained — becoming deserts under our feet. As you read this, keep in mind that Sowing Seeds in the Desert first appeared in print – in Japanese – in the mid-1990s.
บทความต่อไปนี้ ดัดแปลงมาจากหนังสือ “หว่านเมล็ดในทะเลทราย” ที่พิมพ์เผยแพร่หลังมรณกรรมของ มาซะโนบุ ฟูกุโอกะ   ฟูกุโอกะ เป็นผู้ประพันธ์หนังสือขายดีที่สุดระหว่างประเทศ “การปฏิวัติด้วยฟางเส้นเดียว”   เขาสิ้นชีวิตในปี 2008.   สืบเนื่องจากข่าวแล้งอันยาวนานในหลายพื้นที่ในสหรัฐฯ เมื่อเร็วๆ นี้  เราคิดว่า ผู้อ่านอาจต้องการอ่านข้อคิดลึกซึ้งของคุณฟูกุโอกะว่า เหตุใดการทำเกษตรกรรมของโลกตะวันตก ได้ช่วยแพร่กระจายทะเลทรายไปทั่วพื้นพิภพ ในขณะที่พื้นผิวยังดู “เขียว” มากๆ   อันที่จริง คุณฟูกุโอกะ ตั้งข้อสังเกตว่า ภายใต้แผ่นผืนหญ้า ดินกำลังถูกกัดกร่อนชะล้างออก—กลายเป็นทะเลทรายใต้เท้าของเรา     เมื่อคุณอ่านข้อความนี้ ขอให้ระลึกในใจว่า “หว่านเมล็ดในทะเลทราย” พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก—เป็นภาษาญี่ปุ่น—ในกลางทศวรรษ 1990s.

Although the surface of the ground in Europe and the United States appears to be covered with a lovely green, it is only the imitation green of a managed landscape. Beneath the surface, the soil is becoming depleted due to the mistaken agricultural practices of the last two thousand years.
แม้ว่าพื้นผิวในยุโรปและสหรัฐฯ จะดูเหมือนปกคลุมด้วยสีเขียวน่ารื่นรมย์ มันเป็นเพียงการลอกเลียนสีเขียวในการจัดฉากภูมิประเทศ    ภายใต้พื้นผิวนั้น ดินถูกทำให้กร่อนสูญไป ด้วยกรรมวิธีทางเกษตรที่ผิดพลาดมากว่าสองพันปี

Much of Africa is devoid of vegetation today, while just a few hundred years ago it was covered by deep forests. According to the Statistical Research Bureau in India, the vegetation there has also disappeared rapidly over the past forty-five or fifty years and now covers less than 10 percent of the land’s surface. When I went to Nepal, officials lamented the fact that in the last twenty years the Himalayas have become bald, treeless mountains.
แผ่นดินอาฟริกาส่วนใหญ่ไร้พืชพรรณทุกวันนี้  ทั้งๆ ที่เมื่อไม่กี่ร้อยปีก่อน มันปกคลุมด้วยป่าลึก    ตามสำนักวิจัยสถิติในอินเดีย พืชพรรณหลายสายพันธุ์ได้สูญหายไปอย่างรวดเร็วใน 45-50 ปีที่แล้ว และตอนนี้ พืชพรรณปกคลุมอยู่เพียง 10% ของผิวแผ่นดิน    เมื่อผมไปที่เนปาล เจ้าหน้าที่โอดครวญถึงความจริงที่ว่า เทือกเขาหิมาลัย กลายเป็นเขาหัวโล้น ไม่มีต้นไม้ใน 20 ปีที่ผ่านมา

In the Philippines, on the islands of Cebu and Mindanao, there are banana plantations but no forests, and there is concern that in a few years even drinking water may be in short supply. In Thailand, Malaysia, and Indonesia, as farming methods that protected nature have been swallowed up by the wave of modern civilization, the condition of the land has also deteriorated. If the deforestation of the tropical rain forests in Asia and Brazil continues at the present rate, oxygen will become scarce on earth and the joy of springtime on the planet will be replaced by the barrenness of winter.
ในฟิลิปปินส์ บนเกาะซิบู และมินดาเนา  มีแต่สวนกล้วยแต่ไม่มีป่าเลย  และก็มีความห่วงใยกันว่า ในอีกไม่กี่ปี น้ำดื่มก็อาจจะขาดแคลนได้  ในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย วิถีทำนาที่ปกป้องธรรมชาติ ได้ถูกคลื่นอารยธรรมยุคใหม่กลืนกินไป จนสภาวะของแปลงดินเสื่อมโทรม     หากการทำลายป่าดงดิบในเขตศูนย์สูตรในเอเชียและบราซิลยังคงดำเนินต่อไปในอัตราเช่นทุกวันนี้  ออกซิเจนจะลดลง และความเบิกบานในฤดูใบไม้ผลิบนโลก จะถูกแทนที่ด้วยฤดูหนาวที่แร้นแค้น

The immediate cause of the rapid loss of vegetation has been the indiscriminate deforestation and large-scale agriculture carried out in order to support the materialistic cultures of the developed countries, but the remote cause stretches back thousands of years.
สาเหตุเฉพาะหน้าของการสูญเสียพืชพรรณ มาจากการทำลายป่าอย่างไม่เลือกหน้า และเกษตรกรรมขนาดใหญ่ ที่สนับสนุนวัฒนธรรมวัตถุนิยมในประเทศพัฒนาแล้ว  แต่สาเหตุที่ไกลโพ้นกว่านั้น สาวไปได้นับพันปี

The natural world did not become a desert on its own. Both in the past and at present, human beings, with their “superior” knowledge, have been the ringleader in turning the earth and the human heart into wastelands. If we eliminate the fundamental cause of this destruction—people’s knowledge and actions—nature will surely come to life again. I am not proposing to do away with human beings, but rather to change the politics and practice of our authority.
โลกธรรมชาติ ไม่ได้กลายเป็นทะเลทรายด้วยตัวเอง   ทั้งในอดีตและปัจจุบัน มนุษย์ ที่มีความรู้ “เหนือกว่า” ได้เป็นหัวหน้าแก๊งในการเปลี่ยนโลกและหัวใจมนุษย์ให้เป็นแดนเสื่อมโทรม    หากเราขจัดสาเหตุพื้นฐานของการทำลายล้างนี้ได้—ความรู้และปฏิบัติการของประชาชน—ธรรมชาติย่อมฟื้นคืนชีพกลับมาได้แน่นอน    ผมไม่ได้เสนอให้กระทำที่มนุษย์ แต่ให้เปลี่ยนการเมือง และวิธีปฏิบัติของผู้มีอำนาจของเรา

My measures for countering desertification are exactly the same as the basic natural farming method. One could refer to it as a natural farming revolution whose goal is to return the earth to the paradise it once was.
วิธีการของผมในการทวนกระแสทะเลทราย เป็นเฉกเช่นเดียวกับวิธีทำนาตามธรรมชาติระดับพื้นฐาน   อาจเรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติทำนาแบบธรรมชาติ ที่มีเป้าหมายเพื่อกู้โลกให้เป็นสรวงสวรรค์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็น

Lessons from the Landscapes of Europe and the United States
บทเรียนจากภูมิประเทศของยุโรปและสหรัฐฯ

I first saw the desert and began to have an interest in it the summer I flew to the United States for the first time, in 1979. I was expecting the American continent to be a vast, fertile green plain with lush forests, but to my amazement, it was a brown, desolate semi-desert.
ผมได้เห็นทะเลทรายเป็นครั้งแรก และได้เริ่มสนใจมันในฤดูร้อนที่ผมบินไปสหรัฐฯ เป็นครั้งแรก ในปี 1979    ผมมีความคาดหวังว่า จะเห็นทวีปอเมริกาว่าเป็นผืนดินกว้างใหญ่สีเขียวที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีป่าเขียวขจี   แต่ผมกลับประหลาดใจยิ่ง เมื่อเห็นมันมีสีน้ำตาล  เศร้าสร้อย แบบกึ่งทะเลทราย

I gave a talk in Sacramento, California, for the state’s Department of Conservation hosted by Ms. Priscilla Grew, who was head of the department at the time. I said that the environment in California had serious problems as a result of poor agricultural practices, poor water management, overlogging, and overgrazing. These things, I told the group, are conspiring to create the “Great California Desert.” After the talk, I was invited for a private conversation with Ms. Grew, a geologist, in her office on the thirteenth floor of the Resources Building.
ผมได้แสดงปาฐกถาที่ ซาคราเมนโต แคลิฟอร์เนีย สำหรับหน่วยงานอนุรักษ์ของรัฐ มีคุณ พริสซิลลา กรูว์ เป็นเจ้าภาพ  ซึ่งเป็นหัวหน้าของหน่วยงานขณะนั้น    ผมบอกว่า สภาพแวดล้อมของแคลิฟอร์เนีย มีปัญหาหนักหน่วง เพราะการทำเกษตร กับการจัดการน้ำที่ไม่ดี  การตัดไม้มากเกิน และการปล่อยให้ปศุสัตว์เล็มหญ้ามากเกิน   สิ่งเหล่านี้ ล้วนสุมหัวกันทำให้เกิด “ทะเลทรายแคลิฟอร์เนียที่ยิ่งใหญ่”     หลังจากปาฐกถา คุณกรูว์ นักธรณีวิทยา ได้เชิญผมไปสนทนาเป็นการส่วนตัว ในห้องทำงานของเธอบนชั้นที่ 13 ของอาคารทรัพยากร

We discussed how Japan and California were roughly the same latitude, that both the vegetation and the parent rocks in the two places were similar, and that long ago the Asian and American continents were one. The fossil record shows, for example, that vast forests of Metasequoia1 existed in both places. The mosses and lichens I saw growing in the undisturbed forests of the Sierra Nevada and the Coast Range were also the same as I observed in the virgin forests of Japan.
เราอภิปรายถึงกันความเป็นมาของญี่ปุ่นและแคลิฟอร์เนีย ว่าอยู่บนเส้นรุ้งเดียวกัน ว่ามีพืชพรรณ และตั้งอยู่บนชั้นหินคล้ายๆ กัน  ว่านานมาแล้ว ทวีปเอเชียและอเมริกา เป็นแผ่นผืนดินเดียวกัน    ซากดึกดำบรรพ์แสดงให้เห็นว่า ป่ามหึมายุค Metasequoia ปรากฏอยู่ในทั้งสองที่   ตระใคร่น้ำและเห็ดราที่ผมเห็นขึ้นตามต้นไม้ ที่ไม่ถูกรบกวนใน เซียรา เนวาดา และแถบชายฝั่ง ก็เป็นเหมือนกับที่ผมสังเกตเห็นในป่าบริสุทธิ์ของญี่ปุ่น

It was my conjecture that the desertification and climate change in California has been accelerated by mistaken agricultural methods. I suggested that deforestation and the change from the perennial bunchgrasses that once covered the plains to annuals such as foxtail and wild oats contributed to the decrease in rainfall.2 “Rain doesn’t only fall from the sky,” I suggested. “It also falls up from below.” The vegetation, especially trees, actually causes the rain to fall.
มันเป็นการคาดเดาของผมว่า การเกิดทะเลทรายและภูมิอากาศผันผวนในแคลิฟอร์เนีย ได้ถูกเร่งด้วยกรรมวิธีเกษตรที่ผิด   ผมแนะนำว่า การกลายเป็นทะเลทราย และการเปลี่ยนจากพืชยืนต้น หญ้าบั๊นช์ ที่เคยปกคลุมที่ราบลุ่มแถบนี้ ด้วยพืชล้มลุก/ประจำปี เช่น ฟ๊อกซ์เทล และโอ๊ตป่า มีผลให้ฝนตกลดลง    “ฝนไม่ได้ตกลงมาจากฟ้าเท่านั้น” ผมแนะนำ “มันตกขึ้นมาจากข้างล่างด้วย”    พืชพรรณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นไม้ ที่แท้เป็นสาเหตุให้ฝนตกลงมา

After we left her office, someone suggested that I come along and visit an interesting place nearby. That “interesting place nearby” turned out to be a hot, dry plateau in the Coast Range about one hundred miles away.
หลังจากที่เราออกจากห้องทำงานของเธอ บางคนได้แนะให้ผมไปด้วยกัน และเยี่ยมเยียนที่ๆ น่าสนใจใกล้บริเวณนั้น    “ที่น่าสนใจใกล้ๆ” แห่งนั้น กลายเป็นที่ราบสูงที่ ร้อนแห้ง ในแถบชายฝั่งที่ห่างออกไปประมาณ 100 ไมล์

About twenty young people from several countries were somehow managing to live in this remote area on national forest land. They asked me to teach them how to use natural farming to help them make their livelihood. They did not even have proper sickles or hoes. The entire area was covered with dry grass, with not a spot of green in sight. There were only a few oak trees here and there.
หนุ่มสาวประมาณ 20 คน จากหลายประเทศ หาทางดำรงชีวิตอยู่ได้ในพื้นที่ห่างไกลนี้ ในป่าแห่งชาติ    พวกเขาขอให้ผมสอนวิธีทำนาตามธรรมชาติ เพื่อช่วยให้พวกเขาทำมาหากินได้   พวกเขาไม่มีแม้กระทั่งเคียวหรือจอบ   ทั่วทั้งแผ่นดินบริเวณรี้ มีแต่หญ้าแห้ง  ไม่มีจุดสีเขียวเลยในสายตา   มีแต่ต้นโอ๊คไม่กี่ต้น กระจัดกระจาย ที่นั่น ที่นี่

In the midst of such hopeless circumstances, I was unable to sleep. Early the next morning, as I was washing my face at a small spring, I noticed that water soaking a mouse’s nest had caused some weed seeds to sprout and grow a few inches tall.
ในท่ามกลางสถานการณ์ที่สิ้นหวังเช่นนี้ ผมไม่สามารถนอนหลับได้   เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น ขณะที่ผมล้างหน้าที่ธารน้ำเล็กๆ ผมสังเกตเห็นรังหนูที่ชุ่มน้ำ ได้ทำให้เมล็ดวัชพืชงอก และเติบโตสูงสองสามนิ้ว

I had always thought that the grass in California died because the summers are hot and dry, but I realized it was only the introduced annual grasses that gave that impression. They come up in the fall with the first rain, set seeds, and then die by early summer. These annuals had chased out the native grasses, which remain green all summer. Grazing probably had a lot to do with it, but there were no grazing animals in the area anymore. Thinking that the green perennial plants ought to come back if we got rid of the weedy annuals, I set about doing an experiment.
ผมเคยคิดเสมอว่า หญ้าในแคลิฟอร์เนียตายหมดเพราะฤดูร้อน ช่างร้อนระอุและแห้งผาก  แต่ผมตระหนักว่า มันเป็นเพราะการนำหญ้าล้มลุกเข้ามาปลูกแทน  ที่ทำให้เกิดความประทับใจเช่นนั้น   พวกมันผุดขึ้นมาในฤดูใบไม้ผลิเมื่อเจอฝนแรก  ผลิตเมล็ด แล้วก็ตายในต้นฤดูร้อน   พวกพืชล้มลุกประจำปีนี้ ได้เบียดขับหญ้าท้องถิ่นดั้งเดิม ที่จะคงเขียวตลอดฤดูร้อน    การเล็มกินหญ้าของปศุสัตว์ก็มีส่วนมาก  แต่ตอนนี้ไม่มีสัตว์เหล่านี้ในบริเวณนี้อีกต่อไป   ด้วยความคิดที่ว่า หญ้าและต้นไม้ยืนต้นน่าจะหวนกลับคืนมา  หากเรากำจัดวัชพืชล้มลุก ผมจึงเริ่มทำการทดลอง

After broadcasting the seeds of various Japanese vegetables amid the dried grasses and mowing them down with an improvised sickle, I brought water from the spring near the top of the hill by plastic pipe and sprinkled it fairly deeply over the area. I thought the few days until the water evaporated would tell the tale. Eventually, green began to grow among the brown grass. Of course, it was the green of the weedy foxtails. As I expected, when the water had disappeared by the end of a week’s time, the grass that had sprouted up began to wither in the heat, but in its midst Japanese pumpkin, cucumbers, tomatoes, okra, daikon, and corn began to flourish. The center of the field turned into a vegetable garden. The stubborn foxtails sprouted, then withered and became mulch, and in their place, vegetables had grown up.3
หลังจากหว่านเมล็ดผักญี่ปุ่นหลากสายพันธุ์ท่ามกลางหญ้าแห้ง และขุดกลบพวกมันด้วยเคียวประยุกต์ ผมก็ถ่ายน้ำจากธารที่อยู่ใกล้ยอดเขาด้วยท่อพลาสติก และพ่นน้ำจนทั่วบริเวณชุ่มอย่างลุ่มลึก   ผมคิดว่ารออีกสองสามวัน เมื่อน้ำระเหยไปหมด ก็จะได้เห็นกัน   ในที่สุด สีเขียวก็เริ่มงอกงามท่ามกลางหญ้าสีน้ำตาล   แน่นอน  มันเป็นสีเขียวของวัชพืชฟอกซ์เทล   ดังที่ผมคาด พอน้ำแห้งหลังจากสัปดาห์หนึ่งผ่านไป หญ้าที่งอกใหม่ก็เริ่มเหี่ยวท่ามกลางความร้อนระอุ แต่ในเวลาเดียวกัน ผักญี่ปุ่น ฟักทอง แตงกวา มะเขือเทศ เล็บมือนาง หัวไช้เท้า และข้าวโพด ก็เริ่มโผล่ขึ้นมา  ใจกลางของทุ่งได้กลายเป็นแปลงผักสวนครัว   ฟ๊อกซ์เทลที่ดื้อรั้นเริ่มงอก แต่ก็เหี่ยวแห้งและกลายเป็น ปุ๋ย และในซากของมัน ผักก็งอกขึ้นมาแทน

We should revegetate California. We should wake up the seeds of weeds that are lying dormant during summer by giving them water, and then let them die before they can make more seeds. At the same time, it would be good if the state government would broadcast seeds of perennial grasses from the air in clay pellets. After this experiment, however, I had to press on with my travels, so I left the mountain and entrusted these hardy souls with my dream.
เราควรจะปลูกผักเพื่อฟื้นฟูแคลิฟอร์เนีย   เราควรปลุกเมล็ดวัชพืชที่นอนจำศีลในช่วงฤดูร้อนด้วยการรดน้ำ และปล่อยให้มันตายก่อนที่มันจะผลิตเมล็ดอีก  ในขณะเดียวกัน จะเป็นการดีหาก รัฐบาลจะหว่านเมล็ดหญ้ายืนต้นที่เคลือบเป็นเม็ดดินเหนียว ทางอากาศ   แต่หลังจากการทดลองนี้ ผมจำต้องเดินทางต่อไป ดังนั้น ผมลาจากภูเขา และฝากความฝันของผมไว้กับวิญญาณนักสู้ของหนุ่มสาวเหล่านี้

Later that year, I was shown around Europe by a Greek gentleman and a young Italian woman who had stayed in one of my hillside huts. The European countries are, for the most part, very careful about protecting the natural environment and maintaining the lovely vegetation. At first glance the entire area looks like a natural park, but it is only the beauty of a picture postcard. If you look closely, you will find that there are very few varieties of trees. The soil is thin, hard, and unfertile. It appeared to me that the earth in Europe had been damaged by an agriculture made up of mismanaged pastures used to produce meat for royalty, and vineyards to produce wine for church use.
ในปลายปีนั้น ผมได้รับเชิญให้ไปยุโรป โดยสุภาพบุรุษชาวกรีก และหญิงสาวชาวอิตาเลียน ผู้ได้มาอาศัยอยู่ในกระท่อมอิงเขาหลังหนึ่งของผม    ประเทศยุโรปส่วนใหญ่ ล้วนระมัดระวังมากในการปกป้องธรรมชาติแวดล้อม และธำรงพืชพรรณที่น่ารื่นรมย์    มองครั้งแรก ทั่วบริเวณดูเหมือนเป็นสวนธรรมชาติ แต่มันเป็นเพียงความงามของภาพในโปสการ์ด    พอคุณมองใกล้เข้าไป คุณจะพบว่า มีต้นไม้ไม่กี่สายพันธุ์     หน้าดินบาง แข็ง และไม่อุดมสมบูรณ์    มันปรากฏให้ผมเห็นว่า ผืนแผ่นดินในยุโรปได้ถูกทำลายด้วยเกษตรกรรมที่ประกอบไปด้วย การจัดการทุ่งหญ้าแบบผิดๆ ที่เคยผลิตเนื้อสัตว์สำหรับพวกราชวงศ์ และไร่องุ่นเพื่อผลิตไวน์ให้ศาสนจักรใช้

Generally speaking, the farther south you go from the Netherlands, up the Rhine, and toward Italy, the more the number of trees decreases and the green color fades. In addition, much of the Alps are composed of limestone and have few large trees. The farther south you go, the higher the soil temperature, and the drier the climate. The soil becomes thinner and increasingly less fertile. My impression was that in Europe, the soil was dry and depleted just below the surface.
กล่าวโดยทั่วไป คุณยิ่งล่องใต้ไกลจากเนเธอร์แลนด์  ขึ้นเหนือแม่น้ำไรน์ และมุ่งไปอิตาลี  จำนวนต้นไม้ก็ยิ่งลดลง และสีเขียวก็จางหายไปด้วย   นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ของเทือกเขาแอลปส์ เป็นหินปูนและมีต้นไม้ใหญ่เพียงไม่กี่ต้น    คุณล่องใต้ต่อไปยิ่งไกล อุณหภูมิของดินก็ยิ่งสูงขึ้น และอากาศก็แห้งผากยิ่งขึ้น    หน้าดินบางลงและความอุดมสมบูรณ์ลดลง   ความประทับใจของผมคือ ในยุโรป ดินแห้งและเสื่อมสูญไปแล้วในชั้นล่างใต้ผิวดิน

When people started plowing, that marked the beginning of modern European civilization. Culture, in its original sense means “to till the soil with a plow.” When tractors were introduced, production increased, but the earth lost its vitality even more quickly. Throughout human history civilizations have been founded in areas with rich soil and other resources. After the soil was depleted as a result of cutting too many trees, overgrazing, harmful irrigation practices and plowed-field agriculture, that civilization, which had been wearing the mask of prosperity, declined and often disappeared altogether. This has happened over and over again.
เมื่อผู้คนเริ่มใช้คันไถ มันเป็นจุดเริ่มต้นของอารยธรรมยุโรปสมัยใหม่   คำว่า “วัฒนธรรม” ในภาษาอังกฤษ มีรากศัพท์หมายถึง “การเตรียมดินด้วยคันไถ”   เมื่อมีการนำรถแทร็กเตอร์มาใช้ ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น แต่แผ่นดินก็สูญเสียพลังชีวิตเร็วยิ่งขึ้นด้วย    ตลอดประวัติศาสตร์อารยธรรมของมนุษย์ ล้วนก่อเกิดในบริเวณที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ และมีทรัพยากรอื่นๆ    หลังจากที่ดินถูกขูดรีดจนจืดชืด อันเป็นผลจากการตัดต้นไม้มากเกินไป  การปล่อยให้สัตว์เล็มหญ้ามากเกินไป  การสร้างระบบชลประทานที่ทำร้ายธรรมชาติ และเกษตรกรรมแบบไถทุ่ง   อารยธรรมนั้นๆ —ที่ได้สวมหน้ากากของความมั่งมีศรีสุข—ล้วนถดถอย และมักจะสูญหายไป   นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า

From my observations in Europe and the United States, I could see how the errors of modern agriculture were damaging the earth. That strengthened my conviction that natural farming methods are the only ones capable of reversing this degradation.
จากการสังเกตของผมในยุโรปและสหรัฐฯ ผมเห็นได้ว่า ความผิดพลาดของเกษตรกรรมสมัยใหม่ ได้ทำลายล้าง
โลกอย่างไร    มันได้ตอกย้ำความเชื่ออย่างแรงกล้าของผมที่ว่า วิธีการทำนาตามธรรมชาติ เป็นหนทางเดียวที่จะผันทิศทางของการเสื่อมโทรมได้

This excerpt is reprinted with permission of the publisher, Chelsea Green Publishing. For more information about this book, and Mr. Fukuoka, visit: http://www.chelseagreen.com/bookstore/item/sowing_seeds_in_the_desert:hardcover or www.chelseagreen.com
ข้อความที่คัดลอกมานี้ ได้รับอนุญาตจากสำนักพิมพ์ Chelsea Green Publishing

1• This is one of three types of redwood trees, the others being the coast redwood and the giant sequoia. The Metasequoia, or dawn redwood, was thought to be extinct until a few groves were discovered in southern China in 1944. It is now a popular landscape tree widely available in plant nurseries.

2• The grasslands of California originally consisted of perennial grasses. These plants have deep and extensive root systems and stay green all summer. When the Spanish introduced grazing sheep and cattle in the late 1700s, they also brought the seeds of annual grasses such as rye and oats. The grazing animals selectively ate the more nutritious native perennials, giving the annuals a big reproductive advantage. The native grasses were supplanted by the annuals in just a few generations, leaving the soil depleted and much drier.

3• This technique of watering annual weeds to get them to sprout and then wither before they can set new seeds—known as premature germination—has been used by organic farmers for many years to control weeds. When the weeds grow up, they shade and cool the ground long enough for the vegetables to get off to a good start, then they act as mulch for the vegetable garden, cooling the ground and conserving moisture. When the autumn rains arrive, fewer weeds come up since they were “tricked” into germinating too soon. Mr. Fukuoka is suggesting that this technique could also be useful in broad-scale rehabilitation for establishing trees, shrubs, and perennial grasses.

Chelsea Green Publishing

Masanobu Fukuoka (1913–2008) was a farmer and philosopher who was born and raised on the Japanese island of Shikoku. He studied plant pathology and spent several years working as a customs inspector in Yokohama. While working there, at the age of twenty-five, he had an inspiration that changed his life. He decided to quit his job, return to his home village, and put his ideas into practice by applying them to agriculture.
มาซะโนบุ ฟูกุโอกะ (1913–2008) เป็นชาวนาและนักปราชญ์ เกิดและโตบนเกาะชิโกกุ ในญี่ปุ่น   เขาเรียนโรคพืช และใช้เวลาหลายปีทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจศุลกากรในโยโกฮามา   ขณะที่ทำงานที่นั่น เมื่ออายุ 25 เขาเกิดแรงบันดาลใจที่เปลี่ยนชีวิตของเขา    เขาตัดสินใจลาออกจากงาน กลับไปที่บ้านเกิดในชนบท และปฏิบัติการตามความคิดของเขา และประยุกต์ใช้กับเกษตรกรรม

In 1975 he wrote The One-Straw Revolution, a best-selling book that described his life’s journey, his philosophy, and farming techniques. This book has been translated into more than twenty-five languages and has helped make Mr. Fukuoka a leader in the worldwide sustainable-agriculture movement. He continued farming until shortly before his death in 2008, at the age of ninety-five.
ในปี 1975 เขาเขียน “การปฏิวัติด้วยฟางเส้นเดียว” หนังสือขายดีที่บรรยายถึงการท่องไปในชีวิตของเขา ปรัชญา และเทคนิคในการทำนา   หนังสือเล่มนี้ ได้ถูกแปลกว่า 25 ภาษา และได้ช่วยนำให้คุณฟูกุโอกะ เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนทั่วโลก   เขาทำนาต่อไปจวบจนไม่นานก่อนมรณกรรมในปี 2008 ศิริอายุ 95 ปี

Published on Friday, July 20, 2012 by Common Dreams
ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น