วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

60. ริโอ เหลวไหล ประชาสังคมโลกเดินหน้า กู้ชีพพระแม่ธรณี เพื่อรุ่นเรา และลูกหลานเหลน...


Rio+20: An Undesirable U-Turn
-          Vandana Shiva
ริโอ+20:  การเลี้ยวกลับที่ไม่พึงปรารถนา
-          วันทนา ศิวะ
"I treat Rio+20 as a square bracket," writes Shiva. "In the UN jargon the text between the square brackets is not a consensus and often gets deleted. It is not the final step, it is just punctuation."
“ฉันกระทำต่อ ริโอ+20 ในฐานะเป็นเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม” ศิวะเขียน  “ในคำศัพท์ของยูเอ็น  ข้อความในวงเล็บเหลี่ยม ไม่ใช่เป็นมติ และมักถูกตัดทิ้ง   มันไม่ใช่ก้าวสุดท้าย มันเป็นเพียงเครื่องหมายวรรคตอน”

Twenty years ago at the Earth Summit, legally binding agreements to protect biodiversity and prevent catastrophic climate change were signed. The Convention on Biological Diversity (CBD) and the United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCC) propelled governments to start shaping domestic laws and policies to address two of the most significant ecological crisis of our times.
ยี่สิบปีก่อนที่การประชุมสุดยอดพิภพ มีการลงนามรับรองข้อตกลงที่มีข้อผูกพันทางกฎหมายในการพิทักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และป้องกันหายนะจากภูมิอากาศแปรปรวน   สนธิสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (CBD) และ กรอบคิดสหประชาชาติในอนุสัญญาภูมิอากาศแปรปรวน (UNFCC) ได้ขับดันให้รัฐบาลต่างๆ เริ่มปรับกฎหมายและนโยบายในประเทศ ให้แก้ไขปัญหาวิกฤตนิเวศที่มีนัยสำคัญสูงที่สุดในยุคของเรา

The appropriate agenda for Rio+20 should have been to assess why the implementation of Rio treaties has been inadequate, report on how the crises have deepened and offer legally binding targets to avoid deepening of the ecological crises.
วาระที่เหมาะสมสำหรับ ริโอ+20 ควรมีลักษณะเพื่อประเมินว่า ทำไม การดำเนินการสนธิสัญญาริโอ จึงไม่ก้าวหน้ามากพอ   เพื่อรายงานว่า วิกฤตต่างๆ ได้เจาะลึกลงแค่ไหน และ เพื่อเสนอเป้าหมายที่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย เพื่อไม่ให้วิกฤตนิเวศจมลึกไปกว่านั้น

But the entire energy of the official process was focused on how to avoid any commitment. Rio+20 will be remembered for what it failed to do during a period of severe and multiple crises and not for what it achieved.
แต่พลังทั้งหมดของกระบวนการทางการเมือง มุ่งอยู่ที่ จะทำอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงความผูกพัน   ริโอ+20 จะถูกจดจำในฐานะว่า ล้มเหลวที่จะทำอะไร ในห้วงเวลาที่วิกฤตร้ายแรงทวีคูณ และ ไม่ใช่ในฐานะว่า ได้ทำอะไรสำเร็จไปบ้าง

It will be remembered for offering a bailout for a failing economic system through the “green economy” — a code phrase for the commodification and financialisation of nature. The social justice and ecology movements rejected the green economy outrightly. A financial system which collapsed on the Wall Street in 2008 and had to be bailed out with trillions of taxpayers’ money and continues to be bailed out through austerity measures squeezing the lives of people is now being proposed as the saviour of the planet. Through the green economy an attempt is being made to technologise, financialise, privatise and commodify all of the earth’s resources and living processes.
มันจะถูกจดจำในฐานะว่า ได้เสนอให้ฉุดช่วยระบบเศรษฐกิจที่ไม่ทำงาน ด้วย “เศรษฐกิจเขียว”—รหัสวลี เพื่อการแปรรูปธรรมชาติให้เป็นสินค้า และการเงิน    ขบวนการสังคมเป็นธรรมและสิ่งแวดล้อม ได้ปฏิเสธ เศรษฐกิจเขียว ทั้งดุ้น    ระบบการเงินที่พังทลายบนถนนวอลล์สตรีท ในปี 2008 และที่ต้องถูกฉุดช่วยด้วยเงินนับล้านล้านเหรียญ ของผู้เสียภาษี และยังคงต้องฉุดช่วยต่อไป ด้วยนโยบายรัดเข็มขัด ที่กำลังบีบคั้นชีวิตประชาชน ตอนนี้ กำลังถูกเสนอให้เป็น พระผู้ช่วยให้รอดของโลก   ด้วย เศรษฐกิจเขียว  มีความพยายามที่จะแปรรูปทรัพยากรทั้งหมดและกระบวนชีวิตทั้งหมดในพิภพ ด้วยเทคโนโลยี การเงิน ออกนอกระบบ (ให้เป็นกรรมสิทธิ์เอกชน/ภาคธุรกิจ) และเป็นสินค้า

This is the last contest between a life-destroying worldview of man’s empire over earth and a life-protecting worldview of harmony with nature and recognition of the rights of Mother Earth. I carried 100,000 signatures from India for the universal declaration on the rights of Mother Earth, which were handed over to the UN Secretary-General Ban Ki-moon.
นี่เป็นการประชันครั้งสุดท้าย ระหว่าง โลกทัศน์ทำลายล้างชีวิต ของการสร้างอาณาจักรมนุษย์เหนือพิภพ  และโลกทัศน์การปกป้องชีวิตของความกลมกลืนกับธรรมชาติ และยอมรับสิทธิ์ของพระแม่ธรณี   ฉันนำลายเซ็น 100,000 ชื่อจากอินเดีย รับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของพระแม่ธรณี ซึ่งได้ยื่นต่อเลขาธิการสหประชาชาติ บัน คีมูน แล้ว

It is a reflection of the persistence and strength of our movements that while the final text has reference to the green economy, it also has an article referring to Mother Earth and the rights of nature. Article 39 states: “We recognise that the planet earth and its ecosystems are our home and that Mother Earth is a common expression in a number of countries and regions and we note that some countries recognise the rights of nature in the context of the promotion of sustainable development. We are convinced that in order to achieve a just balance among the economic, social and environmental needs of present and future generations, it is necessary to promote harmony with nature.”
มันเป็นภาพสะท้อนการยืนกรานและความเข้มแข็งของขบวนการของพวกเราว่า ในขณะที่ เอกสารสุดท้าย ได้เอ่ยอ้างถึงเศรษฐกิจเขียว   ก็มีมาตราหนึ่ง ที่อ้างถึง พระแม่ธรณี และสิทธิของธรรมชาติ    มาตรา 39 ระบุว่า “เรายอมรับว่า โลกพิภพ และระบบนิเวศของมัน เป็นบ้านของเรา และ พระแม่ธรณี เป็นสัญลักษณ์แสดงออกในหลายๆ ประเทศและภูมิภาค  และเราเห็นแล้วว่า บางประเทศ ยอมรับสิทธิ์ของธรรมชาติในบริบทของการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน    เราได้รับถูกโน้มน้าวว่า เพื่อให้บรรลุความเป็นธรรมที่สมดุลในระหว่าง ความจำเป็นเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของคนรุ่นปัจจุบัน และอนาคต จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมความปรองดองกลมกลืนกับธรรมชาติ”

This, in fact, is the framework for the clash of paradigms that dominated Rio+20 — the paradigm of green economy to continue the economy of greed and resource grab on the one hand, and the paradigm of the rights of Mother Earth, to create a new living economy in which the gifts of the earth are sustained and shared.
อันนี้ ที่แท้ เป็นกรอบคิดเพื่อรองรับการปะทะของกระบวนทัศน์ที่ครอบงำ ริโอ+20 – กระบวนทัศน์ของเศรษฐกิจเขียว ให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งความโลภและการฉกชิงทรัพยากร ในข้างหนึ่ง และ กระบวนทัศน์ของสิทธิของพระแม่ธรณี เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่มีชีวิตใหม่ ที่ๆ ของกำนัลจากพิภพ มีความยั่งยืน และมีการแบ่งปันกัน

While the Rio+20 process went backwards, some governments did move forward to create a new paradigm and worldview. Ecuador stands out for being the first country to have included the rights of nature in its Constitution. At Rio+20, the government of Ecuador invited me to join the President, Rafael Correa, for an announcement of the Yasuni initiative, through which the government will keep the oil underground to protect the Amazon forest and the indigenous communities.
ในขณะที่ ริโอ+20 เดินถอยหลัง  บางรัฐบาลได้ก้าวไปข้างหน้า เพื่อสร้างกระบวนทัศน์และโลกทัศน์ใหม่   เอกัวดอร์ ยืนโดดเด่น ในฐานะที่เป็นประเทศแรก ที่ได้บรรจุสิทธิของธรรมชาติลงในรัฐธรรมนูญ   ที่ริโอ+20  รัฐบาลเอกัวดอร์ ได้เชิญให้ฉันร่วมกับประธานาธิบดี ราฟาเอล คอร์เรีย ในการประกาศ การริเริ่ม ยาสุนิ กล่าวคือ รัฐบาลจะให้น้ำมันคงอยู่ใต้ดิน เพื่อปกป้องป่าอเมซอน และชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิม

The second government, which stood out in the community of nations, is our tiny neighbor Bhutan. Bhutan has gone beyond GDP as a measure of progress and has adopted gross national happiness. More significantly, Bhutan has recognised that the most effective way to grow happiness is to grow organic food. As the Prime Minister of Bhutan, Jigmi Thinley, said at a conference in Rio: “The Royal Government of Bhutan on its part will relentlessly promote and continue with its endeavour to realise the dreams we share of bringing about a global movement to return to organic agriculture so that the crops, and the earth on which they grow, will become genuinely sustainable — and so that agriculture will contribute not to the degradation but rather to the resuscitation and revitalisation of nature.”
รัฐบาลที่สอง ที่ยืนอยู่หน้าชุมชนนานาชาติ คือ เพื่อนบ้านเล็กๆ ของเรา ภูฐาน   ภูฐาน ได้ก้าวเกิน จีดีพี ว่าเป็นมาตรวัดความเจริญ และได้ใช้ จีเอ็นเอ็ช หรือ ความสุขประชาชาติมวลรวม   ยิ่งกว่านั้น ภูฐานได้ยอมรับว่า หนทางที่มีประสิทิภาพที่สุดในการเพาะปลูกความสุข คือ ปลูกอาหารอินทรีย์   ดังที่นายกรัฐมนตรี จิกมี ธินเลย์ กล่าวในที่ประชุมริโอ  “ในส่วนของ รัฐบาลของราชอาณาจักรภูฐาน  จะไม่หยุดยั้งในการส่งเสริม และดำเนินต่อไป ภารกิจสู่ความฝัน ที่พวกเรามีร่วมกัน ในการนำขบวนการโลกให้คืนสู่เกษตรอินทรีย์ เพื่อว่า พืชพรรณ และผืนพิภพที่มันงอกเงยขึ้นมา จะมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง – และเพื่อว่า เกษตรกรรม จะไม่ใช่ทำให้เกิดความเสื่อมสลาย แต่ จะกู้ชีพ และฟื้นพลังชีวิตของธรรมชาติ”

Most governments were disappointed with the outcome of Rio+20. There were angry movements and protests. More than 100,000 people marched to say this was not “The Future We Want” — the title of the Rio+20 text.
รัฐบาลส่วนมาก ล้วนผิดหวังต่อผลพวงของริโอ+20   มีการเคลื่อนไหวที่โกรธเคืองและประท้วง   กว่า 100,000 คนได้เดินขบวน ร้องว่า นี่ไม่ใช่ “อนาคตที่เราต้องการ” – อันเป็นป้ายพาดหัวของเอกสาร ริโอ+20

I treat Rio+20 as a square bracket — in the UN jargon the text between the square brackets is not a consensus and often gets deleted. It is not the final step, it is just punctuation. Democracy and political processes will decide the real outcome of history and the future of life on earth. Our collective will and actions will determine whether corporations will be successful in privatizing the last drop of water, the last blade of grass, the last acre of land, the last seed, or whether our movements will be able to defend life on earth, including human life in its rich diversity, abundance and freedom.
ฉันกระทำต่อริโอ+20 ดั่งเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม -- ในคำศัพท์ของยูเอ็น  ข้อความในวงเล็บเหลี่ยม ไม่ใช่เป็นมติ และมักถูกตัดทิ้ง   มันไม่ใช่ก้าวสุดท้าย มันเป็นเพียงเครื่องหมายวรรคตอน  ประชาธิปไตย และกระบวนการทางการเมือง จะตัดสินผลพวงที่แท้จริงของประวัติศาสตร์ และอนาคตของชีวิตบนพิภพ   ความมุ่งมั่นและปฏิบัติการร่วมของพวกเรา  จะตัดสินว่า บรรษัทจะประสบความสำเร็จ ในการแปรรูปน้ำหยดสุดท้าย หญ้าใบสุดท้าย ผืนดินแปลงสุดท้าย  เมล็ดเม็ดสุดท้าย  หรือว่า ขบวนการของพวกเรา จะสามารถปกป้องชีวิตบนผืนพิภพ รวมทั้งชีวิตมนุษย์ท่ามกลางความของความรุ่มรวยอันหลากหลาย  อุดมสมบูรณ์ และ อิสรภาพ
© 2012 The Asian Age

Dr. Vandana Shiva is a philosopher, environmental activist and eco feminist. She is the founder/director of Navdanya Research Foundation for Science, Technology, and Ecology. She is author of numerous books including, Soil Not Oil: Environmental Justice in an Age of Climate Crisis; Stolen Harvest: The Hijacking of the Global Food Supply; Earth Democracy: Justice, Sustainability, and Peace; and Staying Alive: Women, Ecology, and Development. Shiva has also served as an adviser to governments in India and abroad as well as NGOs, including the International Forum on Globalization, the Women’s Environment and Development Organization and the Third World Network. She has received numerous awards, including 1993 Right Livelihood Award (Alternative Nobel Prize) and the 2010 Sydney Peace Prize.
ดร.วันทนา ศิวะ เป็นนักปราชญ์  นักกิจกรรมสิ่งแวดล้อม และ นักสิทธิสตรีเชิงนิเวศ  เธอเป็นผู้ก่อตั้ง/ผู้อำนวยการ ของ นวธัญญะ—มูลนิธิเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนิเวศวิทยา  เธอเป็นผู้ประพันธ์หนังสือมากมาย  “ดินไม่ใช่น้ำมัน: ความเป็นธรรมในสิ่งแวดล้อม ในยุควิกฤตภูมิอากาศ”,  “เก็บเกี่ยวที่ถูกขโมย: การปล้มสะดมภ์ เสบียงอาหารโลก”,  “ประชาธิปไตยพิภพ: ความเป็นธรรม ความยั่งยืน และสันติ”,  “อยู่อย่างมีชีวิต: ผู้หญิง นิเวศวิทยา และการพัฒนา”.  ศิวะ ได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลในอินเดียและต่างประเทศ ตลอดจน เอ็นจีโอ รวมทั้ง International Forum on Globalization, the Women’s Environment and Development Organization and the Third World Network   เธอได้รับรางวัลมากมาย รวมทั้ง รางวัลสัมมาชีพ (คู่ขนานของ รางวัลโนเบล) ในปี 1993 และ รางวัลสันติภาพซิดนีย์ ในปี 2010

Published on Tuesday, July 3, 2012 by The Asian Age
http://www.commondreams.org/view/2012/07/03-2, 7-3-12
ดรุณีแปล 7-7-12

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น