วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

66. พลังผู้บริโภค และพลังพลเมือง เป็นสองปีกผันโลก สู่ทางรอด




The Story of Change
Can shopping save the world? Put down your credit card and start exercising your citizen muscles with Annie Leonard’s new film.
 by Annie Leonard
เรื่องราวของการเปลี่ยนแปลง
การช็อปจะปกป้องโลกได้ไหม?  วางบัตรเครดิตของคุณลง และเริ่มบริหารกล้ามพลเมืองของคุณกับภาพยนตร์ใหม่ของ แอนนี เลียวนาร์ด
-           แอนนี เลียวนาร์ด

http://www.youtube.com/watch?v=oIQdYXCKUv0&feature=player_embedded
For more resources, visit The Story of Change.

Our real power is not in choosing from items on a limited menu;
 it is in determining what gets on that menu.
อำนาจที่แท้จริงของเรา ไม่ใช่อยู่ที่เลือกสินค้าจากเมนูที่จำกัด
มันอยู่ที่การตัดสินว่า อะไรอยู่ในเมนูได้

I used to think the truth would set us free. Like many who care about the environment, I spent years thinking that information would lead to change. If only people realize the mess our planet is in, I thought, things will change. So I wrote reports, gave speeches, even testified before Congress. 
ฉันเคยคิดว่า ความจริงจะทำให้เราเป็นอิสระ   เหมือนกับคนอีกมากมายที่ห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม ฉันใช้เวลาหลายปี คิดว่า ข้อมูลจะนำสู่การเปลี่ยนแปลง   หากเพียงแต่ผู้คนตระหนักถึงความเละเทะในโลกที่เราอาศัยอยู่ ฉันคิด อะไรๆ ก็จะเปลี่ยน   ดังนั้น ฉันเขียนราบงาน แสดงปาฐกถา แม้แต่ให้การต่อสภาคองเกรส

Some things changed. Sadly, the big picture didn’t.
การเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้น  แต่น่าเศร้า ภาพใหญ่ไม่เปลี่ยน

For a long time I couldn’t understand why. Now I’ve realized we don’t need more data, white papers or documentaries to tell us we’re in trouble. Every day, the news is full of extreme weather disasters, toxic chemical scares and the cruel consequences of economic inequality. At this point, most people know.
เป็นเวลานานที่ฉันไม่เข้าใจว่าทำไม   ตอนนี้ ฉันเริ่มตระหนักว่า เราไม่จำเป็นต้องมีข้อมูล  รายงานปกขาว หรือบันทึกสารพัด มากขึ้น เพื่อบอกเราว่า เรากำลังแย่   ทุกวัน ข่าวสารเต็มไปด้วยภัยพิบัติของอากาศสุดโต่ง  มลพิษจากสารเคมี  และผลลัพธ์ที่โหดร้ายของความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ   ถึงจุดนี้ ทุกคนรู้แล้ว

And the good news is that most people care. Most of us want a safe and healthy environment. Most of us are horrified by the idea of babies born with harmful chemicals in their blood. Most of us would rather see investments in clean energy than billion-dollar subsidies for fossil fuel fatcats. Most of us would prefer to live in a just society.
และข่าวดีคือ คนส่วนใหญ่มีความห่วงใย   พวกเราส่วนใหญ่ต้องการสิ่งแสดล้อมที่ปลอดภัย และมีสุขอนามัยดี    พวกเราส่วนใหญ่ตกใจกลัวเมื่อได้ยินว่าทารกเกิดมาก็มีสารพิษเคมีในเลือดแล้ว   พวกเราส่วนใหญ่ต้องการเห็นการลงทุนในพลังงานสะอาดมากกว่าการช่วยอุดหนุนทางการเงินนับพันล้านดอลลาร์สำหรับแมวอ้วนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์   พวกเราส่วนใหญ่ต้องการอยู่ในสังคมที่เป็นธรรม

So, if people know, and if people care, why aren’t we generating the level of change needed to turn things around? My new movie, The Story of Change, argues it’s partly because we’ve gotten stuck in our consumer mode.
ดังนั้น ถ้าประชาชนรู้ และถ้าประชาชนมีความห่วงใย ไฉนเล่าเราจึงไม่ทำให้เกิดระดับการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเพื่อให้ผันกลับสิ่งต่างๆ?   ภาพยนตร์ใหม่ของฉัน “เรื่องราวของการเปลี่ยนแปลง” แย้งว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเราติดกับอยู่ในภาวะผู้บริโภค

I’ve come to see that we have two parts to ourselves; it’s almost like two muscles—a consumer muscle and a citizen muscle. Our consumer muscle, which is fed and exercised constantly, has grown strong: So strong that “consumer” has become our primary identity, our reason for being. We’re told so often that we’re a nation of consumers that we don’t blink when the media use “consumer” and “person” interchangeably.
ฉันได้เห็นแล้วว่า เรามีสองส่วนในตัวเรา เหมือนกับกล้ามเนื้อสองมัด—กล้ามผู้บริโภค และกล้ามพลเมือง ที่ได้รับการเลี้ยงดู และมีการบริหารอยู่เสมอ—ได้เติบใหญ่ และแข็งแรง  แข็งแรงมากขนาดที่ “ผู้บริโภค” ได้กลายเป็นปฐมอัตลักษณ์ของเรา เหตุผลของการเป็นตัวเรา             พวกเราถูกกรอกหูว่า เราเป็นชนชาติแห่งผู้บริโภค ถึงขนาดว่า เราไม่กระพริบตาเลย เมื่อสื่อใช้คำว่า “ผู้บริโภค” และ “บุคคล” ดั่งคำเดียวกัน

Meanwhile, our citizen muscle has gotten flabby. There’s no marketing campaign reminding us to engage as citizens. On the contrary, we’re bombarded with lists of simple and easy things we can buy or do to save the planet, without going out of our way or breaking a sweat.
ในขณะเดียวกัน กล้ามพลเมืองของเราเริ่มฝ่อ   ไม่มีการรณรงค์ตลาดมาเตือนพวกเราให้เป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วม   ในทางตรงข้าม เราถูกจู่โจมด้วยรายการสิ่งของง่ายๆ ที่เราสามารถซื้อ หรือทำเพื่อปกป้องโลก โดยไม่ต้องทำอะไรผิดปกติแม้แต่เสียเหงื่อ

No wonder that, faced with daunting problems and discouraged by the intransigence of the status quo, we instinctively flex our power in the only way we know how—our consumer muscle. Plastic garbage choking the oceans? Carry your own shopping bag. Formaldehyde in baby shampoo? Buy the brand with the green seal. Global warming threatening life as we know it? Change our lightbulbs. (As Michael Maniates, a professor of political and environmental science at Allegheny College, says: “Never has so little been asked of so many.”)
มิน่าเล่า พอเจอปัญหาน่ากลัว และถูกขู่ด้วยผู้มีอำนาจหัวดื้อ เราก็งออำนาจของเราตามสัญชาตญาณเข้าไปในหนทางเดียวที่เรารู้จัก—กล้ามผู้บริโภคของเรา    ขยะถุงพลาสติกทำให้มหาสมุทรสำลักหรือ?   เอาถุงตัวเองติดตัวไปช็อป   มีฟอร์มัลดีไฮด์ในแชมพูเบบี้หรือ?  ซื้อยี่ห้อที่มีฉลากสีเขียว    โลกร้อนกำลังคุกคามชีวิตอย่างที่เรารู้ๆ กันหรือ?  เปลี่ยนหลอดไฟของเรา   (ดังที่ ไมเคิล มาเนียเตส ศาสตราจารย์ วิทยาศาสตร์การเมืองและสิ่งแวดล้อม ที่วิทยาลัย Allegheny บอกว่า “ไม่เคยมีมาก่อนที่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ถูกตั้งคำถามมากมาย”)

Now, all of those are good things to do. When we shop, it’s good to choose products without toxic chemicals and unnecessary packaging, made by locally based companies that treat their workers well. On the other hand, shunning products that are unhealthy for workers, communities and the planet sends a message to companies that are still stuck in the dinosaur economy. Sometimes not buying—making do with what we have or sharing with a friend – is the best option of all.
เอาล่ะ สิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องดีที่จะทำ   เมื่อเราช็อป ย่อมดีกว่าที่จะเลือกผลิตภัณฑ์ไร้สารพิษเคมี และการห่อบรรจุที่ไม่จำเป็น  ของที่ผลิตโดยบริษัทท้องถิ่น ที่ดูแลคนงานอย่างดี  ในทางตรงข้าม การไม่ซื้อสินค้าที่ไม่ดูแลสุขภาวะของคนงาน ชุมชน และโลก เป็นการส่งสัญญาณให้บริษัทที่ยังติดอยู่ในเศรษฐกิจไดโนเสาร์   บางทีการไม่ซื้อ—ใช้เท่าที่มี หรือแบ่งปันกับเพื่อน—เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

But our real power is not in choosing from items on a limited menu; it is in determining what gets on that menu. The way to ensure that toxic, climate-disrupting choices are replaced with safe and healthy alternatives—for everyone, not just those who can afford them—is by engaging as citizens: working together for bigger, bolder change than we could ever accomplish on an individual consumer level.
แต่อำนาจที่แท้จริงของเราไม่ใช่อยู่ที่การเลือกสินค้าจากเมนูที่จำกัด  มันอยู่ที่การตัดสินว่า อะไรอยู่ในเมนูได้
หนทางที่จะทำให้แน่ใจว่า ทางเลือกที่สร้างมลภาวะ และรวนภูมิอากาศ จะถูกแทนที่ด้วยทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยและรักษาสุขภาวะ—สำหรับทุกๆ คน ไม่เพียงแต่คนที่มีเงินจ่ายได้—คือ การมีส่วนร่วมในฐานะพลเมือง  ทำงานด้วยกันเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่กว่า กล้าหาญกว่า  ที่เราจะสามารถบรรลุได้ในระดับผู้บริโภคปัจเจก

Look back at successful movements—civil rights, anti-apartheid, the early environmental victories—and you’ll see that three things are needed to make change at the scale we need today.
เหลียวย้อนไปดูการขับเคลื่อนที่สำเร็จ—สิทธิพลเมือง  ต่อต้านการแยกสีผิว  ชัยชนะของขบวนการสิ่งแวดล้อมยุคแรก—และ คุณจะเห็นสามสิ่งที่จำเป็น เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับที่เราต้องการทุกวันนี้

First, we need a Big Idea of how things could be better—a morally compelling, ecologically sustainable and socially just idea that will not just make things a little better for a few, but a lot better for everyone. Millions around the world already have that idea: an economy based on the needs of people and the planet, not corporate profit.
ประการแรก เราจำเป็นต้องคิดใหญ่ว่า  ทำอย่างไร สิ่งต่างๆ จะดีขึ้น—ความคิดที่กระตุ้นต่อมศีลธรรม ยั่งยืนเชิงสิ่งแวดล้อม และเป็นธรรมในสังคม ที่ไม่เพียงแค่ทำให้สิ่งต่างๆ ดีขึ้นเล็กน้อย สำหรับคนไม่กี่คน แต่ดีขึ้นมาก สำหรับทุกๆ คน    คนนับล้านทั่วโลกมีความคิดแล้ว  เศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนความจำเป็นของประชาชนและโลกพิภพ  ไม่ใช่กำไรของบรรษัท

Second, we need a commitment to work together. In history’s most transformative social movements, people didn’t say, “I will perfect my individual daily choices,” but “We will work together until the problem is solved.” Today, it’s easier than ever to work together, online and off.
ประการที่สอง  เราจำเป็นต้องมีปณิธานที่จะทำงานด้วยกัน   ในประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวแปรเปลี่ยนสังคมส่วนใหญ่ ประชาชนไม่พูดว่า “ฉันจะทำให้ทางเลือกในชีวิตประจำวันของฉันคนเดียวสมบูรณ์ที่สุด”  แต่  “เราจะทำงานร่วมกันจนกว่าปัญหาจะแก้ได้”   ทุกวันนี้ การทำงานร่วมกันง่ายกว่าก่อนมาก ทั้ง ออน และ ออฟ ไลน์

Finally, we need all of us who share that Big Idea to get active. We need to move from a place of shared concern, frustration and fear to a place of engaged citizen action. That’s how we build the power to make real change.
ในที่สุด เราจำเป็นที่จะทำให้พวกเราทุกคนแบ่งรับแบ่งสู้ใน ความคิดที่ยิ่งใหญ่ และร่วมกันอย่างกระฉับกระเฉง   เราจำเป็นต้องเคลื่อนจากจุดของการมีความรู้สึกร่วม—ห่วงใย  ผิดหวังท้อแท้  หวาดกลัว—สู่จุดของการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการ   นั่นคือวิธีการที่เราจะสร้างอำนาจที่แท้จริงในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง

We have to aim high, work together and act boldly. It’s not simple, and it certainly won’t be easy. But history is on our side. Let’s get to work to make the kind of change we know is possible.
เราต้องเล็งสูง ทำงานร่วมกัน และปฏิบัติการอย่างหาญกล้า   มันไม่ธรรมดา และแน่นอน ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ   แต่ประวัติศาสตร์เข้าข้างเราแล้ว   ขอให้พวกเราทำงานเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เรารู้ว่า เป็นไปได้

Annie has committed almost twenty years to investigating and organizing on environmental health and justice issues. Annie is the author and host of The Story of Stuff and the director of the Story of Stuff Project. She is also the creator of The Story of Cap & Trade, The Story of Cosmetics, The Story of Bottled Water, and The Story of Electronics.
แอนนี ได้ใช้เวลาเกือบยี่สิบปีในการตรวจสอบและจัดกระบวนองค์กรในประเด็นสุขภาพและความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม    แอนนี เป็นผู้ประพันธ์และเจ้าภาพของรายการ “เรื่องราวของสาระ” และเป็นผู้อำนวยการของ โครงการ เรื่องราวของสาระ   เธอเป็นผู้สร้าง “เรื่องราวของแค๊ปและการค้า”  “เรื่องราวของเครื่องสำอาง” “เรื่องราวของขวดน้ำดื่ม” และ “เรื่องราวของอิเล็คทรอนิคส์”

Published on Thursday, July 19, 2012 by YES! Magazine
ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น