วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

56. อุตสาหกรรมกระชังปลามหาสมุทร และ อนาคตสูญพันธุ์ชาวประมงพื้นบ้าน


FOR IMMEDIATE RELEASE
 July 2, 2012,  11:01 AM 
CONTACT: Food & Water Watch: Rich Bindell, 202-683-2457, rbindell@fwwatch.org

Ocean-Farmed Fish, Brought to You by Monsanto and Cargill
Soy Industry Stands to Gain Hundreds of Millions Annually from Open Ocean Aquaculture
“ฟาร์มปลาในมหาสมุทร”  นำเสนอสู่ท่านโดย มอนซานโต และ คาร์กิลล์
อุตสาหกรรมถั่วเหลือง ยืนรอรับผลประโยชน์รายปีนับหลายร้อยล้าน จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในมหาสมุทรเปิด

WASHINGTON and BRUSSELS - July 2 - If proponents of soy in aquaculture alliance have it their way, soy will be used to feed fish in open ocean pens in federal waters, a move that would negatively impact the marine environment as well as the diets of both fish and consumers.
วอชิงตัน และ บรัสเซล – หากผู้หนุนหลังพันธมิตรในการใช้ถั่วเหลืองเพื่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ กำหนดทางของตัวเองได้  ถั่วเหลืองจะถูกใช้เลี้ยงปลาในคอกมหาสมุทรเปิดในน่านน้ำของสหพันธ์  นี่เป็นการขยับก้าวที่จะมีผลกระทบเชิงลบต่อสภาวะแวดล้อมทะเล รวมทั้งโภชนาการของปลา และผู้บริโภค

Food & Water Watch and Food & Water Europe’s new report, “Factory-Fed Fish: How the Soy Industry is Expanding Into the Sea,” shows how a collaboration between two of the most environmentally damaging industries on land and sea —the soy and open ocean aquaculture industries, respectively—could be devastating to ocean life and consumer health. And since much of the soy produced in the United States is genetically engineered (GE), consuming farmed fish would likely mean eating fish that are fed GE soy.
ตามข่าวของ กลุ่มจับตามองอาหารและน้ำ และ กลุ่มอาหารและน้ำยุโรป รายงาน “ปลาเลี้ยงด้วยอาหารโรงงาน: อุตสาหกรรมถั่วเหลืองแผ่เข้าไปในทะเลได้อย่างไร” แสดงให้เห็นถึง ความร่วมมือระหว่างสองอุตสาหกรรมที่ผลาญทำลายสิ่งแวดล้อมมากที่สุดบนบกและทะเล—อุตสาหกรรมถั่วเหลืองและอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในมหาสมุทรเปิด—จะสร้างหายนะต่อสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทร และสุขภาพของผู้บริโภค    และเนื่องจากถั่วเหลืองที่ผลิตในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ได้รับการตัดแต่งทางพันธุกรรม (GE), การบริโภคผลิตภัณฑ์จากฟาร์มปลา ก็หมายถึงการกินปลาที่เลี้ยงด้วยถั่วเหลือง GE ด้วย

“Our seas are not Roundup ready,” said Wenonah Hauter, Executive Director of Food & Water Watch. “Soy is being promoted as a better alternative to feed made from wild fish, but this model will not help the environment, and it will transfer massive industrial farming models into our oceans and further exacerbate the havoc wreaked by the soy industry on land—including massive amounts of dangerous herbicide use and massive deforestation.”
“ทะเลของเราไม่ใช่เพียงแต่ถูกฆาตกรรม (Roundup เป็นยี่ห้อสารกำจัดแมลง/วัชพืชด้วย) เรียบร้อยไปแล้ว” วีโนนาห์ ฮูเตอร์ ผู้อำนวยการของ กลุ่มจับตามองอาหารและน้ำ กล่าว “ถั่วเหลืองได้ถูกส่งเสริมให้เป็นทางเลือกที่ดีกว่าอาหารที่ผลิตสำหรับเลี้ยงปลานอกคอก แต่โมเดลนี้จะไม่ช่วยสิ่งแวดล้อมเลย และมันจะถ่ายเทโมเดลการทำฟาร์มอุตสาหกรรมอันใหญ่โตมหาศาล ลงสู่มหาสมุทรของเรา และขยายวงหายนะที่อุตสาหกรรมถั่วเหลืองได้ก่อขึ้นบนบกของเราแล้ว--รวมทั้ง การใช้ยากำจัดวัชพืชที่อันตราย และการทำลายป่า ในปริมาณมหาศาล

The powerful soy industry, which is well represented in Washington, D.C. and Brussels, stands to gain over $200 million (€160 million) each year by aggressively promoting the use of soy to feed farmed fish at a time when more and more consumers are eating seafood sourced from aquaculture or fish farms. Close to half of the seafood we consume globally comes from these factory fish farms.
อุตสาหกรรมถั่วเหลืองที่ทรงอำนาจ ที่มีตัวแทนในวอชิงตัน ดีซี และ บรัสเซล  ยืนรอรับเงินกว่า $200 ล้าน (หรือ €160 ล้าน) ทุกๆ ปี ด้วยการผลักดันอย่างก้าวร้าวในการส่งเสริมให้ใช้ถั่วเหลืองเลี้ยงฟาร์มปลา ในห้วงเวลานี้ ที่ผู้บริโภคมากขึ้น ๆ กำลังกินอาหารทะเล ที่มาจากแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือฟาร์มปลา   เกือบครึ่งหนึ่งของอาหารทะเลที่เราบริโภคกันทั่วโลก มาจากโรงงานฟาร์มปลาเหล่านี้  

Unfortunately, increased use of soy in fish feed could do greater harm to the health of fisheries by increasing the amount of soybeans grown. Like other monoculture crops, soybeans require large amounts of fertilizer for their production. Much of this fertilizer gets washed off the fields and into waterways that eventually lead to important fisheries such as the Gulf of Mexico or the Chesapeake Bay. The nitrogen and phosphorus from this fertilizer contributes to the dead zones in these fisheries, reducing the number of fish that live there and the ability of fishermen to catch them.
โชคไม่ดี การใช้ถั่วเหลืองเลี้ยงปลามากขึ้น สามารถสร้างความเสียหายแก่สุขภาพของการประมง ด้วยการปลูกถั่วเหลืองให้มากขึ้น   ดังเช่นพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวอื่นๆ ถั่วเหลืองต้องการปุ๋ยปริมาณมากในการผลิต   ปุ๋ยเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะถูกชะล้างออกจากแปลง และลงสู่ทางน้ำ ที่ในที่สุด ก็ลงไปในแหล่งประมงสำคัญๆ เช่น อ่าวเม็กซิโก หรือ อ่าว Chesapeake   ปริมาณไนโตรเจน และฟอสฟอรัส จากปุ๋ยเหล่านี้ จะทำให้เกิด “แดนตาย” สำหรับการประมงเหล่านี้  ด้วยการลดจำนวนปลาที่ยังชีพที่นั่น และความสามารถของชาวประมงในการจับมัน

Relying on soy to feed farmed fish could also have devastating affects on consumer choice. In 2007, there were total of 279,110 soybean farms. A 2008 report indicated that only 1,336 soybean farms were certified organic, which do not allow the use of GE crops. This leaves a lot of room for non-organic soybean farms to produce crops from GE seeds. GE soy-fed fish would probably not need to be labeled, so consumers wouldn’t know that they were eating fish fed with GE soy. Considering that Monsanto and Cargill would be big players—two agribusinesses that use GE seeds—this scenario seems likely. 
การพึ่งใช้ถั่วเหลืองในฟาร์มปลายังสร้างผลกระทบแห่งความหายนะต่อทางเลือกของผู้บริโภค   ในปี  2007 มีฟาร์มถั่วเหลืองทั้งหมด 279,110 แห่ง   รายงานปี 2008 ระบุว่า มีเพียง 1,336 แห่งที่ได้มีใบรับรองว่าใช้วิถีอินทรีย์ ที่ไม่ยอมให้ใช้พืชพันธุ์ GE    นี่หมายถึงมีพื้นที่กว้างใหญ่สำหรับฟาร์มถั่วเหลือง ที่ไม่ใช่อินทรีย์ ผลิตเมล็ด GE   ปลาที่กินถั่วเหลือง GE ก็คงไม่จำเป็นต้องถูกติดป้าย เพื่อว่า ผู้บริโภคจะได้ไม่รู้ตัวว่า กำลังกินปลาที่เลี้ยงด้วยถั่ว GE   เมื่อคำนึงถึง มอนซานโต และ คาร์กิลล์ ว่าจะเป็นผู้เล่นรายใหญ่—สองธุรกิจเกษตรพาณิชย์ที่ใช้เมล็ด GE—เรื่องนี้ดูน่าจะเป็นไปได้

While the soy industry is busy promoting soy as an environmentally friendly alternative to fish feed from wild fish, it is clear that soy is not a natural food for fish to eat, and that its use can be destructive to ocean ecosystems. Fish have a difficult time digesting it, and it causes nutrient deficiency. As a result, fish tend to produce excessive amounts of waste, which attracts disease and bacteria, and disrupts the normal ecology of the immediate marine environment.
ในขณะที่อุตสาหกรรมถั่วเหลืองกำลังวุ่นวายกับการส่งเสริมถั่วเหลืองว่าเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แทนอาหารปลาสำหรับปลานอกคอก  มันชัดอยู่แล้วว่า ถั่วเหลืองไม่ใช่อาหารธรรมชาติที่ปลาจะกิน และการใช้มัน จะทำลายล้างระบบนิเวศของมหาสมุทร   ปลาจะย่อยมันได้ยาก และมันก็จะทำให้เกิดการขาดธาตุอาหาร   ผลสุดท้าย ปลาก็จะขับถ่ายของเสียมากผิดปกติ ซึ่งเป็นการดึงดูดเชื้อโรคและแบคทีเรีย  และทำให้ระบบนิเวศแวดล้อมของทะเลปกติปั่นป่วน

To access the report, go to: http://www.foodandwaterwatch.org/reports/factory-fed-fish/

For any questions regarding the report, please contact Rich Bindell at 202-683-2457 or RBindell@fwwatch.org.

Aerial view of fish farm. (photo: nz_willowherb)

###

Food & Water Watch works to ensure the food, water and fish we consume is safe, accessible and sustainable. So we can all enjoy and trust in what we eat and drink, we help people take charge of where their food comes from, keep clean, affordable, public tap water flowing freely to our homes, protect the environmental quality of oceans, force government to do its job protecting citizens, and educate about the importance of keeping shared resources under public control.

Food & Water Europe is the European program of Food & Water Watch, a nonprofit consumer organization based in the United States that works to ensure the food, water and fish we consume is safe, accessible and sustainable. So we can all enjoy and trust in what we eat and drink, we help people take charge of where their food comes from, keep clean, affordable, public tap water flowing freely to our homes, protect the environmental quality of oceans, force government to do its job protecting citizens, and educate about the importance of keeping shared resources under public control.
ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น