วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

54. คำโบราณไทยที่โลกเคยลืม “...ดินเย็นเพราะหญ้าบัง หญ้ายังเพราะดินดี” หรือ “สวนสมรม”


Climate-Smart Agriculture to Reduce Vulnerability*
By Fabiola Ortiz
เกษตรรู้ทันภูมิอากาศ เพื่อลดความเปราะบาง
-ฟาบิโอ ออร์ติส

RIO DE JANEIRO, Jun 23 2012 (IPS) - Agroforestry is gaining ground as a tool for climate change adaptation and mitigation in Central America, a region where global warming could generate losses equivalent to 19 percent of gross domestic product.
ริโอ เดอ จาไนโร – วนเกษตรกำลังได้รับความสนใจ ให้เป็นเครื่องมือปรับตัวให้เข้ากับ และบรรเทาสภาวะภูมิอากาศแปรปรวน ในอเมริกากลาง อาณาบริเวณที่ภาวะโลกร้อนจะทำให้สูญเสียถึง 19% ของจีดีพี

Agroforestry contributes to the recovery of water sources. Credit: Courtesy of ACICAFOC

“Agroforestry is our only alternative to mitigate and adapt to climate change,” Alberto Chinchilla, executive director of the Central American Coordinating Association of Indigenous and Peasant Community Agroforestry (ACICAFOC) told Tierramérica.
“วนเกษตรเป็นทางเลือกเพียงทางเดียวในการบรรเทาและรับมือกับภูมิอากาศแปรปรวน” อัลเบอร์ตา ชินชิลลา ผู้อำนวยการของ สมาคมประสานงานอเมริกากลางของชุมชนวนเกษตรชาวพื้นเมืองและชาวนา(ACICAFOC)  กล่าวต่อ Tierramérica

A side event of the United Nations Conference on Sustainable Development (Rio+20), held Jun. 20-22 in Rio de Janeiro, addressed this “climate-smart” agriculture approach that could help reduce the vulnerability of the Central American region.
กิจกรรมรอบนอกของการประชุมสหประชาชาติเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน (ริโอ+20) ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20-22 ณ กรุง ริโอ เดอ จาไนโร ได้พาดพิงถึง แนวทางเกษตรที่ “รู้ทันภูมิอากาศ” ที่อาจช่วยลดความเปราะบางของภาคพื้นอเมริกากลาง

The meeting was attended by government ministers, scientists, technicians and farmers.
การประชุมนี้ มีรัฐมนตรีของภาครัฐ นักวิทยาศาสตร์ ผู้ชำนาญการ และชาวนา

An agroforestry system combines trees with agricultural production and livestock grazing. Its practice, enhanced by scientific research, can contribute to the development of environmentally friendly methods and technologies, said Chinchilla.
ระบบวนเกษตรผสมผสานต้นไม้กับการผลิตทางเกษตรและการเล็มหญ้าของปศุสัตว์   ในทางปฏิบัติ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ สามารถยังผลให้เกิดการคิดค้นวิธีการและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

For example, trees can help in the recovery of water sources, provide protective shade to crops, conserve moisture, and keep pasture lands cooler, reducing the heat stress suffered by cattle.
ยกตัวอย่าง ต้นไม้สามารถช่วยฟื้นฟูแหล่งน้ำ  ให้ร่มเงาปกป้องพืช  รักษาความชุ่มชื้น  และทำให้ทุ่งหญ้าเย็นลง  ลดความร้อนระอุที่แผดเผาฝูงวัว

Agroforestry can also contribute to the recovery of native or endangered tree species while increasing the food security of communities.
วนเกษตรสามารถจะส่งผลให้ฟื้นฟูสายพันธุ์ต้นไม้พื้นเมืองหรือที่ใกล้สูญพันธุ์ ในขณะที่เพิ่มความมั่นคงทางอาหารของชุมชน

“Agroforestry links agriculture, food production and trees. We can no longer continue to implement agricultural policies with the Ministry of Agriculture separated from the Ministry of Environment. We must harmonize these policies, and trees must be part of agriculture,” Chinchilla maintained.
“วนเกษตรเชื่อมต่อกับเกษตร การผลิตอาหารและต้นไม้   เราไม่สามารถดำเนินการที่แยกนโยบายของกระทรวงเกษตร แยกออกจาก กระทรวงสิ่งแวดล้อม ได้อีกต่อไป   เราจะต้องทำให้นโยบายเหล่านี้ กลมกลืนกัน และต้นไม้ จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของเกษตร” ชินชิลลายืนยัน

The effects of climate change are the biggest threats facing Central America, made up by seven countries with a combined population of 43 million inhabitants, almost half of whom live in poverty.
ผลกระทบของภูมิอากาศแปรปรวน เป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงที่สุดที่อเมริกากลาง—ประกอบด้วยเจ็ดประเทศ ที่มีประชากรโดยรวมอาศัยอยู่ถึง 43 ล้านคน เกือบครึ่งเป็นคนยากจน—กำลังเผชิญอยู่   

Protected areas make up 27.5 percent of the region’s total land area. But it possesses enormous biodiversity, according to Rigoberto Cuéllar, the minister of natural resources and environment of Honduras.
พื้นที่ทั้งหมด 27.5% เป็นเขตป่าสงวน  แต่มันมีความหลากหลายทางชีวภาพอันมหาศาล    Rigoberto Cuéllar รัฐมนตรีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของฮอนดูรัส กล่าว

Cuéllar fully supports the implementation of agroforestry systems in his country.
Cuéllar สนับสนุนเต็มที่ให้ดำเนินการสร้างระบบวนเกษตรในประเทศของเขา

“Climate change is one of the factors that limit sustainable development in the region. We are actively backing agroforestry and the promotion of productive activities. We need to define clear policies to carry out coordinated actions in our countries,” he said.
“ภูมิอากาศแปรปรวน เป็นปัจจัยหนึ่งที่จำกัดการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคของเรา   เรากำลังสนับสนุนวนเกษตรและส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างความอุดมสมบูรณ์   เราจำเป็นต้องกำหนดนโยบายที่ชัดเจน เพื่อประสานปฏิบัติการในประเทศของพวกเรา”

Central America’s GDP is growing by five percent annually, but it is estimated that the region has lost 1.7 percentage points of GDP in the last two decades due to climate disasters.
จีดีพีของอเมริกากลาง กำลังขยายตัว 5% ต่อปี แต่ประเมินว่า ในสองทศวรรษที่ผ่านมา ภูมิภาคนี้ได้สูญเสีย 1.7% ของจีดีพี เนื่องจากหายนะทางภูมิอากาศ

According to Chinchilla, the practice of agroforestry has expanded considerably over the last decade in the region. The Central American countries could come to represent the vanguard in this approach thanks to a series of projects that promote agroforestry and food security.
ชินชิลลากล่าวว่า วนเกษตรได้แผ่ขยายมากพอสมควรในทศวรรษที่ผ่านมาในภูมิภาคนี้   ประเทศอเมริกากลาง อาจก้าวขึ้นมาเป็นตัวแทนการชี้นำและปกป้องแนวทางนี้  ต้องขอบคุณชุดโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมวนเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร

The International Fund for Agricultural Development (IFAD) and the Japan Social Development Fund administered by the World Bank are financing initiatives for agroforestry systems incorporating cacao and coffee production, silvopasture systems (combining livestock grazing and tree crops) and reforestation.
กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาเกษตร (IFAD) และ กองทุนญี่ปุ่นเพื่อการพัฒนาสังคม ที่บริหารโดยธนาคารโลก กำลังให้ทุนสำหรับโครงการริเริ่มเพื่อระบบวนเกษตร ที่ผสมผสานกับ การผลิตโกโก้และกาแฟ ระบบทุ่งหญ้า-ป่าไม้ (ผสมผสานการเล็มหญ้าของปศุสัตว์กับพืชพรรณต้นไม้) และการปลูกป่า

Over the next four years, some 10 million dollars will be invested in community agroforestry through projects with ACICAFOC partners. The beneficiaries are members of indigenous and peasant farmer communities.
ในช่วงสี่ปีข้างหน้า  จะมีการลงทุนประมาณ 10 ล้านดอลลาร์ในวนเกษตรชุมชน ผ่านโครงการที่มี ACICAFOC เป็นหุ้นส่วน  ผู้ได้รับประโยชน์ เป็นสมาชิกของชุมชนชาวพื้นเมืองและชาวไร่ชาวนา

Chinchilla said that the challenge is to integrate traditional and scientific knowledge.
ชินชิลลากล่าวว่า สิ่งท้าทายคือ การผสมผสานภูมิปัญญาดั้งเดิมกับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์

To that end, ACICAFOC has joined with the Tropical Agricultural Research and Higher Education Center (CATIE) to organize a training program to strengthen traditional and academic knowledge on tropical agroforestry systems.
สุดท้าย ACICAFOC ได้เข้าร่วมกับ ศูนย์วิจัยเกษตรกรรมเขตศูนย์สูตรและการศึกษาระดับอุดมศึกษา (CATIE) เพื่อจัดตั้งโปรแกมการฝึกอบรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งในองค์ความรู้ดั้งเดิมและนักวิชาการ เรื่องระบบวนเกษตรเขตศูนย์สูตร

The Tikonel Association for the Development of Production and Services is a prime example of local initiatives around agroforestry products. Executive director Francisco Xanté Lobos said that Tikonel works with 16 rural communities, most of them K’iche’ Maya indigenous communities, who grow tree species like pine and cypress on plantations that have earned green label certification.
สมาคม Tikonel เพื่อการพัฒนาการผลิตและการบริการ เป็นตัวอย่างเด่นของการริเริ่มของท้องถิ่น เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์วนเกษตร   ผู้อำนวยการ Francisco Xanté Lobos กล่าวว่า Tikonel ทำงานกับ 16 ชุมชนชนบท ส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ K’iche’ ชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิมมายา ผู้ปลูกพันธุ์ไม้ เช่น สวนต้นสน และ สวน cypress และได้รับใบรับรองป้ายเขียว

They also produce coffee, macadamia nuts and cacao alongside these timber species.
พวกเขายังได้ผลิตกาแฟ เมล็ดแมคาดาเมีย และโกโก้ ที่ปลูกข้างๆ พันธุ์ไม้ซุง

“After 20 years we realized that we have done many things that contribute to sustainable development. We want to call on governments to do more to promote integrated development as a way of contributing to a better quality of life,” Xanté Lobos told Tierramérica.
“หลังจาก 20 ปี เราได้ตระหนักว่า เราได้ทำหลายอย่าง ที่มีผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน   เราต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลส่งเสริมการพัฒนาผสมผสานมากขึ้น ให้เป็นหนทางที่จะยกระดับคุณภาพชีวิต”

Costa Rica, for its part, is a model of national efforts to promote reforestation and payment for environmental services. According to Environment Minister René Castro, the country’s forest cover had been reduced to a mere 21 percent of its national territory in 1987, but was increased to close to 52 percent by 2010.
ในส่วนของ คอสตาริกา ได้เป็นต้นแบบของการส่งเสริมการปลูกป่า และการจ่ายค่าบริการเชิงสิ่งแวดล้อม   รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม เรเน คาสโตร กล่าวว่า พื้นที่ป่าไม้ของประเทศ ได้ลดลงเหลือเพียง 21% ของพื้นที่ประเทศทั้งหมดในปี 1987  แต่ได้กลับเพิ่มขึ้นใกล้ 52% ในปี 2010

“This year we are going to reach 4.8 million trees, one per inhabitant,” announced Castro in his presentation. Reforestation is a national effort, funded by a fuel tax based on the “polluter pays” principle and implemented through a system of payment for environmental services, he explained.
“ปีนี้ เรากำลังจะเข้าเป้าปลูกต้นไม้ 4.8 ล้านต้น นั่นคือ 1 ต้นต่อ 1 คน” คาสโตรประกาศในการบรรยาย   การปลูกป่าเป็นความอุตสาหะระดับชาติ  ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากภาษีเชื้อเพลิง ตามหลักการ “คนสร้างมลพิษจ่าย” และได้ดำเนินการผ่านระบบการจ่ายเพื่อบริการทางสิ่งแวดล้อม”

An additional program in Costa Rica focuses on reforestation with native and endangered tree species. “Cattle ranchers and farmers who plant endangered species are reimbursed with 50 percent of the cost,” said Castro. It is a simple instrument which demonstrates that it is possible to recover these tree species, he added.
โปรแกมอีกรายการในคอสตาริกา เน้นที่การปลูกป่าด้วยพันธุ์ไม้พื้นเมืองและใกล้สูญพันธุ์  “เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์และชาวนาที่ปลูกพันธุ์ไม้ใกล้สูญพันธุ์ สามารถเบิก 50% ของต้นทุน” คาสโตร กล่าว   มันเป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่สาธิตให้เห็นว่า การฟื้นคืนสายพันธุ์ต้นไม้เหล่านี้ เป็นไปได้

*The writer is an IPS correspondent. This story was originally published by Latin American newspapers that are part of the Tierramérica network. Tierramérica is a specialised news service produced by IPS with the backing of the United Nations Development Programme, United Nations Environment Programme and the World Bank.
*ผู้เขียนเป็นนักข่าวของ IPS   เรื่องนี้ได้ลงพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ ลาตินอเมริกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ เครือข่าย Tierramérica ๆ เป็นการบริการข่าวพิเศษ โดย IPS ที่ได้รับการสนับสนุนจาก UNDP, UNEP และธนาคารโลก
ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น