Four Spending Myths That
Could Wreck Our World
How Not to Solve an American Crisis
-Mattea Kramer
สี่เรื่องโกหกที่อาจทำให้โลกของเราอับปาง
วิธีไม่แก้วิกกฤตอเมริกัน
-แมทที เครเมอร์
We’re at the edge of the cliff of deficit disaster! National security spending is being, or will
soon be, slashed to the bone! Obamacare
will sink the ship of state!
เรากำลังยืนอยู่ที่ขอบหน้าผาแห่งหายนะจากการขาดดุล!
งบความมั่นคงแห่งชาติกำลังถูกตัด หรือจะถูกตัด จนเหลือแต่กระดูกเร็วๆ นี้! โอบามาแคร์
จะทำให้รัฐนาวาอับปาง!
Each of these claims has grabbed national attention in a big
way, sucking up years’ worth of precious airtime. That’s a serious bummer,
since each of them is a spending myth of the first order. Let’s pop them, one
by one, and move on to the truly urgent business of a nation that is indeed on
the edge.
ข้ออ้างเหล่านี้แต่ละข้อ ได้กระชากความสนใจประชาชาติอย่างแรง นี่เป็นสถานการณ์ที่น่าผิดหวังอย่างร้ายแรง
เพราะแต่ละข้อเป็นเรื่องโกหกชั้นหนึ่งเกี่ยวกับการใช้งบประมาณ มาลองทำให้มันแตกทีละเรื่อง
แล้วเคลื่อนต่อไปสู่ธุรกรรมที่เร่งด่วนที่แท้จริง ของชาติที่ยืนอยู่ขอบหน้าผาจริงๆ
Spending Myth 1:
Today’s deficits have taken us to a historically unprecedented,
economically catastrophic place.
เรื่องโกหกของการใช้จ่ายที่ 1:
การขาดดุลในวันนี้ แย่สุดๆ ชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์
เป็นหายนะทางเศรษฐกิจ
This myth has had the effect of binding the hands of elected
officials and policymakers at every level of government. It has also emboldened those who claim that
we must cut government spending as quickly, as radically, as deeply as
possible.
เรื่องโกหกนี้ เป็นการมัดมือชก
ผู้แทนและผู้กำหนดนโยบายที่ถูกเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ในทุกๆ ระดับของรัฐบาล มันยังกระตุ้นให้พวกที่อ้างว่า
เราต้องตัดงบการใช้จ่ายของรัฐบาลเร็วที่สุด สุดโต่งที่สุด และลึกที่สุด
มีความกล้ายิ่งขึ้น
In fact, we’ve been here before. In 2009, the federal budget deficit was a
whopping 10.1% of the American economy and back in 1943, in the midst of World
War II, it was three times that -- 30.3%. This fiscal year the deficit will
total around 7.6%. Yes, that is big. But in the Congressional Budget Office’s
grimmest projections, that figure will fall to 6.3% next year, and 5.8% in
fiscal 2014. In 1983, under President Reagan, the deficit hit 6% of the
economy, and by 1998, that had turned into a surplus. So, while projected
deficits remain large, they’re neither historically unprecedented, nor
insurmountable.
แท้จริงแล้ว พวกเราเคยตกอยู่ในสภาวะนี้มาก่อน ในปี 2009 การขวดดุลในงบสหพันธ์ สูงถึง 10.1% ของเศรษฐกิจอเมริกัน และในปี 1943 ท่ามกลางสงครามโลกครั้งที่สอง อาการหนักเป็นสามเท่า คือ 30.3%.
ปีงบประมาณครั้งนี้ การขาดดุลรวมอยู่ประมาณ 7.6%. ใช่ มันใหญ่
แต่จากการคาดคะเนที่ร้ายกาจที่สุดของสำนักงบประมาณคองเกรส ตัวเลขจะตกลงเป็น 6.3% ในปีหน้า และ 5.8% ในปีงบประมาณ 2014
ในปี 1983 ภายใต้ประธานาธิบดี เรแกน การขาดดุลเป็น 6% ของเศรษฐกิจ พอถึงปี 1998 มันเพิ่มขึ้น เป็นเกินดุล ดังนั้น
ในขณะที่การคาดการณ์ความขาดดุลยังมากอยู่ มันไม่ใช่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์
หรือแก้ไขอะไรไม่ได้
More important still, the size of the deficit is no sign
that lawmakers should make immediate deep cuts in spending. In fact, history
tells us that such reductions are guaranteed to harm, if not cripple, an
economy still teetering at the edge of recession.
ที่สำคัญกว่านั้นคือ ขนาดของการขาดดุลไม่ใช่สัญญาณที่ฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องรีบเฉือนงบการใช้จ่ายชิ้นใหญ่ ที่จริง ประวัติศาสตร์บอกเราว่า
การลดเช่นนี้เป็นการประกันว่าจะทำร้าย—หากไม่ถึงกับทำให้พิการ—เศรษฐกิจที่ยังเดินโซเซอยู่ที่ขอบของการถดถอย
A number of leading economists are now busy explaining why
the deficit this year actually ought to be a lot larger, not smaller; why there
should be more government spending, including aid to state and local
governments, which would create new jobs and prevent layoffs in areas like
education and law enforcement. Such efforts, working in tandem with slow but
positive job growth in the private sector, might indeed mean genuine recovery.
Government budget cuts, on the other hand, offset private-sector gains with the
huge and depressing effect of public-sector layoffs, and have damaging ripple
effects on the rest of the economy as well.
นักเศรษฐศาสตร์แนวหน้าหลายๆ คน กำลังวุ่นวายอยู่กับการอธิบายว่า
ทำไมการขาดดุลปีนี้ ควรจะใหญ่กว่านี้ ไม่ใช่เล็กกว่านี้ ทำไมรัฐบาลควรจะมีงบใช้จ่ายมากขึ้น
รวมทั้งช่วยเหลือรัฐบาลระดับรัฐและระดับท้องถิ่น
อันจะเป็นการสร้างงานใหม่ และป้องกันการถูกลอยแพ ในอาชีพเช่น
การศึกษาและการบังคับใช้กฎหมาย
ความพยายามเหล่านี้ ที่ทำงานควบคู่ไปกับการขยายงานเชิงบวกอย่างช้าๆ
ในภาคเอกชน อาจหมายถึงการฟื้นชีพอย่างแท้จริง การตัดงบรัฐบาล ในทางตรงข้าม
ลดรายได้ของภาคเอกชน และส่งผลกระทบมหาศาลต่อการลอยแพคนงานภาครัฐ และผลข้างเคียงอันจะทำลายส่วนที่เหลือของเศรษฐกิจ
When the economy is healthier, a host of promising options
are at hand for lawmakers who want to narrow the gap between spending and tax
revenue. For example, loopholes and deductions in the tax code that hand
enormous subsidies to wealthy Americans and corporations will cost the Treasury
around $1.3 trillion in lost revenue this year alone -- more, that is, than the
entire budget deficit. Closing some of them would make great strides toward
significant deficit reductions.
เมื่อเศรษฐกิจมีสุขภาพดี มีทางเลือกดีๆ มากมายให้พวกนิติบัญญัติ
ผู้ต้องการลดช่องว่างระหว่างการใช้จ่ายและรายได้ภาษี เช่น ช่องโหว่และการลดภาษีที่มอบเป็นเงินช่วยเหลือมหาศาลแก่คนอเมริกันและบริษัทที่ร่ำรวย
จะผลักภาระให้ฝ่ายคลังต้องสูญเสียรายได้ประมาณ $1.3
ล้านล้าน
ในปีนี้ปีเดียว—นั่นคือ มากกว่าการขาดดุลของงบประมาณทั้งหมด การปิดบางช่องโหว่เหล่านี้
จะเป็นก้าวใหญ่สู่การลดการขาดดุลอย่างมีนัยสำคัญทีเดียว
Alarmingly, the deficit-reduction fever that’s resulted from
this first spending myth has led many Americans to throw their support behind
de-investment in domestic priorities like education, research, and
infrastructure -- cuts that threaten to undo generations of progress. This is
in part the result of myth number two.
ไข้การลดการขาดดุล ที่เป็นผลจากเรื่องโกหกแรกของการใช้จ่าย ได้ทำให้ชาวอเมริกันหลายคนตกตื่น
และหนุนหลังให้ลดการลงทุนในประเทศ เช่น การศึกษา การวิจัย และการสร้างสาธารณูปโภค—การตัดงบที่คุกคามความก้าวหน้าที่สั่งสมกันมาหลายชั่วคน นี่เป็นผลจากเรื่องโกหกที่สอง
Spending Myth 2: Military and other national security
spending have already taken their lumps and future budget-cutting efforts will
have to take aim at domestic programs instead.
เรื่องโกหกการใช้จ่ายที่ 2: งบการทหารและความมั่นคงแห่งชาติอื่นๆ
ได้ถูกตัดชิ้นใหญ่ไปแล้ว และการตัดงบต่อไป จะต้องถึงคราวโปรแกมในประเทศ
The very idea that military spending has already been deeply
cut in service to deficit reduction is not only false, but in the realm of
fantasy. The real story: despite
headlines about “slashed” Pentagon spending and “doomsday” plans for more, no
actual cuts to the defense budget have yet taken place. In fact, since 2001, to
quote former Defense Secretary Robert M. Gates, defense spending has grown like
a “gusher.” The Department of Defense
base budget nearly doubled in the space of a decade. Now, the Pentagon is
likely to face an exceedingly modest 2.5% budget cut in fiscal 2013, “paring” its
budget down to a mere $525 billion -- with possible additional cuts shaving off
another $55 billion next year if Congress allows the Budget Control Act, a.k.a.
“sequestration,” to take effect.
ความคิดที่ว่า งบการทหารได้ถูกตัดชิ้นใหญ่เพื่อลดการขาดดุลไปแล้วนั้น
ไม่เพียงแต่โกหก แต่ยังเป็นเพียงการเพ้อฝัน
เรื่องจริงคือ ทั้งๆ ที่พาดหัวข่าวกันว่า “ตัด” งบเพนทากอน และมีแผน
“วันวินาศ” ตามมาอีกมาก
ไม่มีการตัดงบทหาร/การป้องกันเกิดขึ้นจริงๆ จังๆ ที่จริง ขออ้างคำพูดของ เลขาธิการกลาโหม
โรเบิร์ต เกตส์ ว่า ตั้งแต่ปี 2001 การใช้จ่ายของกลาโหมเหมือน “น้ำมันที่พุ่งขึ้นมา”
ฐานงบประมาณของกลาโหมเพิ่มเกือบสองเท่าตัวในช่วงหนึ่งทศวรรษ ตอนนี้
เพนทากอนคงต้องเผชิญกับการถูกตัดที่เบาเกินไป คือ เพียง 2.5% ในการตัดงบของปีงบประมาณ 2013
“เฉือน” ออกเล็กน้อยให้เหลือ $525 พันล้าน—พร้อมกับความเป็นไปได้ที่จะตัดอีก
$55 พันล้าน ปีหน้า หากคองเกรสยอมให้ พรบ ควบคุมงบ ผ่าน
But don’t hold your breath waiting for that to happen. It’s likely that lawmakers will, at the last
moment, come to an agreement to cancel those extra cuts. In other words, the notion that our military,
which has been experiencing financial boom times even in tough times, has felt
significant deficit-slashing pain -- or has even been cut at all -- is the
Pentagon equivalent of a unicorn.
แต่อย่ากลั้นหายใจรอให้มันเกิดขึ้น
ในวินาทีสุดท้าย ฝ่ายนิติบัญญัติคงจะตกลงยกเลิกการตัดรายการที่เพิ่มมา พูดอีกที
ความคิดที่ว่ากองทัพของเรา ซึ่งเคยชินกับประสบการณ์ความรุ่งเรืองทางการเงิน
แม้แต่ในยามยาก ได้รู้สึกเจ็บปวดอย่างยิ่งจากการถูกเฉือนเพื่อลดการขาดดุล—หรือยังไม่ถูกตัดจริงๆ
เลย—สำหรับเพนทากอน มันเหมือนยูนิคอร์น หรือม้าขาวมีนอในเทพนิยาย
What this does mean, however, is that lawmakers heading down
the budget-cutting path can find plenty of savings in the enormous defense and
national security budgets. Moreover, cuts there would be less harmful to the
economy than reductions in domestic spending.
แต่ ความหมายของมันคือ ฝ่ายนิติบัญญัติที่มุ่งสู่หนทางการตัดงบ
สามารถหาจุดออมทรัพย์มากมายในงบมหึมาเพื่อการป้องกันและความมั่นคงแห่งชาติ เหนือกว่านั้น การตัดที่นั่น
จะทำร้ายเศรษฐกิจน้อยกว่าการลดค่าใช้จ่ายในประเทศ
A group of military budget experts, for example, found that
cutting many costly and obsolete weapons programs could save billions of
dollars each year, and investing that money in domestic priorities like
education and health care would spur the economy. That’s because those sectors
create more jobs per dollar than military programs do. And that leads us to myth three.
ยกตัวอย่าง ผู้เชี่ยวชาญด้านงบทหารกลุ่มหนึ่งได้พบว่า
การตัดโปรแกมอาวุธยุทโธปกรณ์ราคาแพง และล้าสมัย
จะช่วยประหยัดนับพันล้านดอลลาร์แต่ละปี
และผันมาใช้ลงทุนรายการจำเป็นในประเทศ เช่น การศึกษาและดูแลสุขภาพ
ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะทุกๆ
ดอลลาร์ที่ใช้ในภาคส่วนเหล่านั้น จะช่วยสร้างงานได้มากกว่าที่ใช้ในโปรแกมทหาร และนี่ก็นำเราไปสู่เรื่องโกหกที่ 3
Spending Myth 3: Government health-insurance programs are
more costly than private insurance.
เรื่องโกหกการใช้จ่ายที่ 3: โปรแกมประกันสุขภาพของรัฐ
แพงกว่าของเอกชน
False claims about the higher cost of government health
programs have led many people to demand that health-care solutions come from
the private sector. Advocates of this have been much aided by the complexity of
sorting out health costs, which has provided the necessary smoke and mirrors to
camouflage this whopping lie.
การอ้างผิดๆ เกี่ยวกับต้นทุนสูงกว่าของโปรแกมสุขภาพของรัฐบาล
ได้ทำให้หลายคนเรียกร้องให้หาทางออกจากภาคเอกชน
พวกที่รณรงค์เรื่องนี้
ได้รับการช่วยเหลือจากการแยกแยะค่ารักษาพยาบาลที่ซับซ้อน
ที่กลายเป็นควันและกระจกที่จำเป็นเพื่ออำพรางการกู้ร้องเรื่องโกหกนี้
Health spending is indeed growing faster than any other part
of the federal budget. It’s gone from a measly 7% in 1976 to nearly a quarter
today -- and that’s truly a cause for concern. But health care costs, public
and private, have been on the rise across the developed world for decades. And
cost growth in government programs like Medicare has actually been slower than
in private health insurance. That’s because the federal government has
important advantages over private insurance companies when it comes to health
care. For example, as a huge player in the health-care market, the federal government
has been successful at negotiating lower prices than small private insurers
can. And that helps us de-bunk myth number four.
การใช้จ่ายด้านสาธารณสุขได้ขยายตัวเร็วกว่าส่วนอื่นของงบสหพันธ์จริง มันเพิ่มจาก 7%
ในปี 1976 ไปเป็นเกือบ 25% ทุกวันนี้—และนั่นเป็นเรื่องน่าห่วงใยที่แท้จริง แต่ต้นทุนการดูแลสุขภาพ
ทั้งของเอกชนและของรัฐบาล ได้เพิ่มสูงขึ้นทั่วซีกโลกที่พัฒนาแล้วมาหลายทศวรรษ และการขยายตัวของต้นทุนในโปรแกมรัฐบาลเช่น
เมดิแคร์ แท้จริงช้ากว่าในประกันสุขภาพของภาคเอกชน เพราะรัฐบาลสหพันธ์มีข้อได้เปรียบที่สำคัญเหนือกว่าบริษัทประกันเอกชน
ในเรื่องดูแลสุขภาพ ยกตัวอย่าง ในฐานะตัวเล่นรายใหญ่ในตลาดสุขภาพ
รัฐบาลสหพันธ์ได้ประสบความสำเร็จในการต่อรองราคาให้ต่ำลง
เมื่อเทียบกับบริษัทประกันเล็กๆ อื่นๆ และนั่นก็ช่วยเราหักล้างเรื่องโกหกที่ 4
Spending Myth 4: The Affordable Care Act -- Obamacare --
will bankrupt the federal government while levying the biggest tax in U.S.
history.
เรื่องโกหกการใช้จ่ายที่ 4: พรบ การรักษาที่จ่ายไหว—โอบามาแคร์—จะทำให้รัฐบาลสหพันธ์ล้มละลาย
ในขณะที่เรียกเก็บภาษีหนักที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ
Wrong again. According to the Congressional Budget Office,
this health-reform legislation will reduce budget deficits by $119 billion
between now and 2019. And only around 1%
of American households will end up paying a penalty for lacking health
insurance.
ผิดอีกแล้ว
สำนักงานงบประมาณของสภาคองเกรส ระบุว่า กฎหมายปฏิรูปสาธารณสุข
จะลดการขาดดุลของงบถึง $119 พันล้าน ระหว่างตอนนี้ และ ปี 2019 และเพียงประมาณ 1% ของครัวเรือนอเมริกัน จะต้องจ่ายค่าปรับ หรือถูกลงโทษ
เพราะไม่มีประกันสุขภาพ
While the Affordable Care Act is hardly a panacea for the
many problems in U.S. health care, it does at least start to address the
pressing issue of rising costs -- and it incorporates some of the best wisdom
on how to do so. Health-policy experts have explored phasing out the
fee-for-service payment system -- in which doctors are paid for each test and
procedure they perform -- in favor of something akin to pay-for-performance.
This transition would reward medical professionals for delivering more
effective, coordinated, and efficient care -- and save a lot of money by
reducing waste.
ในขณะที่ พรบ การรักษาที่จ่ายไหว
ไม่ใช่ยาครอบจักรวาลสำหรับปัญหาสารพัดในการสาธารณสุขของสหรัฐฯ อย่างน้อย
มันได้เริ่มแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องค่าครองชีพสูงขึ้น—และมันได้ผนวกรวมบางภูมิปัญญาที่ดีที่สุดว่าจะทำได้อย่างไร ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสุขภาพ ได้สำรวจการลด
เลิก ระบบการจ่ายค่าบริการ—ที่หมอจะได้รับเงินสำหรับค่าตรวจและค่าลงมือแต่ละครั้ง—แทนด้วยการจ่ายสำหรับกิจการรักษารวม การเปลี่ยนผ่านนี้ จะให้รางวัลแก่นักวิชาชีพทางแพทย์
สำหรับการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ มีการประสานกัน และให้การดูแลอย่างมีสมรรถภาพ—และประหยัดเงินมหาศาลด้วยการลดการสูญเสีย
The Affordable Care Act begins implementing such changes in
the Medicare program, and it explores other important cost-containment
measures. In other words, it lays the groundwork for potentially far deeper
budgetary savings down the road.
พรบ การรักษาที่จ่ายไหว ได้เริ่มดำเนินการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ในโปรแกม
เมดิแคร์ และยังได้สำรวจมาตรการสำคัญอื่นๆ ที่ช่วยประหยัด พูดง่ายๆ
มันได้วางรากฐานสำหรับการประหยัดงบในระดับลึกไว้
Having cleared the landscape of four stubborn spending
myths, it should be easier to see straight to the stuff that really matters.
Financial hardship facing millions of Americans ought to be our top concern.
Between 2007 and 2010, the median family lost nearly 40% of its net worth.
Neither steep deficits, nor disagreement over military spending and health
reform should eclipse this as our most pressing challenge.
If lawmakers skipped the myth-making and began putting
America’s resources into a series of domestic investments that would spur the
economy now, their acts would yield dividends for years to come. That means
pushing education and job training, plus a host of job-creation measures, to
the top of the priority list, and setting aside initiatives based on fear and
fantasy.
หากฝ่ายนิติบัญญัติเลิกแต่งเรื่องโกหก
และเริ่มจัดสรรให้ทรัพยากรของอเมริกันทยอยลงทุนในประเทศ
ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจตอนนี้ การกระทำของพวกเขาจะให้ดอกผลในขวบปีที่จะมาถึง นั่นหมายถึง การผลักดันให้มีการศึกษาและการฝึกงาน
บวกมาตรการสร้างงานมากมาย ให้อยู่บนสุดของรายการลำดับความสำคัญ
และเก็บเข้าข้างทางการริเริ่มที่ตั้งอยู่บนความกลัวและความเพ้อฝัน
Copyright 2012 Mattea Kramer
Mattea Kramer is a research analyst
at the National Priorities Project in Northampton, Massachusetts and co-author
(with Chris Hellman) of the new book, A People's Guide to the Federal Budget.
แมทที เครเมอร์ เป็นนักวิเคราะห์วิจัยที่
โครงการลำดับที่มีความสำคัญแห่งชาติ ในนอร์ทแฮมตัน แมสซาชูเซ็ทส์
และผู้ประพันธ์ร่วม (คริส เฮลแมน) ในหนังสือเล่มใหม่ “คู่มือประชาชน
เรื่องงบประมาณสหพันธ์”
Published on Wednesday, July 18, 2012 by TomDispatch
ดรุณีแปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น