วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

65. เมตตาธรรม...ไม่ใช่กำลังทหาร...ที่จะทำให้ประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้




The Geopolitics of Compassion
 by Robert C. Koehler
ภูมิศาสตร์การเมืองแห่งเมตตาธรรม
-           โรเบิร์ต โคฮ์เลอร์

Beyond the spectacle of the presidential race, the Washington consensus pursues business as usual. This is the season in which I wonder, with an ever-intensifying sense of urgency, what it would take to turn our political system into a democracy.
เหนือกว่าการแข่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ตื่นตาตื่นใจ มติวอชิงตันก็ทำธุรกรรมตามปกติ   นี่เป็นฤดูกาลที่ผมรู้สึกพิศวง  ด้วยความรู้สึกว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนยิ่งขึ้นทุกที ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างที่จะผันให้ระบบการเมืองของเรา กลายเป็นประชาธิปไตย

“And yet the militarization of the United States and the strengthening of the national security complex continues to accelerate,” Tom Engelhardt wrote earlier this month. “The Pentagon is, by now, a world unto itself. . . .”
“แต่การสั่งสมและแผ่แสนยานุภาพทางทหารของสหรัฐฯ และทำให้ประเด็นความมั่นคงแห่งชาติแข็งแกร่งและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น” ทอม เองเกิลฮาร์ดท์ เขียนเมื่อต้นเดือนนี้ “เพนทากอน ณ เวลานี้ เป็นโลกหนึ่งในตัวมันเอง...”

photo: Fellowship of Reconciliation

And as the world’s major powers play a 21st-century version of the “Great Game” to control the resources of the world, the U.S., in contrast with China, writes David Vine, “has focused relentlessly on military might as its global trump card, dotting the planet with new bases and other forms of military power.”
ในขณะที่มหาอำนาจของโลกเล่น “เกมที่ยิ่งใหญ่” ฉบับศตวรรษที่ 21 เพื่อแย่งกันควบคุมทรัพยากรของโลก  สหรัฐฯ ที่ยืนอยู่ตรงข้ามกับจีน  เดวิด ไวน์ เขียน “ได้เล็งเขม็งไปที่สร้างแสนยานุภาพทางทหาร ให้เป็นไพ่ใบชนะโลก ด้วยการปักหมุดบนผืนพิภพ หมายเป็นฐาน หรือรูปแบบอื่นๆ ของแสนยานุภาพทางทหาร”

We’re a hyper-militarized global empire, dominating if not quite “ruling” — a word, after all, that implies order and stability — a large swath of the world by brute physical, as well as economic, force. This is not a debated issue, simply what “we” do, or rather, what unelected decision makers do in our name, and will continue to do regardless of the outcome of the 2012 presidential election. Even if there’s majority support, or would be, if it were sought, for America’s pursuit of empire, the quiet secrecy of it, and the complete lack of accountability, are deeply troubling.
เราเป็นอาณาจักรโลกที่คลั่งการทหาร ฝักใฝ่การครอบงำ หากไม่ใช่เข้าไปมีอำนาจปกครองโดยตรง—คำที่หมายถึง ระเบียบและเสถียรภาพ—โลกส่วนใหญ่ด้วยพลังดุร้ายเยี่ยงสัตว์ป่าทางกายภาพ ตลอดจนทางเศรษฐกิจ   นี่ไม่ใช่เป็นประเด็นที่ได้รับการถกเถียง เพียงแค่ “เรา” ทำอะไร  หรือ ผู้ทำการตัดสินใจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ทำอะไรในนามของพวกเรา  และจะทำต่อไป ไม่ว่าผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี 2012 จะออกมาอย่างไร   แม้ว่าจะได้รับเลือกด้วยเสียงส่วนใหญ่,  หรืออาจจะ,  หากมีการเรียกร้องให้สหรัฐฯ ไล่ล่าความเป็นอาณาจักร,  การเก็บเป็นความลับเงียบกริบ และปราศจากความรับผิดชอบ/น่าเชื่อถืออย่างสิ้นเชิง, ล้วนทำให้รู้สึกน่ากังวลอย่างลึกซึ้ง

We go to war, or the equivalent of war, whenever and wherever we feel like it, killing civilians, destabilizing societies, waving our red flag. Engelhardt, in his essay on “the Failure of the Military Option,” summarizes the disastrous consequences we’ve inflicted on much of the world just since 2001, in our ill-considered interventions and globalized pursuit of manifest destiny. We’ve created chaos, inspired deep hatred and often undercut our own interests pretty much everywhere we’ve swaggered, including Pakistan, Iran, Yemen, Bahrain, Syria, Somalia, Egypt and Libya — as well, of course, as Afghanistan and Iraq.
เราเข้าสู่สงคราม หรือเท่าเทียมกับการทำสงคราม เมื่อไรหรือที่ไหนก็ตามที่เราอยาก  เข่นฆ่าพลเมือง  ทำให้สังคมสั่นคลอน  ด้วยการโบกธงแดงของเรา   เองเกิงฮาร์ดท์ เขียนในบทความ “ความล้มเหลวของการใช้ทางเลือกการทหาร” สรุปหายนะที่พวกเราได้กระทำต่อชาวโลกส่วนใหญ่ ตั้งแต่ 2001  ในการแทรกแซงที่ไม่ได้ไตร่ตรองให้รอบคอบ และในความกระหายที่จะเป็นเจ้าโลก   เราได้สร้างความสับสนโกลาหล บันดาลใจให้เกลียดชังกันอย่างลึกซึ้ง และบ่อยครั้ง เราตัดขาตัวเองในทุกที่ๆ เราได้เดินกร่างเข้าไป รวมทั้ง ปากีสถาน อิหร่าน เยเมน บาห์เรน ซีเรีย โซมาเลีย อียิปต์ และลิเบีย—แน่นอน ตลอดจน อัฟกานิสถาน และอิรัค

Yet none of its failures have given the U.S. military the least pause in throwing its muscle around somewhere else, or building new bases. In his 2007 book Nemesis: The Last Days of the American Republic, the late Chalmers Johnson noted: “If there were an honest count, the actual size of our military empire would probably top 1,000 different bases overseas, but no one — possibly not even the Pentagon — knows the exact number for sure.” He added: “America’s version of the colony is the military base.”
แต่ไม่มีความล้มเหลวอันใดที่ทำให้กองทัพสหรัฐฯ อย่างน้อยหยุดคิดสักพัก ที่จะเหวี่ยงกล้ามไปที่อื่นๆ หรือสร้างฐานทัพใหม่ๆ   ในหนังสือ (2007) ของเขา  “การพ่ายแพ้ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้: วันสุดท้ายของสาธารณรัฐอเมริกา” ชัลเมอร์ จอห์สัน ผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้เขียนว่า “หากเราเป็นคนนับที่มีความซื่อสัตย์ อาณาจักรแสนยานุภาพทางทหารของเราคงจะอยู่เหนือที่สุด มีฐานทัพโพ้นทะเล 1,000 แห่งในที่ต่างๆ   แต่ไม่มีใครเลย—แม้แต่เพนทากอน—รู้จำนวนที่แท้จริง”   เขาเสริมว่า “ความหมายของ อาณานิคม ตามแบบฉบับของอเมริกา คือ ฐานทัพ”

Once again, I add that this staggeringly costly undertaking is an ongoing fait accompli. Decisions that further the reach of the American empire have no public resonance; they’re simply made and implemented, altering the world, perpetuating global tensions and destroying lives, while the American public and the corporate media, accepting their powerlessness, distract themselves with trivia.
ขอย้ำอีกครั้ง ต้นทุนมหาศาลที่ใช้จ่ายไป เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และกำลังดำเนินต่อไป   การตัดสินใจให้รุดหน้าขยายอาณาจักรอเมริกา ไม่มีการฟังเสียงสะท้อนจากสาธารณชน  มีแต่ทำการตัดสินใจและดำเนินการ  ปรับเปลี่ยนโลก  เพิ่มความตึงเครียดในโลก และทำลายล้างชีวิต ในขณะที่สาธารณชนอเมริกา และธุรกิจสื่อ ยอมรับสภาพความไร้อำนาจ ทำให้ตัวเองสับสนด้วยเรื่องไร้สาระ

This is geopolitics, a collision and collusion of impersonal forces, as removed from ordinary humanity as gravity, weather and continental drift. The best we can do is live our lives around it, right? Feelings don’t enter into it, beyond the cries of the wounded and the survivors, and the occasional meaningless apology of one government to another: The collateral damage was “regrettable.” This is the game of history.
นี่คือ ภูมิศาสตร์ทางการเมือง  การปะทะและการสุมหัวของพลังที่ไม่ส่วนตัว ที่ห่างไกลจากมนุษย์ธรรมดาๆ เหมือนแรงดึงดูดของโลก สภาพอากาศ และการเคลื่อนของแผ่น/เปลือกทวีป    พวกเราทำได้ดีที่สุดแค่ดำรงชีวิตอยู่รอบๆ มัน ใช่ไหม?    ไม่มีความรู้สึก เหนือจากเสียงร้องของคนบาดเจ็บและผู้รอดชีวิต และคำขอโทษไร้ความหมายเป็นครั้งคราวที่รัฐบาลหนึ่งกล่าวต่ออีกรัฐบาล: “เสียใจ” สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นคู่ขนานกัน   นี่คือเกมประวัติศาสตร์


Deepak Tripathi, writing a few days ago for CounterPunch, described the relentless grind and push of nations against each other. The large and powerful remain in a state of wary respect toward one another, in alliance or competition. The weak become compliant satellites of “the hegemon” — the United States — or defiant outcasts, ripe for invasion and occupation.
ดิพัก ตริปธิ เขียนใน CounterPunch สองสามวันก่อน บรรยายถึงการขับเขี้ยวบดขยี้และผลักดันระหว่างชาติต่างๆ ต่อกัน  ประเทศใหญ่และทรงอำนาจ ทำตัวเคารพอย่างระมัดระวังต่อทั้งคู่หูและคู่แข่ง    ประเทศที่อ่อนแอกลายเป็นบริวารที่นอบน้อม พร้อมทำตาม “ผู้มีอำนาจเหนือกว่า”—สหรัฐฯ—หรือเป็น พวกนอกคอกหัวแข็ง ซึ่งสุดงอมสำหรับบุกรุกและเข้าครอบครอง

“Beyond these categories,” he writes, “are the discarded –– completely failed entities like Somalia, Ethiopia, Mali, where utterly poor and miserable people live.
“นอกเหนือจากประเภทเหล่านี้” เขาเขียน “เป็นพวกถูกเขี่ยทิ้ง—พวกที่ล้มเหลวอย่างเบ็ดเสร็จ เช่น โซมาเลีย  เอธิโอเปีย  มาลี  ที่ๆ ประชาชนมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ยาก และสุดแสนยากจน

“The hegemon and satellites have not a care in the world for the welfare of such people, except sending drones or troops from neighboring client states to kill those described as ‘terrorists.’ What desperate poverty and misery lead to has no space within the realm of this thinking.”
“ผู้ทรงอำนาจครอบงำ และบริวาร ไม่ได้รู้สึกแคร์ต่อสวัสดิภาพของคนเหล่านี้แม้แต่นิด นอกจากส่งฝูงบิน หรือกองกำลังจากรัฐลูกค้าเพื่อนบ้าน ให้เข้าไปเข่นฆ่า พวกที่ถูกติดป้ายว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย”    อะไรที่ความยากจนสุดๆ และความทุกข์เข็ญ ทำให้คนเป็น ไม่มีพื้นที่ในปริมณฑลของการคิดนี้”

And this is the world over which we seemingly have no influence. Theoretically, democracy gives all citizens some power in the realm of geopolitics, in whether our country behaves as an empire, brutally and clumsily asserting its influence around the world, or displays a new and unprecedented sort of leadership, recognizing the sanctity of life and the wholeness of the planet.
และนี่คือทั้งโลก ที่เรารู้สึกเสมือนว่าไม่มีอิทธิพลใดๆ    ในทางทฤษฎี ประชาธิปไตย ให้พลเมืองทั้งปวงมีอำนาจบ้างในปริมณฑลของภูมิศาสตร์การเมือง  ไม่ว่าประเทศของเราจะทำตัวเป็นอาณาจักร ที่ใช้พลังดุร้ายดั่งสัตว์ร้ายซุ่มซ่าม ข่มเหงไปทั่วโลก หรือ แสดงภาวะผู้นำใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ด้วยการยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิต และความเป็นองค์รวมของพิภพ

I know, this sounds naïve to the point of absurdity, especially because what I’m really talking about is power — the power to disarm an empire, the power to redefine the nation’s interests, the power to bring compassion (synonymous with sanity) to the realm of geopolitics. Who am I kidding?
ผมรู้  มันฟังไร้เดียงสาจนน่าขบขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะสิ่งที่ผมกำลังพูดถึงอย่างเอาจริงเอาจัง คือ อำนาจ—อำนาจในการลดอาวุธของอาณาจักร  อำนาจในการให้คำจำกัดความใหม่แก่ ผลประโยชน์ของชาติ  อำนาจที่จะน้อมนำให้เกิดเมตตา (คำเดียวกับการคืนสู่สุขภาพจิตที่ดี) ในปริมณฑลของภูมิศาสตร์การเมือง   ผมกำลังหยอกล้อใครหรือ?

“We urgently need to make compassion a clear, luminous and dynamic force in our polarized world. Rooted in a principled determination to transcend selfishness, compassion can break down political, dogmatic, ideological and religious boundaries. Born of our deep interdependence, compassion is essential to human relationships and to a fulfilled humanity. It is the path to enlightenment, and indispensable to the creation of a just economy and a peaceful global community.”
“เรามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะน้อมนำให้เมตตา เป็นพลังที่แจ่มชัด เข้าใจง่าย และมีชีวิตชีวา ในโลกที่ถูกแยกขั้ว     ความเมตตาหยั่งรากอยู่บนความเด็ดเดี่ยวในหลักการที่อยู่เหนือ ความเห็นแก่ตัว   ความเมตตาสามารถสลายพรมแดนแห่งการเมือง ความหัวรั้น อุดมการณ์ และศาสนา    บ่อเกิดของความเมตตา คือ ความพึ่งพิงอิงอาศัยกันอย่างลึกซึ้งของพวกเรา  ความเมตตาเป็นสิ่งสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และเพื่อให้บรรลุความเป็นมนุษยชาติ   มันเป็นหนทางสู่การรู้แจ้ง และขาดไม่ได้ในการสร้างเศรษฐกิจที่เป็นธรรม และชุมชนโลกที่สันติ”

So reads the Charter for Compassion, one of many global cries for a new way of being, which includes a new, demilitarized geopolitics. This can only happen if democracy becomes, once again, a force of history.
ดังนั้น ขอให้อ่าน ปฏิญญาเพื่อเมตตาธรรม  หนึ่งในเสียงเพรียกร้องให้สร้างมิติใหม่ในการดำรงอยู่ ที่รวมถึงภูมิศาสตร์การเมืองใหม่ที่ปลอดทหาร   นี่จะเกิดขึ้นได้ หากประชาธิปไตย กลายเป็นพลังแห่งประวัติศาสตร์ อีกครั้ง

© 2012 Tribune Media Services, Inc.

Robert Koehler is an award-winning, Chicago-based journalist and nationally syndicated writer. His new book, Courage Grows Strong at the Wound is now available. Contact him at koehlercw@gmail.com or visit his website at commonwonders.com.
โรเบิร์ต โคฮ์เลอร์ ได้รับรางวัล เป็นนักข่าวมีฐานที่ชิคาโก และนักเขียนข่าวระดับชาติ   หนังสือเล่มใหม่ “ความกล้าหาญเพิ่มขึ้นที่บาดแผล” เพิ่งวางตลาด 

Published on Thursday, July 19, 2012 by Common Dreams
ดรุณีแปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น