A
Better Plan Than 'Endless Growth': Enough Is Enough
แผนที่ดีกว่า ‘การโตไม่สิ้นสุด’: พอเพียง
/ พอก็คือพอ
ร็อบ ไดเอตซ์ และ แดน โอ’นิลล์
ดรุณี
ตันติวิรมานนท์ แปล
The World Economic Forum held
its annual meeting in Davos, Switzerland last month. The official theme
was "Resilient Dynamism," a catchphrase that makes about as much
sense as the futureless economic policies trotted out at the meeting. At
least the attendees had something to ponder at cocktail hour. The mission of
the forum, on paper at least, is "improving the state of the
world." And there is clear room for improvement: trillions of
dollars of public debt, billions of people living in poverty, escalating
unemployment, and a distinct possibility of runaway climate change.
เวทีประชุมเศรษฐกิจโลกได้จัดขึ้นประจำปีที่
ดาโวส, สวิสเซอร์แลนด์ เมื่อเดือนก่อน.
หัวเรื่องทางการ คือ “พลวัตของการเด้งกลับ,” คำสะดุดหูที่เข้าท่ามากในขณะที่นโยบายเศรษฐกิจไร้อนาคตค่อยๆ
วิ่งเหยาะๆ โผล่หน้าออกมาในที่ประชุม.
อย่างน้อย ผู้เข้าร่วมประชุมก็มีบางอย่างที่จะเอื้องคิดต่อในชั่วโมงค๊อกเทลสังสรรค์. พันธกิจของการประชุมนี้, อย่างน้อยในหน้ากระดาษ,
คือ “ปรับปรุงสถานการณ์ของโลก”. และก็มีพื้นที่มากมายที่จะต้องปรับปรุง: หนี้สาธารณะนับล้านล้านดอลลาร์,
ประชาชนพันล้านคนที่ยังชีพภายใต้ความยากจน, การไร้งานว่าจ้างที่นับวันจะสูงขึ้น,
และความเป็นไปได้อันชัดเจนที่สภาพภูมิอากาศแปรปรวนไม่อาจควบคุมอยู่ได้.
The
popular solution to these problems is sustained economic growth. In fact,
the first item of the Davos meeting's global agenda was "how to get the
global economy back on to a path of stable growth and higher employment".
The thinking is that if we could just get people to produce and consume more
stuff, then we could also pay off the debt, create jobs, eradicate poverty, and
maybe even have some money left over to clean up the environment.
ทางออกยอดนิยมต่อปัญหาเหล่านี้คือ
การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน.
อันที่จริง, เรื่องแรกในวาระโลกในที่ประชุมดาโวส คือ
“จะดันให้เศรษฐกิจโลกกลับเข้าสู่หนทางแห่งการโตอย่างเสถียรและมีงานว่าจ้างสูงขึ้นได้อย่างไร”. ความคิดก็คือ
หากเราเพียงแต่ทำให้ประชาชนผลิตมากขึ้น และบริโภคของมากขึ้น, แล้วเราก็จะสามารถจ่าย/ล้างหนี้ได้,
สร้างงานได้, ขจัดความยากจนได้, และอาจจะมีเงินเหลือบ้างเพื่อชำระล้าง
ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม.
It's
tempting to believe this economic fairy tale. But if growth is the cure
to all of our ills, why are we in such a bind after sixty years of it?
Even though the U.S. economy has more than tripled in size since 1950, surveys
indicate that people have not become any happier. Inequality has risen sharply in recent years,
and jobs are far from secure. At the same time, increased economic
activity has led to greater resource use, dangerous levels of carbon dioxide in
the atmosphere, and declining biodiversity. There is now strong evidence
that economic growth has become uneconomic in the sense that it costs more than
it's worth.
เทพนิยายเศรษฐกิจนี้ช่างเย้ายวนให้เชื่อยิ่ง. แต่หากการโต
เป็นการรักษาโรคภัยทั้งปวงของเราได้, ทำไมพวกเราจึงยังถูกมัดติดอยู่กับดักเช่นนี้
หลังจากโตมา 60 ปีแล้ว? แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะได้โตขึ้นกว่า 3 เท่าตัว ตั้งแต่ปี 1950, การสำรวจพบว่า
ประชาชนไม่ได้มีความสุขมากขึ้น.
ความไม่เท่าเทียมพุ่งสูงขึ้นในไม่กี่ปีมานี้,
และงานว่าจ้างก็ห่างไกลจากความมั่นคง.
ในขณะเดียวกัน, กิจกรรมเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้นได้นำไปสู่การถลุงทรัพยากรมากขึ้น,
คาร์บอนไดออกไซด์ในระดับอันตรายแขวนลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ,
และความหลากหลายทางชีวภาพลดลง. ตอนนี้
มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า
การเติบโตของเศรษฐกิจได้กลายเป็นเรื่องไม่เข้าท่าทางเศรษฐกิจในแง่ที่ว่า
มันใช้ต้นทุนมากกว่ามูลค่าของมัน...มันไม่คุ้มกันเลย.
Maybe
it's time to consider a new strategy—an economy of enough. Suppose that
instead of chasing after more stuff, more jobs, more consumption, and more
income, we aimed for enough stuff, enough jobs, enough consumption, and enough
income.
มันอาจถึงเวลาแล้วที่จะมองหายุทธศาสตร์ใหม่—เศรษฐกิจแห่งความพอดี. สมมติว่า แทนที่จะไล่ล่าตามของมากๆ,
งานจ้างมากๆ, บริโภคมากๆ, และรายได้มากๆ, เราหันมามุ่งที่มีสิ่งของพอเพียง,
งานจ้างพอเพียง, บริโภคพอดี, และรายได้พอเพียง.
To
build a successful economy of enough, we would first need to eliminate the
"growth imperative"—factors that make the economy reliant on
growth. These include reliance on inappropriate measures of progress,
creation of debt-based money, and the use of aggregate growth as a tool (albeit
a blunt one) for generating jobs. With key policy changes, it is possible
to dismantle the growth imperative and build an economy that works for people
and the planet.
เพื่อสร้างเศรษฐกิจพอเพียงที่สำเร็จได้,
ประการแรก เราจำเป็นต้องกำจัด “คำบงการให้ขยายตัว”—ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจพึ่งอยู่กับการขยายตัว. ซึ่งรวมถึงการพึ่งมาตรวัดที่ไม่เหมาะสมสำหรับความก้าวหน้า,
การสร้างระบบเงินตราที่ตั้งอยู่บนการก่อหนี้,
และการมัดรวมการขยายตัวต่างๆให้เป็นเครื่องมือ (แม้ว่าจะเป็นเครื่องมือทู่ๆ ทื่อๆ)
เพื่อการสร้างงานว่าจ้าง.
ด้วยการเปลี่ยนนโยบายหลัก, เป็นไปได้ที่จะรื้อถอน คำบงการให้ขยายตัว
และสร้างเศรษฐกิจที่ทำงานเพื่อประชาชนและพิภพโลกในนี้.
Let's
start with measures of progress. Our main economic indicator, GDP, is a
good measure of economic activity—of money changing hands—but a poor measure of
social welfare. It lumps together desirable expenditures (food,
entertainment, and investment in education) with expenditures that we'd rather
avoid (war, pollution, and family breakdown). In the language of
economics, GDP does not distinguish between costs and benefits, but counts all
economic activity as "progress."
ขอให้เราเริ่มด้วยการวัดความก้าวหน้า. ดัชนีเศรษฐกิจหลักของเรา, จีดีพี,
เป็นตัวชี้วัดที่ดีของกิจกรรมเศรษฐกิจ—ของเงินที่เปลี่ยนมือไปมา—แต่เป็นตัวชี้วัดที่แย่สำหรับสวัสดิภาพในสังคม. มันโยนค่าใช้จ่ายอันพึงประสงค์ (อาหาร,
ความบันเทิง, และการลงทุนเพื่อการศึกษา) ปนเปกับค่าใช้จ่ายที่เราอยากหลีกเลี่ยง
(สงคราม, มลพิษ, และการล่มสลายของครอบครัว).
ในภาษาเศรษฐศาสตร์, จีดีพี ไม่ได้แยกแยะระหว่าง ต้นทุน และ ผลประโยชน์,
แต่นับรวมกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจทั้งหมดว่าเป็น “ความก้าวหน้า”.
Instead
of GDP, we need indicators that measure the things that matter to people, such
as health, happiness, and meaningful employment. We also need indicators
that measure what matters to the planet, such as material use and carbon
emissions. In fact, we already have these indicators; the problem is that
we largely ignore them, because we are so fixated on GDP. If the goal of
society could be changed from increasing GDP to improving human well-being and
preventing long-term environmental damage, then many proposals currently seen
as "impossible" would suddenly become possible.
แทนที่จะใช้ จีดีพี,
เราจำเป็นต้องมีดัชนีที่วัดสิ่งที่มีผลต่อประชาชน, เช่น สุขภาพ, ความสุข,
และงานว่าจ้างที่มีความหมาย.
เราจำเป็นต้องมีดัชนีที่วัดสิ่งที่มีผลต่อพิภพโลกด้วย, เช่น การใช้วัสดุ
และการปล่อยคาร์บอน. อันที่จริง, เรามีดัชนีทั้งสามตัวนี้แล้ว. ปัญหาอยู่ที่ว่า ส่วนใหญ่เราเมินเฉยไม่ใส่ใจมันเอง,
เพราะเราได้ถูกมนตร์สะกดให้ยึดติดอยู่กับ จีดีพี.
หากเป้าหมายของสังคมสามารถเปลี่ยนไปได้จากการเพิ่ม จีดีพี ไปเป็นปรับปรุง
ความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ และ หลีกเลี่ยงความหายนะเชิงสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้แล้วไซร้,
โครงการที่ถูกนำเสนอขณะนี้ ที่ถูกมองว่า “เป็นไปไม่ได้” ก็จะกลายเป็นว่า
เป็นไปได้ทันที.
What
about jobs? If we forgot about GDP, would the economy spiral into
recession? The evidence for a relationship between economic growth and
job creation is much weaker than you might expect and varies remarkably between
countries. In the U.S., for example, a 3 percent increase in GDP tends to
be accompanied by a 1 percent fall in unemployment. In France, the same
amount of GDP growth reduces unemployment by about half a percent. In
Japan, there is no relationship whatsoever. Clearly it is possible to
break the connection between economic growth and unemployment. We just
need the right economic policies.
แล้วงานว่าจ้างเล่า? หากเราลืมเรื่อง จีดีพี, เศรษฐกิจจะควงสว่านดิ่งพสุธาลงสู่การถดถอยไหม? หลักฐานแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
และ การสร้างงาน มีน้ำหนักน้อยกว่าที่คุณอาจคาดหมายไว้ และ
แปรผันระหว่างประเทศอย่างมาก. เช่น
ในสหรัฐฯ การเพิ่มของ จีดีพี 3%
มักจะมาพร้อมกับการลดอัตราไม่มีงานจ้าง 1%. ในฝรั่งเศส, อัตราการขยายตัว จีดีพี เดียวกัน
ลดอัตราการว่างงานเพียง 0.5%. ในญี่ปุ่น, มันไม่มีความสัมพันธ์กันเลย.
เห็นชัดอยู่แล้วว่า
ความเชื่อมโยงระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการว่างงาน ย่อมทลายลงได้. เราเพียงแต่จำเป็นต้องมีนโยบายเศรษฐกิจที่ถูกต้อง.
One
of these policies is work-time reduction. Over time, we have become more
efficient at producing goods and services, such that it now takes us less time
to produce the same amount of stuff as it did a few decades ago. But
instead of using the benefits of technological progress to reduce working time,
we have mainly used them to produce and sell more stuff. This may work in
an economy where the goal is more (i.e., continuous growth), but not in one
where the goal is enough. What we can do instead is use the benefits of
technological progress to gradually shorten the working day, week, year, and
career. Besides increasing leisure time, this would help keep people employed
by distributing available work more equally.
นโยบายหนึ่ง คือ
การลดเวลาทำงาน. ในช่วงเวลาที่ผ่านมา,
เราได้เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและการบริการ, ตอนนี้ เราใช้เวลาน้อยลงในการผลิตสินค้าปริมาณเดียวกัน
เมื่อเทียบกับไม่กี่ทศวรรษก่อน.
แต่แทนที่เราจะใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในการลดเวลาทำงาน,
เรากลับใช้มันผลิตและขายของมากขึ้น.
นี่อาจใช้ได้ในเศรษฐกิจที่มีเป้าหมายขยายตัว (นั่นคือ โตไปเรื่อยๆ),
แต่ไม่ใช่สำหรับเป้าหมายที่รู้จักพอ.
สิ่งที่เราน่าจะทำได้แทน คือ อาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ค่อยๆ ลดจำนวนวัน,
สัปดาห์, ปี, และ อาชีพให้สั้นลง.
นอกจากเพิ่มเวลาพักผ่อนหย่อนอารมณ์แล้ว, นี่ยังจะช่วยให้คนมีงานจ้างทำด้วยการกระจายงานที่มีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน.
Finally,
there's the financial system. Most people don't realize it, but nearly
all of our money is created by private banks. Banks are able to create
money because they can issue loans far in excess of their deposits. This
debt-based monetary system drives three things: (1) economic growth, as the
need to pay back an ever-increasing amount of debt requires an ever-increasing
amount of economic activity, (2) inflation, as the money supply tends to grow
faster than the amount of real wealth that's available in the economy, and (3)
instability, because if the banks stop lending, the whole house of cards
collapses. If we want to take a stab at the heart of the growth
imperative, and also prevent future financial crises, the answer is simple:
stop banks from creating money out of thin air, and transfer this power to a
public authority.
ในที่สุด, มีระบบการเงิน. คนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักเรื่องนี้,
แต่เงินเกือบทั้งหมดของเราถูกสร้างขึ้นโดยธนาคารเอกชน. ธนาคารสามารถสร้างเงิน เพราะ
พวกเขาสามารถปล่อยกู้ออกไปมากกว่าที่คนฝากจริง.
ระบบการเงินบนฐานของการเป็นหนี้นี้ ผลักดันให้เกิดสามอย่าง (๑)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ, เพราะความจำเป็นต้องจ่ายเงินชดใช้หนี้มากขึ้นเรื่อยๆ
ก็จำเป็นต้องเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มตามไปเรื่อยๆ ด้วย, (๒) เงินเฟ้อ,
เนื่องจากอุปทานด้านเงินตราโตเร็วกว่าปริมาณความมั่งคั่งที่แท้จริง
ที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ, และ (๓) ความไม่เสถียร, เพราะหากธนาคารหยุดปล่อยกู้, บ้านที่ก่อด้วยไพ่ทั้งหลังก็ล้มครืนทันที. หากเราต้องการแทงที่หัวใจของคำสั่งให้เติบโต,
และหลีกเลี่ยงวิกฤตการเงินในอนาคตด้วยแล้ว, คำตอบง่ายมาก: หยุดยั้งธนาคารไม่ให้สร้างเงินจากอากาศ,
และถ่ายโอนพลังอำนาจนี้ (จากเอกชน) ให้กับ public authority (ผู้ที่สาธารณชนมอบหมายอำนาจให้ทำหน้าที่เพื่อสาธารณะประโยชน์ ...
ในทางทฤษฎี คือ สส หรือ ภาครัฐ).
It's
hard to believe that many folks in Davos (or anywhere else, for that matter)
came away with a clear understanding of what "Resilient Dynamism"
means. But one thing is certain: an economy founded on perpetual growth
has no shot at being resilient. Maybe we could classify such an economy
as dynamic, since it will continue to displace people and communities and erode
the life-support systems of the planet. While the economic elites
interpret "Resilient Dynamism" to fit their agenda, perhaps the rest
of us should employ some plain language and let them know that enough is
enough.
มันยากที่จะเชื่อว่า หลายๆ
คนที่ดาโวส (หรือที่อื่นๆ ในเรื่องนั้น) กลับบ้านด้วยความเข้าใจที่ชัดเจนว่า “พลวัตที่เด้งกลับเอง”
นั้นหมายความว่าอะไร. แต่สิ่งหนึ่งที่แน่:
เศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนการขยายตัวไม่รู้จบ ไม่มีทางที่จะเด้งกลับได้. เราอาจจัดเศรษฐกิจดังกล่าวว่า มีพลวัตได้,
เพราะมันจะเบียดขับ แทนที่คนและชุมชน และกัดกร่อนระบบโอบอุ้มชีวิตของโลก
ต่อไปเรื่อยๆ.
ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อภิสิทธิ์ ตีความ “พลวัตเด้งกลับ”
ให้เข้ากับวาระของพวกเขา, บางที พวกเราที่เหลือควรใช้ภาษาง่ายๆ และให้พวกเขารู้จัก
พอ.
Rob Dietz is the editor of
the Daly
News, former executive
director ofCASSE
(the Center for the Advancement of the Steady State Economy), and co-author (with Dan
O'Neill) of Enough Is Enough: Building a Sustainable Economy in a World of Finite
Resources.
Dan O'Neill is a lecturer in
ecological economics at the University of Leeds and the chief economist for CASSE (the Center for the
Advancement of the Steady State Economy). He is the co-author (with
Rob Dietz) of Enough
Is Enough: Building a Sustainable Economy in a World of Finite Resources.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น