วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556

154. เศรษฐกิจรุนแรง = ทุนนิยม+ชายเป็นใหญ่ = อัตราการขยายตัวของความรุนแรงต่อสตรี คู่ขนาน จีดีพี


The Connection Between Global Economy Policy and Violence Against Women
by Dr. Vandana Shiva
ความเชื่อมโยงระหว่างนโยบายเศรษฐกิจโลก และ ความรุนแรงต่อสตรี
โดย ดร.วันทนา ศิวะ

The brave and courageous Delhi gang rape victim breathed her last on December 30, 2012. This article is a tribute to her and other victims of violence against women.
เหยื่อการรุมโทรมผู้กล้าหาญ หายใจเฮือกสุดท้าย ในวันที่ 30 ธันวาคม 2012.  บทความนี้ เป็นการไว้อาลัยเธอและเหยื่อความรุนแรงต่อสตรีรายอื่นๆ.
Violence against women is as old as patriarchy. But it has intensified and become more pervasive in the recent past. It has taken on more brutal forms, like the death of the Delhi gang rape victim and the suicide of the 17-year-old rape victim in Chandigarh.
ความรุนแรงต่อสตรีเก่าแก่พอๆ กับระบบปิตาธิปไตย/ชายเป็นใหญ่.  แต่มันเข้มข้นยิ่งขึ้น และได้แผ่ซ่านกระจายไปทั่วไม่นานมานี้เอง.  มันได้แสดงออกในรูปแบบที่โหดร้ายยิ่งขึ้น, ดังเช่นความตายของเหยื่อจากการรุมโทรมในกรุงเดลฮี และ การฆ่าตัวตายของเหยื่อการข่มขืนอายุ 17 ในเมือง Chandigarh.
Rape cases and cases of violence against women have increased over the years. The National Crime Records Bureau (NCRB) reported 10,068 rape cases in 1990 which increased to 16,496 in 2000. With 24,206 cases in 2011, rape cases jumped to incredible increase of 873 percent from 1971 when NCRB started to record cases of rape. And New Delhi has emerged as the rape capital of India, accounting for 25 percent cases.
คดีข่มขืน และ คดีความรุนแรงต่อสตรี ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา.  สำนักทะเบียนอาชญากรรมแห่งชาติ (NCRB) รายงานว่า มีคดีข่มขืน 10,068 รายในปี 1990 ซึ่งเพิ่มเป็น 16,496 ในปี 2000.  ด้วยสถิติ 24,206 ราย ในปี 2011, คดีข่มขืนพุ่งโลดอย่างไม่น่าเชื่อถึง 873% จากปี 1971 เมื่อ NCRB เริ่มบันทึกกรณีข่มขืน.  และนิวเดลฮีก็ผุดขึ้นมาเป็นนครหลวงของการข่มขืนแห่งอินเดีย, คิดเป็น 25% ของคดีข่มขืนทั้งหมด.
The movement to stop this violence must be sustained till justice is done for every one of our daughters and sisters who has been violated.
การเคลื่อนไหวเพื่อยุติความรุนแรงนี้ จะต้องธำรงไว้ จนกว่าลูกสาวและพี่น้องสาวทุกๆ คนของพวกเราที่ถูกล่วงละเมิด จะได้รับความเป็นธรรม.
And while we intensify our struggle for justice for women, we need to also ask why rape cases have increased 240 percent since 1990s when the new economic policies were introduced. We need to examine the roots of the growing violence against women.
และในขณะที่เราเพิ่มความเข้มข้นของการดิ้นรนเพื่อความยุติธรรมต่อสตรี, เราจำเป็นต้องตั้งคำถามว่า ทำไม คดีข่มขืนจึงเพิ่มขึ้นถึง 240% ตั้งแต่ทศวรรษ 1990s เมื่อนโยบายเศรษฐกิจใหม่เริ่มถูกใช้.  เราจำเป็นต้องศึกษาถึงรากเหง้าของการขยายตัวของความรุนแรงต่อสตรี.
Could there be a connection between the growth of violent, undemocratically imposed, unjust and unfair economic policies and the growth of crimes against women?
จะมีความเชื่อมโยงระหว่างการเติบโตของนโยบายเศรษฐกิจที่รุนแรง, ยัดเยียดอย่างไร้ความเป็นประชาธิปไตย, ไร้ความเป็นยุติธรรมและไร้ความเป็นธรรม  และ การเติบโตของอาชญากรรมต่อสตรี?
I believe there is.
ฉันเชื่อว่ามี.

Contributions of women
คุณูปการของผู้หญิง

Firstly, the economic model focusing myopically on “growth” begins with violence against women by discounting their contribution to the economy.
ประการแรก, โมเดลเศรษฐกิจมุ่งมองแคบๆ อย่างคนสายตาสั้นที่ “การขยายตัว” เริ่มต้นที่ความรุนแรงต่อสตรี ด้วยการลดมูลค่าของคุณูปการที่ผู้หญิงได้กระทำให้แก่ระบบเศรษฐกิจ.
The more the government talks ad nauseam about "inclusive growth" and "financial inclusion", the more it excludes the contributions of women to the economy and society. According to patriarchal economic models, production for sustenance is counted as "non-production". The transformation of value into disvalue, labour into non-labour, knowledge into non-knowledge, is achieved by the most powerful number that rules our lives, the patriarchal construct of GDP, Gross Domestic Product, which commentators have started to call the Gross Domestic Problem.
รัฐบาลยิ่งพูดเรื่องน่าคลื่นไส้มากเท่าไรเกี่ยวกับ “การขยายตัวที่รวมทุกๆ ฝ่าย” และ “การเงินที่รวมทุกๆ ฝ่าย”, มันก็กีดกันคุณูปการของผู้หญิงต่อเศรษฐกิจและสังคม.  ในโมเดลเศรษฐกิจเชิงปิตาธิปไตย, การผลิตเพื่อการยังชีพ ถูกจัดให้เป็น “ไม่มีการผลิต”.   การแปรเปลี่ยน คุณค่า ไปเป็น ไม่มีค่า, แรงงาน ไปเป็น  ไม่ใช่-แรงงาน, ความรู้ ไปเป็น ไม่ใช่-ความรู้, บรรลุล่วงได้ด้วยตัวเลขที่มีอำนาจมากที่สุดที่ปกครองชีวิตของพวกเรา, นั่นคือ จีดีพี, ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ, ที่ก่อตั้งขึ้นโดยปิตาธิปไตย, ที่ผู้วิจารณ์ได้เริ่มเรียกใหม่ว่า ปัญหามวลรวมในประเทศ.
National accounting systems which are used for calculating growth as GDP are based on the assumption that if producers consume what they produce, they do not in fact produce at all, because they fall outside the production boundary.
ระบบบัญชีแห่งชาติที่ถูกใช้ในการคำนวณการขยายตัวของ จีดีพี ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า หากผู้ผลิตบริโภคสิ่งที่พวกเขาผลิต, นับว่าพวกเขาไม่ได้ผลิตเลย, เพราะพวกเขาตกขอบอยู่นอกวงการผลิต.
The production boundary is a political creation that, in its workings, excludes regenerative and renewable production cycles from the area of production. Hence, all women who produce for their families, children, community and society are treated as "non-productive" and "economically" inactive. When economies are confined to the market place, economic self-sufficiency is perceived as economic deficiency. The devaluation of women's work, and of work done in subsistence economies of the South, is the natural outcome of a production boundary constructed by capitalist patriarchy.
วงการผลิต เป็นการสรรค์สร้างขึ้นโดยการเมืองที่, ในการทำงานของมัน, กีดกันวัฏจักรการผลิตเพื่อการซ่อมแซม, ฟื้นฟู, เกิดใหม่ จากพื้นที่การผลิต.  ดังนั้น, ผู้หญิงทั้งหมดที่ผลิตเพื่อครอบครัว, เด็กๆ, ชุมชน และ สังคมของตน ล้วนถูกจัดให้เป็นประเภท “ไม่ใช่-การผลิต” และ “ในเชิงเศรษฐศาสตร์” ไม่มีบทบาท.  เมื่อระบบเศรษฐกิจถูกจำกัดอยู่แค่พื้นที่ตลาด, เศรษฐกิจพอเพียง จึงถูกมองว่า เป็น ความขาดแคลนเชิงเศรษฐกิจ.   การตัดมูลค่าผลงานของผู้หญิง, และผลงานที่กระทำในระบบเศรษฐกิจยังชีพในซีกโลกใต้, เป็นผลพวงตามธรรมชาติของการกำหนดเขตวงการผลิตโดยระบอบปิตาธิปไตยทุนนิยม.
By restricting itself to the values of the market economy, as defined by capitalist patriarchy, the production boundary ignores economic value in the two vital economies which are necessary to ecological and human survival. They are the areas of nature's economy and sustenance economy. In nature's economy and sustenance economy, economic value is a measure of how the earth's life and human life are protected. Its currency is life giving processes, not cash or the market price.
ด้วยการจำกัดตัวมันเองที่มูลค่าในระบบเศรษฐกิจเน้นตลาด, ดังที่ปิตาธิปไตยทุนนิยมได้นิยามไว้, ขอบเขตการผลิต เมินเฉยมองข้ามมูลค่า/คุณค่า ในสองระบบเศรษฐกิจสำคัญ ที่จำเป็นต่อความอยู่รอดของระบบนิเวศและมนุษย์.   มันเป็นพื้นที่ของเศรษฐกิจของธรรมชาติ และ เศรษฐกิจยังชีพ.   ในเศรษฐกิจของธรรมชาติ และ เศรษฐกิจยังชีพ, มูลค่าเชิงเศรษฐกิจ เป็นดัชนีชี้วัดว่า สรรพสิ่งที่มีชีวิตและชีวิตมนุษย์ของโลก ได้รับการปกป้องดีแค่ไหน.   เงินหมุนเวียนของมัน คือ กระบวนการให้ชีวิต, ไม่ใช่เงินตรา หรือ ราคาในตลาด.
Secondly, a model of capitalist patriarchy which excludes women’s work and wealth creation in the mind deepens the violence by displacing women from their livelihoods and alienating them from the natural resources on which their livelihoods depend – their land, their forests, their water, their seeds and biodiversity. Economic reforms based on the idea of limitless growth in a limited world can only be maintained by the powerful grabbing the resources of the vulnerable. The resource grab that is essential for “growth” creates a culture of rape – the rape of the earth, of local self-reliant economies, the rape of women. The only way in which this “growth” is “inclusive” is by its inclusion of ever larger numbers in its circle of violence.
ประการที่สอง, โมเดลปิตาธิปไตยทุนนิยม ที่กีดกันผลงานและการสร้างความมั่งคั่งของผู้หญิง ในจิตใจ ได้ตอกย้ำความรุนแรงด้วยการเบียดขับผู้หญิงให้ออกจากวิถีชีวิตของพวกเธอ และ ทำให้พวกเธอแปลกแยกจากทรัพยากรธรรมชาติ ที่ๆ พวกเธอเคยพึ่งพิงในวิถีชีวิต—ที่ดินของพวกเธอ, ป่าของพวกเธอ, น้ำของพวกเธอ, เมล็ดพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพของพวกเธอ.   การปฏิรูปทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการเติบโตอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ในโลกที่จำกัด สามารถจะดำรงอยู่ได้ด้วยการที่ผู้มีอำนาจ แย่งชิงทรัพยากรของผู้เปราะบางเท่านั้น.   การฉกฉวยทรัพยากร ที่เป็นเนื้อแท้เพื่อ “การเติบโต” ได้ทำให้เกิดวัฒนธรรมของการข่มขืน—การข่มขืนโลก, การข่มขืนระบบเศรษฐกิจที่ท้องถิ่นพึ่งตัวเองได้, การข่มขืนผู้หญิง.   มีทางเดียวเท่านั้นที่ “การเติบโต” นี้ จะ “รวมทุกฝ่าย” คือ ด้วยการรวมตัวเลขที่มีแต่ขยายตัวมากขึ้นใส่ในวงความรุนแรงของมัน.
I have repeatedly stressed that the rape of the Earth and rape of women are intimately linked, both metaphorically in shaping worldviews and materially in shaping women's everyday lives. The deepening economic vulnerability of women makes them more vulnerable to all forms of violence, including sexual assault, as we found out during a series of public hearings on the impact of economic reforms on women organised by the National Commission on Women and the Research Foundation for Science, Technology and Ecology.
ฉันได้เน้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า การข่มขืนผืนโลก และ การข่มขืนผู้หญิง เชื่อมโยงกันอย่างแนบสนิท, ทั้งคู่มีอิทธิพลต่อการจัดระเบียบโลกทัศน์ในเชิงอุปมาอุปมัย และ ต่อการจัดการชีวิตประจำวันของผู้หญิงในเชิงวัตถุที่จับต้องได้.  การทำให้ความเปราะบางของผู้หญิงตกต่ำลงลึกยิ่งขึ้น ทำให้พวกเธอเปราะบางยิ่งขึ้นต่อความรุนแรงทุกรูปแบบ, รวมทั้งการถูกล่วงละเมิดทางเพศ, ดังที่เราได้พบในระหว่างการทำประชาพิจารณ์ต่อเนื่อง ถึงผลกระทบของการปฏิรูปทางเศรษฐกิจต่อผู้หญิง ที่จัดขึ้นโดย คณะกรรมาธิการสตรีแห่งชาติ และ มูลนิธิการวิจัยเพื่อวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี และ นิเวศ.

Subversion of democracy
การโค่นล้มระบอบประชาธิปไตย

Thirdly, economic reforms lead to the subversion of democracy and rivatization of government. Economic systems influence political systems. The government talks of economic reforms as if they have nothing to do with politics and power. They talk of keeping politics out of economics, even while they impose an economic model shaped by the politics of a particular gender and class. Neoliberal reforms work against democracy. We have seen this recently in the government pushing through “reforms” to bring in Walmart through FDI in retail. Corporate-driven reforms create a convergence or economic and political power, deepening of inequalities and a growing separation of the political class from the will of the people they are supposed to represent. This is at the root of disconnect between politicians and the public which we experienced during the protests that have grown since the Delhi gang rape.
ประการที่สี่, การปฏิรูปทางเศรษฐกิจ ได้นำไปสู่การโค่นล้มประชาธิปไตย และ การชุบชีวิตของรัฐบาล.  ระบบเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อระบบการเมือง.  รัฐบาลพูดถึงการปฏิรูปทางเศรษฐกิจประหนึ่งว่า พวกมันไม่เกี่ยวกับการเมืองและอำนาจ.   พวกเขาพูดถึงการกันการเมืองให้อยู่นอกเศรษฐกิจ, แม้ในขณะที่พวกเขายัดเยียดโมเดลเศรษฐกิจ ที่ปรุงแต่งโดยการเมืองของเพศสภาวะและชนชั้นหนึ่งๆ.   การปฏิรูปเชิงเสรีนิยมใหม่ เป็นการต่อต้านระบอบประชาธิปไตย.   เราได้เห็นแล้วเมื่อไม่นานนี้เอง ที่รัฐบาลได้ผลักดันผ่าน “การปฏิรูป” เพื่อนำเข้า วอลมาร์ท ผ่านช่องทางการลงทุนต่างชาติ สู่ระบบขายปลีกของประเทศ.   การปฏิรูปที่ขับเคลื่อนโดยบรรษัท ทำให้เกิดการสุมหัวกันของอำนาจเศรษฐกิจและการเมือง, เป็นลิ่มตอกให้ห้วงเหวของความไม่เท่าเทียมลึกยิ่งขึ้น และแปลกแยกชนชั้นการเมืองให้ถ่างห่างจากความปรารถนาของประชาชน ที่พวกเขาควรทำหน้าที่เป็นผู้แทน.   นี่คือรากเหง้าของการแยกส่วน ระหว่าง นักการเมือง และ สาธารณะ ที่พวกเราได้ประสบในระหว่างการประท้วงที่ได้ขยายตัว ตั้งแต่เหตุการณ์รุมโทรมในเดลฮี.

“An economics of commodification creates a culture of commodification, where everything has a price and nothing has value.”

Worse, an alienated political class is afraid of its own citizens. This is what explains the increasing use of police to crush non-violent citizen protests as we have witnessed in New Delhi. Or in the torture of Soni Sori in Bastar. Or in the arrest of Dayamani Barla in Jharkhand. Or the thousands of cases against the communities struggling against the nuclear power plant in Kudankulam. A rivatized corporate state must rapidly become a police state.
ที่แย่กว่านั้น, ชนชั้นการเมืองที่แปลกแยกตัวออกไป กลับกลัวพลเมืองของตัวเอง.  นี่เป็นคำอธิบายการใช้กำลังสันติบาลมากขึ้นในการปราบปรามพลเมืองที่ประท้วงแบบอหิงสา ดังที่พวกเราได้ประจักษ์ด้วยตาในนิวเดลฮี.  หรือในการทรมาน โซนิ โซริ ในเมือง Bastar.  หรือในการจับกุม ดายามานิ บาร์ลา ใน Jharkhand.  หรือ คดีนับพันที่ตั้งข้อหากับชุมชนที่ดิ้นรนต่อต้าน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใน Kudankulam.  รัฐบรรษัทคืนชีพ จะต้องกลายเป็นรัฐตำรวจโดยด่วน.
This is why politicians must surround themselves with ever increasing VIP security, diverting the police from their important duties to protect women and ordinary citizens.
นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไม นักการเมืองจึงต้องห้อมล้อมตัวเองด้วย รปภ วีไอพี มากขึ้นเรื่อยๆ, ดึงกำลังตำรวจจากหน้าที่สำคัญในการปกป้องผู้หญิงและพลเมืองธรรมดาๆ.
Fourthly, the economic model shaped by capitalist patriarchy is based on the commodification of everything, including women. When we stopped the WTO Ministerial in Seattle, our slogan was “Our world is not for Sale”.
ประการที่สี่, โมเดลเศรษฐกิจที่จัดแต่งโดยปิตาธิปไตยทุนนิยม ตั้งอยู่บนฐานของการตีตราทุกสิ่ง, รวมทั้งผู้หญิง, ให้เป็นสินค้า.  เมื่อพวกเราประท้วง ยุติ การประชุมองค์การค้าโลกระดับรัฐมนตรี ที่ซีแอตเติล, คำขวัญของเรา คือ “โลกของเราไม่ได้มีเพื่อขาย”.
An economics of deregulation of commerce, of liberalization and commodification of seeds and food, land and water, women and children unleashed by economic liberalization, degrades social values, deepens patriarchy and intensifies violence against women.
เศรษฐศาสตร์ของการเลิกควบคุมภาคพาณิชย์, ของการเปิดเสรี และ การแปลง (สมบัติร่วมของมนุษยชาติ) ให้เป็นสินค้า ของเมล็ดพันธุ์ และ อาหาร, ผืนดินและน้ำ, ผู้หญิงและเด็ก ที่เศรษฐกิจเสรีนิยมได้ปลดปล่อยออกมา, ได้ลดทอนกัดกร่อนคุณค่าทางสังคม, ช่วยให้ปิตาธิปไตยหยั่งรากลึกขึ้น และ ทำให้ความรุนแรงต่อสตรีเข้มข้นขึ้น.
Economic systems influence culture and social values. An economics of commodification creates a culture of commodification, where everything has a price and nothing has value.
ระบบเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและคุณค่าทางสังคม.  เศรษฐศาสตร์ของการแปลงทุกอย่างให้เป็นสินค้า ได้สร้างวัฒนธรรมของสินค้า, ที่ๆ ทุกอย่างมีป้ายราคา และไม่มีสิ่งใดที่มีคุณค่า.
The growing culture of rape is a social externality of economic reforms. We need to institutionalise social audits of the neo-liberal policies which are a central instrument of patriarchy in our times. If there was a social audit of corporatising our seed sector, 270,000 farmers would not have been pushed to suicide in India since the new economic policies were introduced. If there was a social audit of the corporatisation of our food and agriculture, we would not have every fourth Indian going hungry, every third woman malnourished and every second child wasted and stunted due to severe malnutrition. India today would not be Republic of Hunger that Dr Utsa Patnaik has written about.
วัฒนธรรมที่โตขึ้นของการข่มขืน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม (ที่กระทบทุกๆ คนโดยไม่ได้วางแผนไว้ก่อน) จากการปฏิรูปเศรษฐกิจ.  เราจำเป็นต้องสถาปนาระบบตรวจการเชิงสังคม ต่อนโยบายเสรีนิยมใหม่ ที่เป็นเครื่องมือหลักของปิตาธิปไตยในยุคของเรา.   หากมีระบบตรวจการเชิงสังคมในกระบวนการกลืนภาคเมล็ดพันธุ์ของเราสู่บรรษัท/เป็นสินค้า, เกษตรกร 270,000 คน คงไม่ต้องถูกบีบคั้นให้ฆ่าตัวตายในอินเดีย ตั้งแต่นโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจได้ถูกนำมาใช้.   หากมีระบบตรวจการเชิงสังคม ในการกลืนอาหารและภาคเกษตรของเราสู่ปากบรรษัท, เราคงไม่ต้องมีชาวอินเดียทุกๆ หนึ่งในสี่คน ที่ต้องหิวโหย, ผู้หญิงทุกๆ หนึ่งในสามคน ที่ต้องขาดสารอาหาร และ เด็กทุกๆ หนึ่งในสองคนที่กลายเป็นคนไร้ประโยชน์ หรือ หยุดเจริญเติบโต เพราะภาวการณ์ขาดสารอาหารอย่างรุนแรง.  ทุกวันนี้ อินเดีย คงไม่ต้องเป็น สาธารณรัฐแห่งความหิวโหย ดังที่ ดร. อุตสา ปัตนาอิก ได้เขียนไว้.
The victim of the Delhi gang rape has triggered a social revolution. We must sustain it, deepen it, expand it. We must demand and get speedy and effective justice for women. We must call for fast track courts to convict those responsible for crimes against women. We must make sure laws are changed so justice is not elusive for victims of sexual violence. We must continue the demand for blacklisting of politicians with criminal records.
เหยื่อของการรุมโทรมที่เดลฮี ได้กระตุ้นให้เกิดการปฏิวัติทางสังคม.  พวกเราจะต้องธำรงมันไว้, ทำให้มันลึกขึ้น, ขยายให้กว้างขึ้น.  พวกเราต้องเรียกร้อง และไขว่คว้าความยุติธรรมให้ได้รวดเร็วและมีประสิทธิผลสำหรับผู้หญิง.   พวกเราจะต้องเรียกร้องให้มีศาลสายด่วน เพื่อลงโทษผู้รับผิดชอบในอาชญากรรมต่อสตรี.  พวกเราจะต้องทำให้มั่นใจว่า มีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อความยุติธรรมจะไม่เป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับเหยื่อความรุนแรงทางเพศ.  พวกเราจะต้องเรียกร้องต่อไป เพื่อขึ้นบัญชีดำนักการเมืองที่มีประวัติอาชญากรรม.
And while we do all this, we need to change the ruling paradigm which is imposed on us in the name of "growth" and which is fuelling increasing crimes against women. Ending violence against women includes moving beyond the violent economy shaped by capitalist patriarchy to non-violent peaceful economies which give respect to women and the Earth.
และในขณะที่พวกเราทำเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด, เราจำเป็นต้องเปลี่ยนกรอบมโนทัศน์การปกครอง ที่ได้ถูกยัดเยียดใส่พวกเรา ในนามของ “การเติบดต/ขยายตัว” และที่กำลังเติมเชื้อเพลิงเพิ่มอาชญากรรมต่อสตรี.  การยุติความรุนแรงต่อสตรี รวมไปถึงการเคลื่อนให้ออกพ้นระบบเศรษฐกิจ (รวมศูนย์/กระจุกตัว/เดี่ยว) รุนแรง ที่จัดแต่งโดยปิตาธิปไตยทุนนิยม สู่ หลากระบบเศรษฐกิจ ที่อหิงสาและสันติ ที่ให้ความเคารพต่อผู้หญิง และ โลก.

Dr Vandana Shiva is a physicist, ecofeminist, philosopher, activist, and author of more than 20 books and 500 papers. She is the founder of the Research Foundation for Science, Technology and Ecology, and has campaigned for biodiversity, conservation and farmers' rights - winning the Right Livelihood Award (Alternative Nobel Prize) in 1993.
ดร.วันทนา ศิวะ เป็นนักฟิสิกซ์, สตรีนิยมเชิงนิเวศ, นักปราชญ์, นักกิจกรรม/รณรงค์, และนักเขียนหนังสือกว่า 20 เล่ม และบทความ 500 ฉบับ.  เธอเป็นผู้ก่อตั้ง มูลนิธิการวิจัยเพื่อวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี และ นิเวศ, และได้รณรงค์เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ, อนุรักษ์ และ สิทธิ์ของเกษตรกร—ได้รับรางวัล สัมมาชีพ (หรือ รางวัลโนเบลทางเลือก/คู่ขนาน) ในปี 1993.

Wed, Jan 16, 2013 at 6:23 PM, an Isis International e-newsletter

ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น