Green and Equal:
Financing for Sustainable and Equitable Development
Kate McInturff, Feminist Alliance For International Action (FAFIA)
เขียวและเท่าเทียม: การให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและเท่าเทียม
Men and women play dissimilar roles in areas such as food
production and resource management. Climate change funds that overlook women’s
role in those fields miss an opportunity to make a significant impact on both
food security and mitigation efforts. Gender budgeting can make a significant
contribution; in fact, placing women’s empowerment in the centre of climate
change strategies is the most effective way to go. Special attention to women
economics must be a key element in any viable paradigm of development.
ชายและหญิงเล่นบทไม่เหมือนกันในเรื่องการป้องกันอาหารและการจัดการทรัพยากร. กองทุนภูมิอากาศแปรเปลี่ยนที่มองข้ามบทบาทของสตรีในปริมณฑลเหล่านั้น
ได้พลาดโอกาสการทำให้เกิดผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อทั้งความมั่นคงทางอาหารและความพยายามที่จะบรรเทาความอดอยาก. การจัดสรรงบเชิงด้วยมิติเพศสภาพ (Gender budgeting) สามารถทำให้เกิดคุณูปการที่มีนัยสำคัญ,
อันที่จริง,
การวางประเด็นเสริมสร้างอำนาจต่อรองของสตรีให้อยู่ใจกลางยุทธศาสตร์ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด.
การให้ความสนใจพิเศษต่อเศรษฐกิจผู้หญิง จะต้องเป็นปัจจัยหลักในกรอบคิดของการพัฒนา.
An essential element in ensuring the substantive implementation
of any international agreement is adequate financial and political
support. Civil society organizations have begun to track not only
political commitments to address climate change, but also the financial
resources that underwrite them.[1] The gap
between promised funds and actual funds allocated is itself a key measure of
the durability of political commitments. Following the money, however, is
not sufficient to ensure that climate change funds are being directed in an
equitable and sustainable manner. Climate funds must also integrate a
gender budgeting approach in the design and disbursement of those funds in
order to address and mitigate the differential impact of climate change on
women. Moreover, the administration and design of the funds must be
conducted in a gender equitable manner, including by involving women and
women’s rights organizations in decision-making at every level.
ปัจจัยที่จำเป็นยิ่งที่จะทำให้มั่นใจว่ามีปฏิบัติการตามเนื้อหาสาระของข้อตกลงระหว่างประเทศใดๆ
คือ การให้ความสนับสนุนอย่างพอเพียงทางการเงินและการเมือง. องค์กรภาคประชาสังคมได้เริ่มแกะรอย ไม่เพียงแต่ความผูกพันทางการเมืองในการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง,
แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนทางการเงินด้วย.
ช่องว่างระหว่างทุนที่สัญญาไว้ และทุนที่ได้จัดสรรให้จริง โดยตัวของมันเอง
เป็นตัววัดความอึดของความผูกพันทางการเมือง.
แต่การแกะรอยเม็ดเงินยังไม่เพียงพอที่จะทำให้มั่นใจว่า เงินทุนได้ถูกผันอย่างเท่าเทียมและยั่งยืน. กองทุนภูมิอากาศจะต้องผนวกแนวทางการจัดสรรงบเชิงเพศสภาพ
(Gender budgeting) ด้วยในการออกแบบและการเบิกเงินทุนเหล่านั้น
เพื่อแก้ไขและบรรเทาผลกระทบของภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่มีความแตกต่างต่อสตรี. นอกจากนี้ การบริหารและออกแบบของกองทุนจะต้องกระทำในลักษณะเอื้อให้เกิดความเท่าเทียมเชิงเพศสภาพ,
รวมทั้งให้สตรี และให้องค์กรสิทธิสตรีมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทุกระดับ.
The Climate Funds Update project, supported by the Heinrich Böll
Stiftung Foundation and the Overseas Development Institute, has led the way in
tracking and analysing financing in this area. The Climate Funds Update
charts:
โครงการเกาะติดกองทุนภูมิอากาศ,
ที่สนับสนุนโดยมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ และสถาบันการพัฒนาโพ้นทะเล, ได้นำทางในการแกะรอยและวิเคราะห์การให้เงินสนับสนุนในด้านนี้. การเกาะติดกองทุนภูมิอากาศกำหนดผัง ดังนี้
o
the financial support
that has been pledged by donors to climate funding mechanisms,
o
เงินสนับสนุนที่ผู้ให้ได้สัญญาว่า
เพื่อการสร้างกลไกการให้ทุนด้านภูมิอากาศ
o
money that has
actually been deposited in climate funds,
o
เงินที่ได้ฝากลงในกองทุนแล้วจริงๆ
o
money that has been
approved for climate adaptation and mitigation projects and
o
เงินที่ได้รับการอนุมัติแล้วสำหรับโครงการเพื่อการปรับตัวและบรรเทา
และ
o
money that has been
disbursed.[2]
o
เงินที่ได้ถูกถอนไป
Across twenty-three climate funding mechanisms, the gaps are
significant: $31,896 million (USD) pledged, $13,199 million (USD) deposited,
$6,569 million (USD) approved and $2,162 million (USD) dispersed. The gap
between the amount of support pledged and the amount actually given over to
climate funds demonstrates a failure of political will that has the potential
to further damage the credibility of the ongoing process of negotiation among
state actors. It suggests that there is not only a gap between the
commitments of different state actors, notably between high-income countries
and low-income countries, but also a gap between the stated and the actual
financial commitments of those actors in practice.
ในบรรดา 23 กลไกของการให้ทุนด้านภูมิอากาศ มีช่องว่างที่มีนัยสำคัญ:
จำนวนที่สัญญาไว้ 31,896 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการลงขันมาแล้ว 13,199 ล้านเหรียญ ซึ่ง 6,569 ล้านเหรียญได้รับการอนุมัติ
และ 2,162 ล้านเหรียญ ได้ถูกกระจายออกไปใช้แล้ว ช่องว่างระหว่างจำนวนที่สัญญาไว้
และจำนวนที่ให้มาจริง
แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของความจริงใจทางการเมืองที่มีศักยภาพทำลายความน่าเชื่อถือของกระบวนการต่อรองที่ดำเนินอยู่ระหว่างผู้แทนรัฐทั้งหลาย
ซึ่งแนะว่าไม่เพียงมีช่องว่างระหว่างความผูกพันต่อสัญญาของรัฐต่างๆ
ที่เห็นได้ชัดคือ ระหว่างประเทศที่มีรายได้สูงและประเทศที่มีรายได้ต่ำ
แต่ยังรวมถึงช่องว่างระหว่างความผูกพันต่อจำนวนเงินที่ได้สัญญาไว้และเมื่อวางเงินจริงของแต่ละประเทศ
The Global Gender and Climate Alliance brings together civil
society and multi-lateral actors “to ensure that climate change policies,
decision-making, and initiatives at the global, regional, and national levels
are gender responsive.”[3] Analysis has
demonstrated, however, that there continues to be a significant gap between the
statement commitments of fund administrators, such as the World Bank[4],
to gender equitable development policies and a near total absence of
gender-based analysis of climate change fund policy and programming by the
World Bank.
พันธมิตรเพศสภาพและภูมิอากาศโลก
ได้นำตัวละครภาคประชาสังคมและพหุภาคีเข้าด้วยกัน “เพื่อทำให้มั่นใจว่า
นโยบายภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, การตัดสินใจ, และความริเริ่มในระดับโลก, ภูมิภาค,
และชาติ มีความตอบสนองเชิงเพศสภาพ”.
แต่การวิเคราะห์ได้แสดงว่า ยังมีช่องว่างอย่างมีนัยสำคัญคั่นระหว่างแถลงการณ์สัญญาต่อการบริหารทุน,
ดั่งเช่นที่ ธนาคารโลก, ต่อนโยบายความเท่าเทียมเชิงเพศสภาพแต่เกือบไม่มีการวิเคราะห์เชิงเพศสภาพในนโยบายกองทุนภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
และการจัดโปรแกมโดยธนาคารโลก.
The consequences of this absence are significant, not only for
closing the gap between the well-being of women and men, but for the overall
success of any climate change strategy.[5] This is
because men and women play distinct roles in areas such as food production,
fuel consumption, resource management, disaster response, and in the care
economy. As a result they are affected in unique ways by climate change and are
positioned to make unique contributions to adaptation and mitigation efforts.
ผลของการขาดหายนี้มีนัยสำคัญ,
ไม่เพียงแต่เพื่อการปิดช่องว่างระหว่างความอยู่ดีมีสุขของหญิงและชาย,
แต่สำหรับความสำเร็จในองค์รวมของยุทธศาสตร์ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงใดๆ. นี่เพราะชายและหญิงมีบทบาทที่ต่างกันมากในหลายๆ
พื้นที่ เช่น การผลิตอาหาร, การบริโภคเชื้อเพลิง, การจัดการทรัพยากร, การตอบสนองภัยพิบัติ,
และในเรื่องเศรษฐกิจเกื้อกูล. ผลคือ
พวกเขาได้รับผลกระทบเป็นพิเศษจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และอยู่ในตำแหน่งที่จะทำให้เกิดการปรับตัวและบรรเทาทุกข์ในลักษณะเฉพาะ.
Women make up the majority of small-scale food producers.
They are far more likely than men to be responsible for cultivation, food
preparation and managing the distribution of food to their families and
communities. For example, in the Philippines, women make up 70% of the
agricultural labour force engaged in rice and corn production.[6] As
elsewhere, farmers in the Philippines must now respond to shifting weather
patterns and increased food production costs. However, in Montalban, Rizal, women
have responded to the impact of changing weather patterns and increased
fertilizer costs by changing their methods of cultivation and the variety of
rice that they grow—resulting in lower GHG emissions, less fertilizer use, and
crops that are better adapted to the shifts in weather patterns.[7]
As this example demonstrates, climate change funds that overlook the role women
play in food production miss an opportunity to make a significant impact on
both food security and adaptation and mitigation efforts.
สตรีเป็นส่วนใหญ่ของผู้ผลิตอาหารรายย่อย.
พวกเธอมีแนวโน้มมากกว่าชายในการรับผิดชอบต่อการเพาะปลูก, การเตรียมอาหารและกระจายอาหารให้ครอบครัวและชุมชน. ยกตัวอย่าง ในฟิลิปปินส์ สตรีเป็น 70% ของแรงงานเกษตรที่ทำงานในการผลิตข้าวและข้าวโพด เช่นเดียวกับที่อื่นๆ
ชาวนาในฟิลิปปินส์จะต้องรับมือกับอากาศที่เปลี่ยนแปลง
และต้นทุนการผลิตอาหารที่เพิ่มขึ้น. แต่
ในมอนตัลบัน, ริซาล,
สตรีได้รับมือกับผลกระทบจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และราคาปุ๋ยที่แพงขึ้น
ด้วยการเปลี่ยนวิธีเพาะปลูกและพันธุ์ข้าว—ยังผลให้ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก,
ใช้ปุ๋ยน้อยลง, และพืชที่ปรับตัวได้ดีกว่ากับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ดังที่ตัวอย่างนี้ได้แสดงให้เห็นว่า,
กองทุนภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่มองข้ามบทบาทสตรีในการผลิตอาหาร
ได้พลาดโอกาสที่จะทำให้เกิดผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อทั้งความมั่นคงทางอาหาร และ
การปรับตัว และการบรรเทา.
Gendered climate funding
ทำให้การสนับสนุนทางการเงินมีมิติเพศสภาวะ
Climate change funds must also address the broader structures of
inequality, or risk widening the gap between women and men. Although women make
up the majority of small-scale farmers, and are best positioned to respond to
food insecurity, they are far less likely to hold formal title to the land they
cultivate. They are less likely to have
property rights, including rights of inheritance. Research has also
demonstrated that in times of food scarcity women often allocate more food to
male family members than female family members. A gender-sensitive evaluation
of climate change funds must consider not only how the funds are distributed,
but the extent to which funding is allocated to address the structural
impediments to women’s full participation in adaptation and mitigation efforts.
To return to the example from the Philippines, it is not enough simply to
ensure that funds go to female as well as male farmers, it is also necessary to
ensure that female farmers have control over the resources that go into food
production and that the food produced benefits women as well as men.
เงินทุนภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
จะต้องแก้ไขโครงสร้างที่กว้างใหญ่กว่าของความไม่เท่าเทียม, หรือ
เสี่ยงต่อการเพิ่มช่องว่างระหว่างหญิงชาย.
แม้ว่าสตรีจะเป็นส่วนใหญ่ของเกษตรกรรายย่อย,
และอยู่ในตำแหน่งดีที่สุดที่จะตอบสนองในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร,
น้อยมากที่พวกเธอจะถือกรรมสิทธิ์ทางการของที่ดินที่พวกเธอทำการเพาะปลูก.
พวกเธอคงมีโอกาสน้อยกว่าในการมีสิทธิ์เหนือทรัพย์สมบัติ,
รวมทั้งสิทธิในมรดก.
งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า ในยามขาดอาหาร สตรีมักจะจัดสรรให้อาหารแก่สมาชิกชายในครอบครัวมากกว่าสมาชิกหญิง. การประเมินเชิงเพศสภาพของกองทุนภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
จะต้องคำนึงไม่เพียงแต่เรื่องกองทุนถูกกระจายอย่างไรเท่านั้น,
แต่ต้องดูถึงขอบเขตที่กองทุนได้ถูกจัดสรรเพื่อแก้ไขอุปสรรคเชิงโครงสร้าง
ต่อการมีส่วนร่วมเต็มที่ของสตรี ในความพยายามเพื่อการปรับตัวและบรรเทาทุกข์. ย้อนกลับไปดูตัวอย่างที่ฟิลิปปินส์,
มันไม่พอที่จะเพียงทำให้มั่นใจว่า กองทุนไปถึงมือเกษตรกรหญิง พอๆ กับเกษตรกรชาย,
แต่จำเป็นต้องทำให้มั่นใจว่า เกษตรกรหญิงสามารถควบคุมทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตอาหาร
และ หญิง-ชาย ได้รับประโยชน์จากอาหารที่ผลิตพอๆ กัน.
A gendered analysis of climate change funds must also be
attentive to the division of paid and unpaid labour. This is an area where gender budgeting can
make a particularly significant contribution to understanding how to improve
climate change financing. Women continue to perform a disproportionate amount
of unpaid labour, much of which is directly impacted by climate change. This
labour includes care for family and community members, who may experience
increased negative health effects from climate change. It includes labour performed
in the cultivation and preparation of food and water, which is made more
difficult by drought and other changes in weather patterns. It includes collecting and using fuel to
clean, cook, and sterilise. All of these burdens are increased by the negative
impact of climate change. Yet, much of
this work is not part of the monetized economy. Thus, climate change financing mechanisms that
measure impact in terms of paid work and GDP or GNP do not capture either the
growing burden of unpaid work on women or the impact of mitigation strategies
in decreasing that burden. For example, a survey of rural women’s energy
use in India allowed women to identify their priorities for reducing energy
use. Their priorities were directly tied
to time use. They identified more sustainable sources of energy production. Higher energy efficiency reduced their burden
of unpaid labour, which has, in turn, provided more opportunities for
participation in income-generating activities.[8] Funding for
this kind of gender-specific programming has multiplier effects. Lower
burdens of unpaid work not only increase women’s capacity to engage in paid
work and, thus, potentially increase their economic independence, a lower
burden of unpaid work may also increase educational opportunities for women and
girls. Increased education levels for women, in turn, have demonstrated
positive impacts on their health and the health of their families. None of
these impacts, however, can be measured without measuring the nature and effect
of unpaid work on women and their communities.
การวิเคราะห์เชิงเพศสภาพของกองทุนภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
จะต้องดูที่การแบ่งแยกระหว่างแรงงานที่ได้รับค่าจ้างกับที่ไม่ได้รับค่าจ้างด้วย. นี่เป็นพื้นที่ๆ Gender budgeting
จะสามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจอย่างมีนัยสำคัญว่า
จะปรับปรุงการสนับสนุนทางการเงินด้านภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร. สตรียังคงทำงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างมากกว่า,
ส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง. แรงงานนี้ รวมถึงการดูแลสมาชิกในครอบครัวและชุมชน,
ผู้อาจประสบผลกระทบทางลบมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ. มันรวมถึงแรงงานในการเพาะปลูก และ
การเตรียมอาหารและน้ำ, ที่ทำให้ยากเข็ญขึ้นด้วยภัยแล้งและการแปรปรวนของอากาศ. มันรวมไปถึงการเก็บและใช้เชื้อเพลิง
เพื่อทำความสะอาด, หุงหาอาหาร, และฆ่าเชื้อโรค.
ภารกิจทั้งหมดนี้เพิ่มมากขึ้นโดยผลกระทบเชิงลบของภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง. แต่งานเหล่านี้
ส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ในระบบเศรษฐกิจเงินตรา.
ดังนั้น,
กลไกเพื่อสนับสนุนทางการเงินด้านภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่วัดผลกระทบในแง่งานที่ได้รับเงินเดือน
และ จีดีพี หรือ จีเอ็นพี ไม่ได้วัดทั้งภารกิจที่เพิ่มขึ้นของงานไร้ค่าจ้างของสตรี
หรือ ผลกระทบของยุทธศาสตร์บรรเทาทุกข์ที่จะลดภาระเหล่านั้น. เช่น
การสำรวจการใช้พลังงานของสตรีชนบทในอินเดีย
อนุญาตให้สตรีระบุลำดับความสำคัญในการลดการใช้พลังงาน. การจัดลำดับของพวกเธอพัวพันกับเวลาที่ใช้.
พวกเธอได้ระบุแหล่งผลิตพลังงานที่ยั่งยืนกว่า. พลังงานที่มีประสิทธิผลสูงกว่าช่วยลดภารกิจของแรงงานไร้ค่าจ้างได้,
ซึ่งในทางกลับกัน, ให้โอกาสมากขึ้นแก่การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างรายได้. การให้ทุนในโปรแกมที่มุ่งด้านเพศสภาพเช่นนี้
มีผลทวีคูณ. การลดภาระของงานไร้ค่าจ้าง
ไม่เพียงแต่เพิ่มความสามารถของสตรีให้ทำงานที่มีค่าจ้างได้ และ, ดังนั้น,
เป็นไปได้ที่จะเพิ่มอิสรภาพทางเศรษฐกิจของพวกเธอ,
ภาระไร้ค่าจ้างที่ลดลงอาจเพิ่มโอกาสการศึกษาสำหรับสตรีและเด็กได้ด้วย. การได้รับการศึกษาสูงขึ้นสำหรับสตรี, ในทางกลับกัน,
ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางบวกต่อสุขภาพของพวกเธอและของชุมชน.
The example of unpaid work raises a more fundamental tension in
climate change fund monitoring efforts. Gender and climate budgeting are both
based on the premise that budgets are statements of values, not simply
mechanical responses to market and other economic dynamics. Gender and climate
budgeting assumes that spending is an opportunity for change for the better –
for a macroeconomics that is sustainable and equitable, that measure progress
in terms of well-being and not GDP, that captures change in quality of life,
not just the monetized economy. As such, this kind of monitoring and analysis
is a radical reframing of neo-liberal economic theory. In practice, however,
gender and climate budgeting projects often invoke both the ideas of fairness
or justice and traditional economic arguments regarding cost-effectiveness and
growth. In times of global economic crisis it is difficult to make arguments
that do not attend to the cost and productivity. However, when state actors
begin to step back from international commitments to climate change and gender
equity they often do so by citing the cost of meeting those commitments. In the
face of the argument that justice and equality are too expensive, proponents of
the values that underwrite climate and gender budgeting projects must face the
contradiction within their own tactics—they must consider whether or not they
are willing make claims for justice and equality even when those end goals are
antagonistic to market growth and productivity.
ตัวอย่างของงานไร้ค่าจ้างได้เพิ่มความตึงเครียดขั้นพื้นฐานในความพยายามตรวจสอบ/ติดตามกองทุนภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง. ทั้งการจัดสรรงบประมาณเชิงเพศสภาพ (เจนเดอร์)
และภูมิอากาศ ต่างตั้งอยู่สมมติฐานว่า การจัดสรรงบประมาณ เป็นแถลงการณ์ถึงคุณค่า,
ไม่ใช่แค่การตอบสนองแบบทื่อๆ ต่อตลาดและพลวัตเศรษฐกิจอื่นๆ. การจัดสรรงบเชิงเจนเดอร์และภูมิอากาศ
สมมติเอาว่า การใช้จ่าย เป็นโอกาสสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า—เพื่อเศรษฐกิจมหภาคที่ยั่งยืนและเท่าเทียม,
ที่วัดความก้าวหน้าในแง่ ความอยู่ดีมีสุข และ ไม่ใช่ จีดีพี, ที่วัดการเปลี่ยนแปลงในคุณภาพของชีวิต,
ไม่แค่ในเศรษฐกิจเงินตรา. เช่นนี้,
การตรวจสอบและวิเคราะห์เช่นนี้
เป็นการตีกรอบใหม่อย่างถอนรากถอนโคนของทฤษฎีเศรษฐกิจเสรีใหม่. แต่ในทางปฏิบัติ, โครงการจัดสรรงบเจนเดอร์และภูมิอากาศ
มันกระตุ้นให้เกิดความคิดของความเป็นธรรมและความยุติธรรม. ในยามวิกฤตโลก
มันยากที่จะโต้แย้งแบบไม่ใยดีเรื่องต้นทุนและผลิตภาพ. แต่ เมื่อตัวละครภาครัฐ
เริ่มถอยห่างจากพันธสัญญาต่อนานาชาติในเรื่องภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงและความเสมอภาคเชิงเพศสภาพ พวกเขามักจะทำเช่นนั้น
ด้วยการอ้างถึงต้นทุนในการทำให้บรรลุพันธสัญญาเหล่านั้น. เมื่อเผชิญหน้ากับข้อโต้แย้งที่ว่า
ความยุติธรรมและความเท่าเทียม แพงเกินไป, ผู้สนับสนุนด้านคุณค่า
ที่ลงนามในโครงการจัดสรรงบเจนเดอร์และภูมิอากาศ
จะต้องเผชิญกับข้อขัดแย้งกันภายในกลยุทธ์ของพวกเขาเอง—พวกเขาจะต้องพิจารณาว่าจะยังเดินหน้าทวงความยุติธรรมและเท่าเทียม
แม้ว่าเป้าหมายของมันจะเป็นปฏิปักษ์ต่อการขยายตัวและผลิตภาพของตลาด.
……
Gender equality at the core of sustainable societies
ความเท่าเทียมเชิงเพศสภาพที่แก่นของสังคมยั่งยืน
Women around the world work longer hours, participate less in
formal labour markets, receive lower incomes and have fewer social protection
benefits than do men. Feminist economics demands a new development paradigm
that is not based exclusively on economic growth and which is not measured by
per capita GDP – which conceals the half of the economy that is non-monetary.
สตรีทั่วโลกมีชั่วโมงทำงานที่ยาวนานกว่า,
มีส่วนร่วมในตลาดแรงงานในระบบน้อยกว่า, ได้รับรายได้น้อยกว่า และ
มีสวัสดิการคุ้มครองทางสังคมน้อยกว่าชาย.
นักเศรษฐศาสตร์สตรีนิยมเรียกร้องให้มีวิถีทัศน์การพัฒนาใหม่
ที่ไม่ตั้งอยู่บนการขยายตัวทางเศรษฐกิจถ่ายเดียว และก็ไม่วัดแต่ จีดีพี ต่อหัว—ที่ปกปิดเศรษฐกิจกึ่งหนึ่ง
ที่ไม่ใช่เงินตรา.
In the classic model, activities that are essential for the
existence of the family and community are ignored as they take place outside markets.
These include maintaining a household, child rearing, caring for the elderly
and a large part of food production and crop maintenance. Since these
activities are carried out informally, without contract or exchange of money,
they are considered “noneconomic activities,” not only in the economics
textbooks but also the in the international System of National Accounts.
ในโมเดลคลาสสิค,
กิจกรรมที่จำเป็นต่อการคงอยู่ของครอบครัวและชุมชน ถูกละเลย
ในขณะที่มันเกิดขึ้นนอกวงตลาด.
กิจกรรมเหล่านี้รวมถึง งานบ้าน, งานเลี้ยงเด็ก, งานดูแลคนชรา และ
งานส่วนใหญ่ในการผลิตอาหารและดูแลพืช.
เนื่องจากกิจกรรมเหล่านี้ทำอย่างไม่เป็นทางการ,
ไม่มีการสัญญาหรือแลกเปลี่ยนเงินตรา, มันถูกจัดเป็น
“กิจกรรมที่ไม่มีผลต่อเศรษฐกิจ”, ไม่เพียงแต่ในตำราเศรษฐศาสตร์ แต่ยังในระบบบัญชีแห่งชาติที่ใช้กันในระดับสากล.
In the current economic paradigm growth equals economic
development and GDP is the most used indicator to measure the “wealth”
generated. However, feminist economics has shown that over 50% of all work
hours are unpaid and therefore are not recorded in GDP. If this invisible work
were considered we would see that nearly two thirds of wealth is created by
women. The traditional divisions of tasks by gender, such as women’s
“specialization” in domestic and caregiving work, do not take into account the
fact that this “specialization” is a social construction based on gendered
power relations that have an impact in the economy. Therefore, it is necessary
to redefine macroeconomics and recognize that the monetary economy is just the
tip of the iceberg that rests on an extensive care economy in which the main
work force is female, and that women account for at least half the total work
force.
ในวิถีทัศน์เศรษฐกิจปัจจุบัน การขยายตัวเทียบเท่า การพัฒนาเศรษฐกิจ และ
จีดีพี เป็นดัชนีที่ใช้มากที่สุดเพื่อวัด “ความมั่งคั่ง” ที่ปั่นออกมา. แต่ นักเศรษฐศาสตร์สตรีนิยม ได้แสดงให้เห็นว่า
กว่า 50%
ของชั่วโมงทำงานทั้งหมด เป็นงานไร้ค่าจ้าง ดังนั้น จึงไม่ถูกบันทึกใน จีดีพี. หากงานล่องหนนี้ได้รับการพิจารณาด้วย
เราจะเห็นว่า เกือบสองในสาม ของความมั่งคั่ง ถูกสร้างขึ้นโดยสตรี. การแบ่งแยกงานโดยเพศสภาพ, เช่น
“ความชำนาญเฉพาะทาง” ของสตรี ในงานบ้านและดูแลเอื้ออารี, ไม่ได้ถูกเหลียวแล เพราะ
“ความชำนาญเฉพาะทาง” นี้ เป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นเอง
บนฐานของความสัมพันธ์เชิงเพศสภาพ ที่มีผลกระทบในระบบเศรษฐกิจ. ดังนั้น จึงจำเป็นต้องนิยามใหม่เศรษฐศาสตร์มหภาค
และ ยอมรับว่า ระบบตลาดเงินตรา เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง
ที่ตั้งอยู่บนระบบเศรษฐกิจเอื้ออาทรอันกว้างขวาง ที่ซึ่งแรงงานหลักคือเพศหญิง,
และผู้หญิงก็เป็นอย่างน้อย ครึ่งหนึ่งของแรงงานทั้งหมด.
In response to the global economic crisis, as many countries have
emphasized the need to stimulate employment as central to economic recovery,
the resulting programmes are typically “blind” to gender differences, both in
paid and unpaid employment. The provision of support to poor households,
through Conditional Cash Transfer Programmes (income granted to poor households
conditional upon children going to school and having health care), while
important in helping poor families to weather the shock of job and income
losses nevertheless fail to consider the impact they may have on women’s work
time, even though their success depends on this very factor.
ในการตอบสนองต่อวิกฤตเศรษฐกิจโลก,
ดังที่หลายๆ ประเทศได้เน้นถึงความจำเป็นต้องกระตุ้นงานว่าจ้าง
ให้เป็นศูนย์กลางของการฟื้นเศรษฐกิจ, โปรแกมที่เกิดขึ้น มักจะ “ตาบอด” ต่อความแตกต่างอันเนื่องจากเพศสภาพ,
ทั้งในงานที่มีค่าจ้างและไม่มีค่าจ้าง (รายได้ที่ให้กับครอบครัวยากจน
มีเงื่อนไขว่าจ่ายให้ลูกหลานที่ไปโรงเรียนและมีการใช้บริการสุขภาพ), ในขณะที่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องช่วยเหลือครอบครัวยากจน
ให้โต้คลื่นการสูญเสียงานและรายได้ ถึงอย่างไร
การไม่พิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อชั่วโมงทำงานของสตรี,
แม้ว่าความสำเร็จของพวกเขาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยนี้.
From what has been learned from previous crises, it is clear
that the maintenance of public social expenditure is of vital importance, but
we also know that social indicators take twice as long as economic ones to
recover and many people are left by the wayside. This means that human capital
is lost, and that the equation “when the economy recovers, the social
indicators will recover” is not valid.
จากบทเรียนในวิกฤตครั้งก่อน,
เห็นชัดแล้วว่า การธำรงงบใช้จ่ายสาธารณะสำหรับสังคม เป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวด,
แต่เราก็รู้อีกว่า ดัชนีสังคมต้องใช้เวลานานกว่าเศรษฐกิจกว่าจะฟื้นคืน
และคนส่วนใหญ่ก็ถูกละทิ้งไว้ข้างทาง.
นี่หมายถึงการสูญเสียทุนมนุษย์, และสมการที่ว่า “เมื่อเศรษฐกิจฟื้น,
ดัชนีสังคมจะฟื้นตามเอง” ใช้ไม่ได้.
Women, in their strategies to cope with the crisis, typically
give priority to the family’s survival; they take on additional part time jobs,
usually in the informal economy, accept lower wages, and do more unpaid hours
It
is important to know which sectors of the economy women work in, and not to fall into generalizations as if they were all in one uniform category called “workers”. For example, government spending cuts will always tend to cause an increase in unpaid work.
is important to know which sectors of the economy women work in, and not to fall into generalizations as if they were all in one uniform category called “workers”. For example, government spending cuts will always tend to cause an increase in unpaid work.
สตรี, ในยุทธศาสตร์รับมือวิกฤต,
มักจะให้ความสำคัญแก่ความอยู่รอดของครอบครัว;
พวกเธอจะทำงานค่อนเวลาเพิ่มขึ้น, ปกติจะเป็นงานนอกระบบ, รับค่าจ้างที่ต่ำกว่า,
และใช้เวลาทำงานไร้ค่าจ้างมากกว่า.
มันสำคัญที่จะรู้ว่า สตรีทำงานในภาคส่วนใดของเศรษฐกิจ,
และไม่เหมารวมเหมือนกับว่าพวกเธอเป็นกลุ่มก้อน ในเครื่องแบบเดียวกันที่เรียกว่า
“คนงาน”. เช่น
การตัดงบของรัฐบาลมักจะเป็นสาเหตุให้เพิ่มงานไร้ค่าจ้างเสมอ.
Gender discrimination is not just a matter of poverty, it is
also a question of equity and citizenship, and the problems that emerge from
inequality cannot be solved by these Conditional Cash Transfer Programs alone.
To go further, we need systems of social protection that are universal and
holistic.
การเลือกปฏิบัติเชิงเพศสภาพ
ไม่ใช่แค่ในเรื่องความยากจน, มันตั้งคำถามถึงความเท่าเทียมและความเป็นพลเมืองด้วย,
และปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่เท่าเทียม
ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยโปรแกมการผันเงินอย่างมีเงื่อนไขตามลำพัง. ยิ่งกว่านั้น, เราต้องมีระบบคุ้มกันทางสังคม
ที่เป็นสากลและเป็นองค์รวม.
Sustainable, inclusive and equitable development requires a
change in economic theory and this must be reflected in practice. It is not a
question of aiming for growth and formulating some policies for women, but of
designing and implementing a new development paradigm with equal rights and
equal opportunities for everyone without any kind of discrimination whatsoever.
การพัฒนาที่ยั่งยืน,
โอบรวมทุกภาคส่วนและเสมอภาค ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์
และนี่จะต้องสะท้อนในทางปฏิบัติ.
คำถามไม่ได้เล็งที่การเติบโตและกำหนดบางนโยบายเพื่อสตรี,
แต่อยู่ที่การออกแบบและบังคับใช้วิถีทัศน์การพัฒนาใหม่ พร้อมด้วยสิทธิเท่าเทียม
และ โอกาสเท่าเทียม สำหรับทุกคน โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใดๆ ทั้งสิ้น.
Source: Social Watch Occasional Paper 06: Beijing and Beyond.
Putting gender economics at the forefront, (2010), < www.socialwatch.org/node/11571>).
ที่มา: เอกสาร 06 : ปักกิ่งและต่อจากนั้น. วางเศรษฐศาสตร์เพศสภาพไว้แถวหน้า, (2010),
< www.socialwatch.org/node/11571>).
See: <www.climatefundsupdate.org>;
<www.faststartfinance.org>; </www.climatefund.info>;
</www.globalclimatefund.org/>.
“Chart: Pledged v deposited v approved v
disbursed.” Climate Funds Update, (2011),
<www.climatefundsupdate.org/graphs-statistics/pledged-deposited-disbursed>.
Rooke, Anna et al. Doubling the Damage:
World Bank Climate Investment Funds Undermine Climate and Gender Justice.
Gender Action and Heinrich Böll Foundation North America, (2009).
A.Peralta, Gender and Climate Change
Finance: A Case Study from the Philippines, Women’s Environment and
Development Organization, (2008).
Power Surge: Lessons for the World Bank from
Indian Women’s Participation in Energy Projects, Bretton Woods Project, (2011).
https://mail.google.com/mail/h/1nljh315b128l/?&v=c&th=135efed360875701
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น