Q&A
"The Environmental Crisis Is in Fact a Crisis in
Democracy"
Stephen Leahy interviews writer and
environmentalist FRANCES MOORE LAPPÉ
“วิกฤตสิ่งแวดล้อม
ที่จริงเป็นวิกฤตประชาธิปไตย”
สตีเฟน
เลฮี สัมภาษณ์นักเขียนและนักสิ่งแวดล้อม ฟรานซิส มัวร์ เลปเป
UXBRIDGE, Canada, Feb 7, 2012 (IPS) –
To meet the challenges of the 21st century, including
climate change, feeding the world and eliminating poverty, we need to free
ourselves from the "thought traps" that prevent us from seeing the
world as it truly is and narrow our vision of how to respond.
เพื่อรับมือกับความท้าทายของศตวรรษที่
21,
รวมทั้งภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง, เลี้ยงดูโลกและขจัดความยากจน,
เราจำเป็นต้องปลดปล่อยตัวเราจาก “กับดักของความคิด” ที่ขวางกั้นเราไม่ให้เห็นโลกอย่างที่มันเป็นจริงๆ
และหดวิสัยทัศน์ของเราอยู่แค่จะตอบโต้อย่างไร.
At
same time, we need to eliminate “privately-held government”, says Frances Moore
Lappé, author of “EcoMind: Changing the Way We Think to Create the World We
Want” published by Nation Books. Lappé has written 18 books, including the very
influential “Diet for a Small Planet”.
ในขณะเดียวกัน,
เราจำเป็นต้องขจัด “รัฐบาลที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนตัวของบางคน”, ฟรานซิส มัวร์ เลปเป
กล่าว, เธอเป็นผู้เขียน “จิตนิเวศ: การเปลี่ยนวิธีคิดของเราเพื่อสร้างโลกที่เราต้องการ”
พิมพ์โดย เนชั่นบุ๊ค. เลปเป
ได้เขียนหนังสือ 18 เล่ม, รวมทั้งหนังสือที่มีอิทธิพล “โภชนากรเพื่อโลกใบน้อย”.
"There
is no way to deal with climate change or poverty without real democracy,"
she says.
“ไม่มีทางที่จะจัดการกับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
หรือ ความยากจนโดยปราศจากประชาธิปไตย”, เธอกล่าว.
IPS
climate and environment correspondent Stephen Leahy spoke with Lappé about her
new book.
Q: What do you mean by the term “thought traps”?
ถาม: คำว่า “กับดักความคิด”
หมายถึงอะไร?
A:
We don't see the world as it really is but through a filter or mental map.
Research in neuroscience shows that we interpret the world based on our
previous experiences and understanding of the world. In other words we see what
we expect to see.
ตอบ:
เราไม่เห็นโลกอย่างที่มันเป็นจริง แต่มองผ่านแว่นกรอง หรือ แผนที่ใจหัว. งานวิจัยด้านประสารทวิทยา ได้แสดงให้เห็นว่า
เราตีความโลก บนฐานของประสบการณ์เดิมของเรา และ ความเข้าใจเกี่ยวกับโลก. พูดสั้นๆ เราเห็นสิ่งที่เราคาดหวังจะเห็น.
One
of the dominant ideas in our society is about scarcity or lack. There isn't
enough resources or food or whatever for all of us. We then "see" or
interpret everything from that filter or frame of reference.
ความคิดที่ครอบงำหนึ่งในสังคมของเรา
คือ เกี่ยวกับความขาดแคลน. ไม่มีทรัพยากร
หรือ อาหาร หรือ อะไรก็แล้วแต่ มากพอสำหรับพวกเราทั้งหมด. เราจึง “เห็น” หรือ ตีความทุกอย่างจากแว่นกรอง
หรือกรอบอ้างอิงนั้น.
Q: How does this widely-held idea of "scarcity"
affect us?
ถาม: ความคิดเรื่อง “ความขาดแคลน” ที่แพร่หลายนี้ กระทบพวกเราอย่างไร?
A:
Believing there isn't enough makes us defensive and competitive with each
other. We think we'd better get ours before someone else does. The majority of
people I talk to insist with seven billion people on the planet scarcity is our
reality now and into the future. They are blinkered by this scarcity mentality.
ตอบ: ความเชื่อที่ว่า
ไม่มีมากพอ ทำให้พวกเราตั้งป้อมเพื่อตัวเอง และ แข่งขันกันเอง. เราคิดว่า
เราจะเราฉวยให้เป็นของเราก่อนที่คนอื่นจะฉวยไป.
คนส่วนใหญ่ที่ฉันพูดคุยด้วย ยืนกรานว่า ด้วยประชากร 7 พันล้านคนบนโลกใบนี้ ความขาดแคลนคือ ความจริงของเราเดี๋ยวนี้
และในอนาคต.
พวกเขาใจแคบลงด้วยสภาพจิตที่เกาะอยู่ที่ความขาดแคลน.
Q: But isn't it true that we are running out of resources
like water, energy, food and so on?
ถาม: แต่มันไม่เป็นความจริงหรือ ที่ทรัพยากร เช่น น้ำ, พลังงาน, อาหาร เป็นต้น
กำลังจะหมดสิ้นไป?
A:
I discovered as a young student that the U.S. food production was
extraordinarily wasteful and inefficient. Sixteen pounds of corn and soy fed to
cattle to get one pound of meat. That pound of meat also requires as much as
12,000 gallons of water. Nearly half of all food harvested is never consumed.
ตอบ: ตอนเป็นนักศึกษา ฉันค้นพบว่า กระบวนการผลิตอาหารในสหรัฐฯ
สิ้นเปลืองและไม่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง.
ข้าวโพดและถั่วเหลือง 16 ปอนด์ ถูกป้อนให้วัวกิน เพื่อผลิตเนื้อ 1 ปอนด์. เนื้อปอนด์นั้น
ต้องใช้น้ำมากถึง 12,000 แกลลอนด้วย.
เกือบครึ่งหนึ่งของอาหารที่เก็บเกี่ยว ไม่เคยถูกบริโภค.
This
staggering waste is the rule, not the exception, and not just in food
production. The U.S. energy sector wastes 55-87 percent of the energy generated
– most of it in the form of waste heat at power plants. It’s not just the U.S.
U.N. studies showed that 3,000 of the world’s biggest corporations caused two
trillion dollars in damage to the global environment in 2008 alone.
ความสิ้นเปลืองอย่างมโหฬารนี้ เป็นกฎ,
ไม่มีข้อยกเว้น, และไม่ใช่แค่ในกระบวนการผลิตอาหารเท่านั้น. ภาคพลังงานของสหรัฐฯ สูญเสียพลังงานถึง 55-87% ที่ผลิตได้โดยไร้ประโยชน์—ส่วนใหญ่ในรูปของความร้อนที่ไร้ประโยชน์ที่โรงงานไฟฟ้า. มันไม่ใช่เพียงแต่ในสหรัฐฯ,
งานศึกษาของยูเอ็นได้แสดงให้เห็นว่า บรรษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก 3,000 แห่ง ได้ก่อให้เกิดการทำลายล้างสิ่งแวดล้อมโลกมากถึง
3 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2008 ตามลำพัง.
Q: Why are we so destructive and wasteful?
ถาม: ทำไมเราถึงบ่อนทำลายและสุรุ่ยสุร่ายเช่นนี้?
A:
It's a result of the current market economy with its single focus on generating
the quickest and highest return to a small minority of wealth-holders. Our
economy creates scarcity by being extraordinarily wasteful and destructive. The
term "free market economy" is completely wrong. What we have is a
corporate-monopoly market economy of waste and destruction. We need to be more
careful and more precise in our language.
ตอบ: มันเป็นผลของระบบเศรษฐกิจตลาดในปัจจุบัน
ที่มุ่งเน้นแน่วแน่จุดเดียวที่ทำให้เกิดการคืนกำไรที่เร็วที่สุดและสูงที่สุดแก่ขนกลุ่มน้อยผู้ถือหุ้นความมั่งคั่งเพียงหยิบมือ.
เศรษฐกิจของเราสร้างความขาดแคลนด้วยการสุรุ่ยสุร่ายและบ่อนทำลายอย่างสุดโต่ง. คำว่า “เศรษฐกิจตลาดเสรี” ผิดหมด. สิ่งที่เรามีอยู่ คือ
การผูกขาดโดยเศรษฐกิจตลาดที่สุรุ่ยสุร่ายและบ่อนทำลาย. เราจำเป็นต้องระมัดระวังมากขึ้น และ
แม่นยำยิ่งขึ้นในการใช้ภาษาของเรา.
Q: There is a growing call by environmentalists and some
economists of the need to shift from a growth economy to a no-growth economy,
but you say this is a thought trap?
ถาม: มีเสียงเรียกร้องมากขึ้นโดยนักสิ่งแวดล้อมและนักเศรษฐศาสตร์บางคน ให้ขยับออกจากระบบเศรษฐกิจที่เน้นการขยายตัว
สู่ ระบบเศรษฐกิจที่ไม่มีการขยายตัว, แต่คุณบอกว่า มันเป็นกับดักความคิด?
A:
Yes, it leads to a distracting debate about merits of growth versus no-growth.
Growth sounds like a good thing so most people will resist the idea of no
growth. Better to focus on creating a system that enhances health, happiness,
ecological vitality and social power.
ตอบ: ใช่, มันทำให้การอภิปรายไขว้เขว
เกี่ยวกับอานิสงค์ของ การขยายตัว เทียบกับ การไม่ขยายตัว. การขยายตัวฟังเหมือนเป็นของดี ดังนั้น
คนส่วนใหญ่จะต่อต้านความคิดของ ไม่ขยายตัว.
จะดีกว่าที่เพ่งไปที่สร้างระบบที่ยกระดับสุขภาพ, ความสุข,
ความมีชีวิตชีวาของนิเวศ และ พลังอำนาจทางสังคม.
Q: In your book you also say everyone needs to focus on
"living democracy".
ถาม: ในหนังสือของคุณ คุณบอกว่า ทุกคนจำเป็นต้องเพ่งไปที่ “ประชาธิปไตยที่มีชีวิต”.
A:
America has become what's called a "plutonomy", where the top one
percent control more wealth than the bottom 90 percent. Inequality is now
greater in the U.S. than in Pakistan or Egypt, according to the World Bank. The
result is corporations and the very wealthy sway public decision making via
political contributions and lobbying. There are now two dozen lobbyists for
every member of Congress.
ตอบ: อเมริกาได้กลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า “เศรษฐกิจคนมีเงิน”,
ที่ซึ่งคนชั้นสูงสุด 1% ควบคุมความมั่งคั่งมากกว่าคนชั้นล่าง 90%. ความไม่เท่าเทียมในสหรัฐฯ เดี๋ยวนี้ มากกว่าในปากีสถาน
หรือ อียิปต์, ตามรายงานของธนาคารโลก. ผลคือ
บรรษัทและพวกคนรวยมากๆ ทำให้การตัดสินใจสาธารณะกวัดแกว่งลังเลด้วยการบริจาคและล๊อบบี้ทางการเมือง. ตอนนี้มีนักล๊อบบี้สองโหลต่อสมาชิกสภาคองเกรสแต่ละคน.
To
counter this privately-held government we need to re-create a culture of mutual
responsibility, transparency, citizen participation and public financing of
elections. Democracy is not just voting once a year, it is a culture, a way of
living.
เพื่อถ่วงดุลกับรัฐบาลที่ถือครองโดยภาคเอกชน/ธุรกิจ
เราจำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมใหม่ของความรับผิดชอบร่วม, ความโปร่งใส, การมีส่วนร่วมของพลเมือง
และ การใช้เงินสาธารณะสนับสนุนการเลือกตั้ง.
ประชาธิปไตยไม่ใช่เป็นเพียงการออกเสียงเลือกตั้งปีละครั้ง,
มันเป็นวัฒนธรรม, วิถีชีวิต.
The
"mother of all issues" in most countries is removing the power of
concentrated wealth from public-decision making and infusing citizens' voices
instead. The environmental crisis is in fact a crisis in democracy.
“มารดาของประเด็นทั้งหมด”
ในประเทศส่วนใหญ่ คือ กำจัดอำนาจของความมั่งคั่งที่กระจุกตัวจากการตัดสินใจสาธารณะ
และ ใส่เสียงของพลเมืองเข้าไปแทน.
วิกฤตสิ่งแวดล้อม ที่แท้เป็นวิกฤตในประชาธิปไตย.
Q: There is a feeling amongst many environmentally-aware
people that it is already too late and there is too much to be overcome.
ถาม: มีความรูสึกในบรรดาผู้ที่ตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมหลายคนที่ว่า
มันสายเกินไปเสียแล้ว และก็มีปัญหามากมายที่ต้องเอาชนะให้ได้.
A:
Thinking it's too late is another thought trap. It may be too late to avoid
significant impacts that could have been avoided if action had been taken two
decades ago. It is not too late for life. My book is filled with examples of
people taking charge and turning things around.
ตอบ: ความคิดที่ว่า มันสายเกินไป ก็เป็นกับดักความคิดอีกอย่าง. มันอาจจะสายเกินไปที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่มีนัยสำคัญ
หากมีการลงมือแก้ไขเมื่อสองทศวรรษก่อนหน้า.
มันไม่สายเกินไปสำหรับชีวิต.
หนังสือของฉันเต็มไปด้วยตัวอย่างของผู้คนที่คุมสถานการณ์และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง.
What
makes people think it's too late is that they feel alone and powerless. People
feel that way because of the thought traps, the false beliefs about scarcity
and of human nature as greedy and selfish. Those beliefs and a privately-held
government have led to feelings of powerlessness.
สิ่งที่ทำให้ผู้คนคิดว่าสายเกินไป
คือ พวกเขารู้สึกโดดเดี่ยวและไร้พลัง. คนรู้สึกอย่างนี้
เพราะกับดักความคิด, มายาคติเกี่ยวกับความขาดแคลน และ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์
ที่ว่า โลภและเห็นแก่ตัว.
ความเชื่อเหล่านั้น และ รัฐบาลที่ถูกภาคธุรกิจยึดครอง ได้นำไปสู่ความรู้สึกไร้อำนาจ.
Q: This year is the 20th anniversary of the historic Earth
Summit and major conference called Rio+20 will be held in June. What are your
thoughts?
ถาม: ปีนี้ เป็นปีที่ 20 ของการประชุมโลกสุดยอดประวัติศาสตร์ และ
การประชุมเชิงวิชาการหลัก เรียกว่า ริโอ+20
จะถูกจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน.
คุณคิดอย่างไร?
A:
I participated in the Rio+10 conference and we've gone backwards in those 10
years. Rio+20 could be the opportunity to reverse course and align ourselves
with nature to create the world we really want.
ตอบ: ฉันได้เข้าร่วมในการประชุมริโอ+10 และเราได้เดินถอยหลังในช่วง 10 ปีนั้น. ริโอ+20
อาจเป็นโอกาสที่จะผันคืนเส้นทาง และ จัดเรียงตัวเองให้เข้ากับธรรมชาติ
เพื่อสร้างโลกที่เราต้องการจริงๆ.
ดรุณี ตันติวิรมานนท์
แปล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น