วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

162. ความเห็นปีสตรีสากล ปีก่อน...ปีนี้ ไทยไปถึงไหนภายใต้นายกหญิง?


Following the Money Trail in Gender Financing
By Rousbeh Legatis
ตามรอยเม็ดเงินในการให้ทุนเชิงเพศสภาพ

UNITED NATIONS, March 7, 2012 (IPS) - Promising methods of tracking aid funding intended to improve women's and girls' livelihoods also offer the possibility of revealing whether donors and policymakers are walking the walk when it comes to gender financing.
สหประชาชาติ  7 มีนาคม 2012 – วิธีที่เป็นความหวังในการตามรอยเงินช่วยเหลือที่หมายยกระดับวิถีชีวิตของสตรีและเด็กหญิง ช่วยเปิดเผยว่า ผู้ให้ทุนและนักวางนโยบาย ได้ดำเนินการตามขั้นตอนหรือไม่เมื่อถึงการให้เงินทุนเชิงเพศสภาพ
"More consistency between what donors are saying [and] what they are actually doing is needed," Lydia Alpizar, executive director of the Association for Women's Rights in Development (AWID), told IPS.
“จำเป็นต้องมีความสอดคล้องระหว่างสิ่งที่ผู้ให้ทุนพูด และสิ่งที่พวกเขากำลังทำจริง” ลิเดีย อัลปิซาร์ กล่าว (ผู้อำนวยการ สมาคมเพื่อสิทธิสตรีในการพัฒนา-AWID)
Tracing the myriad paths of financial support for gender equality and women's empowerment is no easy task, but nevertheless a necessary one to test whether political commitment is translating into results.
การตามรอยเส้นทางที่มากมายมหาศาลของการให้ทุนสนับสนุนเพื่อความเสมอภาคเชิงเพศสภาพและการเสริมอำนาจต่อรองของสตรี ไม่ใช่เรื่องง่าย ถึงกระนั้น ก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อทดสอบว่า พันธะสัญญาทางการเมืองได้ถูกแปลเป็นผลลัพธ์หรือไม่
"One very concrete way to measure" the effectiveness of support is to check "the actual resources that are being given", Alpizar explained.
“วิธีที่เป็นรูปธรรมหนึ่งสำหรับวัดความมีประสิทธิภาพของการให้ความสนับสนุน คือ การตรวจสอบทรัพยากรที่หยิบยื่นให้จริง” อัลปิซาร์อธิบาย
"Having this data available helps us to push donors to do better, because what they do is not close to what is needed, not close to the minimum," she added.
“ข้อมูลที่ได้นี้ จะช่วยให้เรากดดันผู้ให้ทุนให้ทำดีกว่านี้ เพราะสิ่งที่พวกเขาทำ ไม่เข้าใกล้สิ่งที่คนรับต้องการ ไม่ใกล้ขั้นต่ำที่สุด” เธอพูดต่อ
Even if a programme is targeted towards women or gender equality, it may not necessarily be significant, said Patti O'Neill, senior policy analyst of the Organisation for Economic Cooperation and Development (OECD) in an interview with IPS.
หากโปรแกมหนึ่งมุ่งเป้าไปที่สตรีหรือความเสมอภาคเชิงเพศสภาพ มันอาจไม่จำเป็นต้องมีนัยสำคัญ แพ็ตตี้ โอนีล กล่าว (นักวิเคราะห์อาวุโสของ OECD)
Pouring money into civil society projects is not enough if such initiatives scarcely improve women's livelihoods on a daily basis and in the long term.
การทุ่มเทเม็ดเงินลงในโครงการภาคประชาสังคมยังไม่เพียงพอ หากความริเริ่มดังกล่าวปรับปรุงวิถีชีวิตของสตรีได้น้อยมากในเรื่องชีวิตประจำวันและในระยะยาว
So in the last five years, the OECD's Development Assistant Committee has started tracking the extent to which donors' funding is focused on gender equality, if at all. The Development Assistance Committee is comprised of 24 major donor countries, all of which are required to report sex- disaggregated data on a regular basis.
ดังนั้น ใน 5 ปีที่ผ่านมา คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาของ OECD ได้เริ่มติดตามขอบเขตที่ผู้ให้เงินทุนมุ่งเจาะจงเพื่อความเสมอภาคเชิงเพศสภาพ—หากว่ามี  คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนานี้ประกอบด้วยประเทศผู้ให้ทุนหลักๆ 24 ประเทศ ทั้งหมดต้องรายงานข้อมูลแยกเพศเป็นปกติ

The limits of tracking finances
ข้อจำกัดของการตามรอยเม็ดเงิน

However, this tracking doesn't measure the aid's impact or quality, and gender-sensitive budgeting methods have other limitations as well.
แต่ การตามรอยไม่ใช่การวัดผลกระทบหรือคุณภาพของความช่วยเหลือ และวิธีจัดสรรงบดุลที่มีความอ่อนไหวเชิงเพศสภาพ ก็มีข้อจำกัดเช่นกัน
Introducing a gender perspective in planning and budgeting processes will not lead automatically to more accountability amongst interest groups such as politicians, lobbyists, or private sector actors, experts said during a conference of donor organisations, U.N. delegates and civil society organisations during the 56th Commission on the Status of Women at the U.N.
การนำมุมมองเพศสภาพมาใช้ในกระบวนการวางแผนและจัดสรรงบ จะไม่นำไปสู่ความน่าเชื่อถือมากขึ้นอย่างอัตโนมัติในระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ เช่น นักการเมือง นักล็อบบี้ หรือตัวแทนภาคธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญกบ่าวมนระหว่างการประชุมขององค์กรให้ทุน  ผู้แทนจากสหประชาชาติ และองค์กรภาคประชาสังคม ในระหว่าง การประชุมกรรมาธิการเรื่องสถานภาพสตรีที่ 56 ที่สหประชาชาติ
Nor will the tracking resolve structural problems like gender stereotyping in labour markets, societal discrimination against women and girls, to name a few. Still, it can help highlight areas for improvement.
การตามรอยนี้จะไม่แก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น การเหมารวมเชิงเพศสภาพในตลาดแรงงาน, การเลือกปฏิบัติต่อสตรีและเด็กหญิง, เป็นเพียงไม่กี่ตัวอย่าง.  แต่มันก็ยังช่วยให้เห็นพื้นที่ๆ จะปรับปรุงได้ให้เห็นชัดเจนขึ้น.
“Beyond budget tracking, there is, most importantly, the need to ensure that concrete results are delivered for women and girls and that their lives change for the better,” emphasized Saraswathi Menon, director of U.N. Women’s Policy Division, at the conference.
“เหนือโพ้นการตามรอยงบ, ที่สำคัญที่สุด, จำเป็นต้องทำให้มั่นใจว่าจะได้ผลเป็นรูปธรรมสำหรับสตรีและเด็กหญิง และชีวิตของพวกเธอจะดีขึ้น”, สรัสวาธิ เมนอน กล่าวเน้นในที่ประชุม, เธอเป็น ผอ ของฝ่ายนโยบายของ U.N. Women.
Gender-responsive budgeting has generally made positive progress since 2008, Menon said. Some examples are Morocco and Rwanda.
การจัดสรรงบที่ตอบสนองต่อประเด็นเจนเดอร์ ได้ยังผลให้ก้าวหน้าทางบวกตั้งแต่ปี 2008, เมนอนกล่าว. ยกตัวอย่าง โมรอคโค และ รวันดา.
"I think there has been progress," she told IPS. "We feel there is a movement which is supported by U.N. Women and others, but it is coming from the countries themselves," pushed by women's organisations and "enlightened people in ministries of finance" and other areas of government.
“ดิฉันคิดว่า มีความก้าวหน้า”, เธอกล่าว.  “เรารู้สึกว่า มีการเคลื่อนไหวที่สนับสนุนโดย U.N. Women และองค์กรอื่นๆ, แต่มันมาจากตัวประเทศเอง”, ที่ผลักดันโดยองค์กรสตรีและ “ผู้บรรลุแล้ว ในกระทรวงการคลัง” และ ส่วนอื่นของรัฐบาล.
The ongoing economic crisis, of course, poses a threat to this progress, especially because during times of financial hardship, gender financing is the first to go when policymakers look to trim budgets.
วิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังคุอยู่, แน่นอน, เป็นภัยคุกคามความก้าวหน้านี้, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะในช่วงการเงินติดขัด, การสนับสนุนทางการเงินมิติเจนเดอร์ เป็นรายแรกที่หลุดไปเมื่อผู้วางนโยบายมองหาที่ตัดงบออก.

If you don't ask, they will not tell
หากคุณไม่ถาม พวกเขาจะไม่บอก

One of the most persistent problems is the lack of publicly available gender-disaggregated data and critical assessments of how strongly funding supports women's empowerment. The only multilateral organisation that provides the OECD with data on the gender equality dimensions of its aid programmes is the World Bank.
ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นซ้ำๆ คือ การขาดข้อมูลแยกเพศและการประเมินว่าเงินที่ให้สนับนุนการเสริมอำนาจต่อรองของสตรีมากแค่ไหน   องค์กรพหุภาคีเดียวที่ให้ข้อมูลแก่ OECD ในด้านความเสมอภาคเชิงเพศสภาพในโปรแกมให้ความช่วยเหลือ คือ ธนาคารโลก
Hailing the efforts of U.N. bodies to synchronise instruments for measuring for gender equality, O'Neill urged the world organisation itself to publish its information as well. "Once they do that then I think we will have a much better picture of what is really going on and what needs to change."
ด้วยการยกตัวอย่างความพยายามของกลไกยูเอ็นในการจัดเครื่องมือสำหรับวัดความเท่าเทียมเชิงเจนเดอร์ให้สอดคล้องกัน, โอนีลล์ เรียกร้องให้องค์กรโลกพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลของตน.  “เมื่อไรพวกเขาทำเช่นนั้น ดิฉันคิดว่า เราจะเห็นภาพชัดขึ้นว่า อะไรกำลังเกิดขึ้นจริงๆ และ อะไรจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง”.
Asked why such information is not made openly available, Alpizar cited two reasons. The first was "a limited culture of accountability amongst donors and multilaterals on how their resources are used". The second was simply that "in other cases, we have not asked for the data".
เมื่อถูกถามว่า ทำไมข้อมูลเหล่านี้จึงไม่ได้ถูกเปิดเผย, อัลปีซาร์ อ้างถึงสองสาเหตุ.  ประการแรก คือ “วัฒนธรรมความเชื่อถือได้อันจำกัดในระหว่างผู้ให้ทุนและพหุภาคีในเรื่องที่ว่า พวกเขาใช้ทรัพยากรอย่างไร”.  ประการที่สองง่ายๆ คือ “ในกรณีอื่นๆ, เราไม่ได้ถามหาถึงข้อมูลเหล่านั้น”.
O’Neill also noted that sometimes politicians are too scared to question how and where money is spent. But she labeled that very problem as a starting point. “Start asking the questions and do not be frightened to ask questions about money. They should be asking donors, ‘Where exactly are you spending this money in our country?
โอนีลล์ ได้บอกด้วยว่า บางที นักการเมืองหงอเกินไปที่จะตั้งคำถามว่า เงินถูกใช้จ่ายไปเท่าไร และใช้ที่ไหน.  แต่เธอได้ติดป้ายว่า  ปัญหานั้นเป็นจุดเริ่มต้น.  “เริ่มตั้งคำถามและไม่ต้องกลัวที่จะถามเกี่ยวกับเงิน.  พวกเขาควรถามผู้ให้ทุน, “คุณใช้เงินก้อนนี้ในประเทศของเราที่ไหนบ้าง?”
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น