'Perpetual Growth Myth' Leading World to Meltdown: Experts
UN-Sponsored Papers Predict Sustained Ecological and Social
Meltdown
- Common Dreams
staff
|
‘นิทานโกหกเรื่องการโตตลอดกาล’ กำลังนำโลกไปสู่การเสื่อมสลาย: ผู้เชี่ยวชาญ
เอกสารที่สหประชาชาติให้ทุนสนับสนุน
ทำนายการเสื่อมสลายที่ยั่งยืนของนิเวศและสังคม
-
คอมมอนดรีม
|
"The current
system is broken," says Bob Watson, the UK’s chief scientific advisor on
environmental issues and a winner of the prestigious Blue Planet prize in
2010. "It is driving humanity to a future that is 3-5°C warmer than our
species has ever known, and is eliminating the ecology that we depend on for
our health, wealth and senses of self."
"We cannot
assume that technological fixes will come fast enough. Instead we need human
solutions. The good news is that they exist but decision makers must be bold
and forward thinking to seize them."
Watson's comments
accompanied a new paper released today by 20 past winners of the Blue
Planet Prize - often called the Nobel Prize for the environment, and
comes ahead of the 20th anniversary of the Rio+20
conference – which takes place in June this year – where world
leaders will (it is hoped) seize the opportunity to set human development on
a new, more sustainable path.
Civilization
Faces 'Perfect Storm of Ecological and Social Problems'
The Guardian's John Vidal reports:
In the face of an
"absolutely unprecedented emergency", say the [...] past winners of
the Blue Planet prize – the unofficial Nobel for the environment – society
has "no choice but to take dramatic action to avert a collapse of civilization.
Either we will change our ways and build an entirely new kind of global
society, or they will be changed for us".
The stark
assessment of the current global outlook by the group, who include
[Watson]... US climate scientist James Hansen, Prof José Goldemberg, Brazil's
secretary of environment during the Rio Earth summit in 1992, and Stanford
University Prof Paul Ehrlich. [...]
"The
perpetual growth myth ... promotes the impossible idea that indiscriminate
economic growth is the cure for all the world's problems, while it is
actually the disease that is at the root cause of our unsustainable global
practices"
Apart from dire
warnings about biodiversity loss and climate change, the group challenges
governments to think differently about economic "progress".
"The rapidly
deteriorating biophysical situation is more than bad enough, but it is barely
recognized by a global society infected by the irrational belief that
physical economies can grow forever and disregarding the facts that the rich
in developed and developing countries get richer and the poor are left
behind.
"The
perpetual growth myth ... promotes the impossible idea that indiscriminate
economic growth is the cure for all the world's problems, while it is
actually the disease that is at the root cause of our unsustainable global
practices", they say.
The group warns
against over-reliance on markets but instead urges politicians to listen and
learn from how poor communities all over the world see the problems of
energy, water, food and livelihoods as interdependent and integrated as part
of a living ecosystem.
The paper urges
governments to:
·
Replace GDP as a
measure of wealth with metrics for natural, built, human and social capital -
and how they intersect.
·
Eliminate
subsidies in sectors such as energy, transport and agriculture that create
environmental and social costs, which currently go unpaid.
·
Tackle
over-consumption, and address population pressure by empowering women,
improving education and making contraception accessible to all.
·
Transform
decision making processes to empower marginalized groups, and integrate
economic, social and environmental policies instead of having them compete.
·
Conserve and
value biodiversity and ecosystem services, and create markets for them that
can form the basis of green economies.
·
Invest in
knowledge - both in creating and in sharing it - through research and
training that will enable governments, business, and society at large to
understand and move towards a sustainable future.
·
“Sustainable
development is not a pipe dream,” says Dr Camilla Toulmin, director of the
International Institute for Environment and Development. “It is the
destination the world’s accumulated knowledge points us towards, the fair
future that will enable us to live with security, peace and opportunities for
all. To get there we must transform the ways we manage, share and interact
with the environment, and acknowledge that humanity is part of nature not
apart from it.”
Achim Steiner, UN
Under-Secretary General and UNEP Executive Director, said: “The paper by the
Blue Planet laureates will challenge governments and society as a whole to
act to limit human-induced climate change, the loss of biodiversity and the
degradation of ecosystem services in order to ensure food, water energy and
human security. I would like to thank Professor Watson and colleagues for
eloquently articulating their vision on how key development challenges can be
addressed, emphasizing solutions; the policies, technologies and behavior
changes required to grow green economies, generate jobs and lift people out
of poverty without pushing the world through planetary boundaries.”
***
A second UNEP report was also released today in Kenya. Though separate from the
assessment of the Planet Blue laureates, it echoes many of their themes and
concerns.
Capital FM News in Kenya reports:
A new report by the United Nations Environment Programme
(UNEP) has warned of a continued deterioration in the state of the global
environment due to failure by governments to implement internationally agreed
goals.
The summary
report released at the sidelines of a UNEP Governing Council meeting in
Nairobi stated that out of the 90 internationally agreed goals, only 40 were
in progress, 32 had insufficient progress while 13 were not in development at
all.
“We have failed
to meet agreed goals,” Peter Gilruth Director Division of Early Warning
Assessment (DEWA) UNEP said.
“The
internationally agreed goal of avoiding the adverse effects of climate change
is presenting the global community with one of its most serious challenges
that is threatening overall development goals,” he noted.
He added that the
rate at which forest loss, particularly in the tropics was taking place
remained alarmingly high.
“Today, 80
percent of the world’s population live in areas with high levels of threat to
water security, affecting 3.4 billion people mostly in developing countries,”
he stated.
The Fifth Global Environment Outlook (GEO 5) assessed
progress and gaps in the implementation of internationally agreed goals on
environment and the full report would be released in June ahead of the Rio+20
Summit on sustainable development.
The report
recommended that policy makers focus on the underlying drivers of
environmental change such as the negative aspects of population growth, consumption
and production, urbanisation rather than just concentrating on reducing
environmental pressures or symptoms.
“The solutions put
on the table are not intended to be prescriptive in nature but rather a menu
of options that you (governments) might want to look at for your own use. It
is just a potential source of information to assist in decision making,”
Gilruth said.
|
“ระบบปัจจุบันแตกหักแล้ว”
บ๊อบ วัตสันกล่าว
(หัวหน้าที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ในประเด็นสิ่งแวดล้อมของสหราชอาณาจักร
และผู้ได้รับรางวัล บลูแพลนเน็ต/โลกสีน้ำเงิน ในปี 2010)
“มันกำลังนำพามนุษยชาติเข้าสู่อนาคตที่อุ่นขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส สูงกว่าที่สายพันธุ์ของพวกเราคุ้นเคย
และมันก็กำลังกัดกร่อนระบบนิเวศอันเป็นที่พึ่งของสุขภาพ ความมั่งคั่ง
และความรู้สึกตัวตนของพวกเรา”
“พวกเราไม่สามารถจะฝันว่าการซ่อมแซมด้วยเทคโนโลยีจะทำได้เร็วพอ แทนที่จะเป็นเช่นนั้น
เราจำเป็นต้องหาทางออกตามประสาคน
ข่าวดีคือ พวกมันมีอยู่แล้ว แต่ผู้ตัดสินใจจะต้องเด็ดเดี่ยวและคิดไปข้างหน้า
เพื่อดักจับพวกมันไว้”
ความเห็นของวัตสันมาพร้อมกับเอกสารใหม่ที่เพิ่งเปิดตัววันนี้
โดยผู้ได้รับรางวัลบลูแพลนเน็ตในอดีต 20 คน บลูแพลนเน็ต
มักถูกเรียกว่า เป็นรางวัลโนเบลสำหรับสิ่งแวดล้อม และมาก่อนวาระครบรอบ 20 ปี หรือการประชุม ริโอ+20—ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนมิถุนาคมปีนี้—เวทีที่ผู้นำระดับโลกต่างๆ
จะ (หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น) ฉวยโอกาสนี้ เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนามนุษย์ใหม่
สู่หนทางที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น
อารยธรรมมนุษยชาติกำลังเผชิญ
“พายุสุดยอดของปัญหานิเวศและสังคม”
จอห์น ไวเดิล แห่ง เดอะ
การ์เดียน รายงาน
ในการเผชิญหน้ากับ “ภาวะฉุกเฉินที่ไม่เคยมีมาก่อนเลย”
นี้ สังคม “ไม่มีทางเลือกนอกจากกระทำการที่เฉียบขาด
เพื่อเบี่ยงเบนไม่ให้อารยธรรมของมนุษยชาติต้องพังพินาศไป พวกเราจะต้องเปลี่ยนหนทางของเรา และสร้างสังคมโลกชนิดใหม่ยกเครื่อง
หรือไม่พวกมันก็จะถูกเปลี่ยนให้พวกเราเอง”
การประมาณการที่ตายตัวถึงแนวโน้มของอนาคตโลกโดยกลุ่มนี้
ผู้รวม [วัตสัน]…นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศของสหรัฐฯ เจมส์ แฮนสัน ศ.โฮเซ โกลเดมเบอร์ก เลขาธิการของเรื่องสิ่งแวดล้อมในระหว่าง
การประชุมริโอ เอิร์ดซัมมิท (ประชุมสุดยอดเกี่ยวกับภาวะโลกที่ริโอ) ที่บราซิล
ในปี 1992 และ ศ.พอล เออร์ลิค แห่งมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด
“นิทานโกหกเรื่องการเติบโตที่ไม่สิ้นสุด...
ส่งเสริมความคิดที่เป็นไปไม่ได้ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างไม่แยกแยะ
เลือกสรร เป็นการเยียวยาบรรดาปัญหาต่างๆ ของโลกได้ ในขณะที่ แท้จริงแล้ว
มันเป็นเชื้อโรคที่เป็นรากเหง้าของปัญหาของปฏิบัติการที่ไม่ยั่งยืนของโลก”
นอกเหนือจากคำเตือนที่ร้ายแรงเกี่ยวกับการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
และความผันผวนของภูมิอากาศแล้ว กลุ่มนี้ ได้ท้าทายรัฐบาลต่างๆ
ให้เริ่มคิดต่างเกี่ยวกับ “ความก้าวหน้า” ทางเศรษฐกิจ
ความเสื่อมโทรมของสถานการณ์ทางชีวฟิสิกส์
(กายภาพและชีวภาพ) ก็แย่มากเกินพออยู่แล้ว
แต่สังคมโลกกลับไม่มีความตระหนักสักนิด
เพราะได้ติดเชื้อจากความเชื่อที่ไร้เหตุผลว่า เศรษฐกิจด้านกายภาพ
สามารถเติบโตได้ตลอดกาล และเมินเฉยต่อความจริงที่ว่า คนรวยในประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา
ต่างพากันร่ำรวยยิ่งๆ ขึ้น และคนจนได้ถูกทอดทิ้งให้อยู่รั้งท้าย
“นิทานโกหกเรื่องการเติบโตตลอดไป...
ส่งเสริมความคิดที่เป็นไปไม่ได้ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างไม่แยกแยะ
เลือกสรร เป็นการเยียวยาบรรดาปัญหาต่างๆ ของโลกได้ ในขณะที่ แท้จริงแล้ว
มันเป็นเชื้อโรคที่เป็นรากเหง้าของปัญหาของปฏิบัติการที่ไม่ยั่งยืนของโลก” พวกเขากล่าว
กลุ่มได้เตือนอันตรายจากการอิงระบบตลาดมากจนเกินไป
ในทางกลับกัน ได้เชิญชวนให้นักการเมืองฟังและเรียนรู้จากชุมชนคนยากจนทั่วโลก
ว่าพวกเขามองปัญหาเรื่องพลังงาน น้ำ อาหาร และวิถีชีวิตว่าเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน
และผนวกรวมกันอยู่เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศที่มีชีวิต
เอกสารชิ้นนี้
ได้เชิญชวนรัฐบาล ดังนี้
-แทนการใช้ จีดีพี ด้วยมาตรที่วัดทุนทางมนุษย์และทุนทางสังคมที่เกิดตามธรรมชาติ
และที่สร้างขึ้นมา และดูว่าพวกมันมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร
-ขจัดการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ภาคส่วน เช่น พลังงาน
การคมนาคมขนส่ง และการเกษตร ที่สร้างภาระแก่สิ่งแวดล้อมและสังคม
ซึ่งปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่ได้มีการชดใช้
-แก้ไขปัญหาการบริโภคเกินพอ และปัญหาประชากรแน่นขนัด
ด้วยการเสริมพลังอำนาจต่อรองแก่ผู้หญิง
ปรับปรุงการศึกษา และให้ทุกคนเข้าถึงวิธีการคุมกำเนิด
-แปรเปลี่ยนกระบวนการตัดสินใจ ให้เสริมพลังอำนาจต่อรองแก่กลุ่มคนชายขอบ
และผนวกรวม/บูรณาการนโยบายเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
แทนการปล่อยให้พวกมันแข่งขันกันเอง
-อนุรักษ์
และให้คุณค่าแก่การบริการด้านความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ
และสร้างระบบตลาดที่ทำให้พวกมันประกอบกันเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจสีเขียวได้
-ลงทุนในองค์ความรู้—ทั้งในการสร้างและในการแบ่งปัน—โดยวิธีการวิจัยและอบรมที่จะสามารถทำให้รัฐบาล
ธุรกิจ และสังคมส่วนใหญ่เข้าใจและเคลื่อนสู่อนาคตที่ยั่งยืน
“การพัฒนาที่ยั่งยืนไม่ใช่เป็นความฝัน” ดร. คามิลลา
ทูลมิน กล่าว (ผู้อำนวยการสถาบันนานาชาติสำหรับการพัฒนาและสิ่งแวดล้อม)
“มันเป็นจุดหมายที่องค์ความรู้ของโลกที่สั่งสมมาได้ชี้ทางให้พวกเรา คือ
อนาคตที่เป็นธรรม ที่จะทำให้พวกเราดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความมั่นคง สันติ
และเข้าถึงโอกาสสำหรับทุกๆ คน
เพื่อบรรลุถึงจุดหมาย เราต้องแปรเปลี่ยนหนทางที่พวกเราจัดการ แบ่งปัน
และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และยอมรับว่า มนุษยชาติเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ไม่ใช่แยกจากมัน”
อาชิม สไตเนอร์ รองเลขาธิการสหประชาชาติ
และผู้อำนวยการบริหารของ UNEP กล่าว “เอกสารที่บรรดาผู้ได้รับรางวัลบลูแพลนเน็ตนำเสนอ
จะท้าทายรัฐบาลและสังคมโดยรวม
ให้ปฏิบัติการที่จำกัดขอบเขตของการผันผวนทางภูมิอากาศที่มนุษย์ได้ทำให้เกิดขึ้น
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และความผุกร่อนของการบริการต่างๆ ของระบบนิเวศ
เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงของอาหาร น้ำ พลังงาน และมนุษย์ ข้าพเจ้าขอขอบคุณ ศ.วัตสันและคณะ
ที่แสดงออกถึงวิสัยทัศน์ของพวกเขาอย่างมีวาทศิลป์ว่า ประเด็นปัญหาการพัฒนาสำคัญๆ
จะสามารถแก้ไขได้อย่างไร ด้วยการเน้นที่ทางออก คือจะต้องมี นโยบาย เทคโนโลยี
และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อเพาะปลูกเศรษฐกิจสีเขียว สร้างงาน
และยกระดับประชาชนให้ออกจากความยากจน โดยปราศจากการผลักดันโลกให้จนมุมในผืนพิภพ”
…
รายงาน UNEP ฉบับที่สอง ก็เปิดตัววันนี้เช่นกันในเคนยา แม้ว่าจะต่างจากการประเมินของผู้ได้รับรางวัลบลูแพลนเน็ต มันก็ได้สะท้อนตอกย้ำหลายหัวข้อ
ข่าวแคปิตอลเอฟเอม ในเคนยา รายงาน:
รายงานฉบับใหม่ของโครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP) ได้เตือนภัยจากภาวะความเสื่อมโทรมที่ต่อเนื่องของระบบสิ่งแวดล้อมโลก
อันเนื่องจากความล้มเหลวของรัฐบาลในการดำเนินการตามเป้าหมายที่ได้ตกลงร่วมกันในระดับสากล
การเปิดตัวด้วยบทสรุปของรายงานในรอบนอกของการประชุมสภาปกครองของ
UNEP ในไนโรบี ระบุว่า จากเป้าหมายที่ได้ร่วมกันตกลงกันแล้วระหว่างประเทศ
90 ข้อ มีความก้าวหน้าเพียง 40 ข้อ
อีก 32 ข้อยังไม่มีความก้าวหน้าเพียงพอ ในขณะที่อีก 13 ข้อ ไม่มีพัฒนาการอย่างไรทั้งสิ้น
“พวกเราล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว”
ปีเตอร์ กิลรูธ กล่าว (ผู้อำนวยการฝ่ายของ การประเมินเพื่อเตือนภัยแต่เนิ่น / DEWA แห่ง UNEP)
“เป้าหมายที่ได้ตกลงกันแล้วระหว่างประเทศ
ว่าจะร่วมกันหลีกเลี่ยงผลกระทบร้ายแรงของภูมิอากาศผันผวน
กำลังนำเสนอต่อประชาคมโลกด้วยปัญหาหนึ่งในบรรดาความท้าทายสาหัสที่สุด ที่กำลังคุกคามเป้าหมายของการพัฒนาทั้งมวล”
เขาเสริมว่า อัตราการสูญเสียป่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบศูนย์สูตร กำลังลุกลามรวดเร็วอย่างน่าตกใจ
“ทุกวันนี้ 80% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่ๆ
มีความเสี่ยงเรื่องความไม่มั่นคงของน้ำ ที่จะส่งผลต่อ 3.4 พันล้านคน
ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา”
โฉมหน้าสิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 5 (GEO 5) ได้ประเมินความก้าวหน้าและช่องว่างในการดำเนินเป้าหมายตกลงร่วมระหว่างประเทศเรื่องสิ่งแวดล้อม
และรายงานฉบับเต็มจะเผยแพร่ในเดือนมิถุนายน ก่อนการประชุมสุดยอด ริโอ+20 เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในรายงานได้เสนอแนะให้ผู้วางนโยบาย
มุ่งเน้นที่ตัวการพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อม เช่น
ด้านลบของการขยายตัวของประชากร
การบริโภคและการผลิต
การขยายเขตเมือง แทนที่จะแค่พุ่งเป้าไปที่การลดแรงกดดันต่อสิ่งแวดล้อม
หรืออาการ
“ทางออกที่ได้วางบนโต๊ะนี้
ไม่ได้มีเจตนาให้เป็นใบสั่งยา แต่เป็นเมนูรายการทางเลือก ที่พวกคุณ (รัฐบาล)
อาจต้องการนำมาพิจารณาเพื่อนำไปใช้เอง
มันเป็นเพียงแหล่งข้อมูลหนึ่งที่อาจช่วยในการตัดสินใจ” กิลรูธกล่าว
|
2-22-12
|
Published on Monday, February 20, 2012 by
Common Dreams / ดรุณีแปล 2-25-12
|
วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556
164. เสียงเตือนภัยวิกฤตนิเวศปีก่อน...ปีนี้ จะสิ้นหวัง แย่งชิงต่อ หรือ หันหน้าเข้าหากัน?
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น