Japanese Learn to Mind Their Business
for Others
By Daan Bauwens
ชาวญี่ปุ่นเรียนรู้การดูแลธุรกิจของพวกเขาเพื่อคนอื่น
โดย ดาน เบาเวนส์
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
After two decades of crisis
more and more Japanese want to do business for society, not just for money.
Credit: Daan Bauwens/IPS.
TOKYO, Mar 2 2013 (IPS) - After two decades of
economic stagnation and serial natural disasters, a growing number of young Japanese
believe social entrepreneurship is the best way to rebuild their society.
โตเกียว, ๒ มีค ๒๕๕๖—หลังจากสองทศวรรษแห่งเศรษฐกิจถดถอยและระลอกวิบัติภัยธรรมชาติ,
ชาวญี่ปุ่นหนุ่มสาวจำนวนมากขึ้น เริ่มเชื่อว่า วิสาหกิจเพื่อสังคม
เป็นวิถีทางที่ดีที่สุดที่จะสร้างสังคมขึ้นใหม่.
Masami Komatsu (37) is one of
them. He founded his investment company Music Securities in 2001, a few years
after the Japanese banking crisis of 1998. ‘There was no more investment in
vulnerable sectors as music, traditional crafts or sake brewing,” he tells IPS.
“We made it possible for people to start investing in what they personally
think is important and should be kept alive.”
มาซามิ โคมัตสึ (37) เป็นหนึ่งในกลุ่มนี้. เขาก่อตั้งบริษัทลงทุน Music Securities
ในปี 2001, ไม่กี่ปีหลังจากวิกฤตการธนาคารของญี่ปุ่นในปี
1998. “ไม่มีเงินลงทุนอีกแล้วในภาคส่วนเปราะบางเช่นดนตรี,
งานฝีมือดั้งเดิม หรือ การกลั่นสาเก,” เขากล่าว.
“เราช่วยให้ประชาชนสามารถเริ่มลงทุนในสิ่งที่เจ้าตัวคิดว่า สำคัญ
และควรรักษาให้มันธำรงอยู่ได้.”
However, Music Securities
does not work by way of donors and donations. It is an investment fund with
returns that currently ranks among the best performing in Japan, managing over
33 billion yen (27 million euro) worth of investments held by over 50,000
shareholders including some of the nation’s most wealthy companies. In 2009
Komatsu set up the first retail microfinance fund in Japan, allowing
individuals to invest in microfinance projects in Cambodia.
แต่ Music Securities ไม่ได้ทำงานแบบผู้บริจาค หรือ การกุศล.
มันเป็นกองทุนเพื่อการลงทุนพร้อมผลตอบแทน ที่ทุกวันนี้
อยู่ในลำดับดีที่สุดในญี่ปุ่น, บริหารจัดการเงินลงทุนมูลค่ากว่า 33 พันล้านเยน (27 ล้านยูโร) ของผู้ถือหุ้นกว่า 50,000 รวมทั้ง บางบริษัทที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศ. ในปี 2009 โคมัตสึ
ได้จัดตั้งกองทุน microfinance (เครดิตสินเชื่อขนาดจิ๋ว)
สำหรับพ่อค้าขายปลีก ในญี่ปุ่น, ที่ยอมให้ปัจเจกลงทุนในโครงการ microfinance ในกัมพูชา.
At this moment Music
Securities is the largest private financier in the reconstruction of companies
that suffered losses from the tsunami. “A month after the catastrophe had
happened we visited the area and suggested our plan to the local business
leaders,” Komatsu tells IPS. “We had the feeling we had to do something. Not
volunteer, but use our existing business to resolve the problems of the
stricken areas.”
ตอนนี้
Music
Securities เป็นบริษัทเงินกู้เอกชนที่ใหญ่ที่สุดในการบูรณะบริษัทที่สูญเสียจากสึนามิ. “หนึ่งเดือนหลังจากหายนะเกิดขึ้น
เราได้ไปเยี่ยมในพื้นที่ และ เสนอแผนของเราต่อผู้นำธุรกิจท้องถิ่น,” โคมัตสึ กล่าวต่อ
IPS. “พวกเรารู้สึกว่าต้องทำอะไรบางอย่าง. ไม่ใช่แบบอาสาสมัคร,
แต่ใช้ธุรกิจที่มีอยู่แก้ไขปัญหาในพื้นที่เดือดร้อน.”
At this moment more than
25,000 individuals have invested a total of more than 100 billion yen (810
million euro) in the tsunami fund.
ขณะนี้
กว่า 25,000 คนได้ลงทุน เป็นเงินกว่า 100 พันล้านเยน (810 ล้านยูโร) ในกองทุนสึนามิ.
In 2001 Music Securities was
ahead of its time. It took until 2005 before the concept of social
entrepreneurship – a revenue-generating business whose objective is not
personal gain but the pursuit of a social goal – was thought of at Japan’s
oldest university Keio in Tokyo.
ในปี 2001 Music Securities ล้ำหน้ายุคขณะนั้น. มันใช้เวลานานกว่าจะถึงปี
2005 ก่อนที่กรอบคิดวิสาหกิจเพื่อสังคม—ธุรกิจสร้างรายได้ด้วยวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว
แต่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสังคม—จะถูกคิดค้นขึ้น ในมหาวิทยาลัย Keio (เคอิโอ) ที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว.
But in recent years, the
phenomenon seems to be gaining momentum rapidly. In 2011, Fukuoka on the
Japanese Island of Kyushu was the second city in the world to be named a
‘social business city’ for spreading the concept of social business across the
Asian continent. Nobel Laureate Muhammad Yunus, who developed the idea of
social business, opened the world’s first social business research centre on
the grounds of Kyushu University.
แต่ในไม่กี่ปีมานี้,
ปรากฏการณ์นี้ดูเหมือนจะเริ่มก่อตัวเกิดแรงโน้มถ่วงในตัวเองอย่างรวดเร็ว. ในปี 2011, ฟูกูโอกะ บนเกาะญี่ปุ่น
คิวชู เป็นเมืองที่สองในโลก ที่ได้รับขนานนามว่าเป็น “เมืองแห่งธุรกิจเพื่อสังคม”
เพื่อการแพร่ขยายแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมไปทั่วทวีปเอเชีย. ผู้ได้รับรางวัลโนเบล โมฮัมหมัด ยูนุส,
ผู้พัฒนาความคิดเรื่องธุรกิจเพื่อสังคม, ได้เปิดศูนย์วิจัยธุรกิจเพื่อสังคมแห่งแรกของโลก
บนพื้นที่ของมหาวิทยาลัย คิวชู.
According to Japan’s Ministry
of Economy, the number of social businesses went up from virtually none in
2,000 to a total of more than 8,000 in 2008, employing over 320,000 people.
There is no data on the current number, but everything points to the fact that
the phenomenon has been even more on the rise since then. For instance, at the
NEC-ETIC Social Entrepreneurship School in Tokyo, numbers of applicants have
risen five-fold since 2010.
ตามรายงานของกระทรวงเศรษฐกิจของญี่ปุ่น,
จำนวนธุรกิจเพื่อสังคมขยายตัวขึ้นจาก ไม่มีอะไรเลย ในปี 2000 เป็นกว่า 8,000 ในปี 2008, และว่าจ้างคนกว่า 320,000 คน. ข้อมูลปัจจุบันยังไม่มี,
แต่ทุกๆ อย่างต่างชี้ไปที่ความจริงที่ว่า ปรากฏการณ์นี้
มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่นั้นมา. เช่น
ผู้สมัครเข้าศึกษาที่ NEC-ETIC Social Entrepreneurship School (วิทยาลัยวิสาหกิจเพื่อสังคม NEC-ETIC) ในโตเกียว,
ได้เพิ่มห้าเท่าตัวตั้งแต่ปี 2010.
Since the start, Nana
Watanabe has been one of the driving forces behind social entrepreneurship in
Japan. Through her work as freelance journalist and photographer, she
introduced more than 100 social entrepreneurs to the Japanese public between
2000 and 2005 through several publications.
ตั้งแต่เริ่มแรก,
นานา วาตานาเบ เป็นพลังขับเคลื่อนหนึ่งเบื้องหลังวิสาหกิจเพื่อชุมชนในญี่ปุ่น. ด้วยช่องทางงานของเธอในฐานะนักข่าวอิสระและช่างภาพ,
เธอได้นำเสนอผู้ประกอบการเชิงสังคมกว่า 100 รายสู่สายตาสาธารณชนชาวญี่ปุ่น
ในระหว่างปี 2000 และ 2005 ในสิ่งพิมพ์หลากหลาย.
“Japan was left without role
models after the bursting of the bubble economy,” she tells IPS. “It led to a
general state of depression, the country didn’t know what to do. In 1999 I
discovered the new wave of social entrepreneurship, coming up among elite
students in the states. I immediately thought: this is what we need.”
“ญี่ปุ่นถูกทอดทิ้งโดยปราศจากต้นแบบ
หลังจากเศรษฐกิจฟองสบู่แตก,” เธอกล่าวต่อ IPS. “สภาวะทั่วไปคือความหดหู่,
ประเทศชาติไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อ. ในปี 1999 ฉันค้นพบคลื่นระลอกใหม่ของวิสาหกิจเพื่อสังคม, ซึ่งโผล่ขึ้นในบรรดานักศึกษาชั้นนำในสหรัฐฯ. ฉันคิดทันทีว่า: นี่เป็นสิ่งที่เราต้องการ.”
In 2011 Watanabe founded the
Japanese branch of Ashoka, an international NGO supporting the work of over
2,000 social entrepreneurs in 60 countries around the globe.
ในปี 2011 วาตานาเบ
ก่อตั้งสาขาญี่ปุ่นของ อโศกา,
เอ็นจีโอสากลที่สนับสนุนงานของนักวิสาหกิจเพื่อสังคมกว่า 2,000 ราย ใน 60 ประเทศทั่วโลก.
“Social business is
definitely an emerging phenomenon,” she tells IPS, “and the reason behind it is
simple: people are getting increasingly disappointed in Japan’s large
companies. Today’s young have seen their parents sacrifice their lives in
exchange for the promise of lifetime employment, only to be have been
laid off in recent years. More and more young people prefer to start on
their own.”
“ธุรกิจเพื่อสังคม
เป็นปรากฏการณ์ที่อุบัติขึ้นอย่างแน่นอน,” เธอกล่าว, “และเหตุผลเบื้องหลังง่ายมาก: ประชาชนเริ่มผิดหวังกับบริษัทใหญ่ๆ
ของญี่ปุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ. หนุ่มสาววันนี้
ได้เห็นการเสียสละของพ่อแม่ของพวกเขา เพื่อแลกกับสัญญาการจ้างงานชั่วชีวิต,
แต่แล้วกลับถูกลอยแพในไม่กี่ปีนี้.
หนุ่มสาวจำนวนมากขึ้นชอบที่จะเริ่มธุรกิจของตัวเอง.”
“The myth of Japanese
government efficiency has collapsed,” says Toshi Nakamura, leader of Kopernik,
an on-line market place offering technological solutions to problems in rural
communities in developing nations.
“เทพนิยายเรื่องความมีประสิทธิภาพของรัฐบาลญี่ปุ่นได้ล้มครืนลงแล้ว,”
โตชิ นากามูระ, ผู้นำ Kopernik, ตลาดออนไลน์ ที่ให้บริการแก้ปัญหาเชิงเทคนิคแก่ชุมชนชนบทในประเทศกำลังพัฒนา.
“Up until the middle of the
nineties people had faith in the government’s technocrats to drive the economy
and provide social services,” he tells IPS. “This is no longer the case and
people realised that a number of social issues had to, and can be tackled by
ordinary citizens.”
“จนถึงกลางทศวรรษ
1990s
ประชาชนยังมีศรัทธาต่อเหล่าผู้เชี่ยวชาญเชิงเทคนิคของรัฐบาล
ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และให้บริการสังคม,” เขากล่าว. “มันไม่เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป
และประชาชนตระหนักว่า ประเด็นทางสังคมมากมายจำเป็นต้องได้รับ,
และสามารถจะแก้ไขได้ด้วยพลเมืองธรรมดาๆ.”
It is not just disappointment
in Japan’s companies or government that inspires the Japanese to get involved
in social business. “After the financial crisis we have seen a return to
traditional values,” says Japan’s leading business analyst Kumi Fujisawa.
“People aren’t looking for short term gain but concentrating on long-term
perspectives. There’s a return to idealism, people want to contribute to
society again.”
มันไม่ใช่แค่ความผิดหวังในบริษัทและรัฐบาลของญี่ปุ่น
ที่ดลใจให้ชาวญี่ปุ่นเริ่มหันเข้าสู่ธุรกิจเพื่อชุมชน. “หลังจากวิกฤตการเงิน
เราได้เห็นการหวนกลับสู่คุณค่าตามประเพณีเดิม,”
นักวิเคราะห์ธุรกิจชั้นนำของญี่ปุ่น คูมิ ฟูจิซาวา กล่าว. “ประชาชนไม่ได้มองหาผลประโยชน์ระยะสั้น แต่
มุ่งไปที่มุมมองระยะยาว.
มีการหวนกลับไปหาอุดมคติ, คนต้องการจะให้แก่สังคมอีกครั้ง.”
According to polls organised
by the Japanese government, the value of work is being reconsidered in Japan
since the start of the financial crisis. The number of people that answered
that they wanted to work ‘to contribute to society’ rose sharply after the
burst of the asset bubble, from 46 to 64 percent in 1991. That number is above
65 percent at present.
ตามผลโพลที่จัดทำโดยรัฐบาลญี่ปุ่น,
คุณค่าของงานได้รับการทบทวนอีกครั้งในญี่ปุ่น ตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงิน. จำนวนประชาชนที่ได้ขานรับว่า ต้องการจะทำงาน “เพื่อให้สังคม”
ได้พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์แตก, จาก 46 ถึง
64% ในปี 1991 เป็น กว่า 65% ในปัจจุบัน.
“It is the result of a new
inward-looking attitude,” says Hirofumi Yokoi, president of the Akira
Foundation, one of Japan’s most influential organisations fostering social
entrepreneurship that was founded in 2009.
“มันเป็นผลของทัศนคติใหม่ที่มองย้อนเข้าข้างใน,”
กล่าว ฮิโรฟูมิ โยโกอิ, ประธาน มูลนิธิ อคิรา, องค์กรที่มีอิทธิพลมากที่สุดหนึ่งในญี่ปุ่น
ที่สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม ก่อตั้งขึ้นในปี 2009.
“Growing uncertainty and
anxiety about the future have lead to a change in behaviour. For lots of young
Japanese, social business is not just a way to solve economic, social and
environmental issues. It is also a way to tackle personal challenges. They will
have to work as a part of a community and develop self-confidence, friendship,
mindfulness, self-actualisation and social inclusion.”
“ความรู้สึกถึงความไม่แน่นอนและวิตกกังวลต่ออนาคต
ได้นำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรม.
สำหรับหนุ่มสาวญี่ปุ่นจำนวนมาก, ธุรกิจเพื่อสังคม ไม่ใช่เป็นเพียงหนทางแก้ไขประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจ,
สังคม และ สิ่งแวดล้อมเท่านั้น.
มันยังแก้ไขอุปสรรค/ข้อท้าทายส่วนตัวด้วย.
พวกเขาจะต้องทำงานในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และพัฒนาความเชื่อมั่นในตัวเอง,
มิตรภาพ, สติสัมปชัญญะ, รู้จักตัวเอง และ รวมตัวกับสังคม (แทนที่จะหนี หรือ
แหวกสังคม).”
“It is true that people start
to reconsider the value of work,” Nana Watanabe tells IPS, “but most still lack
the courage to act upon it. Social business is definitely taking off but we
need to be cautious not to overestimate its success.
“เป็นความจริงที่ว่า
คนเริ่มทบทวนคุณค่าของงาน,” นานา วาตานาเบ กล่าว, “แต่ส่วนใหญ่ก็ยังไม่กล้าพอที่จะแสดงออก. ธุรกิจเพื่อสังคม ได้เหินฟ้าแล้ว
แต่เราจำเป็นต้องระวัง ไม่ประเมินความสำเร็จเกินตัว.
“First of all, it requires
people to be very creative and imaginative. Next, at the moment it is very
fashionable to say you will start a social business. But in the end, the
majority are still looking for security and money.”
“ประการแรก,
คนต้องมีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการอย่างมาก.
ประการต่อมา, ตอนนี้ มันเป็นแฟชั่นมากที่คุณจะบอกว่า จะเริ่มธุรกิจเพื่อสังคม. แต่สุดท้าย,
คนส่วนใหญ่ก็ยังแสวงหาความมั่นคงและเงินตร.”
Related IPS Articles
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น