วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

155. เรียนรู้จากธรรมชาติ เพื่อหาทางรอด จากหล่มเศรษฐกิจแห่งความโลภ



What Would a Down-to-Earth Economy Look Like?
How did we end up with Wall Street when models for a healthy economy are all around us?
 by David Korten
เศรษฐกิจติดดินน่าจะมีหน้าตาอย่างไร?
เรามาลงเอยที่วอลล์สตรีตได้อย่างไร เมื่อโมเดลเพื่อเศรษฐกิจที่สมบูรณ์กว่า ปรากฏอยู่รอบตัวเรา?
โดย เดวิด คอร์เตน

(Photo: Thomas Hawk)

With proper care and respect, Earth can provide a high quality of life for all people in perpetuity. Yet we devastate productive lands and waters for a quick profit, a few temporary jobs, or a one-time resource fix.
ด้วยการเอาใจใส่ดูแลที่เหมาะสม และให้ความเคารพ, โลกสามารถให้ชีวิตที่มีคุณภาพสูงแก่ปวงชนได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด.  แต่เรากลับล้างผลาญแผ่นดินและผืนน้ำเพียงเพื่อกำไรเร่งรีบ, งานจ้างชั่วคราวไม่กี่ตำแหน่ง, หรือ การซ่อมทรัพยากรเป็นครั้งคราว.
Our current expansion of tar sands oil extraction, deep-sea oil drilling, hydraulic fracturing natural gas extraction, and mountaintop-removal coal mining are but examples of this insanity. These highly profitable choices deepen our economic dependence on rapidly diminishing, nonrenewable fossil-energy reserves, disrupt the generative capacity of Earth’s living systems, and accelerate climate disruption.
การขยายโครงการสกัดน้ำมันจากทรายน้ำมันดิน, การขุดเจาะน้ำมันในทะเลลึก, การใช้พลังน้ำฉีดเซาะเพื่อสกัดแก็สธรรมชาติ, และ การทำเหมืองถ่านหินชนิดตัดยอดเขา เป็นเพียงตัวอย่างของความบ้าคลั่งนี้.  ทางเลือกที่กำไรสูงเหล่านี้ ยิ่งทำให้เราติดหล่มลึกลงในการพึ่งอิงแหล่งพลังงาน-ซากดึกดำบรรพ์ ที่ไม่หวนคืนกลับมา แต่กำลังเหือดหายไป, ทำให้ความสามารถสร้างชีวิตขึ้นใหม่ของระบบสิ่งมีชีวิตของโลกเสียกระบวน, และเร่งให้ภูมิอากาศเรรวน.
A global economy dependent on this nonsense is already failing and its ultimate collapse is only a matter of time. For a surprisingly long time, we humans have successfully maintained the illusion that we are outside of, superior to, and not subject to the rules of nature. We do so, however, at a huge cost, and payment is coming due.
เศรษฐกิจโลกที่พึ่งอิงความไร้สาระนี้ กำลังล้มเหลวลง สู่การพังทลายของมันในที่สุด ซึ่งขึ้นกับเวลาเท่านั้น.  เป็นเวลานานอย่างน่าประหลาดใจที่มนุษย์เราได้ประสบความสำเร็จในการธำรงมายาภาพที่ว่า พวกเราอยู่ภายนอก, เหนือกว่า, และไม่อยู่ภายใต้กฎธรรมชาติ.  แต่ เราทำเช่นนี้ได้ด้วยต้นทุนอันสูงส่ง, และก็ถึงเวลาต้องจ่ายแล้ว.
To secure the health and happiness of future generations, we must embrace life as our defining value, recognize that competition is but a subtext of life’s deeper narrative of cooperation, and restructure our institutions to conform to life’s favored organizing principle of radically decentralized, localized decision making and self-organization. This work begins with recognizing what nature has learned about the organization of complex living systems over billions of years.
เพื่อทำให้สุขภาพและความสุขของอนุชนมั่นคง, เราต้องใช้ชีวิตเป็นตัวตั้งในการให้ความหมาย, ตระหนักว่า การแข่งขัน เป็นเพียงข้อความย่อยของเรื่องเล่าที่ลึกล้ำกว่าของชีวิต ที่บรรยายถึงความเกื้อกูล ร่วมมือกัน, และแก้ไขโครงสร้างของสถาบัน เพื่อให้มันเดินตามหลักการที่ฝักใฝ่การจัดกระบวน/แบบแผนของชีวิต ที่กระจายตัวอย่างสุดเหวี่ยง, ให้น้ำหนักกับการตัดสินใจในระดับท้องถิ่น และ การจัดกระบวน/แบบแผนด้วยตัวเอง.  งานนี้ เริ่มด้วยการตระหนักถึงสิ่งที่ธรรมชาติได้เรียนรู้ถึงการจัดกระบวนของระบบที่มีชีวิตอันซับซ้อนในห้วงเวลากว่าพันล้านปี.

Our Original Instructions
คำสอนเริ่มแรกของเรา

Some indigenous people speak of the “original instructions.” Chief Oren Lyons, of the Onondaga Nation, summarizes the rules in “Listening to Natural Law” in the anthology Original Instructions:
ชาวพื้นเมืองดั้งเดิมบางคนพูดถึง “คำสอนเริ่มแรก”.  หัวหน้าเผ่า โอเรน ลีออนส์, แห่งชนชาติ โอนอนดากา, ย่นย่อกฎใน “การฟังกฎของธรรมชาติ” ในหนังสือรวบรวมบทประพันธ์ “คำสอนเริ่มแรก”:
“Our instructions, and I’m talking about for all human beings, are to get along … with [nature’s] laws, and support them and work with them. We were told a long time ago that if you do that, life is endless. It just continues on and on in great cycles of regeneration. … If you want to tinker with that regeneration, if you want to interrupt it, that’s your choice, but the results that come back can be very severe because … the laws are absolute.”
“คำสอนของเรา, และข้าฯ กำลังพูดถึงมนุษย์ทั้งปวง, คือ การปฏิบัติตาม...กฎธรรมชาติ, และสนับสนุนกฎเหล่านี้ และ ทำงานร่วมกับมัน.  เราได้ถูกสั่งสอนมานานแล้วว่า หากเจ้าทำอย่างนั้น, ชีวิตไม่มีที่สิ้นสุด.   มันมีแต่ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เป็นวัฏจักรใหญ่ของการเกิดขึ้นใหม่...  หากเจ้าต้องการยุ่งกับกระบวนการเกิดขึ้นใหม่นั้น, หากเจ้าต้องการขัดขวางมัน, ก็เป็นทางเลือกของเจ้า, แต่ผลที่ตามมา จะร้ายแรง เพราะ...กฎธรรมชาติเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ในตัว.”

Decision-making would be local and the system would organize from the bottom up.
การตัดสินใจ จะมาจากระดับท้องถิ่น และ ระบบจะจัดรูปจากล่างขึ้นบน.

Modern neuroscience affirms that the human brain evolved to reward cooperation and service. In other words, nature has hard-wired the original instructions into our brain. Extreme individualism, greed, and violence are pathological and a sign of physical, developmental, cultural, and/or institutional system failure. Caring relationships are the foundation of healthy families, communities, and life itself.
ประสาทศาสตร์สมัยใหม่ได้ยืนยันว่า สมองของมนุษย์วิวัฒนาการมาเพื่อให้รางวัลแก่ความร่วมมือและการให้บริการ.   นั่นคือ ธรรมชาติได้ใส่คำสอนเริ่มแรกลงในสมองของเรา.  ปัจเจกนิยมประเภทสุดเหวี่ยง, ความโลภ, และ ความรุนแรง เป็นความป่วย และเป็นสัญลักษณ์ของความล้มเหลวของระบบทางกายภาพ, ทางพัฒนาการ, ทางวัฒนธรรม, และ/หรือ สถาบัน.   ความสัมพันธ์แบบเอื้ออาทร เป็นพื้นฐานของครอบครัวและชุมชนที่แข็งแรง, และเป็นชีวิตในตัวของมันเอง.
We are living out the consequences of our collective human failure to adhere to the original instructions—the organizing principles of healthy living systems readily discernible through observation of nature at work. These are the principles by which we must rethink and reorganize human economies.
เรากำลังมีชีวิตแบบถอยหลังอันเป็นผลจากความล้มเหลวร่วมของมนุษย์ ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสอนแรกเริ่ม—หลักการจัดการของระบบสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งมองเห็นเรียนรู้ได้ด้วยการสังเกตการทำงานของธรรมชาติ.   นี่คือหลักการที่เราจะต้องคิดทบทวนใหม่ และ ปรับเปลี่ยนการจัดแบบแผนของระบบเศรษฐกิจต่างๆ ของมนุษย์.
So how would nature design an economy? An economy is nothing more than a system for allocating resources to productive activity—presumably in support of life. In fact, nature is an economy, with material and information exchange, saving, investment, production, and consumption—all functions we associate with economic activity. Absent human intervention, as Lyons says, “It just continues on and on in great cycles of regeneration.”
แล้ว ธรรมชาติจะออกแบบเศรษฐกิจให้เป็นอย่างไร?   ระบบเศรษฐกิจไม่ใช่อื่นใดไกลกว่าระบบหนึ่งๆ เพื่อจัดสรรทรัพยากรเพื่อรองรับกิจกรรมการผลิต—ซึ่งน่าจะเป็นไปเพื่อเจือจุนชีวิต.  อันที่จริง, ธรรมชาติเองก็เป็นระบบเศรษฐกิจหนึ่ง, เพรียบพร้อมไปด้วยการแลกเปลี่ยนวัตถุและข้อมูล, การเก็บออม, การลงทุน, การผลิต, และการบริโภค—หน้าที่ทั้งหมดที่เราต้องเกี่ยวข้องด้วยในกิจกรรมเศรษฐกิจ.  โดยปราศจากการยุ่งเกี่ยวของมนุษย์, ดังที่ ลีออนส์ กล่าว, “มันก็ทำงานของมันไปเรื่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เป็นวัฏจักรมหึมาของการเกิดใหม่.”
Nature surrounds us with expressions of the organizing principles that make possible life’s exceptional resilience, capacity for adaptation, creative innovation, and vibrant abundance. Earth’s biosphere and the human body are two magnificent examples.
ธรรมชาติห้อมล้อมเราด้วยการแสดงออกถึงหลักการจัดแบบแผน ที่ทำให้ชีวิตมีความเป็นไปได้ ที่จะมีความยืดหยุ่นชั้นเยี่ยม, ความสามารถในการปรับตัว, มีนวัตกรรมที่สร้างสรรค์, และ ความอุดมสมบูรณ์ที่บรรเจิด.   ห้วงชีวภาพของโลก และ ร่างกายของมนุษย์ เป็นสองตัวอย่างที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว.


Wall Street / วอลล์สตรีต
Nature/ธรรมชาติ
Defining value
ตัวตั้งที่กำหนดความหมาย
Money
เงินตรา
Life
ชีวิต
Primary performance indicators
ดัชนีความสามารถขั้นปฐม
Growth, financial returns, flows, and assets
การขยายตัว, ผลตอบแทนทางการเงิน, การไหลเวียน, และทรัพย์สิน
Life's abundance, health, resilience, and creative potential
ความอุดมสมบูรณ์, สุขภาพ, ความยืดหยุ่น, และศักยภาพสร้างสรรค์ของชีวิต
Primary dynamic
พลวัตขั้นปฐม
Competition to maximize self-interest
การแข่งขันเพื่อกอบโกยประโยชน์เข้าตัวสูงสุด
Cooperation to optimize self- and community interest
ความร่วมมือเพื่อให้เกิดความพอดีของผลประโยชน์ระหว่างตัวเอง และ ชุมชน
Decision-making power
อำนาจในการตัดสินใจ
Global, top-down, centralized, and concentrated
ระดับโลก, บนสู่ล่าง, รวมศูนย์, และกระจุกตัว
Local, bottom-up, and distributed
ท้องถิ่น, ล่างสู่บน, และกระจายตัว
Time frame
กรอบเวลา
Immediate return
ผลตอบแทนทันที
Sustained yield
ให้ผลอย่างยั่งยืน
Local character
ลักษณะท้องที่
Uniform
มีแบบเดียว
Diverse
หลากหลาย
Resource control
การควบคุมทรัพยากร
Monopolized
ผูกขาด
Shared
แบ่งปัน
Resource flows
การไหลของทรัพยากร
Global, linear, one-time use from mine to dump
ระดับโลก, เส้นตรง, ใช้ครั้งเดียว จากเหมืองสู่กองขยะ
Local, circular, perpetual use, zero waste
ท้องถิ่น, หมุนเวียน, ใช้ได้ไม่ขาดสาย, ไร้ขยะ ไม่สิ้นเปลือง
Deficits of concern
ความขาดดุลที่ห่วงใย
Financial
การเงิน
Social and environmental
สังคม และ สิ่งแวดล้อม
Measure of efficiency
มาตรวัดประสิทธิภาพ
Returns to financial capital
ผลตอบแทนต่อเงินทุน
Returns to social and natural capital
ผลตอบแทนต่อทุนทางสังคมและธรรมชาติ
Growth
การเติบโต
Infinite growth of money and material consumption
เงินตราและการบริโภควัตถุที่โตไม่สิ้นสุด
A stage in life's endless regenerative cycles of birth, growth, death, and rebirth
ขั้นตอนต่างๆใน วัฏจักรที่ไม่สิ้นสุดของชีวิต... การเกิด, การเติบโต, การตาย และ การเกิดใหม่

The Economy of the Biosphere
เศรษฐกิจของห้วงชีวภาพ

Earth’s exquisitely complex, resilient, and continuously evolving band of life—the biosphere—demonstrates on a grand scale the creative potential of the distributed intelligence of many trillions of individual self-organizing, choice-making living organisms. Acting in concert, they continuously regenerate soils, rivers, aquifers, fisheries, forests, and grasslands while maintaining climatic balance and the composition of the atmosphere to serve the needs of Earth’s widely varied life forms. So long as humans honor the original instructions, the biosphere has an extraordinary capacity to optimize the capture, organization, and sharing of Earth’s energy, water, and nutrients in support of life—including human life.
ความซับซ้อนที่แสนวิจิตร, ความยืดหยุ่น, และมวลชีวิตที่วิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องของโลก—ห้วงชีวภาพ—ได้สาธิตให้เห็นอย่างอลังการถึงศักยภาพการสร้างสรรค์ของความชาญฉลาดที่กระจายตัวอยู่ในสิ่งมีชีวิตหลายๆ ล้านล้านชีวิต ในการจัดการตัวเองและทำการตัดสินใจเอง.  ด้วยปฏิบัติการที่สอดคล้องกัน,  พวกมันฟื้นฟูดิน, แม่น้ำ, หนองน้ำ, แหล่งประมง, ป่า, และทุ่งหญ้า อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็ธำรงความสมดุลในภูมิอากาศ และ องค์ประกอบของชั้นบรรยากาศ ให้รับใช้ความต้องการของสรรพสิ่งมีชีวิต ในรูปแบบต่างๆ ของโลก.   ตราบเท่าที่มนุษย์เคารพคำสอนแรกเริ่ม, ห้วงชีวภาพมีสมรรถนะไม่ธรรมดาในการปรับการดักจับ, การจัดแบบแผน, และการแบ่งปันอย่างพอดีในด้าน พลังงาน, น้ำ, และสารอาหารของโลก ในการเจือจุนสิ่งมีชีวิต—รวมทั้งชีวิตมนุษย์ด้วย.
In nature, species and individuals earn a right to a share in the bounty of the whole as necessary to their sustenance through their contribution to the well-being of the whole. Over the long term, those that contribute prosper, and those that do not contribute expire. The interests of the whole are protected against rogue behavior by natural limits on the ability of any individual or species to monopolize resources beyond its own need to the exclusion of the needs of others.
ในธรรมชาติ, สายพันธุ์และปัจเจกต่างๆ ได้รับสิทธิ์ในการแบ่งปัน ในองค์รวมของความอุดมสมบูรณ์ ตามอัตภาพ คือ เท่าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ผ่านการมีส่วนร่วมในการทำให้เกิดความอยู่ดีมีสุขสำหรับองค์รวมทั้งหมด.   ในระยะยาว, ผู้ที่ให้ เจริญรุ่งเรืองขึ้น, และผู้ที่ไม่ให้ ล้มหายตายจากไป.   ผลประโยชน์ขององค์รวม ถูกปกป้องให้พ้นจากพฤติกรรมคดโกง อันธพาล ด้วยข้อจำกัดตามธรรมชาติ ในความสามารถของปัจเจก หรือ สายพันธุ์ใดๆ ที่จะผูกขาดทรัพยากรมากเกินกว่าที่ตนต้องการ  ซึ่งย่อมทำให้เกิดการเบียดเบียนความต้องการของผู้อื่น.
Individuals and species may compete for territory and sexual dominance, but the amount of territory or number of mates nature allows an individual or species to claim is local, limited, and subject to continuous challenge. Until humans began to create the imperial civilizations characteristic of our most recent 5,000 years, the idea that any species, let alone a few individual members of a species, might claim control of all of Earth’s living wealth to the exclusion of all others was beyond comprehension.
ปัจเจกและสายพันธุ์ อาจแข่งขันกันเพื่อความเป็นใหญ่ในอาณาเขต หรือ ทางเพศ, แต่อาณาบริเวณ หรือ จำนวนคู่ผสมพันธุ์ ที่ธรรมชาติอนุญาตให้ปัจเจกหรือสายพันธุ์หนึ่งอ้างสิทธิ์ได้ คือ ท้องที่, จำกัด, และ ต้องถูกท้าทายอยู่อย่างต่อเนื่อง.  จนกระทั่งมนุษย์เริ่มสร้างอารยธรรมจักรวรรดิ์ อันเป็นลักษณะของยุคใกล้เราที่สุดเมื่อ 5,000 ปีก่อน, ความคิดที่ว่า สายพันธุ์ใดๆ, อย่าว่าแต่สมาชิกปัจเจกไม่กี่รายในสายพันธุ์หนึ่งๆ, อาจอ้างสิทธิ์ในการควบคุมความมั่งคั่งของมวลชีวิตของโลก จนเกิดการเบียดขับสรรพชีวิตที่เหลือทั้งหมด เป็นเรื่องที่เกินความเข้าใจทีเดียว.

The Economy of the Body
เศรษฐกิจของร่างกาย

The human body is a more intimate demonstration of the creative power of life’s organizing principles. The individual human body comprises tens of trillions of individual living cells, each a decision-making entity with the ability to manage and maintain its own health and integrity under changing and often stressful circumstances. At the same time, each cell faithfully discharges its responsibility to serve the needs of the entire body on which its own health and integrity depend.
ร่างกายของมนุษย์เป็นตัวอย่างสาธิตที่ใกล้ตัวยิ่งขึ้น ถึงพลังสร้างสรรค์ของหลักการจัดแบบแผนของชีวิต.  ร่างกายของปัจเจกมนุษย์ ประกอบด้วยเซลที่มีชีวิตนับล้านล้านเซล, แต่ละเซล เป็นหน่วยตัดสินใจเองพร้อมความสามารถในการจัดการ และธำรงความแข็งแรงและความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและมักจะเครียด.  ในขณะเดียวกัน, แต่ละเซล ก็ทำหน้าที่รับผิดชอบของตนด้วยความจงรักภักดี ในการรับใช้สนองความต้องการของร่างกายทั้งหมด ซึ่งเป็นที่พึ่งของความแข็งแรงและความเป็นเอกลักษณ์ของตัวมันเองด้วย.
Working together, these cells create and maintain a self-organizing human organism with the potential to achieve extraordinary feats of physical grace and intellectual acuity far beyond the capability of any individual cell on its own.
ด้วยการทำงานร่วมกัน, เซลเหล่านี้สร้างและธำรง สิ่งมีชีวิตมนุษย์ที่จัดแบบแผนตัวเอง มีศักยภาพที่จะบรรลุความสามารถสุดยอดของความสง่างามทางกาย และ ความฉลาดเฉลียวทางปัญญา เกินกว่าความสามารถของปัจเจกเซลใดๆ ตามลำพัง.
Each decision-making, resource-sharing cell is integral to a larger whole of which no part or system can exist on its own. Together they create regulatory mechanisms internal to the whole that work to assure that no part asserts dominance over the others or monopolizes the body’s stores of energy, nutrients, and water for its exclusive use. Resources are shared based on need.
การตัดสินใจ, การแบ่งปันทรัพยากรของแต่ละเซล เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อองค์รวมที่ใหญ่กว่า ที่ไม่มีส่วนใด หรือระบบใด สามารถจะดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง.   ด้วยความพร้อมเพรียง, พวกมันสร้างกลไกการควบคุมภายในสำหรับองค์รวม ที่ทำงานเพื่อให้มั่นใจว่า ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดจะเป็นใหญ่ ข่มส่วนอื่น หรือ ผูกขาดการสะสมพลังงาน, สารอาหาร, และ น้ำ ที่ส่วนหนึ่งของร่างกายกักไว้ใช้เอง.  ทรัพยากรถูกแบ่งปันกันใช้ บนพื้นฐานของความจำเป็น.
All the while, the body’s cells self-organize to fight off a vast variety of viruses, cancer cells, and harmful bacteria, adapt to changing temperatures and energy needs and variations in the body’s food and water intake, heal damaged tissues, and collect and provide sensory data to our conscious mind essential to our conscious choice making.
ตลอดเวลา, เซลของร่างกาย จัดแบบแผนตัวเอง เพื่อต่อสู้กับไวรัส, เซลมะเร็ง, และแบคทีเรียที่อันตราย มากมาย, ปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิ และ ความต้องการพลังงานที่เปลี่ยนแปลง และ ปรับปริมาณอาหารและน้ำที่ป้อนเข้าสู่ร่างกาย, เยียวยาเนื้อเยื่อที่เสียหาย, และเก็บข้อมูล และ จ่ายข้อมูลจากประสาทสัมผัส แก่จิตสำนึก ที่สำคัญต่อการตัดสินใจเลือกของเรา.
Another of the many impressive expressions of the body’s capacity to self-organize is the process by which our cells continuously regenerate while maintaining the body’s integrity as a unified organism. The cells lining the human stomach have a turnover of only five days. Red blood cells are replaced every 120 days or so. The surface of the skin recycles every two weeks. The cells of the body are constantly reproducing, growing, and dying.
การแสดงออกที่น่าประทับใจอีกตัวอย่างถึงความสามารถของร่างกายในการจัดแบบแผนตัวเอง คือ กระบวนการที่เซลของเราฟื้นฟูตัวเองได้ตลอดเวลา ในขณะที่ธำรงเอกลักษณ์ของร่างกายให้เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเอกภาพ.  เซลที่เรียงตัวกันเป็นเยื่อบุในกระเพาะของมนุษย์ เปลี่ยนใหม่หมดในเวลาห้าวัน.  เม็ดเลือดแดงถูกแทนที่ใหม่หมดทุก 120 วัน.   ผิวหนังของเราหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกๆ สองสัปดาห์.  เซลของร่างกายกำลังผลิตตัวเอง, เติบโต และตายลง ตลอดเวลาอย่างสม่ำเสมอ.

A Human Economy Based on Nature
เศรษฐกิจมนุษย์บนพื้นฐานของธรรมชาติ

If nature were in charge of creating an enduring human economy, she would surely apply the same principles she applies in natural systems. Her goal would be a global system of bioregional living economies that secure a healthy, happy, productive life for every person on the planet in symbiotic balance with the non-human systems on which we humans depend for breathable air, drinkable water, fertile soils, timber, fish, grasslands, and climate stability. Each bioregional economy would meet its own needs for energy, water, nutrients, and mineral resources through sustained local capture, circular flow, utilization, and repurposing. Decision making would be local and the system would organize from the bottom up. Diversity and redundancy would support local adaptation and resilience.
หากธรรมชาติกุมบังเหียนของการสร้างเศรษฐกิจมนุษย์ที่มีความคงทน, ท่านคงใช้หลักการเดียวกันกับที่ท่านใช้กับระบบธรรมชาติอย่างแน่นอน.  เป้าหมายของท่าน คงเป็นระบบโลกของเศรษฐกิจภูมิภาคเชิงชีวภาพที่มีชีวิต ที่ประกันชีวิตผลิตภาพที่แข็งแรง, มีความสุข สำหรับทุกๆ คนบนโลก ในความสมดุลที่เอื้อประโยชน์ต่อกันและกัน กับระบบที่ไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งมนุษย์จะต้องพึ่งพา เช่น อากาศเพื่อการหายใจ, น้ำดื่ม, ดินที่อุดมสมบูรณ์, ไม้ซุง, ปลา, ทุ่งหญ้า, และภูมิอากาศที่เสถียร.  แต่ละเศรษฐกิจภูมิภาคเชิงชีวภาพ คงจะสนองความต้องการพลังงาน, น้ำ, สารอาหาร, และทรัพยากรแร่ธาตุ ได้ด้วยการดักจับในท้องที่, หมุนเวียน, ใช้, และทบทวนจุดประสงค์ อยู่ตลอดเวลา.
This should be our goal and vision. With the biosphere as our systems model, we would design our economic institutions and rules to align with nature’s rules and organizing principles. We would replace GDP as the primary measure of economic performance with a new system of living system indicators that assess economic performance against the outcomes we actually want—healthy, happy people and healthy, resilient natural systems. These indicators might be based on Bhutan’s Gross National Happiness Index. We would redirect the time, talent, and money we currently devote to growing GDP, material consumption, securities bubbles, and Wall Street bonuses to producing the outcomes we really want.
นี่ควรจะเป็นเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของเรา.  ด้วยการใช้ห้วงชีวภาพเป็นโมเดลระบบของเรา, เราจะออกแบบสถาบันเศรษฐกิจและกฎระเบียบต่างๆ ที่คล้อยตามกฎของธรรมชาติ และ หลักการจัดแบบแผน.   เราจะแทนที่ จีดีพี ในฐานะมาตรวัดปฐมต่อความสัมฤทธิ์เชิงเศรษฐกิจ ด้วยระบบใหม่ของดัชนีระบบที่มีชีวิต ที่ประมวลผลสัมฤทธิ์เชิงเศรษฐกิจ เทียบกับผลพวงที่เราต้องการจริงๆ—ประชาชนที่มีสุขภาพดี และมีสุข และ ระบบธรรมชาติที่แข็งแรง, มีความยืดหยุ่น.   ดัชนีเหล่านี้ อาจมีพื้นฐานดั่ง ดัชนี ความสุขมวลรวมแห่งชาติของภูฐาน.  เราจะเปลี่ยนทิศทางของเวลา, พรสวรรค์, และเงินตรา ที่ตอนนี้เราทุ่มไปที่การขยายตัวของ จีดีพี, การบริโภควัตถุ, ฟองสบู่ของการเล่นหุ้น, และโบนัสวอลล์สตรีต สู่การผลิตผลพวงที่เราต้องการจริงๆ.
We would favor local, cooperative ownership and control. Organizing from the bottom up in support of bioregional self-reliance, our economic institutions would support local decision-making in response to local needs and opportunities. Cultural and biological diversity and sharing within and between local communities would support local and global resilience and facilitate life-serving system innovation.
เราจะเลือกท้องถิ่น, สหกรณ์ ให้เป็นเจ้าของและควบคุม.  การจัดแบบแผนจากล่างสู่บน ที่เกื้อกูลการพึ่งตัวเองของภูมิภาคเชิงชีวภาพ, สถาบันเศรษฐกิจของเราจะสนับสนุนการตัดสินในระดับท้องถิ่น ที่ตอบสนองความจำเป็นและโอกาสในท้องถิ่น.   ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชีวภาพ และการแบ่งปันภายในและระหว่างชุมชนท้องถิ่น จะเอื้อให้เกิดความยืดหยุ่นระดับท้องถิ่นและระดับโลก และเอื้ออำนวยให้เกิดนวัตกรรมในระบบรับใช้ชีวิต.
The result would be an economy based on a love of life that honors the original instructions and conforms to the organizing principles of nature, real markets, and true democracy. The challenge is epic in its proportion and long overdue.
ผลจะเป็นเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความรักต่อชีวิต ที่เคารพต่อคำสอนแรกเริ่ม และ ปฏิบัติตามหลักการจัดแบบแผนของธรรมชาติ, ตลาดที่แท้จริง, และประชาธิปไตยที่แท้จริง.  ข้อท้าทายคือ ความยิ่งใหญ่ในสัดส่วน ความสัมพันธ์ของมัน และ มันพ้นกำหนดมานานแล้ว.
We are Earth’s children; she is our mother. We must honor and care for her as she loves and cares for us. Together we can forge an integral partnership grounded in the learning and deep wisdom of her billion-year experience in nurturing life’s expanding capacities for intelligent self-organization, creative innovation, and self-reflective consciousness.
พวกเราเป็นลูกหลานของโลก, ท่านเป็นแม่ของพวกเรา.  เราจะต้องเคารพ ให้เกียรติ และดูแลท่าน ดั่งที่ท่านได้ให้ความรักและดูแลพวกเรา.   ร่วมกัน พวกเราสามารถหลอมรวมเป็นภาคีที่สมบูรณ์ หยั่งรากติดดินในการเรียนรู้ จากภูมิปัญญาอันล้ำลึก ด้วยประสบการณ์ถึง 3.8 พันล้านปีของท่าน ในการหล่อเลี้ยงสมรรถนะที่แผ่ขยายของชีวิต ที่มีความชาญฉลาดในการจัดแบบแผนของตัวเอง, นวัตกรรมที่สร้างสรรค์, และ จิตสำนึกที่สะท้อนความคิดด้วยตัวเองได้.

This work is licensed under a Creative Commons License

Dr. David Korten (livingeconomiesforum.org) is the author of Agenda for a New Economy, The Great Turning: From Empire to Earth Community, and the international best seller When Corporations Rule the World. He is board chair of YES! Magazine, co-chair of the New Economy Working Group, a founding board member of the Business Alliance for Local Living Economies, president of the Living Economies Forum, and a member of the Club of Rome. He holds MBA and PhD degrees from the Stanford University Graduate School of Business and served on the faculty of the Harvard Business School.
ดร.เดวิด คอร์เตน เป็นผู้ประพันธ์หนังสือ “วาระของเศรษฐกิจใหม่”, “จุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่: จากจักรวรรดิสู่ชุมชนโลก”, และ หนังสือขายดี “เมื่อบรรษัทปกครองโลก”.   เขาเป็นประธานบอร์ดของ YES! Magazine, และประธานร่วมของ คณะทำงานเศรษฐกิจใหม่, เป็นสมาชิกบอร์ดผู้ก่อตั้งของ พันธมิตรธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีชีวิต, เป็นประธานของเวที เศรษฐกิจที่มีชีวิต, และสมาชิกของ Club of Rome.  เขาได้รับปริญญาโท MBA และปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ และดำรงตำแหน่งอาจารย์ ของ Harvard Business School.

Published on Thursday, January 17, 2013 by YES! Magazine
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น