วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

167. อุตสาหกรรมอาหารทำให้เรา “กินดี อยู่ดี” ในสังคมบริโภคนิยม...จริงหรือ?



The True Costs of Industrialized Food
 by Tory Field and Beverly Bell
ราคาที่แท้จริงของอาหารอุตสาหกรรม
โดย ทอรี ฟิลด์ และ เบเวอรีย์ เบล
ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
Protesting in Los Angeles. (Photo: Jeremy Seifert, gmofilm.com)

“We are the food we eat, the water we drink, the air we breathe. And reclaiming the democratic control over our food and water and our ecological survival is the necessary project for our freedom.” [i]
- Vandana Shiva, physicist and activist
 “เราเป็นอาหารที่เรากิน, น้ำที่เราดื่ม, อากาศที่เราสูดหายใจ.  และการทวงคืนอำนาจประชาธิปไตยควบคุมเหนืออาหารและน้ำของเรา และการอยู่รอดเชิงนิเวศของเรา เป็นโครงการจำเป็นเพื่ออิสรภาพของเรา”.
-วันทนา ศิวะ, นักฟิสิกซ์ และ นักรณรงค์

The objective of much of our industrial food system is to provide a profit to shareholders and CEOs. Coca-Cola’s advertising budget was over $2.9 billion dollars in 2010, money well spent from a stockholder’s point of view: profits that year were $11.8 billion.
วัตถุประสงค์ของระบบอาหารอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของเรา คือ ทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นและเหล่า ซีอีโอ (ผู้บริหารชั้นสูงของบริษัท).  งบโฆษณาของโคคาโคลาในปี 2010 คิดเป็นกว่า $2.9 พันล้าน, ซึ่งในสายตาของผู้ถือหุ้นนับว่า ใช้ในทางที่ดี นั่นคือ กำไรในปีนั้นสูงถึง $11.8 พันล้าน.
The current system, however, was not built only to amass wealth. Many policymakers and supporters, historically as today, have been driven by the conviction that industrial agriculture is the best way to produce massive amounts of affordable food. And in some ways it has accomplished this. People in the U.S. spend relatively little on food – about 7 percent of their total spending, as compared to 13 percent in France, 23 percent in Mexico, and 38 percent in Vietnam. Most individuals in the U.S. devote less time, energy, and money to feeding ourselves than they ever have historically.
แต่ระบบปัจจุบันไม่ได้สร้างบนการเขมือบความมั่งคั่งเท่านั้น.  ผู้วางนโยบายและผู้สนับสนุนหลายคน, ทั้งในประวัติศาสตร์และทุกวันนี้, ถูกขับเคลื่อนด้วยความเชื่อที่ว่า เกษตรอุตสาหกรรม เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการผลิตอาหารมหาศาลราคาถูก.  และในบางที่ มันก็ได้ประสบความสำเร็จ.  ประชาชนในสหรัฐฯ จ่ายเงินค่าอาหารค่อนข้างน้อย—ประมาณ 7% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของพวกเขา, เมื่อเทียบกับ 13% ในฝรั่งเศส, 23% ในเม็กซิโก, และ 38% ในเวียดนาม.  ปัจเจกส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ใช้เวลา, พลังงาน, และเงินน้อยกว่าในการเลี้ยงดูพวกเขาเองเมื่อเทียบกับที่พวกเขาเคยทำในประวัติศาสตร์.
On the buying end, it seems an irresistibly good deal, our 99¢ soda or $1.50 loaf of bread. But these prices represent just a fraction of the true costs of getting that soda and bread into our shopping bags. We pay for the hidden costs of the corporate food supply chain in multiple ways, not all of them financially.
ในฝ่ายซื้อ, มันดูเหมือนเป็นข้อต่อรองดีที่อดใจไม่ได้, โซดาของเราราคา 99¢ หรือขนมปังแถวหนึ่ง $1.50.  แต่ราคาเหล่านี้สะท้อนถึงเพียงส่วนหนึ่งของต้นทุนที่แท้จริงกว่าโซดาและขนมปังจะมาถึงถุงช็อปปิ้งของเรา.  เราจ่ายต้นทุนที่แอบแฝงของห่วงโซ่อุปทานอาหารบรรษัทในหลากหลายวิธี, ไม่ใช่ด้วยการจ่ายเงินทั้งหมด.
We subsidize food corporations through our taxes, which pay for public works like transportation infrastructure for long-distance shipping (highways, airports, and railroads), communication infrastructure (satellites, television, radio and internet), energy infrastructure (coal plants and nuclear power stations), and research and development (like government-funded crop research). Tax dollars also fund the government subsidies that keep certain crop prices low, allowing corporations to create their processed foods so cheaply.
เราสนับสนุนอาหารบรรษัททางการเงินผ่านช่องทางภาษีของเรา, ที่จ่ายสำหรับงานสาธารณะเช่น สาธารณูปโภคการขนส่ง เพื่อการขนส่งทางไกล (ทางหลวง, สนามบิน, และทางรถไฟ), สาธารณูปโภคการสื่อสาร (ดาวเทียม, โทรทัศน์, วิทยุและอินเตอร์เน็ต), สาธารณูปโภคพลังงาน (โรงถ่านหิน และ สถานีพลังงานนิวเคลียร์), และ งานวิจัยและพัฒนา (เช่น งานวิจัยพืชที่ได้ทุนจากรัฐบาล).  เงินภาษีก็เป็นทุนให้รัฐบาลจ่ายเงินเพื่อประคองราคาพืชบางชนิด, ยอมให้บรรษัทผลิตอาหารแปรรูปของพวกเขาในราคาถูก.
Small- and medium-sized farmers pay extremely high hidden costs. Their farms have been steadily disappearing as land is further consolidated into the hands of fewer people. The U.S. has lost 800,000 farmers and ranchers in the last 40 years. Between 1900 and 2002, the number of farms in the U.S. shrank by 63 percent, while the average farm size increased by 67 percent.[ii] The dairy industry has undergone an even starker decline: in just over 35 years, between 1970 and 2006, the country lost 88 percent of its dairy farms, while the average herd size per farm increased from 19 to 120 cows.
เกษตรกรขนาดเล็กและกลาง จ่ายราคาแอบแฝงที่สูงยิ่ง.  พื้นที่ฟาร์มของพวกเขาหายไปเรื่อยๆ ในขณะที่ ที่ดินกลับผนึกกระจุกตัวอยู่ในมือของคนไม่กี่คน.  สหรัฐฯ ได้สูญเสียเกษตรกรและ เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ 800,000 คนในช่วง 40 ปีก่อน.  ในระหว่างปี 1900 และ 2002, จำนวนฟาร์มในสหรัฐฯ หดลง 63%, ในขณะที่ขนาดฟาร์มโดยเฉลี่ย เพิ่มขึ้น 67%.   อุตสาหกรรมโคนมได้ลดลงยิ่งชัดกว่า: ในช่วงกว่า 35 years, ระหว่างปี 1970 และ 2006, ประเทศของเราสูญเสียฟาร์มโคนมไปถึง 88%, ในขณะที่ขนาดของฝูงโคนมต่อฟาร์มเพิ่มขึ้นจาก 19 ถึง 120 ตัว.
Some populations, depending on class, race, nationality, and livelihood, pay more dearly than others. As mentioned in our previous piece, black farmers and land owners suffer. Farmworkers and other laborers all along the food supply chain also pay by receiving inadequate wages; they are twice as likely to live below the poverty line.
ประชากรบางกลุ่ม, ขึ้นกับชนชั้น, เชื้อชาติ, สัญชาติ, และวิถีชีวิต, จ่ายแพงกว่ากลุ่มอื่น.  ดังที่ได้กล่าวในบทความชิ้นก่อน, เกษตรกรผิวดำและเจ้าของที่ดินต้องตกที่นั่งลำบาก.  คนงานในฟาร์มและแรงงานอื่นๆ ตลอดทางของห่วงโซ่อุปทานอาหารก็จ่าย ด้วยค่าแรงที่ไม่พอเพียง; พวกเขามีความเป็นไปได้มากกว่าถึงสองเท่า ที่จะอยู่ใต้เส้นความยากจน.
As consumers, we all pay with our health and well-being. Our country’s most popular cuisine is affectionately called ‘junk,’ after all. Eating the highly processed food made readily available to us has led to epidemic levels of diabetes and heart disease. Individuals get chastised for their own diet-related problems while ‘junk’ food is much easier and cheaper to access than healthy food.
ในฐานะผู้บริโภค, พวกเราทั้งหมดจ่ายด้วยสุขภาพและความอยู่ดีมีสุขของเรา.  อาหารยอดนิยมที่สุดของประเทศเรา ถูกเรียกด้วยความเอ็นดูว่า “ขยะ”.   การกินอาหารแปรรูปชั้นสูงที่พร้อมกินสำหรับพวกเรา ได้นำไปสู่การแพร่ระบาดของเบาหวานและโรคหัวใจ.  ปัจเจกถูกตำหนิว่าปัญหามาจากการกินของพวกเขา ในขณะที่ อาหาร “ขยะ” เข้าถึงได้ง่ายมากและราคาถูกกว่าอาหารสุขภาพมาก.
Recent outbreaks of Listeria and stomach acid-resistant E. coli are other manifestations of the costs to our health. Food-safety experts blame the industrialized production of grain-fed cattle and poultry for the emergence of these dangerous bacteria strains.[iii]
การปะทุขึ้นของ ลิสเตอเรีย และ อี.โคไล ที่ดื้อต่อกรดในกระเพาะ ก็เป็นอีกรูปหนึ่งของราคาที่เราจ่าย.  ผู้เชี่ยวชาญทางความปลอดภัยของอาหาร กล่าวโทษกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมเลี้ยงวัวและสัตว์ปีกด้วยธัญพืช ว่าเป็นสาเหตุของสายพันธุ์แบคที่เรียที่อันตรายเหล่านี้.
Our planet pays profound hidden costs: polluted water, air, and soil; deforestation; acid rain; species extinction; and climate change. The corporate food system wreaks countless ecological harms.
โลกพิภพของเราจ่ายราคาแอบแฝงที่ลึกล้ำ:  มลภาวะในน้ำ, อากาศ, และดิน; ทำลายป่า; ฝนตกเป็นกรด; การสูญสายพันธุ์; และภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง.  ระบบอาหารบรรษัททำให้เกิดความเสียหายเชิงนิเวศนับมาถ้วน.
Spraying toxic pesticides on our food has become the norm, so much so that we have come to view it as part of ‘conventional’ agriculture, though there’s nothing conventional about it. Introduced in large scale only after World War II, using surplus warfare chemicals, pesticides are now applied at a rate of 1.1 billion pounds per year in the U.S. That’s 22 percent of the world’s total use.[iv] These chemicals move throughout our ecosystem, making their way into groundwater and our drinking supply, traveling down streams and rivers, and eventually reaching the ocean. In just one example, fertilizer running off fields and down the Mississippi River has created such an imbalance that there is a ‘dead zone’, where nothing can survive, in the Gulf of Mexico the size of New Jersey.[v] Pesticides also wind up on our plates and in our bloodstreams. In 2005, the Environmental Working Group tested the umbilical cords of 10 babies from different U.S. hospitals and found an average of 200 industrial chemicals and pollutants in their blood, including a number of pesticides.[vi]
การฉีดสเปรย์ยาฆ่าแมลงที่เป็นพิษในอาหารของเราได้กลายเป็นเรื่องปกติวิสัย, มากต่อมากที่ได้กลายเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเกษตร “ธรรมดา”, แม้ว่า มันไม่มีอะไรธรรมดา.  มันถูกนำเข้ามาใช้ในปริมาณมหาศาลหลังสงครามโลกครั้งที่สองนี้เอง, โดยใช้สารเคมียุทโธปกรณ์ส่วนเกิน, ปัจจุบัน ยาฆ่าแมลงถูกใช้ในอัตรา 1.1 พันล้านปอนด์/ปี ในสหรัฐฯ.  คิดเป็น 22% ของปริมาณทั้งหมดในโลก.   สารเคมีเหล่านี้ เคลื่อนกระจายอยู่ทั่วระบบนิเวศของเรา, เล็ดลอดลงสู่น้ำบาดาลและแหล่งน้ำดื่มของเรา, ล่องสู่ปลายน้ำตามแม่น้ำลำธาร และในที่สุดก็ถึงมหาสมุทร.  เอาเพียงตัวอย่างหนึ่ง, ปุ๋ยที่ไหลล้นออกจากไร่นาลงสู่แม่น้ำมิสซิสซิปปี ได้ทำลายความสมดุลจนกลายเป็น “แดนตาย”, ที่ไม่มีอะไรจะมีชีวิตเหลือรอดได้, ในอ่าวเม็กซิโก ขนาดเท่ารัฐนิวเจอร์ซี.   ยาฆ่าแมลงยังลงเอยในจานอาหารและในกระแสเลือดของเรา.  ในปี 2005, คณะทำงานสิ่งแวดล้อมได้ตรวจสายรกของทารก 10 คนจากโรงพยาบาลต่างๆ ในสหรัฐฯ และพบโดยเฉลี่ยสารเคมีอุตสาหกรรมและสารปนเปื้อน, รวมทั้งยาฆ่าแมลงกว่า 200 ชนิดในกระแสเลือดของทารกเหล่านั้น.
Monocropping, a farming system where the same crop is grown on a piece of land year after year, is foundational to industrial-scale agriculture. Yet it depletes the soil, upends the ecological balance, and creates conditions highly susceptible to pests and disease, requiring more pesticides and fertilizers.
การปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว, เป็นระบบเกษตรกรรมที่พืชชนิดเดียวกันปลูกในที่ดินผืนเดียวกันซ้ำๆ ทุกปี, เป็นรากฐานของเกษตรกรรมขนาดอุตสาหกรรม.  แต่มันทำลายดิน, ทำให้ความสมดุลเชิงนิเวศตีลังกา, และสร้างเงื่อนไขให้อ่อนไหวต่อแมลงและเชื้อโรค, จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยมากขึ้น.
If all of these costs showed up in the prices we pay at the store, things would be very different. If prices reflected the oil that powers the jet to bring a banana thousands of miles, together with the air pollution that results, the workers’ healthcare costs after handling pesticides, and the future loss of soil health due to monocropping, this fruit would certainly be a luxury item in the North rather than part of an average American breakfast.
หากต้นทุนเหล่านี้ถูกเผยออกหมดในราคาที่เราต้องจ่ายที่ร้าน, ทุกอย่างจะต่างออกไปยิ่ง.  หากราคาสะท้อนน้ำมันที่ขับเคลื่อนเครื่องบินเจ็ตเพื่อนำกล้วยหอมที่อยู่ไกลเป็นพันๆ ไมล์, พร้อมกับผลการปล่อยมลพิษในอากาศ, ต้นทุนการรักษาสุขภาพของคนงานหลังจากการฉีดยาฆ่าแมลง, และการสูญเสียสุขภาพดินในอนาคต เพราะการปลูกพืชเชิงเดี่ยว, ผลไม้ชิ้นนี้ต้องเป็นสินค้าฟุ้งเฟ้อแน่นอนในซีกโลกเหนือ แทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งของอาหารเช้าของชาวอเมริกันธรรมดาทั่วไป.
Has agribusiness won such control that a turnaround is impossible? No. Small farmers, grassroots groups, and advocacy organizations are demanding food sovereignty, meaning the right of every people to produce adequate, healthy, affordable, and culturally appropriate food for all. They are everywhere creating and supporting community-controlled, scaled-down, local food networks. Dismantling the governmental policies and global trade rules that have taken agriculture out of the hands of small farmers the world over is the prerequisite for claiming a just and healthy food system.
เกษตรพาณิชย์ได้ควบคุมเบ็ดเสร็จถึงขั้นเปลี่ยนกลับคืนไม่ได้แล้วหรือ?  ไม่ใช่.  เกษตรกรขนาดเล็ก, กลุ่มรากหญ้า, และองค์กรรณรงค์ต่างๆ กำลังเรียกร้องอธิปไตยทางอาหาร, หมายถึงสิทธิของคนทุกคนในการผลิตอาหารที่พอเพียง, แข็งแรงสมบูรณ์, จ่ายไหว, และเหมาะสมเชิงวัฒนธรรมสำหรับคนทั้งปวง.  พวกเขามีอยู่ทุกแห่งหน กำลังสร้างและสนับสนุน เครือข่ายอาหารท้องถิ่น, ขนาดเล็กลง, และชุมชนควบคุม.  การรื้อถอนนโยบายรัฐบาลและกฎระเบียบการค้าโลกที่ได้แย่งเกษตรกรรมออกจากมือของเกษตรกรรายย่อยทั่วโลก เป็นสิ่งที่ต้องทำก่อน เพื่อทวงคืนระบบอาหารที่เป็นธรรมและสมบูร์แข็งแรง.
* * *
i. Vandana Shiva, Earth Democracy: Justice, Sustainability, and Peace (Massachusetts: South End Press, 2005), 5
ii. Carolyn Dimitri, Anne Effland, and Neilson Conklin, “The 20th Century Transformation of U.S. Agriculture and Farm Policy,” USDA Economic Research Service, Electronic Information Bulletin, No. 3, June 2005, www.ers.usda.gov/publications/eib3/eib3.htm. An additional statistic from the EPA reports that the number of farms in the U.S. fell from 6.8 million in 1935 to about 2 million in 1997. U.S. Environmental Protection Agency, “Demographics,” modified September 10, 2009, accessed February 29, 2012, www.epa.gov/oecaagct/ag101/demographics.html.
iii. Nina Planck, “Leafy Green Sewage,” The New York Times online, September 9, 2006, http://www.nytimes.com/2006/09/21/opinion/21planck.html?ex=1159675200&en=219a8917c1497 4f2&ei=5070. Made to digest grasses, the stomachs of these animals become unnaturally acidic on grain diets, creating perfect laboratories for bacteria that are harmful to humans. Farms try to counteract these bacteria by using vast amounts of antibiotics. In 2009, nearly 29 million pounds of antibiotics were sold for animal production. 2009 FDA report referenced by Helena Bottemiller, “FDA Releases First Estimate on Antibiotics in Ag,” December 13, 2010, Food Safety News, www.foodsafetynews.com/2010/12/fda-releases-first-estimate-on-antibiotic-in-ag/.
iv. Michael Pollan, The Omnivore’s Dilemma: A Natural History of Four Meals (New York: Penguin, 2006). Arthur Grube, et al., “Pesticide Industry Sales and Usage 2006 and 2007 Market Estimates,” US Environmental Protection Agency, February 2011, http://www.epa.gov/opp00001/ pestsales/07pestsales/usage2007.htm#3_1.
v. Elizabeth Weise, “Gulf of Mexico Dead Zone Predicted to be the Size of New Jersey This Year,” USA Today online, June 29, 2010, http://content.usatoday.com/communities/sciencefair/ post/2010/06/gulf-of-mexico-dead-zone-predicted-to-be-the- size-of-new-jersey-this-year/1.
vi. Environmental Working Group, “Body Burden - The Pollution in Newborns: A benchmark investigation of industrial chemicals, pollutants, and pesticides in umbilical cord blood,” July 14, 2005, http://www.ewg.org/reports/bodyburden2/execsumm.php.

Copyleft Other Worlds
Tory Field is Research and Education Coordinator for Other Worlds. Tory is an organizer living in Massachusetts. She worked for many years as a community organizer with Arise for Social Justice, a multi-issue community justice organization in Springfield, MA. where she now serves on the Board of Directors.
ทอรี ฟิลด์ เป็นผู้ประสานงานด้านวิจัยและการศึกษา ของ กลุ่ม Other Worlds (โลกอื่นๆ).  ทอรีเป็นนักจัดกระบวน อาศัยอยู่ในแมสซาชูเซ็ท.  เธอได้ทำงานมาหลายปีในฐานะผู้จัดกระบวนชุมชน กับ Arise for Social Justice (ลุกขึ้นเพื่อสังคมเป็นธรรม), ซึ่งเป็นองค์กรชุมชนเป็นธรรมหลายประเด็น ในสปริงฟิลด์, ที่ๆ เธอเป็นกรรมการในบอร์ดผู้อำนวยการ.
Beverly Bell is the founder of Other Worlds and more than a dozen international organizations and networks, Beverly is also an Associate Fellow at the Institute for Policy Studies. Beverly has worked for more than three decades as an organizer, advocate, and writer in collaboration with social movements in Latin America, the Caribbean, Africa, and the U.S.   She is the author of the book Walking on Fire: Haitian Women's Stories of Survival and Resistance.
เบเวอรีย์ เบล เป็นผู้ก่อตั้ง Other Worlds และองค์กรนานาชาติและเครือข่ายอีกกว่าโหล, เบเวอรีย์เป็น Associate Fellow ที่สถาบันนโยบายศึกษา. เธอได้ทำงานมากว่าสามทศวรรษในฐานะนักจัดกระบวน, นักรณรงค์, และนักเขียนร่วมกับการขับเคลื่อนทางสังคมในลาตินอเมริกา, คาริบเบียน, อาฟริกา, และ สหรัฐฯ.  เธอเขียนหนังสือ Walking on Fire: Haitian Women's Stories of Survival and Resistance (เดินบนไฟ: เรื่องราวการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดและต่อต้านของผู้หญิงชาวไฮติ).
Published on Monday, March 25, 2013 by Other Worlds

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น