วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

166. การแก้วิกฤตนิเวศปัจจุบัน ไม่ใช่เพราะขาดเทคโนโลยี แต่ขาดความกล้าจินตนาการสู่โลกที่ดีกว่า



Building Sustainable Future Needs More Than Science, Experts Say
การสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ต้องการมากกว่าวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญกล่าว
โดย สตีเฟน เลฮี
VANCOUVER - Contrary to popular belief, humans have failed to address the earth's worsening emergencies of climate change, species' extinction and resource overconsumption not because of a lack of information, but because of a lack of imagination, social scientists and artists say.
At a conference for the American Academy for the Advancement of Science (AAAS) here in Vancouver, British Columbia, experts argued that the path to a truly sustainable future is through the muddy waters of emotions, values, ethics, and most importantly, imagination.
Humans' perceptions of reality are filtered by personal experiences and values, said David Maggs, a concert pianist and PhD student at the Institute for Resources, Environment and Sustainability at the University of British Columbia (UBC).
As a result, the education and communication paradigm of "if we only knew better, we'd do better" is not working, Maggs told attendees at the world's largest general science meeting. "We don't live in the real world, but live only in the world we imagine."
"We live in our heads. We live in storyland," agreed John Robinson of UBC's Institute for Resources, Environment and Sustainability.
"When we talk about sustainability we are talking about the future, how things could be. This is the landscape of imagination," Robinson told IPS. "If we can't imagine a better world we won't get it."
This imagining will be complex and difficult. Sustainability encompasses far more than just scientific facts – it also incorporates the idea of how we relate to nature and to ourselves, he said.
"We haven't yet grasped the depth of changes that are coming."
Because human decisions and behavior are the result of ethics, values and emotion, and because sustainability directly involves our values and ethical concerns, science alone is insufficient to make decisions about sustainability, said Thomas Dietz, assistant vice president for environmental research at Michigan State University.
Information plays a much smaller role than we like to think, Dietz explained. In order to truly address big issues like climate change or sustainability, we need to talk at a society-wide scale about our values and reach mutual understanding about the values needed for sustainability.
"When we talk about sustainability we are talking about the future, how things could be. This is the landscape of imagination... If we can't imagine a better world we won't get it." --John Robinson of UBC's Institute for Resources, Environment and Sustainability  "However, we don't like to talk about our values or feelings, because it threatens our personal identity."
Engaging the public
Treating nature as an object, separate and distinct from us, is part of the problem, said Sacha Kagan, sociologist at Leuphana University in Germany. The current environmental crisis results from technological thinking and a fear of complexity that science alone cannot help us with, Kagan said.
The objectification of the natural world began during the Age of Enlightenment about 300 years ago. People saw the world and their place in it in very different ways before that, said Robinson.
Today, he said, sustainability will not be achieved without "engaging people in numbers and at levels that have never been done before".
New social media tools like Facebook may help with such a monumental task, as "people certainly don't like to come to public meetings".
Current approaches to help the public understand the implications of climate change, such as graphs or iconic pictures of polar bears, have limitations and are ineffective, said Mike Hulme, a climate scientist at the University of East Anglia in the UK.
"We need to find new ways to think about the future under climate change," said Hulme.
Art could be one such approach, suggested Dietz. It would serve not as propaganda but as a creative way to engage our imaginations. "Art can provoke thinking and actually change people's perceptions of the complex issues associated with sustainability science," he argued.
"When we're considering questions about preserving biodiversity versus creating jobs, art can help us examine our values and have a discussion that's broader than just scientific facts."
It is tempting to believe the arts can help by softening and 'pretty-fying' the message and bringing it to a wider audience, said award-winning photographer Joe Zammit-Lucia.
"We need to go much further to provide a different worldview that can help us re-frame the issues," said Zammit-Lucia.
Society's choices are driven by people's cultural perceptions of reality, which in turn are based on their values and their cultural context, he said. While helpful, scientific knowledge and experts are also part of the problem: by dominating the sustainability discourse, they narrow people's visions of what's possible.
"I also don't buy in the idea we need to make the right decisions. What we need is the right process, ways in which the public can fully participate," he concluded.
© 2012 IPS North America
Stephen Leahy is the international science and environment correspondent for the Inter Press Service News Agency (IPS).
แวนคูเวอร์ – ตรงข้ามกับความเชื่อทั่วไป มนุษย์ได้ล้มเหลวในการแก้ไขภาวะฉุกเฉินที่แย่ลงบนผืนพิภพ เกี่ยวกับภูมิอากาศผันผวน การสูญสิ้นสายพันธุ์และการถลุงหรือบริโภคทรัพยากรเกินพอ ไม่ใช่เพราะขาดข้อมูล แต่เพราะขาดจินตนาการ นักวิทยาศาสตร์สังคม และศิลปินกล่าว
ณ การประชุมทางวิชาการสำหรับ อเมริกันอคาเดมีสำหรับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ (AAAS) ที่แวนคูเวอร์ บริติชโคลัมเบีย  ผู้เชี่ยวชาญโต้แย้งว่า หนทางสู่อนาคตที่ยั่งยืนที่แท้จริงนั้น ต้องลุยผ่านน้ำโคลนตมของอารมณ์ ค่านิยม จริยธรรม และที่สำคัญที่สุด จินตนาการ
ความเข้าใจความจริงของมนุษย์ถูกกรองผ่านประสบการณ์และค่านิยมส่วนบุคคล เดวิด แมกซ์กล่าว (นักเปียโนคอนเสิร์ต และนักศึกษาปริญญาเอกที่สถาบันทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย (UBC)
ด้วยเหตุนี้ กรอบคิดของการศึกษาและการสื่อสารของ “หากเพียงแค่เรารู้ดีกว่านี้ เราจะทำได้ดีกว่านี้” จึงใช้การไม่ได้ แมกซ์บอกผู้เข้าฟังในที่ประชุมวิทยาศาสตร์ทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดของโลก  “เราไม่ได้มีชีวิตอยู่ในโลกแห่งความจริง แต่อยู่ในโลกที่เราจินตนาการขึ้น”
“เรามีชีวิตอยู่ในหัวของเราเอง  เราอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนิทาน” จอห์น โรบินสันแห่งสถาบันทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ที่ UBC เห็นพ้อง
“เมื่อเราพูดเกี่ยวกับความยั่งยืน เรากำลังพูดเกี่ยวกับอนาคตว่า มันสามารถเป็นอย่างไรได้   นี่เป็นภูมิทัศน์ของจินตนาการ” โรบินสันกล่าวต่อ ไอพีเอส  “หากเราไม่สามารถจินตนาการโลกที่ดีกว่านี้ได้ เราก็ไม่สามารถได้มันมา”
การจินตนาการนี้จะเป็นเรื่องซับซ้อนและยาก   ความยั่งยืนมีความหมายมากเกินเลยแค่ข้อเท็จจริงเชิงวิทยาศาสตร์—มันยังผนวกความคิดเห็นที่ว่า เราควรมีความสัมพันธ์ต่อธรรมชาติและต่อตัวเราเองอย่างไร เขากล่าว
“พวกเรายังไม่ตระหนักถึงความลึกล้ำของการเปลี่ยนแปลงที่กำลังคืบคลานเข้ามา”
เพราะเหตุที่ว่า การตัดสินใจและพฤติกรรมของมนุษย์ล้วนเป็นผลของจริยธรรม ค่านิยมและอารมณ์ และเพราะความยั่งยืนเกี่ยวข้องโดยตรงกับค่านิยม และความห่วงใยเชิงจริยธรรมของเรา  ลำพังวิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอที่จะทำการตัดสินใจเกี่ยวกับความยั่งยืน  โทมัส ดิเอทซ์ กล่าว (ผู้ช่วยรองอธิการด้านการวิจัยสิ่งแวดล้อม ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท)
ข้อมูลมีบทบาทน้อยกว่าที่เราคิดมาก ดิเอทซ์อธิบาย   เพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาใหญ่ได้อย่างจริงจัง เช่น ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง หรือความยั่งยืน เราจำเป็นต้องพูดในระดับสังคมกว้าง เกี่ยวกับค่านิยมของเรา และบรรลุความเข้าใจต่อกันและกันเกี่ยวกับค่านิยมที่จำเป็นสำหรับความยั่งยืน
“เมื่อเราพูดเกี่ยวกับความยั่งยืน เรากำลังพูดเกี่ยวกับอนาคตว่า มันสามารถเป็นอย่างไรได้   นี่เป็นภูมิทัศน์ของจินตนาการ ... หากเราไม่สามารถจินตนาการโลกที่ดีกว่านี้ได้ เราก็ไม่สามารถได้มันมา” จอห์น โรบินสันกล่าว  “แต่เราไม่ชอบพูดเกี่ยวกับค่านิยมหรือความรู้สึกของเรา เพราะมันคุกคามอัตลักษณ์ หรือตัวตนของเรา”
ทำให้สาธารณชนมีส่วนร่วม
การกระทำต่อธรรมชาติประหนึ่งสิ่งของ แปลกแยกและแตกต่างจากเรา เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ซาชา คาแกน กล่าว (นักสังคมวิทยาแห่ง มหาวิทยาลัยลิวฟานา ในเยอรมันนี)   วิกฤตสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน เป็นผลจากความคิดเชิงเทคโนโลยี และความกลัวเรื่องซับซ้อนที่ลำพังวิทยาศาสตร์ ไม่สามารถช่วยพวกเราได้ คาแกนกล่าว
การทำให้โลกธรรมชาติกลายเป็นวัตถุ เริ่มขึ้นในยุคเรืองปรีชาญาณ เมื่อประมาณ 300 ปีก่อน  ผู้คนยุคก่อนหน้านั้นมองเห็นโลก และที่ทางของตนในโลกด้วยทัศนคติที่ต่างออกไปมาก  โรบินสันกล่าว
ทุกวันนี้ ความยั่งยืนจะไม่สามารถบรรลุถึงได้โดยปราศจาก “การทำให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมในจำนวน และที่ระดับที่ไม่เคยทำกันมาก่อน” เขากล่าว
เครื่องมือสื่อสังคมใหม่ เช่น เฟสบุ๊ค อาจช่วยงานมหึมาเช่นนี้ได้ เพราะ “ผู้คนไม่ชอบมาร่วมประชุมในที่สาธารณะอย่างแน่นอน”
แนวทางปัจจุบันในการช่วยให้สาธารณชนเข้าใจถึงนัยสำคัญของภูมิอากาศผันผวน เช่น กราฟ หรือรูปสัญลักษณ์ของหมีขั้วโลก มีข้อจำกัด และไม่มีประสิทธิผล  ไมค์ ฮูล์ม กล่าว (นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศ ที่มหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย ในสหราชอาณาจักร)
“เราต้องหาวีธีคิดใหม่เกี่ยวกับอนาคตภายใต้การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ” ฮูล์ม กล่าว
ศิลปะน่าจะเป็นแนวทางดังกล่าวประการหนึ่ง ดิเอทซ์ แนะ   มันจะทำหน้าที่ไม่เพียงแต่ประชาสัมพันธ์ แต่ยังเป็นวิธีสร้างสรรค์ที่ดึงจินตนาการให้มีส่วนร่วม  “ศิลปะสามารถยั่วยุให้เกิดความคิด และที่แท้ก็เปลี่ยนมุมมองของคนได้ ต่อประเด็นซับซ้อน ที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ของความยั่งยืน” เขากล่าวแย้ง
“เมื่อเรากำลังพิจารณาคำถามเกี่ยวกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เปรียบเทียบกับการสร้างงาน ศิลปะสามารถช่วยเราตรวจสอบค่านิยมของเรา และเปิดการอภิปรายที่กว้างกว่าเพียงข้อเท็จจริงเชิงวิทยาศาสตร์”
คนมักเชื่อว่า ศิลปะสามารถด้วยการทำให้ข้อความที่ต้องการสื่อออกไปฟังรื่นหู และ น่ารักขึ้น และเข้าหูผู้ฟังวงกว้างขึ้น โจ ซามมิท-ลูเซีย กล่าว (นักถ่ายภาพผู้ชนะรางวัล)
“เราจำเป็นต้องไปให้ไกลกว่านั้นมาก เพื่อเสนอโลกทัศน์ที่แตกต่าง ที่จะสามารถช่วยเราวางกรอบคิดใหม่เพื่อวิเคราะห์ประเด็นเหล่านี้  ซามมิท-ลูเซีย กล่าว
ทางเลือกของสังคม ถูกขับเคลื่อนโดยมุมมองเชิงวัฒนธรรมของประชาชนต่อสภาพความเป็นจริง ซึ่งในทางกลับกัน ตั้งอยู่บนพื้นฐานของค่านิยมของพวกเขา และบริบทเชิงวัฒนธรรมของพวกเขา เขากล่าว    แม้ว่าจะมีประโยชน์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญ ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเช่นกัน ด้วยการตั้งตัวเป็นใหญ่ในวาทกรรม พวกเขาจำกัดวิสัยทัศน์ของประชาชนให้เห็นแคบลงว่า อะไรเป็นไปได้
“ผมก็ไม่ยอมรับความคิดเห็นที่ว่า เราจำเป็นต้องตัดสินใจให้ถูก  สิ่งที่เราต้องการคือ กระบวนการที่ถูก หนทางวิธีการที่สาธารณชน สามารถมีส่วนร่วมได้เต็มที่” เขาสรุป
Published on Monday, February 20, 2012 by Inter Press Service  / ดรุณี แปล / 2-26-12

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น