วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

168. สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ในสายตาของโลก (ภาค ๑)

The Engaged Buddhism of Sulak Sivaraksa
BY MATTEO PISTONO
ศาสนาพุทธที่ไม่หนีโลก ของ สุลักษณ์ ศิวรักษ์
โดย แมททีโอ พิสโตโน
  ดรุณี ตันติวิรมานนท์ แปล
Note: Sulak Sivaraksa turns 80 years of age on March 27, 2013
  หมายเหตุ:  สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ครบอายุ 80 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม  2013

Sulak reinterprets the five classic Buddhist precepts for the modern day. Individuals may not be killing outright, but they must examine how their actions might support wars, racial conflict, or the breeding of animals for human consumption. Considering the second precept of abstaining from stealing, Sulak questions the moral implications of capitalism. Stopping exploitation of women is a natural extension of the third precept of abstaining from sexual misconduct. And vowing to abstain from false speech would naturally bring into question how mass media and education promote a biased view of the world. Finally, the fifth precept to avoid intoxicants deals with international peace and justice because, “the Third World farmers grow heroin, coca, coffee, and tobacco because the economic system makes it impossible for them to support themselves growing rice and vegetables.”
สุลักษณ์ ตีความใหม่เบญจศีลสำหรับยุคสมัยใหม่.  บุคคลไม่ควรปลิดชีวิต, แต่ต้องตรวจสอบว่า การกระทำของพวกเขาว่าอาจสนับสนุนสงคราม, ความขัดแย้งทางเชื้อชาติ, หรือผสมพันธุ์สัตว์เพื่อการบริโภคของมนุษย์ อย่างไร.  เมื่อพิจารณาศีลข้อสอง ไม่ลักทรัพย์, สุลักษณ์ ตั้งคำถามต่อสมมติฐานเชิงศีลธรรมของทุนนิยม.  การยุติการกดขี่ข่มเหงสตรี เป็นการต่อยอดโดยธรรมชาติของศีลข้อสาม งดการประพฤติผิดในกาม.  และการตั้งสัตย์ว่า จะงดการพูดปด ก็ย่อมนำไปสู่คำถามที่ว่า สื่อสารมวลชนและการศึกษาได้ส่งเสริมมุมมองอคติของโลก.  ในที่สุด, ศีลข้อห้า งดดื่มของมึนเมา เกี่ยวข้องกับสันติภาพและความยุติธรรมสากล เพราะ, “ชาวนาในโลกที่สามปลูกเฮโรอีน, โกโก้, กาแฟ, และยาสูบ เพราะระบบเศรษฐกิจทำให้พวกเขาเลี้ยงดูตัวเองด้วยการผลูกข้าวและผักไม่ได้”.
Prominent Buddhist writer and activist, Sulak Sivaraksa, changed his clothes to appear like other locals bartering and selling wares along the northern Thailand border. He pulled his hat low as he knew his face had been broadcast the previous three nights on national TV as a fugitive. Slipping a large bribe to a riverboat man to avoid the Thai border security check-post, Sulak made it across the Mekong River to Laos in a small canoe, undetected. In August 1991, he was a wanted man, on the run.
นักเขียนและนักรณรงค์ชาวพุทธที่โดดเด่น, สุลักษณ์ ศิวรักษ์, ได้เปลี่ยนเสื้อผ้า ดูภายนอกเหมือนชาวบ้านท้องถิ่นที่แลกเปลี่ยนขายของตามชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย.  เขาดึงหมวกของเขาลงต่ำ เพราะรู้ว่า หน้าของเขาได้ถูกเผยแพร่สามคืนก่อนบนสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ในฐานะผู้ลบหนี.  ด้วยการสอดเงินสินบนให้คนแจวเรือ เพื่อหลีกเลี่ยงด่านตรวจในเขตไทย, สุลักษณ์ ข้ามแม่น้ำโขงไปฝั่งลาวในเรือพายเล็กๆ, โดยไม่ถูกจับ.  ในเดือนสิงหาคม 1991, เขาเป็นคนถูกหมายหัว, ต้องหลบหนี.
An arrest warrant had been issued for Sulak following a speech at Thammasat University entitled “The Regression of Democracy in Siam.” In response, he took refuge inside the German embassy in Bangkok. Police cars awaited Sulak outside the embassy gates, and plain-clothed officers were posted near his home where his worried wife stayed with their three children. After a two-week standoff at the embassy, Sulak indicated he would give himself up to the police to face strict charges of lèse majesté — which bans criticism of the King, royal family, and the Thai military — and brings with it a minimum 15-year prison sentence.
มีการออกหมายจับ สุลักษณ์ หลังจากปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ “การถดถอยหลังของประชาธิปไตยในสยาม”.  เพื่อตอบสนอง, เขาลี้ภัยที่สถานทูตเยอรมันในกรุงเทพฯ.  รถตำรวจรอสุลักษณ์อยู่นอกประตูรั้วสถานทูต, และตำรวจนอกเครื่องแบบได้ประจำการอยู่ใกล้บ้านของเขา ที่ๆ ภรรยาผู้ห่วงวิตกอาศัยอยู่กับลูกๆ สามคน.  หลังจากยืนคอยอยู่สองสัปดาห์, สุลักษณ์แจ้งว่า เขาจะยอมให้ตำรวจจับเพื่อสู้คดีข้อกล่าวหาเข้มงวดโทษฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ—ที่ห้ามวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์, พระบรมวงศ์สานุวงษ์, และกองทัพไทย—และตามด้วยการลงโทษจองจำอย่างต่ำ 15 ปี.
Instead of surrendering to police the next morning, Sulak made a surreptitious dash out an alleyway gate, ducked into a car and headed for the Thai-Lao border. Taking back roads and sleeping in safe houses and the jungle, Sulak listened to radio broadcasts calling him a rat and a criminal.
แทนที่จะยอมให้ตำรวจจับกุมในวันรุ่งขึ้น, สุลักษณ์ ได้หลบซ่อนเล็ดลอดออกทางประตูข้าง, หลบเข้ารถและตรงไปยังชายแดนไทย-ลาว.  เดินทางด้วยถนนเงียบๆ และนอนหลับในบ้านที่ปลอดภัยและในป่า, สุลักษณ์ ฟังการกระจายข่าวทางวิทยุ ที่เรียกเขาว่า หนู และ อาชญากร.
After he made it across the Mekong to Laos, Sulak was on his own with only a few hundred baht and a package of saltine crackers in his satchel. He was scared, but as he rode a rickety bus on his way to a friendly Laotian diplomat’s home he meditated upon his breath to calm his mind. After two days in hiding, Sulak boarded an Aeroflot flight, using the boarding pass of a student en route to Russia to study. He eventually arrived in Stockholm where he called his wife, knowing the police had tapped his home telephone, and told her he was safe, but did not know how long he would be in exile.
หลังจากที่เขาได้ข้ามแม่น้ำโขงสู่ลาว, สุลักษณ์ ก็ต้องพึ่งตัวเอง มีเงินเพียงไม่กี่ร้อยบาทติดตัว และ ห่อขนมปังเค็มกรอบในย่ามของเขา.  เขารู้สึกกลัว, แต่ในขณะนั่งรถโดยสารที่จวนจะพังเดินทางไปสู่บ้านเพื่อนนักการทูตชาวลาว เขาทำสมาธิด้วยการกำหนดลมหายใจให้จิตใจสงบ.  หลังจากหลบซ่อนอยู่สองวัน, สุลักษณ์ขึ้นเครื่องบิน แอโรโฟลต, ด้วยการใช้ใบขึ้นเครื่องของนักศึกษาที่เดินทางไปรัสเซียเพื่อเรียนต่อ.  ในที่สุดเขาก็ได้มาถึง สต็อกโฮม ที่ๆ เขาโทรศัพท์ถึงภรรยา, ทั้งๆ ที่รู้ว่า ตำรวจได้ลอบฟังโทรศัพท์ในบ้านของเขา, และบอกภรรยาว่า เขาปลอดภัยแล้ว, แต่ไม่รู้ว่าเขาจะต้องเนรเทศอยู่นานเท่าไร.
************
Throughout the Buddhist world there are practitioners whose spiritual path is one and the same with their work in politics. Indeed two of the most prominent global Buddhist leaders are the Dalai Lama and Thich Nhat Hanh, monks who are known for their life-long promotion of social justice and compassion in action. And recently, Aung Sang Suu Kyi’s release from house arrest by the military junta and her election to parliament has placed this Burmese Buddhist at the center of the world political stage.
ทั่วโลกชาวพุทธ มีนักปฏิบัติ ผู้วิถีจิตวิญญาณ เป็นมรรคาเดียว และอันเดียวกับงานของพวกเขาในการเมือง.  อันที่จริง ผู้นำโลกชาวพุทธที่โดดเด่นที่สุด คือ ทาไลลามะ และ ติชนัทฮันห์, พระภิกษุที่รู้จักกันในฐานะที่ได้ส่งเสริมสังคมเป็นธรรมและความเมตตากรุณาในการกระทำมาตลอดชีวิต.  และเมื่อเร็วๆ นี้, การปล่อย อองซานซูจี จากการกักบริเวณในบ้าน โดยกองทัพ และการเลือกตั้งเธอสู่รัฐสภา ได้ยกชาวพุทธพม่าคนนี้ ให้อยู่ใจกลางเวทีการเมืองโลก.
Political strife in Tibet, Vietnam and Burma has pushed the Dalai Lama, Thich Nhat Hanh, and Aung Sang Suu Kyi into greater roles and responsibility than they otherwise might have had. And like these socially engaged Buddhists, Sulak Sivaraksa’s political activism, community organizing, and work for marginalized people manifests from his Buddhist practice.
ความขัดแย้งทางการเมืองในธิเบต, เวียดนาม และ พม่า ได้ผลักดันให้ท่านทาไลลามะ, ติชนัทฮันห์, และ อองซานซูจี ให้มีบทบาทและความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่กว่าที่พวกเขาอาจมีได้หากเหตุการณ์เป็นอื่น.  และก็เหมือนชาวพุทธที่ไม่หนีโลกเหล่านี้, การรณรงค์ทางการเมือง, การจัดกระบวนชุมชน, และการทำงานกับประชาชนชายขอบของ สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ได้แสดงออกในการปฏิบัติเยี่ยงชาวพุทธ.
For his activism, writings, and speeches, Sulak has been exiled from Thailand on two occasions (1976-77 and 1991-94), jailed four times, and been accused repeatedly of defaming the Thai monarchy, but he has always won acquittals. Nobody has successfully silenced Sulak.
สำหรับการรณรงค์, งานเขียน, และปาฐกถาของเขา, สุลักษณ์ได้ถูกเนรเทศจากประเทศไทยในสองวาระ (1976-77 and 1991-94), ถูกจำคุกสี่ครั้ง, และถูกกล่าวหาซ้ำๆ ว่าได้ลบหลู่สถาบันพระมหากษัตริย์, แต่เขาก็ชนะการอุทธรณ์และตัดสินให้พ้นโทษเสมอ.  ไม่มีใครปิดปากสุลักษณ์ได้สำเร็จ.
For the last 35 years, Sulak has traveled the world lecturing, writing, mentoring, participating in inter-religious dialogues, and founding organizations such as the International Network of Engaged Buddhists, with his friends the Dalai Lama, Thich Nhat Hanh, and the late Maha Gosananda as its patrons. All the while, he has published his own and others’ books and articles; Sulak has more than 100 books in Thai and English in his name.
ในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา, สุลักษณ์ได้เดินทางไปทั่วโลก บรรยาย, เขียน, ให้คำปรึกษา, มีส่วนร่วมในสานเสวนาระหว่างหลากศาสนา, และ ก่อตั้งองค์กรมากมาย เช่น เครือข่ายสากลชาวพุทธไม่หนีโลก (International Network of Engaged Buddhists), โดยมีเพื่อนๆ ของเขา ท่านทาไลลามะ, ติชนัทฮันห์, และ มหาโกษานันทะ ผู้ล่วงลับไปแล้ว ผู้อุปถัมภ์.  ตลอดเวลานั้น, เขาได้พิมพ์หนังสือของเขาเอง และหนังสือและบทความของคนอื่นๆ; สุลักษณ์ มีหนังสือกว่า 100 เล่มเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในชื่อของเขา.
Sulak’s worldwide prominence as a socially engaged Buddhist and advocate for the oppressed, and his national celebrity as a thorn-in-the-side of successive Thai governments and the monarchy, is an unlikely role because he was raised in a prosperous aristocratic family. From childhood, he was steeped in conservative royalism—believing the king to be infallible, and taught to be highly skeptical of progressive monks or promoters of democracy. His two years as a monk at a temple under royal patronage in the early 1940s reinforced the notion of the supreme benevolence of the monarchy and ruling elite. His parents sent him to study in Bangkok’s prestigious Anglican and Catholic schools, and in the 1950s Sulak earned degrees in law and philosophy in England. Sulak was on the fast track to a senior government post or the comfortable life as an affluent Sino-Thai businessman.
ความโดดเด่นทั่วโลกของสุลักษณ์ ในฐานะ ชาวพุทธที่ไม่หนีสังคม และนักรณรงค์เพื่อผู้ถูกกดขึ่, และชื่อเสียงระดับชาติ ในฐานะเป็น หอกข้างแคร่ ของรัฐบาลไทยทุกสมัยและสถาบันกษัตริย์, เป็นบทบาทที่ไม่น่าจะเป็น เพราะเขาเติบโตมาในครอบครัวชนชั้นสูงที่มั่งคั่ง.  ตั้งแต่เด็ก, เขายึดมั่นในความจงรักภักดีต่อพระบรมวงศ์สานุวงศ์แบบอนุรักษ์นิยม—เชื่อว่า พระมหากัตริย์ทำผิดไม่ได้, และก็ถูกสั่งสอนให้ระแวงสงสัยอย่างยิ่งต่อพระภิกษุหัวห้าวหน้า หรือพวกที่ส่งเสริมประชาธิปไตย.  การได้บวชเป็นพระสงฆ์อยู่สองปี ที่วัดหลวงแห่งหนึ่งในต้นทศวรรษ 1940s (๒๔๘๓) ได้ตอกย้ำความเชื่อในพระบรมโพธิสมภารของสถาบันกษัตริย์และบรรดาอภิสิทธิ์ชนผู้ปกครอง.  พ่อแม่ของเขาได้ส่งให้เขาเข้าเรียนในโรงเรียน แองกลิกันและคาทอลิคที่มีชื่อเสียง, และในทศวรรษ 1950s (๒๔๙๐) สุลักษณ์ก็สำเร็จปริญญาทางกฎหมายและปรัชญาในอังกฤษ.  สุลักษณ์ อยู่ในลู่ด่วนสู่ตำแหน่งอาวุโสในรัฐบาล หรือ ชีวิตที่สุขสบายในฐานะนักธุรกิจไทยเชื้อสายจีนที่มั่งคั่ง.
But Sulak chose a different path than accumulating money or political clout. Judith Simmer-Brown has written, “Each of these paths held the power and prestige that were his birthright. Sulak made an unusual choice. He stepped outside the walls of his palace, he looked carefully, intimately, at the suffering, exploitation, and aggression that pervaded the world. And Sulak made a decision not to return to the palace of conventional power and prestige.”
แต่สุลักษณ์ เลือกเดินทางอื่น แทนการสะสมเงินและบารมีทางการเมือง.  จูดิธ ซิมเมอร์-บราวน์ ได้เขียนว่า, “แต่ละเส้นทางเหล่านี้ มีพลังอำนาจและเกียรติภูมิอันเป็นสิทธิอันชอบธรรมของเขาแต่กำเนิด.  สุลักษณ์ ได้เลือกทางที่ไม่ธรรมดา.  เขาก้าวออกนอกรั้วกำแพงวัง, เขามองอย่างระมัดระวัง, อย่างใกล้ชิด, ที่ความทุกข์ยาก, การกดขี่ข่มเหง, และความอหังการ์ก้าวร้าวที่แผ่ซ่านไปทั่วโลก.  และสุลักษณ์ได้ตัดสินใจ ไม่กลับเข้าไปในวังของอำนาจและเกียรติภูมิที่ถือปฏิบัติกันมาแต่เดิม.
Sulak returned to Thailand in the early 1960s after five years of study in England. During his time abroad, the military had come to dominate nearly all aspects of government, academic and public life in Thailand. He found the intellectual landscape barren. Even though there were fledgling social reform movements, martial law reigned in Thailand throughout the 1960s. Backed by the United States, military generals used communism as a label to purge all forms of political dissent. Hundreds of artists, writers, journalists and editors were jailed without trail on the charge of being communist. “The dictatorship had created darkness,” Sulak has written.
สุลักษณ์ ได้เดินทางกลับเมืองไทยในต้นทศวรรษ 1960s (๒๕๐๓) หลังจากศึกษาอยู่ห้าปี.  ในระหว่างที่เขาอยู่เมืองนอก, กองทัพได้ยึดอำนาจการปกครอง และครอบงำทุกๆ มิติของรัฐบาล, วิชาการ/อุดมศึกษา และชีวิตสาธารณะในประเทศไทย.  เขาพบแดนแห้งแล้งปัญญาชน.  แม้ว่าจะมีการขับเคลื่อนปฏิรูปทางสังคมดั่งนกน้อยเริ่มออกบิน, กฎอัยการศึกอยู่ค้ำหัวในประเทศไทยตลอดทศวรรษ 1960s.  ด้วยการหนุนหลังโดยสหรัฐฯ, เหล่านายพลของกองทัพใช้ลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นป้ายเพื่อกำจัดทุกรูปแบบของการไม่เห็นพ้องทางการเมือง.  ศิลปิน, นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์และบรรณาธิการนับร้อย ถูกจำคุกโดยไม่มีการไต่สวน ด้วยข้อหาเป็นคอมมิวนิสต์.  “ผู้เผด็จการได้สร้างความมือ”, สุลักษณ์ เขียน.
Still, in the 1960s, Sulak was a defender of the monarchy, an elitist, and one who believed that he knew what was best for Thai society. In 1963, Sulak founded and edited the Social Science Review—a journal that quickly became the most influential intellectual outlet in the country. The Review was instrumental in awakening student awareness that eventually led to the overthrow of the military regime in 1973.
ถึงกระนั้น, ในทศวรรษ 1960s, สุลักษณ์ ได้เป็นผู้ปกป้องสถาบันกษัตริย์, เป็นอภิสิทธิ์ชน, และเป็นหนึ่งในผู้ที่เชื่อว่า เขารู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสังคมไทย.  ในปี 1963 (๒๕๐๖) ได้ก่อตั้งและเป็นบรรณาธิการ สังคมปริทรรศน์—วารสารที่ได้กลายเป็นช่องทางระบายของปัญญาชนที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประเทศ.  สังคมปริทรรศน์ เป็นเครื่องมือในการปลุกให้นักศึกษาตื่นตัว ที่ในที่สุดก็นำไปสู่การโค่นล้มระบอบกองทัพในปี 1973.
A transformative meeting with the progressive Thai Prince Sitthiporn happened while Sulak was editor of the Review. During one of their meetings, the prince said, “Sulak, yes, this country needs an intellectual magazine. But don’t let it become intellectual masturbation.”
การพบปะที่พลิกโฉมกับ หม่อมเจ้าสิทธิพร ผู้เป็นหัวก้าวหน้า เกิดขึ้นในระหว่างที่สุลักษณ์ เป็นบรรณาธิการของสังคมปริทรรศน์.  หนึ่งในการพบปะหลายครั้ง, ท่านชายตรัสว่า “สุลักษณ์, ใช่, ประเทศนี้ต้องการแมกกาซีนปัญญา.  แต่อย่าปล่อยให้มันกลายเป็นการสำเร็จความใคร่ปัญญาของตัวเอง”.
When Sulak asserted that he was helping his countrymen with his writings, recounting the intellectual history of Siam, the prince responded, “Do you know anything about farmers? They suffer and you know nothing about it!”
พอ สุลักษณ์ ยืนยันว่า เขากำลังช่วยเพื่อนร่วมชาติด้วยบทความ, การย้อนรอยประวัติศาสตร์เชิงปัญญาในสยาม, ท่านชายตอบว่า, “คุณรู้อะไรไหมเกี่ยวกับชาวนา?  พวกเขายากเข็ญ และคุณก็ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับเรื่องนี้!”
This encounter inspired Sulak from simply thinking about benefitting his brethren into actually doing something. It was his call to action. Sulak saw clearly how his arrogant, top-down approach was fundamentally flawed. He began to visit rural villages, temples, and the terraced rice fields to understand the actual conditions of the people. The farmers and workers he met taught Sulak a profound lesson, and one he reiterates to this day; that to address a suffering situation—be it poverty, war, or environmental disaster—one must go and be with the suffering itself, with the people who are affected.
การเผชิญหน้านี้ ได้เป็นแรงบันดาลใจ สุลักษณ์ จากเพียงคิดถึงเรื่องสร้างประโยชน์แก่พี่น้องร่วมชาติ สู่ การทำบางอย่างจริงๆ จังๆ.  นี่เป็นสิ่งที่เขาเรียกว่า ปฏิบัติการ.  สุลักษณ์ เห็นชัดเจนว่า ความอหังการเย่อหยิ่ง, แนวทางบนสู่ล่างของเขา มีข้อบกพร่องขั้นรากฐานอย่างไร.   เขาเริ่มออกเยี่ยมเยียนหมู่บ้าน, วัด, และนาข้าวในชนบท เพื่อให้เข้าใจสภาพที่แท้จริงของประชาชน.  ชาวนาและคนงานที่เขาได้พบ ได้สอนบทเรียนที่ลึกซึ้งแก่ สุลักษณ์, บทเรียนหนึ่งที่เขากล่าวซ้ำๆ จนถึงทุกวันนี้; ที่แตะสถานการณ์อันแสนยากเข็ญ—ไม่ว่าจะเป็น ความยากจน, สงคราม, หรือ ภัยพิบัติสิ่งแวดล้อม—คนจะต้องไปและอยู่กับความทุกข์ยากนั้น, กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว.
During this time, Sulak opened the first alternative bookstore in Thailand called Suksit Siam (suksit means intellectual). Suksit Siam became a hub for cultural, Buddhist, and educational activities in Bangkok that promoted social reform and democracy, much to the distrustful eye of the military generals. Sulak also led gatherings and workshops in the Coffee House Council adjacent to the bookshop. Several leaders of the 1973 student uprising were part of Sulak’s circle and the political philosophy of many leaders of today’s political movements (known as the Red Shirts and Yellow Shirts) was honed at the workshops.
ในช่วงเวลานั้น, สุลักษณ์ ได้เปิดร้านหนังสือทางเลือกในประเทศไทย เรียกว่า ศึกษิตสยาม (ศึกษิต แปลว่า ปัญญา).  ศึกษิตสยาม ได้กลายเป็นแหล่งชุมนุมกิจกรรมทางวัฒนธรรม, พุทธศาสนา, และการศึกษา ในกรุงเทพฯ ที่ส่งเสริมการปฏิรูปทางสังคมและประชาธิปไตย, เป็นที่ระคายเคืองต่อสายตาจับผิดของบรรดานายพลในกองทัพ.  สุลักษณ์ ได้นำการรวมตัวและการประชุมเชิงปฏิบัติการใน สภากาแฟ ที่อยู่ข้างๆ ร้านหนังสือ.  ผู้นำหลายคนของขบวนนักศึกษาที่ลุกฮือในปี 1973 เป็นส่วนหนึ่งของแวดวงของสุลักษณ์ และ ปรัชญาการเมืองของผู้นำหลายคนของการเคลื่อนไหวทางการเมืองทุกวันนี้ (เสื้อแดง และ เสื้อเหลือง) ก็โตมาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเหล่านั้น.
Sulak’s transformation from an intellectual elite into a grassroots campaigner for social justice in the 1970s was shaped by what he learned from rural people, farmers, and students. He came to the firm belief that all aspects of society—including Buddhism, the monarchy, and government—must be open to criticism and debate.
การพลิกโฉมของสุลักษณ์ จากปัญญาชนอภิสิทธิ์ สู่ นักรณรงค์รากหญ้า เพื่อสังคมเป็นธรรมในทศวรรษ 1970s เป็นรูปเป็นร่างได้จากสิ่งที่เขาได้เรียนรู้จากคนชนบท, ชาวนา, และนักศึกษา.  เขากลายเป็นคนที่เชื่ออย่างมั่นคงว่า ทุกๆ มิติ ทุกๆ ด้านของสังคม—รวมทั้งศาสนาพุทธ, สถาบันกษัตริย์, และรัฐบาล—จะต้องเปิดใจให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ และ อภิปราย.
At the time, and still today, such criticism in Thailand is grounds for imprisonment. It was against the backdrop of social and political unrest of the 1970s in Thailand, including the country being affected greatly by the war in Vietnam and the fall of Laos and Cambodia to communist control, that Sulak began his Buddhist activism. He launched dozens of foundations, charities, non-governmental organizations, and activist groups throughout the 1970-80s, which formed the bases upon which Thailand’s robust network of non-governmental organizations currently exists. Sulak generated tangible results though his work on rural and urban community development, provided political voice to the poor and displaced, and he effectively challenged environmentally destructive pipelines and dams in northern Thailand.
ในเวลานั้น, และยังเป็นจริงทุกวันนี้, การวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว เป็นพื้นฐานให้เข้าคุกได้.  ด้วยภูมิหลังของความไม่สงบทางสังคมและการเมืองในทศวรรษ 1970s (๒๕๑๓) ในประเทศไทย, รวมทั้งประเทศที่ถูกกระทบอย่างมหาศาลจากสงครามเวียดนาม และการที่ลาวและกัมพูชาตกอยู่ในการควบคุมของคอมมิวนิสต์, ที่สุลักษณ์ เริ่มการรณรงค์เชิงพุทธของเขา.  เขาได้ก่อตั้งมูลนิธิ, องค์กรการกุศล, เอ็นจีโอ หลายโหล, และกลุ่มนักกิจกรรมตลอดสองทศวรรษ 1970s-80s, ซึ่งเป็นฐานของเครือข่ายอันแข็งแกร่งของเอ็นจีโอในประเทศไทย ที่ยังยืนหยัดอยู่ในปัจจุบัน.  สุลักษณ์ ได้สร้างผลงานที่เป็นรูปธรรม แม้ว่างานของเขาในด้านการพัฒนาชุมชนชนบทและเมือง, ได้เป็นกระบอกเสียงทางการเมืองแก่คนยากจนและที่ถูกเบียดขับ, และเขาก็ท้าทายอย่างมีประสิทิภาพต่อต้านการสร้างท่อก๊าซที่ทำลายล้างสิ่งแวดล้อมและเขื่อนในภาคเหนือของประเทศไทย.
The foundation for Sulak’s activism is within the teachings of the Buddha. In A Buddhist Vision for Renewing Society, Sulak writes, “Buddhist practice inevitably entails a concern with social and political matters, and these receive a large share of attention in the teaching of the Buddha as it is represented in the Pali Canon. To attempt to understand Buddhism apart from its social dimension is mistaken.”
รากฐานสำหรับกิจกรรมรณรงค์ของสุลักษณ์ อยู่ภายในคำสอนของพระพุทธเจ้า.  วิสัยทัศน์เพื่อการฟื้นฟูสังคม, สุลักษณ์ เขียน, “การปฏิบัติแบบชาวพุทธเลี่ยงไม่ได้ที่จะคำนึงถึงประเด็นทางสังคมและการเมือง, และสิ่งเหล่านี้ ก็มีอยู่ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ดังที่ปรากฏในพระไตรปิฎก.  ความพยายามใดๆ ที่จะเข้าใจศาสนาพุทธที่ฉีกตัวออกจากมิติสังคมของมัน เป็นความผิดพลาด”.
He argues that Buddhists need to practice the Dharma in a manner that is relevant to today’s socio-political context. Sulak is not advocating a new understanding of Buddhism but rather how individuals apply the Buddha’s teachings to modern socio-economic and political dilemmas. Sulak has been greatly inspired in this regard by his discussions and work with Thich Nhat Hanh and the Dalai Lama, and the two most progressive and influential Thai monks of the 20th century, Arjan Buddhadasa and Bhikkhu P.A. Payutto. “Buddhism with a small “b” is what Sulak came to call this approach towards Buddhist practice.
เขาแย้งว่า ชาวพุทธจำเป็นต้องปฏิบัติธรรมะในลักษณะที่สอดคล้องกับบริบททางสังคม-การเมืองในทุกวันนี้.  สุลักษณ์ ไม่ได้รณรงค์ให้เกิดความเข้าใจใหม่ต่อศาสนาพุทธ แต่ให้แต่ละบุคคลประยุกต์ใช้คำสอนของพระพุทธเจ้า ให้เข้ากับทางสองแพร่งเชิงสังคม-เศรษฐกิจ และ การเมืองในสมัยใหม่นี้.  สุลักษณ์ ได้รับแรงดลใจอย่างแก่กล้าในเรื่องนี้ จากการที่ได้เสวนาธรรมและทำงานกับ ติชนัทฮันห์ และ องค์ทาไลลามะ, และภิกษุไทยหัวก้าวหน้าและมีอิทธิพล (ทางปัญญา) มากที่สุดในศตวรรษที่ 20 สองรูป, อาจารย์พุทธทาส และ ภิกขุ ป.อ. ปยุตโต.  “ศาสนาพุทธด้วย (ในภาษาอังกฤษ) เขียนด้วย b ตัวเล็ก เป็นสิ่งที่สุลักษณ์เรียกว่า แนวทางสู่การปฏิบัติของชาวพุทธ.

Buddhism with a small “b”
ศาสนาพุทธด้วย b ตัวเลข

In Sulak’s most widely read book, Seeds of Peace, he presents small “b” Buddhism. He begins with the individual; encouraging practitioners to develop their character based upon the Buddha’s teachings of mindfulness, tolerance, and interconnectedness. He believes this will naturally lead to the deeper understanding of how one’s spiritual progress is related directly to the degree we work to relieve suffering within society. Progress along one’s spiritual path and social reform, then, are inextricably linked, in Sulak’s vision.
ในหนังสือของ สุลักษณ์ ที่มีคนอ่านมากที่สุด, เมล็ดพันธ์แห่งสันติภาพ, เขาได้นำเสนอ  b สำหรับพุทธศาสนา.  เขาเริ่มต้นด้วยบุคคล; เชิญชวนให้นักปฏิบัติทั้งหลายพัฒนาคุณลักษณะของตนบนพื้นฐานของคำสอนของพระพุทธเจ้า เรื่อง การมีสติ, ขันติ, และความเชื่อมโยงถึงกัน (ปฏิจสมุปบาท).  เขาเชื่อว่า นี่จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ลุ่มลึกขึ้นตามธรรมชาติ ถึงความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณของตน เกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับงานของเรา เพื่อการบรรเทาทุกข์ในสังคมอย่างไร.  การย่างก้าวในมรรควิถีทางจิตวิญญาณ และ การปฏิรูปสังคม จึงพัวพันเชื่อมโยงกันอย่างแนบสนิท, ในวิสัยทัศน์ของ สุลักษณ์.

(ต่อ ภาค ๒)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น