320.
10th Month Passed…Dwindling Time for Lao Govt. to Repair Its
Tarnished Image and Name About Enforced Disappearance of Sombath Somphone
Sombath Somphone, Lao activist missing for 10 months, spurs
wife’s desperate plea
สมบัด สมพอน,
นักพัฒนาชาวลาว หายสาบสูญไป ๑๐ เดือนแล้ว, กระตุกให้ภรรยาอ้อนวอนสุดชีวิต
Vientiane: The
wife of prominent social activist Sombath Somphone has made a desperate plea to
Lao authorities, declaring he will leave the country and retire quietly with
her if returned safely after being abducted in the Lao capital 10 months ago.
เวียงจันทน์:
ภรรยาของนักกิจกรรมสังคมโดดเด่น สมบัด สมพอน ได้วิงวอนสุดชีวิตต่อผู้มีอำนาจลาว,
ประกาศว่า เขาจะออกจากประเทศ และ ปลดเกษียณเงียบๆ กับเธอ หากกลับมาได้อย่างปลอดภัย
หลังจากที่ถูกลักพาไปในนครหลวงของลาว เมื่อ ๑๐ เดือนก่อน.
Ng
Shui Meng, who has been married to the award-winning Sombath for 30 years, says
she does not want to see any more damage done to Laos' image and credibility
over the abduction which human rights groups describe as a state-sponsored
forced disappearance.
อึ้งชุ่ยหมิง, สมรสกับ
สมบัด ผู้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ เป็นเวลา ๓๐ ปี, กล่าวว่า เธอไม่ต้องการเห็นภาพพจน์และความน่าเชื่อถือของลาว
เสียหายมากไปกว่านี้ ด้วยความเกี่ยวเนื่องกับการลักพาตัว ที่กลุ่มนักสิทธิมนุษยชน
บรรยายว่า เป็นการหายสาบสูญด้วยการใช้กำลังบังคับที่รัฐหนุนหลัง.
Ms Shui Meng said every day since
Sombath disappeared has been “an eternity of waiting, wavering between hope and
despair.” Hopes for 62 year-old Sombath’s welfare have been fading as the
authoritarian communist-led Lao government denied any knowledge of his
disappearance, claimed an investigation has failed to establish who was behind
it and dismissed concerns by alleging that he must have been the victim of a
shadowy business feud, without providing any evidence.
คุณชุ่ยหมิงบอกว่า ทุกๆ
วัน ตั้งแต่ สมบัด หายตัวไป มีแต่ “การรอคอยที่ไม่มีวันสิ้นสุด ซัดส่ายไปมาระหว่าง
ความหวัง และ ความสิ้นหวัง”. ความหวัง ต่อสวัสดิภาพของสมบัด
อายุ ๖๒ ปี ได้เลือนรางหายไป ในขณะที่รัฐบาลลาว ที่นำโดยเผด็จการคอมมิวนิสต์ ปฏิเสธการรู้เห็นเป็นใจเกี่ยวกับการหายตัวไปของสมบัด,
ได้อ้างว่า การสืบสวนไม่สามารถหาพยานหลักฐานมาประกอบรูปคดีได้ว่าใคนอยู่เบื้องหลัง
และ ปัดความรับผิดชอบ โดยกล่าวหาว่า สมบัด
ได้ตกเป็นเหยื่อของการขัดผลประโยชน์ทางธุรกิจเถื่อน, โดยไม่ได้แสดงหลักฐานประการใด.
Even in a country with a notoriously
poor human rights record where government critics have “disappeared”
previously, the abduction of Sombath has shocked many Laotians and prompted
calls for international donors to press for more to be done to ensure his
return.
แม้ว่าจะเป็นประเทศที่มีชื่อ
“เสีย” ด้านสิทธิมนุษยชน ที่ๆ พวกนักวิพากษ์รัฐบาลได้ “หายสาบสูญ” ก่อนหน้า,
การลักพาตัว สมบัด ได้กระเทือนขวัญชาวลาวหลายๆ คน และ พลันก็มีการเรียกร้องให้แหล่งทุนสากล
กดดัน (รัฐบาล) ให้ทำมากกว่านี้เพื่อประกันว่าเขาจะกลับมาได้อย่างปลอดภัย.
A widely respected agriculture
specialist, Sombath received the prestigious Ramon Magsaysay Award in Community
Leadership in 2005, the equivalent of the Nobel peace prize in Asia.
ในฐานะที่เป็นผู้ชำนาญด้านเกษตรที่ได้รับความเคารพอย่างกว้างขวาง,
สมบัด ได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ อันทรงเกียรติ ด้านผู้นำชุมชน ในปี ๒๕๔๘,
ซึ่งเป็นรางวัลเทียบเท่า รางวัลโนเบล ในเอเชีย.
He was last seen by Ms Shui Meng as
they were driving separately from his office in Vientiane to their home for
dinner on the evening of December 15 last year.
คุณชุ่ยหมิงเห็นเขาครั้งสุดท้ายในขณะที่ทั้งสองขับรถคนละคันจากที่ทำงานของเขาในเวียงจันทน์เพื่อกลับไปทางอาหารเย็นที่บ้านในเย็นวันที่
๑๕ ธันวาคม ปีกลาย.
The abduction was captured on grainy
closed-circuit television footage that apparently was not supposed to be
released by police.
การลักพาตัวถูกบันทึกในกล้องวงจรปิด
ซึ่งอันที่จริง ตำรวจไม่ควรจะยอมเปิดเผย.
It shows that Sombath’s jeep was
stopped at a police post and he was taken inside.
ภาพบันทึกแสดงให้เห็นว่า
รถจี๊ปของสมบัด ถูกดักให้หยุดที่ป้อมตำรวจ และ เขาถูกพาตัวเข้าไปข้างใน.
A motorcyclist stopped at the post
and drove off with Sombath’s vehicle.
คนขับมอเตอร์ไซค์คันหนึ่งหยุดที่ป้อม
และ ขับรถของสมบัดออกไป.
A truck with flashing lights then
stopped at the police post, two people got out and took Mr Sombath to the truck
and drove off.
แล้วรถบรรทุกติดไฟกระพริบก็มาจอดที่ป้อมตำรวจ,
สองคนเดินออกมา และ นำตัวคุณสมบัดขึ้นรถบรรทุกและขับออกไป.
He never arrived home.
เขาไม่เคยกลับมาถึงบ้าน.
Amnesty International says the Lao
authorities’ likely involvement in Sombath’s disappearance has been compounded
by the police’s failure to conduct thorough investigations, which suggested a
cover-up.
Amnesty
International กล่าวว่า
ความเป็นไปได้ที่ผู้มีอำนาจลาวจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของ สมบัด
ทบทวีขึ้น ด้วยการที่ตำรวจล้มเหลวที่จะสอบสวนอย่างละเอียดถี่ถ้วน, ซึ่งแนะว่ามีการปกปิด.
Other countries’ offers of external
assistance, including analysis of the original CCTV footage, have been
rejected.
Phil Robertson, deputy Asia director
for Human Rights Watch, says the Lao government “needs to stop playing games
and release Sombath or explain what happened to him”.
ประเทศอื่นๆ
ได้เสนอการช่วยเหลือจากภายนอก, เช่น การวิเคราะห์ภาพบันทึกจากกล้องวงจรปิด,
ถูกปฏิเสธ. ฟิล โรเบิร์ตสัน, รอง ผอ
เอเชีย ขององค์กรเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชน, กล่าวว่า รัฐบาลลาว “จำเป็นต้องหยุดเล่นเกมส์
และ ปล่อยตัว สมบัด หรือ อธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขา”.
“This is a huge black mark on Laos’
already poor record as one of the worst rights-abusing governments in the
region and we and other friends of Sombath will ensure this comes up in every
international forum and meeting Laos attends,” he said.
“นี่เป็นรอยเปื้อนดำขนาดใหญ่ในประวัติบันทึกของลาว
ซึ่งแย่อยู่แล้ว ในฐานะที่เป็นหนึ่งในรัฐบาลแย่ที่สุดที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
และพวกเราและเพื่อนคนอื่นๆ ของ สมบัด จะทำให้แน่ใจว่า
เรื่องนี้จะปรากฏขึ้นในทุกเวทีและการประชุมนานาชาติที่ ลาว เข้าร่วมประชุม”,
เขากล่าว.
Sombath’s abduction is perplexing
because he is seen as a conciliatory figure who sat on panels with influential
government members.
การอุ้ม
สมบัด เป็นเรื่องน่าพิศวงยิ่ง เพราะ คนทั่วไปเห็นว่า เขาเป็นคนประนีประนอม
ช่วยสมานไมตรี ที่นั่งอยู่ในคณะกรรมการร่วมกับสมาชิกทรงอิทธิพลของรัฐบาล.
One clue may be a keynote speech he
made two months before his disappearance at the Asia-Europe People’s Forum, the
largest civil society event held in Laos.
ร่องรอยหนึ่งอาจเป็นสุนทรพจน์ที่เขากล่าวเมื่อสองเดือนก่อนที่เขาจะหายตัวไป
ที่เวทีประชาชนเอเชีย-ยุโรป, อันเป็นกิจกรรมภาคประชาสังคมที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดขึ้นในลาว.
“We focus too much on economic growth
and ignore its negative impact … we need to give more space for the ordinary
people, especially young people, and allow them to be drivers of change and
transformation,” he said.
“เราเน้นที่การเติบโตทางเศรษฐกิจมากเกินไป
และ เมินเฉยต่อผลกระทบด้านลบของมัน... เราจำเป็นต้องให้สามัญชนมีพื้นที่มากขึ้น,
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนหนุ่มคนสาว,
และอนุญาตให้พวกเขาเป็นผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและการพลิกโฉม”, เขากล่าว.
Sombath, who founded a non-government
organisation called the Participatory Development Training Centre in 1996,
which seeks to advance community education and training on sustainable
development, has also spoken out about land seizures as Laos opened its doors
to massive foreign investments that include mining, hydroelectric plants,
rubber plantations, hotels and casino projects.
สมบัด,
ผู้ก่อตั้งองค์กรนอกรัฐบาล เรียกว่า ศูนย์อบรมการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ในปี ๒๕๓๙,
ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความก้าวหน้าในการศึกษาชุมชน และ
ให้การฝึกอบรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน, ก็ได้พูดเกี่ยวกับการฉกชิงที่ดิน ในขณะที่ลาวเปิดประตูรับการลงทุนต่างชาติมหาศาล
ที่รวมถึงโครงการทำเหมืองแร่, โรงไฟฟ้าพลังน้ำ, สวนยาง, โรงแรม และ โรงพนัน.
Earlier this year Laos joined the
global community as a member of the World Trade Organisation and is lobbying
for a seat on the United Nations Human Rights Council.
เมื่อต้นปีนี้
ลาวได้เข้าร่วมประชาคมโลก ในฐานะสมาชิกขององค์การค้าโลก และ
กำลังล็อบบี้ที่นั่งในสภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ.
But the governing Communist Party
fiercely defends its hold on power and vigorously cracks down on dissent while
moving to liberalise its economy and promote tourism.
แต่พรรคคอมมิวนิสต์ที่ปกครองอยู่
ปกป้องการครองอำนาจของตัวเองอย่างดุเดือด และ
ทำการปราบปรามผู้เห็นต่างอย่างแข็งขัน ในขณะที่มุ่งหน้าสู่เศรษฐกิจเสรี และ
ส่งเสริมการท่องเที่ยว.
Activists who unravelled a banner
calling for democracy are languishing in jail.
นักกิจกรรมที่ชูป้ายเรียกร้องประชาธิปไตย
ล้วนถูกจับเข้าคุกให้อ่อนแรงลง.
Five years ago environmentalist
Sompawn Khantisouk was forced into a car in northern Laos and was never seen
again while the government earlier this year blocked a US investigation into
the disappearance of a US citizen and two other men in a southern Lao province.
ห้าปีก่อน
นักสิ่งแวดล้อม สมพอน ขันติสุก ถูกบังคับขึ้นรถในลาวตอนเหนือ
แล้วก็ไม่มีใครได้พบเห็นอีก ในขณะที่ ต้นปีนี้ รัฐบาลได้ขัดขวางการสืบสวนของสหรัฐฯ
ในกรณีการหายสาบสูญไปของพลเมืองสหรัฐฯ ๑ คน และ ชายอีก ๒ คนในจังหวัดลาว ภาคใต้.
A ceremony to honour Sombath in Laos
was cancelled after security police threatened his colleagues and family.
In riverside Vientiane, most people
decline to speak publicly about Sombath’s disappearance, fearful of reprisals
from police and security forces which are under close communist party control.
พิธีกรรมเพื่อยกย่อง
สมบัด ในลาวต้องระงับไป หลังจากตำรวจความมั่นคงข่มขู่ครอบครัวและมิตรสหายในวงการ. ในย่านริมโขง เวียงจันทน์,
ประชาชนส่วนใหญ่ไม่กล้าพูดในที่สาธารณะเกี่ยวกับการหายสาบสูญไปของ สมบัด, ด้วยกลัวว่าตำรวจและหน่วยความมั่นคง
ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างใกล้ชิดของพรรคคอมมิวนิสต์จะตามรังควาน.
Among those internationally who have
expressed regret and called for Sombath’s safe return are US Secretary of State
John Kerry, former Secretary of State Hillary Clinton and South African
Archbishop Desmond Tutu.
ในบรรดาบุคคลสำคัญนานาชาติที่ได้แสดงความเสียใจและเรียกร้องให้
สมบัด ได้กลับมาอย่างปลอดภัย คือ เลขาธิการแห่งรัฐของสหรัฐฯ จอห์น เคอร์รี, อดีตเลขาธิการแห่งรัฐของสหรัฐฯ
ฮิลลารี คลินตัน และ บาทหลวงแห่งอาฟริกาใต้ เดสมอนอ์ ตูตู.
In June 42 Australian academics
signed an open letter to then foreign minister Bob Carr asking for Australia,
as a major aid donor to Laos, to take a more assertive stand with the Lao
government on the disappearance.
ในเดือนมิถุนายน
นักวิชาการออสเตรเลีย ๔๒ คน ได้ลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึง รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศในขณะนั้น
บ็อบ คาร์ ร้องขอให้ออสเตรเลีย, ในฐานะผู้บริจาคและให้ความช่วยเหลือหลักรายหนึ่งแก่ลาว,
ให้แสดงจุดยืนที่หนักแน่นกว่านี้กับรัฐบาลลาว ในเรื่องการหายสาบสูญนี้.
Human rights groups also want other
countries to increase pressure on the government that benefits from hundred of
millions of dollars a year in development aid.
กลุ่มสิทธิมนุษยชน
ยังต้องการให้ประเทศอื่นๆ เพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลที่ได้รับประโยชน์จากการช่วยเหลือพัฒนาเป็นเงินหลายร้อยล้านดอลลาร์ทุกปีด้วย.
“The government’s continued denials
of complicity in the disappearance have zero credibility and point more clearly
than ever to the critical importance of redoubled international pressure on Lao
leaders if we are ever going to learn what has happened to Sombath,” said Human
Rights Watch’s Mr Robertson.
“การที่รัฐบาลปฏิเสธการมีส่วนรู้เห็นมาตลอดในการหายสาบสูญไป
ทำให้ความน่าเชื่อถือเป็นศูนย์ และ ชี้ให้เห็นชัดยิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมาว่า
มันสำคัญยิ่งยวดที่นานาชาติจะเพิ่มแรงกดดันอีกเป็นสองเท่าต่อผู้นำลาว หากพวกเราจะมีหวังได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับ
สมบัด”, คุณโรเบิร์ตสัน กล่าว.
Ms Shui Meng, a former UNICEF staffer
who met Sombath in Hawaii in the 1970s while he was studying there on a
scholarship, urged donor countries like Australia to help get the government to
be more transparent, identify the kidnappers and return Mr Sombath or if he is
incarcerated allow family members to visit.
คุณชุ่ยหมิง,
อดีตเจ้าหน้าที่ของ UNICEF ที่ได้พบกับ สมบัด ในฮาวายในทศวรรษ ๒๕๑๓-
ในขณะที่เขากำลังศึกษาที่นั่นด้วยทุนการศึกษา, ได้เร่งเร้าให้ประเทศแหล่งทุน เช่น
ออสเตรเลีย ให้ช่วยทำให้รัฐบาลมีความโปร่งใสมากขึ้น, ระบุตัวคนร้ายที่ลักพาตัว และ
ปล่อยคืน สมบัด หรือ หากเขาถูกจองจำ ก็ขอให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าไปเยี่ยม.
“So far quiet diplomacy or more overt
calls for action by governments have yielded zero results,” she said.
Ms Shui Meng said she can “only hold
on to my hope and faith, as anything otherwise is unthinkable.”
“ถึงบัดนี้
การทูตเงียบๆ หรือ การเรียกร้องอย่างเปิดเผยให้รัฐบาลทำอะไรบ้าง ไม่ยังผลใดๆ เลย”,
เธอกล่าว. คุณชุ่ยหมิง บอกว่า เธอ “ได้แต่ยึดมั่นในความหวังและความศรัทธาของฉันเอง,
เพราะอะไรๆ นอกนั้น คาดไม่ได้เลย”.
“Not having hope is to give up and I
will not give up … not yet,” she said.
“การไม่มีความหวัง
เป็นการยอมแพ้ และ ฉันจะไม่ยอมแพ้ ... ยังไม่ยอม”, เธอกล่าว.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น