305. 25 Years Late Is Better Than
Never Act on Global Warming
A Second Ecological Revolution?
การปฏิวัติเชิงนิเวศ รอบสอง?
-เจเรมี เบรเชอร์
The
summer of 1988 was long and hot. One scorching day I casually said to a
deliveryman, “Awfully hot.” He responded, “I talk with old-timers who
can’t remember anything like it in 60, 70 years.” He continued, “It’s
probably this ‘greenhouse effect.’ If you ask me, it’s a warning.
All the poisons we’re putting into the air and the water – if we don’t
get our act together, we’re going to make the earth a place that people can’t
live on.” I sat down and penned an op ed that appeared in the Chicago
Tribune and other newspapers twenty-five years ago this week.
ฤดูร้อนของปี ๒๕๓๑ ช่างยาวนานและร้อนยิ่ง. ในวันหนึ่งที่ร้อนแผดเผา
ผมเปรยกับคนจ่ายของว่า, “ร้อนเป็นบ้า”.
เขารับว่า, “ผมได้พูดกับคนเฒ่าคนแก่ บอกว่า
จำไม่ได้ว่าเลยว่ามีอะไรแบบนี้ใน ๖๐, ๗๐ ปี”.
เขาพูดต่อไปว่า, “มันคงเป็นผลกระทบของ ‘เรือนกระจก’. หากคุณถามผม,
มันเป็นคำเตือน.
พิษภัยทั้งหมดที่เราใส่ลงไปในอากาศและน้ำ—หากเราไม่ทำอะไรร่วมกันสักอย่าง,
เราก็คงกำลังทำให้โลกนี้เป็นที่ๆ มนุษย์อยู่ไม่ได้อีกต่อไป”. ผมนั่งลงและเขียนใน op ed ที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ Chicago
Tribune และ นสพ อื่นๆ เมื่อ ๒๕ ปีก่อนในสัปดาห์เดียวกันนี้.
I noted that as a historian, I’m
always on the lookout for subtle signs that indicate deep changes in social
outlook. When that conversation shifted from local weather to the global
biosphere, I felt I was witnessing “the opening shot of the second ecological
revolution.”
ผมเขียนว่า ในฐานะนักประวัติศาสตร์, ผมจะมองหาเครื่องหมายแปลกๆ
ที่ชี้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในความเป็นไปของสังคม. เมื่อการสนทนาขยับจากอากาศท้องถิ่นไปสู่
ชีวภาคและชั้นบรรยากาศของโลก, ผมรู้สึกว่า ผมกำลังเห็น
“การเปิดฉากของการปฏิวัติเชิงนิเวศรอบที่สอง”.
The first ecological revolution was
based on a popular recognition of the links between the different aspects of
the micro-environment: that you cannot poison the bugs without also killing the
birds. The result was a popular movement involving millions of people
that produced an array of environmental legislation in dozens of countries.
The second ecological revolution, I
argued, would grow out of a recognition of the links of the macro-environment:
“that cutting rain forests in Costa Rica or burning coal in Gdansk may
contribute to crop failures in Iowa and tree death in the Black Forest.”
Its prime characteristic would be “its commitment to international
solutions.”
การปฏิวัติเชิงนิเวศรอบแรกอยู่บนฐานการยอมรับที่แพร่หลายของความเชื่อมโยง
ระหว่างแง่มุมต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมในระดับจุลภาค, เช่น,
คุณไม่สามารถวางยาพิษให้แมลงโดยไม่ฆ่านก.
ผลคือ การเคลื่อนไหวที่มีประชาชนหลายล้าน
ผลักดันให้เกิดกฎหมายมากมายในหลายสิบประเทศ.
การปฏิวัติเชิงนิเวศรอบสอง, ผมเถียงว่า,
จะมาจากการยอมรับความเชื่อมโยงของสิ่งแวดล้อมในระดับมหภาค, นั่นคือ, “การตัดไม้ทำลายป่าดงดิบใน
คอสตาริกา หรือ การเผาถ่านใน Gdansk อาจส่งผลให้พืชล้มตายในรัฐไอโอวา และ ต้นไม้ล้มตายใน Black
Forest.” ลักษณะเด่นของมันคงจะเป็น
“ความร่วมมือผูกพันกันหาทางออกสากล”.
Sadly, I was wrong: There was
no revolution, and today we are paying the price. For twenty-five years
we have tried to ignore my deliveryman’s warning. Now we know he was
right. The carbon and other greenhouse gasses we have put in the
atmosphere are indeed causing a greenhouse effect. And that is indeed
making the earth less and less hospitable for human life.
น่าสลดใจ, ผมคิดผิด: ไม่มีการปฏิวัติ,
และในวันนี้ พวกเรากำลังจ่ายค่าเสียหายนั้น.
เป็นเวลา ๒๕ ปีแล้ว ที่พวกเราได้พยายามไม่แยแสต่อคำเตือนของคนส่งของ. ตอนนี้ ผมรู้แล้วว่าเขาพูดถูก. คาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ
ที่เราทิ้งใส่ชั้นบรรยากาศ แท้จริง กำลังเป็นสาเหตุให้เกิดผลกระทบเรือนกระจก. และนั่นเป็นปัจจัยตัวจริง
ที่ทำให้โลกน่าภิรมย์ลดลงเรื่อยๆ สำหรับชีวิตมนุษย์.
Twenty-five years ago it was already
evident that damage to the global environment threatened the basic conditions
on which life depends and posed a clear and present danger that required a global
response. Why, I asked, aren’t governments and politicians racing to meet
this looming threat? Why, we might ask today, are we still unable to “get
our act together” and make the necessary changes in time?
๒๕ ปีก่อน มันเห็นชัดแล้วว่า การทำลายสภาพแวดล้อมโลก
คุกคามภาวะและเงื่อนไขพื้นฐานที่ชีวิตจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัย และ สร้างภยันตรายที่เห็นได้ชัดเจนในปัจจุบันที่ชาวโลกต้องตอบสนองแล้ว. ทำไม, ผมถาม, รัฐบาลและนักการเมืองจึงไม่วิ่งแข่งกันเข้าไปรับมือกับภัยคุกคามที่ประชิดตัวนี้? ทำไม, เราอาจถามในวันนี้,
พวกเราจึงยังไม่สามารถ “รวมตัวกันทำอะไรสักอย่างร่วมกัน” และ
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นทันเวลาเล่า?
Perhaps here I was more prescient.
“The disturbing answer is that the measures we need to protect the global
ecosphere will reduce the power of the world’s most powerful institutions.
National governments will have to accept international controls.
Corporations will have to forego opportunities to make money at the
expense of the environment. Military establishments will have to abandon
programs that threaten the air and water. Beyond that, virtually everyone
will have to adjust to substantial change – though not necessarily
deterioration – in lifestyle.”
บางที ถึงตรงนี้ ผมอาจรู้ล่วงหน้า. “คำตอบที่น่ารำคาญใจคือ
มาตรการที่เราจำเป็นต้องใช้เพื่อปกป้องนิเวศโลก
จะลดอำนาจของบรรดาสถาบันที่ทรงพลังที่สุดของโลก.
รัฐบาลชาติต่างๆ จะต้องยอมรับการควบคุมสากล. บรรษัทจะต้องปล่อยโอกาสของการทำเงินจากสิ่งแวดล้อมให้ผ่านพ้นไป.
กองทัพจะต้องยกเลิกโปรแกมที่คุกคามสภาพน้ำและอากาศ. นอกเหนือจากนั้น, ทุกๆ คน
จะต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงมโหฬาร—แม้ว่ามันไม่จำเป็นต้องเป็นความเสื่อมโทรม—ในลีลาชีวิตของตน”.
The first ecological revolution, I
noted, began as a popular movement. It didn’t wait for leadership from
politicians. In fact, it imposed its own agenda on governments and
economies, an agenda that ultimately limited the ability of politicians and
corporate officials to pursue their interests at the expense of the
environment. The second ecological revolution would similarly have to
“impose its agenda on governments and businesses,” saying that preserving the
conditions for human life is simply more important than increasing national
power or private wealth. And it would have to act globally with worldwide
demonstrations, boycotts, and direct action campaigns against polluting
countries and corporations.
การปฏิวัตินิเวศรอบแรก, ผมเขียน, เริ่มด้วยการเคลื่อนไหวของประชาชน. มันไม่ได้รอภาวะผู้นำจากนักการเมืองเลย. อันที่จริง, มันได้กำหนดและบังคับวาระของมันเองใส่รัฐบาลและระบบเศรษฐกิจ,
วาระที่ในที่สุดจำกัดความสามารถของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่บรรษัทในการตักตวงผลประโยชน์จากสิ่งแวดล้อม. การปฏิวัตินิเวศรอบสอง ก็ควร
“กำหนดและบังคับวาระของมันใส่เหล่ารัฐบาลและภาคธุรกิจ”, โดยบอกว่า
การรักษาสภาวะสำหรับชีวิตมนุษย์ เห็นง่ายๆ ว่า สำคัญกว่าการเพิ่มอำนาจแห่งชาติ
หรือ ความมั่งคั่งของภาคธุรกิจ/เอกชน. แล้วมันต้องมีปฏิบัติการร่วมกันทั่วโลก
ด้วยการประท้วงทั่วโลก, คว่ำบาตร, และการรณรงค์ปฏิบัติตรง ต่อต้าน
ประเทศและบรรษัทที่สร้างมลภาวะ.
Twenty-five years ago it was already
evident that the world needed a binding international agreement to protect the
atmosphere by limiting the production of greenhouse gasses. But when the
prime ministers of Canada and Norway proposed such an agreement, a US State
Department official responded it would be “premature” even to “contemplate” an
international agreement that “sets targets for greenhouse gases.”
๒๕ ปีก่อน มันแจ่มชัดอยู่แล้วว่า โลกจำเป็นต้องมีข้อตกลงร่วมกันแบบมีพันธะ
เพื่อปกป้องชั้นบรรยากาศ ด้วยการลดการผลิตก๊าซเรือนกระจก. แต่พอนายกรัฐมนตรีแคนาดาและนอร์เวย์
นำเสนอข้อตกลงดังกล่าว, เจ้าหน้าที่กระทรวงแห่งรัฐของสหรัฐฯ กลับแย้งว่า ยัง
“ไม่ถึงเวลา” แม้แต่จะ “ไตร่ตรอง” ข้อตกลงระหว่างประเทศที่
“กำหนดเป้าหมายสำหรับก๊าซเรือนกระจก”.
When, I asked, would such an
agreement become timely – “how many crop failures, heat waves and environmental
disasters from now?” The question remains pertinent today:
Twenty-five years later the US government is still unwilling to make such
a binding agreement.
ผมได้ถามว่า, เมื่อไรเล่าที่ข้อตกลงเช่นนี้จะทันเวลา—“พืชล้มตาย,
คลื่นความร้อน และ หายนะทางสิ่งแวดล้อมอีกมากสักเท่าไรตั้งแต่นี้ไป?”
คำถามเหล่านี้ ยังเข้าเรื่องทุกวันนี้: หลังจาก ๒๕ ปี
รัฐบาลสหรัฐฯ ยังไม่ยินยอมที่จะผูกมัดตนเองกับข้อตกลงนี้.
The time we’ve already wasted will
be incalculably costly and cause unimaginable human
suffering, from which none of us and none of our children will be exempt.
Is it too late to take effective measures to push back global warming?
The only answer is, better late than never.
เวลาที่เราได้เสียไปแล้ว จะมีราคาแพงเกินคำนวณได้ และ
เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ร้อนแก่มนุษย์ที่เกินจินตนาการ,
ซึ่งไม่มีใครในพวกเราและลูกหลานของพวกเราที่จะได้รับการยกเว้น. มันสายเกินไปไหมที่จะใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพใดๆ
ผลักโลกร้อนให้ถอยกลับไป? คำตอบเดียวคือ,
ช้าไปดีกว่าไม่ทำเคยทำอะไรเลย.
This
work is licensed under a Creative Commons Attribution-Share Alike 3.0 License
Jeremy
Brecher is a historian whose new book Save the Humans? Common Preservation in Action, published by Paradigm
Publishers, addresses how social movements
make social change. His previous books include Strike!,
Globalization from Below, and, co-edited with Brendan Smith
and Jill Cutler, In the Name of Democracy: American
War Crimes in Iraq and Beyond
(Metropolitan/Holt). He has received
five regional Emmy Awards for his documentary film work. He currently works
with the Labor Network for Sustainability.
เจเรมี เบรเชอร์ เป็นนักประวัติศาสตร์ หนังสือใหม่ของเขา
“รักษามวลมนุษย์? ปฏิบัติการถนอมสมบัติร่วม” ที่จัดพิมพ์โดย Paradigm
Publishers,
แจกแจงการเคลื่อนไหวทางสังคมทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร. หนังสือก่อนหน้าเช่น “สไตร้ค์! โลกาภิวัตน์จากเบื้องล่าง”, และ, เป็นบรรณาธิการร่วมกับ เบรนเด็น สมิธ
และ จิลล์ คัตเลอร์, “ในนามของประชาธิปไตย: อาชญากรรมสงครามอเมริกันในอิรัคและกว่านั้น”
(Metropolitan/Holt). เขาได้รับรางวัลเอมมี่ระดับภูมิภาคสำหรับผลงานถ่ายทำสารคดี. ปัจจุบัน เขาทำงานกับ เครือข่ายแรงงานเพื่อความยั่งยืน.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น